วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความเห็นทูตอังกฤษต่อการเมืองไทย,ราชวงศ์,ม.112

[IMG]
 
อารัมภบท

ท่านอาซีฟ อาหมัด ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553

สาส์นจากท่านอาซีฟ

ผมมาถึงกรุงเทพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 และดำรงตำแหน่งอุปทูตประจำ
สถานทูตอังกฤษ ในระยะเวลามากกว่า 7 ปีที่ผ่านมา ผมเดินทางมาประเทศไทย
บ่อยมาก ผมเยือนไทยครั้งแรกในฐานะผู้อำนวยการภาคพื้นของทบวงการค้าและ
การลงทุน และเมื่อเร็วๆนี้ในฐานะอธิบดีกรมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิค

ผมมาเมืองไทยครั้งแรกในปี 2510 เมื่อผมอายุ 11 ขวบ ผมหลงใหลในวัฒนธรรม
และทัศนียภาพของเมืองไทย เมื่อผมโตขึ้น ผมกลับมาเที่ยวในประเทศไทยหลาย
ครั้งซึ่งล้วนเป็นความทรงจำที่ดี

ประเทศไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ชาวอังกฤษมากกว่า 850,000 คน ต่อปี
ชอบเดินทางมา นักท่องเที่ยวทั้งหมดเดินทางกลับบ้านด้วยความรู้สึกที่อบอุ่น
พร้อมของที่ระลึก



นักท่องเที่ยวอังกฤษจำนวนหนึ่งประสบปัญหาและเป็นงานของเราที่พยายาม
ทำให้พวกเขามาเที่ยวอย่างมีสติเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและผู้ต้องการความช่วย
เหลือจากสถานทูตจะได้รับการช่วยเหลือและบริการด้วยมาตรฐานชั้นดี

ประเทศไทยที่ผมรู้จักผ่านประสบการณ์ทางธุรกิจทั้งในส่วนของภาครัฐและ
ภาคเอกชนเป็นประเทศที่บริษัทอังกฤษมากมายทำธุรกิจและการค้าดำเนิน
ไปได้ด้วยดีระหว่างสองประเทศ

สถานทูตอังกฤษได้รับมอบหมายให้ความช่วยเหลือบริษัทอังกฤษให้ประสบ
ความสำเร็จในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดและปูเส้นทาง
ให้นักลงทุนไทยที่เลือกสหราชอาณาจักรเป็นประตูไปสู่ยุโรป

ช่วงเวลาในประเทศไทยของผม ผมหวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและ
ประชาชนทั้งสองประเทศจะเติบโตและรุ่งเรืองสืบไป

ที่มา :
http://mekaje.wordpr...B9%84%E0%B8%97/






 

เว็บไซต์ของสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทยระบุว่า ในฐานะตัวแทนของ
รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร ท่านอาซีฟมีหน้าที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการทูต
เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าพลเมืองอังกฤษในประเทศไทยได้รับการบริการตาม
ความต้องการ และสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสหราชอาณาจักรและ
ประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ท่านอาซีฟเคยดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมในกระทรวงการต่างประเทศ
สหราชอาณาจักร กรุงลอนดอน ดูแลนโยบายต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน
ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และหมู่เกาะแปซิฟิค ระหว่าง 2551-2553

ก่อนหน้านั้น ท่านอาซีฟ ดำรงตำแหน่งอธิบดีทางด้านเอเชียในทบวงการค้า
และการลงทุนแห่งสหราชอาณาจักรจนถึงมกราคม 2551 ทบวงการค้าและ
การลงทุนฯ เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นโดยกระทรวงธุรกิจ นวัตกรรมและทักษะ
กับกระทรวงการต่างประเทศ ทบวงการค้าและการลงทุนให้ความช่วยเหลือ
ธุรกิจที่แสวงหาโอกาสทางการค้าและการลงทุน

ท่านอาซีฟเริ่มทำงานกับกระทรวงการต่างประเทศในปี 2542 โดยได้เริ่มงาน
ในกองการคลัง กรมงบประมาณในตำแหน่งรองอธิบดี รับผิดชอบด้านการเงิน
ของกระทรวงการต่างประเทศและเงินสนับสนุนกับองค์กรพหุภาคี
ได้เลื่อนขึ้นเป็นข้าราชการระดับอาวุโสในปี 2545 และดำรงตำแหน่งอธิบดีกรม
กลุ่มเครือจักรภพ รับผิดชอบผลประโยชน์ของสมาชิกในกลุ่มเครือจักรภพ
นอกจากนี้ยังเป็นผู้อำนวยการศูนย์ข่าวและการสื่อสาร สำนักนายกรัฐมนตรี
ช่วงที่นายโทนี่ แบลร์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ก่อนเข้ารับราชการ ท่านอาซีฟ เป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจให้กับ บิสิเนส ลิงค์
ลอนดอน

ท่านอาซีฟจบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดอร์รัมในปี 2520
จากนั้นทำงานที่ธนาคารเนชั่นแนลเวสมินส์เตอร์เป็นเวลา 18 ปี เริ่มต้นในแผนก
การเงินบริษัทระหว่างประเทศ การสื่อสาร สำนักงานประธาน การธนาคารส่วน
บุคคลระหว่างประเทศ และเป็นผู้จัดการระดับอาวุโสของเครือข่ายสาขาในกรุง
ลอนดอน

หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ท่านอาซีฟศึกษาต่อที่ INSEAD ประเทศฝรั่งเศส
ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านธุรกิจระดับปริญญาโทที่มีชื่อเสียงที่สุดของยุโรป เทียบได้
กับฮาร์วาร์ดของอเมริกา เงื่อนไขข้อหนึ่งของ INSEAD นอกจากผลการเรียนและ
ประวัติการทำงานดีเยี่ยมแล้วก็คือผู้สมัครเข้าเรียนต้องพูด อ่าน และเขียน ได้อย่าง
น้อยสามภาษา

นอกจากสหราชอาณาจักรแล้ว ท่านอาซีฟเคยพำนักในปากีสถาน บังคลาเทศ
อิหร่าน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาชนจีน

ก่อนหน้าท่านอาซีฟ ในปี 2547 มีชาวมุสลิมก้าวขึ้นมาเป็นทูตอังกฤษสองคนคือ
นายอันวาร์ ชูฮรี เชื้อสายบังคลาเทศ เป็นข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำบังคลาเทศ
และนายแอลพ์ เมห์เมด เชื้อสายเติร์ก เป็นเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศ
ไอซ์แลนด์

ที่มา :
http://mekaje.wordpr...ษประจำประเทศไท/

ลิเกหลงโรง,ตุลาการหลงยุค,ทหารหลงอำนาจ,ทักษิณหลงกล,นปช.หลงทาง,ประชาชนหลงลืม,แล้วชาติจะไปทางไหน??
 

พระเจ้าช่วยกล้วยทอด ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์


http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/47/14047/images/Prem-Tinsulanonda.jpg
ที่มาของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

         1. เมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ภายในราชอาณาจักร หรือ จะทรงบริหารพระราชภาระมิได้
             1.1 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง (มาตรา18)
             1.2 พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้ง ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อเพื่อขอความเห็นชอบต่อรัฐสภา (มาตรา19)
             1.3 ระหว่างที่ไม่มีผู้สำเร็จฯ ตาม ม.18  ม.19 หรือ ผู้สำเร็จฯ ตาม ม.18  ม.19 ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จฯ เป็นการชั่วคราว และคณะองคมนตรีที่เหลือต้องเลือกประธานองคมนตรีคนใหม่ขึ้นทำหน้าที่แทน

         2. กรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลง
             2.1 ในระหว่างที่ยังไม่มีการอัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ขึ้นทรงราชย์ ให้ ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จฯ ไปพลางก่อน
            2.2 แต่หากทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จฯ ไว้แล้วตามข้อ 1 แล้ว ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการอัญเชิญฯ
             2.3 หากผู้สำเร็จฯ ตามที่กล่าวมาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ประธานองคมนตรีทำหน้าที่ฯ ไปพลางก่อ


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๒ พระมหากษัตริย์

.
.

        ตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 หากพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้แล้วตามกรณีที่ 1 สถานการณ์เปลี่ยนผ่านย่อมราบรื่น

       แต่ในกรณีที่ 2 ตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 ลำดับสืบราชสันตติวงศ์ ท่านว่าให้เลือกตามสายตรงก่อนเสมอ
 

        ต่อเมื่อไม่สามารถจะเลือกทางสายตรงได้แล้ว จึงให้เลือกตามเกณฑ์ที่สนิทมากและน้อย และตำแหน่ง "สมเด็จหน่อพุทธเจ้า" คือมาตรฐานอ้างอิง

        แต่ รธน. 50  ม.23 วรรค 2 ระบุไว้ว่า "ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่ง ตั้งพระรัชทายาทไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา ๒๒ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อรัฐสภาเพื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ  


        ในการนี้ จะเสนอพระนามพระราชธิดาก็ได้ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหา กษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ"

       ประเด็นคือ หาก "คณะองคมนตรี" เสนอตาม ม.22 ก็เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 คือ "สายตรง เกณฑ์สนิทมากและน้อย" และตามกฎมณเฑียรบาลฯ ม.13 ที่ว่า 

   
        "ในกาลสมัยนี้ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่ราชนารีจะได้เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็น สมเด็จพระแม่อยู่หัวพระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงสำเร็จราชการสิทธิขาดอย่างพระเจ้าแผ่นดินโดยลำพังแห่งกรุงสยาม ฉนั้นท่านห้ามมิให้จัดเอาราชนารีพระองค์ใด ๆ เข้าไว้ในลำดับสืบราชสันตติวงศ์เป็นอันขาด" เป็นอันยังใช้ได้อยู่

          แต่หากคณะองคมนตรีเห็นควรเป็นอย่างอื่น คือ "เสนอนามพระธิดา"
ก็เป็นอันว่ากฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 ก็เป็นอันพับตกไป "ใช้ไม่ได้"

          เพราะ "ขัดรัฐธรรมนูณ" ที่เปิดโอกาสให้คณะองคมนตรีสามารถเสนอนามพระธิดาก็ได้ตาม ม.23 วรรค 2  


         ตามที่ รธน.50 ได้ระบุเอาไว้ตาม ม.6 ที่ว่า


         "มาตรา ๖ (กฎหมายสูงสุดของประเทศ) รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้น เป็นอันใช้บังคับมิได้"

         ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องของ "แง่มุมทางกฎหมาย" และจะเป็น "กลเกมส์ในสภา" ต่อไปในอนาคตด้วย

.
.
.

เรากำลังอยู่ในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านในช่วงปลายรัชกาล...


  1. ต้นเหตุของความขัดแย้ง : ความไม่ราบรื่นในการเปลี่ยนผ่าน
  2. พัฒนาการของความขัดแย้ง : ความสุดขั้วของสองฝ่าย
  3. อนาคตที่จะต้องเผชิญ : สงครามภายใน 2 ครั้งใหญ่
  4. ทางออก : ร่วมกันเปลี่ยนผ่านไปสู่รัชสมัยใหม่ด้วยรูปแบบที่เป็นสากล ................เพื่อกระชับพื้นที่แนวปะทะขยายแนวร่วม
  5. บทสรุป : ไม่มีวันที่สังคมไทยจะกลับไปเหมือนเดิม
1. ต้นเหตุของความขัดแย้ง : ความไม่ราบรื่นในการเปลี่ยนผ่าน

         ต้นเหตุของความขัดแย้งในสังคมไทยที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันนี้นั้น หากเพียงแต่มองย้อนไปที่เหตุรัฐประหาร 19กย49 แล้วชี้ว่าเป็น “ต้นเหตุ” ของความขัดแย้งคงจะไม่ถูกต้องนัก แต่ผลงานและความนิยมในตัวคุณทักษิณและ พรรค ทรท ในขณะนั้นนับวันแต่จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นี่ก็เป็นสาเหตุที่สอดคล้องกัน นั่นก็คือ รัฐบาล ทรท อาจจะอยู่ยาวจนถึงสถานการณ์เปลี่ยนผ่านและบารมีที่เพิ่มมากขึ้นตามผลงานที่ ชัดเจนของคุณทักษิณทั้งในและนอกประเทศ อาจจะส่งอิทธิพลต่อทิศทางการเปลี่ยนผ่านนี้ ดังนั้น จาก “ความขัดแย้งในสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน” จนทำให้เกิดเหตุรัฐประหาร 19กย49 ส่วนหนึ่งมาจากการที่คุณทักษิณสนับสนุนคนที่อำนาจปัจจุบันไม่เห็นด้วยเรียกได้ว่า คุณทักษิณหนุนผิดคน(ไม่ใช่คนผิด) โดยจะเห็นได้จากการที่ Wikileaks ได้นำโทรเลขของสถานฑูตอเมริกาประจำประเทศไทยออกมาเปิดเผย กดที่นี่ จะทำให้ทราบถึงมูลเหตุของความขัดแย้งกันอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น 


         กล่าวคือ เป็นความ “ไม่มั่นคง” ของชนชั้นสูงของไทยต่อกรณี พฤติกรรม ภาพลักษณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างคุณทักษิณกับ .......จนนำไปสู่การหาหน "ทางสำรอง" คือ........ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่พึ่งจะมาเกิดเอาเมื่อมีรัฐบาลทักษิณ แต่เค้าลางของความไม่ราบรื่นนี้(ไม่ขอกล่าวถึงพฤติกรรมส่วนตัวของว่า ที่)เริ่มปรากฏให้เห็นตั้งแต่เริ่มมีการ “เตรียมการ” ให้เห็นใน รธน.17 ม.25 และ รธน.21 ม.20 

         กล่าวคือ รธน ทั้ง 2 ฉบับอ้างตามกฎมณเฑียรบาล2467 และการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลต้องทำเช่นเดียวกับการแก้ไข รธน นั่นก็คือเป็นหน้าที่ของ ครม หรือด้วยสมาชิกสภาฯ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ซึ่งตรงนี้จะเป็นการแสดงให้เห็นถึง “พัฒนาการ” ในเรื่องของ “พระราชอำนาจ”  

          กล่าวคือ ตามกฎมณเฑียรบาลใช้มติคณะองคมนตรี โดยการกำหนดให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนัดประชุมองคมนตรีให้มีองคมนตรีมาใน ที่ประชุมนั้นไม่น้อยกว่า ๒ ส่วนใน ๓ และใช้มติ ๒ ใน ๓ จึงให้แก้ได้ ส่วน รธน.17 - 21 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของสภาฯ 

         แต่พอมาถึง รธน.34 ม.20-21, รธน40 ม.22-23, รธน50 ม.22-23 ก็พบกับความชัดเจนต่อแนวทางการเปลี่ยนผ่านว่า ได้ถูกเตรียมการเอาไว้แล้วอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก รวมถึงในด้านตัวบุคคลที่จะมาเป็น "ตัวแปร" นั่นก็คือ พล.อ.เปรม และที่สำคัญคือกำหนดให้การแก้ไขกฎมณเฑียรบาล2467 กลายเป็น “พระราชอำนาจโดยเฉพาะ

          ไม่ต้องใช้คณะองคมนตรีตามกฎมณเฑียรบาล 2467 หรือสภาฯ อย่างเช่นใน รธน17-21 อีกต่อไป เรียกได้ว่าเป็นการ “กระชับพระราชอำนาจ” ที่สุด

       ส่วน “ปม” ใน ม.13 ของกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ 2467 ม.13 ได้กล่าวเอาไว้อย่างชัดเจนว่า 


        “ยังไม่ถึงเวลาอันควรที่ราชนารีจะได้เสด็จขึ้นทรงราชย์” 

         แต่ถ้าสังเกตุว่าใน หมวดที่2 ม.4(2) ได้บรรยายศัพท์เอาไว้ว่า "สมเด็จพระยุพราช" คือ พระรัชทายาทที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นเป็นตำแหน่งสมเด็จพระยุพราช โดยพระราชทานยุพราชาภิเษกหรือโดยพิธีอย่างอื่นสุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 

        นัยที่สำคัญคือ “พิธีอย่างอื่น” ไปเชื่อมโยงกับการสถาปนาพระอิสริยยศและพระอิสริยศักดิ์ เมื่อ 5 ธค 20 “ให้ทรงรับพระราชบัญชาและสัปตปฎลเศวตฉัตร (เศวตฉัตร 7 ชั้น)” กดที่นี่ และคำว่า “สัปตปฎลเศวตฉัตร หรือ เศวตฉัตร 7 ชั้น” นี้ ทรงความหมายอย่างยิ่ง เพราะสัปตปฎลเศวตฉัตรนี้ กดที่นี่ ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้รับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมราชกุมารี พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงพระราชทานเป็นพิเศษ

        นัยอยู่ที่ “สมเด็จพระยุพราช” ซึ่งถ้าใช้กับสมเด็จพระยุพราช จะเรียกว่า "พระบวรเศวตฉัตร" และ สัปตปฎลเศวตฉัตร มีนัยเกี่ยวเนื่องไปที่ หมวดที่2 ม.4(2) ในกฎมณเฑียรบาล2467 “หรือโดยพิธีอย่างอื่นสุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ”

         และล่าสุด วิกิซอร์ส ได้แจ้งว่า ม13 ในกฎมณเฑียรบาล ได้ถูกยกเลิกโดย รธน ม.23 อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าถึงกาลสมัยที่ “ราชนารีจะขึ้นทรงราชย์” ได้แล้ว

         เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเตรียมการว่าได้เกิดขึ้นมานานแล้ว จนอาจจะทำให้ “ว่าที่” เกิดอาการ “ถอดใจ” ไปแล้วหากไม่มีคุณทักษิณและ ทรท

        ความไม่ราบรื่นที่แสดงเห็นได้ชัดเจนอีกอย่างก็คือ การที่คุณทักษิณได้เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้กับสำนักข่าว Times Online เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2552 กดที่นี่ ยิ่งจะทำให้ได้เห็นความชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก รวมทั้งทิศทางที่ “น่าจะเป็น” ในยุคสมัยหน้าด้วย กล่าวคือ ได้มี “รหัส” อยู่ในหลาย ๆ คำให้สัมภาษณ์นี้

        เป็นต้นว่า การปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญจะต้องยึดถือปฏิบัติตามอย่างเข้มงวด(สถาบันกษัตริย์ต้องมีการปรับปรุง),  (รัชสมัยใหม่)คนใกล้ชิดราชวังจะมีขนาดเล็กลง, กษัตริย์ทรงต้องหมุนเปลี่ยนไปพร้อมกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยนี้เช่น กัน(สมเด็จฯ ทรงเป็นคนรุ่นใหม่ ทันสมัย เข้าใจโลกสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง), (ราชวงศ์ไทยในยุคสมัยหน้า)เป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และเข้าใจว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลง เหล่านี้คือนัยที่แสดงให้เห็นว่า “คุณทักษิณมีแนวคิดต่อทิศทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่รัชสมัยใหม่อย่างใด”

         แต่เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยปรากฏเป็นแนวทางที่ชัดเจนพอที่จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการ "ชี้นำสังคม" ได้

       และหากเป็นจริงได้ตามนั้น ก็เชื่อได้ว่าน่าจะเป็น "ทางออกที่แท้จริงและอะลุ่มอะล่วยที่สุดของสังคมไทย" อย่างแน่นอน

      แต่จากความเห็นต่างต่อรัชสมัยใหม่ที่ Wikileaks นำมาเปิดเผยนั้น แน่ นอนว่าแนวทาง ....... ย่อมเป็นการรักษาสถานะของอำนาจและบริวารเดิมตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ถ้า ....... สามารถขึ้นแท่นได้ ย่อมมีการ “เอาคืน” จากที่เคยเป็นฝ่ายถูกกระทำมาหลายปี จึงเป็นความหวาดผวาของแผงอำนาจ เก่าที่จะถูกกระทำเมื่อเวลานั้นมาถึง ซึ่งสิ่งที่ได้กล่าวมาเกี่ยวกับความไม่ราบรื่นในการเปลี่ยนผ่านนี้จะเป็น เหตุเป็นผลและนำไปสู่พัฒนาการของความขัดแย้งในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านในช่วง ปลายรัชกาลอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้

2. พัฒนาการของความขัดแย้ง : ความสุดขั้วของสองฝ่าย

        พัฒนาการของความขัดแย้งเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเกิดปรากฏการณ์ “การเลือกฝ่าย” ขึ้น โดยมีคุณสมัครอดีตนายกฯ ผู้ล่วงลับและได้ชื่อว่าเป็นพวก “ขวาจัด” แต่ยอมเป็นผู้ถือธงนำให้กับพรรคพลังประชาชน พร้อมทั้งการกลับมาของ พล.อ.ชวลิต รวมทั้งอดีตนายทหารเก่าอีกหลายนาย และฝ่ายที่ได้ชื่อว่าเคยเป็น “ฝ่ายผู้ล่า” อย่าง พล.อ.พัลลภ และ พล.ต.ขัติยะ หรือ เสธ.แดง ผู้โด่งดัง แต่ต้องมาถูกลอบสังหารกลางกลุ่มผู้ชุมนุม แต่การยอมเข้าร่วมเป็นพวกกับ พ.ต.ท.ทักษิณของ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลเหล่านี้เมื่อพิจารณาให้ดี ด้วยสภาพและสถานะที่คุณทักษิณกำลังเป็นฝ่ายถูกกระทำ จึงไม่น่าจะใช่เพราะเกิดจาก อำนาจ หรือ บารมี ของคุณทักษิณ หรือนโยบายของพรรค หรือยอมรับในอุดมการณ์ของ “คนเสื้อแดง” แต่อย่างใด 


         แต่มันน่าจะเกิดจากการเลือกที่จะยืนอยู่ข้างฝ่ายที่คุณทักษิณให้การสนับสนุน นั่นก็คือที่มาของคำว่า “แดงทรงเจ้า” ดังจะเห็นได้จากทิศทางของคนเสื้อแดงก่อนปี53 จะเดินแนวทางเทิดทูลสถาบันฯ อย่างเข้มข้นในทุกโอกาส จนหลังจากเกิดเหตุการณ์ 10 เม.ย. และ 19 พ.ค.53  จึงได้เกิดพัฒนาการของฝ่าย “แดงตาสว่าง” เกิดขึ้น ซึ่งกำลังจะพัฒนาไปสู่ความ “สุดขั้ว” ของฝ่ายคนเสื้อแดง นั่นก็คือ “การล้มล้าง

        ส่วนฝ่ายอำมาตย์เอง จากการที่เคยเตรียมการสำรองแนวทาง...... เอาไว้ หากต้องมาพบกับอุปสรรคใหญ่คือเกิด “บารมีทักษิณ” ทำให้ ......มองเห็นโอกาสที่จะร่วมกับคุณทักษิณ คือ ในสภาฯ มีพรรคของคนเสื้อแดงคือ “พรรคเพื่อไทย” ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลต่างก็เป็นอุปสรรคต่อแนวทาง การเปลี่ยนผ่านด้วยแนวทางสำรองนี้ 


         กล่าวคือ เพราะการเปลี่ยนผ่านนี้ต้องเสนอให้ “รัฐสภาให้ความเห็นชอบ” ในการรับรองการเปลี่ยนผ่าน และแน่นอนว่าหากมีรัฐสภาในสภาพปกติแบบนี้ต่อไปโดยที่มีฝ่ายคนเสื้อแดงหรือ พรรคเพื่อไทยทีมีคุณทักษิณอยู่เบื้องหลังและเบื้องหลังของคุณทักษิณก็ยังมี .......

          เมื่อ มีการเสนอแนวทางสำรองเข้าสู่สภาย่อมต้องมีการ “อภิปราย” ถึงความถูกต้องชอบธรรมหรือความเหมาะสมต่าง ๆ ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความวุ่นวายจนอาจจะไม่สามารถควบคุมได้ ทางแก้ของแนวทางสำรองนี้ หากจะเปลี่ยนไปเป็น “รัฐบาลแห่งชาติ” ก็ไม่สามารถเป็นจริงได้ด้วยสถานการณ์ความขัดแย้งได้พัฒนาไปไกลเกินกว่าจะมี รัฐบาลแห่งชาติได้ 

        แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อสถานการณ์ "แตกดับ" นั้นมาถึง เพื่อกำจัดอุปสรรค “อำนาจทักษิณ” ออกไปจากระบบให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จำเป็นจะต้องมี “รัฐบาลพิเศษ” ที่ปราศจาก “ขั้วสีแดง” อยู่ในระบบสภา แล้วให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาแทนตามที่ รธน ระบุไว้ จึงเห็นได้ว่ามีการ “เตรียมการ” ในส่วนที่เป็น สว สรรหาเพื่อการนี้ทั้ง ๆ ที่ระบบสรรหานี้ขัดกับหลักการประชาธิปไตย ซึ่งหากบ้านเมืองอยู่ในสภาพปกติ การเปลี่ยนผ่านด้วย “สภาเท่านั้น” จึงจะทำให้เกิดความ “สง่างาม” ได้แต่ จากสถานการณ์ในปัจจุบันเมื่อยุบสภาแล้วให้วุฒิสภาทำหน้าที่แทน ใช่ว่าปัญหาจะถูกขจัดสิ้นไปได้ เพราะถึงแม้อุปสรรคในสภาจะหมดไป หากแต่นอกสภาฯ ยังมี “คนเสื้อแดง” ที่เป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุด

           แนวทางสำรองนี้จึงทำท่าว่าจะยังไม่ใช่หนทางที่ “มั่นคง” ต่ออนาคตของผู้ที่ยังจะต้องอยู่ต่อไป

         จึงได้เห็นแนวทางของขั้วอำนาจใหม่ภายใต้นักการเมืองสีน้ำเงินผนึกกำลังกันกับบูรพาพยัคฆ์หรือทหารเสือราชินี


        เพื่อเดินแนวทาง “ผู้สำเร็จฯ” โดยยึดระยะเวลาการเปลี่ยนผ่านให้ยาวออกไปควบคู่กับการ "จัดการ" ให้สถานการณ์เบ็ดเสร็จและราบคาบต่อไป แต่แนวทาง “ผู้สำเร็จฯ” นี้จะเกิดขึ้นได้ต้องใช้วิธีการ “"ยึดอำนาจ” เท่านั้น

        และโดยสัจธรรม ผู้ที่กำลังจะจากไปอาจจะไม่ใช่ผู้ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างที่เคย เป็น และผู้ที่จะอยู่ต่อไปนั่นต่างหากจะต้องดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อความอยู่รอด

3. อนาคตที่จะต้องเผชิญ : สงครามภายใน 2 ครั้งใหญ่

สงครามแย่งอำนาจของชนชั้นสูง


           สถานการณ์ในปัจจุบันเรากำลังอยู่ในระหว่างช่วงปลายรัชกาลที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนผ่านรัชสมัย แต่จากความไม่ลงตัวในหลาย ๆ ด้าน จึงทำให้กลายมาเป็นสงครามแย่งอำนาจของชนชั้นสูง ดังนั้น นอกจากความสูญเสียในปี 53 แล้วยังจะต้องมีความสูญเสียครั้งใหญ่จากการแก่งแย่งรออยู่อีกในเบื้องหน้า ซึ่งไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดสามารถยึดครองอำนาจได้ แต่หากยังขืน “คงรูปแบบเดิม” อีกต่อไป จะนำไปสู่สงครามภายในครั้งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติ นั่นก็คือ

สงครามเลือกฝ่าย

         สังคมไทยเคยเผชิญหน้าและเข้าห้ำหั่นกันมาแล้วหลายครั้ง ส่วนมากเป็นการกระทำโดยฝ่ายที่คุมอำนาจรัฐเข้ากระทำพร้อมกองกำลังและอาวุธ ทำให้ฝ่ายประชาชนสูญเสียมากมาย สุดท้ายก็จะมีผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “เป็นผู้หลักผู้ใหญ่” ออกมา “ห้ามทัพหย่าศึก” เอาน้ำเย็นเข้าลูบ ไกล่เกลี่ย และสุดท้ายก็ “ไม่มีใครผิด” มีแต่ประชาชนที่ “ตายเปล่า” และบารมีที่เสริมเพิ่มขึ้นของ “ผู้ใหญ่” 


         ซึ่งคำว่า “ผู้หลักผู้ใหญ่” นี้จะเป็นเหตุใหญ่ของสังคมไทย เพราะสังคมไทยให้ความสำคัญกับ “ผู้ใหญ่” มากกว่าหลักการที่เป็นสากล 

         แต่หากวันใดที่สังคมไทยไร้ซึ่งผู้ที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่อย่างแท้จริง ก็จะกลายเป็นสังคมที่ไร้หลักยึดเหนี่ยว และจากยุคสมัยของโลกไร้พรหมแดนในปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาในอดีต ทั้งที่เป็นข้อมูลจาก “ประสบการณ์จริง” และจากการ “ประมวล” เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่ระบบโลกไร้พรหมแดนนี้ รวมทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลังของเหตุการณ์เหล่านั้น ทำให้ได้รู้ว่า “ใคร” คือตัวจริงที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์โหดสังหารหมู่คนไทยด้วยกันเอง และข้อมูลเหล่านี้เริ่มกระจายขยายวงออกไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นกระแสโกรธแค้นที่โดนหลอกลวงมาตลอด ทำให้สังคมไทย “ไร้แล้วอย่างสิ้นเชิง” ของผู้ที่มีบารมีพอที่จะเป็นผู้หลักผู้ใหญ่เพื่อเป็น “หลักยึด” ให้กับบ้านเมืองได้ ซึ่งเรื่องนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าที่ผ่านมาสังคมไทยได้ให้ความสำคัญกับ “ตัวบุคคล” มากกว่าสิ่งอื่นใดดังที่ได้กล่าวไปแล้ว เมื่อ “สิ้น” ตัวบุคคลที่มีบารมีพอ กอปรกับสถานการณ์เลือกฝ่ายอย่างเด่นชัดของคนในสังคมไทย ณ ปัจจุบัน

       การเผชิญหน้ากันในครั้งต่อไป จึงไม่มีใคร “มีบารมีจริง” พอที่จะสามารถออกมา “หย่าศึก” ได้อีก  และสิ่งที่เป็นความจริงอย่างที่สุดก็คือ “ทุกคนในสังคมไทย” ได้เกิดการ “เลือกฝ่าย” ไปแล้ว  อนาคตมีแต่จะห้ำหั่นกันจนย่อยยับกันไปข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้นเอง

4. ทางออก : ร่วมกันเปลี่ยนผ่านไปสู่รัชสมัยใหม่ด้วยรูปแบบที่เป็นสากล
...............เพื่อกระชับพื้นที่แนวปะทะขยายแนวร่วม


        จากการเปลี่ยนผ่านในหลายครั้งที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่กำลังจะจากไปอาจจะไม่ใช่ผู้ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอย่างแท้จริง อย่างที่เคยเป็น เพราะเมื่อมีนัยบางอย่างแสดงว่ายุคสมัยใกล้จะสิ้นสุดลง ดุลอำนาจย่อมถ่ายเทไปสู่บุคคลที่คาดว่าจะมาสืบทอด ถ้าหากเป็น “ขั้ว” เดียวกัน ก็ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่น แต่หากมีขั้วอำนาจหลายขั้วต่างกัน “ดุลอำนาจ” ที่เป็น “ตัวแปรหลัก” ที่จะส่งผลต่อทิศทางการเปลี่ยนผ่านในแต่ละยุคสมัยคือ “กองทัพ” ขั้วอำนาจใดยึดกุมสภาพกองทัพได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดก่อน ผู้นั้นจะเป็นผู้กำหนดทิศทางแห่งการเปลี่ยนผ่าน แต่จากสภาพของกองทัพในปัจจุบันภายใต้ผู้นำที่มาจาก “บูรพาพยัคฆ์” กลายเป็นกองทัพที่แตกแยกและร้าวลึก 

 
         ส่วนหนึ่งมาจากการจัดสรรตำแหน่งที่ไม่เป็นธรรม เพราะ “วงศ์เทวัญ” ไม่ได้เกิด ซึ่งความจริงก็คือเพื่อยึดกุมสภาพของกองทัพให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพื่อที่จะได้เป็นผู้ “ชี้นำ” ทิศทางการเปลี่ยนผ่าน บูรพาพยัคฆ์จำเป็นจะต้องยึดกุมสภาพกองทัพให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ และเมื่อกองทัพอยู่ภายใต้การนำของบูรพาพยัคฆ์หรือทหารเสือราชินี จึงทำให้มองเห็นทิศทางที่ควรจะเป็นของการเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้

         แต่จากปรากฏการ “มวลชนคนเสื้อแดง” ทำให้ “ดุล” ที่เคยเป็นของกองทัพฝ่ายเดียวได้ถูกถ่ายเทไป จึงทำให้เกิดเป็นภาวะคานอำนาจกันระหว่าง “กองทัพ” ที่มี “อาวุธ” กับ “มวลชน” ที่มี “ปริมาณ” ซึ่งหากเกิดการปะทะกัน 


       แน่นอนว่าความสูญเสียมหาศาลย่อมเกิดแก่ฝ่ายประชาชน ดังนั้น จะทำอย่างไรที่จะทำให้เหล่าทัพหันมาร่วมมือกับประชาชนได้นั้น แน่นอนว่าจะต้องมี “เงื่อนไข” ที่มองเห็นร่วมกันอย่างชัดเจนแล้วว่า “เป็นทางออกและยังประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง” โดยต้องเป็นแนวทางที่ทำให้ทุกฝ่ายมองเห็นความเป็นไปได้ในอนาคตร่วมอย่างเป็น รูปธรรม 

          การ “ร่วมกันเปลี่ยนผ่านไปสู่รัชสมัยใหม่ด้วยรูปแบบสากล” โดยมองไปที่ “ญี่ปุ่น” ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีให้ประจักษ์อยู่แล้ว ด้วยวิธีการนี้จึงเป็นแนวทางที่จะทำให้สามารถ “ตัดวงจร” ที่จะทำให้สังคมเดินไปสู่สงครามระรอกสอง และจะเป็นการลดระดับความรุนแรงจากสงครามแก่งแย่งครั้งนี้ลงไปได้ กล่าวคือ สภาพของสังคมไทย ณ ปัจจุบัน กำลังเผชิญอยู่กับสงครามชิงอำนาจของชนชั้นสูงที่ไม่มีฝ่ายใดยึดกุมสภาพได้ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด 

           ฝ่ายหนึ่งมี “กองทัพ” ก็เป็นกองทัพที่ “แตกแยกและร้าวลึก” ฝ่ายที่มี “อำนาจรัฐ” ก็เป็นอำนาจที่ “ไร้สภาพ” ไม่มีอำนาจเต็มและ “มวลชน” ก็เป็นมวลชน “ตาสว่าง” และเริ่มขยายวงออกไปเรื่อย ๆ  

           จากสภาพของแต่ละฝ่ายที่เป็นอยู่แบบนี้ เป็นสถานการณ์ที่ไม่มีฝ่ายใดสามารถที่จะ “คุม” ได้แม้แต่สภาพของตนเอง จึงเกิดเป็นความระส่ำระสาย ความไม่มั่นคง ที่ปรากฎอยู่ในกลุ่มก๊กต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว และหากเกิดการ “แตกดับ” ขึ้น ก็ถึงเวลาที่ต่างฝ่ายต่างจะ “หมดความเกรงใจ” ต่อบารมีที่ยังคงพอมีเหลืออยู่นี้ และเมื่อนั้น สภาพของบ้านเมืองที่ขาด “หลักยึดที่แท้จริง” จะปรากฏ การปะทะกัน เหตุรุนแรง จะลุกลามและมีอยู่ในทุกหย่อมหญ้า สงครามกลางเมืองจะกลายเป็นเรื่องเด็ก ๆ การแสดงเจตนาร่วมกันเปลี่ยนผ่านไปสู่รัชสมัยใหม่ด้วยรูปแบบของ “ญี่ปุ่น” โดยผู้ที่มีความ “ชอบธรรม” ต่อรัชสมัยใหม่เป็นผู้ “ถือธงนำ” ในการเปลี่ยนผ่าน จึงจะเป็นแนวทางที่จะสามารถทำให้เป็นทางออกอย่างแท้จริงให้กับสังคมไทยได้ เป็นการลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ปะทะกันลงได้มากที่สุด โดยจะต้องมีการพูดคุยกันด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อจำกัด ผลที่จะเกิด อย่างครอบคลุมรอบด้าน เพื่อนำมาทำให้เป็น “รูปแบบ” ที่จะใช้เป็น “แนวทาง” ในการแสวงหาพันธมิตรที่กำลังระส่ำระสายอยู่ในแต่ละฝ่าย ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้มองเห็นทางออกเป็นรูปธรรมได้ง่าย 

          โดยเฉพาะจะทำให้คนในกองทัพเล็งเห็นว่า แนวทางนี้ไม่เป็นการล้มล้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เป็นการรักษาสถาบันอย่างแท้จริง ฝ่ายประชาชนก็จะเข้าใจสถานการณ์และแนวทางที่ประเทศชาติจะเดินไป โดยมี “ภาพ” ของญี่ปุ่นเป็นแบบอย่างที่ดีให้เห็นอยู่แล้ว ทำให้ภาพการล้มล้างกันด้วยความรุนแรงลดระดับลง ทุกฝ่ายมองเห็นความอะลุ้มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัย และมองเห็น “ทางออกร่วมกัน” อย่างแท้จริง ส่วนเรื่องพฤติกรรมและภาพลักษณ์ส่วนตัวหากเทียบกับการรับรู้ของสังคมไทยว่า “ใคร” คือคนต่อไปย่อมไม่มีน้ำหนัก ยิ่งถ้าเป็นผู้แสดงความชัดเจนเองต่อสถานภาพในอนาคตที่พร้อมจะเห็นแก่ส่วนรวม มากกว่าส่วนตัว(แต่โดยความเป็นจริงแล้วคือ “สภาพบังคับ”)

  • ส่วนความชัดเจนจะเกิดขึ้นได้นั้น “ตัวแปร” อยู่ในกลุ่มคนเสื้อแดงเอง
  • ระหว่าง “แดงทรงเจ้า” กับ “แดงตาสว่าง”
  • แนวทาง "แดงตาสว่าง" ที่ขยายวงกว้างอยู่ ณ ขณะนี้นั้น
  • จะเป็น "เงื่อนไข" ที่ใช้ในการ "ต่อรอง"
  • เพื่อให้เกิดการ "เปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบที่เป็นสากล"


5. บทสรุป : ไม่มีวันที่สังคมไทยจะกลับไปเหมือนเดิม”

สังคมไทยจะไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิมอีกแล้ว


           เหตุเพราะการรับรู้ของสังคมนั้นไปไกลและลึกซึ้งถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริง ผ่านการสื่อสารไร้พรหมแดนในยุคโลกาภิวัฒน์ ดังนั้น การดึงดันมุ่งแต่จะรักษาอำนาจและผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มเฉพาะตน ย่อมนำไปสู่หายนะที่ไม่อาจเรียกกลับมาเหมือนเดิมได้อีก สิ่งที่ควรทำที่สุดคือ “การเปลี่ยนแปลง” ไปสู่สิ่งที่เป็นสากล แต่จะมีวิธีการใดที่จะสามารถทำให้การเปลี่ยนแปลงอย่างที่ว่านี้ เป็นไปได้อย่างนุ่มนวลที่สุด จำกัดวงการเผชิญหน้าให้เหลือแคบที่สุด เพื่อลดความสูญเสียที่ไม่อาจประเมินได้นี้ให้ลดลงเหลือน้อยที่สุด

         การระดมความคิดเห็นอย่างเปิดกว้างและจริงจังเท่านั้น จึงจะทำให้สังคมไทยเผชิญวิกฤติปัญหาได้อย่างเท่าทัน  การจมจ่อมอยู่แต่กับอดีตและปัจจุบัน อาจจะทำให้เรามืดบอดต่ออนาคตที่เปิดรอท่าเราอยู่ก็เป็นได้
.
.
.
            บารมีของทักษิณที่ใช้ตัวแทนผ่านในระบบบรัฐสภา เป็น "บารมีในระบบ" ที่ทั้งถูกต้องและชอบธรรม แต่เป็นอุปสรรคที่อำนาจของชนชั้นสูงกำจัดได้อยากที่สุด
เพราะทั้งการรัฐประหารและการใช้กระบวนการทางศาลนั้น  เป็นเรื่องที่โจ่งแจ้งเกินไปในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าทั้งสองกรณีจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นอีก  และการ "ยุบสภา" คือวิธีการ "กำจัดอำนาจในระบบของทักษิณ" ได้อย่างทรงประสิทธิภาพที่สุด

         แล้วถ้าหากยังขืนปล่อยให้ตัวแทนอำนาจของฝ่ายทักษิณ มีโอกาสกลับเข้าสู่ระบบที่ถูกต้องชอบธรรมได้นั่นก็คือ "รัฐสภา" ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอำนาจในรูปแบบของ "รัฐบาล หรือ ฝ่ายค้าน" ต่างก็เป็นอุปสรรคต่อทิศทางการเปลี่ยนผ่านรัชสมัยที่กำลังจะเกิดขึ้น 


        ดังนั้น การไม่ปล่อยโอกาสให้ตัวแทนอำนาจของฝ่ายทักษิณเข้าสู่ระบบรัฐสภาได้ ในท่ามกลางของสถานการณ์ในปัจจุบันนี้มีอยู่ทางเดียวที่เอื้ออำนวยมากที่สุด
คือ "ยับยั้งกระบวนการที่จะทำให้เกิดสภาปกติด้วยวิธีพิเศษ" ซึ่งจะต้องมี "สถานการณ์พิเศษ" เพื่อให้มีเหตุผลรองรับในการกำเนิด "รัฐบาลพิเศษ"
 

จากดวงจำปา เพื่อสมยศ กับข้อเสนอยกระดับการเปิดประเด็นสู่โลกสากล

จากดวงจำปา เพื่อสมยศ กับข้อเสนอยกระดับการเปิดประเด็นสู่โลกสากล


จากเฟซดวงจำปา
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=3...=1&theater

เพื่อนๆ หน้าเวปคิดอย่างไรบ้าง ถ้าพวกเราร่วมมือร่วมใจกัน ขอเสนอชื่อ คุณสมยศ ส่งไปยังองค์กร "เล็กๆ" แห่งหนึ่ง ?

องค์กร "เล็กๆ" แห่งนี้ชื่อว่า "มูลนิธิโนเบล" หรือ Nobel Foundation...

รูปใหญ่อยู่ที่นี่:  http://img443.imageshack.us/img443/3562/...eprize.png

ลิ้งค์อยู่ที่นี่ค่ะ: http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/p...omination/

       เมื่อสักครู่ ดิฉันมีเวลาไปอ่านประวัติท่านเนลสัน แมนเดล่า (Nelson Mendela) เกี่ยวกับการติดคุกเนื่องจากความคิดที่แตกต่างทางการเมืองในสมัยนั้น รวมทั้งประวัติของท่านออง ซาน ซุจี (Aung San Suu Kyi) ด้วย บุคคลทั้งสองท่านนี้ ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ (Nobel Peace Prize) ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

      ก็เลยเกิดความคิดขี้นมาอย่างฉับพลันว่า คุณสมยศ น่าจะได้รับการพิจารณาเช่นเดียวกันบ้าง (จะได้หรือไม่ ก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็คิดว่า ควรจะดำเนินการดีกว่านไม่ทำอะไรเลย)

      ดิฉันก็เลยลองไปอ่าน ระเบียบการของการเสนอชื่อ ปรากฎว่า มันจะหมดอายุภายในอีกหนึ่งอาทิตย์ (สำหรับปีนี้ 2013) นี้

       บุคคลที่สามารถเสนอชื่อให้กับมูลนิธิโนเบล (Nobel Foundation)ได้คือ สมาชิกรัฐสภา หรือ ตัวแทนของรัฐบาล รวมไปถึง อาจารย์ต่างๆ ที่อยู่ในมหาวิทยาลัย ที่สอนหรือมีความเชี่ยวชาญแบบนั้นด้วย และถ้าได้รับการ endorsement หรือ ยินยอมเห็นด้วยจากบุคคลที่เคยได้รับรางวัลมาก่อนหน้าแล้ว เช่นคุณ ออง ซาน ซูจี มันจะทำให้การเสนอชื่อ (nomination) มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

        ตอนนี้ คิดถึงอาจารย์ในคณะนิติราษฏร์ รวมไปถึง สส ที่อยู่ในรัฐสภาบางท่านด้วยว่า ท่านสามารถทำจดหมาย ช่วยกันลงชื่อเสนอขึ้นไปที่นี่ได้ไหม?

        ไม่ทราบว่า เราจะทำกันทันหรือไม่ เพราะคดีคุณสมยศกำลังเป็นที่กล่าวขวัญอย่างสนั่นอยู่ทั่วทุกมุมโลกทีเดียว เมื่อการต่อสู้เพื่อสันติภาพ เปิดประตูแบบไร้พรมแดนแล้ว การเสนอชื่ออย่างเป็นทางการของคุณสมยศจะต้องได้รับที่สำนักงานรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เรามีเวลาน้อยกว่าหนึ่งอาทิตย์ค่ะ

        ถ้าเรื่องนี้จุดติดขึ้นมา อาจจะกลายเป็น การพิสูจน์ถึง การพิจารณาคดีต่างๆ ในศาลของประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน น่าจะเริ่มร่างจดหมายเพื่อการขอ nominate กันโดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้ทันการส่งในปี 2013

       (เราทราบดีว่า เรื่องนี้จะต้องถูกฝ่ายตรงข้ามโจมตีและดิสเครดิทอย่างแน่นอนที่สุด เพราะทราบว่า ฝ่ายนั้น พยายามมาหลายปีแล้ว โดยการทำทุกอย่างเพื่อที่จะคว้ารางวัลนี้กลับมาให้ได้เช่นเดียวกัน)

        เชิญแชร์ได้เลย เพราะอยากให้อาจารย์โดยเฉพาะคณะนิติราษฎร์ได้เห็นก่อน (หนังสือการ nominates ต้องมาจากอาจารย์หลายๆ ท่าน จะรวมตัวเป็นฉบับเดียวก็ได้ค่ะ แต่ต้องเซ็นกันทุกๆ คน)

        เพื่อความแน่ใจ ช่วยอ่านภาษาอังกฤษในเวปอีกรอบหนึ่ง เป็นการตรวจทานค่ะ ถึงไม่ได้รับรางวัล อย่างน้อยก็ให้ชื่อของคุณสมยศเป็น candidate ในรายชื่อผู้ถูกพิจารณาก็ยังดี

คิดในแง่บวก เพราะ Miracles Can Happen ค่ะ

Doungchampa Spencer

[ภาพ: 487930_525329780843674_1825827015_n.jpg]

[IMG]

มนุษย์เรามักสายตาสั้น
ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ตรงหน้า
และมุมมองแคบต่อสภาพสังคมของตนเอง
สิ่งนี้คือข้อจำกัดของมนุษย์มาตลอดประวัติศาสตร์

และในอนาคต
เมื่อมนุษย์กลับมามองสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต
ก็จะได้แต่สงสัยว่า สิ่งที่มนุษย์ในยุคสมัยนั้น
คิดหรือทำมันช่างไร้เหตุผลสิ้นดี
ทำไมเรื่องแค่นี้คนยุคนั้นไม่เข้าใจวะ
มันเข้าใจยากตรงไหน?

โลกของเราจึงเคยมีการฆ่าล้างเผ่าพันธ์,
มีกฏหมายแบ่งแยกสีผิว, ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง,
การเซ็นเซอร์ข้อมูลข่าวสารโดยรัฐ, ศาสนจักร
ซึ่งลงโทษคนที่บังอาจบอกว่าโลกกลม

ก็ใช่สิ มนุษย์เราสายตาสั้น
และมุมมองแคบ-นี่คือคำสาป
เราต่างถูกจำกัดด้วยบริบทในประวัติศาสตร์
ของยุคสมัยที่เราอยู่ทั้งนั้น

เราจึงมีคนมากมายที่ไม่เข้าใจ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตรงหน้า
และพยายามฉุดรั้งหรือฝืนการเปลี่ยนแปลงนั้น

แต่แน่นอนว่าโลกคงไม่พบจุดจบ
กับแค่เพราะโรคสายตาสั้นนี้ของมนุษย์
อย่างที่เห็น เราไม่ได้ขุดรูอยู่ถ้ำ ไม่ได้บูชาไฟ
โลกไม่ได้แบน ศูนย์กลางจักรวาล
ไม่ได้อยู่ที่ยอดเขาพระสุเมรุ

เพราะในทุกยุคทุกสมัยเช่นกัน ที่จะมีคนกลุ่มแรกๆ
ที่เริ่ม"มองเห็น" ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่นั้น
มันช่างไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย
แล้วเค้าเหล่านั้นจะเริ่มเสาะแสวงหา
คำตอบใหม่-ความเป็นไปได้ใหม่z
ขณะเผชิญแรงต้านมหาศาลจากโลกใบเก่า

แน่นอน การเปลี่ยนแปลงทุกระลอกใหญ่ของโลก
ย่อมมีคนขัดขืน คนแกล้งหลับ
คนหาผลประโยชน์ หรือเหยื่อ

ประวัติศาสตร์จะบันทึกช่วงเวลานี้ไว้ว่าอย่างไร?
ผู้คนในอนาคตจะมองเราเป็นใคร
คนที่เข้าใจความเปลี่ยนแปลง
หรือแค่ตัวตลกในประวัติศาสตร์?

คำตอบล่องลอยอยู่ในสายลม...

สึนามิการเมือง...ตอบโจทย์สถาบัน...จุดเริ่มของแรงปะทะ


          นับตั้งแต่จบการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ก็มีกระแสทางการเมืองที่รุนแรงเกิดขึ้นต่อเนื่องกันหลายด้าน ทันทีที่ทราบผลการเลือกตั้งอดีตนายกทักษิณก็ Skype เข้ามายังการประชุมพรรคเพื่อไทยแสดงความไม่พอใจต่อแนวทางการหาเสียงการเลือก ตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครในครั้งนี้ และยังได้ส่งสัญญาณค่อนข้างชัดเจนว่า 

http://images.voicecdn.net/contents/640/330/horizontal/13590.jpg

    ให้ ส.ส. ในพรรคทำงานอย่างแข็งขัน และแข็งกร้าวมากขึ้น.. ไม่ยอมอ่อนข้อให้กับฝ่ายตรงข้ามต่อไป รวมถึงให้กลับมาพิจารณาถึงมวลชนคนเสื้อแดงที่เริ่มถอยห่างจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งจำเป็นต้องเร่งรัดในการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของคนเสื้อแดงให้ มากขึ้น” 

http://www.siamintelligence.com/wp-content/uploads/2011/08/%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2_%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C.jpg    รวมถึงคาดโทษของตัวแทนพรรคทั้ง ส.ส. ส.ก. ส.ข. ว่าต้องให้ทำงานด้วยการลงพื้นที่ และจะร่วมวางแผนการทำงานกับพรรคในทุกสัปดาห์

        ไม่นานต่อมา นายเกษม นิมมลรัตน์ ส.ส. พรรคเพื่อไทย จังหวัดเชียงใหม่ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง โดยอ้างถึงเรื่องสุขภาพ และความชำนาญในการทำงานในระดับท้องถิ่นมากกว่า เป็นที่คาดหมายว่าการลาออกจากความเป็น ส.ส. ครั้งนี้ก็เพื่อเปิดทางให้ นางเยาวภา วงษ์สวัสดิ์ น้องสาวแท้ๆ ของ อดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ได้กลับมาทำงานการเมือง เพื่อควบคุมดูแล ส.ส. และผู้ร่วมงานของพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าลักษณะเฉพาะตัวของการทำงานระหว่างนายกยิ่งลักษณ์ กับคุณเยาวภา วงษ์สวัสดิ์ มีความแตกต่างกันอย่างมาก การส่งคุณ คุณเยาวภา วงษ์สวัสดิ์ เข้ามาร่วมทำงานทางการเมืองในครั้งนี้ หลายฝ่ายคาดหมายว่าสัญญาณนี้คือการประกาศท้ารบชนิดชิงธงของอดีตนายกทักษิณ นั่นเอง

.... แต่สถานการณ์ที่บ่งชี้เช่นนี้แสดงให้เห็นถึงเจตจำนงของอดีตนายกทักษิณ ที่จะต่อสู้เช่นนั้นจริงหรือ ??

http://images.voicecdn.net/contents/640/330/horizontal/65501.jpg

           ก่อนหน้าประเด็นร้อนของรายการ “ตอบโจทย์” ที่พูดถึงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกมายอมรับว่า “คำวินิจฉัยในคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีการจัดรายการ “ชิมไปบ่นไป” ว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ใช้ไม่ได้ เพราะนำข้อกฏหมายขึ้นก่อนทั้งที่จริงแล้วการเขียนคำวินิจฉัย ต้องระบุก่อนว่านายสมัคร รับจ้างจริงหรือไม่??” 

http://www.matichon.co.th/online/2012/06/13387825021338782654l.jpg

        การออกตัวมาพูดเสมือนยอมรับผิดของ “สถาบันศาลรัฐธรรมนูญ” เช่นนี้ทำให้เกิดคำถามที่ตามมาอย่างมากมายว่า “สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญได้กระทำผิดพลาดและก่อให้เกิดความเสียหายไปแล้วนั้นจะรับผิดชอบอย่างไร??”  

       และที่สำคัญกว่านั้นก็คือสถาบันศาลรัฐธรรนูญถูกก่อตั้งขึ้นโดยคณะรัฐประหาร คมช. และพิจารณาอรรถคดีที่เกี่ยวข้องกับการตีความตามรัฐธรรมนูญภายใต้พระปรมาภิ ไทย ซึ่งหมายความว่าภายใต้พระปรมาภิไทยนั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินอรรถคดีด้วยความผิดพลาดและบกพร่องจนก่อให้เกิดความ เสียหายต่อประชาชนผู้เป็นประชากรของประเทศนี้ “กระนั้นหรือ?”

           และหลังจากที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ได้ออกมายอมรับความผิดพลาดของคำวินิจฉัย ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาร่วมกันด้วยคะแนนเสียง 9 : 0 นั้น ก็มิได้มีท่าทีหรือการแสดงความรับผิดชอบใดๆ จากผลแห่งการกระทำผิดพลาดที่เกิดขึ้น ทำให้คำถามที่เกิดขึ้นในความรู้สึกของผู้คนจำนวนมากนั้นก็คือ “การกระทำภายใต้พระปรมาภิไทย” นั้น จะสามารถกระทำสิ่งที่ผิดพลาดและบกพร่องจนก่อให้เกิดความเสียหาย หรือสูญเสียแก่ใครก็ได้ เช่นนั้นหรือ?? 


         ซึ่งคำถามที่ดังก้องอยู่ในจิตใจของผู้คนจำนวนมากนี้แต่กลับไม่มีใครที่กล้า จะพูด หรือกล้าถามออกมาดังๆ ทำไม??  

         รายการตอบโจทย์.. สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งออกอากาศจำนวน 5 ตอนทางไทยพีบีเอส ระหว่างวันที่ 11 – 18 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะ 2 ตอนสุดท้ายคือวันที่ 14 และ วันที่ 18 มีนาคม 2556 ได้กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองชนิดเดือดพล่าน เพราะเป็นการปะทะกันทางความคิดต่างขั้วอย่างรุนแรงในประเด็นเรื่อง “สถานภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์..ในระบอบประชาธิปไตย..ภายใต้รัฐธรรมนูญ” ผลที่ตามมาของประชาชนผู้ติดตามรายการนี้ก็คือ การเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจำกัดบทบาทและสถานะในทางการเมืองของสถาบันพระมหา กษัตริย์

         ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การลงพระปรมาภิไทยยอมรับการรัฐประหารของคณะ คมช.” เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นการรับรองและยอมรับว่า คณะรัฐประหารของ คมช. นั้นได้เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องโดยการใช้กำลังยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือก ตั้งของประชาชนทั้งประเทศ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ

        คณะรัฐประหาร คมช. ได้ดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ (พระปรมาภิไทย) ออกมาเป็นกันชน มิให้ประชาชนในประเทศและรัฐบาลอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร และ คณะรัฐมนตรี ขณะนั้น ลุกขึ้นต่อต้านการใช้กำลังยึดอำนาจที่เป็นการ “กบฏ” ต่อรัฐบาลของประชาชน ซึ่งส่งผลให้เกิดสถานการณ์เลวร้ายสืบเนื่องต่อมาอีกอย่างมากมายจนกระทั่งถึงกับมีการ “ล้อมสังหารประชาชนกลางเมืองหลวง” เสียชีวิตและบาดเจ็บนับพัน
  




ถ้าใช้วิธีการตัดสินโดยศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะมีคำถามย้อนกลับมาว่า “เป็นการพิจารณาที่ถูกต้องเที่ยงธรรมเพียงพอแล้วหรือ?” เพราะมีตัวอย่างมาจากคดีของอดีตท่านนายกสมัคร สุนทรเวช และที่สำคัญถ้าพรรคเพื่อไทยหรืออดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ยอมรับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ล้มรัฐบาลท่านนายกยิ่งลักษณ์ อย่างไม่ยุติธรรมในครั้งนี้ ก็จะสูญเสียการนำมวลชนอย่างไม่สามารถนำกลับคืนมาได้อีกเลย

ถ้าใช้วิธีล้มรัฐบาลด้วยการรัฐประหารโดยใช้กำลังทหาร การลุกฮือต่อต้านก็จะเกิดขึ้นจากประชาชนในประเทศอย่างกว้างขวาง ซึ่งคงจะนำเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มารับรองให้การรัฐประหารเป็นสิ่งถูกต้อง อีกคงไม่ได้ต่อไป รวมถึงจะถูกปฏิเสธการรับรองจากนานาชาติทำให้อาจจะถูกโดดเดี่ยวในสังคมโลก

แต่อย่างไรก็ดีเป้าหมายของเผด็จการอมาตย์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือ “ทำลายประชาธิปไตยไม่ให้เกิดขึ้นในประเทศนี้โดยทุกวิถีทาง โดยยังคงอำนาจเผด็จการแบบสมบูรณ์แบบเอาไว้”
 
ดังนั้นการทำลายการความผู้นำทางจิตใจคืออดีตท่านนายกทักษิณ ชินวัตร โดยการโจมตีว่าทอดทิ้งประชาชนฝ่ายประชาธิปไตย และหันไปร่วมมือกับฝ่ายอมาตย์...
การทำลายการนำขององค์กรประชาธิปไตยอย่าง นปช. โดยกล่าวหาเรื่องความขัดแย้งภายในการคอรัปชั่นและผลประโยชน์ทับซ้อน ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นการกระทำที่ส่งผลให้ความเข้มแข็งของฝ่ายประชาธิปไตยลดลง และขาดความเป็นเอกภาพ

ตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริงและยังไม่สามารถสรรหาผู้นำ ทางความคิด จิตใจ ที่จะรวมศูนย์ความศรัทธาของประชาชนได้เท่ากับอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร และตราบใดที่ยังไม่มีองค์กรนำที่สามารถรวบรวมผู้คนได้ดีไปกว่า นปช. ก็เป็นความจำเป็นที่เราจะต้องร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว สนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อต่อสู้กับอำนาจอันยิ่งใหญ่ของฝ่ายเผด็จการอมาตย์ที่พยายามทำลายประชาชน ฝ่ายประชาธิปไตยในทุกวิถีทางขณะนี้

ถ้าท่านอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย และ นปช. พ่ายแพ้ในการต่อสู้ครั้งนี้ ประชาชนไทยจะต้องถูกกดขี่อยู่ภายใต้การกดขี่ของเผด็จการอมาตย์ไปอีกหลายสิบ ปี และกว่าประเทศไทยจะได้ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงก็คงจะต้องประสบกับการสูญเสีย กันอีกมากมาย ดังนั้นเวลานี้ ขณะนี้ ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเท่านั้นจึงจะนำชัยชนะมาสู่ประชาชนได้อย่างแท้จริง

ปูนนก

ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์คุยกับทูตสหรัฐฯ 2

บทความแปล: วิกิลีกค์ฉบับเต็ม: 
ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองของประเทศไทยกับทูตสหรัฐฯ

อ้างอิง: SUBJECT: LEADING DEMOCRAT LEGISLATOR COMMENTS ON THAI POLITICAL STABILITY



[IMG]


หัวข้อ: สส แนวหน้าจากพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทย

บทสรุป:

1. (ลับ) ผู้แทนราษฎรแนวหน้าจากพรรคประชาธิปัตย์ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร กล่าวกับเราเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม (พ.ศ. 2551) ว่า การคาดคะเนจากสื่อมวลชนในปัจจุบันถึงความเป็นไปได้ในการก่อการรัฐประหารที่ ถูกปลุกกระแสการประโคมข่าวลือขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตรอาจจะเตรียมดำเนินแผนการยึดอำนาจเพื่อจะล้มล้างกับผลกระทบของการก่อ การรัฐประหารของปี พ.ศ. 2549 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ ทำการประเมินเกี่ยวกับความเป็นไปได้ถึงเรื่องนี้ว่า มันเป็นเรื่องที่ “ไกลเกินจริง” (far-fetched) แต่กล่าวว่า ทางฝ่ายกองทัพสามารถเข้ามาแทรกแทรงเท่าที่จะเป็นไปได้ถ้า การแสดงให้เห็นเกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญกลับเปลี่ยนแปลงกลายเป็น เรื่องที่รุนแรงไป ฝ่ายเรา (สหรัฐอเมริกา) แสดงเจตน์จำนงค์อย่างแรงกล้าในการต่อต้านการก่อการรัฐประหารและยังคงแสดงจุด ยืนอย่างต่อเนื่องกับบุคคลอื่นๆ ที่เราทำการติดต่อด้วยในอนาคตข้างหน้านี้ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เชื่อว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง อดีตนายกฯ ทักษิณ กับ นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวชนั้น เป็นไปอย่างไม่ค่อยจะดีนัก เขายังกล่าวให้ทราบถึงผู้แสดงบทบาททางการเมื่องท่านอื่นๆ เพื่อตรวจสอบอิทธิพลของอดีตนายกฯ ทักษิณ ในขณะที่ยอมรับว่า พรรคการเมืองของตนเองนั้น ไร้ประสิทธิภาพเป็นส่วนใหญ่ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวว่า ถ้าเกิดมีการเลือกตั้งใหม่ในเวลาอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ พรรคพลังประชาชน (พปช หรือ People’s Power Party – PPP) จะได้รับชัยชนะและมีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ยังกล่าวถึงเรื่อง รัฐบาลเงาของพรรคประชาธิปัตย์, สินทรัพย์ของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 และรวมไปถึงการมองในแง่ร้ายเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่มีต่อประเทศพม่า - จบบทสรุป

การก่อการรัฐประหารโดยฝ่ายฝักใฝ่กับนายกฯ ทักษิณ เป็นเรื่องที่ “ไกลเกินจริง”....:

2. (ลับ) ผู้ช่วยที่ปรึกษาทางการเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา (Deputy Political Counselor) ได้ทำการพูดคุยกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม (พ.ศ. 2551) จากการอ้างถึงการคาดคะเนจากสื่อมวลชนว่ามีโอกาสที่การก่อการรัฐประหารจะเกิด ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เราถามกับ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ว่า เขาได้ยินถึงความกังวลใจอย่างเฉพาะตัวเกี่ยวกับความเป็นไปได้หรือไม่ที่ทาง ฝ่ายกองทัพจะเคลื่อนตัวเข้ามายึดอำนาจ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์กล่าวว่า เมื่อนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวชได้กล่าวเรื่องนี้ให้ทราบทางสาธารณะเมื่อเดือนมีนาคมว่า การก่อการรัฐประหารสามารถเกิดขึ้นได้กับรัฐบาลของเขา ทางฝ่ายบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองต่างคาดการณ์ว่า การก่อการรัฐประหารนั้นจะดำเนินการวางแผนโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ตามสถานการณ์ที่โจษจันกันอยู่ อดีตนายกฯ ทักษิณจะเป็นผู้วางแผนการทั้งหมดเพื่อลบล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่กลุ่มก่อการ รัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 ได้กระทำมา และรวมไปถึงการนำเอารัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 กลับเข้ามาใช้, กลับคำพิพากษาจากศาลรัฐธรรมนูญต่อการยุบพรรคไทยรักไทย (ทรท) และยุติคดีความต่างๆ ที่ยังค้างอยู่ในศาลเกี่ยวกับ อดีตนายกฯ ทักษิณ และครอบครัวของเขา ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เชื่อว่า ในเวลานี้ อดีตนายกฯทักษิณมีความกระวนกระวายใจกับนายกฯ สมัครและมีความโกรธแค้นกับการบริหารงานของนายกฯ สมัครที่ไม่ยอมทำการเพิกถอนคดีความต่างๆ ที่มีต่ออดีตนายกฯ ทักษิณ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ได้กล่าวว่า ตัวเขาคำนึงถึงสถานภาพที่ว่า อดีตนายกฯ ทักษิณจะเป็นผู้วางแผนก่อการรัฐประหารนั้น มันเป็นเรื่องที่ “ไกลเกินจริง” เรากล่าวว่า เราหวังว่าจะไม่เห็นการ ก่อการรัฐประหารเกิดขึ้นและได้อธิบายให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่ออกมาในแง่ลบอย่าง เลวร้ายมากๆ ที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย ในเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทางฝ่ายกองทัพตัดสินใจทำการยึดอำนาจ

....... แต่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่สามารถคาดการณ์ได้ทั้งสิ้นในเรื่องของความรุนแรงบนท้องถนน:

3. (ลับ) ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ดูเหมือนว่าทางฝ่ายกองทัพได้เรียนรู้จากการก่อการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 และผลพวงของมันที่ทางฝ่ายทหารไม่ได้รับความถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่มีความ สามารถใดๆ ต่อการบริหารประเทศไทย เขาไม่เชื่อว่าผู้นำจากฝ่ายกองทัพจะมีความโน้มน้าวในการลงมือทำการก่อการรัฐ ประหารอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่าทางฝ่ายกองทัพอาจจะทำการแทรกแทรง เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับเรื่องของความขัดแย้งอย่างรุนแรงบนท้องถนน ต่างๆ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เตือนว่า เขาคาดหวังว่าจะเกิดความตึงเครียดอย่างมหันต์ในอีกไม่กี่สัปดาห์หน้านี้ เมื่อการอภิปรายเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อาจจะเกิดขึ้นได้นั้น ได้เดินหน้าต่อไป มีแนวโน้มเป็นอย่างมากที่จะเกิดการประท้วงเพื่อสนับสนุน และ การประท้วงเพื่อการต่อต้านขึ้นมา เขาเสริมต่อว่าหมอดูนักพยากรณ์ของไทยหลายๆ คน ต่างคาดคะเนกันว่าจะมีเรื่องความรุนแรงเกิดขึ้น และอย่างบ่อยครั้ง คำพยากรณ์ของหมอดูทั้งหลายนั้น สามารถเกิดขึ้นตามที่ว่ากันไว้อย่างนั้นด้วย (self-fulfilling)

ทัศนคติของพรรคประชาธิปัตย์ที่มีต่อรัฐธรรมนูญ:

4. (ลับ) ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ได้สร้างนโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่าง เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ จุดบางจุดที่ได้รับการยอมรับอย่างเอกฉันท์ภายในพรรคนั้น รวมไปถึงเรื่อง:

- จะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
- กระบวนการการแก้ไขจะต้องรวมไปถึงการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
- การแก้ไขจะต้องไม่มีการผลักดันเพื่อผลประโยชน์ของตนเองมาจากพรรคการเมืองใดๆ และ
- ควรจะชะลอในการนำเอาบทบัญญัติใดๆ เข้ามาปฎิบัติที่แสดงให้เห็นว่า มีผลกระทบในเรื่องผลประโยชน์ของตนเองต่อพรรคการเมืองใดๆ

ตรวจสอบอิทธิพลของอดีตนายกฯ ทักษิณ:

5. (ลับ) ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวอย่างในแง่ร้ายว่า ในปัจจุบัน พรรคประชาธิปัตย์เองไม่มีความสามารถที่จะทำการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับ อดีตนายกฯ ทักษิณและรวมไปถึงกลุ่มผู้มีความจงรักภักดีกับตัวเขา (เป็นต้นว่า กองกำลังกลุ่มใหญ่ที่ฝังตัวอยู่ในพรรคพลังประชาชน (พปช) บุคคลอื่นๆ ที่มีความสำคัญที่ปรากฎตัวให้เห็นกันอยู่ในปัจจุบันเพื่อชดเชยหน้าตาที่หาย ไปของอดีตนายกฯ ทักษิณ รวมไปถึงกลุ่มเหล่านี้คือ:

- กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย: – กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ทำการประท้วงอดีตนายกฯ ทักษิณ เมื่อปี พ.ศ. 2548-2549 และในปัจจุบันเป็นฝ่ายตรงข้ามที่ส่งเสียงดังมากที่สุดต่อการต่อต้านการแก้ไข รัฐธรรมนูญ

- นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช: ตามที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เชื่อว่า มีแรงเสียดทานกันระหว่าง นายกฯ สมัครกับอดีตนายกฯ ทักษิณ (เอกสารอ้างอิงชุด C ได้แสดงให้เห็นถึงมุมมองของอดีตนายกฯ ทักษิณเกี่ยวกับคำถามในเรื่องนี้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับตัวเอกอัครราชทูตเอง) ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์มีทัศนคติต่อนายกฯ สมัครว่า เป็นผู้แยกตัวออกมาอย่างพอประมาณแบบประเภท “ลุยเดี่ยว” (Lone Ranger) ซึ่งในแง่ผลประโยชน์นั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นไปตามแนวแบบของอดีตนายกฯ ทักษิณ แต่เราไม่ควรที่จะปัดเอาข้อคิดเหล่านี้ออกไปอย่างง่ายๆ เสียทีเดียวเพราะว่าเขามีอำนาจที่สามารถยุบสภาและรวมไปถึงอำนาจต่างๆ ที่เขามีอยู่ในมือภายใต้พระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายใน และ
'
- ผู้บัญชาการทหารบก: พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ให้ข้อคิดเห็นว่า ในปัจจุบันนี้ พลเอกอนุพงษ์อยู่ในตำแหน่งที่จะถูก "เกี้ยว" เพื่อให้การสนับสนุนจากกลุ่มของนายกฯ สมัคร และอดีตนายกฯ ทักษิณ และเขาได้สรรเสริญความสามารถของพลเอกอนุพงษ์ ในการวางแผนหลบหลีกต่อวิถีทางต่างๆ ที่ ไม่มีบุคคลในทางการเมืองผู้ใดที่คิดถึงเขาอย่างเลวร้ายไปเสียทีเดียว

การเลือกตั้งครั้งใหม่หรือ?:

6. (ลับ) ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์จะไม่มีทางเตรียมตัวได้ทันเลย ถ้าหากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ เขายอมรับว่า “ทุนรอนต่างๆ ก็หมดลงไปแล้ว” (Our coffers are empty.) เขาวิเคราะห์ด้วยความคิดเห็นในแง่ร้ายว่า ถ้ามีการเลือกตั้งเกิดขึ้นภายใต้กลไกของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 (ระบบเขตเดียวคนเดียว) จำนวนที่นั่งที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้รับในสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะลดลงไปอย่าง สำคัญทีเดียว ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ประเมินว่า ในเหตุการณ์ของการเลือกตั้งครั้งใหม่ พรรคการเมืองที่สนับสนุนอดีตนายกฯ ทักษิณจะได้รับชัยชนะโดยได้เสียงข้างมากอย่างเด็ดขาดในสภาอย่างน้อยที่สุด 300 ที่นั่ง ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆ เกือบทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายหลังจากการยุบพรรคไทยรักไทยนั้น ก็อาจจะไม่สามารถที่จะหาเงินทุนมาสนับสนุนเพื่อดำเนินการต่อไปหรือไม่ก็ต้อง ถูกกลืนเข้าไปอยู่ภายใต้การกำกับการของพรรคพลังประชาชนในฐานะที่เป็น พรรคที่สืบอำนาจต่อจากพรรคไทยรักไทย ซึ่งประกอบไปด้วยผู้สนับสนุนอดีตนายกฯ ทักษิณ เขากล่าวว่าสถานการณ์ที่ดีที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์คือ ให้นายกฯ สมัครทำการบริหารประเทศอยู่เป็นเวลาสองปี โดยให้เวลากับพรรคตนเองทำการเตรียมตัวเพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป แต่ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์มีความเคลือบแคลงในว่า การบริหารงานของนายกฯ สมัครนั้นจะอยู่ได้นานขนาดนั้นเชียวหรือ เขาคาดการณ์ล่วงหน้าว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่จะเกิดขึ้นโดยทันทีภายหลังกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้เริ่มขึ้น หรือไม่ก็อาจจะก่อนหน้านั้น ถ้าความกดดันทางการเมืองกับนายกฯ สมัครเกิดขึ้นอย่างมาก จนต้องทำให้เขาตัดสินใจยุบสภาเสีย

พลเอกสนธิ: ตอนนี้เขาอยู่ที่ไหน?:

7. (ลับ) เราตั้งขอสังเกตุว่า ดูเหมือนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ซึ่งก่อตั้งโดยกลุ่มผู้นำการก่อการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549) จะพลาดพลั้งในการผ่านพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายใน เพียงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2550 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวว่า บุคคลที่ควรจะถูกตำหนิมากที่สุดในเรื่องการผลักดันกฎหมายฉบับนี้ ตกอยู่กับหัวหน้าคณะรัฐประหารเองคือพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งทำการคำนวณอย่างผิดพลาดต่อผลของการเลือกตั้ง ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เล่าขานว่า จวบจนกระทั่งนาทีสุดท้าย พลเอกสนธิเชื่อว่า เขาสามารถที่จะหล่อหลอมนำเอาพรรคการเมืองทั้งหมดทุกพรรคเข้ามาผสมผสานกัน ซึ่งไม่รวมพรรคพลังประชาชนอยู่ในนั้น ส่วนพรรคที่หนุนหลังให้เลือกตัวของพลเอกสนธิ เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น คือ พลเอก พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรครวมใจชาติพัฒนาและอดีตผู้บัญชาการทหารบก


8. (ลับ) เราถามว่าพลเอกสนธิยังคงมีความกระตือรือร้นอยู่ในแวดวงทางการเมืองหรือเปล่า ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวว่า เขาคิดว่าคงไม่แล้ว เขาเชื่อว่า พลเอกสนธิได้ยื่นข้อตกลงในรูปแบบต่างๆ กับอดีตนายกฯ ทักษิณ – “ไม่มีสงคราม, ไม่มีสันติภาพ” (No war, no peace). ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ยังคาดคะเนว่า ในปัจจุบันนี้ ตัวพลเอกสนธิ “กำลังมีความสุขอยู่กับความมั่งคั่งของเขา” โดยกล่าวว่า เขาเชื่อว่า พลเอกสนธิได้เริ่มมีความร่ำรวยอย่างสำคัญทีเดียวภายหลังจากการก่อการรัฐ ประหาร

คณะรัฐมนตรีเงาของพรรคประชาธิปัตย์:

9. (ลับ) เราถาม การประเมินของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ เกี่ยวกับคณะรัฐมนตรีเงาของพรรคประชาธิปัตย์ (คณะรัฐมนตรีเงานี้ ก่อตั้งเมื่อตอนต้นปี พ.ศ. 2551 และเป็นนวัตกรรมชิ้นใหม่สำหรับประเทศไทย ตัว ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เอง ก็ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเงา ของกระทรวงการต่างประเทศภายใต้การดำเนินการของพรรคประชาธิปัตย์) ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวว่า มันยังเร็วเกินไปในการประเมินสมรรถภาพของคณะรัฐมนตรีเงา คณะรัฐมนตรีเงานั้น มีการประชุมกันทุกๆ สัปดาห์ในวันพฤหัสบดีตอนเช้า มันยังไม่สามารถที่จะรวบรวมสิ่งที่น่าสนใจอย่างสำคัญมาให้สื่อมวลชนทราบกัน ได้เกี่ยวกับฐานะตำแหน่งของมัน ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์คร่ำครวญว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์ปราศจากพนักงานทำการดูแลและรวมไปถึงการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่จะสนับสนุนการบริหารงานของรัฐมนตรีเงาท่านอื่นๆ อีกด้วย

ประเทศพม่า:

10. (ลับ) อ้างอิงถึงเอกสารชุด D, เราอธิบายถึงมุมมองของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการลงประชามติเพื่อ สร้างรัฐธรรมนูญของประเทศพม่า ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์กล่าวว่าเขามีความตกตะลึงเป็นอย่างยิ่งกับสิ่งที่เขาได้พบกับ ทัศนคติของรัฐบาลไทยที่บริหารประเทศในปัจจุบันเกี่ยวกับท่าทางในการอำนวย ความสะดวกอย่างล้นเหลือกับประเทศพม่า เขาหวังว่า คุณนพดล ปัทมะ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะนำเอาวิธีการเดิมที่ได้รับความแพร่หลายในสมัยการบริหารงานสมัยอดีตนายกฯ ทักษิณเข้ามาใช้ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ กล่าวเสริมว่า คำแถลงล่าสุดของนายกฯ สมัคร (ดูที่เอกสารอ้างอิง ชุด B) ยังกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้ความกังวลเกิดขึ้น นายกฯ สมัครเสิรมว่า ระบบราชการของกระทรวงการต่างประเทศจะไม่ผลักดันให้เกิดการปฎิรูปในประเทศ พม่า เขาประเมินตัวปลัดกระทรวงการต่างประเทศ คือ คุณวีระศักดิ์ ฟูตระกูลว่า เป็นบุคคลที่ “เห็นอกเห็นใจ” ต่อประเทศพม่าเป็นอย่างมาก ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เล่าขานถึงเรื่องนี้เมื่อสมัยที่เขา (ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2540 คุณวีระศักดิ์อยู่ในตำแหน่งอธิบดีกรมเอเซียตะวันออก ในเวลานั้น คุณวีระศักดิ์ให้ความเห็นส่วนตัวซึ่งสะท้อนถึงฐานะตำแหน่งของระบอบการปกครอง ในประเทศพม่า ซึ่งการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2533 ในประเทศพม่าหมายถึงเพียงการเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ถึงแม้ว่า รัฐบาลจากหลายๆ ประเทศเกือบทั้งหมดเชื่อกันว่า ผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไปนั้น ได้รับชัยชนะต่อที่นั่งในสภาที่มีอำนาจสร้างตัวบทกฎหมายอย่างสมบูรณ์ได้

ความคิดเห็น:

11. (ลับ) มีเรื่องที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจเกี่ยวกับจำนวนที่ทางสาธารณะทำการคาดคะเน ถึงโอกาสที่จะเกิดการรัฐประหารขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้เราคิดว่าเรื่องการพัฒนาการเรื่องนี้ มีแนวโน้มว่าจะไม่เกิดขึ้น ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์เป็นคู่สนทนาที่มีความน่าเชื่อถือ และเราพบว่ามุมมองของเขาเกี่ยวกับเนื้อหาใจความนั้น ค่อนข้างมีความสมดุลกันอยู่ เพราะเขาไม่ได้ปฎิเสธปัดถึงเรื่องที่เป็นไปได้ออกไป หรือไม่ก็เห็นว่ามันมีความโน้มน้าวที่จะเกิดขึ้น เราจะทำการติดต่อคู่สนทนาอีกหลายๆ ท่านในเวลาอีกไม่นานข้างหน้าเพื่อแสดงข้อคิดเห็นจากทัศนคติเกี่ยวกับประเด็น นี้ และกล่าวย้ำอย่างแข็งขันว่า รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นปรปักษ์กับการคาดหวังต่อกระทำใดๆ ที่อยู่นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อทำการยึดอำนาจ

(เอกอัครราชทูต อีริค) จอห์น

-------------------------------------------


ความคิดเห็นของผู้แปล:

เมื่อ อ่านเคเบิ้ลฉบับนี้เป็นภาษาอังกฤษ สิ่งที่สะดุดสายตาของดิฉันมากที่สุดคือการใช้ชื่อ "สุขุมพันธุ์" (Sukhumbhand) โดยเอกอัครราชทูตจอห์นอยู่เป็นจำนวนถึง 33 ครั้ง

แต่ เชื่อหรือไม่ว่า ถ้าค้นคำภาษาอังกฤษในเคเบิ้ืลฉบับนี้ ด้วยคำว่า "ทักษิณ" (Thaksin) จะพบคำนั้นเป็นจำนวนถึง 23 ครั้ง และชื่อ "สมัคร" (Samak) เป็นจำนวน 13 ครั้ง พอเห็นแค่นี้ แล้วใช้วลีที่ว่า "เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น" เข้าไปประกอบนั้น ก็คงจะรู้กันแล้วว่า ใครเป็นคนดีและใครเป็นคนเลว ถ้าไม่ต้องการอ่านเนื้อหาใดๆ

เค เบิ้ลฉบับนี้เขียนเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ในสมัยที่คุณสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ดำรงตำแหน่ง สส ของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ (ยังไม่ได้ออกมาสมัครเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อตอนปลายปี)

สิ่ง ที่แปลกใจคือ มีการสร้างข่าวลือกันว่า อดีตนายกฯ ทักษิณกำลังวางแผนก่อการรัฐประหารเพื่อตนเองจะได้รับอำนาจกลับคืนมา ทั้งๆ ที่ตัวนายกฯ ทักษิณเองในขณะนั้น กำลังเดินทางมาฟังคดีความเกี่ยวกับเรื่องศาลที่ตัดสินว่ากระทำความผิดในการ ให้ภรรยาเซ็นชื่อเกี่ยวกับที่ดิน คุณทักษิณเองก็มีกำหนดการที่จะเดินทางไปยังกรุงปักกิ่ง เพื่อเป็นแขกในพิธีการเปิดการแข่งขันโอลิมปิคในเดือนสิงหาคมของปี พ.ศ. 2551 ดังนั้น สิ่งที่ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ กล่าวใส่ความให้กับเอกอัครราชทูตจอห์นฟังนั้น เป็นการเอาดีใส่ตัวอย่างแท้จริง

ส่วน เรื่องความไม่ลงรอยกันระหว่างอดีตนายกฯ สมัคร กับอดีตนายกฯ ทักษิณนั้น ก็เป็นเรื่องที่ทราบกันว่า คุณสมัครเป็นนักการเมือง ส่วนคุณทักษิณ เป็นนักธุรกิจ เมื่อสองท่านเจรจากัน ก็คงจะมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเป็นแน่ ถ้าจะพูดถึงผลประโยชน์ต่างๆ ดิฉันมั่นใจว่า อดีตนายกฯ สมัคร ท่านไม่คดโกงอย่างแน่นอน ถ้าจำไม่ผิด เมื่อท่านเสียชีวิตนั้น มีทรัพย์สินมรดกตกอยู่กับครอบครัวไม่ถึง 10 ล้านบาทเสียด้วยซ้ำไป ถ้าคิดเป็น US Dollars ก็คงประมาณ 3 แสนเหรียญกว่าๆ เท่านั้น

หลัง จากการอ้างอิงข้อที่ 5 เป็นต้นไป เราจะทราบโดยทันทีว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์มีความ "หวาดหวั่น" ต่ออิทธิพลของอดีตนายกฯ ทักษิณเป็นอย่างยิ่ง แม้กระทั่งกระทำทุกอย่างเพื่อหาแนวร่วมเช่นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย (และในเดือนตุลาคม + พฤศจิกายน ของปีนั้น ก็ร่วมมือกระทำการปิดการจราจรในสนามบินนานาชาติ 4 แห่ง - ทางภาคใต้สองแห่ง และในกรุงเทพมหานครอีกสองแห่งด้วย)

แต่ เมื่ออ่านความคิดเห็นของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์แล้ว ก็ทราบดีว่า ทางพรรคของตนเองมีความหวาดกลัวต่อการเลือกตั้งเป็นอย่างยิ่ง เพราะคงจะแพ้อย่างหลุดลุ่ยจริงๆ ส่วนเรื่องการอ้างว่า เงินทุนสำรองเพื่อใช้ในการเลือกตั้งหมดไปแล้วนั้น เป็นวิธีการหนึ่งที่หลอกให้ทูตจอห์นเข้าใจว่าพรรคของตนเอง ดำเนินการอย่างซื่อสัตย์ ไม่เหมือนกับพรรคฝ่ายตรงข้ามที่มีเงินทุนอุดหนุนอย่างแน่นหนา

ส่วน เรื่องอื่นๆ ก็เป็นเรื่องสนทนาตามปรกติที่โยงเอาคุณสมัครและคุณทักษิณเข้ามามีส่วนร่วม ด้วยเท่านั้นเอง เพื่อทำให้ตนเองดีเด่นในสายตาของเอกอัครราชทูตจอห์น

แต่ เคเบิ้ลฉบับนี้ ได้ให้ความรู้กับเรื่องนวัตกรรมรูปใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ นั่นก็คือ การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีเงานั่นเอง ดิฉันเห็นเอกอัครราชทูตจอห์นเขียนไว้ ก็เลยขอนำมากล่าวอีกครั้งหนึ่ง เพราะนี่แหละคือผลงาน แถมตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (เงา) นั้น ก็บ่นอยู่เสมอว่า ขาดบุคลากรและข้อมูล ดังนั้น ก็สงสัยเหมือนกันว่า จะสร้างนวัตกรรมแบบนี้ขึ้นมาทำไม ทั้งๆ ที่ฝ่ายตนเองยังไม่มีความพร้อมอะไรเลย

เมื่อ ขาดบุคลากรและขาดข้อมูล สิ่งที่จะเป็นผลงานได้ก็คือ "การนั่งเทียน เขียนข่าว และสร้างข้อมูล" กันขึ้นเอง และหวังว่า กระแสจากโลกโซเชี่ยลมีเดียร์จะช่วยกระจายกันออกไป ประเทศไทยไม่มีกฎหมายอย่างรุนแรงในการฟ้องร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับข้อมูล เท็จ เราถึงเห็นการปั่นข่าวสร้างข่าวและกระพือกันออกไปอย่างไร้ความรับผิดชอบกัน จริงๆ

เรื่อง ของพลเอกสนธิ ที่มีความร่ำรวยหลังการรัฐประหารนั้น เป็นเรื่องที่เราๆ ก็ทราบกันอยู่ตลอดเวลา ใครบ้างล่ะ ที่มีส่วนในเรื่องการก่อการรัฐประหารแล้วยากจนค่นแค้นบ้าง? งบประมาณต่างๆ ก็ไปตกอยู่กับพวกนี้ทั้งหมดจริงๆ

สิ่ง ที่น่าสนใจในเคเบิ้ลฉบับนี้ คือ ข้อคิดเห็นของเอกอัครราชทูตจอห์นเอง ที่กล่าวว่า ทางสถานทูตฯ ยังมีคู่สนทนาอยู่อีกหลายท่าน ซึ่งตามทีได้ติดตามเคเบิ้ลจากวิกิลีกค์มาหลายฉบับ ดิฉันมั่นใจว่า คู่สนทนาที่เอกอัครราชทูตจอห์นได้กล่าวไว้นั้น คือบุคคลในพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง และคนที่มีชื่ออยู่ในลำดับต้นๆ ที่เป็นสายส่งข้อมูลให้ จะเป็นใครอื่นไม่ได้ นอกเสียจากบุคคลเช่น คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือคุณพิภพ ธงไชย นั่นเอง เพราะบุคคลเหล่านี้ เป็นผู้ให้ข่าวสารกับทางสถานทูตฯ มาโดยตลอด โดยเฉพาะกับเอกอัครราชทูตคนก่อนหน้าคือ ทูตบอยซ์ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนรู้เห็นและกระทำการร่วมมือช่วยเหลือฝ่ายอำมาตย์และพรรคประ ชาธิปัตย์ทุกอย่าง จนกระทั่งทำการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนส่วนใหญ่ของ ประเทศเป็นผลสำเร็จ

เค เบิ้ลฉบับนี้เปิดช่องให้เห็นอย่างง่ายๆ คือ สายสืบที่ให้ข่าวกับทางฝ่ายสถานทูตสหรัฐอเมริกานั้น ก็คือ พรรคประชาธิปัตย์และบุคคลในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทางสถานทูตฯ จะฟังพวกนี้ มากกว่าเสียงของทางฝ่ายรัฐบาล (ไม่ว่าจะเป็นการบริหารของอดีตนายกฯ ทักษิณ, อดีตนายกฯ สมัคร หรือ อดีตนายกฯ สมชายก็ตาม) แต่ตอนที่พรรคประชาธิปัตย์กลายเป็นฝ่ายรัฐบาล ทางสถานทูตฯ ก็คงจะไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับพรรคเพื่อไทยเท่าไรนัก เพราะบทบาทที่เห็นจากกลุ่มอำมาตย์นั้น ทำการครอบงำกับทางฝ่ายประชาธิปไตยตลอดมา...

เราคงได้เรียนรู้ถึงประวัติของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ พอสมควรในการทำงานในฐานะผู้แทนของประชาชน จากเคเบิ้ลฉบับนี้นิดหน่อยนะคะ...

Doungchampa Spencer