คำต่อคำ “พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ” ถอดรหัสวิกฤตการเมืองไทย
2014-01-30
ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองร้อนๆ ที่อยู่บนเกมการเมืองอันล้ำลึกของทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) กลายเป็นจุดเร้าสำคัญให้เกิดหลากหลายคำถาม โดยเฉพาะทิศทางของประเทศ ที่ยังคงมืดมนอยู่ภายใต้วนเวียนที่ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ ว่าจะเดินหน้าไปอย่างไร
เปรียบดังเพียงแสงสว่างปลายอุโมงค์ ที่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่สามารถจะเดินไปได้ถึงและกลับมาเป็นคำถามที่ค้างคาใจกันต่อไป ว่าการเมืองไทย และ ประเทศไทยนับแต่วันนี้จะมีทางออกทางใด ที่จะทำให้ทุกอย่างเดินหน้าไปพร้อมๆ กันได้อย่างลงตัว หรือน้อยที่สุดก็น่าที่จะกลับมาได้เหมือนดั่งเช่นอดีตที่ผ่านๆ มา (ก่อนปี 2549)
“เดอะพับลิกโพสต์” มีโอกาสได้เปิดใจ เปิดตำนาน “ขงเบ้งแห่งเมืองไทย” ผู้โด่งดัง ที่จะตอบข้อข้องใจเกี่ยวกับอุณภูมิร้อนสำหรับการเมืองไทยในเวลานี้ ผู้คร่ำหวอดการเมืองไทยมานาน กับ การถอดรหัสเส้นทางการเมืองไทยครั้งสำคัญ โดย “พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ” อดีตนายกรัฐมนตรี หรือพ่อใหญ่จิ๋วของคอการเมือง
000...การเมืองวันนี้ ในมุมมองของ “พ่อใหญ่” เป็นอย่างไร
เรื่องนี้มีแต่คนห่วงใย มีแต่คนวิจารณ์ หลายครั้งก็วิจารณ์แบบน่ากลัว เป็นเรื่องที่ยังไม่มีคนแก้ไขและให้แนวทางในการแก้ไข ตอนนี้คือไม่รู้จะจบยังไง แต่ท้ายที่สุดคือต้องให้จบเท่านี้ อย่าให้พัฒนาไปสู่ความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เรากลัวกันมากที่สุดคือ การพัฒนาไปสู่สงครามกลางเมือง การต่อสู้ระหว่างพี่น้องประชาชน ถ้าเกิดอีกครั้งต้องใช้เวลาอีก 20 ปี กว่าจะแก้ได้
การเมืองในวันนี้ เราต้องมาพูดกันตอนนี้ว่าจะทำยังไงที่จะไม่ให้บานปลาย แล้วค่อยย้อนกลับไปปรับเปลี่ยน สิ่งสำคัญคือ ต้องจบปัญหาตรงนี้ก่อน สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรักกัน วันนี้มองดูน่าจะไปทางตีกัน
อันดับแรกเลยอย่าให้มีปัญหาหลังจากนี้ อย่าให้มีปัญหาที่นำไปสู่การต่อสู้ที่รุนแรง อย่าให้พัฒนาไปมากกว่านี้ ไปถึงการต่อสู้ภายในประเทศของเรา หรือที่เราเรียกว่าสงครามกลางเมือง
ซึ่งการจะไม่ให้นำไปสู่จุดนั้นได้ต้องทำอันแรกเลย สำคัญที่สุดคือต้องชี้ให้คนทั้งแผ่นดิน คนทุกหมู่เหล่าที่เกี่ยวข้องเห็นว่า ขบวนการที่ออกมานี้ “จบลงด้วยการที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีใครเป็นฝ่ายผิด” แล้วที่สุดจะนำไปสู่จุดแห่งการแก้ปัญหาทั้งหมดได้เอง
000...การจบลงด้วยการที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีใครเป็นฝ่ายผิด ต้องทำอย่างไร
ทางแก้ตอนนี้คือ ทำอย่างไรไม่ให้ทั้งสองฝ่ายเป็นฝ่ายผิด ต้องชี้ด้วยหลักการ ใช้หลักการไม่ใช่มาจากตัวเอง อธิบายว่าฝ่ายหนึ่ง เมื่อประเทศมีปัญหาทุกครั้ง มีการเดินขบวน เช่น เมื่ออดีตกรณีของ พลเอก สุจินดา ใครแก้ปัญหาได้ดีที่สุด เราก็ไปดูคำตอบตรงนั้น
ปัญหาทั้งหมดในประเทศเราตั้งแต่อดีตมา ก็จะแก้กันได้ด้วย 4 ปัจจัยหลัก 4 องค์กร เริ่มต้นจากปัจจัยที่ 1 คำตอบของการแก้ปัญหาในวันนั้นคือ สถาบัน คือในหลวงของพวกเราทุกคน ทุกคนมุ่งหวังการแก้ปัญหาจากพระองค์ท่าน ความปราถนาอย่างบริสุทธิ์ ว่าพระองค์ท่านจะนำปวงชนไปสู่สันติสุข
แต่ต้องเข้าใจว่า ปัญหาในวันนี้แตกต่างจากวันนั้น คือวันนี้ เรามักอ้างพระองค์ท่านกันมาก จนกลายเป็นเรื่องระคายเคืองเบื้องพระยุคล ทำให้พระองค์ท่านทรงไม่อยากยุ่งเกี่ยวด้วย คงปล่อยให้เราแก้ปัญหากันไปเองก่อน เมื่อถึงที่สุดแล้วค่อยเข้ามา นี่คือองค์กรที่สำคัญที่สุดอันดับแรกคือ สถาบันพระมหากษัตริย์
000...เมื่อภาพของวันนี้ออกมาเป็นแบบนี้ ทางแก้ต่อไปคืออะไร
เมื่อถัดลงมา จากสถาบัน ก็จะเป็นองค์กรที่ 2 คือทหาร ทำไมเราถึงนับองค์กรที่หนึ่งและสองเป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหา เนื่องจากมีอำนาจ มีความรับผิดชอบ ที่นี้ ปัญหาในวันนี้เมื่อเดินมาถึงจุดนี้ องค์กรที่ 2 ก็ไม่ไหว ทหารเขาไม่อยากยุ่ง ขอดูอยู่ข้างนอก คือต้องเข้าใจว่า เหตุผลที่ทหารต้องเป็นองค์กรที่ 2 เพราะมีกำลัง มีเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ แต่ตอนนี้ปัญหาอาจจะเลยจุดของการแก้ปัญหาโดยองค์กรที่ 2 มาแล้ว เพราะทหารเองก็คงไม่อยากยุ่ง เพราะจะมีคนพูดกันไปต่างๆ นานา
000...มาถึงองค์กรที่ 3 จะแก้ปัญหาในวันนี้ได้หรือไม่?
วันนี้ก็ยังคงแก้ไม่ได้ แต่ต้องพูดไว้ว่าองค์กรที่ 3 คือรัฐบาล ที่เป็นองค์กรที่ 3 ที่ต้องรับผิดชอบปัญหานี้ เพราะเป็นคนถืออำนาจอยู่ ที่นี้ที่ผ่านมา รัฐบาลอภิสิทธิ์ จนถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สองรัฐบาลนี้ยังแก้ไม่ได้ ทั้งที่มีความพยายามในการแก้ เช่น อภิสิทธิ์ที่พยายามแก้แต่ไม่สำเร็จ ยังไม่ได้ทำแต่บอกไม่สำเร็จ ตอนนั้นเป็นเรื่องของการสร้างความปรองดอง ก็มีการตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ ขึ้นมา เพื่อหวังที่จะแก้ปัญหา
แต่ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า ปัญหาของชาติในเวลานั้น จนถึงเวลานี้ คือปัญหาการเมือง แต่รัฐบาลมักใช้นักกฎหมายในการแก้ปัญหา ไม่ได้ต้องการจะบอกว่านักกฎหมายไม่รู้เรื่อง แต่จะบอกว่าความเข้าใจต่างๆ ไม่เหมือนกัน เมื่อนักกฎหมายเป็นคนแก้ปัญหาอะไรเกิดขึ้น ก็มองว่ากฎหมายเป็นสิ่งสูงสุด นั่นคือกฏหมายรัฐธรรมนูญ อันนี้แก้ไม่ได้ เพราะทุกอย่างติดพันเข้าไปที่รัฐธรรมนูญหมด โดยหารู้ไม่ว่า ถ้าเป็นนักการเมืองแก้ เขาจะบอกว่ากฎหมายสูงสุดไม่ใช่รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่กฎหมายอาญา กฎหมายสูงสุดของชาติ คือความอยู่รอดของชาติ คุณจะไม่ให้เขาทำลายกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีชาติ แต่คนในชาติตีกันอุตลุด ไม่มีแผ่นดิน แต่รักษากฎหมายเอาอันไหน
000…ในอดีตมักแก้ปัญหาประเทศโดยนักกฏหมาย แล้วไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ใช่ ไม่ใช่นักกฏหมายไม่เก่ง แต่อาจจะเป็นเรื่องของการมองต่างมิติ คือพอมองต่างมิติวิธีที่เขาจะแก้ก็คือไปมองเรื่องของกฏหมาย ที่นี้พอมองเรื่องของกฏหมาย แต่ในภาพที่แท้จริงแล้ว บ้านเมืองไปไม่ได้ คนที่อ้างกฎหมายรักษากฎหมาย แต่บ้านเมืองพังเอาอะไร ซึ่งส่วนนี้อาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน กฎหมายสูงสุดของเราคือความอยู่รอดของชาติ ในเมื่อไม่มีชาติจะเอากฎหมายเอาไว้ทำไม ทุกคนมักเข้าใจว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุด แต่ในความเป็นจริงกฎหมายรัฐธรรมนูญคือ Simple Law กฎหมายหลักนั่นคือความอยู่รอดของชาติต่างหาก ทำไม่ถึงบอกว่านักกฎหมายไม่สามารถเข้ามาแก้ปัญหาได้ นี่คือหัวใจหลัก เช่นคณะกรรมการปรองดอง ที่มีคุณคณิต ณ นคร ไปทำแผนมา ก็เสียไปหลายเงิน กำหนดไว้ ปีละ 200 ล้าน ออกหนังสือมา 3 ปีเล่ม แล้วก็หยุดตรงนี้ เพราะฉะนั้นถึงไม่จบ
000…เรื่องปรองดองรู้สึกว่ารัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” ก็ทำ
ที่นี้พอมาถึงคุณยิ่งลักษณ์ ก็ยึดถือเอาคณะกรรมการเดิม ชุดเดิม คงความคิดเดิมที่ได้ทำไว้ในยุคก่อน แถมตั้งขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง และให้คุณอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธานอีก ก็เป็นนักฏหมายเหมือนกัน ก็ทำให้แก้ปัญหาไม่ได้อีกเช่นกันจนวันนี้ ไม่สำเร็จ ไม่ใช่คุณอุกฤษไม่เก่ง แต่ปัญหาการเมือง มันแก้ไม่ได้ด้วยกฏหมาย
ฉะนั้น องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ แก้ปัญหาทุกครั้งที่มีปัญหานั่นคือ 3 องค์กรที่ว่ามานี้ที่ต้องทำ เพราะมีหน้าที่ และจะไม่ทำก็ไม่ได้ แต่พอทำแล้วไม่สำเร็จ ก็คงต้องไปมองหาองค์ต่อไป ที่จะเป็นลำดับสุดท้าย ในแบบ Automatic
000...ผลสรุปรัฐบาลก็แก้ปัญหากันไม่ได้
เหตุการณ์ในอดีตหลายๆ เหตุการณ์บอกแล้ว ในประวัติศาตร์ ว่าแก้ไม่ได้ ทั้งๆ ที่มีความพยายามจะแก้ แต่ต้องมองด้วยว่า 3 องค์กรที่ผ่านมา ได้เคยแก้ปัญหามาหลายต่อหลายครั้ง แต่เมื่อปัญหามันเริ่มซับซ้อนมากขึ้น การแก้ปัญหาก็ต้องพัฒนาตามไปด้วย
จุดนี้เองที่สำคัญ และเป็นรากของปัญหาในวันนี้ กับการเข้ามาขององค์กรที่ 4 ที่จะต้องเข้ามาแก้ปัญหา ที่ก็บอกไปแล้วว่าเป็น Automatic และเป็นอย่างนี้ทั่วโลก
000...แล้วองค์กรที่ 4 จะแก้ได้จริงหรือไม่?
Automatic ที่ว่า ก็คือเป็นความจำเป็น และเป็นองค์กรสุดท้ายสำหรับการแก้ปัญหาของประเทศ องค์กรที่ 4 นั่นคือ ประชาชน ประชาชนต้องขึ้นมารวมตัวกันโดยอาจจะกำหนดเป้าหมายไปคนละทาง แต่ปัญหาที่องค์กรที่สี่มีคือ ประชาชนไม่มีอำนาจ วิธีการจะเข้ามาแก้ปัญหาก็ต้องยึดอำนาจ พยายามยึดอำนาจ ดังจะเห็นได้จากสถานการณ์ปัจจุบัน
000…4 องค์กรกับการแก้ปัญหา จนมาถึงปัจจุบัน มีทิศทางอย่างไร?
4 องค์กร ทั้งหมดนี้แก้ปัญหาอะไร ความยุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ที่คนไม่รู้เรื่อง คือถ้าจะแก้ต้องมาดูรากเหง้าของปัญหา มาดูว่าแก้ปัญหาอะไร แก้ปัญหาหลักของชาติที่เกิดมาแล้ว 83 ปี ตั้งแต่ปี 2475 (เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์) จนถึงวันนี้คำถามก็คือ ทำไมวันนี้มันรุนแรง มันเกิดมาแล้วตลอดเวลา
ต้องขอย้อนไปที่รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ หรือ เสด็จปู่ รัชกาลที่ 5 ตอนนั้นพระองค์ท่านเริ่มคิดว่าเอาอำนาจของเราให้ประชาชน เมื่อเริ่มคิดเรื่องนี้ในการเปลี่ยนแปลงอำนาจ โดยเอาอำนาจของพระองค์ท่านมาให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดการปกครองที่ถูกต้องที่สอดคล้องกันระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป
ต้องเข้าใจก่อนว่า การเมืองนั้นเดินคู่ไปกับเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อก่อนนี้ในสมัยนั้นประเทศไทยเป็น ระบบเศรษฐกิจแบบกสิกรรมล้าหลัง ระบบเศรษฐกิจแบบทำมาหากิน ทำไว้กินไม่ใช่ทำไว้ขาย ไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจแบบทำมาค้าขาย
000…เรียกว่า แบบพอกินพอใช้อย่างนั้นหรือเปล่า ?
ใช่ นั่นคือ ระบบเศรษฐกิจ แบบพอกินพอใช้ ระบบเศรษฐกิจแบบนี้ต้องใช้การเมืองที่เหมาะสม ก็คือการปกครองแบบคนที่มีอำนาจเพียงคนเดียว คือระบอบเผด็จการ ที่นี้ ระบอบเผด็จการก็มีหลายแบบ ทั้งเผด็จการโดยคนเดียวหรือโดยกลุ่มคนก็ตาม ที่มีอยู่ทุกวันนี้ เช่น คอมมิวนิสต์ หรือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่เห็นได้ชัดจากจุดนี้ ในปัจจุบัน ก็อย่างกรณีของ การเกิดวิกฤติ อย่าง Arab Spring นี่คือสิ่งที่เราจะแก้กันจนถึงที่สุด ปัญหาของชาติเป็นเรื่องที่มีความสำคัญแล้วเราไม่ได้แก้ไขกันเลย หรือแก้โดยวิธีที่ผิดๆ ทั้งหมดที่ว่ามา 1 – 2 -3 -4 เราต้องการจะแก้ไขอะไร ทั้งหมดปัญหาอยู่ตรงที่เกิดมาแล้ว 83 ปี
000…แล้วระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนเมื่อไหร่ ?
จริงๆ ก็เปลี่ยนในสมัย ร.5 นั่นแหละ พระองค์ท่านเสด็จไปไหนต่อไหน ไปต่างประเทศหลายประเทศก็เห็นว่า เขาใช้เครื่องจักรกลในการผลิต และสังคมโลกหลายๆ ประเทศก็เปลี่ยนแปลงไป ที่นี้ไม่เหมือนเดิม ในประเทศไทยเองระบบเศรษฐกิจก็เริ่มเปลี่ยน คือเปลี่ยนจากสังคมกสิกรรมเกษตรกรรม กลายมาเป็นสังคมการผลิต ในขบวนการผลิตไม่ใช่เกิดระหว่างนายกับบ่าว แต่เป็นเศรษฐกิจแบบที่จะต้องผลิตเพื่อขาย จึงเกิดคนชั้นกลางในการผลิต สังคมใหม่ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจ แบบทำมาค้าขายหรือระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หรือ เสรีนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีชนชั้นกลางเยอะขึ้น
000...ชนชั้นกลางคือจุดเปลี่ยนการเมืองไทย ?
จุดเปลี่ยนสำคัญก็อยู่ตรงนี้แหละ อย่างที่บอกไว้แล้วว่า เมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนการเมืองก็ต้องเปลี่ยนตาม ต้องพัฒนาตาม เมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนจากกสิกรรม มาเป็น เศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม มีชนชั้นกลางมากขึ้น ก็มีเสียงเรียกร้องหาระบบการเมืองแบบใหม่ แล้วก็พยายามจะแก้ ให้ประเทศมีการปกครองแบบประชาธิปไตย คือการปกครองที่เป็นธรรมหรือการปกครองของประชาชน หรือการปกครองแบบประชาธิปไตย เรียกอะไรก็ตาม ก็เหมือนกันหมด
000... จุดเปลี่ยนนั้นคือประเด็นสำคัญ
เป็นประเด็นสำคัญที่มีนัยยะมากๆ มาจนถึงปัจจุบัน ที่นี้เราไปมองในห้วงเวลานั้นกันต่อ เมื่อมีชนชั้นกลางเยอะเลยมีดำริที่จะแก้ไขการปกครอง ใครคือคนส่วนใหญ่ของชาติ การปกครองต้องส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจทำให้คนของชาติเจริญขึ้น การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังที่ อับราฮัม ลินคอร์น (ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา) เคยกล่าวไว้ว่า รัฐบาลของประชาชนต้องเป็นรัฐบาลของประชาชน Government of the People คืออะไร รัฐบาลที่มาจากประชาชน หมายถึง Government by the People ทั้งหมดนี้คือความหมายรวม จะทำงานและใช้อำนาจสูงสุดที่มีอยู่ อำนาจบริหารอำนาจอธิปไตย For the People รัฐบาลมาจากประชาชนและต้องทำเพื่อประชาชน เพราะฉะนั้น For the People คือหัวใจ
000....เท่ากับการเมืองนั่นเปลี่ยนแปลงไปตามเศรษฐกิจของประเทศ
ไม่เชิงนัก เมื่อพูดมาถึงตรงนี้ ก็พอจะสรุปได้ว่า ถ้าหากระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไปการเมืองต้องเข้ามาสนองตอบ ถ้าการเมืองถูกต้องจะทำให้ระบบเศรษฐกิจเจริญขึ้น ระบบเศรษฐกิจเจริญขึ้นก็จะย้อนมาทำให้การเมืองมีความเข้มแข็ง ถ้าพูดว่าในบ้านเมืองระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม อะไรสำคัญสุด ต้องบอกว่า ระบบเศรษฐกิจคืองานที่สำคัญของแผ่นดิน แต่เศรษฐกิจก็จะไปได้ด้วยดีต้องมีการเมืองที่ถูกต้องเข้ามาสนับสนุน การเมืองต้องมาก่อนเศรษฐกิจ นี่ต่างหากคือหัวใจ
ย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงทรงเปลี่ยนการปกครอง รัชกาลที่ 6 ก็ทรงมาทำต่อจนถึง จนถึงรัชกาลที่ 7 แต่ประชาชนรอไม่ไหวเราเลยยึดอำนาจมา คณะราษฎร์จึงยึดอำนาจมา รัชกาลที่ 7 ก็ทรงบอกว่าเอาไปเลยแต่อย่าเอาไปให้ใคร ให้เอาไปให้ประชาชน ต้องการเอาอำนาจของพระองค์ท่านมาให้ประชาชน ตั้งแต่ปี 2475 ก็ทวงจนถึงปี 2477 ก็ไม่ให้ประชาชนอย่างแท้จริง
พอเป็นแบบนี้ รัชกาลที่ 7 ท่านก็ทรงบอกว่าที่ทำอยู่ไม่ใช่ประชาธิปไตย เป็นเผด็จการอ้อมๆ ในที่สุดท่านก็สละราชสมบัติออกไปต่างประเทศ ตั้งแต่นั้นมาบ้านเราก็มีความรุนแรงขึ้นทุกที
000…คืออำนาจทั้งหมดไม่ได้อยู่กับประชาชนอย่างแท้จริง
ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งถ้าเรามองย้อนไปหลังจากในสมัยของรัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา เมื่อไหร่ก็ตามที่ สถานการณ์การเมืองเมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเราเรียกว่า ปัญหาเฉพาะหน้า พอปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น เมื่อเราแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเสร็จแล้ว ถ้าไม่แก้ปัญหาพื้นฐานคือเรื่องการเมือง การปกครอง หรือ อำนาจประชาธิปไตย ปัญหาจะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
000…เหมือนเป็นวัฎจักรแบบนั้น
ไม่ใช่แค่วัฎจักรธรรมดา แต่เป็นวัฎจักรที่กำหนดเวลาได้ด้วย คือประมาณ 40 ปีจะเกิดขึ้นครั้ง ประมาณ 40 ปี ถ้าเราจำได้ วัฎจักรนี้ จะหมุนมาอีกครั้ง เช่นปี 2507 เกิดขึ้นครั้งหนึ่งถ้าจำได้ การต่อสู้ที่รุนแรงที่สุด คือกรณีของวันที่ 7 สิงหาคม วันเสียงเป็นแตก การต่อสู้ระหว่างรัฐไทยกับ พคท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) ซึ่งก็คนไทยด้วยกัน แต่ก็แก้ได้ ตอนนั้น พ่อเอง (พล.อ.ชวลิต) มาแก้ปัญหาหลักคือสงครามกลางเมือง ตอนนั้นเป็น ผบ.ทบ. แก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือสงครามกลางเมืองเสร็จ แล้วจึงคิดจะแก้ปัญหาการเมือง ซึ่งการเมืองนี่แหละที่ทหารแก้ไม่ได้ การจะแก้ปัญหานั่นคือ ต้องยึดอำนาจ ถ้ายึดอำนาจก็จะเข้าวงจรเดิม
000…เรื่องปรองดองรู้สึกว่ารัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” ก็ทำ
ที่นี้พอมาถึงคุณยิ่งลักษณ์ ก็ยึดถือเอาคณะกรรมการเดิม ชุดเดิม คงความคิดเดิมที่ได้ทำไว้ในยุคก่อน แถมตั้งขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง และให้คุณอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธานอีก ก็เป็นนักฏหมายเหมือนกัน ก็ทำให้แก้ปัญหาไม่ได้อีกเช่นกันจนวันนี้ ไม่สำเร็จ ไม่ใช่คุณอุกฤษไม่เก่ง แต่ปัญหาการเมือง มันแก้ไม่ได้ด้วยกฏหมาย
ฉะนั้น องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ แก้ปัญหาทุกครั้งที่มีปัญหานั่นคือ 3 องค์กรที่ว่ามานี้ที่ต้องทำ เพราะมีหน้าที่ และจะไม่ทำก็ไม่ได้ แต่พอทำแล้วไม่สำเร็จ ก็คงต้องไปมองหาองค์ต่อไป ที่จะเป็นลำดับสุดท้าย ในแบบ Automatic
000...ผลสรุปรัฐบาลก็แก้ปัญหากันไม่ได้
เหตุการณ์ในอดีตหลายๆ เหตุการณ์บอกแล้ว ในประวัติศาตร์ ว่าแก้ไม่ได้ ทั้งๆ ที่มีความพยายามจะแก้ แต่ต้องมองด้วยว่า 3 องค์กรที่ผ่านมา ได้เคยแก้ปัญหามาหลายต่อหลายครั้ง แต่เมื่อปัญหามันเริ่มซับซ้อนมากขึ้น การแก้ปัญหาก็ต้องพัฒนาตามไปด้วย
จุดนี้เองที่สำคัญ และเป็นรากของปัญหาในวันนี้ กับการเข้ามาขององค์กรที่ 4 ที่จะต้องเข้ามาแก้ปัญหา ที่ก็บอกไปแล้วว่าเป็น Automatic และเป็นอย่างนี้ทั่วโลก
000...แล้วองค์กรที่ 4 จะแก้ได้จริงหรือไม่?
Automatic ที่ว่า ก็คือเป็นความจำเป็น และเป็นองค์กรสุดท้ายสำหรับการแก้ปัญหาของประเทศ องค์กรที่ 4 นั่นคือ ประชาชน ประชาชนต้องขึ้นมารวมตัวกันโดยอาจจะกำหนดเป้าหมายไปคนละทาง แต่ปัญหาที่องค์กรที่สี่มีคือ ประชาชนไม่มีอำนาจ วิธีการจะเข้ามาแก้ปัญหาก็ต้องยึดอำนาจ พยายามยึดอำนาจ ดังจะเห็นได้จากสถานการณ์ปัจจุบัน
000…4 องค์กรกับการแก้ปัญหา จนมาถึงปัจจุบัน มีทิศทางอย่างไร?
4 องค์กร ทั้งหมดนี้แก้ปัญหาอะไร ความยุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ที่คนไม่รู้เรื่อง คือถ้าจะแก้ต้องมาดูรากเหง้าของปัญหา มาดูว่าแก้ปัญหาอะไร แก้ปัญหาหลักของชาติที่เกิดมาแล้ว 83 ปี ตั้งแต่ปี 2475 (เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์) จนถึงวันนี้คำถามก็คือ ทำไมวันนี้มันรุนแรง มันเกิดมาแล้วตลอดเวลา
ต้องขอย้อนไปที่รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ หรือ เสด็จปู่ รัชกาลที่ 5 ตอนนั้นพระองค์ท่านเริ่มคิดว่าเอาอำนาจของเราให้ประชาชน เมื่อเริ่มคิดเรื่องนี้ในการเปลี่ยนแปลงอำนาจ โดยเอาอำนาจของพระองค์ท่านมาให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดการปกครองที่ถูกต้องที่สอดคล้องกันระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป
ต้องเข้าใจก่อนว่า การเมืองนั้นเดินคู่ไปกับเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อก่อนนี้ในสมัยนั้นประเทศไทยเป็น ระบบเศรษฐกิจแบบกสิกรรมล้าหลัง ระบบเศรษฐกิจแบบทำมาหากิน ทำไว้กินไม่ใช่ทำไว้ขาย ไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจแบบทำมาค้าขาย
000…เรียกว่า แบบพอกินพอใช้อย่างนั้นหรือเปล่า ?
ใช่ นั่นคือ ระบบเศรษฐกิจ แบบพอกินพอใช้ ระบบเศรษฐกิจแบบนี้ต้องใช้การเมืองที่เหมาะสม ก็คือการปกครองแบบคนที่มีอำนาจเพียงคนเดียว คือระบอบเผด็จการ ที่นี้ ระบอบเผด็จการก็มีหลายแบบ ทั้งเผด็จการโดยคนเดียวหรือโดยกลุ่มคนก็ตาม ที่มีอยู่ทุกวันนี้ เช่น คอมมิวนิสต์ หรือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่เห็นได้ชัดจากจุดนี้ ในปัจจุบัน ก็อย่างกรณีของ การเกิดวิกฤติ อย่าง Arab Spring นี่คือสิ่งที่เราจะแก้กันจนถึงที่สุด ปัญหาของชาติเป็นเรื่องที่มีความสำคัญแล้วเราไม่ได้แก้ไขกันเลย หรือแก้โดยวิธีที่ผิดๆ ทั้งหมดที่ว่ามา 1 – 2 -3 -4 เราต้องการจะแก้ไขอะไร ทั้งหมดปัญหาอยู่ตรงที่เกิดมาแล้ว 83 ปี
000…แล้วระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนเมื่อไหร่ ?
จริงๆ ก็เปลี่ยนในสมัย ร.5 นั่นแหละ พระองค์ท่านเสด็จไปไหนต่อไหน ไปต่างประเทศหลายประเทศก็เห็นว่า เขาใช้เครื่องจักรกลในการผลิต และสังคมโลกหลายๆ ประเทศก็เปลี่ยนแปลงไป ที่นี้ไม่เหมือนเดิม ในประเทศไทยเองระบบเศรษฐกิจก็เริ่มเปลี่ยน คือเปลี่ยนจากสังคมกสิกรรมเกษตรกรรม กลายมาเป็นสังคมการผลิต ในขบวนการผลิตไม่ใช่เกิดระหว่างนายกับบ่าว แต่เป็นเศรษฐกิจแบบที่จะต้องผลิตเพื่อขาย จึงเกิดคนชั้นกลางในการผลิต สังคมใหม่ที่ใช้ระบบเศรษฐกิจ แบบทำมาค้าขายหรือระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หรือ เสรีนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีชนชั้นกลางเยอะขึ้น
000...ชนชั้นกลางคือจุดเปลี่ยนการเมืองไทย ?
จุดเปลี่ยนสำคัญก็อยู่ตรงนี้แหละ อย่างที่บอกไว้แล้วว่า เมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนการเมืองก็ต้องเปลี่ยนตาม ต้องพัฒนาตาม เมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนจากกสิกรรม มาเป็น เศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม มีชนชั้นกลางมากขึ้น ก็มีเสียงเรียกร้องหาระบบการเมืองแบบใหม่ แล้วก็พยายามจะแก้ ให้ประเทศมีการปกครองแบบประชาธิปไตย คือการปกครองที่เป็นธรรมหรือการปกครองของประชาชน หรือการปกครองแบบประชาธิปไตย เรียกอะไรก็ตาม ก็เหมือนกันหมด
000... จุดเปลี่ยนนั้นคือประเด็นสำคัญ
เป็นประเด็นสำคัญที่มีนัยยะมากๆ มาจนถึงปัจจุบัน ที่นี้เราไปมองในห้วงเวลานั้นกันต่อ เมื่อมีชนชั้นกลางเยอะเลยมีดำริที่จะแก้ไขการปกครอง ใครคือคนส่วนใหญ่ของชาติ การปกครองต้องส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจทำให้คนของชาติเจริญขึ้น การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังที่ อับราฮัม ลินคอร์น (ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา) เคยกล่าวไว้ว่า รัฐบาลของประชาชนต้องเป็นรัฐบาลของประชาชน Government of the People คืออะไร รัฐบาลที่มาจากประชาชน หมายถึง Government by the People ทั้งหมดนี้คือความหมายรวม จะทำงานและใช้อำนาจสูงสุดที่มีอยู่ อำนาจบริหารอำนาจอธิปไตย For the People รัฐบาลมาจากประชาชนและต้องทำเพื่อประชาชน เพราะฉะนั้น For the People คือหัวใจ
000....เท่ากับการเมืองนั่นเปลี่ยนแปลงไปตามเศรษฐกิจของประเทศ
ไม่เชิงนัก เมื่อพูดมาถึงตรงนี้ ก็พอจะสรุปได้ว่า ถ้าหากระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไปการเมืองต้องเข้ามาสนองตอบ ถ้าการเมืองถูกต้องจะทำให้ระบบเศรษฐกิจเจริญขึ้น ระบบเศรษฐกิจเจริญขึ้นก็จะย้อนมาทำให้การเมืองมีความเข้มแข็ง ถ้าพูดว่าในบ้านเมืองระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม อะไรสำคัญสุด ต้องบอกว่า ระบบเศรษฐกิจคืองานที่สำคัญของแผ่นดิน แต่เศรษฐกิจก็จะไปได้ด้วยดีต้องมีการเมืองที่ถูกต้องเข้ามาสนับสนุน การเมืองต้องมาก่อนเศรษฐกิจ นี่ต่างหากคือหัวใจ
ย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงทรงเปลี่ยนการปกครอง รัชกาลที่ 6 ก็ทรงมาทำต่อจนถึง จนถึงรัชกาลที่ 7 แต่ประชาชนรอไม่ไหวเราเลยยึดอำนาจมา คณะราษฎร์จึงยึดอำนาจมา รัชกาลที่ 7 ก็ทรงบอกว่าเอาไปเลยแต่อย่าเอาไปให้ใคร ให้เอาไปให้ประชาชน ต้องการเอาอำนาจของพระองค์ท่านมาให้ประชาชน ตั้งแต่ปี 2475 ก็ทวงจนถึงปี 2477 ก็ไม่ให้ประชาชนอย่างแท้จริง
พอเป็นแบบนี้ รัชกาลที่ 7 ท่านก็ทรงบอกว่าที่ทำอยู่ไม่ใช่ประชาธิปไตย เป็นเผด็จการอ้อมๆ ในที่สุดท่านก็สละราชสมบัติออกไปต่างประเทศ ตั้งแต่นั้นมาบ้านเราก็มีความรุนแรงขึ้นทุกที
000…คืออำนาจทั้งหมดไม่ได้อยู่กับประชาชนอย่างแท้จริง
ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งถ้าเรามองย้อนไปหลังจากในสมัยของรัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา เมื่อไหร่ก็ตามที่ สถานการณ์การเมืองเมื่อมีความรุนแรงเกิดขึ้น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเราเรียกว่า ปัญหาเฉพาะหน้า พอปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น เมื่อเราแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเสร็จแล้ว ถ้าไม่แก้ปัญหาพื้นฐานคือเรื่องการเมือง การปกครอง หรือ อำนาจประชาธิปไตย ปัญหาจะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
000…เหมือนเป็นวัฎจักรแบบนั้น
ไม่ใช่แค่วัฎจักรธรรมดา แต่เป็นวัฎจักรที่กำหนดเวลาได้ด้วย คือประมาณ 40 ปีจะเกิดขึ้นครั้ง ประมาณ 40 ปี ถ้าเราจำได้ วัฎจักรนี้ จะหมุนมาอีกครั้ง เช่นปี 2507 เกิดขึ้นครั้งหนึ่งถ้าจำได้ การต่อสู้ที่รุนแรงที่สุด คือกรณีของวันที่ 7 สิงหาคม วันเสียงเป็นแตก การต่อสู้ระหว่างรัฐไทยกับ พคท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) ซึ่งก็คนไทยด้วยกัน แต่ก็แก้ได้ ตอนนั้น พ่อเอง (พล.อ.ชวลิต) มาแก้ปัญหาหลักคือสงครามกลางเมือง ตอนนั้นเป็น ผบ.ทบ. แก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือสงครามกลางเมืองเสร็จ แล้วจึงคิดจะแก้ปัญหาการเมือง ซึ่งการเมืองนี่แหละที่ทหารแก้ไม่ได้ การจะแก้ปัญหานั่นคือ ต้องยึดอำนาจ ถ้ายึดอำนาจก็จะเข้าวงจรเดิม
000…วงจรเดิม คือยึดอำนาจ ครั้งแล้วครั้งเล่า
ในชีวิตพ่อเคย ปราบการยึดอำนาจ คือ มนูญ รูปขจร (พล.ต.มนูญ รูปขจร) เราปราบ 2 หน (กรณีกบฎยังเติร์กหรือเมษาฮาวาย 2524 และ กรณี กบฎ 9 กันยา 2528 ) ตอนนั้นปราบเสร็จก็จับส่งไปต่างประเทศ กลัวเขาฆ่าเอา (เพราะยังไงก็น้อง) โดยการให้ออกไปนอกประเทศ เพราะสมัยก่อนถือกันว่า ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน นั่นคือสิ่งที่เราถือ
000…เมื่อปราบกบฏแล้วเป็นอย่างไร?
ตอนนั้นแก้ได้ ต่อมาเมื่อปี 2525 ถ้าเราเป็นทหาร เราจะแก้ไม่ได้ จึงเป็นสาเหตุให้ขอลาออกจาก ผบ.ทบ. สี่ปีล่วงหน้า ซึ่งไม่มีมนุษย์หน้าไหนทำ ทั้งหมดนี้ก็เลยจะขอถือว่าเปเปอร์นี้จะเป็นเปเปอร์ที่ให้การศึกษาแก่คนทั้งแผ่นดิน
000…พ่อใหญ่เล่ามาถึงสาเหตุแล้ว ในปัจจุบันจะทำอย่างไร?
การจะแก้ปัญหาในปัจจุบัน ต้องเข้าใจ ก่อน เพราะเป็นยุคแห่งประชาธิปไตย และประชาธิปไตยคืออะไร การสร้างประชาธิปไตยคืออะไร ประชาธิปไตยต้องสร้าง 5 ข้อให้ปรากฎเป็นจริงให้ได้ 1. อำนาจอธิปไตยของปวงชน 2.เสรีภาพของบุคคล 3.ความเสมอภาค 4.หลักกฎหมาย ซึ่งก็คือ รัฐบาลหรือการปกครองที่มาจากการเลือกตั้ง
ข้อที่สำคัญที่สุดคืออำนาจอธิปไตย และ เสรีภาพส่วนบุคคล 2 ข้อนี้ สำคัญสุด ข้ออื่นก็สำคัญแต่ 2 ข้อนี้สำคัญสุด เหมือนหลักกฎหมาย เช่น Government จีน แต่เป็น Government ที่เป็นรัฐบาลโดยประชาชน แต่ไม่ใช่ For the people ไม่ใช่เพื่อประชาชน เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ แต่หลักสำคัญต้อง Government for the People จีนข้ามข้อนี้ไป
อธิปไตยของปวงชน และเสรีภาพบุคคล เป็นสิ่งซึ่งเกาะเกี่ยวกันแน่นเป็นคานงัดคานกระดก อธิปไตยของปวงชนคือการที่ทำไงก็ตามที่ให้ปวงชนมาทำหน้าที่ตรงนี้เป็นผู้แทนประชาชนจริงๆ ที่ขึ้นมาอยู่ตรงนี้ถ้าคานนี้มีความเสมอภาคก็โอเค แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงนิดหน่อยตามสถานการณ์ แต่หากว่าอธิปไตยปวงชนมันสูงขึ้นเป็นคานกระดก เสรีภาพบุคคลต่ำลงจนถึงต่ำสุด ก็จะกลายเป็นระบบเผด็จการ ถ้าหมุนกลับมามองกลับกัน ถ้าเสรีภาพส่วนบุคลมากๆ ขึ้น กลายเป็นคานกระดกอีกทางหนึ่ง ก็จะกลายเป็นอนาธิปไตย
000…สำหรับประเทศไทยแล้ว จุดสูงสุดของประชาธิปไตยที่พ่อใหญ่ว่ามาอยู่ตรงช่วงไหน
ในช่วงปี 2540 ถือว่าเป็นช่วงหนึ่ง ที่พ่อเป็นนายกฯ มีการออกแบบสำรวจปี 40 ธงเขียว กับ ธงเหลืองทำจนทะเลาะกัน แต่ถ้าถามว่าทะเลาะกันเรื่องอะไร ก็ตอบไม่ได้ แต่เราก็ไม่รู้ว่าทะเลาะกันจะเอาอะไร แต่คนจริงๆจะรู้ว่าเอาอะไร เรารู้ว่าจะเอาอะไร ก่อนปี 40 เราจะเห็นว่ารัฐบาลนั้นเปลี่ยนทุกปี ครึ่งปีบ้าง 3 เดือนบ้าง 20 ปี พ่อยกตัวอย่างที่เขมร ฮุนเซน (นายกรัฐมนตรีกัมพูชา) อยู่คนเดียว 20 ปี แต่ไทยเราเปลี่ยนนายก 12 คน ก็ไม่ไหว
ครั้งนั้นเราเลยจัดให้รัฐธรรมนูญเป็นอธิปไตยของปวงชน สูงกว่าปกติหน่อย คือเพิ่มสัดส่วนเข้ามา เพื่อจะให้ผู้มีอำนาจบริหารได้เต็มที่ มีอำนาจในการแก้ไขปัญหา ต่อเนื่องมาจนตอนที่ท่านทักษิณ (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) อยู่ ท่านอาจไม่รู้เรื่อง ท่านอาจจะใช้อำนาจเต็มที่ เข้มแข็ง กลายเป็นดูเผด็จการ
000…เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ในปี 2540 รัฐธรรมนูญให้อำนาจอธิปไตยไว้มาก พอมาเป็นรัฐธรรมนูญปี 2550 เลยปรับลงมาเท่ากันกับ เสรีภาพบุคคล มีหลายองค์กรเข้ามาคะคาน คอยดูอยู่ อำนาจอธิปไตยอาจต่ำกว่าเสรีภาพบุคคล ระดับนิดหน่อยด้วยซ้ำ อันนี้ทำให้เห็นภาพในปัจจุบัน
000...ปัจจุบัน กับ เรื่องเสรีภาพบุคคล
นี่แหละที่พ่อกำลังจะบอกว่า มาในปัจจุบันมองไปที่ม็อบคุณสุเทพ (สุเทพ เทือกสุบรรณ) มาถึงจุดที่สุเทพถูกยังไง เขาไม่มีอำนาจ เขาเลยต้องเริ่มสร้างอธิปไตยของปวงชนก่อน การสร้างอธิปไตยของปวงชนคือการที่เขาจะสร้างสภาประชาชน จากตัวแทนของประชาชนทุกแขนงเข้ามาเป็นตัวแทนประชาชนจริงๆ ไม่ได้เข้ามาเพราะเงินของนายทุนต่างๆ ถ้ามาจากเงินของนายทุนก็จะใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองได้ สุเทพถึงพูดว่าเขาสร้างสิ่งนี้นะ แต่เขาไม่ได้พูดต่อว่าถ้าสร้างอธิปไตยของปวงชนเสร็จแล้ว จากอธิปไตยของปวงชนมันจะขยายสู่เสรีภาพของบุคคล เพราะมันต้องช่วยกัน นั่นคือสิ่งที่เขาอยากจะเห็น เขาก็พูดถูก เขาต้องสร้างแบบนี้เพราะขั้นตอนมันเป็นแบบนี้ สุเทพพูดถูก จะให้เขาไปสร้างอย่างอื่นได้อย่างไร เขาต้องสร้างอธิปไตยของปวงชนเป็นอันดับแรก
000…มาถึงฝั่งของรัฐบาลควรทำอย่างไร
ฝั่งของนายกยิ่งลักษณ์ก็ถูกอีก เพราะเขามีอยู่แล้วไม่ต้องไปสร้างอำนาจ เพราะอธิปไตยของปวงชนเขามีอยู่แล้ว เขามีอยู่แล้วในมือ ไม่ต้องไปสร้าง เป็นอธิปไตยแต่อาจไม่ใช่ของปวงชน ตัวเองอาจว่าเป็นของปวงชน แต่เป็นอธิปไตยที่มีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเขาถึงไม่พูดถึงเรื่องนี้ เขาไปสนใจแต่เสรีภาพ มีสองอย่างนี้ที่ต้องสร้าง เพราะมันเกี่ยวกัน เพราะฉะนั้นเขาถึงสร้างเสรีภาพของบุคคล เพื่อให้ขยายไปสู่อธิปไตยของประชาชน ได้มากขึ้น ในความจริงท่านยิ่งลักษณ์ได้เปรียบ ท่านแค่ทำ For the People ให้ได้เท่านั้น
000… Foe the People ทำยังไง
วันนี้ท่านยิ่งลักษณ์ มองไม่เห็นว่า ทำ For the People เพราะตัวเองทำได้อยู่แล้ว นี่คือที่บอกว่าขยายเสรีภาพส่วนบุคลให้อะไรต่างๆ ให้สิ่งที่ประชาชนต้องการ อาจขึ้นมาพูดว่า สิ่งที่ทำมาเมื่อสองปีที่แล้ว แรกนั้นเป็นขั้นแรกนะ ขั้นที่ 1 ต้องการจะทำ For the People ทำเพื่อประชาชนก่อน และ By the People ทำยาก ถ้างั้นข้ามไปทำ Foe the People เลยละกัน และบอกว่าที่ผ่านมาทำเพื่อประชาชนแล้ว 30 บาท รักษาทุกโรค เขาพยายามทำเพื่อประชาชน แต่บางตัวเพิ่งได้เรียนรู้มันกลายเป็นระบบที่ทำให้เกิดความเสียหายเช่นการจำนำข้าว ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ต่อไปนี้ปีหน้าจะเริ่มขั้นที่ 2 เป็นขั้น ที่จะเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง เช่นระบบข้าวเคยให้ 15,000 บาท จะให้เป็น 30,000 แต่ต้องทำจริง และต้องให้ 30,000 จริงๆ นะ แต่ว่าให้ทำ ไม่ใช่แจกเงิน เหมือนที่บอกว่า แทนที่จะแจกเบ็ดตกปลาแต่กลับไปแจกปลา วิธีนี้ต้องทำ และสอนวิธีตกปลา วิธีแบบนี้ อาจได้ 50,000 ถ้าใช้เบ็ดเป็น นี่คือสิ่งที่เราต้องมาคิดว่าทำไง เมื่อตัวเองทำ For the People ได้เต็มที่ เป็นหนี้ก็ใช้หนี้ให้หมด ภายในปีนี้ ปีหน้าไม่ต้องกู้
แล้วก็ยัง สามารถสร้างรถไฟความเร็วสูงได้เองโดยไม่ต้องกู้เพราะเรามีโครงการใหญ่ๆ ดีๆ หลายโครงการ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศส่วนรวม เช่น โครงการ Energy Bridge โครงการทำสะพานเพื่อเชื่อมตะวันตกและตะวันออก ฝั่ง Atlantic และ Pacific เพราะน้ำมันวิ่งมาจากฝั่นโน้น น้ำมันต้องวิ่งผ่านมะละกา เราก็ให้ข้ามมาเลย ใครๆ ก็อยากทำ รวยตาย ใครๆ ก็อยากทำ เพราะฉะนั้นถูกทั้งคู่ คนนึงอยากสร้างอธิปไตยของปวงชน มุ่งไปสู่เสรีภาพบุคคล อีกคนหนึ่งมีอยู่แล้ว ก็ไปสร้างเสรีภาพบุคคล นำไปสู่การแก้ไขอธิปไตยของปวงชน ถ้าปรับต้องปรับแบบนี้ นั่นคือสิ่งที่พยายามอธิบาย ทั้งสองฝ่ายถูกทั้งคู่ ต้องหันหน้ามาหากัน ประชาชนได้มีความสุข
000…หันหน้าเข้าหากันร่วมกันสร้าง
อ้าว... การเมืองถ้าไม่แก้อย่างนี้ จะแก้แบบไหน เดี๋ยวก็ฆ่ากันตาย เดี๋ยวก็ไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ตั้งกองกำลังมาฟาดกันต่อ เพราะสองฝ่ายยังโกรธกันอยู่ แต่จริงๆ ทำแบบนั้นไม่ได้
000...แล้วแก้แบบที่พ่อใหญ่ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร?
ต้องประกาศ เริ่มที่ต้องเขียนให้ดี ให้คนเข้าใจ อย่างน้อยเข้าใจว่าจริงด้วย จะได้ไม่มีใครเถียงได้ จะเถียงตรงไหน ซึ่งเป็นอย่างนั้นจริงๆ ในความเป็นจริงในประวัติศาสตร์ก็เป็นอย่างนั้น
000...ถามพ่อใหญ่แบบความในใจเลย คิดว่า “เลือกตั้ง” จะช่วยอะไรได้หรือไม่
สำหรับพ่อๆ ว่า ไม่ได้ช่วยอะไร แต่อยากเลือกก็เลือก แต่เลือกแล้วก็ไม่ได้ช่วยอะไร แต่คุณสองคนทำได้ รวมกันทำได้เลย ไม่ต้องไปขอใคร For the People ทำเพื่อประชาชน ทางนี้ก็ให้ไอ้เทพ (สุเทพ เทือกสุบรรณ) มันทำ .....(หัวเราะ) จัดเรื่องประชาชน By the People ดีกว่าไปทะเลาะกัน ไปหาเรื่องจัดตั้งกองทัพมารบกันอีก
ซึ่งช่วยกันทำ ถ้าเขาตัดผลประโยชน์ส่วนตัวออกคงจบ จะไปว่าใครอยู่เบื้องหลังคงไม่มีประโยชน์ ถูกไหม? นี่คือความเป็นจริงที่คุณทำถูกแล้ว แต่สองฝ่ายพูดไม่ออก อธิบายกันไม่ได้เท่านั้นเอง
000...แล้วตัวช่วยอื่นๆ อย่าง องค์กรอิสระ หรือ ตุลาการหล่ะ?
เราไม่เคยมองไม่ดี ทุกแห่งทุกฝ่ายมองไม่ดีไม่ได้ ต้องมองในสิ่งที่ดีก่อน บางครั้งก็เข้าใจเขา เห็นใจเขาในบางเรื่อง ต้องยอมรับว่าเห็นใจเขาในบางเรื่อง บอกว่าผมคนหนึ่งและพรรคพวกผมทนไม่ได้ถ้าจะปล่อยให้ไปถึงขั้นนั้น พ่อคิดมานานแล้ว วางมานานแล้ว ที่จะป้องกันไม่ให้กองกำลังทั้งสองฝ่ายทะเลาะกัน ปะทะกัน พูดกันมานาน พ่อจึงออกมาจากเพื่อไทย ไม่งั้นพ่อจะออกมาทำไม แต่คิดแล้วว่าคงตีกันแน่ แต่พูดไม่ได้ จึงออกมาเพื่อจัดตั้ง The Third Force กองกำลังส่วนที่สาม ถ้าจะดูของพ่อ เดี๋ยวจะแสดงให้ดู แต่ว่าไม่แสดงเท่านั้นเอง
000…พ่อใหญ่ไม่คิดจะกลับเข้าการเมืองไปแก้ปัญหา แล้วถ้ามีชื่อของพ่อใหญ่ที่อาจได้กลับมาเป็นนายกฯ ล่ะ
แก่แล้ว ไม่ไหวแล้ว ให้ลูกหลานเขาเป็น แล้วเราก็อธิบายให้เขาฟัง ถ้าเขาเป็นคนดีเขาก็จะฟังเราและนำไปใช้ เอาคำของเราไปใช้ แต่ถ้าเป็นคนไม่ดี Public ก็จะรู้ ผู้ใหญ่แนะนำแต่ไม่เอา ซึ่งจริงๆ แล้วเราโดนมาแล้วแบบนี้ มันต้องดู มันต้องมี เด็กดีๆ มี ที่เขามีความจงรักภักดีต่อสถาบัน รักประชาชนอย่างแท้จริง ที่สำคัญคือต้องรักประชาชนอย่างแท่จริง
000…ถึงเรื่องของทหารเวลานี้ก็มีเสียงวิพากาษ์วิจารณ์พอสมควร ในฐานะทหารอาวุโสพ่อใหญ่มองยังไง
ถ้าเราอยู่เฉยๆ ใครพูดไรก็เฉยๆ ซึ่งจริงๆผู้นำกองทัพก็พยายามทำอยู่แล้ว แต่บางทีก็ทนไม่ไหว บางทีอดไม่ได้ อยากเขกกะบาลมันเหมือนกัน ....(หัวเราะ) ใช่ ตอนนี้กองทัพไม่มีอะไร และเอกภาพยังมีอยู่ เราถูกอบรมสั่งสอนมาดี ก็ไม่มีปัญหาไร ทุกอย่างตัวแก้มีอยู่แล้ว วิธีแก้มีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าทั้งสองฝ่ายที่เป็นคู่กรณี วันนี้ให้เข้าใจปัญหา และเห็นแก่บ้านเมือง
000..รัฐบาลออกพรก.ฉุกเฉิน ตั้ง ท่าน “เฉลิม” นั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการ มีการเข้ามาปรึกษาหารือทางแก้ปัญหากับพ่อบ้างหรือไม่?
เฉลิมเขาสบายอยู่แล้ว แล้วในรัฐบาลมีคนดีๆอยู่แยะ เรื่องแบบนี้ เฉลิมทำได้ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
000...สุดท้ายเลย ... พ่อใหญ่จะไปเลือกตั้ง 2 ก.พ.นี้หรือไม่?
การเลือกตั้ง มันคือหน้าที่ อะไรที่เป็นหน้าที่ก็ต้องทำ เราอย่าไปใช้ความคิดส่วนตัวอารมณ์ส่วนตัวมาแก้ปัญหา เลือกตั้งเป็นหน้าที่ พ่อก็ต้องไปอยู่แล้ว
โดย อนุพล แซ่ฉั่ว