วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554


โกงกินเลวกว่าปากกระบอกปืน!
ธรรมศาสตร์
คอลัมน์ ชกไม่มีมุม   วงค์ ตาวัน

           เมื่อ 35 ปีที่แล้ว ในวันนี้มีเหตุการณ์เศร้าสลดเกิดขึ้นกลางเมืองหลวง โดยเริ่มจากการสร้างข้อกล่าวหาว่าการชุมนุมของนักศึกษาประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อต่อต้านการกลับเข้าประเทศของจอมพลถนอม มีการแสดงละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ปลุกให้พลังมวลชนฝ่ายขวาเข้ามาปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วนำมาสู่การเข่นฆ่าอย่างเหี้ยมโหด ตายไปเกือบ 50 ศพ จับกุมคุมขังอีกนับพัน ตั้งข้อหาเป็นผู้ก่อการร้าย เป็นกบฏ หมิ่นสถาบันที่คนไทยเคารพรัก

              จากนั้นก็ออกข่าวการตรวจค้นในธรรมศาสตร์ พบอุโมงค์ลับ ซ่องสุมอาวุธ มีธงแดงค้อนเคียว รูปภาพฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ สารพัดจะอ้าง!?! ก่อนความจริงจะคลี่คลายในภายหลังว่า เป็นการสร้างเรื่อง หยิบเรื่องเล็กมาขยายให้ใหญ่ อุโมงค์ลับก็คือท่อระบายน้ำที่ทะลุลงเจ้าพระยา อาวุธก็ไม่มีจริง ธงและรูปภาพในการจัดนิทรรศการความสัมพันธ์ไทย-จีน คือหลักฐานฝักใฝ่คอมมิวนิสต์


           ผลจากเหตุการณ์วันนั้น ทำให้นักศึกษาประชาชนอีกเกือบหมื่นหนีเข้าป่าไปเป็นคอมมิวนิสต์จริงๆ จนสงครามทหารป่าลุกลามเข้ามาจ่อเมืองกรุง มาถึงปากท่อ ราชบุรี มาถึงบ้านไร่ อุทัยธานี ดีที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์เกิดขัดแย้งแนวทาง และรัฐบาลชาญฉลาดใช้แนวการเมืองนำการทหาร จึงทำให้ป่าแตก
           ในเดือนตุลาคมของทุกปี จึงมีงานรำลึกถึงวันที่ 6 ตุลาคมไม่เคยขาด จาก 2519 ถึงปีนี้ก็ 35 ปีแล้ว และอีกวันคือ 14 ตุลาคม 2516 ก็รำลึกถึงวีรชนที่พลีชีพเพื่อประชาธิปไตยอย่างสม่ำเสมอทุกปีเช่นกัน 

          ความรุนแรงและการสร้างเรื่องจากฝ่ายรัฐเมื่อ 6 ตุลาคม 2519 มีการหยิบยกมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553

          เพราะมีการยัดข้อหาผู้ก่อการร้าย เป็นกบฏ ล้มล้างสถาบันให้แบบเดียวกัน! แม้ว่าม็อบเสื้อแดง อาจไม่บริสุทธิ์เท่านักศึกษาประชาชนเมื่อปี 2516 ถึง 2519 เพราะโยงใยถึงอดีตนายกฯ แต่คำว่าเป็นม็อบทักษิณ จะกลายเป็นใบอนุญาตให้อำนาจรัฐฆ่าคนที่ชุมนุมทางการเมืองได้หรือ!?

         ที่น่าสนใจ 6 ตุลาคมเกิดในธรรมศาสตร์ ฆ่าประชาชนเสร็จลงเอยเป็นการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
ผ่านมา 35 ปี มีอะไรเกิดขึ้นกับธรรมศาสตร์ 
ผู้บริหารธรรมศาสตร์ประกาศเข้าข้างรัฐประหาร
ด้วยเหตุผลว่า โกงกินเลวกว่าปากกระบอกปืน!


newsid=TUROamIyd3dPREEyTVRBMU5BPT0=
&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHhNQzB3Tmc9PQ==
http://redusala.blogspot.com

นี่คือหน้าที่ฝ่ายค้านจริงหรือ?
โดย แคน คนรากหญ้า
           
            ผมชมการอภิปรายนโยบาย รัฐบาล เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 54 ช่วงที่ ส.ส. คนหนึ่งของพรรคประชาธิปัตย์ (ผมจำชื่อเขาไม่ได้) อภิปรายพอดี เขาพูดถึง หน้าที่ ของ ฝ่ายค้าน ตามที่เขาถามอาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนเขาสมัยเป็นนักศึกษาเมื่อ 10 ปีมาแล้ว สรุปความเท่าที่ผมจำได้ว่า

            “ฝ่ายค้านมี หน้าที่ คัดค้านสิ่งที่รัฐบาลทำ ซึ่งตน เห็นว่าไม่ถูกต้อง ส่วนสิ่งที่เห็นว่าถูกต้องแล้วก็ไม่ต้องพูดสนับสนุน แต่ทำเฉย ๆ เสีย....”

            ตีความว่า ค้านทุกเรื่องที่รัฐบาลทำ แต่ตน (ฝ่ายค้าน) เห็นว่าผิดหรือไม่ถูกต้อง

            ข้อความที่ ส.ส. คนนี้กล่าวจะผิดหรือถูกอย่างไร ผมไม่ทราบ และไม่คิดจะถามนักวิชาการหรือผู้รู้ทางการเมืองเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ผมรู้สึกว่า มันขัดความรู้สึกของผมจริง ๆ ในฐานะคนรากหญ้าที่ไม่คิดอะไรให้ซับซ้อน

            เพราะผม รู้สึก ว่า ไม่ว่า ฝ่ายค้าน หรือ ฝ่ายรัฐบาล ต่างก็มีหน้าที่ทำงาน เพื่อประโยชน์ของประชาชน เหมือนกัน

            เป้าหมาย การทำงานของนักการเมืองคือ “ประโยชน์ของประชาชน” ไม่ใช่ประโยชน์เฉพาะ ตัวของนักการเมืองโดยตรง

            ดังนั้น “ประโยชน์ของประชาชน” จึงเป็นตัว กำกับ หรือเป็น กรอบ ที่นักการเมืองไม่ว่าฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐจะต้องถือปฏิบัติหรือยึดเป็นอุดมการณ์

            ถ้าการค้านมีความหมายดังที่ ส.ส. คนดังกล่าวพูด ก็นับว่าเป็นความ ใจแคบ อย่างยิ่งที่ไม่ต้องพูดสนับสนุน ถ้าฝ่ายรัฐบาลทำถูกต้องเพราะการพูด สนับสนุน มันมีความหมายอย่างยิ่งในการทำงานให้เป็นผลดียิ่งขึ้น มันเป็น กำลังใจ ของคนทำงานและอยากทำงานให้ดียิ่งขึ้น ส่วนฝ่ายที่กล่าวสนับสนุนก็เป็นการแสดงความใจกว้าง พลอยยินดีต่อฝ่ายที่ทำดี ซึ่งทางพระเรียกว่า “มุทิตา” นั่นเอง

            ผมเข้าใจว่า ฝ่ายค้านมีหน้าที่ คัดค้าน เมื่อฝ่ายรัฐบาลทำไม่ถูกต้อง (ตรงกับที่ ส.ส. คนนั้นพูด) แต่นั่น ยังไม่พอ จะต้องเสนอหรือแนะนำสิ่งที่ดีกว่า หรือวิธีการทำที่ดีกว่าการกระทำของฝ่ายรัฐบาล ซึ่ง ส.ส. คนนั้นไม่ได้พูดถึง อาจเป็นเพราะเกรงว่า ถ้าฝ่ายรัฐบาลทำตามข้อเสนอนั้นและประสบความสำเร็จ ฝ่ายรัฐบาลจะได้คะแนนนิยมจากประชาชน ส่วนตน (ฝ่ายค้าน) ไม่ได้อะไรเลย

            การคัดค้านโดยไม่มีข้อเสนอแนะนั้น ผมคิดว่า ไม่ใช่การคัดค้าน แต่เป็นการ โจมตี ต่างหาก เมื่อเป็นการ โจมตี ก็จะขยายการโจมตีนั้นให้กว้างขวางออกไปอีก กลายเป็นเรื่องการ กล่าวหา การ ทะเลาะวิวาทกัน ในที่สุดก็จะนำไปสู่การ แตกแยก กันอันไม่เป็นผลดีแก่ประชาชนเลย

            ซึ่งก็เป็นจริงดังที่ผมกล่าว คือ การอภิปรายของ ส.ส. คนนี้ก่อให้เกิดการประท้วง โต้เถียงกันและใช้อารมณ์ทั้งของฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล วุ่นวายกันทั้งสภาจนประธาน พักการประชุมและเลิกประชุมไปในที่สุด

            นี่เพราะความเข้าใจคำว่า “ฝ่ายค้าน” ตามที่อาจารย์สอนมาแบบใจแคบดังกล่าวแล้ว

            ถ้าฝ่ายค้านโดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ยังเข้าใจในหน้าที่ของฝ่ายค้านเช่นที่กล่าวนี้ ก็อย่าหวังว่าการเมืองไทยจะพัฒนาไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยแบบสร้างสรรค์เลย

            ใช่! ในอดีตเมื่อ 40-50 ปีมาแล้ว การค้านจะมุ่งไปที่การใช้ “โวหาร” หรือ วาทะดุเดือด เผ็ดมัน (พูดใส่อารมณ์) ใครพูด เก่ง พูด ดุเดือด ก็จะได้รับเสียงปรบมือจากผู้ฟัง (ประชาชน) และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.

            แต่ ณ พ.ศ. นี้ สังคมเปลี่ยนไปมากและรวดเร็ว จนคนหัวโบราณตามไม่ทัน ทุกอย่างย่อม ขึ้นอยู่กับ ความจริง เหตุผล และ ข้อมูล แม้พูดเรียบ ๆ แต่มีเหตุผล ให้คนมองเห็นได้ตามที่พูด ก็จะได้รับการยอมรับจากประชาชน

            การอภิปรายนโยบายรัฐบาลครั้งนี้ ตามที่ผมสอบถามคนทั่ว ๆ ไป (ไม่ใช่นักวิชาการ) เขาจะพูดคล้าย ๆ กันว่า น่ารำคาญ มีแต่โต้เถียง ทะเลาะกัน เป็นพฤติกรรมการเมืองน้ำเน่าแบบเดิม ๆ บางคนปิด ที.วี. เลย เพราะทนดูพฤติกรรมการเมืองเช่นนี้ไม่ได้ ซึ่งที่จริงมันก็ไม่ถึงขั้นเลวร้ายมากมายนัก เมื่อเทียบ ส.ส. ของบางประเทศที่โต้เถียงกันรุนแรงสุด ๆ ถึงขึ้น ชกต่อย ฟาดปากกันจนเลือดสาดก็มีให้เห็นเป็นข่าวอยู่บ่อย ๆ

            คิดได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจอะไร ส.ส. จะโต้เถียงหรือทะเลาะกันอย่างไร ประชาชนก็น่าจะทนดูได้ เพราะดู ละครทีวี (ละครน้ำเน่า) โต้เถียงกันมากกว่านี้ ผู้ชมยังทนได้

            แต่คิดอีกทีก็น่าเห็นใจประชาชน เพราะเขาคาดหวังนักการเมืองสูงเกินไป ในทุก ๆ ด้าน สมกับที่พูดว่าเป็นผู้ทรงเกียรติ ดังนั้น นักการเมืองเอง ควรสำรวจตนเองอย่างตรงไปตรงมาบ้าง และปรับปรุงส่วนที่ขัดหูขัดตาประชาชนให้ดียิ่งขึ้น สมกับที่ประชาชนยอมรับนับถือ

            ข้อสำคัญ คนรุ่นใหม่ที่เข้าไปสู่วงการเมืองจะถูกครอบงำโดยพฤติกรรมที่ไม่ดีของนักการเมือง กลายเป็นมรดกตกทอดกันชั่วลูกชั่วหลาน คนรุ่นใหม่จะถูกคนรุ่นเก่ากลืนไปโดยอัตโนมัติ อย่างนี้ประเทศชาติจะพัฒนาได้อย่างไรครับ!
http://redusala.blogspot.com

จบหรือยัง สองนคราประชาธิปไตย ?
โดย แคน คนรากหญ้า
           
            หนังสือที่ เด่น และ ดัง เล่มหนึ่งในเมืองไทยเมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว คือ หนังสือ “สองนคราประชาธิปไตย” ซึ่ง ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เขียนขึ้นจาก การศึกษาวิจัยพฤติกรรมการเมืองของคนไทย ข้อสรุป หัวใจสุดยอดสำคัญที่สุด ได้แก่ (ขอใช้ภาษาชาวบ้านธรรมดา ๆ สื่อความหมายว่า) “คนบ้านนอกตั้งรัฐบาล คนในเมืองล้มรัฐบาล”

            ถือว่าเป็นหนังสือที่เปิดเผยความจริงของการเมืองไทยอย่าง ถูกต้อง และ กินใจ ที่สุด เท่าที่นักวิชาการศึกษาวิจัยกันมา

            ถูกต้อง ตรงที่ตลอดระยะเวลาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยเลือกตั้ง ตัวแทน เข้าไปทำหน้าที่ทั้ง บริหาร และ นิติบัญญัติ (ส่วน ตุลาการ ไม่ได้เลือก) มีการล้ม รัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้งแทบจะทุกครั้ง โดยกลุ่มบุคคลในเมืองที่มีการศึกษาและพัฒนาแล้ว รัฐบาล เลือกโดย คนบ้านนอก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ที่เลือก ส.ส. (หรือตัวแทน) เป็น คนบ้านนอก

            กินใจ ในแง่ที่ว่า ชื่อหนังสือ “สองนคราประชาธิปไตย” นั้น ในทางภาษา ไพเราะ อย่างยิ่ง อ่านง่าย เข้าใจง่าย ดึงดูดใจให้อยากอ่าน

            ต้องชมเชยว่า ดร. อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้เข้าถึงจิตวิญญาณวิชาการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

            แต่มีข้อที่น่าสังเกตเกี่ยวกับ คำถาม หรือ ประเด็นปัญหา ที่มาพร้อมกับหนังสือนี้ และวิพากษ์วิจารณ์กันมาจนถึงทุกวันนี้ คือ :-

            1. ทำอย่างไรไม่ให้ คนชนบท (บ้านนอก) ตั้งรับบาล และ คนในเมือง คอยล้มรัฐบาล
            2. ทำอย่างไรที่จะทำให้คนในเมืองผู้มี คุณภาพ เป็นทั้ง ฐานนโยบายเสียง และสามารถลากพา ให้คนชนบทเลือกตั้ง โดย มี ฐานคิดเชิงนโยบาย เลือกด้วยอุดมการณ์
            มีผู้ให้ ข้อคิด และ ข้อเท็จจริง บ้างแล้ว ในบทความเรื่อง “เมื่อภาคประชาชนล่มสลาย” ซึ่ง ประภาส ปิ่นตบแต่ง เขียนลงใน เนชั่น สุดสัปดาห์ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1004 วันที่ 28 สิงหาคม 2554 หน้า 19
            ผมขอให้ความเห็นต่อ ประเด็นปัญหา 2 ข้อ ข้างต้น ดังนี้
            1. การจะไม่ให้ คนชนบท (บ้านนอก) ตั้งรัฐบาล แล้ว คนในเมือง ล้มรัฐบาลนั้น พิจารณาดู สาเหตุ ที่ล้มรัฐบาล ไม่ว่าโดย รัฐประหาร หรือ เดิน ขบวนไล่สาเหตุใหญ่ที่มักอ้าง คือ รัฐบาล ทุจริตคอร์รัปชั่น และจะ ล้มล้างสถาบันกษัตริย์ (หรือเพื่อความมั่นคงของชาติก็แล้วแต่จะใช้วาทกรรมให้สมเหตุผล)

                 -    เราอาจมองไปที่คนชนบทยังมีการศึกษาน้อย (พูดตรง ๆ คือ ยังโง่อยู่) จึงเลือก ตัวแทน (ส.ส.) เพราะถูกซื้อเสียง ดังนั้นจึงควรให้การศึกษาแก่คนชนบทมากยิ่งขึ้น และอย่างทั่วถึง แต่เรา ลืมมอง ไปว่า คนในเมืองขาดความอดทน มีใจเป็นอัตตาธิปไตย อยากให้อะไร ๆ เป็นไปตามที่ตนต้องการด้วย วิธีไหนก็ได้ที่จะให้บรรลุเป้าหมาย (เช่น รัฐประหาร หรือเดินขบวนขับไล่รัฐบาล แม้เกินขอบเขตของกฎหมาย)

            ดังนั้น ถ้าให้การศึกษาแก่ ชาวชนบท เพราะเหตุที่ว่าเขา ยังโง่ ก็ต้องให้การศึกษาแก่ คนในเมือง เพราะเหตุที่เขาขาดความอดทน เอาแต่ใจตน ไม่สนใจคนส่วนใหญ่

            ข้อเสนอ ที่น่าจะดีคือ ปล่อยให้กระบวนการประชาธิปไตยดำเนินไปตามทางของมัน โดยไม่มีการแทรกแซงแบบนอกระบบ ไม่ว่าโดย รัฐประหาร หรือเดินขบวนขับไล่แบบเกินขอบเขตของกฎหมาย เมื่อกระบวนการประชาธิปไตยดำเนินไปได้ในระยะยาว มันก็จะเจริญเติบโต เหมือนต้นไม้ มีกิ่งก้านสาขา แตกดอก ออกผล เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ ในที่สุดแม้ในระยะทางเดินจะมีมดแมลงกัดกินบ้าง (มีการซื้อเสียงบ้าง) มันก็เติบโตได้ ดีกว่าพอแมลงกัดใบนิดหน่อยก็ใช้มีดอีโต้ ฟันต้นไม้นั้นยับเยินฉิบหายหมด

            2. การคิดว่า คนในเมืองมี คุณภาพ [ซึงตีความว่า คนชนบท (บ้านนอก) ไม่มีคุณภาพ] นั้น ถูกต้องหรือไม่? เป็นการ ดูถูกกันเกินไปหรือไม่? เป็นการเข้าใจตนผิดของคนในเมืองหรือไม่? แน่ใจหรือที่ว่าคนในเมืองเลือกตั้งด้วยอุดมการณ์ ยึดนโยบายเป็นหลัก? แน่ใจหรือว่าคนชนบทซื้อได้ คนในเมืองซื้อไม่ได้ ลองพิจารณาดูตัวอย่างนี้ก็แล้วกัน
                 2.1   ในอดีตพรรคการเมืองหนึ่งหาเสียงในกรุงเทพฯ ว่าจะแจกที่ดิน สปก.4-01 (นโยบาย) ทั่วประเทศ คนกรุงเทพฯ บางคน (หลายคน) ไปซื้อที่ดินในต่างจังหวัด (ผมถามเขาว่า ทำไมซื้อ เขาตอบว่าถ้า พรรคฯ นี้ได้เป็นรัฐบาลจะแจก สปก.4-10).... นี่เป็นการซื้อเสียงหรือไม่?
                 2.2   พรรคการเมืองจัดงานระดมทุน (เช่นจัดโต๊ะจีน) มีคนรวยหรือบริษัทใหญ่ ๆ ให้เงินสนับสนุน....หรือบริษัทใหญ่ ๆ ที่หนุนพรรคการเมืองต่าง ๆ (ให้เงิน) ไม่ว่าพรรคการเมืองนั้นจะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่ นี่เป็นการซื้อเสียหรือไม่?
                   โดย รูปแบบ อาจจะไม่ใช่ ซื้อเสียง แต่โดย เนื้อหา ยังมีคนที่คิดว่าไม่ซื้ออยู่หรือ?
                 2.3   มีคน (นักการเมือง – หัวคะแนน) เอารถขนคนบ้านนอกไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส. เพราะหน่วยเลือกตั้งอยู่ห่างไกลบ้าน และเขาก็ไม่มีรถโดยสาร หรือมี รถ เอง แต่ไม่มีเงินซื้อน้ำมันรถ....จึงขึ้นรถที่เขามารับไปลงคะแนน นี่เป็นการซื้อเสียง ทุจริตอาจถึงยุบพรรค

            ในขณะที่หน่วยราชการ (ทหาร) ใช้รถราชการขนทหารไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ไม่มีใครเห็นว่าซื้อเสียงหรือทุจริต แต่กลับเห็นว่าดีเสียอีก เพราะพร้อมเพรียงกันดี ฯลฯ

            ปัจจุบัน ยังเชื่อกันอยู่หรือว่า คนในเมืองมีความรู้และฉลาดกว่าคนบ้านนอก ในเมื่อข้อมูลข่าวสารสามารถรับรู้ได้จากสื่อต่าง ๆ เกือบจะเท่ากันหมดไม่ว่าบ้านนอกหรือในเมือง และคนบ้านนอกเองก็ไปทำมาหากินในเมือง อย่างน้อยก็มีลูกหลานไปทำงานในเมืองและติดต่อสื่อสารกับครอบครัวที่อยู่บ้านนอกตลอดเวลา จึงรู้ความเป็นไปของบ้านเมือง

            พอ ๆ กัน ไม่ว่าคนบ้านนอกหรือคนในเมือง คนในเมืองต่างหากไม่มีความรู้สภาพจริงของสังคมเหมือนคนบ้านนอก เพราะน้อยนักที่คนในเมือง (เกิดและเติบโตในเมือง) จะสามารถไปใช้ชีวิตในบ้านนอกได้อย่างผสมกลมกลืนพอที่จะรู้ชีวิตสังคมของบ้านนอกว่าเป็นอย่างไร จึงเป็นไปได้มากที่คนในเมืองเมื่อเป็นผู้นำจะไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะไม่รู้ปัญหาที่แท้จริงของคนส่วนใหญ่ ซึ่งอยู่บ้านนอก

            ดังนั้น หมดเวลาแล้ว ที่คนในเมืองจะล้มรัฐบาลซึ่งตั้ง (เลือก) โดยคนบ้านนอก เพราะรัฐบาลนั้นเป็นรัฐบาลของคนส่วนใหญ่ที่เข้าใจปัญหาทั้งของคนบ้านนอกและคนในเมือง

            ถ้าคนในเมืองยังคิดเหมือนเดิม (ไม่เปลี่ยนแปลงความคิด) ไม่ยอมรับรัฐบาลที่คนบ้านนอกเลือกให้มาบริหารประเทศ และพยายามล้มรัฐบาลคนบ้านนอกนั้น คนบ้านนอกอาจทนไม่ได้ที่จะถูกกระทำเช่นที่เคยถูกทำมา (ถูกล้มรัฐบาล) เมื่อถึงตอนนั้นไม่มีหลักประกันได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะ คน (บ้านนอก) ไม่มีอะไรจะสูญเสียอยู่แล้ว พร้อมที่จะเสียสละได้ทุกอยางแม้กระทั่งชีวิต และข้อเท็จจริงก็เป็นเช่นนั้น ทหาร ตำรวจ ที่เสียชีวิตในสงครามก็ล้วนเป็นลูกหลานของคนบ้านนอก ชาวประมงที่โดยพายุถล่มตายในทะเลก็คนบ้านนอก กรรมกรก่อสร้างอาคารที่ถูกนั่งร้านพังทับตายก็คนบ้านนอก คนงานโรงงานทอผ้าที่ถูกไฟไหม้ตายก็คนบ้านนอก ฯลฯ

            นี่คือคนบ้านนอกไม่มีอะไรที่จะต้องสูญเสียอีกแล้ว ดังนั้นเมื่อเขาเลือกรัฐบาล ก็ไม่ควรที่ใครจะมาล้มล้างเอาง่าย ๆ เหมือนที่แล้ว ๆ มา

            รัฐบาลปัจจุบัน จะต้องแสดงศักยภาพออกมาให้เห็นเป็นประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะมีใคร/กลุ่มไหนพยายามจะล้มล้างก็ตาม ผลงานเพื่อประชาชนเท่านั้นจะเป็นเกราะป้องกันการถูกล้มล้างอย่างยุติธรรม ถ้าผลงานดี ประชาชนจะสนับสนุนโดยอัตโนมัติ รัฐบาลก็จะอยู่ได้จนครบเทอม จึงหมดเวลาที่คนในเมืองจะล้มรัฐบาลที่ตั้งโดยคนบ้านนอก

            คำว่า “สองนคราประชาธิปไตย” ก็จะเป็น “หนึ่งนคราประชาธิปไตย” ซึ่งหมายถึงประชาธิปไตย ที่แท้จริงและมั่นคงในระบบของมันเอง...../

http://redusala.blogspot.com

แก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง

โดย ผศ. เสถียร ชาวไทย
            เป็นที่แน่ชัดว่า จะมีการแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของรัฐบาลปัจจุบัน มีทั้ง ฝ่ายที่เห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย ถือเป็น เรื่องปกติ ไม่ว่าในสังคมภายใต้การปกครองระบอบใด

            การแก้รัฐธรรมนูญสำหรับประเทศไทย เรียกได้ว่า เป็น งานประจำ ก็น่าจะไม่ผิด เพราะแทบทุกรัฐบาลล้วนมีแรงผลักดันให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลชุดนี้ได้ประกาศเป็น นโยบาย ในการหาเสียงด้วยซ้ำไป

            รัฐธรรมนูญไทยจำนวน 18 ฉบับ ภายในระยะเวลา 70 กว่าปี ต้องถือว่า มาก และ เฟ้อ ที่สุดในโลก แสดงสถานภาพ ทางการเมืองและสังคมของไทยว่าเป็นอย่างไร มั่นคง หรือ ไม่มั่นคง ยึดหลักการ หรือ หลักกู/หลักกลุ่ม

            เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ประเทศไทย ล้ำหน้า ใครทั้งหมดในเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ
            จะแก้กี่ครั้งกี่หนก็ไม่น่ารังเกียจ ถ้าการแก้นั้นทำเพื่อ ประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ จริง ๆ แต่ถ้าทำเพียงเพื่อใช้เป็น เครื่องมือ ในการแย่งชิงผลประโยชน์กันของคนบางกลุ่มจำนวนน้อย รัฐธรรมนูญก็จะกลายเป็นเพียง ข้อความบนกระดาษ ที่จะฉีกทิ้งเมื่อไหร่ก็ได้ และมันไม่มีความ สำคัญอะไรในหัวใจประชาชน สมกับชื่อที่เรียกกันติดปากว่า กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ

            กฎหมายสูงสุด น่าจะมี ความมั่นคง น่าเคารพ น่าเกรงขาม... แต่เท่าที่ผ่านมา ลักษณะดังกล่าวไม่มีเลย เพราะเราเอาของสูงมาเล่นกัน (ขอใช้ภาษาหยาบ ๆ หน่อยว่า) เอามากระทืบกันอย่างป่นปี้ นักการเมือง (รวมทั้งผู้อยู่เบื้องหลัง) และ ชนชั้นปกครอง ต้องรับผิดชอบมากกว่าประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนที่สูญเสียชีวิตเพราะ ความขัดแย้ง ที่เกิดจากรัฐธรรมนูญ

            การแก้ฯ ครั้งนี้ก็เหมือนกัน มีการ ต่อต้าน การแก้ด้วยเหตุผล (ข้ออ้าง) มากมาย แต่ที่น่า  อดสูใจที่สุด คือ ต่อต้านเพราะ จะแก้เพื่อคนคนเดียว (อะไรทำนองนั้น) พูดให้ชัดคือจะแก้เพื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร

          ทำไม? คนคนนี้ (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) จึงมีความสำคัญเหลือเกิน ทั้ง ๆ ที่อีกไม่กี่สิบปี เขาก็จะลาโลกนี้ไปแล้ว (ประมาณว่าอายุ 100 ปีก็แล้วกัน)

            เรา (บางคน/บางกลุ่ม) จะ กลัว โกรธ เกลียด อะไรนักหนากับคนคนนี้ถึงกับ กันท่า แทบทุก ๆ เรื่อง ในขณะที่ เขา (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) บินไปได้แทบทุกประเทศ

            ยิ่ง กลัว โกรธ เกลียด ก็ยิ่งทำให้เขา เด่น ดัง ยิ่งขึ้น ซึ่งสะท้อนว่า สาเหตุที่ กลัว โกรธ เกลียด นั้น มันไม่สมเหตุสมผล มี อคติ ตรงกับที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ประกาศมาตลอดว่าเขาถูก กลั่นแกลง ถูกกระทำ อย่างไม่ยุติธรรม และทำให้ทั้งโลกเชื่อว่าเป็นจริง

            ที่พูดเช่นนี้ ไม่มีเจตนาจะเข้าใครออกใคร แต่ต้องการชี้ว่า มันน่าเบื่อหน่ายกับการกระทำ   เดิม ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก เหมือน แผ่นเสียงตกร่อง โลกเขาไปไกลถึงไหนเราก็ยังวนเวียนอยู่กับเรื่องคนคนเดียว

            จะแก้รัฐธรรมนูญก็แก้ไปเลยตามกระบวนการ จะ เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย ก็แสดงเหตุผลกันเป็นกิจจะลักษณะ ตาม ระบบ และ กระบวนการ เหตุผลจะ แพ้หรือ ชนะ ก็ต้องยุติตามที่ตกลงกันตามกติกา แล้วถือปฏิบัติตามนั้น

            มองธรรมดา ๆ ไม่เห็นเป็นเรื่องที่ ยาก และ ซับซ้อน อะไร มันจะยากก็เพราะ การไม่เปิดใจกว้าง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ตามยุคสมัย ภายใต้ การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยที่ยึดหลัก ผลประโยชน์ของประชาชน โดยประชาชน และ เพื่อประชาชน  

            ถ้าการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ ยังยุติความ ขัดแย้ง ต่าง ๆ ไม่ได้ ยังยอมรับกติกากันไม่ได้ ยังเล่นกันนอกบท นอกกติกา (เช่น ฉีกรัฐธรรมนูญ – รัฐประหาร) คงเหลืออยู่หนทางเดียวในการแก้ปัญหา คือ สงครามกลางเมือง ให้ตายไปข้างอย่างหลาย ๆ ประเทศ (แม้ใกล้บ้านเรา) ผ่านมาแล้ว ฆ่ากันมาแล้ว จน ตาย และ/หรือไปหาสิ่งที่ดีกว่า

            เชื่อว่า ไม่มีใครต้องการเช่นนั้น แต่ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ก็ตาม ถ้า ความคิด และ การ กระทำ ยังเป็นแบบเดิม ๆ จมปลักอยู่แต่กับผลประโยชน์ของ บางคน บางกลุ่ม จำนวนน้อย โดยไม่ใส่ใจในผลประโยชน์ของ ประชาชนส่วนใหญ่ อย่างแท้จริง สิ่งที่ใคร ๆ ไม่ต้องการก็เกิดขึ้นได้ในประเทศนี้

            แก้ก็แก้เถอะครับ รัฐธรรมนูญ ให้เป็นการแก้เพื่อ สิ่งที่ดีกว่า มั่นคงกว่า ประชาชนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์มากกว่า แม้หลาย ๆ คน โดยเฉพาะคนที่ มีโอกาสดีกว่าในสังคม จะ สูญเสียหรือลด โอกาส และ ผลประโยชน์ของตนลงบ้าง ก็ต้องยอม เพราะนั่นคือทางรอดของ สังคม และ ปัจเจกบุคคล รวมทั้งเหล่าท่านทั้งหลายที่มี โอกาสดีกว่า ในสังคม.//
“ผศ. เสถียร ชาวไทย..จ..พะเยา”

http://redusala.blogspot.com

ตำแหน่งทางการเมือง vs พิษวาทกรรมล้มเจ้าฯ
โดย เพ็ญ พรหมแดง
            การที่แกนนำคนเสื้อแดงบางคนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเช่นเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีเลขานุการรัฐมนตรีเป็นต้นแล้วได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากบางคนบางฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยว่าไม่เหมาะสมโดยอ้างว่ายังต้องคดีต่างๆเช่นคดีล้มเจ้าหรือคดีผู้ก่อการร้ายเป็นต้น

            การไม่เห็นด้วยนี้ถ้าเพียงพูดกันทั่วไปพอหอมปากหอมคอตามสภากาแฟหรือที่ใดๆก็ตามก็ไม่น่าจะผิดปกติอะไรแต่นี่พูดกันในการประชุมสภาผู้แทนฯโดยนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามกันและถ่ายทอดโทรทัศน์ให้ประชาชนได้ดู

            มันก็เหมือนเชียร์มวยหรือเชียร์ฟุตบอลนั่นแหละค่ะฝ่ายใครฝ่ายมัน คนฝ่ายไหนก็ถือหางคนฝ่ายนั้น

            ใช่! นั่นเกมกีฬาแต่การเมืองไม่น่าจะเหมือนเกมกีฬาถ้าจะเหมือนก็น่าจะเหมือนตรงที่ถ้าแพ้ก็ยอมรับถ้าชนะก็ยอมรับ (แต่ไม่หยามฝ่ายแพ้) อย่างที่เรียกกันว่าใจนักกีฬา

            แต่สมัยนี้อาจไม่เป็นเช่นนั้นนะเพราะในเกมกีฬาก็มีการพนันขันต่อเล่นเอาเงินกันมันเป็นเรื่องอบายมุขหรือปากเหวแห่งความเสื่อม

            เกมการเมืองถ้าเป็นเช่นเกมกีฬาเช่นนั้นมันจะเสียเสียหายหนักเข้าไปอีกเพราะเล่นอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนโดยนักการเมืองที่กินเงินเดือนมหาศาลจากเงินภาษีของประชาชน

            การจะตั้งใครให้ดำรงตำแหน่งอะไรในประเทศนี้หรือประเทศไหนคงหนีไม่พ้น 2 ระบบคือระบบอุปถัมภ์กับระบบคุณธรรม

            แต่ละระบบย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย (จุดแข็งและจุดอ่อน) เพราะมนุษย์ปุถุชนเป็นพวกกิเลสหนา


ที่รักโกรธหลงและกลัวอยู่ในกมลสันดาน

        ถ้าการใช้ 2 ระบบนี้แต่พอดี (ไม่ว่าใช้ระบบเดียวหรือ 2 ระบบ) ก็ย่อมเป็นผลดีแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจความลงตัวของฝ่ายต่างๆถ้าไม่พอใจไม่ลงตัวก็จะก่อเรื่องเป็นเรื่องใหญ่โตบานปลายไปไม่มีสิ้นสุดไม่ต้องทำการทำงานกันจากการได้ตำแหน่งนั้นๆและส่งผลกระทบต่อสังคมโดยภาพรวมแน่นอนประเทศชาติประชาชนเดือดร้อนวุ่นวายไม่มีจบ

            กรณีที่กำลังพูดถึงนี้เพียงเห็นส.ส. ในสภาฯโต้เถียงทะเลาะกันด้วยเรื่องเดิมๆเช่นคดีล้มเจ้าคดีก่อการร้ายฯลฯซึ่งคาราคาซังกันมาไม่มีทางลงเอยอย่างยุติธรรมและสันติอย่างคดีทั่วไปเพราะมันเป็นคดีการเมือง 

            คำว่าการเมืองมีนัยยะว่าไม่จริง (เช่นป่วยการเมืองแสดงว่าไม่ป่วยจริง) จริงไม่จริงก็เห็นกันทั้งบ้านทั้งเมืองและทั้งโลกแล้วว่าไม่ว่าคดีก่อการร้ายยึดสนานบินหรือทำเนียบรัฐบาลหรือเผาบ้านผาเมืองเผารถเมล์ฯลฯจิปาถะยุติกันได้เสียเมื่อไหร่ทั้งๆที่ถ้าเป็นคดีธรรมดาสามารถหาหลักฐานมาจัดการได้ไม่ยาก

            การเอาเรื่องคดีการเมืองมาเป็นเครื่องมือวิพากษ์วิจารณ์การแต่งตั้งให้ใครดำรงตำแหน่งอะไรนั้นมันเป็นเรื่องขี้แพ้ชวนตีหรือเป็นการหาเรื่องมากกว่าไม่ว่าฝ่ายไหนจะยกขึ้นมากล่าวเพราะแต่ละฝ่ายก็มีเหตุผล (ข้ออ้าง) ที่จะยกขึ้นมาอ้างได้ทั้งสิ้น

            ถ้าการเมืองไทยยังเป็นอยู่อย่างนี้แสดงว่าเราไม่ยอมรับบทเรียนในอดีตความเจ็บปวดการตายของประชาชนเพราะเรื่องการเมืองไม่มีผลทำให้นักการเมืองได้คิดที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความเจ็บปวดเหล่านั้นเกิดขึ้นอีกมันกลายเป็นการต่อสู้ทางการเมืองที่โหดเหมือนหมามันดุกัดกันให้ตายไปข้างก็จะเข้าภาษิตจีนที่ว่าไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา” 
         วาทกรรมแง่ลบว่าล้มเจ้า” ล้มสถาบันหรือก่อการร้ายน่าจะเลิกพูดกันได้แล้วถ้ามีจริงก็ลากคอมาดำเนินคดีโดยศาลสถิตย์ยุติธรรมที่เป็นกลางจริงๆเถอะค่ะ...//

http://redusala.blogspot.com