วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เหี้ยมาแล้วจากภาคใต้



เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:27:53 AM »

Fri, 2011-08-05 21:12
ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)




คนใต้เคลื่อนพล “ปฏิบัติการเพชรเกษม’41” ยึดถนนเพชรเกษม ต้านนโยบายเพื่อไทย ประกาศไม่เอาทุกเมกะโปรเจ็กต์แผนพัฒนาภาคใต้ ตั้งแต่แลนด์บริดจ์สงขลา–สตูล ท่าเรือปากบารา นิคมฯ ปิโตรเคมี โรงไฟฟ้าถ่านหิน–นิวเคลียร์ เผยภาคประชาชนทั่วประเทศ จี้ “ยิ่งลักษณ์” เลิกโครงการกระทบสิ่งแวดล้อม

นายสมบูรณ์ คำแหง คณะทำงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้ เครือข่ายประชาชนภาคใต้จะเปิดปฏิบัติการเพชรเกษม’41 เพื่อบอกกับรัฐบาลเพื่อไทยว่า คนภาคใต้ไม่ต้องการโครงการขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจ็กต์ ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงงานอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ โรงไฟฟ้าถ่านหิน สะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) สงขลา–สตูล ท่าเรือน้ำลึกปากบารา โดยมีประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากเครือข่ายต่างๆ ในภาคใต้ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เข้าร่วมชุมนุม

นายสมบูรณ์ เปิดเผยต่อไปว่า สำหรับสถานที่ชุมนุม และรูปแบบของการเคลื่อนไหว จะมีการประชุมหารือกันอีกครั้ง ในวันที่ 6 สิงหาคม 2554 ที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ เบื้องต้นเครือข่ายภาคใต้ได้หารือกันคร่าวๆ บ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า จะจัดชุมนุมที่จังหวัดชุมพร หรือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งยังไม่ได้กำหนดวันชุมนุม และกำหนดว่าจะชุมนุมกันกี่วัน จะชุมนุมยืดเยื้อหรือไม่ยืดเยื้อ ในการชุมนุมครั้งนี้ จะมีการอ่านแถลงการณ์คัดค้านโครงการเมกะโปรเจ็กต์ในภาคใต้

“เราตั้งใจจะชุมนุมให้ได้ ก่อนที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา” นายสมบูรณ์ กล่าว

นางสุไรด๊ะ โต๊ะหลี ตัวแทนเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จังหวัดสงขลา อดีตแกนนำโครงการคัดค้านท่อก๊าซและท่อส่งก๊าซไทย–มาเลเซีย กล่าวว่า รู้สึกเป็นกังวลเล็กน้อยว่า การไปประท้วงในเดือนรอมฎอนของพี่น้องมุสลิมภาคใต้ ซึ่งเป็นช่วงถือศีล–อด อาจทำให้ล้าได้ แต่พี่น้องมุสลิมก็พร้อมจะเดินทางไปร่วมชุมนุมคัดค้านกับเครือข่ายจังหวัดสตูลให้ถึงที่สุด

“ถ้ารัฐสามารถสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่อำเภอละงู จังหวัดสตูลได้ ก็จะมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 ที่บ้านสวนกง ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตามมา อีกทั้งโครงการรถไฟรางคู่ และโครงการแลนด์บริดจ์สงขลา–สตูล ประกอบด้วย ท่อส่งก๊าซ ท่อน้ำมัน เชื่อมระหว่างอำเภอละงู จังหวัดสตูล กับอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และคลังน้ำมันทั้งสองฝั่ง รวมถึงมีนิคมอุตสาหกรรมทั้งฝั่งสงขลา และฝั่งสตูล ซึ่งจะมีประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจำนวนมาก” นางสุไรด๊ะ กล่าว

นายทรงวุฒิ พัฒน์แก้ว คณะทำงานเครือข่ายท่าศาลารักษ์บ้านเกิด จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ไม่ว่าพรรคไหนมาเป็นรัฐบาล ก็เดินหน้าแผนพัฒนาภาคใต้อยู่แล้ว แต่ที่เป็นกังวลเมื่อพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล ก็เพราะพรรคการเมืองนี้มีนโยบายเอาใจกลุ่มทุนชัดเจน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ทำให้โครงการต่างๆ เดินหน้าเร็วยิ่งขึ้น

นายวิโรจน์ ทองเกษม คณะทำงานเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ถ้ามีการรวมตัวกันจริงๆ ตนและเครือข่ายฯ พร้อมจะเข้าร่วมชุมนุมด้วย

นายวิเวก อมตเวทย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์ละแม จังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า นอกจากจะมีการชุมนุมคัดค้านแผนพัฒนาภาคใต้แล้ว ยังมีการพูดคุยกันระหว่างเครือข่ายภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการแผนพัฒนาของภาครัฐทั้งในภาคใต้ เหนือ อีสาน และตะวันออก เพื่อร่วมกันคัดค้านโครงการเมกะโปรเจ็คต์ต่างๆ ของพรรคเพื่อไทย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิทธิชุมชน ต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรม โดยเฉพาะโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่จังหวัดสตูล และนโยบายถมทะเลสร้างเมืองใหม่ ที่จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นประเด็นร้อนที่สุด

“ถ้าหากภาครัฐเดินหน้าโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่จังหวัดสตูล ตนและเครือข่ายรักษ์ละแม รวมถึงเครือข่ายภาคประชาชนในภาคใต้ และทั่วประเทศไทย จะเข้าร่วมต่อสู้จนถึงที่สุด” นายวิเวก กล่าว

นางมณเฑียร ธรรมวัติ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้ จังหวัดระนอง เปิดเผยว่า คนใต้จะส่งสัญญาณด้วยการผนึกเสียงจากทุกจังหวัดในภาคใต้ บอกความต้องการของคนภาคใต้ในสามหัวข้อหลักคือ เรื่องความมั่นคงด้านอาหาร เรื่องอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากภาคเกษตร และเรื่องพลังงานทางเลือก อนาคตของคนใต้ คนภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัดจะกำหนดเอง



นางมณเฑียร กล่าวว่า ในส่วนของจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต พัทลุง แม้จะยังไม่เห็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์เหมือนจังหวัดอื่นๆ แต่เมื่อเป็นผืนแผ่นดินภาคใต้ด้วยกัน ก็ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ด้วยกัน

“เรามีพร้อมทั้งทรัพยากรคน ทรัพยากรธรรมชาติ คนใต้ไม่อยากเป็นแค่ลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม ไปดูในโรงงานซิ มีคนใต้กี่คน” นางมณเฑียร กล่าว

http://prachatai.com/journal/2011/08/36362
« ตอบ #1 เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:55:42 AM »

แปลกๆมีนัยยะอะไรหรือเปล่า...ขอถาม?   สังสัยจังกับพฤติกรรมมันแปลกนะ...ยังไม่ได้ดูรายละเอียดของแต่ละโครงการ   ว่าเขาจะมีวิธีการอย่างไร   และปัญหาที่จะกระทบสิ่งแวดล้อมจะทำอย่างไร   เมื่อทำไปแล้วใครเป็นคนได้ประโยชน์ใครเสียประโยชน์   ได้ศึกษาผลกระทบต่างๆมีอะไรบ้าง   คุยกันหรือยังกับเจ้าของโครงการ?  หรือไม่สนจะแอนตี้ว่างั้นเถอะ   แปลกนะ....เอาเถอะพ่อคุณถ้าพวกเขาไม่เอา   ก็อย่าไปแตะพวกเขา   คิดว่าพวกเขาเป็นเทวดาท่าจะบ๊องครับ.....
« ตอบ #2 เมื่อ: วันนี้ เวลา 01:26:25 PM »

ประชาชนที่ผลกระทบเรื่องอะไรบ้างรัฐก็ต้องส่งคนไปนั่งคุยกันกับเขา

เก็บหลักฐานทั้งภาพถ่าย เทปการประชุม วีดีโอ และเก็บไว้ที่ฝ่ายประชาชน

ผู้เดือดร้อน ภาครัฐ และบริษัทเอกชน

บริษัทไหนได้สัมปทานในการทำงานก็ต้องเข้าไปคุยแก้ไข ชดเชย 
ถ้างานที่จะก่อสร้างกระทบสิ่งแวดล้อม ก็ต้องแก้ไข 
(กฏหมายสิ่งแวดล้อมเดินหน้าไปถึงไหนแล้ว ? )

นำรายชื่อผู้อยู่อาศัยจริงมาพิจารณาเก็บเป็นฐานข้อมูลอย่างละเอียดละเลย

อ้างถึง
ท่าเรือปากบารา นิคมฯ ปิโตรเคมี โรงไฟฟ้าถ่านหิน–นิวเคลียร์

เผยภาคประชาชนทั่วประเทศ จี้ “ยิ่งลักษณ์” เลิกโครงการกระทบสิ่งแวดล้อม

เรื่องลักษณะอย่างนี้จะเจออีกเยอะ 

« ตอบ #3 เมื่อ: วันนี้ เวลา 02:28:16 PM »

กลุ่ม NGO ของไทยมีหัวหน้าตัวใหญ่ชื่อนายอานันท์ ปัญารชุน และนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

ไม่แปลกหรอกครับที่พวกนี้จะออกมาเคลื่อนไหว
« ตอบ #4 เมื่อ: วันนี้ เวลา 02:51:21 PM »

อย่างนี้นี่เอง.... คนใต้ส่วนมากถึงได้ชอบพรรคแมลงสาป  เพราะ พวกแมลงสาปไม่ชอบทำ... ชอบพูดมากกว่า

และคนใต้ส่วนใหญ่ก้อกลัวการเปลี่ยนแปลง

(ผมไม่ได้มีเจตนาดูหมิ่นคนใต้นะครับ แต่ผมวิเคราะห์ในประเด็นของการพัฒนาประเทศ และการเเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก)

ในความคิดเห็นของผม... มองว่าเรื่องนี้มันต้องมีเบื้องหน้าเบื้องหลังของการเคลื่อนไหวครั้งนี้  และสิ่งหนึ่งที่พอจะคาดเดาได้ก้อน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพวก NGO ที่ไปรับเงินจากประเทศเพื่อนบ้านมา แล้วก้อมาปั่นหัวชาวบ้านเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมท้องถิ่น ความเป็นอยู่และอาชีพ ซึ่งคนใต้เป็นพวกอนุรักษ์นิยมอยู่แล้ว พอโดนพวกNGOมาปั่นฯ ก้อเลยเป็นเรื่อง....

นี่ถ้าประเทศไทยทำเมกกะโปรเจคต่างๆสำเร็จ  จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านของเราแน่นอน

ตัวอย่างเช่น การขุดคลองที่คอคอดกระ (โปรเจคดึกดำบรรพ์) ถ้าไทยทำสำเร็จ จะกระทบต่อเศรษฐกิจของสิงคโปรทันที

มีใครคิดเห็นอย่างอื่นบ้างครับ  
« ตอบ #5 เมื่อ: วันนี้ เวลา 03:05:02 PM »


ไม่เอาก็ไม่ต้องไปพัฒนาให้ ก็แค่นั้น 
300 บาทไม่เอา ปราบยาบ้าไม่เอา นโยบายเขตปกครองพิเศษ 3 จว.ชายแดนไม่เอา 
คนใต้ยอมรับได้ไหม ไม่มีการพัฒนาอะไรเลย อะไรๆ ที่เป็นนโยบายเพื่อไทย ไม่เอาทั้งนั้น

จริงๆ ที่ไม่เลือก สส.พรรคอื่นสักคนนี่ก็บอกได้แล้ว (ที่จริงไม่ควรให้ความสนใจ อยากประท้วงเชิญตามสบาย)

แต่ถามสักหน่อยว่า นี่มันเป็นความเห็นของคนใต้ส่วนมาก หรือแค่กลุ่มเดียว

คนใต้ที่พร้อมรับการพัฒนาต้องออกมาไล่กระทืบไอ้พวกป่วนนี้ด้วย

เบื้องหน้าเบื้องหลังคิดว่ามีแน่นอน ยังไม่เห็นเนื้อหาของโครงการเลย

ออกมาคัดค้านเสียแล้ว

อย่าอ้างชื่อคนใต้ทั้งหมดได้ไหม อ้างเป็นพวกๆ ไป เช่น สิงหนครคัดค้านท่อก๊าซ

ท่าศาลาไม่เอาทุกโครงการของเพื่อไทย ฯลฯ

เพราะคนที่เห็นด้วยกับการพัฒนาก็มี (ยืนยัน) เพียงแต่เสียงไม่ดัง

กรุณาอย่าเอาความคิดที่คนอื่นยัดใส่หัวให้มาปิดโอกาสคนอื่นเลย

การกระทำเยี่ยงนี้น่ารังเกียจมาก ขอบอก 
« ตอบ #6 เมื่อ: วันนี้ เวลา 03:09:48 PM »

อิอิ เห็นด้วยกับคุณgoldofheart-เพราะเช่นนั้นจึงเป็นเช่นฉะนี้

ไม่เอาก็ไม่ต้องพัฒนาตอนนี้ทำแต่ศึกษาและก็ศึกษา

แต่คนที่จะมาศึกษาและได้รับงบประมาณรับผิดชอบผลกระทบโครงการต่างๆ
 
ต้องเป็นคนในพื้นที่นั้นๆ นะคะ ไม่ใช่นักวิชาการที่แต่ละรัฐบาลเคยจ้างมา