วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การยึดอำนาจ 3 ครั้ง ในปี 2476 ..กล้าสู้ทุกรูปแบบ..ก็ไม่แพ้


การยึดอำนาจ 3 ครั้ง ในปี 2476 ..กล้าสู้ทุกรูปแบบ..ก็ไม่แพ้

การยึดอำนาจ 3 ครั้ง ในปี 2476 ..กล้าสู้ทุกรูปแบบ..ก็ไม่แพ้ 
อาทิตย์ ที่ 24 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2555

โดย มุกดา สุวรรณชาติ 
คอลัมน์ หลักศิลากลางน้ำเชี่ยว
ในมติชนสุดสัปดาห์ 

ฉบับวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 
ฉบับที่ 1662 หน้า 20


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ระวัง!! เมื่อถอย จะถูกรุกต่อเพื่อรวบอำนาจ 

         79 ปีที่แล้ว สภาถูกรุกครั้งแรกโดยไม่มีการใช้อาวุธ แต่เป็นอำนาจจากฝ่ายบริหาร ถึงขั้นปิดสภา


        ปี 2555 ฝ่ายนิติบัญญัติโดยความเห็นพ้องของฝ่ายบริหาร พร้อมใจกันถอยให้กับการรุกล้ำของศาลรัฐธรรมนูญ แต่นี้ไป เสียงจากการเลือกตั้งกี่สิบล้านเสียงก็ไม่มีความหมาย เมื่อผู้แทน ต้องทำตามคำสั่งแบบนี้ ... "หยุด! ห้ามยกมือขึ้น...ขอให้ทุกคนอยู่ในความสงบ คอยฟังคำตัดสิน"

              แม้พรรคเพื่อไทยมีคำอธิบายในการถอยไว้หลายข้อ แต่เสนาธิการฝ่ายตรงข้ามสรุปดังนี้ 


            "พวกมันถอยแล้ว... ที่พวกมันภูมิใจคือชนะเลือกตั้ง...ก็ยกให้มันไป ต่อให้มี 20 ล้าน 30 ล้านเสียง ก็ต้องแพ้เรา เพราะไม่ว่าเราจะสั่งอะไร ตัดสินอะไรมันก็ทำตาม ขอเพียงเราเป็นคนคัดเลือกผู้ตัดสินทุกองค์กรให้เป็นฝ่ายเรา จะดึงเวลา จะหมกคดี จะเร่งคดี จะให้หมดอายุความ ให้ถูกหรือผิด เราทำได้ คดีในช่วง 10 ปีนี้ยังมีอีกเยอะที่จะคุ้ยขึ้นมาเล่นงานมัน... แต่ถ้าพวกมันตั้งผู้ตัดสินได้ คงคุ้ยคดีของพวกเราเล่นเราถึงตายแน่ ... ดังนั้น ต้องรักษาความได้เปรียบนี้ไว้เท่าชีวิต ห้ามแก้ไขเด็ดขาด กว่าจะได้อำนาจนี้มาลงทุนไปเยอะ เราเคยหลอกพวกมันสำเร็จว่า ให้รับรัฐธรรมนูญไปก่อน เพื่อจะได้เลือกตั้ง เอาไว้แก้ไขทีหลัง ซึ่งคงจะทำได้ครั้งเดียว"

          ไม่รู้ว่าพรรคเพื่อไทยมีแผนรุกกลับหรือไม่ หรือเพียงแค่ซื้อเวลา แต่ในปี 2476 คณะราษฎร มีวิธีถอยและรุกกลับ...

2476 อำนาจบริหาร รุก...ปิดสภาผู้แทน และรุกต่อ

          หลังการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา 1 เมษยน 2476 ให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อำนาจเก่าก็รุกต่อโดย มีการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ รัฐบาลดูเหมือนจะควบคุมสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นได้แล้ว

           แต่ด้านการทหารยังมีพระยาพหลฯ ขวางอยู่อีกคน เพราะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก พระยาทรงสุรเดช จึงชวนให้ทั้งหมดลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี และทางการทหาร พระยาพหลฯ ก็ยอมลาออกตาม "สี่ทหารเสือ" ของคณะราษฎร คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ได้ยื่นหนังสือลาออก ด้วยข้ออ้างเรื่องสุขภาพ โดยระบุวันลาออกจากราชการไว้ล่วงหน้า คือ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2476

         พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยอมรับให้ลาออกโดยไม่มีการทักท้วงแต่อย่างใด 18 ตุลาคม รัฐบาลก็ได้มีประกาศแต่งตั้งให้พระยาพิชัยสงครามเป็นผู้รักษาในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกแทนพระยาพหลพลฯ ให้พระยาศรีสิทธิสงคราม เป็นผู้รักษาการเจ้ากรมยุทธการทหารบกแทนพระยาทรงสุรเดช และให้หลวงพิบูลสงคราม ซึ่งเป็นรองผู้บังคับการทหารปืนใหญ่อยู่ในขณะนั้นเลื่อนขึ้นเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายยุทธการแทนพระยาทรงสุรเดช ซึ่งควบอยู่สองตำแหน่ง

         การเปลี่ยนแปลงทางการทหาร มีผลต่อความปลอดภัยและอนาคตของนายทหารผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ช่วงนั้นก็มีการโยกย้ายคนของพระยาพหลฯ ออกจากหน่วยคุมกำลังทั้งหมด และจะให้พวกผู้ก่อการที่คัดค้านพระยามโนฯ นั้นไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ ส่วนหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ถูกสั่งให้เตรียมตัวเข้าศึกษาวิชาทหารเรือ ณ ประเทศฝรั่งเศส

คณะราษฎรเห็นว่า พระยามโนฯ เตรียมเปลี่ยนการปกครองกลับเป็นระบอบเก่า


การรุกกลับของคณะราษฎร  ยึดอำนาจ เพื่อ...เปิดสภา 

20 มิถุนายน 2476

          กลุ่มนายทหารหนุ่มของคณะราษฎรจึงได้ทำการรวมกำลังกัน โดยมีหลวงพิบูลสงครามเป็นหัวหน้าฝ่ายทหารบก และหลวงศุภชลาศัยเป็นหัวหน้าฝ่ายทหารเรือ ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และเปิดสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง

          ตอนเช้ามืดของวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 มีการนำกำลังเข้ายึดและควบคุมที่ทำการของรัฐบาลและจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในพระนคร บังคับให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดาและคณะรัฐมนตรีลาออกในวันเดียวกัน พร้อมกันนั้นก็ได้มีการแจกประกาศแถลงการณ์แก่ประชาชนถึงเหตุผลของการยึดอำนาจว่า


"ด้วยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ณ บัดนี้ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มต้นปิดสภาผู้แทนราษฎร แล้วงดใช้รัฐธรรมนูญ คณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน จึงได้ดำเนินการเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ..."
          ประธานสภาผู้แทนราษฎร กราบบังคมทูลลงพระปรมาภิไธยให้มีประกาศแต่งตั้งพระยาพหลพลฯ เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมเปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร อีกครั้งในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2476 หลังจากที่ปิดไปเป็นเวลากว่า 81 วัน
ส่วนพระยามโนฯ ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ปีนังจนเสียชีวิต


วิเคราะห์ การถอย-การรุก ของคณะราษฎร

           มีคนบอกว่าพระยาพหลฯ เป็นคนซื่อ ตามไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมคนอื่นๆ
แต่ผู้อาวุโสที่รู้จักคนหนึ่งแย้งว่า คนที่ได้เป็นนายก 5 สมัย เป็นคนซื่อ พอฟังได้ แต่ที่จะไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมคนอื่นอาจไม่จริง

         วันที่สภาถูกปิด นายปรีดีถูกบีบให้ลี้ภัยไปฝรั่งเศส พระยาพหลฯ รู้ดีว่าแรงบีบมาจากไหน คำกระซิบบอกนายปรีดีว่า ให้จากไปก่อน เดี๋ยวพรรคพวกทางนี้จะจัดการให้กลับมาทีหลัง แสดงว่ามีแผนอยู่แล้ว

         ในขณะที่อีกฝ่าย เห็นว่าศัตรูตัวเก่งจากไปแล้วก็ย่ามใจ จึงรุกแบบไม่เกรงใจใคร ยิ่งพระยาพหลฯ ลาออก ก็ยิ่งมั่นใจ หารู้ไม่ว่า ข่าวที่ไปถึงหูนายทหารทุกคนว่าจะต้องถูกกำจัดเป็นข่าวร้าย ที่ทำให้ทุกคนโกรธแค้นและจะต้องโต้ตอบกลับ  


          จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของหลวงพิบูลสงคราม นายทหารหนุ่ม ขาบู๊ ที่ออกมาจัดการกับพวกโต้การอภิวัฒน์ การยึดอำนาจกลับครั้งนี้ชอบธรรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำไปเพื่อเปิดสภาผู้แทนให้กลับมาทำงานได้อีกครั้งหนึ่ง 

แต่มีข้อเสียก็คือ ไ

ปสร้างนิสัยการใช้กำลังเพื่อแก้ปัญหาทางการเมืองให้กับกลุ่มทหารหนุ่ม
http://redusala.blogspot.com

24 มิถุนายน มหาศรีสวัสดิ์ รัฐประหาร รัฐธรรมนูญ


24 มิถุนายน มหาศรีสวัสดิ์ รัฐประหาร รัฐธรรมนูญ
24 มิถุนายน มหาศรีสวัสดิ์ รัฐประหาร รัฐธรรมนูญ 
อาทิตย์ ที่ 24 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2555

24 มิถุนายน มหาศรีสวัสดิ์ รัฐประหาร รัฐธรรมนูญ  
คอลัมน์ในประเทศ ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1662 หน้า 9


80 ปี ที่ คณะราษฎร เปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยให้เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ 24 มิถุนายน 2475
ยาวนานอย่างยิ่ง

        แต่เมื่อเทียบความยาวนาน กับ ความก้าวหน้าของ "ประชาธิปไตย" ไทยแล้ว กลับไม่ไปไหน
ยังคงวนเวียน เป็น "หนังม้วนเก่า" ที่กลับมาฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่า
อย่างน่าประหลาดใจ

          หัวใจ แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่ คณะราษฎร ประสงค์ ก็คือ ให้สยามบรรลุหลัก 6 ประการ

1. เอกราช - จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง

2. ปลอดภัย - จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

3. เศรษฐกิจ - จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะ
จัดหางานให้ราษฎรทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. เสมอภาค - จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน

5. เสรีภาพ - จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น

6. การศึกษา - จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

           น่าตกใจ ที่นอกจาก เสาหลัก 6 ประการ ยังไม่อาจตอกลงอย่างมั่นคงในสังคมไทยแล้ว  


           คำถามเรื่อง การมีเอกราชของบ้านเมืองและของศาล, การมีสองมาตรฐาน, ช่องว่างระหว่างคนรวยคนจน, ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน, ความไม่เท่าเทียมทางด้านการศึกษา, ความไม่เสมอภาค และถูกลิดรอนเสรีภาพ ยังอื้ออึง   
แถมหลายองค์กรที่จะอำนวยต่อหลัก 6 ประการข้างต้น กำลังประสบกับวิกฤตศรัทธาอย่างหนัก ใน พ.ศ.2555 นี้!

         ที่น่าประหลาดใจยิ่งกว่านั้น "วิกฤต" ทางการเมือง หลัง พ.ศ.2475 กับ พ.ศ.2555 กลับดำเนินไปแบบ "ซ้ำรอย" อย่างน่าพิจารณา  โดยเฉพาะ "วิกฤตรัฐธรรมนูญ" ประมาณ 1 ปีเศษๆ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เกิดความตึงเครียด ระหว่างรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา กับคณะราษฎร

       เมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อันสืบเนื่องจากมีความขัดแย้งกับคณะราษฎร กรณี "สมุดปกเหลือง" ที่เป็นการเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของ นายปรีดี พนมยงค์ โดยมีการกล่าวหาว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของ "คอมมิวนิสต์"  แต่นั่นเป็นเพียงหน้าฉากเท่านั้น


       หลังฉาก น่าสนใจกว่า เพราะมันคือการเริ่มต้น ที่ "กลุ่มอำนาจเก่า" กำลังรุกขึ้นมาเพื่อที่จะทวงอำนาจคืนจากคณะราษฎรที่ถือเป็น "กลุ่มอำนาจใหม่"

       พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ถูกมองว่าเป็นตัวแทนของอำนาจเก่า และใช้ "รัฐธรรมนูญ" และ ข้อกล่าวหา "คอมมิวนิสต์" เป็นเครื่องมืออันสำคัญในการต่อสู้ เพื่อรุกกลับกลุ่มอำนาจใหม่  เป็นการรุก โดยการใช้กระบวนการรัฐธรรมนูญ รัฐประหาร "เงียบ"


เมื่อย้อนกลับมามองที่ปัจจุบัน พ.ศ.2555

        การต่อสู้ ก็ยังเป็นต่อสู้ของกลุ่มอำนาจเก่า ที่ปัจจุบันเรียกรวมๆ ว่า ฝ่ายอำมาตย์ ซึ่งมีกลุ่มที่สืบเนื่องอำนาจมาจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และพรรคการเมืองที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์ดังกล่าว คือประชาธิปัตย์ เป็นแนวร่วมสำคัญ


        ขับเคี่ยวกับ กลุ่มอำนาจใหม่ ภายใต้การนำของ พรรคเพื่อไทย, พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีฝ่ายไพร่ คือกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นแนวร่วม

        มีการใช้ "รัฐธรรมนูญ" เป็นเครื่องมือในการต่อสู้เช่นเดียวกัน โดยฝ่ายอำนาจใหม่ อ้างถึงความต้องการที่จะได้รัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน จึงเคลื่อนไหวขอแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ใหม่เกือบทั้งฉบับ


        ขณะที่ฝ่ายอำนาจเดิม คัดค้าน โดยชูประเด็นขึ้นมาหักล้างว่า เป็นการแก้ไขเพื่อช่วยคนคนเดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และที่สำคัญ มีเป้าหมาย คือ เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ "รัฐไทยใหม่" นี่ย่อมเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงไม่ต่างไปจากเรื่อง คอมมิวนิสต์ เมื่อ พ.ศ.2475 ต่อเนื่องถึงปี 2476 ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาตลอดกาลต่อ นายปรีดี พนมยงค์


         ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ถูกกล่าวหามาอย่างต่อเนื่องหลังการรัฐประหารว่าต้องการนำประเทศไปสู่รัฐไทยใหม่ ที่ปฏิเสธสถาบันพระมหากษัตริย์


รัฐธรรมนูญ และการช่วงชิง การ "เปิด-ปิด" สภา เป็นเครื่องมือสำคัญของทั้งสองฝ่าย ในการหักโค่นกัน ทั้งในปี พ.ศ.2476 และในปี 2555 อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียดการต่อสู้
โดยปี 2476 คณะราษฎร ที่มี พระยาพหลพลพยุหเสนา หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ตัดสินใจ "หักดิบ" นำคณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เมื่อหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 ให้เหตุผลว่า
"ด้วยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ณ บัดนี้ ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มต้นปิดสภาผู้แทนและงดใช้รัฐธรรมนูญเป็นหลายบท คณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน จึงเห็นเหตุจำเป็นเข้ายึดอำนาจการปกครองเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ"

แม้ในเบื้องต้น ดูเหมือนชัยชนะจะเป็นของคณะราษฎร
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ต้องลี้ภัยไปปีนัง
แต่หลังจากนั้น การต่อสู้ขับเคี่ยวกัน ระหว่าง อำนาจเก่ากับอำนาจใหม่ ก็เป็นไปอย่างเข้มข้น และยืดเยื้อ เกิดรัฐประหารขึ้นอีกหลายครั้ง ที่แม้แรกๆ กลุ่มคณะราษฎรจะปราบปราม สำเร็จ อย่างกบฏบวรเดช แต่ทั้งความแตกแยกภายใน การแก่งแย่งอำนาจกันเอง ทำให้ที่สุดยุคของคณะราษฎร ก็จบสิ้นลง

         วันที่ 9 มิถุนายน 2489 ศัตรูทางการเมืองของ นายปรีดี พนมยงค์ ประสานกับพรรคการเมืองฝ่ายค้านนำโดย พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มอำนาจเก่า ฉวยโอกาสทำลายนายปรีดีทางการเมือง โดยการกระจายข่าวไปตามหนังสือพิมพ์ ร้านกาแฟ และสถานที่ต่างๆ รวมทั้งส่งคนไปตะโกนในโรงละครศาลาเฉลิมกรุงว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง" อันสืบเนื่องจากการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 นำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายปรีดีในเดือนสิงหาคม 2489 และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนายปรีดี ให้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 
แต่หลังจากนั้นอีกเพียงปีเศษ คือในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ก็เกิดการรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครอง

       นายปรีดีต้องหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ และไม่ได้กลับประเทศไทยอีกเลยกระทั่งเสียชีวิต "กลุ่มอำนาจเก่า" ได้รับชัยชนะเบ็ดเสร็จหลังจากต่อสู้ยืดเยื้อมาอย่างยาวนาน 15 ปี

        ในปี 2555 วิกฤตรัฐธรรมนูญ แม้จะไม่ได้นำไปสู่การรัฐประหาร อย่างปี 2476
แต่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ได้ประกาศ ว่า "เกิดรัฐประหารโดยกระบวนการตุลาการภิวัฒน์" ขึ้นแล้ว  เกิดขึ้นหลังจากที่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ รัฐสภา เลื่อนการลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ออกไป ระหว่างรอคำวินิจฉัยกรณีที่มีผู้ร้องว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว มีเป้าหมายล้มล้างการปกครอง โดย "ผู้ที่ร้อง" ก็คือกลุ่มอำนาจเก่า พรรคประชาธิปัตย์ ที่ต่อสู้ขับเคี่ยวกับกลุ่มอำนาจใหม่มาตลอดนั่นเอง และ กระแสต่อต้านคัดค้านนี้ รุนแรง และขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีเรื่อง กฎหมายปรองดอง ที่เสนอโดยกลุ่มอำนาจใหม่ เข้ามาเป็นเงื่อนไขเร่งเร้า


       ด้วยเหตุนี้เอง ฝ่ายอำนาจใหม่จึงต้องลดแรงปะทะลง โดยยอมปิดสภา และชะลอการลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่ 3 ออกไป  ตอนนี้ การต่อสู้จึงอยู่ในภาวะ "ยัน" กันไปมา
ยังไม่อาจชี้ขาดลงไปได้ว่า ใครจะแพ้ ใครจะชนะ

        แต่เชื่อว่า การต่อสู้ จะต้องยืดเยื้อ รุนแรง ไม่ต่างจากช่วงปี พ.ศ.2476-2490 แน่นอน 
แถมจะซับซ้อน ซ่อนเงื่อน ยิ่งกว่า เพราะต่างฝ่ายต่างมีมวลชนหนุนหลัง มีสื่อของตัวเองเป็นกระบอกเสียง ขณะเดียวกันก็มีการคัดง้าง-ต่อสู้กันด้วยแง่มุมกฎหมาย และกลไก ที่ถูกวางเอาไว้หลังการยึดอำนาจอย่างแยบยล  จนไม่อาจจะคาดการณ์ได้ว่า ผลแห่งการต่อสู้จะออกมาอย่างไร

      แต่หลายคนเชื่อว่าจะหนักหน่วง โหดเหี้ยม รุนแรง กว่าอดีต  ซึ่งชวนสยดสยองต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยไทยยิ่ง


เพราะ 80 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะไม่เดินหน้าแล้ว
ยังมีแนวโน้มที่จะต้องหลั่งเลือด ถวายชีวิต เพื่อจะถอยหลังไปอีกไกลด้วย! 
http://redusala.blogspot.com

80 ปี เปลี่ยนแปลงการปกครอง ตอนที่ 1/3


80 ปี เปลี่ยนแปลงการปกครอง ตอนที่ 1/3

  80 ปี เปลี่ยนแปลงการปกครอง ตอนที่ 1/3









 

http://redusala.blogspot.com