วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

'ธาริต' แถลงไร้ชายชุดดำเผาเซ็นทรัลเวิลด์


'ธาริต' แถลงไร้ชายชุดดำเผาเซ็นทรัลเวิลด์


       'ธาริต' แถลงไร้ชายชุดดำเผาเซ็นทรัลเวิลด์ แจงจับกุมคนร้ายส่งฟ้องคดีวางเพลิง-ลักทรัพย์ได้ 9 ราย ยันไม่กระทบคดีก่อการร้าย

       นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แถลงความคืบหน้าคดีวางเพลิง เผาทรัพย์และลักทรัพย์เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ว่า ไม่มีชายชุดดำเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่มีผู้ต้องหา 9 ราย ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีในข้อหาลักทรัพย์ ประกอบด้วยนายพินิจ จันทร์ณรงค์ นายวิศิษฏ์ แกล้วกล้า นายภาสกร ไชยสีทา นายคมสันต์ สุดจันทร์ฮาม นายอัตพล วรรณโต นายอาทิตย์ เบ้าสุวรรณ นายพรชัย โลหิตดี นายยุทธชัย สีน้อย และนางเจียม ทองมา ซึ่งดีเอสไอได้สั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมดและส่งสำนวนให้พนักงานอัยการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 4 ส.ค. 2553

        นายธาริต แถลงว่า ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ และศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง โดยศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2554 ลงโทษจำเลยทั้ง 7 คน ในความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก. คนละ 6 เดือน และลงโทษจำเลย นายคมสันต์ สุดจันทร์ฮาม ในความผิดฐานลักทรัพย์เป็นเวลา 3 ปี รวมเป็น 3 ปี 6 เดือน ฐานความผิดอื่น ยกฟ้อง พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุดแล้ว

        ส่วนผลคดีของนายภาสกร ไชยสีทา และนายอัตพล วรรณโต ขณะนี้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สืบพยานฝ่ายโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
นายธาริต ระบุด้วยว่า คดีวางเพลิงพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน รับคดีและทำการสืบสวนสอบสวน ออกหมายจับผู้ต้องหารวม 7 คน คือ ชายไทยไม่ทราบชื่อ ปรากฏตามภาพถ่ายหมายจับผู้ต้องหาที่ 1 ชายไทยไม่ทราบชื่อ ปรากฏตามภาพถ่ายหมายจับ ผู้ต้องหาที่ 2 นายสายชล แพบัว ชายไทยไม่ทราบชื่อ ปรากฏตามภาพถ่ายหมายจับผู้ต้องหาที่ 4 นายพินิจ จันทร์ณรงค์ ผู้ต้องหาที่ 5 นายอัตพล วรรณโต ผู้ต้องหาที่ 6 และนายภาสกร ไชยสี
อย่างไรก็ตาม ต่อมาพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ขอศาลออกหมายจับเพิ่มเติม อีก 2 คน ตามภาพถ่าย รวมเป็น 9 คน ทั้งนี้ผู้ต้องหาที่ 3 เดิมออกหมายจับตามภาพถ่าย ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมตัวได้ที่บริเวณสนามหลวง ทราบชื่อภายหลังว่า นายสายชล แพบัว ส่วนผู้ต้องหาที่ 5-7 นั้น เป็นผู้ต้องหาในคดีปล้นทรัพย์ ซึ่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ได้ชี้ยืนยันตัวว่าเป็นผู้กระทำความผิดในการวางเพลิงด้วย สน. ปทุมวัน เห็นว่าเป็นคดีที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกับคดีพิเศษ จึงส่งมาเป็นคดีพิเศษ

        "คดีวางเพลิงได้สั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด และผลของเหตุการณ์ทำให้ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ได้รับความเสียหายมูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท และในที่เกิดเหตุพบนายกิตติพงษ์ สมสุข วัย 19 ปี ชาวจังหวัดศรีษะเกษ เสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจ ขณะนี้พนักงานอัยการได้ส่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 9 คน และได้ฟ้องนายสายชล แพบัว และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ ต่อศาลบอาญากรุงเทพใต้ คดีอยู่ระหว่างการสืบพยานโจทก์ นัดสืบพยานพนักงานสอบสวนในวันที่ 21 และ 23 ส.ค. นี้ รวมทั้งทั้งได้ส่งฟ้องนายอัตพล วรรณโต และนายภาสกร ไชยสีทา ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง โดยศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 3 ส.ค. นี้เช่นกัน"

       ผู้สื่อข่าวถามว่าเมื่อไม่มีชายชุดดำ จะเปลี่ยนจากคดีก่อการร้ายมาเป็นคดีวางเพลิงเผาทรัพย์หรือไม่ นายธาริต กล่าวว่า กรณีเซ็นทรัลเวิลด์ต้องแยกกัน ในเรื่องก่อการร้ายเป็นมิติภาพรวมมีการฟ้องคดี ซึ่งอยู่ระหว่างการสืบพยานในชั้นศาล คดีเซ็นทรัลเวิร์ดมีการเข้าไปวางเพลิงเพื่อลักทรัพย์และสามารถจับตัวคนร้ายได้ จึงชี้แจงว่าไม่เกี่ยวข้องกับชายชุดดำ
http://redusala.blogspot.com

"จาตุรนต์" จวกศาล รธน.ตีความขัด รธน. เอง


"จาตุรนต์" จวกศาล รธน.ตีความขัด รธน. เอง
"จาตุรนต์" จวกศาล รธน.ตีความขัด รธน. เอง

         นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย เขียนข้อความแสดงความคิดเห็น ผ่านทวิตเตอร์ @chaturon ระบุ ศาล รธน.ตีความขัด รธน. เอง ย้ำ รัฐสภาจะต้องลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรธน.วาระ 3 ในโอกาสแรกที่มีการประชุม มิฉะนั้นจะเท่ากับจงใจไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยมีรายละเอียดของเนื้อหามีดังนี้

สวัสดีครับสวัสดิผล เมื่อกี้ต้องทดสอบเพราะสัญญาณ 3G ไม่ดี ตอนนี้น่าจะดีขึ้นแล้ว เมื่อเช้าเพิ่งไปบันทึกเท็ปรายการวู้ดดี้มา รายการนี้จับประเด็นรัฐธรรมนูญได้เก่งทีเดียว ผมยังเห็นว่ารัฐสภาจะต้องลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรธน.วาระ 3 ในโอกาสแรกที่มีการประชุม มิฉะนั้นจะเท่ากับจงใจไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยการกำหนดระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาจึงต้องมีระเบียบวาระการลงมติร่างรัฐธรรมนูญวาระที่ 3 อยู่ด้วย จะตัดออกไปไม่ได้


เรื่องที่เป็นประเด็นว่ามาตรา 68 กำหนดให้ยื่นต่อใครนั้น ที่ถูกคือต้องยื่นต่ออัยการ แต่ศาลตีความขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง และการที่ศาลขัดรัฐธรรมนูญเสียเองย่อมเป็นเหตุให้ประชาชนยื่นถอดถอนตุลาการได้ โดยส่วนที่เป็นประเด็นโต้แย้งกันก็ถือว่าสิ้นสุดตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คือใครจะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงก็ได้และศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องเองและพิจารณาเองได้


ปัญหาที่ยังมีอยู่คือคำร้องไม่เข้าข่ายมาตรา 68 ซึ่งมีไว้สำหรับบุคคลและพรรคการเมืองที่ไม่เกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา ซึ่งรัฐสภาไม่ใช่บุคคล การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภาไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญจึงจะใช้มาตรา68 กับกรณีนี้ไม่ได้ ต้องยกคำร้องเท่านั้น

โดยการออกกฎหมายนั้น ศาลรัฐธรรมนูญสามารถตรวจสอบร่างพ.ร.บ.ว่าขัดรัฐธรรมนูญได้เมื่อสภาพิจารณาเสร็จแล้ว แต่ไม่มีอำนาจพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ


และศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจสั่งประธานรัฐสภาได้ ทั้งรัฐธรรมนูญและกฎหมายล้วนไม่มีกำหนดให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญไว้เลย คำสั่งให้ชะลอจึงไม่ชอบ แต่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าเมื่อพิจารณาวาระที่ 2 เสร็จแล้วให้เว้นไว้จนกว่าจะพ้น 15 วันไปแล้วจึงให้ลงมติ และไม่มีใครจะสั่งรัฐสภาให้ทำอย่างอื่นได้


สมาชิกรัฐสภารวมทั้งประธานรัฐสภาได้ปฏิญาณตนไว้ก่อนเข้ารับหน้าที่ว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญก็บัญญัติไว้ให้ต้องปฏิบัติตาม จึงต้องทำตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่คำวินิจฉัยจึงไม่ผูกพันรัฐสภา รัฐสภาจึงไม่ต้องทำตาม และเมื่อต้องทำตามรัฐธรรมนูญ รัฐสภาจึงต้องไม่ทำตามคำสั่งศาลฯ


หากถึงวาระลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 สมาชิกรัฐสภาที่ออกเสียงจะผิดอะไรหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ผิดอะไรทั้งสิ้น การออกเสียงลงคะแนนเป็นเอกสิทธิ์ของสส.และสว.ที่คุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ ใครจะไปฟ้องร้องอะไรไม่ได้ ส่วนการไปร่วมประชุมรัฐสภายิ่งไม่มีใครห้ามได้ แม้อยู่ระหว่างดำเนินคดีหรือศาลนัดไปฟังคำพิพากษา ถ้าอยู่ระหว่างสมัยประชุมยังต้องปล่อยตัวไปประชุม

เพราะฉะนั้นศาลรัฐธรรมนูญจะห้ามสมาชิกรัฐสภาไปประชุมหรือออกเสียงลงคะแนะไม่ได้เด็ดขาด นี่เป็นหลักการการแบ่งแยกอำนาจระหว่างนิติบัญญัติกับตุลาการสำคัญเหนืออื่นใด สมาชิกรัฐสภาต้องยืนยันว่าอำนาจในการบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภาซึ่งมาจากประชาชน จะปล่อยให้ศาลรธน.ละเมิดมิได้ รัฐสภามาจากประชาชนและมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญจะยอมสยบให้กับศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้มาจากประชาชนและยังทำผิดรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้งเช่นนี้ไม่ได้ หวังว่ารัฐสภาไทยจะรักษาหลักการประชาธิปไตยนี้ไว้ ไม่ทำให้ประชาชนทั้งประเทศผิดหวัง
http://redusala.blogspot.com

วาทะ ตะ ลา โกง


วาทะ ตะ ลา โกง


       “ขอให้คุณไปดูรัฐธรมนูญมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เขียนว่า”ผู้ทราบให้ยื่นต่ออัยการสูงสุดเพื่อยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย” 


       ก็ชัดเจนว่า อัยการเป็นเพียง”ทางผ่าน” แต่คนวินิจฉัยคือศาลรัฐธรรมนูญ “ ส่วนรัฐธรรมนูญปี 50  เพิ่มเข้าไปอีกหน่อยว่าให้อัยการตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่คนวินิจฉัยก็เป็นศาลรัฐธรรมนูญอยู่ดี   ความหมายจึงยังเหมือนเดิม ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย ทำไมคนที่ทราบถึงการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญจะยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ “วสันต์ แจง พร้อมกับบอกว่าที่ให้ไปดู ม.68 ฉบับภาษาอังกฤษแล้วจะชัดเจนนั้น ก็เพราะกฤษฎีกาเป็นผู้แปลจากต้นฉบับภาษาไทยและได้มีการเผยแพร่ไปทั่วโลก


และมาดูสิ่งที่คนพวกนี้เคยทำเอาไว้




http://redusala.blogspot.com

โฟนอิน โภคิน วิเคราะห์คำวินิจฉัยศาลรธน 10ก ค 55


โฟนอิน โภคิน วิเคราะห์คำวินิจฉัยศาลรธน 10ก ค 55
http://redusala.blogspot.com