วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554


มาร์คบอกสื่อเทศจะกลับมาเป็นนายกฯอีก
http://www.internetfreedom.us/thread-18185-post-187749.html#pid187749


[Image: 0102300x248.jpg]




คมชัดลึก :"อภิสิทธิ์" ร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ตอบคำถาม"จะกลับมายืนตรงนี้อีกครั้งในปีหน้า"


เมื่อเวลา 19.35 น. วันที่ 21 มี.ค. ที่โรงเรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

ร่วม งานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) โดยได้กล่าวปาฐกถาถึงนโยบายของรัฐบาล อาทิ นโนบายทางด้านการศึกษาที่สนับสนุนการเรียนฟรี การเปิดโอกาสที่จะฝึกอาชีพสำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายของประชาชน การลดเงินกู้นอกระบบ การสร้างความมั่นคงในด้านต่างๆ

ทั้งนี้ยังได้กล่าวถึงการเลือกตั้ง โดยระบุว่าการเลือกตั้งครั้ง หน้าประชาชนจะได้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคที่ทำประโยชน์ให้กับประชาชน มีแนวทางที่จะให้ประเทศเดินหน้า หรือจะเลือกพรรคการเมืองที่ยังวังวนของความขัดแย้ง


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ ปาฐกถาจบได้เปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวซัก - ถาม

โดยประเด็นที่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศสนใจ ส่วนใหญ่เป็นประเด็นเรื่องการเลือกตั้ง การแก้กฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรค ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ เป็นต้น ทั้งนี้นายกรัฐมนตรียังได้หยอกล้อระหว่างตอบคำถามด้วยว่าจะกลับมายืนตรงนี้อีกครั้งใ​นปีหน้า


*********************************

กลับมาแน่แต่เป็นนายกสมาคมทอร์คโชว์55555ๆ
ขอโทษเถอะท่านนายก ผมว่าพอได้แล้ว ไม่มีอะไรดีขึ้นเลยในช่วงนี้ ของแพง การค้าฝืดเคือง
การท่องเที่ยวไม่เคยมีใครดูแล ท่านทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันบ้าง นอกจากพูดดีอย่างเดียว
เป็นนายกฯแต่ทำงานเหมือนเสมียน ถรุย!คนไร้ศีลธรรม คนไม่มีคุณธรรม
ไม่มีสามัญสำนึก นาย๊กเถื่อน ไสหัวไปจากการเมืองไทยเถอะ ถ้าไม่เล่น
การเมืองแล้ว มีปํญญาทำมาหาแดรกกกก อะไรหราคะร๊าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ภูมิใจไทย ถกใหญ่พรรค สั่งทุบหม้อข้าว

http://www.internetfreedom.us/thread-18147-post-187730.html#pid187730

[Image: 01300x225.jpg]


ลั่น พร้อมเลือกตั้งแล้ว

ผู้ สื่อข่าวรายงานจาก ที่ทำการพรรคภูมิใจไทย ถนนพหลโยธินว่า นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมใหญ่สามัญประจำปีพรรคภูมิใจไทยว่า ที่ประชุมมีการพูดคุยเรื่องการยุบสภา โดยหัวหน้าพรรคได้สั่งกำชับให้สมาชิกเตรียมความพร้อม ซึ่งมีการพูดปลุกใจให้สมาชิก โดยให้ทุบหม้อข้าวทิ้ง เตรียมพร้อมเลือกตั้ง หากกลับมามือเปล่าก็จะไม่มีข้าวกิน

ทั้งนี้ยืนยัน พรรคมีความพร้อมในการเลือกตั้ง แต่เห็นว่าจะต้องมีการแก้กฏหมายลูก ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.ให้แล้วเสร็จก่อน เพราะหากไม่มีกฏหมายดังกล่าวมารองรับ ก็อาจจะทำให้ กกต.ไม่มั่นใจว่าจะมีการฟ้องร้องตามมาภายหลังหรือไม่

ส่วน การก่อตั้งพรรคประชาสันติขึ้นมาใหม่นั้น พรรคภูมิใจไทยและพรรคประชาสันติ ก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่จะถูกเชื่อมโยงกันได้ โดยเฉพาะการวิพากย์วิจารย์ในเรื่องสูตรต่าง ๆ หลังการเลือกตั้ง ซึ่งทั้งหมดต้องรอความชัดเจนหลังการเลือกตั้งอีกครั้ง เพราะการเมืองต้องมีการพูดคุยและเจรจากัน อีกทั้งเวลานี้พรรคภูมิใจไทยและพรรคชาติไทยพัฒนา ก็มีความร่วมมือด้านการทำงานกันเป็นอย่างดี

อย่าง ไรก็ตาม กระแสข่าวการปฏิวัตินั้น ส่วนตัวเชื่อว่าจะไม่มีแน่นอน เพราะผู้บัญชาการเหล่าทัพ เคยได้ออกมายืนยันแล้วว่าไม่มี อีกทั้งการปฏิวัตินั้นก็ไม่ได้เป็นผลดีต่อประเทศชาติด้วย

********

ฌาปนกิจ เทอดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์


" แค่..ไม้ขีดก้านเดียว "
http://www.internetfreedom.us/thread-18187-post-187715.html#pid187715


[Image: 1300854295_0.84925000.jpg]

วันที่ 2 เมษายน เวลา09.00 น.
พบกัน วัดพลับพลาชัย

เอาศพ "เทิดศักดิ์" ออกจากโรงเย็นเพื่อใส่โรงแดง

วันที่ 2 เมษายน แห่ศพไปจุดเสียชีวิต(สี่แยกคอกวัว)
เพื่อทำพิธีเซ่นไหว้วิญญาณ เสร็จแล้วแห่ศพไป
ถ.สุขุมวิท (ซอย31 บ้านนายมาร์ค)
แล้วจะเคลื่อนไปตั้งบำเพ็ญกุศล(สวดพระอภิธรรม) 1 คืนที่วัดสีกัน ดอนเมือง

(มีเวทีปราศรัย16.00น.เป็นต้นไป) เผาวันที่ 3 เมษายน 54 15.00 น. ฅนเสื้อแดงร่วมเป็นเจ้าภาพ ดังนั้นช่วยกันใส่เสื้อแดงไปโดยพร้อมเพียงกัน

เทอดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ อายุ 29 ปี ถูกยิงที่หัวใจ
เชิญ ฅนเสื้อแดงทุกๆท่านร่วมเป็นเจ้าภาพวีระชนในครั้งนี้ด้วยครับ


[Image: 1300854296_0.50560600.bmp]

หรือคนเสื้อแดงจะเป็นได้เพียง "หญ้าแพรก" 
รอวันจะแหลกลาญ..
http://www.internetfreedom.us/thread-18232-post-187713.html#pid187713


เมื่อถึงคราที่ช้างสารต้องชนกัน ฤ จะเป็นหญ้าแพรกที่แหลกลาญ
Tuesday, 13 October 2009 14:05 | Author: ม้าน้ำ |


จากคำกล่าวของ เหมา เจ๋อ ตง ที่ว่าด้วยสงครามยึดเยื้อ “สงครามคือความต่อเนื่องของการเมือง”
นั่นก็คือ การใช้กุศโลบายตามวิถีทางการเมืองในการขจัดอุปสรรคทางการเมืองในชั้นแรก
เป็นการดำเนินการที่ใช้ระยะเวลายึดเยื้อยาวนาน ด้วยวิธีการที่หลากหลายและรอบด้าน
เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าประสงค์ทางการเมืองและเมื่ออุปสรรคถูกขจัดให้หมดสิ้นไป หรือบรรลุผลตามที่ต้องการแล้ว ก็เป็นอันยุติ
ซึ่งการใช้แนวทางในด้านการเมืองนั้น เป็นวิธีการเพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรง หรือการเผชิญหน้ากันด้วยกองกำลังและอาวุธ
แต่เมื่อได้ใช้กุศโลบายหรือวิถีทางการเมืองอย่างถึงที่สุดแล้วยังไม่สามารถขจัดอุปสร​รคหรือไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่ต้องการได้
สงครามจะกลับกลายมาเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะใช้เป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่จะใช้ในกา​รดำเนินการเพื่อใช้ขจัดอุปสรรค
และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองตามที่ตนต้องการต่อไป

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า "การเมืองคือสงครามที่ไม่มีการหลั่งเลือด แต่สงครามนั้นเป็นการเมืองที่จะต้องหลั่งเลือด" ตามคำกล่าวของ เหมา เจ๋อ ตง
ดังที่ได้เคยกล่าวเอาไว้แล้วนั่นเอง

ด้วยเหตุที่ว่ามี “สัญญาณ” หรือ “นัย” บ่งชี้บางอย่างบางประการเกิดขึ้นกับ “ตำแหน่ง” หรือ “จุด” ที่ทรงอำนาจและอุดมไปด้วยผลประโยชน์รอบด้าน
ซึ่งมีผู้หมายปองหลายคน การที่ผู้หมายปองเหล่านั้นจะให้ได้มาซึ่งตำแหน่งหรือจุดที่ตนต้องการได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการขจัดอุปสรรคหรือปัญหา
ซึ่งก็คือ “คู่แข่ง” เพื่อให้ขึ้นไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือตำแหน่งที่ตนหมายปอง และถ้าไม่มีฝ่ายใดยอมหลีกทางให้
ย่อมจะต้องมีการกดดันกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา รวมถึงการแสดงแสนยานุภาพบั่นทอน
เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้เป็นที่ประจักษ์และเกิดความกริ่งเกรงจนยอมสยบและหลีกทางให้
และอาจมีการเข้าร่วมเป็นฐานอำนาจให้กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่ยอมรับสมประโยชน์เข้าด้วยก​ัน
ทำให้ผู้หมายปองลดลง คู่แข่งขันที่แท้จริงจะค่อย ๆ ปรากฏชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ
และเมื่อดำเนินการกดดันด้วยวิธีการปกตินั้นไร้ผล กลายเป็นสถานการณ์ที่ตั้งยันกันอยู่
ซึ่งในสถานการณ์แบบนี้ ถ้ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพลี่ยงพล้ำแม้แต่นิดเดียว ก็อาจทำให้เกิดการพลิกผันมีผลไปถึงการแพ้ชนะขึ้นได้
แต่ถ้าผลแพ้ชนะไม่เกิดให้ห้วงเวลาตั้งยันกันนี้สถานการณ์ย่อมนำพาไปสู่การใช้กำลังพล​และอาวุธที่ต่างฝ่ายต่างมีอยู่ในมือ
เข้าทำการโรมรันกันเพื่อช่วงชิงเอาชัยอันเป็นสถานการณ์ที่เรียกกันว่า “สงคราม” ในท้ายที่สุด
ซึ่งการเปิดสงครามเข้าใส่กันนั้น ต่างฝ่ายต่างก็ต้องประเมินกำลังกันแล้ว และคิดว่าฝ่ายตนได้เปรียบเหนือกว่า
จึงจะนำกำลังเข้าทำการห้ำหั่นกันดังนั้น ระยะเวลาและความสูญเสีย จึงขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละฝ่ายเป็นสำคัญ

และเมื่อจะเปิดสงครามกันนั้นตำราพิชัยสงครามของซุนวู ได้กล่าวเอาไว้ว่า
“อันการสงครามนั้นเป็นเรื่องสำคัญของประเทศชาติ เป็นแหล่งแห่งความเป็นความตาย
เป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่หรือดับสูญ จักไม่พินิจพิเคราะห์มิได้” นี่ย่อมแสดงให้เห็นแล้วว่า
เมื่อเกิดการปะทะห้ำหั่นกันแล้ว ย่อมจะมีฝ่ายหนึ่งที่พ่ายแพ้ย่อยยับไปพร้อมกับการดับสูญ
และฝ่ายที่เหนือกว่าดำรงอยู่บนชัยชนะ(ภายใต้ซากปรักหักพัง)

ดังนั้น สถานการณ์ภายในประเทศ ณ ปัจจุบันนี้นั้น อยู่ในขั้นไหน ขึ้นอยู่กับข้อมูลและการวิเคราะห์ การประเมินและติดตามเหตุการณ์ของแต่ละบุคคล
แต่สำหรับ ม้าน้ำ แล้วนั้น เมื่อมองดูแล้วเห็นว่า น่าจะเหลืออยู่เพียง “สองฝ่าย”(แต่ละฝ่ายมีแนวทางแยกย่อย) ที่กำลังเร่งเร้ากันอยู่
หนึ่งนั้นคือฝ่ายที่ชอบธรรมตามข้อกำหนด ส่วนอีกหนึ่งนั้นคือฝ่ายที่ต้องการรักษาสถานะเดิม
และทั้งคู่จะกลายมาเป็น“คู่ชิงชัย”กันในท้ายที่สุด

อำนาจ ผลประโยชน์ ความมัวเมา ความลุ่มหลง ไม่เคยเข้าใครออกใคร

แล้ว “คุณ” ล่ะ!!! จะเลือกหรือไม่เลือก “ข้าง” หรือจะยืนอยู่ ณ จุดใด “ภายใต้หรือเหนือ” ความขัดแย้งนี้

จงใช้สติและปัญญาที่ตั้งอยู่บนสามัญสำนึกในหนทางที่คุณเฝ้าใฝ่ฝันหาให้จงหนัก ว่าภายใต้สถานการณ์เหล่านี้นั้น

มีขั้นตอนใดบ้างที่ยังประโยชน์ต่อระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงบ้าง

อย่าเป็นได้เพียงหญ้าแพรกในทุ่งยุทธหัตถี ที่รอวันจะแหลกราญ


ความเป็นมาของคำว่า “นาถ” ใน “พระบรมราชินีนาถ”


ความเป็นมาของคำว่า “นาถ” ใน “พระบรมราชินีนาถ”(*)

http://somsakwork.blogspot.com/2006/09/blog-post_5358.html

เราทุกคนได้เรียนรู้หรือถูกบอกเล่าสั่งสอนตั้งแต่เด็กๆว่า การที่พระราชินีทรงมีพระอภิไธยว่า “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” คือมีคำว่า “นาถ” ต่อท้าย (แปลว่าที่พึ่ง ผู้เป็นที่พึ่งพิง) ก็เพราะทรงเคยเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ใครที่รู้ประวัติศาสตร์หรือสนใจเรื่องประเภทนี้มากหน่อยก็อาจจะรู้เพิ่มเติมว่า ช่วงที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คือช่วงที่ในหลวงทรงผนวชในปี ๒๔๙๙ เมื่อเร็วๆนี้ ผมได้อ่านพบเอกสารจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งคิดว่าน่าสนใจพอจะเล่าสู่กันฟัง

เรื่องนี้ต้องเริ่มต้นจากการที่ในหลวงทรงแสดงพระราชประสงค์จะทรงผนวช (ซึ่งทำให้ต้องมีการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ทรงแจ้งพระราชประสงค์ดังกล่าวแก่จอมพล ป พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ในระหว่างที่จอมพลเข้าเฝ้าเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๔๙๙ ซึ่งบังเอิญเป็นวันที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี อันที่จริง ด้วยเหตุผลบางอย่าง จอมพลไปเข้าเฝ้ากลางการประชุม ครม.แล้วจึงกลับมาประชุมต่อ (ไม่ทราบว่าเพราะถูกเรียกกระทันหัน?) ตามบันทึกการประชุมของวันนั้น ดังนี้
วันนี้ (๑๒ ก.ย. ๙๙) มีการประชุมคณะรัฐมนตรีตามปกติ ณ ทำเนียบรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เริ่มประชุมเวลา ๙.๕๐ น.
อนึ่ง เมื่อเวลา ๑๐.๕๐ น. ท่านนายกรัฐมนตรีได้ไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โดยมอบให้จอมพล ผิน ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เป็นประธานแทน ครั้นถึงเวลา ๑๒.๔๐ น.ท่านนายกรัฐมนตรีได้กลับจากการไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทมาเป็นประธาน ในการประชุมต่อไป
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเรื่องดั่งต่อไปนี้ จนถึงเวลา ๑๓.๕๐ น. จึงเลิกการประชุม.
………
๓๕. เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา

(นายกรัฐมนตรีเสนอว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสร์พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แจ้งแก่คณะรัฐมนตรีว่า ในราวเดือนตุลาคมปีนี้ มีพระราชประสงค์จะทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาตามราชประเพณี และมีพระราชประสงค์จะทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ทรงผนวช และโดยที่ขณะนี้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ได้ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีอยู่แล้ว จึงเป็นผู้ที่เหมาะสมที่จะทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยประการทั้งปวง กับโปรดเกล้าฯมอบให้รัฐบาลจัดพระราชพิธีถวายด้วย
คณะรัฐมนตรีได้รับทราบเกล้าฯ ด้วยความชื่นชมที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยมอบหมายให้คณะรัฐมนตรีสนองราชภารกิจถวายในครั้งนี้)

มติ – เห็นชอบด้วยในการที่จะแต่งตั้งให้ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประธานองคมนตรี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ทรงผนวชคราวนี้ โดยขอรับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

ส่วนการพระราชพิธีทรงผนวชนั้น มอบให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าของเรื่อง ด้วยความร่วมมือจากสำนักพระราชวัง แต่งตั้งคณะกรรมการวางโครงการและจัดงานต่อไป ทั้งนี้ ถวายให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงเป็นประธาน.(๑)
วันต่อมา จอมพล ป. ก็มีหนังสือถืงสภาผู้แทนราษฎรขอให้อนุมัติการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งต้องนับว่าเป็นการดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพราะในหลวงยังไม่ทรงกำหนดวันผนวช
ที่พิเศษ ๑/๒๔๙๙
สภาผู้แทนราษฎร
๑๓ กันยายน ๒๔๙๙
เรื่อง ญัตติขอให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
กราบเรียน ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชกระแสมายังรัฐบาลว่า มีพระราชประสงค์จะทรงผนวช ในเดือนตุลาคม ศกนี้ และจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามความในมาตรา ๑๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ฉะนั้น จึงเสนอมาเพื่อสภาผู้แทนราษฎร จะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญต่อไป และขอให้พิจารณาเป็นการลับ
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(ป. พิบูลสงคราม)
นายกรัฐมนตรี(๒)
ในแฟ้มเอกสารที่ผมอ่านพบจดหมายฉบับนี้ มีร่างจดหมายที่ไม่ใช้อีก ๒ ร่าง และมีบันทึกของกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีลงวันที่ ๑๒ กันยายน (วันเดียวกับที่ครม.ได้รับทราบพระราชประสงค์) ระบุว่าได้ร่างจดหมายเสร็จแล้ว ร่าง ๒ ฉบับที่ไม่ใช้ มีข้อความไม่ต่างจากจดหมายที่ใช้จริงข้างต้นนัก ยกเว้นแต่มีคำอธิบายขยายความประเภท “โปรดเกล้าฯว่า มีพระราชศรัทธาที่จะทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนาตามราชประเพณี” และไม่มีการขอให้สภาประชุมพิจารณาแต่งตั้งผู้สำเร็จเป็นการลับเหมือนในจดหมายจริง

ปรากฏว่า สภาซึ่งประชุมในวันที่ ๑๓ กันยายนนั้นเอง ได้ผ่านมติเห็นชอบเรื่องตั้งกรมหมื่นพิทยลาภเป็นผู้สำเร็จราชการโดยไม่มีการอภิปราย(๓) วันต่อมา จอมพลจึงมีจดหมายกราบบังคมทูล ดังนี้
ที่ ร.ล. ๔๐๓๕/๒๔๙๙
สำนักคณะรัฐมนตรี
๑๔ กันยายน ๒๔๙๙
เรื่อง จะทรงผนวช และแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

ตามที่พระราชทานพระราชกระแสแก่ข้าพระพุทธเจ้า เรื่องจะทรงผนวชนั้น

ข้าพระพุทธเจ้าได้เชิญพระราชกระแสแจ้งแก่คณะรัฐมนตรีแล้ว คณะรัฐมนตรีมีความชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง ในการที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงผนวช และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย มอบหมายพระราชภาระกิจอันสำคัญยิ่งในครั้งนี้ และจะได้สนองพระราชประสงค์ทุกประการ

สำหรับเรื่องการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้เชิญพระราชกระแสไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร เสนอสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์แล้ว

ส่วนการจัดพระราชพิธีที่จะทรงผนวชนั้น คณะรัฐมนตรีได้ลงมติมอบให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าของเรื่องร่วมกับสำนักพระราชวัง จัดตั้งคณะกรรมการขึ้น พิจารณาวางโครงการและจัดงาน โดยเชิญ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรทรงเป็นประธาน

ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลพระกรุณา มาเพื่อทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท

การจะควรประการใด สุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(ป. พิบูลสงคราม)
นายกรัฐมนตรี
มีหลักฐาน (ดูพระราชหัตถเลขาที่อ้างข้างล่าง) ว่า จอมพล ป.ได้เข้าเฝ้าเพื่อปรึกษาหารือเรื่องจะทรงผนวช-ตั้งผู้สำเร็จราชการในวันเดียวกับที่มีจดหมายกราบบังคมทูลนี้ด้วย (๑๔ กันยายน) แต่ดูเหมือนไม่ได้ทรงมีพระราชประสงค์เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ (วันผนวช, ผู้จะทรงตั้งเป็นผู้สำเร็จ) แต่ ๓ วันต่อมา คือในวันที่ ๑๗ กันยายน จอมพล ป.ได้เข้าเฝ้าอีก (ไประหว่างการประชุมครม.) ครั้งนี้ ทรงกำหนดเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ ดังปรากฏในบันทึกการประชุม ครม.วันนั้น ดังนี้
วันนี้ (๑๗ กันยายน ๒๔๙๙) มีการประชุมคณะรัฐมนตรีตามปกติ ณ ทำเนียบรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เริ่มประชุมเวลา ๑๐.๓๐ น.

อนึ่ง เมื่อเวลา ๑๐.๕๕ น. ท่านนายกรัฐมนตรีได้ไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โดยมอบให้ จอมพล ผิน ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เป็นประธานแทน ครั้นถึงเวลา ๑๑.๓๕ น. ท่านนายกรัฐมนตรีได้กลับจากการไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท มาเป็นประธานในการประชุมต่อไป

คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเรื่องดั่งต่อไปนี้ จนถึงเวลา ๑๓.๔๐ น. จึงเลิกการประชุม

.........

๑๗. เรื่อง ๑) การทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ท่านนายกรัฐมนตรีเสนอว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชกระแสว่า

๑. ได้กำหนดจะทรงผนวชในวันที่ ๒๒ ตุลาคม และทรงลาผนวชในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ศกนี้ ส่วนพิธีฤกษ์มิได้ทรงกำหนดไว้ เพราะทรงพระราชดำริว่า เป็นการทรงพระราชกุศล

๒. ตามที่สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบในการที่จะแต่งตั้งพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ทรงผนวชนั้น ทรงขอบใจ แต่เมื่อได้ทรงพระราชดำริอีกครั้งหนึ่ง เห็นว่า โดยมีแบบอย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งสมเด็จพระอรรคมเหสีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสต่างประเทศ และโดยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีก็ทรงมีพระชนมายุอันสมควรและทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาสภากาชาดไทย ซึ่งแสดงถึงพระปรีชาสามารถในอันที่จะรับพระราชภารกิจในคราวนี้ได้ จึงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามความในมาตรา ๑๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

๓. ทรงพระราชดำริว่า ในการทรงผนวชนั้น มีพระราชประสงค์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลโดยเคร่งครัด จึงจะไม่ทรงออกรับบิณฑบาตร เพราะประชาชนมีจำนวนมากจะทรงโปรดได้ไม่ทั่วถึงกัน)

มติ – รับทราบเกล้าฯ และเห็นชอบด้วยในการที่จะแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยขอรับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

๒) ตั้งคณะกรรมการเตรียมงานในการทรงผนวช ....... (๔)
ผมพบหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่า ในการเข้าเฝ้าวันที่ ๑๗ ซึ่งทรงแจ้งให้จอมพล ป.ทราบถึงการเปลี่ยนพระทัยเรื่องผู้สำเร็จราชการ จากกรมหมื่นพิทยลาภเป็นสมเด็จพระราชินีนั้น นอกจากได้ทรงมีพระราชดำรัสถึง “แบบอย่าง” การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงตั้งพระราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการแล้ว ยังได้ทรงรับสั่งถึงการที่พระราชืนีซึ่งได้รับการแต่งตั้งครั้งนั้น ได้รับการเฉลิมพระนามเพิ่มคำว่า “นาถ” ด้วย หลักฐานดังกล่าวคือ ในวันเดียวกันนั้นเอง โดยคำสั่งของจอมพล ป. เลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหารได้สอบถามไปยังกองประกาศิตในเรื่องนี้:
นารถ – จะต้องตั้งอีกหรือไม่

ในการแต่งตั้งสมเด็จพระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จฯนั้น ใคร่ขอทราบราชประเพณี จะต้องเติม นารถ เมื่อใด – เป็นโดยตั้งแต่งหรือประกาศอีก
[ลงชื่อ] ช่วง [?]
17 กย 99(๕)
ถ้าในหลวงไม่ได้ทรงรับสั่งเรื่อง “นาถ” ด้วยพระองค์เองในวันนั้น จอมพล ป. ก็คงไม่ทราบ และคงไม่ได้สั่งให้สอบถาม ซึ่งกองประกาศิตได้ทำหนังสือตอบในวันต่อมาว่า (เน้นคำตามต้นฉบับ)
เรื่อง ทรงตั้งสมเด็จพระบรมราชินีนารถ สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ ในรัชกาลที่ 5
เสนอ ล.ธ.ร. ฝ่ายบริหาร

ตามที่ประสงค์จะทราบว่า ในการตั้งสมเด็จพระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ราชประเพณีจะต้องเติมคำว่า นาถ(สมเด็จพระบรมราชินีนาถ) เมื่อใด เป็นไปโดยตั้งแต่งหรือประกาศอีก ประการใดนั้น

ผมได้ตรวจราชกิจจานุเบกษา เมื่อรัชกาลที่ 5 จะเสด็จฯประพาสประเทศยุโรป ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ร.ศ. 115 (พ.ศ. 2439) ได้ทรงตราพระราชกำหนดผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน รัตนโกสินทร์ ศก 115 ขึ้น มีความในมาตรา 2 ว่า “ระหว่างเวลาที่ไม่ได้เสด็จประทับอยู่ในกรุงสยามนี้ ให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนารถ อันเป็นพระราชชนนีแห่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มกุฏราชกุมารนั้น เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ กับทั้งให้มีที่ประชุมอันหนึ่งเป็นที่ปฤกษาด้วย” ประกอบด้วย ประกาศในการที่ออกพระนามสมเด็จพระบรมราชินีนารถ ลงวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 116 ซึ่งมีความในข้อ 1 ว่า “ตั้งแต่ วันที่ 21 มีนาคม ร.ศ. 115 ไปจนถึงเวลาที่ได้เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระนคร แลเวลาเสด็จฯกลับคืนยังพระนคร ถ้าจะใช้บัตรหมายออกพระนามสมเด็จพระนางเจ้าพระอรรถราชเทวีนั้น ก็ให้ใช้ได้เป็นสามอย่างดันี้ (1) ว่า สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนารถ (2) ว่า สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ (3) ว่า สมเด็จพระบรมราชินีนารถ ฯลฯ” ดั่งนี้ ก็เห็นได้ชัดว่า สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรถราชเทวีได้เป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนารถ ตามพระราชกำหนดผู้สำเร็จราชการแผ่นดินที่ทรงตราขึ้นนั้น

สมเด็จพระบรมราชินีนารถ พระองค์นี้ คงทรงพระปรมาภิไธยสืบมาตลอดรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 ได้ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนี เมื่อ พ.ศ. 2453

ได้คัดพระราชกำหนดผู้สำเร็จราชการแผ่นดินกับประกาศในการที่ออกพระนามสมเด็จพระบรมราชินีนารถ ดั่งกล่าว เสนอมาด้วยแล้ว

[ลงชื่อ อ่านไม่ออก]
หัวหน้ากองประกาศิต
18 ก.ย. 99
ตอนท้ายจดหมายนี้ มีลายมือจอมพล ป. เขียนว่า “ทราบ. ขอบใจ. [ลงชื่อ] ป.พิบูลสงคราม 20 ก.ย. 99”

ถ้าสมมุติฐานของผมถูกต้องที่ว่า ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสเรื่องการเฉลิมพระนามพระราชินีโดยเพิ่มคำว่า “นาถ” ตาม “แบบอย่าง” สมัยรัชกาลที่ ๕ พร้อมกับที่ทรงเปลี่ยนพระทัยเรื่องผู้สำเร็จราชการ ก็หมายความว่า เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า เหตุผลที่ทรงเปลี่ยนพระทัยตั้งสมเด็จพระราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการ ก็เพื่อจะทรงเฉลิมพระนามสมเด็จพระราชินีโดยเพิ่มคำว่า “นาถ” นั่นเอง พูดอีกอย่างหนึ่งคือ พระราชประสงค์ที่จะเฉลิมพระนามพระราชินีโดยเพิ่มคำว่า “นาถ” เป็นสาเหตุให้พระราชินีทรงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการตั้งแต่ต้น ไม่ใช่ว่า เนื่องจากพระราชินีทรงเคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแล้ว จึงทำให้ทรงได้รับการเฉลิมพระนามเพิ่มคำว่า “นาถ” อย่างที่เข้าใจกันทั่วไป

ผมคิดว่าการตีความเช่นนี้ของผมถูกต้อง การอภิปรายของสมาชิกสภาบางคนเมื่อเรื่องนี้ถูกเสนอเข้าสภา ก็เป็นไปในทางสนับสนุนการตีความนี้ ดังจะได้เห็นต่อไป

เหตุใดในหลวงจึงทรงมีพระราชประสงค์จะเฉลิมพระนามพระราชินีโดยเพิ่มคำว่า “นาถ” ถึงกับทรงขอให้เปลี่ยนมติรับรองกรมหมื่นพิทยลาภเป็นผู้สำเร็จราชการซึ่งได้ผ่านสภาไปแล้ว? ก่อนที่จะเสนอคำอธิบายเรื่องนี้ ผมขอให้สังเกตประเด็นน่าสนใจบางประการคือ การเฉลิมพระนามในลักษณะนี้สมัยรัชกาลที่ ๕ เอง ตอนแรก รัชกาลที่ ๕ ทรงตั้งพระทัยและมีพระราชโองการให้มีลักษณะชั่วคราวเท่านั้น “ตั้งแต่ วันที่ ๒๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๕ ไปจนถึงเวลาที่ได้เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระนคร แลเวลาเสด็จฯกลับคืนยังพระนคร ถ้าจะใช้บัตรหมายออกพระนาม สมเด็จพระนางเจ้าพระอรรคราชเทวี....” (๖) จนกระทั่งรัชกาลที่ ๖ ได้ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยให้พระมารดาใหม่ในปี ๒๔๕๓ จึงทำให้การเรียกพระนามเช่นนี้มีลักษณะถาวร

ที่สำคัญ ขณะที่ในการเฉลิมพระนามพระราชินีปัจจุบัน จะมีการพาดพิงถึงการเฉลิมพระนามลักษณะนี้ว่าเป็น “ราชประพณี” ในความเป็นจริง การปฏิบัตินี้ต้องนับว่ามีลักษณะของสิ่งที่นักวิชาการบางคนเรียกว่า “ประเพณีประดิษฐ์” หรือ “ประเพณีที่เพิ่งสร้าง” (invented tradition) กล่าวคือ แท้จริงแล้ว หาได้เป็น “ประเพณี” หรืออะไรบางอย่างที่ทำซ้ำๆกันมาเป็นเวลานานไม่ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นใหม่ แต่พยายามนำเสนอให้ดูเป็นสิ่งเก่าแก่ปฏิบัติกันเป็นประจำมาช้านาน จะเห็นว่ามีการเฉลิมพระนามเช่นนี้เพียงครั้งเดียวในสมัยรัชกาลที่ ๕ คือทั้งไม่ใช่เก่าแก่และไม่ใช่ทำกันมาหลายครั้งตามความหมายของคำว่า “ประเพณี” จริงๆ

ประการสุดท้าย ในหลวงน่าจะไม่ทรงทราบ “แบบอย่าง” เรื่องนี้ด้วยพระองค์เอง เพราะทรงไม่ใช่คนร่วมสมัยรัชกาลที่ ๕ (และไม่ใช่สิ่งที่ปฏิบัติกันบ่อยจนเป็นประเพณี) พูดง่ายๆคือ ไอเดียหรือพระราชดำริเรื่องตั้งพระราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อจะได้ทรงเฉลิมพระนามคำว่า “นาถ” นี้ หาใช่ไอเดียหรือพระราชดำริของพระองค์แต่แรกไม่ (จึงทำให้ต้องเกิดการเปลี่ยนพระทัย) เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า อาจจะทรงทราบหรือได้รับการเสนอจาก “พระองค์เจ้าธานี” หรือกรมหมื่นพิทยลาภนั่นเอง

ในความเห็นของผม เราควรมองว่าการตั้งพระราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการและเฉลิมพระนามเพิ่มคำว่า “นาถ” ไม่ใช่การทำตาม “ประเพณี” แต่มีลักษณะของการพยายาม “กลับไปหารัชกาลที่ ๕” (Return to Chulalongkorn) คือทำอะไรแบบที่รัชกาลที่ ๕ เคยทำ เช่นเดียวกับที่สมัยต้นรัชกาลที่ ๗ เคยพยายามมาก่อน(๗) (อันที่จริง การออกบวชขณะเป็นกษัตริย์ก็เป็นการทำแบบรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวสมัยกรุงเทพที่เคยทำมาก่อนในปี ๒๔๑๖ เป็นเวลา ๑๕ วัน เท่ากับจำนวนวันที่ในหลวงปัจจุบันจะทรงผนวช) เป็นวิธีฟื้นฟูสถานะและเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์หลังจากช่วงตกต่ำหรือวิกฤติ กรณีรัชกาลที่ ๗ คือหลังจากปัญหาภายในราชสำนักของรัชกาลที่ ๖ ส่วนกรณีรัชกาลปัจจุบันคือ หลังจากช่วงตกต่ำของสถาบันจากการปฏิวัติ ๒๔๗๕ และการสละราชย์ของ ร.๗ ซึ่งทำให้ประเทศไทยไม่มีพระมหากษัตริย์ในทางปฏิบัติเป็นเวลาเกือบ ๒๐ ปี (ไม่มีกษัตริย์ประทับอย่างถาวรในประเทศระหว่างปลายปี ๒๔๗๗ ถึงปลายปี ๒๔๙๔)

ความพยายามฟื้นฟูเกียรติยศของสถาบันครั้งนี้เริ่มอย่างจริงจังในช่วงประมาณกลางทศวรรษ ๒๔๙๐ ในระยะแรกๆ หลายอย่าง เป็นสิ่งที่คนภายนอกยังมองไม่เห็น แต่เป็นความสัมพันธ์ภายในระหว่างพระมหากษัตริย์กับรัฐบาล เริ่มมีการสร้างระเบียบแบบแผนความสัมพันธ์นี้ใหม่หลังจากหายไปเป็นเวลานาน ผมกำลังหมายถึงตั้งแต่เรื่องประเภท การส่งหนังสือกราบบังคมทูลที่ต้องเริ่มต้นด้วย “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม” และถ้อยคำในหนังสือที่ต้องเป็นราชาศัพท์ต่อกษัตริย์โดยตรง ไม่ใช่เพียงราชาศัพท์ระดับที่ใช้กับผู้สำเร็จราชการ ไปจนถึงการเข้าเฝ้ารับทราบพระราชดำริต่างๆโดยตรง เช่น กรณีจอมพล ป. ที่ไปเข้าเฝ้าระหว่างการประชุม ครม.ดังที่เห็นข้างต้น ในความเห็นของผม เรื่องที่ดูเหมือนจะเล็กๆ และเป็นเพียงรูปแบบหรือพิธีกรรมเหล่านี้ มีความสำคัญในแง่กลไกการทำงานภายในของรัฐบาล (the inner working of government) สำหรับผม สิ่งที่ชวนสะดุดใจจากการอ่านเอกสารติดต่อระหว่างรัฐบาลกับราชสำนักช่วงนี้ คือ การที่ฝ่ายหลังอ้างอิงถึง “ราชประเพณี” ที่เคยปฏิบัติในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช เพื่อขอให้รัฐบาลปฏิบัติตาม เพื่อรองรับเหตุการณ์เกี่ยวกับราชสำนักซึ่งได้ขาดหายไปตั้งแต่ก่อน ๒๔๗๕ แต่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่อีก (ราวกับว่าการเคยผ่าน ๒๔๗๕ มา ไม่ควรเป็นเหตุผลไม่ให้ปฏิบัติแบบเดิมๆ) กรณีตั้งพระราชินีเป็นผู้สำเร็จและเฉลิมพระนาม “นาถ” เป็นตัวอย่างหนึ่ง กรณีอื่นที่อ่านพบได้แก่เรื่องเงินปีของพระโอรสธิดา เช่น ในจดหมายจากราชเลขาธิการถึงนายกรัฐมนตรี เรื่องเงินปีสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๔๙๔ ได้เริ่มต้นว่า (การเน้นคำของผม)
ด้วยพระวรวงศ์เธอฯ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีรับสั่งว่า ตามราชประเพณีแต่ก่อนๆมา เมื่อมีการประสูติพระราชโอรสหรือพระราชธิดา ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขึ้นในบัญชีเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ และพระราชทานเงินปีสุดแล้วแต่ฐานะ ส่วนเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์นั้น ในรัชกาลที่ ๕ กำหนดพระราชทานทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายในเมื่อปีสุดท้าย (ร.ศ. ๑๒๙) เป็นเงิน ๑,๑๓๗,๘๒๐ บาท และในรัชกาลต่อๆมา ก็ได้ลดลงตามสถานะการณ์จนถึงรัชกาลปัจจุบันนี้ เงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ คงได้รับจากรัฐบาลปีละ ๒๑๗,๓๙๖ บาท กับรัฐบาลได้เพิ่มให้ในปี ๒๔๙๔ นี้อีก ๖๙,๓๑๙ บาท รวมเป็นเงิน ๒๘๕,๗๑๕ บาท..... (๘)
หรือเรื่องเงินปีของพระราชินีในปีเดียวกัน:
ด้วยสำนักราชเลขาธิการแจ้งมาว่า พระวรวงศ์เธอฯ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีรับสั่งว่า เมื่อวันที่รองนายกรัฐมนตรีได้เข้าเฝ้าพระองค์ท่านเพื่อปรึกษาข้อราชการต่างๆนั้น ได้ทรงหารือถีงเรื่องที่สมควรจะถวายเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ในฐานะที่ได้ทรงรับสถาปนาขึ้นเป็นพระราชวงศ์อันทรงศักดิ์ถึงตำแหน่งพระอัครมเหษี เพราะเมื่อรัชกาลก่อนๆก็เคยได้ถวายมาแล้วตามราชประเพณี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีก็มีความเห็นชอบด้วยแล้วว่า สมควรที่รัฐบาลจะตั้งทูลเกล้าฯถวาย....(๙)
นอกจากนั้นยังมีกรณีพิธีกรรมต่างๆที่ล้อมรอบการประสูติพระโอรสธิดา (ครั้งสุดท้ายที่มีการประสูติพระเจ้าลูกเธอคือปลายรัชกาลที่ ๖ ถ้าเป็นพระเจ้าลูกยาเธอต้องย้อนไปถึงรัชกาลที่ ๕) ตั้งแต่การตั้งผู้นำรัฐบาล-รัฐสภาเป็นสักขีการประสูติ: “เนื่องในการที่จะประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ ๑.ประธานองคมนตรี ๒.นายกรัฐมนตรี ๓.ประธานสภาผู้แทนราษฎร ๔.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ ๕.เลขาธิการพระราชวัง หรือผู้ที่ปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งดังกล่าวขณะพระประสูติกาล เป็นสักขีในการประสูติ”(๑๐) ไปจนถึงการที่รัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดราชการและชักธงทุกครั้งที่มีการประสูติ ซึ่งทำให้ไม่จำกัดเฉพาะการติดต่อภายในระหว่างรัฐบาลกับราชสำนักเท่านั้น หลังปี ๒๔๙๗ การพยายามฟื้นฟูเกียรติยศและสถานะของสถาบันกษัตริย์นี้เริ่มมีลักษณะของการเมืองโดยตรง คือการเข้าแทรกแซงอย่างเป็นฝ่ายกระทำ (active intervention) ของพระมหากษัตริย์ในกิจการสาธารณะมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาล

ขอกลับมาที่การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ หลังจากคณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องที่ทรงเปลี่ยนพระทัยแล้ว วันต่อมา จอมพล ป.ก็ทำหนังสือด่วนถึงประธานสภาขอให้มีการพิจารณาญัตตินี้อีกครั้ง:
ด่วนมาก
ที่ สผ. ๔๑๐๐/๒๔๙๙
สำนักคณะรัฐมนตรี
๑๘ กันยายน ๒๔๙๙

เรื่อง ญัตติขอให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
กราบเรียน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
อ้างถึง หนังสือที่ สร.๙๕๕๑/๒๔๙๙ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๙๙
ตามที่แจ้งว่าในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๙๙ สภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว
บัดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชกระแสว่า ตามที่สภาผู้แทนราษฎร ให้ความเห็นชอบในการที่จะแต่งตั้ง พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ทรงผนวชนั้น ทรงขอบพระราชหฤทัย แต่เมื่อได้ทรงพระราชดำริอีกครั้งหนึ่ง เห็นว่า เคยมีแบบอย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระอรรคมเหษี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสต่างประเทศ และโดยที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ก็ทรงมีพระชนมายุอันสมควร และทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกา สภากาชาดไทย ซึ่งแสดงถึงพระปรีชาสามารถ ในอันที่จะรับพระราชภารกิจในคราวนี้ได้ จึงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามความในมาตรา ๑๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
จึงกราบเรียนมาเพื่อจะได้นำเสนอสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญต่อไป และขอให้พิจารณาลับ
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(ป. พิบูลสงคราม)
นายกรัฐมนตรี
สภาผู้แทนซึ่งเปิดประชุมในวันนั้นได้นำเรื่องเข้าพิจารณาเป็นการลับ อารีย์ ตันติเวชกุล ส.ส.นครราชสีมา เปิดการอภิปรายว่า “พระราชดำริครั้งนี้ กระผมไม่ได้มีความปรารถนาที่จะคัดค้านแต่ประการใด” แต่ได้ตั้งคำถามว่าต้องลงมติเลิกมติเดิม (ตั้งกรมหมื่นพิทยลาภ) หรือไม่ และการที่พระราชินีจะเป็นผู้สำเร็จย่อมหมายความว่าต้องมาปฏิญาณต่อสภา “ในฐานะที่เราเป็นบุคคลภายใต้รัฐธรรมนูญ ภายใต้จักรีวงศ์ เป็นการสมควรหรือไม่ที่เราจะให้สมเด็จพระราชินีเสด็จมาที่นี่เพื่อมาสาบาลพระองค์ต่อหน้าพวกเราซึ่งเป็นข้าราชบริพาร” ผมคิดว่า การอภิปรายของอารีย์ต่อไปนี้ยืนยันว่า ได้มีการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการหรือเป็นที่รู้กันในหมู่ ส.ส.ถึงสาเหตุที่ทรงเปลี่ยนพระทัยให้ตั้งพระราชินีเป็นผู้สำเร็จแทน ก็เพื่อการเฉลิมพระนามเพิ่มคำว่า “นาถ” นั่นเอง (การเน้นคำของผม):
เท่าที่มีพระราชดำรัสให้นำความมาปรึกษาต่อสภาเพื่อจะแต่งตั้งสมเด็จพระราชินีขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการนั้น ข้าพเจ้าได้กราบเรียนแต่แรกแล้วว่าข้าพเจ้าไม่ขัดข้องประการใด เพราะรู้สึกว่าการครั้งนี้เป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชินีด้วย จะได้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถตามประวัติศาสตร์มีอยู่แล้ว และเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย(๑๑)
จอมพล ป.ได้ลุกขึ้นอภิปราย สำหรับเรื่องพระราชินีต้องมาปฏิญาณต่อสภานั้น เขากล่าวว่าเช้าวันนั้น “ผมได้ขอถือโอกาสไปเฝ้ากราบบังคมทูล [ในหลวง] ท่านก็บอกว่าท่านทราบแล้ว และสมเด็จพระบรมราชินีท่านมีพระราชประสงค์จะเสด็จมาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกประการ” ประเด็นที่น่าสนใจในการอภิปรายของจอมพล อยู่ที่การพยายามชี้แจงว่าทำไมต้องเสนอญัตติเดียวกันเป็นครั้งที่ ๒ โดยเขาเริ่มด้วยการออกตัวยอมรับเป็นผู้ทำ “ความผิด” เสียเอง คำอธิบายของเขามีดังนี้
เรื่องที่ต้องมาเสนอเป็นครั้งที่ ๒ นั้น ความจริง อยากจะขอรับสารภาพว่าเป็นความผิดของนายกรัฐมนตรีเอง วันแรกที่ได้ไปเฝ้า ท่านก็ทรงพระราชดำรัสถามว่าควรจะเป็นใครที่จะเป็นผู้สำเร็จราชการฯ ผมก็กราบบังคมทูลบอกว่าควรจะเป็นกรมหมื่นพิทยลาภฯ เพราะว่าเคยทรงมาแล้ว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้ทรงว่ากระไร ผมจึงสำคัญผิดว่า ท่านทรงโปรดที่จะให้กรมหมื่นพิทยลาภฯเป็น ก็จึงมาเสนอคณะรัฐมนตรี และก็นำเสนอต่อสภามา แต่ว่าความจริงนั้นท่านยังไม่ได้ทรงตกลงว่าจะเอากรมหมื่นพิทยลาภฯ ภายหลังเมื่อได้กราบทูลต่อไป ท่านจึงได้บอกว่าอยากจะให้สมเด็จพระราชินีได้ทรงเป็น ก็ได้นำเสนอสภานี้มาอีก เพราะฉะนั้น ความผิดใดๆที่ต้องมาเสนอเป็นครั้งที่ ๒ เป็นความผิดของผมคนเดียวที่สำคัญผิด ก็ขอประทานโทษด้วย
ในความเห็นของผม คำอธิบายของจอมพลในที่นี้ไม่น่าเชื่อถือนัก เมื่อดูจากบันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรีที่อ้างข้างต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการเปลี่ยนพระทัยของในหลวง คือทรงพระราชดำริให้กรมหมื่นพิทยลาภเป็นในตอนแรก (“มีพระราชประสงค์....กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร....เป็นผู้ที่เหมาะสม”) แต่เปลี่ยนพระทัย (“แต่เมื่อได้ทรงพระราชดำริอีกครั้งหนึ่ง”) ให้พระราชินีเป็นแทน ถึงแม้เราจะสมมุติว่า เหตุการณ์เป็นอย่างที่จอมพลเล่าให้สภาฟัง คือในหลวง “ไม่ได้ทรงว่ากระไร” จริงๆ เมื่อจอมพลเสนอกรมหมื่นพิทยลาภ (ซึ่งในความเห็นของผม ไม่น่าเป็นไปได้ที่จะ “ไม่ได้ทรงว่ากระไร” เลยก็ยังควรหมายความว่าในตอนแรกทรงเห็นชอบด้วยแล้ว จะเรียกว่าจอมพล “สำคัญผิด” หรือ “ความจริงนั้นท่านยังไม่ได้ทรงตกลง” ไม่ได้ (ยิ่งถ้ามีการเข้าเฝ้าอีกครั้งในวันที่ ๑๔ กันยายน แต่ในหลวงไม่ได้ทรงแสดงพระราชประสงค์ใหม่ให้ตั้งผู้อื่น จนกระทั่งการเข้าเฝ้าในวันที่ ๑๗)

และเมื่อมีสภาชิกอภิปรายปัญหาการต้องเลิกมติเดิมหรือไม่มากเข้า ซึ่งอาจชวนให้รู้สึกว่าเป็นความยุ่งยากที่รัฐบาลก่อขึ้น จอมพลก็ลุกขึ้นชี้แจงอีกครั้งอย่างน่าสนใจว่า “ผมก็รู้สึกว่า ท่านสมาชิกก็ย้ำว่ารัฐบาลทำผิดๆ มันเลยไป ความจริงรัฐบาลไม่ได้ทำผิดอะไรเลย ผมอยากจะว่าอย่างนั้น แต่ว่าเมื่อท่านอยากจะว่าทำผิดก็ไม่เป็นไร รัฐบาลนี้ก็จะถวายเป็นราชพลี ไม่เป็นไรหรอก” (ขีดเส้นใต้ของผม) ในที่สุด สภาได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ยกเลิกมติเดิมและให้แต่งตั้งพระราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการ

วันเดียวนั้นเอง ในหลวงได้ทรงมีพระราชหัตถเลขามายังรัฐบาล ยืนยันเรื่องวันที่จะทรงออกผนวชและการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อย่างเป็นทางการ:
พระที่นั่งอัมพรสถาน
วันที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๙
ถึง นายกรัฐมนตรี
ตามที่ฉันได้ปรึกษาหารือท่านเมื่อวันที่ ๑๔ และ ๑๗ กันยายน ศกนี้ ในเรื่องที่ฉันมีความจำนงจะอุปสมบทนั้น บัดนี้ ฉันได้ตกลงกำหนดที่จะอุปสมบทในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ศกนี้ และจะอุปสมบทอยู่ประมาณ ๑๕ วัน ส่วนการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ก็ได้ปรึกษาท่าน และท่านก็ได้เห็นสอดคล้องด้วยแล้ว จึงขอแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามมาตรา ๑๗ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในระยะเวลาที่ฉันครองสมณเพศอยู่
[ลงพระปรมาภิไธย] ภูมิพลอดุลยเดช ปร
พระราชหัตถเลขาถูกเสนอให้ครม.รับทราบวันที่ ๑๙(๑๒) วันถัดมารัฐบาลจึงได้แจ้งกำหนดวันผนวชที่ทรงยืนยันในพระราชหัตถเลขาแก่ประธานสภา(๑๓) วันเดียวกันพระราชินีได้เสด็จมาปฏิญาณต่อสภา (พิธีปฏิญาณมีขึ้นก่อนการประชุมจริง) แต่ก่อนหน้านั้น คือในวันที่ ๑๘ ประธานสภาได้จัดทำประกาศแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ ถวายให้ในหลวงทรงลงพระปรมาภิไธยเรียบร้อยไปแล้ว(๑๔) ประกาศฉบับดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาจึงไม่ได้ระบุวันที่ในหลวงจะทรงผนวชและพระราชินีจะทรงเป็นผู้สำเร็จราชการไว้(๑๕)

หลังจากในหลวงทรงผนวชแล้ว ทางราชสำนักดูเหมือนจะไม่ได้ดำเนินการทันทีเรื่องการเฉลิมพระนามพระราชินี เพิ่มคำ “นาถ” ตามที่ตั้งใจไว้แต่แรก แต่รอให้ถึงโอกาสวันพระราชสมภพในหลวงจึงได้เสนอขอความเห็นชอบจากรัฐบาล ผมยังค้นไม่พบเอกสารที่เกี่ยวข้อง (หนังสือติดต่อต่างๆ) แต่คิดว่าไม่เป็นที่น่าสงสัยว่าเรื่องนี้เป็นการริเริ่มดำเนินการของราชสำนัก แม้ว่าในการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมครม.จะทำในนามจอมพล ป. (สำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการอยู่ในความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีโดยตำแหน่ง):
๑. เรื่อง เฉลิมพระอภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ท่านนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามราชประเพณีเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เคยมีประกาศให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างที่ทรงผนวช ได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์ด้วยพระปรีชาสามารถ สนองพระราชประสงค์เป็นที่เรียบร้อย เป็นการสมควรที่จะได้เฉลิมพระอภิไธยให้เชิดชูพระเกียรติยศยิ่งขึ้น โดยประกาศให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ)
มติ – เห็นชอบด้วย ให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาไปได้.(๑๖)
หนึ่งสัปดาห์ต่อมา “ประกาศเฉลิมพระอภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี” ลงวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๙ ซึ่งมีข้อความเหมือนๆกับที่นำเสนอครม.ข้างต้น ได้รับการตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา(๑๗)

กงจักรปีศาจ และหนังสือเกี่ยวกับกรณีสวรรคต


กงจักรปีศาจ และหนังสือเกี่ยวกับกรณีสวรรคต

1.

กลางปี 2517 คือราวครึ่งปีเศษหลังกรณี 14 ตุลา โดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด จู่ๆตลาดหนังสือกรุงเทพก็เต็มไปด้วยหนังสือเกี่ยวกับกรณีสวรรคตในหลวงอานันท์ฯ ที่ใจกลางของปรากฏการณ์นี้คือหนังสือ 2 เล่ม ที่ออกวางตลาดห่างกันเพียงหนึ่งสัปดาห์: กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489 ของ นายแพทย์สรรใจ แสงวิเชียรและวิมลพรรณ ปีต-ธวัชชัย และ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ของสุพจน์ ด่านตระกูล ซึ่งภายในไม่กี่สัปดาห์ต่างได้รับการพิมพ์ซ้ำและขายได้รวมกันหลายหมื่นเล่ม ผลสำเร็จของทั้งคู่ทำให้เกิดการตีพิมพ์หนังสือกรณีสวรรคตอีกอย่างน้อย 6 หรือ 7 เล่ม เช่นในหลวงอานันท์กับคดีลอบปลงพระชนม์ ของ ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ (ซึ่งภายหลังถูกปรีดี พนมยงค์ ฟ้องจนแพ้ความ) ความเห็นแย้งคำพิพากษากรณีสวรรคต ของ นเรศ นโรปกรณ์ และ คดีประทุษร้ายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (ซึ่งเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น, อุทธรณ์ และฎีกาในคดีนี้ พิมพ์เป็นเล่มขนาดใหญ่และหนาถึง 2 เล่ม โดยสำนักพิมพ์กรุงสยาม โดยไม่มีคำนำหรือคำอธิบายใดๆ)

ทำไมจึงเกิดการปรากฏการณ์ดังกล่าว? ลำพังโอกาสครบรอบ 18 ปีการสวรรคต (9 มิถุนายน 2489-2517) ไม่น่าจะเป็นคำอธิบายที่เพียงพอ. หนังสือพิมพ์ เสียงใหม่ รายวันในสมัยนั้นสันนิษฐานว่า “มันมาพร้อมกับการเลือกตั้ง” (นี่เป็นชื่อบทความของ เสียงใหม่ เกี่ยวกับหนังสือเหล่านี้) แต่ในความทรงจำของผม ดูเหมือนว่าในช่วงนั้น มีบางคนเคยอธิบายให้ฟังว่า พวกนิยมเจ้า (royalists) มีความวิตกว่า ปรีดี พนมยงค์ จะฉวยโอกาสจากบรรยากาศทางการเมืองที่เปิดกว้างขึ้นจาก 14 ตุลา เดินทางกลับประเทศไทย จึงผลักดันให้มีการออกหนังสือของสรรใจ-วิมลพรรณ (ซึ่งเป็นเล่มแรกที่จุดชนวนกระแสหนังสือกรณีสวรรคต) ออกมา เพื่อ “ดักคอ” ไม่ให้ปรีดีกลับมาได้. ใครที่เคยอ่านหนังสือของสรรใจ-วิมลพรรณย่อมทราบว่าเขียนจากจุดยืนที่เป็นปฏิปักษ์กับปรีดี แม้จะใช้รูปแบบที่เป็นงาน “วิชาการ” ต่างกับหนังสือประเภท “สารคดีการเมือง” ทั่วๆไปก็ตาม. (ต้องไม่ลืมว่าปรีดีเพิ่งเดินทางออกจากจีนที่ลี้ภัยอยู่ถึง 21 ปี มาพำนักที่ปารีสในปี 2513 เท่านั้น การออกจาก “หลังม่านไม้ไผ่” มาอยู่ในเมืองใหญ่ใจกลางยุโรปครั้งนั้นสร้างความสั่นสะเทือนให้แก่วงการเมืองไทยไม่น้อย หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ถึงกับออกมาโจมตี “ดักคอ” จนถูกฟ้องร้องแพ้ไป ซึ่งจะมีความเกี่ยวพันกับเรื่องที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ ดังจะได้เห็นต่อไป)

แต่ก็เช่นเดียวกับตัวจีนนี่ในตะเกียงวิเศษที่ถูกปล่อยออกมาแล้วไม่มีใครควบคุมได้, กรณีสวรรคตก็เป็นเรื่องที่เมื่อเปิดประเด็นออกมาแล้วยากจะจำกัดให้อยู่ในกรอบของคนที่เปิดประเด็นได้. หนังสือของสุพจน์ที่ออกมาตอบโต้หนังสือของสรรใจ-วิมลพรรณอย่างทันควันมีความสำคัญมากในแง่นี้ เพราะสุพจน์ไม่เพียงแต่จะออกมาปกป้องปรีดีว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคตอย่างที่สรรใจ-วิมลพรรณพยายามทำให้ผู้อ่านรู้สึกเท่านั้น หากยัง “รุกกลับ” ด้วยการนำเสนอว่าใครน่าจะมีส่วนมากกว่า (ในท่ามกลางความชุลมุนของการวิวาทะ น้อยคนจะสังเกตได้ว่าอันที่จริงทั้งสองฝ่ายพยายามชี้ให้เห็นเหมือนๆกันว่า การสวรรคตเกิดจากการกระทำของผู้อื่นไม่ใช่ทรงกระทำพระองค์เอง) เมื่อเป็นเช่นนั้นฝ่ายที่ “เริ่มก่อน” ก็กลับเป็นฝ่ายที่ต้องการให้เรื่องยุติโดยเร็ว (ในคำสัมภาษณ์ต่อ ปิตุภูมิ รายสัปดาห์ ฉบับปฐมฤกษ์ 28 สิงหาคม 2517 สรรใจกล่าวว่า “ความจริงเรื่องนี้มันเกมไปแล้วตามกฎหมาย.... ผมอยากให้ทุกอย่างยุติกันที”! เขาคงไม่รู้ตัวว่าการกล่าวเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ ironic มาก) นี่คงเป็นเหตุผลว่าทำไมสงครามหนังสือกรณีสวรรคตที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในเดือนมิถุนายนก็สงบลงอย่างฉับพลันเหมือนกันในราวเดือนกันยายนนั้นเอง

เป็นเรื่องน่าสนใจที่ควรบันทึกไว้ในที่นี้ว่า ในบทวิจารณ์เปรียบเทียบหนังสือกรณีสวรรคต 2 เล่มดังกล่าวที่ตีพิมพ์ใน ประชาชาติ รายสัปดาห์ โดยนักวิจารณ์ 2 คนที่ภายหลังกลายเป็นนักวิชาการ “รุ่นใหม่” ที่รู้จักกันดี หนังสือของสุพจน์ที่เชียร์ปรีดีถูกมองว่าดีสู้หนังสือของสรรใจ-วิมลพรรณที่ด่าปรีดีไม่ได้. ผมขอยกเอาข้อความบางตอนของบทวิจารณ์ดังกล่าวมาให้อ่านกัน เพื่อให้เห็นว่าในระยะ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทัศนะที่มีต่อปรีดีของปัญญาชนไทย (ซึ่งในที่นี้แสดงออกที่ทัศนะต่อหนังสือที่โจมตีหรือที่สนับสนุนปรีดี) ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง. วิไลลักษณ์ เมฆารัตน์ และอัจฉราพร กมุทพิสมัย (ปัจจุบันเป็นนักวิจัยประจำสถาบันไทยคดีศึกษา ธรรมศาสตร์) เขียนไว้ในบทวิจารณ์ของพวกเธอ (ประชาชาติ รายสัปดาห์ 11 กรกฎาคม 2517) ดังนี้:
คุณสุพจน์เสนอข้อเท็จจริงต่อสาธารณชนด้วยการ “เก็บมาเล่า” ขณะที่คุณสรรใจและคุณวิมลพรรณเสนอความจริงด้วยหลักฐานอันประกอบไปด้วยเรื่องราวจากบุคคลต่างๆ 149 คน หนังสือ 29 เล่ม ข่าวจากหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นหลายฉบับ ข่าวจากกรมโฆษณาการและภาพประกอบการสวรรคตอย่างละเอียดซึ่งแต่ละภาพมีค่าและหาดูได้ยาก การมีเชิงอรรถแสดงที่มาของข้อเขียนในแต่ละหน้า บรรณานุกรมท้ายเล่มและภาคผนวก ช่วยให้หนังสือเล่มนี้ดูสมบูรณ์ได้เนื้อหาตามลักษณะวิชาการน่าเชื่อถือมากขึ้น การดำเนินเรื่องราวโดยแบ่งความเป็นไปของช่วงเหตุการณ์อย่างมีขั้นตอนตามลำดับก่อนหลัง เรียบเรียงคำพูดได้ชัดเจน ใช้ภาษาดี ช่วยให้น่าอ่านชวนติดตาม ไม่ทำให้ผู้อ่านสับสน คลายความอึดอัดซึ่งมักจะเกิดกับหนังสือลักษณะนี้ได้หมดสิ้น

….การเสนอข้อมูลของผู้เขียนทั้งสองเล่มโดยเฉพาะของคุณสุพจน์ แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าเป็นการเสนอข้อมูลในทัศนะของผู้เขียน นำข้อมูลมาสนับสนุนความคิดของตน ข้อมูลที่ทั้งสองเล่มใช้ส่วนใหญ่มาจากที่เดียวกัน
แต่โดยที่คุณสุพจน์หยิบมาสนับสนุนความคิดเห็นส่วนตัวโดยปราศจากหลักฐานทางวิชาการ ไม่ทำเชิงอรรถบอกที่มาของข้อความเหล่านั้น มุ่งแต่จะเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของนายปรีดี พนมยงค์ ย้ำแล้วย้ำอีกถึงการเสนอให้สมเด็จพระอนุชาในขณะนั้นได้ขึ้นครองราชย์ เพื่อแสดงความจงรักภักดีที่ท่านปรีดีมีต่อพระราชวงศ์ สำนวนการเขียนออกจะเยิ่นเย้อมุ่งเยินยอและเป็นนวนิยายมากไปสักหน่อย.... วิธีการเล่าเหตุการณ์ของคุณสุพจน์ปราศจากการเรียบเรียงที่ดี นำเอาสิ่งที่ตนประสงค์จะให้เป็นไปมาอ้างคั่นอยู่เสมอ..….

….จากสิ่งต่างๆดังได้กล่าวมานี้บั่นทอนความน่าเชื่อถือในการเสนอข้อเท็จจริงของคุณสุพจน์ลงเกือบหมดสิ้น มีค่าเหลือเพียงอ่านสนุก มีอันตรายอย่างมากสำหรับผู้อ่านที่ขาดความระมัดระวัง ย้ำความเชื่อแก่ผู้ที่มีแนวโน้มจะเชื่อสิ่งดังกล่าวนั้นแล้ว แทนที่จะช่วยเป็นดุลในการพิจารณาสำหรับผู้อ่าน กลับช่วยเสริมคุณค่าของอีกเล่มหนึ่งอย่างน่าเสียดายยิ่ง

ในส่วนของคุณสรรใจและคุณวิมลพรรณนั้น น่าชมเชยอยู่มากแล้วที่ยึดหลักวิชาการในการเสนอข้อเท็จจริงตามหลักฐาน….

สรุปในด้านเนื้อหาแล้วหนังสือทั้ง 2 เล่มไม่มีความเป็นกลาง ต่างฝ่ายต่างแก้แทนสิ่งที่ตนเห็นว่าถูกต้อง โดยคัดเลือกข้อมูลขึ้นมาสนับสนุนความคิดเห็นส่วนตน ซึ่งทั้ง 2 เล่มนี้ คุณสรรใจและคุณวิมลพรรณทำได้น่าเชื่อถือกว่า ด้วยการเสนอหลักฐานตามแนววิชาการ....

2.

ในขณะที่หนังสือของสรรใจ-วิมลพรรณ และของสุพจน์เป็นศูนย์กลางของความสนใจกรณีสวรรคตในวงกว้างในช่วงกลางปี ๒๕๑๗ หนังสือกรณีสวรรคตที่ “ร้อน” เป็นที่ต้องการมากที่สุดในแวดวงนักกิจกรรมการเมืองกลับเป็นอีกเล่มหนึ่งที่น้อยคนนักจะเคยได้เห็นตัวจริง, อย่าว่าแต่อ่าน:กงจักรปีศาจ.

หนังสือมีสถานะเป็น “ตำนาน” ในหมู่ผู้สนใจการเมืองว่าเป็นงานที่เขียนโดยฝรั่ง ที่เปิดเผย “ความลับดำมืด” กรณีสวรรคตในหลวงอานันท์ฯชนิดที่หนังสือที่เขียนโดยคนไทยทำไม่ได้ จนกลายเป็นหนังสือ “ต้องห้าม” ผิดกฎหมาย ไม่สามารถมีไว้ในครอบครองได้ ซึ่งแน่นอนยิ่งทำให้เป็นที่ต้องการกันมากขึ้น! ในท่ามกลางภาวะที่กระแสสูงของหนังสือกรณีสวรรคตท่วมตลาดกรุงเทพกลางปี 2517 นั้นเอง ก็มีข่าวลือแพร่สะพัดว่าได้มีผู้ถือโอกาสพิมพ์ กงจักรปีศาจ ฉบับภาษาไทยออกเผยแพร่อย่างลับๆ.

กงจักรปีศาจ ฉบับภาษาไทยที่ขายกัน “ใต้ดิน” ในปี 2517 ในราคาเล่มละ 25 บาทนี้ เป็นหนังสือขนาด 16 หน้ายก (5 นิ้วคูณ 7 นิ้วครึ่ง) หนา 622 หน้า ปกพิมพ์เป็นสีดำสนิททั้งหน้าหลัง กลางปกหน้ามีพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงอานันท์ฯวัยเยาว์ในกรอบรูปไข่ บนสุดของปกหน้ามีข้อความพิมพ์เป็นตัวอักษรสีขาว 3 บรรทัดว่า
บทวิเคราะห์กรณีสวรรคต
ของในหลวงอานันท์ฯ
๙ มิถุนายน ๒๔๘๙
ด้านล่างเป็นชื่อหนังสือ พิมพ์ด้วยอักษรสีแดง กงจักรปีศาจ ตามด้วยอีก 2 บรรทัดพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีขาว
Rayne Kruger เขียน
ร.อ.ชลิต ชัยสิทธิเวช ร.น. แปล
ที่มุมล่างซ้ายของปกหลังมีข้อความพิมพ์เป็นตัวอักษรเล็กๆสีขาว 4 บันทัดว่า
ชมรมนักศึกษาประวัติศาสตร์ จัดพิมพ์
พิมพ์ถูกต้องตามกฎหมาย โดยคัดจากสำนวนศาลแพ่ง
คดีดำที่ ๗๒๓๖/๒๕๑๓ ระหว่างนายปรีดี พนมยงค์ โจทก์
บริษัทสยามรัฐจำกัด ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กับพวก จำเลย
สำหรับผู้ที่สนใจ: นเรศ นโรปกรณ์ ได้นำรูปถ่ายปกหน้าของหนังสือเล่มนี้พร้อมรูปประกอบภายในที่สำคัญที่สุดมาตีพิมพ์ พร้อมด้วยความเห็นที่เขาเองมีต่อหนังสือ ใน ความเห็นแย้งคำพิพากษากรณีสวรรคต

ผมกล่าวว่าหนังสือหนา 622 หน้า แต่ถ้าใครพลิกปกหน้าขึ้นมา จะพบกับหน้า 17 เป็นหน้าแรกสุด เห็นได้ชัดว่า 16 หน้าแรกของหนังสือ (คือ 1 ยก) ซึ่งควรจะมีชื่อโรงพิมพ์และปีพิมพ์ และคำนำหรือคำชี้แจงต่างๆถูกดึงออกไปหรือไม่ถูกใส่เข้ามา. มีผู้บอกผมในสมัยนั้นว่า เดิมทีเดียวผู้จัดพิมพ์ตั้งใจพิมพ์เพื่อออกวางขายตามแผงหนังสืออย่างเปิดเผยจริงๆ แต่เปลี่ยนใจ หลังจากผู้นำนักศึกษาคนหนึ่ง (ซึ่งเขาระบุชื่อ) ให้คำแนะนำคัดค้าน ทำนองว่าจะเป็นผลเสียต่อขบวนการนักศึกษาโดยส่วนรวม. จนบัดนี้ผมก็ยังไม่ทราบจริงๆว่าผู้จัดพิมพ์ที่ใช้ชื่อ “ชมรมนักศึกษาประวัติศาสตร์” นั้นคือใครและจะขอบคุณอย่างสูงหากใครสามารถบอกได้.

สำหรับข้อความที่ปรากฏอยู่บนปกหลัง กงจักรปีศาจ ฉบับภาษาไทยว่า “พิมพ์ถูกต้องตามกฎหมาย โดยคัดจากสำนวนศาลแพ่ง คดีดำที่ ๗๒๓๖/๒๕๑๓ ระหว่างนายปรีดี พนมยงค์ โจทก์ บริษัทสยามรัฐจำกัด ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กับพวก จำเลย” นั้น ตามคำอธิบายของนเรศ นโปกรณ์ (ความเห็นแย้งคำพิพากษากรณีสวรรคต, หน้า 196) ปรีดี ได้ส่ง กงจักรปีศาจ ฉบับแปลนี้มาให้ศาลในฐานะหลักฐานประกอบการฟ้องร้องในคดีดังกล่าว ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นกลยุทธอันฉลาดของปรีดีที่พยายามทำให้หนังสือมีความชอบธรรมตามกฎหมายและมีโอกาสจะถูกเผยแพร่แก่คนไทยที่หาต้นฉบับหรืออ่านภาษาอังกฤษไม่ได้ และก็เห็นได้ชัดว่าในตอนแรกผู้จัดพิมพ์เองคงตั้งใจจะใช้ “ความถูกกฎหมาย” นี้เป็นเกราะ แต่ในท้ายที่สุดเกิดเปลี่ยนใจ ซึ่งสะท้อนว่าหนังสือมีภาพลักษณ์ “ร้อนเกินจับต้อง” มากเพียงใดในขณะนั้น.

นเรศเล่าว่าในฐานะนักข่าวนสพ. สยามรัฐ ในช่วงที่กำลังถูกปรีดีฟ้องนั้นเอง ทำให้ได้อ่าน กงจักรปีศาจ ฉบับแปลตั้งแต่ปี 2513. ผมเองไม่เคยเห็นเอกสารดังกล่าวจนกระทั่งมีการพิมพ์เป็นเล่มในปี 2517 แต่เข้าใจว่า น่าจะเหมือนกับต้นฉบับหนังสือ “ต้องห้าม” เล่มอื่นๆสมัยก่อน 14 ตุลา ที่มีการโรเนียวออกแจกจ่ายกันอ่านตามกลุ่มกิจกรรมต่างๆ. โดยส่วนตัว ถ้าจำไม่ผิด ผมเคยเห็น แลไปข้างหน้า ของศรีบูรพา ฉบับโรเนียวที่ “กลุ่มยุวชนสยาม” ก่อน 14 ตุลา พอหลังเหตุการณ์นั้นไม่นานก็ถูกพิมพ์เป็นเล่ม ภาวะ “ต้องห้าม” ทำให้งานประเภทนี้มีพลังเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลราวกับว่าเป็นอะไรบางอย่างที่เข้าไปห่อหุ้มมันไว้ หากใครอ่าน แลไปข้างหน้า ในสมัยนี้คงยากจะรู้สึกถึงพลังที่ว่าได้ อาจจะรู้สึกว่าค่อนข้างเป็นงานที่จืดชืดเสียด้วยซ้ำ

เมื่อเร็วๆนี้ในระหว่างที่รวบรวมข้อมูลเตรียมเขียนบทความชิ้นนี้ ผมได้ไปพบ กงจักรปีศาจ ฉบับโรเนียวในห้องสมุดแห่งหนึ่งเข้าอย่างบังเอิญมาก. ลักษณะเป็นเอกสารโรเนียวบนกระดาษยาวขนาดกระดาษฟุลสแก๊ปหน้าเดียวจำนวน 235 หน้า โดยที่หน้า 1-3 หายไป ถูกเย็บใส่ปกแข็ง เจ้าหน้าที่ของห้องสมุดเขียนชื่อของเอกสารไว้ที่หน้าปกและในบัตรรายการว่า “พระชนม์ชีพและการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล” โดย ลิขิต ฮุนตระกูล. ครั้งแรกผมนึกว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับกรณีสวรรคตที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อน ต่อเมื่อได้นำมาเทียบกับ กงจักรปีศาจ ที่พิมพ์เป็นเล่มแล้ว จึงพบว่าคืองานชิ้นเดียวกัน. ตัวเอกสารโรเนียวนั้นน่าจะคือต้นฉบับก่อนพิมพ์เป็นเล่ม เพราะตอนท้ายสุดของเอกสารมีรายชื่อ “บุคคลสำคัญในเรื่องบางคน” อยู่ด้วยตรงตามต้นฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งในฉบับพิมพ์เป็นเล่มไม่มี. ส่วนชื่อบนปก ความจริงคือ ชื่อภาคที่ 2 ของหนังสือ. คุณลิขิต ฮุนตระกูล ที่กลายมาเป็น “ผู้เขียน” ตามบัตรรายการของห้องสมุดนั้นจะเป็นใคร ผมก็ไม่ทราบ. ทราบแต่ว่าเขาเคยเขียนหนังสืออย่างน้อยเล่มหนึ่ง (เพราะมีในห้องสมุด) ชื่อ ประวัติการสัมพันธ์ระหว่างชนชาติไทยและชนชาติจีน แต่ยุคโบราณจนถึงสมัยชาติไทยได้มาตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งประเทศไทย ซึ่งดูจากภายนอกน่าสนใจทีเดียว เป็นหนังสือที่ใช้หลักฐานภาษาจีน (เข้าใจว่าพวกพงศาวดาร) ถูกตีพิมพ์เป็นภาษาไทยครั้งแรกในปี 2494 และถูกตีพิมพ์ซ้ำเรื่อยมาทั้งในภาษาไทย, จีนและอังกฤษ ฉบับพิมพ์หลังสุดที่ผมพบคือปี 2516. เหตุใด กงจักรปีศาจ ฉบับโรเนียวที่ว่าจึงมาอยู่ภายใต้ชื่อคุณลิขิต แทนที่จะเป็น Rayne Kruger หรือ เรือเอกชลิต ชัยสิทธิเวช ผู้แปลตัวจริง ก็ไม่ทราบอีกเหมือนกัน. หลังจากพยายามค้นหาต้นตอจากบันทึกที่มีอยู่ของห้องสมุดตามที่ผมขอ, เจ้าหน้าที่ก็บอกไม่ได้ว่าทำไมเอกสารดังกล่าวจึงตกมาอยู่ในครอบครองของห้องสมุดและทำไมจึงอยู่ภายใต้ชื่อคุณลิขิต.


3.

หนังสือภาษาอังกฤษที่เป็นต้นฉบับของ กงจักรปีศาจ ชื่อ The Devil's Discus เขียนโดย Rayne Kruger พิมพ์ครั้งแรกและครั้งเดียวโดยสำนักพิมพ์ Cassell ลอนดอนเมื่อปี 2507 (1964) ผู้เขียนอธิบายความหมายของชื่อหนังสือด้วยการยกข้อความต่อไปนี้มาพิมพ์ไว้ในหน้าแรกสุด:
To confuse truth with lies or good with evil is to mistake the Devil's lethal discus for the Buddha's lotus.

Siamese saying.
แปลแบบตรงๆว่า “การสับสนความจริงกับความเท็จหรือความดีกับความเลวคือการหลงผิดเห็นกงจักรอันร้ายแรงของปีศาจเป็นดอกบัวของพระพุทธองค์ ภาษิตสยาม”

เรน ครูเกอร์ เป็นใคร? หนังสือไม่ได้แนะนำอะไรไว้ (บางทีอาจจะมีบอกอยู่ที่แจ๊กเก็ตหนังสือตามแบบฉบับก็ได้ แต่เล่มที่ผมใช้ แจ๊กเก็ตหายไปนานแล้ว) นอกจากบอกว่าเขาเขียนหนังสือมาแล้ว 7 เล่มก่อน The Devil's Discus เป็นนิยาย 6 เล่ม และสารคดี 1 เล่มชื่อ Goodbye Dolly Gray: The Story of the Boer War ซึ่งผมไม่เคยเห็นตัวจริง แต่เท่าที่สำรวจดูอย่างคร่าวๆทางอินเตอร์เน็ต ดูเหมือนจะเป็นหนังสือที่ประสบความสำเร็จพอควร เพราะได้รับการอ้างอิงถึงตามเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับสงครามบัวร์แทบทุกแห่ง. อันที่จริงหนังสือเพิ่งได้รับการตีพิมพ์ซ้ำเมื่อปี 1997 นี้เอง ซึ่งถ้าพิจารณาว่าเป็นงานที่ถูกพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1959 (คือ 38 ปีก่อนหน้านั้น) ก็ต้องนับว่าไม่เลวเลย ผมยังเห็นการอ้างถึงฉบับพิมพ์ปี 1983 ด้วย.

สรุปแล้วครูเกอร์น่าจะจัดได้ว่าเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จระดับปานกลาง ก่อนมาเขียน The Devil's Discus. เรารู้จากนามสุกลเขาด้วยว่าเขาเป็นเชื้อสายชาวผิวขาวในอาฟริกาใต้ที่เรียกว่าอาฟริคาน(Afrikaners) หรือบัวร์ (Boers) คือพวกที่สืบเชื้อสายมาจากชาวดัทช์ที่ไปตั้งรกรากที่นั่นตั้งแต่ศตวรรษที่ 17. สงครามบัวร์ที่เขาเขียนถึงคือสงครามในปี 1899-1903 ระหว่างพวกนี้กับอังกฤษซึ่งไปตั้งถิ่นฐานและอาณานิคมทีหลัง แย่งยึดพื้นที่เดิมของพวกบัวร์. ชื่อของหนังสือมาจากเพลงที่ทหารอังกฤษร้องขณะออกเดินทางจากอังกฤษไปเมืองเคปทาวน์ อาฟริกาใต้ เพื่อ “สู้กับพวกบัวร์”. ข้อมูลจากเว็ปไซต์แห่งหนึ่งบอกว่า เรน ครูเกอร์เองเกิดในอาฟริกาใต้และสามารถไล่เรียงบรรพบุรุษของตนไปเชื่อมโยงกับตระกูลครูเกอร์ที่มีชื่อเสียง (ผู้นำอาฟริคานในสงครามบัวร์ชื่อ พอล ครูเกอร์) เหตุใดนักเขียนที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเอเชีย (อย่าว่าแต่กับประเทศไทย) ก่อนหน้านั้นเลยอย่างครูเกอร์ จึงมาเขียนถึงกรณีสวรรคต 10 กว่าปีหลังจากเหตุการณ์? น่าเสียดายและน่าแปลกใจที่ครูเกอร์ไม่ได้อธิบายไว้เลยในคำนำของ The Devil's Discus.

ความเป็นคนที่ราวกับ “ไม่มีหัวนอนปลายเท้า” แต่จู่ๆมาเขียนเรื่องกรณีสวรรคตนี้เอง เป็นประเด็นที่ถูกหยิบฉวยเอามาโจมตีอย่างทันควันเมื่อหนังสือออกวางตลาดครั้งแรกในปี 2507 โดยสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพวกนิยมเจ้า (royalist). ในบทวิจารณ์ที่ตีพิมพ์ใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ที่เขาเป็นบรรณาธิการ (ปีที่ 2 ฉบับที่ 1, มิถุนายน 2517) สุลักษณ์ได้ประณาม The Devil's Discus อย่างรุนแรง. บทวิจารณ์ของสุลักษณ์นี้ต้องนับว่าเป็นบทวิจารณ์ที่แย่ ไม่ใช่เพราะผู้วิจารณ์ไม่เห็นด้วยกับผู้เขียนซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา แต่เพราะผู้วิจารณ์เอาแต่โจมตี กระแนะกระแหนเสียดสีผู้เขียนและหนังสือ แทนที่จะโต้แย้งประเด็นที่ผู้เขียนเสนอด้วยข้อมูลหรือการตีความที่ผู้วิจารณ์เห็นว่าถูกต้อง. เช่น สุลักษณ์เห็นว่าทฤษฎีของครูเกอร์ที่ว่าในหลวงอานันท์ฯปลงพระชนม์พระองค์เองผิด แต่ก็ไม่ได้บอกว่าผิดยังไง หรืออะไรคือคำอธิบายที่ถูกต้องของการสวรรคต ด้วยเหตุผลอะไร. ขอยกตัวอย่างบางตอนมาให้ดูดังนี้:
หนังสือนี้ว่าด้วยกรณีสวรรคต สำนักพิมพ์คัสเซลส่งมาทางเมล์อากาศเพื่อขอให้วิจารณ์ โดยที่ข้าพเจ้าได้วิจารณ์หนังสืออื่นไปก่อนแล้ว จึงคิดว่าจะขอให้ผู้อื่นไปวิจารณ์หนังสือนี้ แต่ครั้นเมื่ออ่านจบลง กลับเห็นว่าต้องแสดงเอง

....ผู้เขียนเรียกตนเองว่าอังกฤษ (ใช้คำ English ไม่ใช่ British) ทั้งๆที่ชื่อแลชาติกำเนิดก็บ่งอยู่ชัดแล้วว่าเป็นบัวร์มาจากอาฟริกาใต้ ในรายการที่ลงชื่อหนังสือที่เขาแต่งนั้น ปรากฏกว่ามีสารคดีเรื่องเดียวซึ่งเกี่ยวกับสงครามบัวร์ อันเป็นต้นกำพืดของเขา นอกกระนั้นอีกหกเล่มล้วนเป็นนวนิยายทั้งสิ้น แสดงว่าเขาถนัดนวนิยายมากกว่าเรื่องจริง....

….นอกจากนั้น ผู้เขียนยังโจมตีวิธีพิจารณาคดีของศาลไทย ตลอดจนกฎหมายไทย โดยใช้ระดับมาตรฐานศาลแลกฎหมายอังกฤษ ถึงแม้ข้าพเจ้าจะเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษและนิยมยกย่องกฎหมายอังกฤษ ก็เห็นว่าระบบอังกฤษเหมาะสมแก่บางประเทศเท่านั้น หาเหมาะแก่ประเทศนี้ไม่ การที่ผู้เขียนทำท่าว่าเข้าใจเราแต่แรกนั้น ก็เพื่อซ่อนความรู้สึกไว้ เพื่อหักล้างหลักอธิปไตยหนึ่งในสามของเรานั่นเอง “ปมเขื่อง” ของฝรั่งลูกผสมที่เร้นอยู่แต่แรกก็ฉายแสงแสดงความเลวทรามมาตอนนี้เอง….

....ในคำนำเองเขาก็บอกว่าเขาเข้ามากรุงเทพฯ เขาไปโลซาน เพื่อหาเอกสารหลักฐาน แต่เหตุไฉนเขาจึงปิดเสียสนิทว่าเขาไปสัมภาษณ์นายปรีดีที่เมืองจีนด้วยเล่า หนังสืออย่างนี้จะพิมพ์ได้สักกี่พันเล่ม ลำพังผู้เขียนชนิดไม่มีหัวนอนปลายเท้าอย่างนี้จะได้ค่าลิขสิทธิ์คุ้มที่ลงทุนไปละหรือ ที่ข้าพเจ้าอยากจะตั้งกระทู้ถามบ้างก็คือ ใครออกทุนให้ผู้เขียนสืบสาวราวเรื่องทั้งหมดนี้ เพื่อให้เสื่อมเสียถึงชาติและพระราชวงศ์

....แม้เพียงเท่านี้ ผู้เขียนคนนี้ก็จับจิตใจไทยเราผิดไปเสียแล้ว นับประสาอะไรจะไปพยายามพิสูจน์กรณีสวรรคตอันลึกลับซับซ้อน เว้นไว้แต่จะมีใครสนับสนุนออกทุนรอนให้แต่งเรื่องอิงพงศาวดารไปในรูปนั้น
ลักษณะไม่ใช้เหตุผล (irrationalism) ของบทวิจารณ์ของสุลักษณ์เป็นแบบฉบับ (typical) ของท่าทีของพวกนิยมเจ้าในสมัยนั้นเมื่อพูดถึงปัญหาปรีดีและกรณีสวรรคต. (เพียงการวิจารณ์ศาลและระบบกฎหมายไทยก็ถูกถือเป็นการพยายาม “หักล้างหลักอธิปไตยหนึ่งในสามของเรา”!) ปฏิกิริยาต่อ The Devil's Discus ของสุลักษณ์ยังสะท้อนให้เห็นถึงปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่ในความเห็นของผม มีความสำคัญอย่างมากในการเข้าใจประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่กรณี “สมุดปกเหลือง” 2476 เป็นต้นมา) กล่าวคือในสังคมไทยนั้น royalism กับ anticommunism เป็นสิ่งที่ควบคู่กันอย่างใกล้ชิด. ในบทความที่ตีพิมพ์ใน สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ฉบับต่อมา (ปีที่ 2 ฉบับที่ 2, ตุลาคม 2507) เพื่อขยายความต่อจากบทวิจารณ์ของเขา, สุลักษณ์กล่าวว่า “จะเป็นเผอิญหรืออย่างไรก็ตาม พอหนังสือนั้น (The Devil's Discus) ออกไม่ทันไร คอมมูนิสต์ก็มีบทบาทใหญ่อย่างน่าสะพรึงกลัว”!


4.

ผู้แปล กงจักรปีศาจ เป็นภาษาไทยคือเรือเอกชลิต ชัยสิทธิเวช พี่ชายของเรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช. ดังที่ทราบกันทั่วไป, เรือเอกวัชรชัยซึ่งเป็นเลขานุการของปรีดี พนมยงค์ สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี คือผู้ที่พวกนิยมเจ้ากล่าวหาว่าเป็น “มือปืน” ลอบปลงพระชนม์. เรือเอกชลิตเองมีประวัติอย่างไร? ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่? (วัชรชัยถึงแก่กรรมในปี 2538) ผมไม่ทราบ. เขาได้มาเป็นผู้แปล กงจักรปีศาจ อย่างไร? เมื่อใด? (เมื่อฉบับภาษาอังกฤษออกจำหน่ายครั้งแรกหรือเมื่อปรีดีจะฟ้องคึกฤทธิ์?) ใช้เวลาในการแปลนานแค่ไหน? ไม่มีการชี้แจงไว้ทั้งในฉบับพิมพ์และฉบับโรเนียวที่มีอยู่.

ในแง่สำนวนแปลภาษาไทย ในส่วนที่แปลได้ถูก นับว่าเรือเอกชลิตมีสำนวนแปลที่ดีทีเดียว. แต่ปัญหาคือ จากการตรวจสอบกับฉบับภาษาอังกฤษอย่างคร่าวๆ ผมพบว่าเขาแปลผิดความหมายหลายแห่ง เรียกได้ว่าเกือบจะทุกหน้าที่ผมลองสุ่มเปิดเปรียบเทียบกันดู จะมีบางประโยคที่แปลผิด. ส่วนใหญ่ของความผิดพลาดเหล่านี้ ดูเหมือนจะไม่ทำให้สาระของหนังสือผิดเพี้ยนไปโดยสำคัญอะไร. อย่างไรก็ตาม, ความผิดพลาดบางแห่งก็ทำให้รายละเอียดที่สำคัญบางประเด็นเสียไป จะขอยกตัวอย่างมาให้ดูดังนี้:

ในหน้า 71 ของฉบับภาษาอังกฤษ ครูเกอร์เล่าว่า ที่ท่าอากาศยานสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนจะทรงโดยสารเครื่องบินที่จะนำพระองค์กลับไทย ในหลวงอานันท์ฯทรงแอบหลบไปโทรศัพท์ถึง “a student friend” (พระสหายนักเรียนผู้หนึ่ง) “With journalists swarming about he had time but to say au revoir. He told no one of the call.” ซึ่งชลิตแปลว่า “พระองค์ทรงมีเวลาที่จะรับสั่งกับบรรดานักหนังสือพิมพ์ซึ่งมาห้อมล้อมพระองค์อยู่ว่า 'ลาก่อน' แต่พระองค์มิได้ทรงรับสั่งถึงเรื่องที่ได้ทรงโทรศัพท์กับใคร” แต่ความจริง ควรจะแปลว่า “ด้วยเหตุที่มีนักหนังสือพิมพ์คอยห้อมล้อมเต็มไปหมด, พระองค์จึงทรงมีเวลารับสั่งต่อพระสหายผู้นั้นเพียงว่า 'ลาก่อน' พระองค์มิได้ทรงบอกใครถึงเรื่องที่ได้ทรงโทรศัพท์นั้น” (ในหน้าเดียวกันนั้น ยังมีประโยคที่แปลผิดอีกหลายประโยค)

ในหน้า 110 ของฉบับภาษาอังกฤษ ครูเกอร์เขียนว่า “Rejection of the accident theory could scarcely have been more embarrassing to Pridi and the authorities who had set so much store by it in trying to hush up the whole affair.” ซึ่ง ชลิต แปลว่า “การไม่ยอมรับทฤษฎีอุบัติเหตุของคณะกรรมการฯทำให้นายปรีดีซึ่งเห็นความสำคัญอย่างมากในเรื่องนี้ มีความรู้สึกอึดอัด และเจ้าหน้าที่ได้พยายามที่จะทำให้เรื่องนี้ทั้งหมดให้เงียบหายไป.” แต่ที่ถูกควรจะแปลว่า “การปฏิเสธทฤษฎีอุบัติเหตุของคณะกรรมการฯสร้างความอับอายอย่างใหญ่หลวงให้กับทั้งนายปรีดีและทางการที่หวังอย่างมากจะอาศัยทฤษฎีนี้มาทำให้เรื่องทั้งหมดเงียบหายไป”

ในหน้า 166 ของฉบับภาษาอังกฤษ ครูเกอร์เล่าคำให้การในฐานะพยานโจทก์ของสมเด็จพระราชชนนี “She recalled a private audience Pridi had of the King after dinner on 7 June.... Ananda told her that under the constitution he had the power of appointment [of the Regency Council]. She confirmed the Buddhist tutor's reporting to her Pridi's threat after this audience that he would not support the throne again.” ในฉบับแปล “สมเด็จพระราชชนนีทรงให้การว่า.... ปรีดีเข้ามาเฝ้าในหลวงอานันท์ฯเป็นการส่วนพระองค์ในวันที่ 7 มิถุนายน.... ในหลวงอานันท์ฯได้ทูลพระองค์ว่าภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ นายปรีดีได้ขู่ภายหลังการเข้าเฝ้านี้ว่าเขาจะไม่สนับสนุนพระราชวงศ์อีก” ข้อความที่ว่า “She confirmed the Buddhist tutor's reporting to her” หายไปไม่มีการแปล (อาจเป็นเพราะปัญหาการพิมพ์ก็เป็นได้) ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดได้ว่า ในหลวงอานันท์ฯทรงเล่าเรื่อง “การขู่” ของปรีดีให้สมเด็จพระราชชนนีฟังด้วยพระองค์เอง แต่ความจริง สมเด็จฯทรงได้ยินเรื่องนี้จากปากของ “the Buddhist tutor” (อนุศาสนาจารย์ คือนายวงศ์ เชาวนะกวี ผู้ถวายอักษรไทย)

ฯลฯ....ฯลฯ....ฯลฯ

ความผิดพลาดของการแปลเหล่านี้แม้จะทำให้รายละเอียดหลายอย่างสูญไปอย่างน่าเสียดาย แต่ก็ไม่ได้กระทบกระเทือนถึง “ภาพใหญ่” ที่สำคัญที่สุดของหนังสือ คือการตอบคำถามว่า “ใครปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ฯ?” ไม่มีใครที่ได้อ่าน กงจักรปีศาจ ฉบับภาษาไทย ที่แปลได้ไม่สู้จะสมบูรณ์นี้แล้ว จะไม่รู้ว่าเรย์น ครูเกอร์มีคำตอบต่อปัญหานี้ว่าอย่างไร


5.

แม้ผู้ที่ไม่เคยได้เห็นหรืออ่าน กงจักรปีศาจ เลย ไม่ว่าจะเป็นฉบับจริงหรือฉบับแปล แต่หากสนใจติดตามกรณีสวรรคตอย่างใกล้ชิดจริงๆ ก็ต้องทราบว่าเรย์น ครูเกอร์ เสนอว่าในหลวงอานันท์ฯทรงปลงพระชนม์พระองค์เอง. นักเขียนนิยมเจ้าบางคนเป็นผู้เล่าเรื่องนี้ให้ฟังเองด้วยซ้ำ. ในหนังสือกรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489 ของพวกเขา, สรรใจ แสงวิเชียร และวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ได้อุทิศย่อหน้าขนาดยาวให้กับ กงจักรปีศาจ ดังนี้:
ในแนวทางที่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคับแค้นพระทัยเกี่ยวกับความรักนั้น ปรากฏว่ามีการปล่อยข่าวลือมาตั้งแต่หลังสวรรคตใหม่ๆ....

ข่าวลือเรื่องนี้ได้แพร่หลายออกไปอีก เมื่อฝรั่งนายหนึ่งนำเรื่องกรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลไปแต่งขึ้นเป็นหนังสือภาษาอังกฤษชื่อว่า The Devil's Discus ไม่ปรากฏว่านาย Rayne Kruger ได้รับรายละเอียดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคตไปจากผู้ใด แต่เป็นที่น่าสังเกตว่ามีความสนใจในเรื่องนี้เกินกว่าที่ฝรั่งซึ่งอาจจะเคยเพียงผ่านเมืองไทยเป็นระยะสั้นๆ นาย Rayne Kruger เขียนว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรักใคร่อยู่กับสาวชาวสวิส และจะถูกบังคับให้ทรงเศกสมรสกับเจ้านายไทยจึงปลงพระชนม์เอง นาย Kruger เขียนข้อความเหล่านั้นดูน่าเชื่อ เพราะมีรูปผู้หญิงให้ดูด้วย ทั้งยังได้อ้างว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเผาจดหมายก่อนวันสวรรคต ซึ่งความข้อนี้แม้แต่จำเลยในคดีสวรรคตที่นาย Kruger เขียนเรื่องราวต่างๆให้เป็นประโยชน์แก่เขาก็ยังให้การยืนยันกับศาลกลางเมืองว่าไม่รู้เรื่อง แสดงให้เห็นว่านายฝรั่งคนนี้ปั้นเรื่องและบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยตั้งใจ นอกจากนี้ นาย Kruger ยังตั้งสมมุติฐานเอาเองว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยิงพระองค์ขณะประทับนั่ง อ้างด้วยว่าหมอนไม่ทะลุ ทั้งนี้เพื่อแก้ข้อขัดเขินในตำแหน่งของบาดแผลซึ่งยากที่จะเกิดขึ้นได้ถ้าบรรทม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าหมอนทะลุ ที่นอนก็มีรอยกระสุนที่ตำแหน่งตรงกับพระเศียรในท่าบรรทม นอกจากนี้ นาย Kruger ยังได้พยายามอ้างหลักจิตวิทยา.... และได้เขียนเป็นเชิงจิตวิทยาวิเคราะห์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเติบโตในต่างประเทศจึงปรับพระองค์เข้ากับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยได้ยาก จึงทำให้มีโอกาสปลงพระชนม์เองมากขึ้น นับเป็นวิธีการอีกอย่างหนึ่งที่ฝรั่งพยายามจะหลอกคนไทย มีคนไทยเป็นจำนวนมากที่เติบโตในต่างประเทศ แต่ก็สามารถปรับตัวให้อยู่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ยิ่งถ้าเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ก็ยิ่งจะแน่ใจได้ว่า พระองค์ท่านจะต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างเจ้านายไทย.... ข้อเขียนของนาย Rayne Kruger ในหนังสือเรื่อง The Devil's Discus ทั้งหมดมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างน่าละอายที่สุด จึงเป็นที่น่าสลดใจว่าสิ่งตีพิมพ์โกหกชิ้นนี้ได้กลายเป็นที่เชื่อถือของคนไทยบางหมู่บางเหล่า โดยเฉพาะนักเรียนไทยในต่างประเทศที่ยกย่องเชิดชูชาวต่างชาติและเห็นว่าเมื่อเป็นฝรั่งแล้วทำอะไรก็ถูกหมด หลักฐานและข้อเท็จจริงอื่นๆไม่ต้องคำนึงถึง

ข่าวลือทำนองที่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีเรื่องขัดเคืองกับพระราชชนนีนั้นมีการปล่อยข่าวลือไปหลายกระแส นับตั้งแต่ทรงขัดเคืองกันด้วยเรื่องธรรมดาจนกระทั่งถึงเรื่องที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศของพระองค์สมเด็จพระราชชนนี ข่าวลือดังกล่าวนี้เป็นสิ่งอัปยศอดสูสำหรับคนไทยและแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมทรามทางสภาพจิตของคนที่ปล่อยข่าวลืออย่างเห็นได้ชัด และที่น่าละอายที่สุดก็คือ ข่าวลือนี้ออกมาจากสถาบันการศึกษาอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งในประเทศไทย
ค่อนข้างจะแน่นอนว่า ประโยคสุดท้าย สรรใจและวิมลพรรณตั้งใจจะหมายถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งผมอ่านแล้วก็อดขันไม่ได้ ที่ด้านหนึ่งพวกนิยมเจ้าอย่างทั้งคู่มีอคติต้องการจะประณามมหาวิทยาลัยที่ปรีดีตั้ง แต่อีกด้านหนึ่งก็ไม่กล้าระบุชื่อออกมาตรงๆ. ที่น่าขันยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ ท้ายประโยคนี้มีเครื่องหมายดอกจันทน์ (*) ใส่ไว้ด้วย และมีข้อความเป็นเชิงอรรถของเครื่องหมายดอกจันทน์ว่า “บันทึกการสอบสวนของตำรวจ” น่าสงสัยว่า จะเป็นการเติมเข้ามาทีหลัง เพราะเชิงอรรถอื่นๆในหนังสือเป็นตัวเลข 1, 2, 3... เรียงลำดับกันไป ชะรอยว่าสรรใจ และวิมลพรรณ หลังจากพิมพ์ปรู๊ฟหนังสือไปแล้วเกิดเกร็งขึ้นว่า แม้จะไม่ระบุชื่อธรรมศาสตร์แล้วก็ตามอาจจะถูกหาว่าด่าธรรมศาสตร์โดยไม่มีหลักฐาน จึงใส่เข้ามาให้ดูน่าเชื่อถือ แต่กลับชวนขันมากกว่า เพราะการอ้าง “บันทึกการสอบสวนของตำรวจ” นี้ เลื่อนลอยจนหาค่าอะไรไม่ได้. (ขอให้ผู้อ่านกลับไปดูบทวิจารณ์ของนักวิชาการรุ่นใหม่ 2 คนที่ผมยกมาในตอนแรก ซึ่งแสดงความชื่นชมหนังสือของสรรใจและวิมลพรรณ โดยเฉพาะในประเด็นที่ “มีเชิงอรรถ...ตามลักษณะวิชาการน่าเชื่อถือ”!)

ที่ชวนขันในลักษณะ ironic อีกอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ กงจักรปีศาจ ก็คือ ในขณะที่หนังสือเป็นของ “ต้องห้าม” เพราะความที่ถูกกล่าวหาว่าทำความเสียหายให้พระราชวงศ์ พวกนิยมเจ้าอย่างสรรใจและวิมลพรรณกลับเป็นฝ่ายนำมาเล่าให้คนอ่านทั่วไปที่ไม่มีโอกาสได้รู้จักหนังสือเพราะความต้องห้ามนั้น ว่าสาระสำคัญของหนังสือคืออะไร!

อันที่จริง สรรใจและวิมลพรรณยังได้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของ กงจักรปีศาจ อีกประเด็นหนึ่ง ดังนี้:
นาย Kruger ได้บรรยายชักนำให้ผู้อ่านหนังสือ The Devil's Discus เข้าใจในทำนองนี้ [อุบัติเหตุปืนลั่นโดยผู้อื่น] เช่นเดียวกัน ด้วยพยายามเขียนในทำนองว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระอนุชาเล่นปืนกันเป็นประจำ ถึงแม้ในท้ายบทของตอนนั้นจะให้ความเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลไม่ได้สวรรคตเพราะอุปัทวเหตุโดยสมเด็จพระอนุชาก็ตาม แต่ก็แสดงเจตนาให้เห็นว่า หนังสือเล่มนี้พยายามสอดใส่ความเท็จเพื่อให้อ่านเข้าใจไขว้เขว
ในแง่นี้ต้องนับว่า สุลักษณ์ ศิวรักษ์, ในบทวิจารณ์ประณาม กงจักรปีศาจ ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ ฉลาดกว่า คือหลีกเลี่ยงไม่ยอมเปิดเผยว่าครูเกอร์เขียนพาดพิงถึงใคร: “เขายกตัวอย่างใครต่อใครอย่างเหลือเชื่อ อย่างขาดสัมมาคารวะ อย่างแสดงความทรามในใจของเขาออกมาให้ปรากฏ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสรุปว่าไม่มีใครลอบปลงพระชนม์ดอก และก็ไม่ใช่คดีอุปัทวเหตุ หากเป็นการปลงพระชนม์ชีพเอง เขาสร้างนวนิยายขึ้นจนพระเจ้าอยู่หัวรัช-กาลที่ 8 ทรงมีคู่รักชาวสวิส จนจะทรงถูก 'คลุมถุงชน' กับเจ้านายฝ่ายในที่สูงศักดิ์ในนี้ ฯลฯ” (โปรดสังเกตเครื่องหมาย “ฯลฯ” แปลได้ว่าจะไม่ยอมเล่ามากไปกว่านี้)

อาจกล่าวได้ว่า แม้แต่ในปี 2517 ที่มีผู้พิมพ์ฉบับแปลออกมาแต่ไม่กล้าวางขายโดยเปิดเผย กงจักรปีศาจก็ไม่ใช่หนังสือที่บรรจุ “ความลับดำมืด” ของกรณีสวรรคตที่น่าตื่นใจอย่างแท้จริง ทฤษฎี “อุปัทวเหตุโดยสมเด็จพระอนุชา” นั้น ในหนังสือที่ โปรเจ้า-แอนตี้ปรีดี อย่างเต็มที่ของสรรใจและวิมลพรรณเอง ก็มีการนำมาอภิปรายอย่างตรงไปตรงมาไม่น้อยกว่าครูเกอร์ (ดูหน้า 161-162, 176-180) ถึงกระนั้น สำหรับผู้สนใจกรณีสวรรคตอย่างจริงจัง กงจักรปีศาจ ยังเป็นหนังสือที่จำเป็นต้องอ่าน (required reading) โดยเฉพาะในประเด็น “คู่รักสาวชาวสวิส” และทฤษฎีปลงพระชนม์เองที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งนับเป็นส่วนที่ “ใหม่” (original) ที่สุดของหนังสือ ยิ่งในปัจจุบันที่ประเด็นแบบนี้ไม่อาจนับเป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ได้อีกต่อไป แม้ว่าอันที่จริงส่วนที่ original ที่สุดของหนังสือนี้ ก็เป็นส่วนที่อ่อนที่สุดและน่าเชื่อถือน้อยที่สุดด้วย

กฎมณเฑียรบาลหรือเพราะปรีดีสนับสนุน?


Saturday, June 17, 2006


ในหลวงอานันท์ขึ้นครองราชย์ตามลำดับขั้นของกฎมณเฑียรบาลหรือเพราะปรีดีสนับสนุน?

http://somsakwork.blogspot.com/2006/10/blog-post_26.html

วิวาทะเรื่องในหลวงอานันท์ขึ้นครองราชย์ในปี ๒๔๗๗ (ปฏิทินเก่า) เพราะทรงอยู่ลำดับแรกสุดตามหลักการสืบสันตติวงศ์ของกฎมณเฑียรบาลอยู่แล้ว หรือเพราะการสนับสนุนของรัฐบาลคณะราษฎรในขณะนั้นโดยเฉพาะของปรีดี พนมยงค์ เป็น “ผลพลอยได้” (byproduct) ของการวิวาทะเรื่องกรณีสวรรคต ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ โดยฝ่ายที่สนับสนุนปรีดีเสนอว่า คณะราษฎรโดยเฉพาะปรีดีเองเป็นผู้สนับสนุนให้อัญเชิญพระองค์เจ้าอานันท์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์หลังจากรัชกาลที่ ๗ (ซึ่งทรงไม่มีรัชทายาท) สละราชสมบัติ ทั้งๆที่พระองค์เจ้าอานันท์อาจจะมิได้อยู่ในลำดับแรกของการสืบราชบัลลังก์ตามกฎมณเฑียรบาล การเสนอเช่นนี้มีนัยยะว่า เพราะฉะนั้น ปรีดีจึงไม่มีเหตุอันใดที่จะเกี่ยวข้องกับการสวรรคต ขณะเดียวกันฝ่ายนิยมเจ้า (Royalists) กลับยืนกรานว่า พระองค์เจ้าอานันท์ทรงอยู่ในลำดับแรกสุดของการสืบสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาลอยู่แล้ว ผู้สนับสนุนปรีดีจึงไม่สามารถอ้างเรื่องนี้เป็นความดีความชอบของปรีดีได้


ปรีดีเล่าการเลือกพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘
ปรีดีเองไม่เคยเข้าร่วมการถกเถียงเรื่องนี้โดยตรง แต่ในปี ๒๕๑๕ เขาได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “ความเป็นไปบางประการในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์”(๑) ซึ่งให้ข้อมูลสำคัญบางประการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยเขาได้กล่าวถึงการเลือกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่หลังจากรัชกาลที่ ๗ สละราชย์เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗

ปรีดีเล่าว่า “คณะรัฐมนตรีได้ปรึกษากันในระหว่างเวลา ๕ วันตั้งแต่วันที่ ๒ ถึงวันที่ ๗ มีนาคม เพื่อพิจารณาว่าเจ้านายในพระราชวงศ์จักรีพระองค์ใดสมควรที่รัฐบาลจะเสนอขอความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป” เขากล่าวว่าการพิจารณาได้ถือเอา “นัย” ของกฎมณเฑียรบาลเป็นหลักตามที่รัฐธรรมนูญ ๒๔๗๕ กำหนด (“มาตรา ๙ การสืบราชสมบัติ ท่านว่าให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ และประกอบด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร”)

หลักการของกฎมณเฑียรบาล ๒๔๖๗ ถ้าพูดตามภาษาสามัญคือ ในกรณีที่กษัตริย์องค์ก่อนมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดไว้ ให้นับลำดับขั้นของการเลือกผู้เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ ดังนี้ (เฉพาะเพศชาย) ลูกหรือหลานของกษัตริย์องค์ก่อนตามลำดับยศของมารดา (นับลูก-หลานสลับกัน คือ ลูกคนที่ ๑ จากเมียหลวง, ลูกของลูกคนนั้นทีละคนตามอายุ, ลูกคนที่ ๒ จากเมียหลวง, ลูกของลูกคนที่ ๒ นั้นทีละคนตามอายุ, หมดลูก-หลานจากเมียหลวง จึงไปที่ลูก-หลานจากเมียรองๆ แบบเดียวกัน) หากไม่มี ให้เลือกน้องชายร่วมมารดาของกษัตริย์องค์ก่อนที่อายุมากสุด หากน้องชายดังกล่าวไม่มีชีวิตแล้ว ให้เลือกลูกของน้องชายองค์นั้น ถ้าไม่มี ให้เลื่อนไปที่น้องชายร่วมมารดาของกษัตริย์องค์ก่อนที่อายุถัดลงไปหรือลูกของน้องชายนั้น สลับกันไปตามลำดับ หากไม่เหลือน้องชายร่วมมารดาของกษัตริย์องค์ก่อนและลูกอยู่เลย จึงไปที่พี่ชายหรือน้องชายต่างมารดาของกษัตริย์องค์ก่อนเรียงตามยศมารดา และลูกของพี่ชายหรือน้องชายนั้น(๒) โดยหลักการนี้ ปรีดีอ้างว่า (ส่วนที่เน้นของผม)
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาในประเด็นแรกว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงมีพระเชษฐาร่วมพระราชชนนี ที่มีพระราชโอรสทรงพระชนม์ชีพอยู่ คือ

(๑) พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งเป็นพระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถที่ทรงเป็นรัชทายาทในรัชกาลที่ ๖ ครั้นแล้วจึงพิจารณาคำว่า “โดยนัย” แห่งกฎมณเฑียรบาล ๒๔๖๗ นั้น พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ จะต้องยกเว้นตามมาตรา ๑๑ (๔) แห่งกฎมณเฑียรบาลนั้นหรือไม่เพราะพระมารดามีสัญชาติเดิมเป็นชาวต่างประเทศ ซึ่งตามตัวบทโดยเคร่งครัดกล่าวไว้แต่เพียงยกเว้นผู้สืบราชสันตติวงศ์ที่มีพระชายาเป็นคนต่างด้าว (ขณะนั้นพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ยังไม่มีชายาเป็นนางต่างด้าว) รัฐมนตรีบางท่านเห็นว่าข้อยกเว้นนั้นใช้สำหรับรัชทายาทองค์อื่น แต่ไม่ใช้ในกรณีสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถซึ่งขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯสถาปนาเป็นรัชทายาทนั้นก็ทรงมีพระชายาเป็นนางต่างด้าวอยู่แล้วและทรงรับรองเป็นสะใภ้หลวงโดยถูกต้อง แต่ส่วนมากของคณะรัฐมนตรีตีความคำว่า “โดยนัย” นั้น ย่อมนำมาใช้ในกรณีที่ผู้ซึ่งจะสืบสันตติวงศ์มีพระมารดาเป็นนางต่างด้าวด้วย

(๒) พระองค์เจ้าวรานนท์ฯ เป็นพระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯที่เป็นพระเชษฐาร่วมพระราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ แต่รัฐมนตรีเห็นว่าพระมารดาของพระองค์เจ้าวรานนท์ฯเป็นคนธรรมดาสามัญ ซึ่งเป็นหม่อมชั้นรองของสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้น ที่ทรงมีพระชายาเป็นหม่อมเจ้าได้รับพระราชทานเสกสมรสแต่ไม่มีพระโอรส ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจึงได้ผ่านการพิจารณาพระองค์เจ้าวรานนท์ฯ
ผมจะข้ามปัญหาว่าการพิจารณาเป็นไปในลักษณะที่ปรีดีเล่าจริงหรือไม่ไปก่อน แต่จากที่ปรีดีเล่านี้มีข้อที่ควรสังเกตสำคัญ ๒ ประการ คือ

ประการแรก อันที่จริง ถ้านับตามกฎมณเฑียรบาลอย่างเข้มงวดแล้ว เจ้านายสายของพระปกเกล้า ควรถือว่าสิ้นสุดที่พระองค์ เพราะทรงเป็นองค์สุดท้องของพระชนนี ทรงไม่มีน้องชายแล้ว ตามกฎมณเฑียรบาล สายเดียวกันคือร่วมมารดาเดียวกันของกษัตริย์องค์ก่อน ให้เริ่มนับที่น้องชาย ไม่ใช่ย้อนกลับไปที่พี่ชาย(๓) เพราะถือว่าพี่ชายถูก “ผ่าน” มาแล้ว (ดังนั้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดที่พระปกเกล้าได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ก่อนพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์และพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ซึ่งเป็นลูกของพี่ชายพระองค์ ก็ควรถือว่า “ผ่านแล้วผ่านเลย” ไม่ต้องกลับไปพิจารณาอีก) เมื่อหมดน้องชายร่วมมารดาและลูกของน้องชายนั้นแล้ว จึงให้เริ่มนับที่พี่ชายหรือน้องชายต่างมารดา(๔) ปรีดีเองไม่อธิบายว่าเหตุใดรัฐบาลขณะนั้นจึง (ตามที่เขาเล่า) ย้อนกลับไปพิจารณาลูกของ “พระเชษฐาร่วมพระราชชนนี” ของพระปกเกล้า (จักรพงษ์กับจุฑาธุช) อีก ถ้าถือตามกฎมณเฑียรบาลจริงๆ แต่สุพจน์ ด่านตระกูลจะพยายามให้ความชอบธรรมของการย้อนไปพิจารณาพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ดังจะได้เห็นต่อไป

ประการที่สอง ไม่เป็นความจริงดังที่ปรีดีเขียนว่า “ตามตัวบทโดยเคร่งครัดกล่าวไว้แต่เพียงยกเว้นผู้...ที่มีพระชายาเป็นคนต่างด้าว” เพราะความจริงกฎมณเฑียรบาลได้ระบุไว้ชัดเจนว่าถ้ามีมารดาเป็นคนต่างด้าวก็ไม่สามารถเป็นกษัตริย์ได้ เพียงไม่ใช่ในมาตรา ๑๑ (๔) ที่ห้ามผู้มีเมียต่างด้าวเป็นกษัตริย์ดังที่ปรีดีอ้าง(๕) แต่ในมาตรา ๑๒ ซึ่งมีข้อความทั้งหมดดังนี้ “ท่านพระองค์ใดตกอยู่ในเกณฑ์มีลักษณะบกพร่องดังกล่าวมาแล้วในมาตรา ๑๑ แห่งกฎมณเฑียรบาลนี้ไซร้ ท่านว่าพระโอรสอีกทั้งบรรดาเชื้อสายโดยตรงของท่านพระองค์นั้น ก็ให้ยกเสียจากลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ด้วยทั้งสิ้น” พูดแบบภาษาสามัญคือ ถ้าใครมีเมียต่างด้าวเป็นกษัตริย์ไม่ได้ตามมาตรา ๑๑ (๔) ลูกๆทั้งหมดก็เป็นกษัตริย์ไม่ได้ ซึ่งพูดแบบกลับกันก็เท่ากับว่า ลูกๆเหล่านั้นที่มีแม่ต่างด้าวเป็นกษัตริย์ไม่ได้นั่นเอง ดังนั้น ถ้าดู “ตามตัวบทโดยเคร่งครัด” จุลจักรพงศ์น่าจะเป็นไม่ได้ เพราะพ่อมีเมียต่างด้าว (หรือพระองค์ทรงมีแม่ต่างด้าว) ปัญหาอยู่ที่ว่า การที่พ่อมีเมียต่างด้าว ทำให้พ่อถูกยกเว้นตามมาตรา ๑๑ (๔) หรือไม่? ถ้าถูกยกเว้น แน่นอนว่า จุลจักรพงษ์ย่อมถูกยกเว้นตามมาตรา ๑๒ ไปด้วยโดยอัตโนมัต แต่ถ้าพ่อไม่ถูกยกเว้นตามมาตรา ๑๑ (๔) จะถือว่าจุลจักรพงษ์ก็ควรไม่ถูกยกเว้นตามมาตรา ๑๒ ด้วยหรือไม่? ผมจะได้แสดงให้เห็นต่อไปข้างหน้าว่า เพื่อจะตอบปัญหานี้ จะต้องเข้าใจภูมิหลังสำคัญบางประการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ภายในราชวงศ์สมัยรัชกาลที่ ๖

ปรีดีเล่าต่อไปว่า เมื่อได้ตัดกรณีจุลจักรพงษ์และวรานนท์ธวัชออกแล้ว คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาพระเชษฐาและพระอนุชาต่างมารดาของรัชกาลที่ ๗ และพระโอรสของพระเชษฐาอนุชาเหล่านั้น โดยได้ตัดกรณีกรมพระนครสวรรค์วรพินิตออก เพราะ “เสด็จไปประทับในต่างประเทศตามคำขอร้องของคณะราษฎร คณะรัฐมนตรีจึงไม่พิจารณาถึงพระองค์ท่านและพระโอรสของพระองค์ท่านซึ่งมีอยู่หลายพระองค์” แต่ได้พิจารณากรณีพระโอรสของพระเชษฐาต่างมารดาอีก ๒ พระองค์ คือ ของเจ้าฟ้ามหิดลฯ กับของเจ้าฟ้ายุคลฯ ดังนี้
ในระหว่างสมเด็จเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นั้น พระมารดาของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมราชเทวีซึ่งทรงศักดิ์สูงกว่าพระมารดาของสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฯ แต่ในชั้นพระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าแต่ละพระองค์ดังกล่าวนั้น พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฯมีพระมารดาเป็นพระองค์เจ้าหญิง ส่วนพระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ มีพระมารดา คือหม่อมสังวาลย์ (เรียกพระนามในขณะนั้น) แต่ก็ได้รับพระราชทานเสกสมรสเป็นสะใภ้หลวงโดยชอบแล้ว และสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้นก็ได้ทรงยกย่องให้เป็นพระชายาคนเดียวของพระองค์ โดยคำนึงถึงสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ที่ได้ทรงทำคุณประโยชน์แก่ราษฎรและเป็นเจ้านายที่บำเพ็ญพระองค์เป็นนักประชาธิปไตยเป็นที่เคารพรักใคร่ของราษฎรส่วนมาก คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบพร้อมกันเสนอสภาผู้แทนราษฎร ขอความเห็นชอบที่จะอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล....ขึ้นทรงราชย์
จะเห็นว่า แม้ปรีดีไม่ได้กล่าวตรงๆ แต่สามารถตีความจากการเล่าของเขาได้ว่า ในหลวงอานันท์ขึ้นครองราชย์ เพราะการสนับสนุนของคณะราษฎร มากกว่าเพราะทรงเป็นลำดับแรกสุดตามกฎมณเฑียรบาลอยู่แล้ว


ไข่มุกด์ ชูโต กับ สุพจน์ ด่านตระกูล
ขณะที่ปรีดีเสนออย่างเป็นนัย สุพจน์ ด่านตระกูล ได้ชี้ชัดลงไปว่า ในหลวงอานันท์ขึ้นครองราชย์เพราะคณะราษฎรและปรีดีเองสนับสนุน เพราะถ้าถือตามกฎมณเฑียรบาล ควรจะได้แก่เจ้านายองค์อื่นไม่ใช่พระองค์

สุพจน์นำเสนอความเห็นของเขาในระหว่างการวิวาทะกับไข่มุกด์ ชูโต ในปี ๒๕๓๐ ก่อนหน้านั้น คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มอบหมายให้ไข่มุกด์ ออกแบบและปั้นหล่อพระบรมรูปในหลวงอานันท์เพื่อประดิษฐานที่โรงพยาบาลจุฬา เมื่อถึงพระราชพิธีเปิดในปลายเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๙ ไข่มุกด์ได้ใช้ทุนส่วนตัวพิมพ์หนังสือเล่มเล็กๆที่เขียนเอง ชื่อ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลของปวงชนชาวไทย ออกแจกจ่าย แรงผลักดันให้ทำเช่นนั้นเป็นเรื่องที่เดาได้ไม่ยากจากข้อความบางตอนของหนังสือ นั่นคือ ไข่มุกด์กำลังไม่พอใจอย่างมากต่อกระแสฟื้นฟูเกียรติภูมิของปรีดีในช่วงไม่กี่ปีนั้น(๖) ในส่วนที่เกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของในหลวงอานันท์ ไข่มุกด์กล่าวว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขณะนั้นดำรงพระยศเป็น “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล” ทรงอยู่ในลำดับที่ 1 ในการสืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาล รัฐบาลและรัฐสภาจึงอัญเชิญขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ การที่มาลำเลิกโจทเจ้า ว่าตนเป็นผู้สนับสนุนให้ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ จึงเป็นการมิถูกมิควร
ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์ออกมาโต้ไข่มุกด์ สุพจน์ ด่านตระกูล เสนอว่า ถ้าถือตามกฎมณเฑียรบาล ผู้ที่สมควรขึ้นเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ ๘ คือพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ อันที่จริง สุพจน์อ้างว่าถ้าถือตามกฎมณเฑียรบาลจริงๆ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ต้องได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ตั้งแต่เมื่อรัชกาลที่ ๖ สวรรคตในปี ๒๔๖๘ แล้ว คือ จะต้องได้เป็นรัชกาลที่ ๗ แทนที่จะเป็นพระปกเกล้า

วิธีการให้เหตุผลของสุพจน์เป็นดังนี้(๗) เมื่อรัชกาลที่ ๖ สวรรคต ตามกฎมณเฑียรบาล ถ้ากษัตริย์ไม่มีลูกหรือหลานของพระองค์เอง ให้เลือกน้องชายร่วมมารดาของกษัตริย์ที่อายุถัดจากกษัตริย์ไป ถ้าน้องชายผู้นั้นไม่มีชีวิตแล้ว ให้เลือกลูกชายของน้อยชายผู้นั้น น้องชายร่วมมารดาที่ถัดจากรัชกาลที่ ๖ คนแรกคือเจ้าฟ้าจักรพงษ์ บิดาของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ กฎมณเฑียรบาลห้ามผู้มีชายาต่างด้าวเป็นกษัตริย์ แต่สุพจน์อ้างว่า ชายาของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ได้รับการรับรองจากรัชกาลที่ ๖ ให้เป็นสะใภ้หลวง และเจ้าฟ้าจักรพงษ์เองก่อนสิ้นพระชนม์ (๒๔๖๓) ก็ทรงได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทของรัชกาลที่ ๖ กฎมณเฑียรบาล ๒๔๖๗ ที่ห้ามคนมีชายาต่างด้าวเป็นกษัตริย์ยังออกมาภายหลังเจ้าฟ้าจักรพงษ์สิ้นพระชนม์อีกด้วย เหตุผลเหล่านี้ รวมกันแล้วหมายความว่า เจ้าฟ้าจักรพงษ์ไม่ได้ถูกตัดสิทธิ์เป็นกษัตริย์ตามกฎมณเฑียรบาล เมื่อเป็นเช่นนั้น ลูกของพระองค์คือ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ก็ควรต้องเป็นอันดับแรกที่จะได้เป็นกษัตริย์ต่อจากรัชกาลที่ ๖ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เองขณะที่รัชกาลที่ ๖ สวรรคต ก็ยังไม่มีชายาต่างด้าว

สุพจน์เสนอว่า เหตุที่พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ไม่ได้เป็นรัชกาลที่ ๗ ทั้งๆที่ควรได้เป็นตามกฎมณเฑียรบาล ก็เพราะในวันที่รัชกาลที่ ๖ สวรรคตนั้น (๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘) บรรดาเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ได้ประชุมกัน โดยมีสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดชเป็นประธานที่ประชุม และมีเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรควรพินิตเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ที่ประชุมได้ลงมติยกราชบัลลังก์ให้เจ้าฟ้าประชาธิปก เป็นพระปกเกล้ารัชกาลที่ ๗ แทน(๘) เมื่อรัชกาลที่ ๗ สละราชย์ในปี ๒๔๗๗ ความชอบธรรมที่จะเป็นกษัตริย์ตามกฎมณเฑียรบาลของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ก็ยังคงอยู่ทุกประการ


รัชกาลที่ ๖-เจ้าฟ้าจักรพงษ์-พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
แต่สิ่งที่สุพจน์ (และปรีดี) ไม่ทราบคือ เมื่อรัชกาลที่ ๖ ตั้งให้เจ้าฟ้าจักรพงษ์น้องชายเป็นรัชทายาทนั้น ตั้งโดยเงื่อนไขว่า เจ้าฟ้าจักรพงษ์ต้องยอมรับการตัดสิทธิ์ลูกชายคือพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ในการขึ้นเป็นกษัตริย์ในอนาคต และก่อนสวรรคต รัชกาลที่ ๖ ได้กำหนดเป็นพินัยกรรมให้เจ้าฟ้าประชาธิปกเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป นั่นคือ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์หมดสิทธิ์ในการเป็นกษัตริย์และถูก “ข้าม” มาโดยถูกต้องตามธรรมเนียมของราชสำนัก ยิ่งกว่านั้นกฎมณเฑียรบาลที่ออกในปี ๒๔๖๗ แม้จะหลังจากเจ้าฟ้าจักรพงษ์สิ้นพระชนม์แล้ว ยังค่อนข้างแน่นอนว่ามีเจตนารมณ์ที่จะใช้ห้ามกรณีของเจ้าฟ้าจักรพงษ์และพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ด้วยนั่นเอง (คือ “บังคับย้อนหลัง” ในบางความหมาย) เหตุผลข้อนี้เป็นเหตุผลเสริม เพราะเพียงเหตุผลเรื่องการตกลงระหว่างรัชกาลที่ ๖ กับเจ้าฟ้าจักรพงษ์ บวกกับเรื่องพินัยกรรมของรัชกาลที่ ๖ ก็เพียงพอแล้วที่จะถือว่าพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์หมดสิทธิ์ไปแล้วตามกฎมณเฑียรบาล ซึ่งให้อำนาจเด็ดขาดแก่กษัตริย์ที่ครองราชย์อยู่ ที่จะกำหนดให้ใครเป็นหรือยกเว้นไม่ให้ใครเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป และเมื่อเป็นเช่นนั้น ถึงคราวที่รัชกาลที่ ๗ สละราชย์ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ ๘ อีก

ผมจะอธิบายเรื่องเหล่านี้ตามลำดับ ดังต่อไปนี้


หลักฐานใหม่ : “ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖” ของ “ราม วชิราวุธ” และ เอกสารใน หจช.
ในปี ๒๕๔๕ ศิลปวัฒนธรรม ได้ตีพิมพ์งานลักษณะบันทึกความทรงจำเรื่อง ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ซึ่งรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ในนาม “ราม วชิราวุธ” ในงานที่น่าสนใจอย่างยิ่งนี้ รัชกาลที่ ๖ ทรงเล่าถึงเหตุการณ์ในราชสำนักในช่วงไม่กี่เดือนก่อนและหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ ๕ คือช่วงครึ่งหลังของปี ๒๔๕๓

บันทึกนี้เป็นหลักฐานอย่างชัดเจนไม่อาจปฏิเสธได้ ถึงความรู้สึกบาดหมางขมขื่นอย่างมากที่รัชกาลที่ ๖ มีต่อเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ “น้องชายเล็ก” ของพระองค์ (และต่อการที่ “เสด็จแม่” ทรงรัก “น้องชายเล็ก” มากกว่าพระองค์) เพราะแม้จะทรงเขียนบันทึกนี้ในปี ๒๔๖๗ คือ ๔ ปีหลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ หรือถึง ๑๔ ปีหลังเหตุการณ์ที่ทรงเล่าก็ตาม แต่ความรู้สึกบาดหมางขมขื่นนี้ยังแสดงออกอย่างรุนแรงเกือบตลอดทั้งบันทึก(๙)

เฉพาะประเด็นการตั้งรัชทายาทนั้น ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ สามารถได้รับการยืนยันความถูกต้องและขยายความในรายละเอียดจากเอกสารชั้นต้นชุดหนึ่งที่เก็บอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (ส่วนใหญ่ได้แก่ลายพระราชหัตถ์ของเจ้าฟ้าจักรพงษ์และเจ้านายบางคนที่เกี่ยวข้อง)(๑๐) อาศัยหลักฐาน ๒ ชุดนี้ประกอบกัน ผมขอเล่าเรื่องการตั้งเจ้าฟ้าจักรพงษ์เป็นรัชทายาทในต้นรัชกาลที่ ๖ ดังต่อไปนี้


รัชกาลที่ ๖ ตั้งจักรพงษ์เป็นรัชทายาท ภายใต้เงื่อนไขไม่ให้จุลจักรพงษ์เป็นเพียง ๒ วันหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ ได้เรียกประชุมพิเศษเจ้านายชั้นสูงบางคน ผู้เข้าร่วมประชุม (ตามการเล่าของพระองค์เอง) คือ “น้องชายเล็ก, กรมหลวงนเรศร์, กรมขุนสรรพสิทธิ์, กรมหลวงเทววงศ์, กรมขุนสมมต, กรมหลวงดำรง, และกรมหมื่นนครชัยศรี” นอกจาก “กิจการบางเรื่อง” แล้ว ยังทรงนำปัญหารัชทายาทขึ้นปรึกษาด้วย(๑๑) ทรงเล่าภายหลังว่า “การที่ปัญหาเรื่องตั้งรัชทายาทได้เกิดเปนเรื่องเร่งร้อนขึ้นนั้น เพราะน้องชายเล็กเธอรบเร้าฉันนัก, และเสด็จแม่ก็ได้ทรงช่วยรบเร้าด้วย” เห็นได้ชัดว่า ทรงตัดสินพระทัยมาก่อนการประชุม ที่จะทำตามการ “รบเร้า” ของ “น้องชายเล็ก” และ “เสด็จแม่” เพราะทรงแจ้งต่อที่ประชุมว่า
(๑) ความมั่นคงของพระราชวงศ์จักรีนี้ ก็คือความมั่นคงของกรุงสยาม

(๒) พระราชวงศ์จักรีจะมั่นคงอยู่ได้ ก็โดยมีทายาทมั่นคงที่จะได้เปนผู้ดำรงวงศ์ตระกูลต่อไป

(๓) ในขณะนั้นตัวของฉันยังไม่ได้มีเมียและไม่มีลูก และเพื่อตั้งอยู่ในความไม่ประมาทควรต้องตั้งใครคน ๑ เปนทายาทไปพลางก่อน

(๔) ในการที่จะเลือกทายาททั้งนี้ ก็จำจะต้องพิจารณาเปนข้อต้นว่า พระบรมราโชบายแห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกได้มีทรงแนะไว้พอจะเปนที่สังเกตได้อย่างไรบ้างหรือไม่ ... เมื่อตัวฉันเองกลับเข้ามาจากศึกษาที่ประเทศยุโรปใน พ.ศ. ๒๔๔๕, ฉันได้รับพระราชทานพระชัยนวโลหะในพระที่นั่งไพศาล, ต่อหน้าเจ้านายเปนอันมาก, เมื่อพระราชทานพระชัยองค์นั้น ทูลกระหม่อมได้มีพระราชดำรัสว่า.....บัดนี้ได้ทรงตั้งแต่งให้ฉันเปนพระยุพราชรัชทายาทแล้ว จึ่งพระราชทานพระชัยองค์นั้นไว้ให้เปนสวัสดิมงคลสืบไป, แต่ทรงกำชับว่าให้พึงเข้าใจว่าพระราชทานไว้สำหรับพระราชโอรสของเสด็จแม่ทุกคน, เมื่อใครเปนผู้มีอายุมากที่สุดในพวกพี่น้องก็ให้เปนผู้รักษาพระชัยองค์นั้นไว้จนกว่าจะสิ้นอายุ, แล้วจึ่งให้รับรักษากันต่อๆลงไป

(๕) เหตุดังนั้นฉันจึ่งเห็นว่าควรตั้งให้น้องชายเล็กเปนรัชทายาทของฉันชั่วคราวจนกว่าฉันเองจะได้มีลูก
ทรงเล่าว่า ในที่ประชุมไม่มีผู้ใดโต้แย้ง นอกจากกรมหลวงดำรงได้เสนอว่า ควรประกาศต่อองคมนตรีสภาด้วย อย่างไรก็ตาม หลังการประชุม ๒ วัน คือในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๔๕๓ กรมหลวงดำรงได้ขอเข้าเฝ้าโดยเฉพาะในที่ระโหฐาน และแจ้งต่อพระองค์ว่าในหมู่องคมนตรีจะมีผู้คัดค้านการตั้งน้องชายเล็กเป็นรัชทายาท “ในส่วนตัวเธอเองนั้นไม่มีใครรังเกียจ แต่เขาพากันรังเกียจเรื่องเมีย [หม่อมคัทริน]” ซึ่งรัชกาลที่ ๖ ได้ชี้แจงว่าได้พูดกับ “น้องชายเล็ก” แล้ว
พูดกับตัวเธอเองโดยตรงๆเปนที่เข้าใจกันโดยชัดแจ้งว่า อย่างไรๆก็จะให้ลูกของเธอเปนเจ้าฟ้าไม่ได้ เพราะเมียของเธอไม่ใช่เจ้า, เล็กเองได้พูดตอบว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งแกล้า, ซึ่งพูดกันตรงๆก็คือว่าได้ทรงชิงเปนพระเจ้าแผ่นดิน, ก็มิได้ทรงตั้งพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระองค์ใดเปนรัชทายาท, เพราะไม่อยากทรงประพฤติให้แผกผิดไปจากราชประเพณี ตัวของน้องชายเล็กจะทำให้แผกผิดไปอย่างไรได้
กรมหลวงดำรงจึงเสนอว่า
ถ้าจะป้องกันมิให้มีเหตุที่คนจะเก็บเอาไปอ้างได้ว่ามีความร้าวรานในพระราชวงศ์ ควรให้ฉัน [รัชกาลที่ ๖] เขียนเปนหนังสือลับเก็บไว้ในห้องอาลักษณ์ แสดงความปรารถนาของฉันที่ให้น้องชายเล็กเปนรัชทายาท, กับให้น้องชายเล็กเขียนคำปฏิญญาไว้ด้วย ว่าจะไม่ตั้งลูกของเธอเปนรัชทายาทต่อตัวเธอ และให้เก็บหนังสือปฏิญญานั้นไว้ด้วยกันกับหนังสือของฉัน
รัชกาลที่ ๖ ทรงรับจะไปพิจารณา หลังจากนั้น ทรงเรียกเจ้าฟ้าจักรพงษ์เข้าพบในที่ระโหฐานเช่นกันและเล่าเรื่องที่กรมหลวงดำรงตรัสให้ฟัง เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทรงกล่าวว่า “ได้ทราบเค้าจากเสด็จแม่ว่า ผู้ที่จะคัดค้านในการตั้งเธอเปนรัชทายาทอย่างแขงแรงนั้นคือ...........” ศิลปวัฒนธรรมเซ็นเซอร์ชื่อผู้คัดค้านออก แต่จากหลักฐานแวดล้อม (ดูข้างหน้า) เข้าใจว่าหมายถึง “กรมสวัสดิ์” (กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฎ์ พระบิดาพระนางเจ้ารำไพพรรณี) เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทรงกล่าวต่อไปว่า “การที่จะให้เธอทำหนังสือปฏิญญานั้น เธอจะได้ทำตามที่ฉันปรารถนา” แต่ทรงตั้งเงื่อนไขว่า ขอให้รัชกาลที่ ๖ ประกาศตั้งพระองค์เป็นรัชทายาทโดยเปิดเผย อย่าทำเป็นหนังสือลับ (ดังข้อเสนอของกรมหลวงดำรง) ทรงอ้างว่า ถ้าทำเป็นหนังสือลับ แล้วรัชกาลที่ ๖ สวรรคต หากเสนาบดีเลือกผู้อื่นเป็นกษัตริย์แทน จะเท่ากับบังคับให้พระองค์ “ต้องคัดค้านหรือถึงแก่ต่อสู้จนสุดกำลัง” เพื่อให้เป็นไปตาม “ความประสงค์” ของรัชกาลที่ ๖ ในหนังสือลับนั้น รัชกาลที่ ๖ บอกว่าจะไปคิดดูก่อน

วันต่อมา (๒๘ ตุลาคม) รัชกาลที่ ๖ ทรงได้รับจดหมายจากเจ้าฟ้าจักรพงษ์
ส่งคำปฏิญญาเรื่องที่จะไม่ให้ลูกเปนรัชทายาทนั้นเข้าไปให้ฉัน, แต่ในหนังสือหาได้ทำแต่เพียงคำปฏิญญาอย่างเช่นที่ฉันได้ขอให้ทำเท่านั้นไม่, มีกล่าวข้อความอื่นๆเปนคำอธิบายชี้แจงมาด้วย, ซึ่งฉันเสียใจที่ได้อ่านถ้อยคำบางแห่งรุนแรงมากอยู่ สำแดงปรากฏว่าน้องชายเล็กมีความโกรธเคืองผู้ที่ระแวงสงสัยในตัวของเธอ.
ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีต้นฉบับลายพระหัตถ์ จดหมายของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ลงวันที่ ๒๘ ตุลาคมนี้ ซึ่งทรงเขียนเป็นภาษาอังกฤษ (ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ไม่ได้ระบุว่าเป็นภาษาอังกฤษ) พร้อม “คำปฏิญญา” ที่เป็นภาษาไทย ๑ ฉบับ เป็นลายพระหัตถ์เช่นกัน ในจดหมาย ทรงยืนยันเช่นที่ได้กล่าวด้วยวาจาวันก่อนหน้านั้นว่า ทรงทำ “คำปฏิญญา” จะไม่ตั้งลูกชายเป็นรัชทายาท ภายใต้เงื่อนไขว่ารัชกาลที่ ๖ จะประกาศตั้งพระองค์เป็นรัชทายาทอย่างเปิดเผย มิเช่นนั้น ทรงขอ “คำปฏิญญา” ดังกล่าวคืน ทรงอ้างซ้ำว่า ถ้าการตั้งพระองค์เป็นรัชทายาททำเป็นควมลับ แล้วเสนาบดีเลือกผู้อื่นเป็นกษัตริย์เมื่อรัชกาลที่ ๖ สวรรคต พระองค์ก็จะต้องใช้กำลังเพื่อรักษาสิทธิของพระองค์ (In order to enforce my right, I shall have to use force of arms.) ทรงจบจดหมายว่า กรมหลวงดำรง (ผู้เสนอให้ตั้งรัชทายาทเป็นความลับ) “ลืมไปว่า ในเร็ววัน มหาอำนาจยุโรปก็จะต้องถามว่า ใครคือรัชทายาทของสยาม พวกเขาจะไม่ยอมนิ่งเงียบอยู่นาน เพราะในทุกประเทศในโลก จะต้องมีรัชทายาทเสมอ” (very soon European Powers will ask who is the heir in Siam, they will not keep silence for long, for in every country in the world there must be always an heir)

ใน “คำปฏิญญา” ที่แนบมาด้วย เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทรงเขียนว่า
ตามที่มีพระราชปรารภว่า ในขณะนี้ยังหามีพระราชโอรส อันจะเปนผู้รับตำแหน่งรัชทายาทนั้นไม่....จะทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯกำหนดให้ข้าพระพุทธเจ้าเปนรัชทายาทไว้ชั่วคราว ในขณะที่ยังไม่มีพระราชโอรสนี้ แต่มีบุคคลบางคนบังอาจออกความเห็นสงไสยในพระราชปรีชาญาณอันประเสริฐ อวดอ้างกล่าวว่าตนยังเห็นมีทางอันตรายแก่บ้านเมือง เนื่องด้วยเรื่องบุตรภรรยาของข้าพระพุทธเจ้า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ข้าพระพุทธเจ้าทำคำชี้แจงถวายในเรื่องนี้ เพื่อเปนพยานให้บุคคลทั่วไปเห็นประจักษ์แจ่มแจ้งว่า พระราชวินิจฉัยใดๆที่จะพึงมี ย่อมได้ทรงพระราชดำริห์โดยรอบคอบแล้วทุกอย่าง แสดงอยุ่ในทางที่ถูกเสมอไม่มีผิด …..

บุตรข้าพระพุทธเจ้าที่มีอยู่แล้วในเวลานี้ มีมารดาเปนคนสามัญ เพราะฉนั้นตามราชประเพณีในพระบรมราชวงษ์ ไม่สามารถจะมียศเป็นเจ้าฟ้าได้เป็นอันขาดไม่ว่าในเวลาใด เมื่อเป็นเจ้าฟ้าไม่ได้เช่นนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถจะเป็นรัชทายาทได้เหมือนกัน เพราะยังมีเจ้าฟ้าพระองค์อื่นอยู่ .....

เมื่อมีตัวอย่างอันชัดเจนอยู่ฉนี้แล้ว ที่ข้าพระพุทธเจ้าจะบังอาจไปคิดทำอย่างอื่น ให้ผิดเพี้ยนไปกับพระราชประเพณีอันประเสริฐนั้น เชื่อด้วยเกล้าว่า คงจะเปนที่มั่นพระราชหฤไทยในใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท ว่าข้าพระพุทธเจ้าไม่มีนิไสยที่จะกระทำได้ หรือคนโดยมากทั่วไปก็คงไม่เห็น เว้นแต่คนโง่เขลาสันดานหยาบ ที่มีน้ำจิตรเต็มไปด้วยความหมิ่นประมาทต่อข้าพระพุทธเจ้าเท่านั้น จะคิดเห็นเปนอย่างอื่นไปได้ .....

ข้าพระพุทธเจ้าขอตั้งสัตยาธิฐาน ด้วยน้ำจิตรอันสุจริตจงรักภักดีต่อใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท ขอคุณพระรัตนไตร แลสิ่งซึ่งเปนใหญ่เปนประธานในสกลโลกย์ จงอภิบาลบำรุงรักษา ให้ใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท ทรงพระเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน ทั้งมีพระราชโอรส เปนรัชทายาทที่จะสืบสนองพระองค์ได้นั้นเสียโดยเร็วพลัน แต่ถ้าแม้บังเกิดมีเหตุที่จะกระทำให้ข้าพระพุทธเจ้าต้องตั้งรัชทายาทต่อไปแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะตั้งให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสิมา พระราชอนุชา แลน้องรักร่วมพระชนนี ของข้าพระพุทธเจ้านั้น เปนรัชทายาทโดยทันควันมิได้รั้งรอ.

ความข้อนี้ข้าพระพุทธเจ้ายินดีที่จะกระทำสัจสาบาล น่าพระโกษ สมเด็จพระบรมชนกนารถพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แลฉะเพาะพระภักตร พระมณีรัตนปฏิมากร ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ว่าข้าพระพุทธเจ้ากล่าวด้วยน้ำใสใจจริง แลขอปฏิบัติตามวาจาเปนแน่แท้ ขอให้บรรดาผู้ที่สงไสยในสัจวาจาของข้าพระพุทธเจ้า จงรับทุกข์ตามบาปกรรมของตน ที่บังอาจคิดหมิ่นประมาทในเพื่อนมนุษย์ โดยไม่มีหลักฐานนั้นเทอญ.(๑๒)
วันเดียวกันนั้น รัชกาลที่ ๖ ทรงเรียกประชุมพิเศษเจ้านายชั้นสูงคณะเดิมอีก แต่ครั้งนี้ไม่มี “น้องชายเล็ก” อยู่ด้วย ทรงเล่าว่า “สังเกตตามเสียงของท่านเจ้านายผู้ใหญ่นั้น ดูออกจะปรารถนาเปนอันมากให้ทำไปเปนการเงียบๆ เพื่อจะมิให้มีช่องผู้ใดคัดค้าน” แต่รัชกาลที่ ๖ ทรงเห็นว่า “การที่จะทำเปนทางลับเช่นที่ว่านั้นจะไม่เปนผลดีอย่างใด, เท่ากับไม่ได้ทำ” ในที่สุด ตกลงว่าจะประกาศในท่ามกลางเสนาบดีสภา รัชกาลที่ ๖ จึงเสนอว่า ต้องให้เสนาบดีลงนามเป็นพยานไว้ด้วย แต่ “ที่ประชุมยังออกจะอึ้งๆอยู่ ฉันก็มิได้ขะยั้นขะยอต่อไป” แล้วทรงมอบหนังสือปฏิญญาของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ให้กรมหลวงเทววงศ์ไปเจรจากับเจ้าฟ้าจักรพงษ์ให้แก้ไข

วันต่อมา รัชกาลที่ ๖ ทรงบันทึกว่า บางกอกไทมส์ ได้ “ลงข่าวว่าฉันได้เลือกน้องชายเล็กเปนรัชทายาท ข่าวนี้ใครจะเปนผู้นำไปลงก็ไม่ทราบ”(๑๓) วันที่ ๓๐ ตุลาคม เจ้าฟ้าจักรพงษ์มีจดหมายถึงรัชกาลที่ ๖ เล่าเรื่องที่กรมหลวงเทววงศ์ไปพบตามที่รัชกาลที่ ๖ สั่ง (เพื่อขอให้แก้ไขหนังสือปฏิญญา) ต่อไปนี้คือการเล่าของรัชกาลที่ ๖ ถึงข้อความในจดหมาย (การเน้นคำของรัชกาลที่ ๖)
ตามความในจดหมายนั้นสันนิษฐานได้ว่า ความเห็นมิได้ลงคลองกัน น้องชายเล็กกล่าวต่อไปด้วยว่า การแตกร้าวนั้นถ้ามีก็จำจะต้องปราบปรามให้สูญสิ้นไป, แต่ที่จะคิดปิดบังไว้นั้นเห็นว่าอย่างไรๆก็ปิดไม่มิดชิดได้ “เพราะใครๆก็ย่อมทราบอยู่เกือบจะทั่วกันแล้ว ว่าใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทได้ทรงเลือกให้ข้าพระพุทธเจ้าเปนรัชทายาท” (ทำไมจึ่งทราบกันขึ้นแพร่หลายโดยรวดเร็วเช่นนั้นก็ออกจะน่ารู้อยู่บ้าง) ในจดหมายนั้นมีข้อความเล่าต่อไปอีกว่า มีผู้รู้และกล่าวว่ากรมหลวงเทววงษ์กับกรมสวัสดิ์ไม่เห็นชอบด้วย จึ่งได้วานให้กรมหลวงดำรงเข้าไปหาฉัน เพื่อพูดจาไกล่เกลี่ยให้ฉันกลับความคิด. ความอันนี้น้องชายเล็กว่า กรมนครชัยศรีเปนผู้เล่าให้เธอฟัง และกรมนครชัยศรีได้ทรงทราบข่าวนั้นมาจากข้าในกรมของท่าน, เพราะฉนั้นน้องชายเล็กจึ่งเห็นว่า ถ้าแม้ไม่มีคำสั่งของฉันเปนหลักฐานทางราชการ “คนคงจะพากันกล่าวว่า พระราชายอมแพ้และกลับความคิด” (ข้อนี้คือจะหนุนให้ฉันเกิดมานะ) ในท้ายจดหมายของเธอนั้น น้องชายเล็กได้กล่าวอ้างว่ากรมนครชัยศรีมีความเห็นพ้องกับเธอและว่าได้สำแดงด้วยพระวาจาว่าไม่พอพระทัยในความประพฤติและถ้อยคำของท่านพวกเสนาบดีผู้ใหญ่ และอ้างว่ากรมนครชัยศรีได้กล่าวด้วยว่า “ส่วนการแตกร้าวนั้น, ในกรุงเทพฯนี้เท่านั้นก็มีดาบปลายปืนอยู่แปดพันแล้ว

ตามข้อความที่มีมาในจดหมายฉบับนี้แสดงอัธยาศัยของน้องชายเล็กอย่างชัดเจน ว่าเปนผู้ที่นึกอะไรแล้วก็จะต้องเอาอย่างใจของตน เมื่อใครคัดค้านก็นึกออกแต่ทางที่จะใช้กำลังและอำนาจกำราบเท่านั้น และฉันยังไม่สู้จะยอมเชื่อว่ากรมนครชัยศรี ผู้ที่นับว่ามีสติปัญญาฉลาดจะแสดงตนเปนคนรุนแรงไปทีเดียวเช่นที่น้องชายเล็กอ้าง.
อันที่จริง จดหมายของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฉบับวันที่ ๓๐ ตุลาคมนี้ เขียนเป็นภาษาอังกฤษเช่นเดียวกับฉบับก่อนหน้านั้น เนื้อหาสำคัญเหมือนกับที่รัชกาลที่ ๖ ทรงเล่าข้างต้น แต่มีรายละเอียดมากกว่า เช่น เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทรงยกตัวอย่างรัสเซียว่ากษัตริย์ที่ปกครองด้วยความเข้มแข็งและความกลัว จึงประสบความสำเร็จ และยุให้รัชกาลที่ ๖ ใช้วิธีเดียวกัน คือแสดงความเข้มแข็งและทำให้คนกลัวก่อน จึงทำให้คนรักภายหลัง นอกจากนี้ยังทรงกล่าวถึงกรมสวัสดิ์และผู้คัดค้านการตั้งพระองค์เป็นรัชทายาทด้วยถ้อยคำรุนแรงว่า “ขี้ขลาด” (cowardly) “บังอาจตั้งข้อสงสัยในพระราชปัญญา” ของรัชกาลที่ ๖ (dares to question your wisdom) และเสนอให้รัชกาลที่ ๖ กำจัด (stamped out) ความเห็นคัดค้านพระองค์ด้วยวิธีการทุกอย่าง ท้ายจดหมายที่อ้างกรมนครชัยศรี (Chira จากพระนาม “จิรประวัติวรเดช”) ทรงเขียนว่า “Chira is of my opinion and he says his heart aches at the thought of all the nonsense the Elder Ministers are doing and saying, as for dissension he says there are 8 thousand bayonets in Bangkok city.”

เนื่องจากรัชกาลที่ ๖ ไม่ทรงเชื่อนักว่ากรมนครชัยศรีจะ “แสดงตนเปนคนรุนแรงไปทีเดียวเช่นที่น้องชายเล็กอ้าง” จึงทรงมีจดหมายไปถาม วันต่อมา (๓๑) กรมนครชัยศรีมีจดหมายตอบ (เป็นภาษาอังกฤษ) ไม่ระบุลงไปว่าสนับสนุนฝ่ายใด แต่ดูเหมือนจะโน้มเอียงไปทางเจ้าฟ้าจักรพงษ์ และขอเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์เพื่ออธิบายรายละเอียด(๑๔) ซึ่งรัชกาลที่ ๖ ทรงให้เข้าเฝ้าในวันนั้น กรมนครชัยศรีได้บอกรัชกาลที่ ๖ ตามที่ทรงบันทึกไว้ใน ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ว่า
ข้อใหญ่ใจความผู้ที่คัดค้านตะขิดตะขวงและหนักใจอยู่ก็ด้วยเรื่องน้องชายเล็กมีเมียเปนชาวยุโรป ผลที่อาจจะบังเกิดได้จากข้อนี้ก็คือ เปนที่น่าหวดหวั่นอยู่ว่า ชาวยุโรปอาจจะทำทางเข้าดลใจน้องชายเล็กให้เขวไปได้ แต่ถึงแม้ว่าน้องชายเล็กจะได้ปฏิญญารับรองโดยมั่นคงว่าจะไม่ยกลูกขึ้นเปนรัชทายาท ก็ไม่เปนเครื่องป้องกันในข้อที่เธอจะฟังคำแนะนำของชาวยุโรป ถ้าเธอจะอยากฟัง และถ้าแม้ว่าจะข้ามตัวน้องชายเล็กเสียทีเดียว, ยกเอาน้องเอียดขึ้นตั้งเปนรัชทายาท, จะแก้ข้อวิตกอันนั้นให้สูญสิ้นไปได้ลงหรือ? กรมนครชัยศรีเห็นว่าไม่ได้, เพราะอย่างไรๆ น้องชายเล็กก็คงจะต้องรับราชการอยู่ในตำแหน่งสำคัญ, และอาจที่จะเชื่อฟังปล่อยให้ฝรั่งจูงเขวไปจนเสียราชการก็ได้เหมือนกัน
สรุปแล้ว ดูเหมือนกรมนครชัยศรีจะเห็นว่า อันตรายเรื่องเจ้าฟ้าจักรพงษ์จะถูกฝรั่งชักจูงนั้น แม้ไม่ตั้งเป็นรัชทายาทก็หนีไม่พ้น ดังนั้น จึงน่าจะตั้งเป็นรัชทายาทได้โดยไม่เอาเหตุผลข้อนี้มาพิจารณา (ผมคิดว่านี่เป็นการให้เหตุผลที่ออกจะแปลก ยกเว้นแต่กรมนครชัยศรีจะมีสมมุติฐานว่า เจ้าฟ้าจักรพงษ์จะได้เป็นเพียงรัชทายาทเท่านั้น ไม่ถึงเป็นกษัตริย์ เพราะอย่างไรเสีย วันข้างหน้า รัชกาลที่ ๖ คงจะมีพระโอรสเองแน่ๆ ไม่เช่นนั้น การถูกฝรั่งจูงโดยได้เป็นกษัตริย์กับไม่ได้เป็นกษัตริย์ ย่อมต่างกันอย่างมหาศาล)

วันรุ่งขึ้น (๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๓) รัชกาลที่ ๖ ทรงยกเรื่องการตั้งรัชทายาทขึ้นปรึกษาในที่ประชุมเจ้านายชั้นสูงอีก “เปนอันตกลงว่าให้มีพระราชกฤษฎีกาในเสนาบดีสภา และให้เสนาบดีลงนามเปนพยานไว้ทุกคน”(๑๕) กรมนครชัยศรีทำหน้าที่ไปบอกผลการประชุมให้เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทราบ วันต่อมา กรมนครชัยศรีมีจดหมายถึงรัชกาลที่ ๖ ว่า เจ้าฟ้าจักรพงษ์เห็นชอบกับข้อตกลงของที่ประชุมทุกประการ และว่าเจ้าฟ้าจักรพงษ์เสนอให้แจ้งข่าวเรื่องนี้แก่ Bangkok Times อย่าง “กึ่งราชการ” ซึ่งรัชกาลที่ ๖ ไม่ทรงขัดข้อง(๑๖) (มีการร่าง “ข่าว” เป็นภาษาอังกฤษสำหรับ Bangkok Times แต่ไม่ปรากฏว่ามีการตีพิมพ์เรื่องนี้แต่อย่างใด)(๑๗)

หลังจากตกลงกันได้ในหมู่เจ้านายชั้นสูงรวมทั้งกับเจ้าฟ้าจักรพงษ์เองแล้ว รัชกาลที่ ๖ ทรงมีจดหมายถึง “กรมสวัสดิ์” (กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฎ์) “ชี้แจงความประสงค์ของฉันและบอกไปด้วยว่าน้องชายเล็กเต็มใจที่จะปฏิญญาว่าจะไม่ให้ลูกของเธอเปนรัชทายาท” ทรงอธิบายสาเหตุว่า “ที่ฉันมีจดหมายไปถึงกรมสวัสดิ์เช่นนี้ ก็เพราะน้องชายเล็กได้บ่นและฟ้องอยู่แทบมิได้เว้นแต่ละวันว่ากรมสวัสดิ์พูดเช่นนั้นกล่าวเช่นนี้, ฉันเกรงจะทำให้เปนเรื่องอื้อฉาวใหญ่โตมากไป, จึ่งตั้งใจที่จะให้สงบเรื่อง. กรมสวัสดิ์มีลายพระหัตถ์ตอบฉันยืดยาว” (ศิลปวัฒนธรรมเซ็นเซอร์พระนาม “กรมสวัสดิ์” ออก ผมใส่คืนในที่นี้) ต้นฉบับจดหมายตอบยาว ๘ หน้า ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ของกรมพระสวัสดิ์ ยังมีเก็บอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ(๑๘) ในจดหมาย กรมพระสวัสดิ์ทรงคัดค้านการตั้งเจ้าฟ้าจักรพงษ์เป็นรัชทายาทอย่างรุนแรง ทรงเริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า เข้าใจดีที่รัชกาลที่ ๖ มีเมตตาต่อน้องชายและต้องการแสดงความกตัญญูต่อพระชนนี แต่การตั้งรัชทายาทเช่นนี้
ไม่เหนว่าจะเฃ้าแบบอย่างต่างประเทศฤาแบบไทที่ดีก็ไม่มี นอกจากธรรมเนียมตั้งวังน่าซึ่งได้ทรงประกาศเลิกเสียเด็ดฃาดแล้ว เหนด้วยเกล้าฯว่าเป็นอกาโล premature เปนการไม่ควรแก่ราชการ impolitic เปนการปลูกเพาะพืชแห่งความระส่ำระสายหวาดหวั่นแก่ชาวพระนคร เปนเหตุเคลือบแคลงระแวงไหวแก่นานาประเทศ
กรมพระสวัสดิ์อ้างว่า เจ้านายผู้ใหญ่อื่นๆก็เห็นเช่นเดียวกับพระองค์เพียงแต่ไม่มีใครกราบบังคมทูล หลังจากนั้น กรมพระสวัสดิ์ได้โจมตีเจ้าฟ้าจักรพงษ์ที่อ้างว่าการตั้งรัชทายาทเป็นการตั้งอยู่ในความไม่ประมาท (“อัประมาท”) ดังนี้
เปนแต่สักว่าขึ้นชื่ออัประมาทพอเปนที่อ้างเอามากำบัง Ambition เท่านั้น ความทะเยอทะยานทุรนทุราย ถือเอาฃ้อราชการฃองพระราชวงศ์ฃองแผ่นดิน ว่าเปนการส่วนตนไปเสียท่าเดียว จนลืมละอายลืมกลัวบาป ออกน่าคร่าแรงโต้ต้านดึงดัน ราวกะว่าออกประจนประจันบานต่อสัตรู การต่อสู้ที่มิได้เลือกอาวุธตรงฤาอาวุธคต ใช้หมดสุดแต่จะได้ทั้งไทแลฑูต ทิ่มแทงไม่เลือกที่ว่าจะถูกเบื้องบนฤาใต้สะเอว เรวเปนได้ท่า ช้าเปนเสียการเช่นนี้ เปนที่สยดสยองเกล้าเศร้าสลดใจนัก
กรมพระสวัสดิ์กล่าวต่อไปว่า ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ สวรรคต ก็เหลือแต่รัชกาลที่ ๖ เท่านั้น ที่จะ “กำราบ [เจ้าฟ้าจักรพงษ์] ให้ละพยส ร้ายกลายเปนดี”

สุดท้าย กรมพระสวัสดิ์เสนอว่า ถ้า “เพียงแต่ Question of Principle อย่างเดียว” (เข้าใจว่าหมายถึงการที่ควรมีหลักเกณฑ์เรื่องรัชทายาทไว้เพื่อความไม่ประมาท) ก็สามารถหาทางออกได้ ๒ ทาง คือ (๑) รัชกาลที่ ๖ แสดงพระราชประสงค์ไว้ว่า หากเกิด “เหตุฉุกเฉินอันไม่พึงปรารถนาจะมีขึ้น” (คือทรงสวรรคต) โดยที่ไม่ทรงมีพระราชโอรส ก็ให้ราชสมบัติสืบทาง “สมเด็จพระราชอนุชาทั้งหลายร่วมพระอุทร” โดยให้ “สมเด็จพระชนนี...ทรงมีอำนาจเลือกสรรพระองค์” หรือ (๒) “ใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท...โปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชโอวาทประศาสน์แด่สมเด็จพระอนุชาทั้งหลาย ให้มีพระชายาตามมูลนิติธรรมขัตติยประเพณี อย่างนี้เป็นราชกรณีย์ เพื่อทรงบำรงพระราชวงศ์ให้ดำรงสถาพรสถานหนึ่ง เปนประเพณีอันดีของไทแลต่างประเทศ” พูดง่ายๆคือ กรมพระสวัสดิ์เสนอให้รัชกาลที่ ๖ สั่งให้บรรดาน้องชาย รวมทั้งเจ้าฟ้าจักรพงษ์หาเมียที่ถูกต้องตามประเพณี คือเป็นขัตติยะด้วยกัน (เพื่อจะได้มีลูกเป็น “อุภโตสุชาติ”)!

รัชกาลที่ ๖ ทรงมีจดหมายตอบกรมพระสวัสดิ์ (ตามที่ทรงบันทึกไว้ใน ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖) ว่า “ฉันได้ตริตรองดูตลอดแล้ว, เห็นว่าการที่มีรัชทายาทเปนตัวตนปรากฏอยู่นั้นจะเปนเครื่องทำให้มั่นคง, ....การที่จะตั้งน้องชายเล็กเปนรัชทายาทนี้ ก็มิใช่จะตั้งแต่งเปนพิธีรีตองอะไร, เปนแต่ทำหนังสือแสดงความประสงค์ไว้ และทำต่อหน้าพยานอันมีหลักฐานเท่านั้น. ไม่เกี่ยวแก่การเพิ่มอิศริยยศอันใดเลย” ทรงขอให้กรมพระสวัสดิ์ “อย่า...วุ่นวายให้เปนเหตุแตกร้าว”

ขณะที่กรมพระสวัสดิ์เป็นฝ่ายเงียบสงบไปได้หลังจากนั้น รัชกาลที่ ๖ ทรงบันทึกถึงฝ่าย “น้องชายเล็ก” ว่า
แต่น้องชายเล็กเธอตั้งใจเสียแน่นอนว่าจะไม่ยอมให้ฉันเฉื่อยชาเสียในเรื่องที่ตัวเธอสนใจอยู่มากเช่นนั้น. พอเวลาบ่ายวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน, เมื่อเสร็จงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้วหนึ่งวันเท่านั้น, [เน้นตามต้นฉบับ] ฉันก็ได้รับจดหมายจากน้องชายเล็กฉบับ ๑ ......
ต้นฉบับจดหมายดังกล่าวมีเก็บอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ความจริง ส่วนใหญ่ของจดหมายเป็นการหารือเรื่องอื่น แต่ในท้ายจดหมาย (๓ หน้า ใน ๑๐ หน้า) เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทรงเขียนว่า
อนึ่ง ในที่สุดแล้ว ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลความที่เกี่ยวไปทางส่วนตัวคือ เมื่อคืนนี้อุปทูตรูเซียมาเยี่ยมเยียนไปรเวต เล่าว่า กรมสวัสดิ์เที่ยวประกาศในหมู่ฝรั่งว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถจะเปนรัชทายาทได้ แลอ้างพระบาฬีตามหนังสือสังสกฤตออกมาให้ฝรั่งดู ฝรั่งก็ลือกระฉ่อน ว่าต้องให้เอียดเล็ก [เจ้าฟ้าอัษฎางเดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา] เปนแทน แต่เอียดเล็กนั้นก็เหลวไหลนัก ใช้ไม่ได้ ต้องเอาติ๋ว [เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทรชาไชย] จึงได้มีพระบรมราชโองการเรียกติ๋วกลับจากยุโรป ซึ่งลงหนังสือพิมพ์ด้วย คงจะได้ทอดพระเนตรเห็น แลฝรั่งเรือมหาจักรีบอกเล่ากับคนที่คลับว่าเดือนน่า เรือมหาจักรีจะออกไปรับติ๋วที่สิงคโปร์ การเปนได้ถึงเพียงนี้ ต้องขอพระบารมี มีพระบรมราชโองการ ให้เจ้าน่าที่ลงหนังสือพิมพ์แก้ไขความลือเช่นนี้ แลบอกความจริงเสียสักที การที่ปิดความจริงนั้น ไม่ใช่ทำให้คนพูดน้อยลงเลย ทำให้พูดมากขึ้น เพราะต่างคนต่างเดาได้ตามใจ ถ้ามีความจริงแน่นอนแล้ว จะลือแก้ความจริงอย่างไรได้ ถ้าปล่อยกันเล่นให้สนุกพิ์อยู่เช่นนี้ ไม่ช้าบางที ข้าพระพุทธเจ้าจะต้องไปต่อยปากกรมสวัสดิ์สักพัก ๑(๑๙)
ไม่มีหลักฐานว่ารัชกาลที่ ๖ ทรงตอบจดหมายนี้อย่างไร (ใน ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ทรงบันทึกเพียงว่า “ฉันได้รีบตอบตักเตือนไปให้เหนี่ยวรั้งสติไว้บ้าง”) แต่ที่น่าสนใจคือ ในบันทึกส่วนพระองค์ ทรงมีปฏิกิริยา ดังนี้
ฉันเองก็ไม่อยากจะเปนผู้แก้แทนกรมสวัสดิ์, แต่ฉันเห็นว่าข่าวที่มองสิเออร์ เอ็ลเตะก๊อฟ [อุปทูตรัสเซีย] นำเอาไปเล่าให้น้องชายเล็กนั้นอาจจะเปนข่าวคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย ฉันนึกไม่ออกเลยว่า กรมสวัสดิ์จะเอา “หนังสือสันสกฤต” อะไรไปพลิกให้ฝรั่งดู ไม่เห็นเข้าเรื่องอะไรเลย จดหมายของน้องชายเล็กฉบับลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายนนั้น ถ้าจะว่าแสดงอะไรให้ปรากฏก็ต้องว่าแสดงกระแสร์อุบายของน้องชายเล็กเองให้ปรากฏ, สรุปได้เปนข้อๆคือ.- (๑) ปรารถนาให้ฉันตกลงเลือกตัวเธอเปนรัชทายาทเสียโดยเร็ว, จะได้ตัดทางที่คนจะโต้แย้งได้ต่อไป, (๒) ประกาศในองคมนตรีสภาแล้ว จึ่งคิดให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์, และที่ว่าจะให้ลงเปน “กึ่งราชการ” นั้นก็คือจะได้เลือกบอกข่าวแต่ที่ต้องการให้แพร่หลาย, ส่วนข้อที่จะไม่ให้ลูกเปนรัชทายาทต่อนั้น จะได้งำเสีย, (๓) อ้างนามชาวยุโรปว่ากล่าวเช่นนั้นเช่นนี้, สำหรบให้เห็นเปนการใหญ่และซึ่งเขาทึ่งกันมากฉันจะได้ตกใจและเร่งร้อนขึ้น(๒๐)

การประชุมเสนาบดี วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๓ ตั้งรัชทายาท
ในที่สุด ในที่ประชุมเสนาบดีวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๓ รัชกาลที่ ๖ ก็ทรงนำเรื่องการตั้งรัชทายาทเข้าสู่วาระประชุมอย่างเป็นทางการ ตามที่รายงานการประชุมครั้งนั้นได้บันทึกไว้ ดังนี้
ราชการจร
๑. เรื่องตั้งรัชทายาท มีพระราชดำรัสว่า ในที่สุดนี้ จะขอแสดงความตั้งใจในเรื่องรัชทายาทให้ที่ประชุมฟัง แล้วโปรดเกล้าฯให้พระยาศรีสุนทรอ่านพระราชกระแส ซึ่งว่าด้วยโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานารถดำรงพระยศตำแหน่งรัชทายาทในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชโอรสนี้แล้ว

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกทรงอ่านคำปฏิญาณ กราบบังคมทูลตลอดแล้ว
มีพระราชดำรัสว่า ตามที่ทรงตั้งรัชทายาทนี้ ขออย่าให้เข้าผิดไป เหมือนหนึ่งว่าตั้งว่าน่า การที่ทำไว้เช่นนี้ เปนแต่เพียงชี้ทางไว้ สำหรับเหตุการ กับซึ่งหวังใจว่าจะไม่มี แต่หากเกิดมีขึ้นเท่านั้น การอื่นๆไม่มีเปลี่ยนแปลงอะไร วางอยู่อย่างเดิมทั้งสิ้น

แล้วทรงเซ็นพระราชหัตถเลขา แลโปรดเกล้าฯให้เสนาบดีลงพระนามแลนามในพระราชหัตถเลขากระแสพระบรมราชโองการนั้นไว้เปนสำคัญ

หมดราชการแล้ว เสด็จขึ้นเวลา ๒ ทุ่มกับ ๕ นาที(๒๑)
เอกสาร ๒ ฉบับที่รายงานการประชุมกล่าวถึง คือ พระราชกระแสตั้งรัชทายาท ที่ให้พระยาศรีสุนทรอ่าน (ซึ่งใน ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ทรงเรียกว่า “พระราชกฤษฎีกา” โดยตลอด) และคำปฏิญาณของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ มีอยู่ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ(๒๒) เอกสารฉบับแรก “พระราชกฤษฎีกาตั้งรัชทายาท” ซึ่งรัชกาลที่ ๖ ทรงร่างเอง(๒๓) เริ่มต้นว่า
ขอแจ้งความแก่พระบรมวงศานุวงษ์ แลข้าราชการซึ่งมาประชุมกัน ณ ที่นี้

ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนารถ ทรงพระราชดำริถึงความมั่นคง ในการปกครองพระราชอาณาจักร ที่จะให้เปนการเรียบร้อยปราศจากเหตุการทั้งปวง จึงทรงตั้งพระราชโอรสให้ดำรงตำแหน่งรัชทายาท

บัดนี้ ข้าพเจ้าได้รับศิริราชสมบัติสืบสนองพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนารถโดยเรียบร้อย ตามกระแสพระราชดำริห์ที่ได้ทรงตั้งไว้ จึงมารลึกถึงพระราชดำริห์ของสมเด็จพระบรมชนกนารถอันเปนการดีการชอบอย่างยิ่ง ได้เห็นผลดีแล้วนั้น สมควรที่จะดำเนินตาม ถึงแม้ว่าจะเปนเวลาแรก ข้าพเจ้าพึ่งรับศิริราชสมบัติก็ดี เพื่อจะให้เปนความไม่ประมาท จึ่งเห็นว่า สมควรที่จะมีผู้ซึ่งจะเปนรัชทายาทสืบพระราชสันตติวงษ์ ขึ้นไว้มิให้เว้นว่างเพื่อให้เปนความมั่นคงในการปกครองพระราชอาณาจักรสืบไปตามราชประเพณีที่มีมาแต่ก่อน ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงษ์โดยเรียบร้อยก็ย่อมจะเปนพระราชโอรสเปนปรกติ แต่บัดนี้ข้าพเจ้ายังไม่มีบุตร จึ่งเปนการที่จะต้องพิจารณาว่าผู้ใดเปนผู้สมควรที่จะเปนรัชทายาท .........
หลังจากนั้น ได้กล่าวถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ในระยะแรกที่ยังไม่มีการตั้งพระราชินี ถ้าพระชายาใดมีลูกเป็นเจ้าฟ้า ก็ทรงยกย่องขึ้นเป็นพระบรมราชเทวี “เมื่อทรงตั้งข้าพเจ้าเป็นรัชทายาท ก็ทรงยกสมเด็จพระราชชนนีขึ้นเปนแต่สมเด็จพระอรรคราชเทวีเท่านั้น เปนอันทรงยกขึ้นตามพระราชโอรสธิดา ไม่เป็นพระราชินี” เมื่อเสด็จยุโรปครั้งแรกจึงทรงตั้งเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนารถ “เปนการทำให้มั่นคงว่าเปนพระราชินีแท้” พระราชโอรสของพระบรมราชินีนารถจึงเป็นพระราชโอรสของพระอรรคมเหษีตามพระราชประเพณี (“พูดกันตามภาษาคนก็คือ เปนลูกเมียหลวง”)(๒๔)

“พระราชกฤษฎีกา” ได้อ้างเหตุการณ์ที่แสดงว่า รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริว่า ในเรื่องรัชทายาทนั้น หากรัชกาลที่ ๖ ไม่มีลูกชายของตัวเอง ก็ควรให้น้องชายร่วมมารดาสืบราชสมบัติต่อไป เช่น เมื่อทรงพระราชทานพระไชยนวโลหะให้เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (รัชกาลที่ ๖) ก็ทรง “พระราชทานให้น้องชายเล็ก...รับด้วย” หรือ เมื่อทรงสั่งเรื่องจัดการพระบรมศพว่า ให้เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเป็นผู้สรงน้ำทรงเครื่อง ถ้าเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธอยู่ต่างประเทศก็ให้เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทำ(๒๕) เป็นต้น ต่อจากนั้น จึงเป็นข้อความที่เป็นหัวใจของ “พระราชกฤษฎีกา” คือการตั้งเจ้าฟ้าจักรพงษ์เป็นรัชทายาทพร้อมเงื่อนไข :
จึ่งเห็นว่าในเวลานี้ ต้องให้น้องร่วมพระราชชนนีเปนรัชทายาท ไม่มีอย่างอื่น เว้นแต่ข้าพเจ้ามีบุตรจึงให้บุตรเปนรัชทายาทต่อไป เพราะฉนั้นในเวลานี้ ข้าพเจ้าขอกำหนดไว้ว่า ให้น้องที่เกิดแต่สมเด็จพระบรมราชินีนารถอันเปนน้องร่วมอุทร เปนรัชทายาทตามลำดับอายุพรรษกาล จำเดิมด้วยน้องชายเล็ก เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมขุนพิษณุโลกประชานารถ ผู้เปนน้องมีอายุพรรษารองตัวข้าพเจ้านี้ลงไป อนึ่งตามพระราชประเพณีนิยมมาแต่โบราณกาลมีอยู่ว่า ผู้ที่จะดำรงศิริราชสมบัติ ควรที่จะต้องเปนอุภโตสุชาติ จึ่งจะเปนที่นิยมนับถือของประชาชนทั่วกัน เพราะฉนั้น ข้าพเจ้าขอกำหนดไว้ต่อไปว่า ถ้าแม้มีเหตุการอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะไม่พึงปรารถนา เปนต้นว่าถ้าแม้ข้าพเจ้าจะไม่มีบุตร แลน้องข้าพเจ้าจะได้เปนผู้สืบสันตติวงษ์ต่อไป อย่าให้น้องผู้นั้นเลือกตั้งบุตรของตน ซึ่งมิได้เปนอุภโตสุชาติเปนรัชทายาทต่อไปเลย ขอจงให้น้องผู้มีอายุพรรษารองตนลงไปเปนรัชทายาท เหมือนเช่นที่ข้าพเจ้าได้เลือกไว้ในครั้งนี้เถิด ขอให้ท่านทั้งหลาย บันดาที่ได้มาประชุมในที่นี้ทราบความประสงค์ไว้ อย่าให้เปนการเข้าใจผิดไปในภายน่า(๒๖)
หลายปีต่อมา รัชกาลที่ ๖ ทรงอธิบายข้อความส่วนที่เกี่ยวกับ “อุภโตสุชาติ” ข้างบนนี้ (คือตั้งแต่ “อนึ่งตามพระราชประเพณี........”) ว่า
มีได้ด้วยความมุ่งหมายที่จะป้องกันมิให้น้องชายเล็กเลือกเอาลูกที่เกิดด้วยหม่อมคัทรินเป็นรัชทายาทต่อไป อันที่จริงการที่ลงข้อความข้อนี้ไว้ในพระราชกฤษฎีกาก็ดี, หรือการบังคับให้น้องชายเล็กเขียนคำปฏิญญาก็ดี, ย่อมรู้สึกกันอยู่ว่าอาจที่จะไม่มีผลอะไรเลยก็ได้ เพราะถ้าต่างว่าฉันตายลง และน้องชายเล็กเธอได้เสวยราชย์, ดูก็ไม่เห็นมีอะไรที่จะเปนข้อห้ามมิให้น้องชายเล็กเธอสถาปนาหม่อมคัทรินขึ้นเปนเจ้าและทำให้ลูกเปนอุภโตสุชาติขึ้นโดยวิธีนั้น ว่ากันตามกฎมณเฑียรบาล ใครเปนลูกพระอัคระมเหษีก็ต้องเรียกว่าเปนอุภโตสุชาติอยู่เอง มิใช่ว่าพระมเหษีนั้นจะต้องได้เปนเจ้ามาโดยกำเนิดก็หามิได้. แต่ครั้นจะกล่าวตรงๆ ว่าไม่ยอมให้ลูกฝรั่งเปนรัชทายาทก็อาจที่จะเกิดเปนเรื่องฉาวขึ้น และใครๆที่รู้จักน้องชายเล็กอยู่แล้วย่อมรู้อยู่ว่า สิ่งใดที่เกี่ยวไปถึงตัวของเธอแล้ว เธออาจสละกุศโลบายทั้งหมดแล้ว แลใช้อุบายอย่างใดๆ สุดแท้แต่จะได้ผลสมปรารถนาของเธอ, และในเรื่องเลือกตั้งรัชทายาทนั้นก็ได้สังเกตเห็นรำไรอยู่แล้ว, จึ่งได้เห็นกันว่าทำไปให้แล้วเสียคราว ๑ ดีกว่าที่จะรอให้มีพวกทูตต่างประเทศถามหรือเตือนขึ้น(๒๗)
ในงานเดียวกันนี้ ทรงบันทึกว่ามีผู้ร่วมลงนามเป็นพยานใน “พระราชกฤษฎีกา” ตั้งรัชทายาทดังกล่าว ดังนี้(๒๘)
๑. เสนาบดีกระทรวงกระลาโหม - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช
๒. ผู้บัญชาการทหารเรือ – สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต
๓. เสนาธิการทหารบก – สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานาถ
๔. เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์
๕. เสนาบดีกระทรวงวัง – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ ๖. เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงเทววงศ์วโรปการ
๗. เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ
๘. ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ – พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นนครชัยศรีสุระเดช
๙. เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม – หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์
๑๐. เสนาบดีกระทรวงธรรมการ – เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว.คลี่ สุทัศน์ ณ กรุงเทพ)
๑๑. เสนาบดีกระทรวงนครบาล – เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
๑๒. เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ – พระยาวงศานุประพัทธ์ (ม.ร.ว.สท้ายกลาง สนิทวงศ์ ณ กรุงเทพ)
๑๓. สภาเลขาธิการ – พระยาศรีสุนทรโวหาร (กมล สาลักษณ์)
กรมขุนสมมตอมรพันธ์, ราชเลขาธิการ, กับกรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ, เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ, ประชวรจึ่งมิได้เสด็จในที่ประชุมนั้นด้วย
ในส่วน “คำปฏิญญา” ของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ มีข้อความดังนี้
ขอเดชะ

ด้วยทรงพระราชปรารภว่า ในเวลาที่ยังไม่มีพระราชโอรสอันเป็นรัชทายาทตามพระราชประเพณีอยู่ แลทรงพระราชดำริห์คำนึงถึงการแผ่นดิน ซึ่งยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาไว้ ให้ชัดเจนแน่นอนว่าผู้ใดเปนรัชทายาท ก็ไม่เปนการถาวรมั่นคง แลมีพระราชประสงค์จะทรงตั้งอยู่ในอัปประมาทธรรมแล้ว จึงทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้ข้าพระพุทธเจ้าเปนรัชทายาทไว้ชั่วคราว ในขณะที่ยังไม่มีพระราชโอรส ตามความในพระราชหัตถเลขา แสดงพระราชประสงค์ สำหรับสืบสันตติวงษ์นั้น พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าฯหาที่สุดมิได้

ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกระทำสัตย์ปฏิญญาณ ทูลเกล้าฯถวายไว้ว่า ข้าพระพุทธเจ้ามีความเต็มใจเห็นชอบตามกระแสพระราชดำริห์นั้นทุกประการ แลข้าพระพุทธเจ้าเต็มใจปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท ในพระราชหัตถเลขาที่กล่าวมาข้างต้นนี้ทุกข้อทุกประการ มีข้อสำคัญคือว่า ในการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพระพุทธเจ้าเปนรัชทายาทอยู่นี้ ถ้าใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทมีพระราชโอรสเมื่อใด ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่เปนรัชทายาทเมื่อนั้น อนึ่งถ้าแม้จะมีเหตุการณ์อันไม่เปนที่พึงปรารถนาเลยนั้นเกิดขึ้น คือเป็นต้นว่า ใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทจะไม่มีพระราชโอรสแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะต้องรับสืบราชสันตติวงษ์ต่อไปเมื่อใดๆ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าฯถวายปฏิญญานไว้ว่า ในเวลาที่ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่มีบุตรซึ่งเป็นอุภโตสุชาติแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะให้น้องที่รักทั้งหลายซึ่งร่วมพระราชชนนีเป็นรัชทายาท ตามความในพระบรมราโชวาทที่กล่าวมาข้างต้นนี้ แลข้าพระพุทธเจ้าจะไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งจะให้เกิดเป็นผลเสมอเหมือนว่าฝ่าฝืนต่อข้อความตามพระบรมราโชวาท แลคำสัจปฏิญญาณของข้าพระพุทธเจ้านี้เป็นอันขาด

ควรมิควรสุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า(๒๙)
ใน ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ทรงบันทึกไว้ว่า หลังจากได้มี “พระราชกฤษฎีกาตั้งรัชทายาท” นี้แล้ว “ฉันรู้สึกโล่งมาก เพราะได้เกิดความเบื่อหน่ายระอาในความยุ่งเหยิงอันได้บังเกิดขึ้นเพราะเรื่องนั้นมากมายเหลือประมาณ, มัวแต่ฟังคำโต้ของฝ่ายโน้น แล้วฟังคำแย้งของฝ่ายนี้ จนแทบไม่มีเวลาหรือสมองเหลือสำหรับที่จะคิดการอื่นๆอีก” ทรงเล่าว่า ในวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๓ หลังการประชุมนั้นเอง ได้ทรงบันทึกไว้ในสมุดจดหมายเหตุรายวันของพระองค์ว่า “ยังมีความหวังต่อไปอีก, ซึ่งมิได้กล่าวในที่ประชุม คือ......ที่พระเจ้าแผ่นดินสวรรคตลงโดยมิได้เลือกรัชทายาทไว้กลับไม่มีบทกฎหมายอันใดที่จะพลิกจะอ้างสำหรับจัดการเรื่องรัชทายาทนั้นเลย......เพราะฉนั้นอย่างไรๆ......ต่อไปข้างน่าจะต้องมีเปนพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้อย่างใดอย่าง ๑ ในเรื่องนี้” นี่คือข้อความจริงๆที่ทรงบันทึกไว้ในปี ๒๔๕๓ อย่างไรก็ตาม ทรงอธิบายใน ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ซึ่งทรงเขียนในปี ๒๔๖๗ ว่า
ความคิดของฉันได้มีอยู่เช่นนี้ตั้งแต่เมื่อฉันได้เปนพระเจ้าแผ่นดินขึ้นใหม่ๆ และฉันมิได้ลืมความคิดนั้นเลย, เปนแต่เมื่อยังมิได้แลเห็นโอกาสอันเหมาะที่จะออกกฎหมายอย่างที่ว่านั้นก็ยังระงับๆไว้, มาจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๖ ตอนปลายปีมีเหตุเตือนใจให้ฉันรำลึกขึ้นได้ถึงความคิดอันนั้น, จึ่งได้มาจับบทดำริห์และร่างกฎหมายนั้น อันจะได้ใช้เปนนิติธรรมสำหรับการสืบราชสันตติวงศ์เปนระเบียบต่อไป

กฎมณเฑียรบาล ๒๔๖๗ และการ “ข้าม” จุลจักรพงษ์ ไปที่อัษฎางค์
กฎหมายที่ทรงกล่าวถึงก็คือ กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนั่นเอง อะไรคือ “เหตุเตือนใจ” ให้รัชกาลที่ ๖ “รำลึกขึ้นได้ถึงความคิด” ที่จะมีกฎหมายเช่นนี้ หลังจากทรงมีความคิดดังกล่าวครั้งแรกก่อนหน้านั้นถึง ๑๓ ปี? ผมไม่สามารถบอกได้ แต่มีข้อสังเกตว่าในช่วง ๕ ปีสุดท้ายของรัชกาล (๒๔๖๓-๖๘) ทรงหมกมุ่นกับปัญหารัชทายาท เพราะไม่ทรงมีพระราชโอรส และมีหลายเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรัชทายาทเกิดขึ้นในช่วงนี้ เริ่มตั้งแต่เจ้าฟ้าจักรพงษ์สิ้นพระชนม์อย่างกระทันหันเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๔๖๓(๓๐) หลังจากนั้นรัชกาลที่ ๖ จึงทรงสถาปนาลูกชายเจ้าฟ้าจักรพงษ์ซึ่งเดิมเป็นเพียงหม่อมเจ้า ให้เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ปีเดียวกัน (ประเด็นนี้เป็นปัญหาในหมู่เจ้า ดังจะได้เห็นต่อไป ความจริง คาดกันว่าจะ ทรงสถาปนาให้เป็นเพียง พระวรวงศ์เธอ ไม่ใช่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ)(๓๑)

อีกไม่กี่เดือนต่อมา ในวันที่ ๘ พฤศจิกายน รัชกาลที่ ๖ ทรงประกาศหมั้นกับ ม.จ.หญิง วัลลภาเทวี แต่เพียง ๔ เดือนต่อมา ก็ทรงประกาศยกเลิกหมั้น เดือนกันยายน ๒๔๖๔ ทรงประกาศหมั้นกับ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ (เพิ่งสถาปนาจากหม่อมเจ้า ในเดือนเมษายน) แต่ปีถัดมา ก็ทรงแยกกันอยู่ เดือนตุลาคม ๒๔๖๔ ตั้งคุณเปรื่อง สุจริตกุล เป็นพระสุจริตสุดา เดือนมกราคม ๒๔๖๔ (ปฏิทินเก่า) ตั้งคุณประไพ น้องคุณเปรื่อง เป็นพระอินทรามณี ปีต่อมา สถาปนาพระอินทรามณีเป็น “พระวรชายา” และต่อมาก็ยกเป็น “พระบรมราชินี” อย่างไรก็ตาม ในเดือนกันยายน ๒๔๖๘ ได้เปลี่ยนให้เป็น “พระวรราชายา” เท่านั้น เดือนตุลาคม ๒๔๖๘ สถาปนาเจ้าจอมสุวัทนา เป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี(๓๒) แต่ในที่สุด ดังที่ทราบกันดี แม้จะทรง “มี (เปลี่ยน) เมียหลายคน” ภายในเวลาสั้นๆดังกล่าว ความพยายามจะมีพระโอรสก็ล้มเหลว พระนางเจ้าสุวัทนาให้กำเนิดพระธิดาก่อนรัชกาลที่ ๖ สวรรคตเพียง ๒ วัน

ก่อนหน้านั้น ในเดือนกรกฎาคม ๒๔๖๖ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก น้องชายร่วมมารดาองค์ที่ ๓ สิ้นพระชนม์ และในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๖๗ (ปฏิทินเก่า) เจ้าฟ้าอัษฎางเดชาวุธ น้องชายร่วมมารดาองค์ที่ ๒ สิ้นพระชนม์ เกี่ยวกับกรณีหลังนี้ มีหลักฐานแน่ชัดว่า รัชกาลที่ ๖ ทรงถือว่าหลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ เจ้าฟ้าอัษฎางค์คือรัชทายาทองค์ต่อไป นั่นคือ ทรง “ข้าม” พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ตามที่ทรงประกาศและทำการตกลงไว้กับเจ้าฟ้าจักรพงษ์ในปี ๒๔๕๓ จริงๆ หลักฐานดังกล่าวคือ จดหมายถึงพระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ ไกรฤกษ์ ต่อมาคือเจ้าพระยามหิธร) ราชเลขาธิการ ๑ เดือนเศษหลังเจ้าฟ้าจักรพงษ์สิ้นพระชนม์ ดังนี้ (ส่วนที่เน้นของผม)(๓๓)
ท่าวาสุกรี
วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๖๓

ถึง พระยาจักรปาณี

น้องชายเอียด (อัษฎางค์) บัดนี้ตกอยู่ในตำแหน่งรัชทายาทแล้วจำเป็นจักต้องรู้ราชการทั่วๆไปทุกแผนก, และข้าได้บอกกับตัวเธอเองให้ได้ทราบแล้วว่าจะต้องเริ่มศึกษา

เพราะฉะนั้น เจ้าจงไปพบพูดจาหาฤากับตัวเธอให้เป็นที่เข้าใจกันแล้วและจัดหนังสือราชการไปให้ศึกษา ในชั้นต้นให้เธอได้อ่านและทราบหนังสือราชการปะรจำวัน รวมทั้งคำสั่งต่างๆตามที่มี, ทั้งที่เป็นเรื่องธรรมดาและเรื่องพิเศษ ต่อไปเมื่อเธอเอาใจใส่อยากจะทราบเรื่องใดโดยละเอียดพิสดารก็จงจัดการหาหนังสือไปให้อ่าน, และขอมอบให้เจ้าเป็นผู้อธิบายชี้แจงวิธีดำเนินการเพื่อให้เธอเข้าใจแจ่มแจ้งด้วย เมื่อพอชินในทางการตามระเบียบแล้ว จึ่งค่อยเลือกคดีที่เป็นหลักสำคัญของราชการให้อ่านเพื่อทราบไว้, มีสัญญาที่สยามได้ทำไว้กับอังกฤษและฝรั่งเศษ, และเรื่องกำกับตรวจตราข้าวเป็นต้น

การที่ให้เจ้าทำเช่นนี้ย่อมจะเพิ่มภาระส่วนตัวเจ้าขึ้นอีกส่วน ๑ แต่ข้าเชื่อว่าเจ้าคงจะเต็มใจรับใช้ในงานนี้อีกด้วยเช่นในงานอื่นๆ

ราม ร./
เหตุการณ์ต่างๆที่มีนัยยะเกี่ยวกับปัญหารัชทายาทข้างต้น เป็น “เหตุเตือนใจ” ให้รัชกาลที่ ๖ ทรงระลึกถึงความคิดที่จะมีกฎหมายว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์หรือไม่? ทรงกล่าวอย่างเจาะจงว่า “มีเหตุเตือนใจ” เมื่อ “พ.ศ. ๒๔๖๖ ตอนปลายปี” เอกสารชั้นต้นจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับการร่างกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ยังมีเก็บอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ รวมทั้งลายพระราชหัตถเลขาร่างแรกสุดของกฎหมายดังกล่าว ซึ่งรัชกาลที่ ๖ ทรงร่างด้วยพระองค์เอง ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๖๖ หรือปลายปี ๒๔๖๖ ตามปฏิทินเก่า(๓๔) เหตุการณ์ที่บรรยายข้างต้นที่เกิดก่อนวันดังกล่าวแต่ใกล้เคียงที่สุด คือการสิ้นพระชนม์ของเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลกในเดือนกรกฎาคม ๒๔๖๖ (เจ้าฟ้าจุฑาธุชทรงมีพระโอรส ๑ องค์ คือ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ซึ่งไม่ได้เป็นอุภโตสุชาติ) เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทรงหมายถึงเหตุการณ์นี้? ถ้าเรายึดตามคำว่า “ปลายปี” อย่างเคร่งครัด ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะกรกฎาคมตามปฏิทินเก่าเป็นช่วงต้นปี

เท่าที่ผมเคยเห็น มีเหตุการณ์เล็กๆเหตุการณ์หนึ่งที่ใกล้เคียงกับช่วงปลายปี ๒๔๖๖ ที่ทรงร่างกฎหมายมณเฑียรบาล คือ ทรงมีจดหมายส่วนพระองค์ถึงพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ซึ่งกำลังทรงศึกษาอยู่ที่อังกฤษ ลงวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๔๖๖ แนะนำเรื่องการใช้ชีวิตว่า อย่าได้ “ปล่อยตัวให้เผลอละเลิงเหลวไหล”(๓๕) เป็นไปได้หรือไม่ที่การเขียนจดหมายดังกล่าว จะเป็น “เหตุเตือนใจ” ให้ทรงนึกถึงความคิดที่จะมีกฎหมายสืบราชสันตติวงศ์เมื่อ ๑๓ ปีก่อนหน้านั้น เมื่อมีปัญหาความขัดแย้งเรื่องตั้งรัชทายาทกับ “น้องชายเล็ก” พ่อของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์? ในที่นี้ ผมพียงแต่คาดเดา ไม่สามารถยืนยันได้

ร่างกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ของรัชกาลที่ ๖ ถูกส่งไปให้กรรมการร่างกฎหมายพิจารณา กรรมการ (ซึ่งประกอบด้วยคนไทย ๔ คน ชาวต่างประเทศ ๒ คน) ได้เรียกประชุม ๒ ครั้ง ในวันที่ ๓๑ มกราคม และ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๖ ผลการพิจารณา นอกจากปรับปรุงถ้อยคำบางจุดแล้ว ได้เสนอให้เพิ่มเติมข้อกำหนดใน ๔ มาตราเพื่อให้รัดกุมขึ้น(๓๖) ไม่กี่วันต่อมา ร่างที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมของกรรมการถูกนำขึ้นทูลเกล้า รัชกาลที่ ๖ ทรงมีจดหมายลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๖ แสดงความเห็นชอบกับข้อเสนอของกรรมการ และสั่งให้กรรมการแปลร่างเป็นภาษาอังกฤษ “เพื่อจะได้ประกาศกฎมณเฑียรบาลนั้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๗” ผมไม่ทราบว่าเหตุใดจึงทรงกำหนดเวลาประกาศหลังจากนั้นนานถึง ๙ เดือน (แต่ไม่คิดว่าเป็นปัญหาความยากในการแปลเป็นภาษาอังกฤษ) ในที่สุด กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ก็ถูกประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๖๗

ประเด็นที่ต้องพิจารณาในที่นี้คือ ข้อกำหนดของกฎมณเฑียรบาลเรื่องผู้ถูกยกเว้นจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ มาตรา ๑๑ (๔) “มีพระชายาเป็นนางต่างด้าว กล่าวคือ นางที่มีสัญชาติเดิมเป็นชาวประเทศอื่นนอกจากชาวไทยโดยแท้” ถือว่าครอบคลุมถึงกรณีเจ้าฟ้าจักรพงษ์หรือไม่ และที่ต่อเนื่องกันคือ มาตรา ๑๒ “ท่านพระองค์ใดตกอยู่ในเกณฑ์มีลักษณะบกพร่องดังกล่าวมาแล้วในมาตรา ๑๑ แห่งกฎมณเฑียรบาลนี้ไซร้ ท่านว่าพระโอรสอีกทั้งบรรดาเชื้อสายโดยตรงของท่านพระองค์นั้น ก็ให้ยกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ด้วยทั้งสิ้น” จะครอบคลุมถึงพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์หรือไม่

ดังที่เราได้เห็นตอนต้นว่า สุพจน์ ด่านตระกูล เสนอว่า กฎมณเฑียรบาลออกหลังจากเจ้าฟ้าจักรพงษ์ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท และหลังจากหม่อมคัทรินได้รับการรับรองเป็นสะใภ้หลวง มาตรา ๑๑ (๔) จึงไม่มีผลบังคับต่อเจ้าฟ้าจักรพงษ์ แต่สุพจน์เองไม่ทราบเรื่องข้อตกลงระหว่างรัชกาลที่ ๖ กับ “น้องชายเล็ก” ที่ให้ยกเว้นพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์จากลำดับการสืบสันตติวงศ์ ดังนั้น หากสมมุติว่าสุพจน์พูดถูกว่า มาตรา ๑๑ (๔) ไม่ครอบคลุมถึงเจ้าฟ้าจักรพงษ์ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ก็ยังควรต้องถูกถือว่า ได้รับการห้ามโดยข้อตกลงนั้น คือเข้าข่ายตามมาตรา ๑๑ (๖) “เป็นผู้ที่ได้ถูกประกาศยกเว้นออกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์” อยู่นั่นเอง (ขอให้นึกถึงการที่รัชกาลที่ ๖ ทรง “ข้าม” พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ไปที่เจ้าฟ้าอัษฎางค์ดังกล่าวข้างต้นด้วย)

แต่ผมเชื่อว่า สุพจน์พูดผิดในกรณีมาตรา ๑๑ (๔) ด้วย หลักการเรื่องกฎหมายไม่สามารถเอาผิดย้อนหลังนั้น หมายถึงกรณีที่การกระทำใด ไม่มีกฎหมายระบุว่าเป็นความผิดในขณะกระทำ จะใช้กฎหมายซึ่งออกภายหลังที่กำหนดให้การกระทำนั้นผิด มาบังคับเอาผิดย้อนหลังไม่ได้ ซึ่งในกรณีนี้ ผมเชื่อว่าไม่ใช่ เพราะไม่ใช่เรื่องการกระทำผิด แต่เป็นเรื่องการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์หรือไม่มีสิทธิ์เป็นกษัตริย์ ยิ่งกว่านั้น การที่เจ้าฟ้าจักรพงษ์ทรงสิ้นพระชนม์ไปแล้ว สถานะความเป็นองค์รัชทายาทย่อมหมดไปด้วย มาตรา ๑๑ (๔) จึงควรครอบคลุมพระองค์ได้ (หากยังมีพระชนม์ชีพและยังเป็นรัชทายาทอยู่ ปัญหาบังคับย้อนหลังอาจเกิดขึ้นได้) ผมเห็นว่า ในการร่างกฎมณเฑียรบาลข้อนี้ รัชกาลที่ ๖ เองหรือกรรมการร่างกฎหมายไม่ได้คิดว่าจะบังคับย้อนหลังไม่ได้ (ไม่มีเหตุผลอะไรให้คิด) ต้องไม่ลืมว่า นี่คือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เจตนารมณ์ของกษัตริย์คือกฎหมาย ๑๐ กว่าปีก่อน กษัตริย์อาจจะยอมรับว่าผู้มีเมียเป็นฝรั่งสามารถเป็นรัชทายาทได้ชั่วคราว (ผมสงสัยว่า รัชกาลที่ ๖ หรือเจ้านายคนอื่นๆ จริงจังเพียงใด ที่จะคิดถึงขั้นให้จักรพงษ์เป็นกษัตริย์หากยังมีเมียฝรั่ง) แต่ขณะนี้ (๒๔๖๗) กษัตริย์ทรงเห็นว่า ใครที่มีเมียฝรั่ง ไม่มีสิทธิ์เป็นกษัตริย์ ก็ย่อมถือเป็นกฎหมาย “บังคับ” ได้ แม้แต่กับคนที่ตายไปแล้วและโดยเฉพาะกับลูกหลานของผู้นั้น (เพราะอย่างไรนี่ก็ไม่ใช่การเอาผิดและทำโทษย้อนหลังจริงๆ) ยิ่งในกรณีรัชกาลที่ ๖ ในบริบทของภูมิหลังที่เราเห็นแล้วข้างต้นเรื่องความขัดแย้งกับเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ผมเชื่อว่า เกือบจะแน่นอนว่าทรงร่างมาตรา ๑๑ (๔) โดยตั้งใจให้ครอบคลุมกรณีเจ้าฟ้าจักรพงษ์ และดังนั้นก็ทรงตั้งใจให้มาตรา ๑๒ ครอบคลุมพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ด้วย อันที่จริง เมื่อดูจากภูมิหลังของปัญหานี้ เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ขณะที่รัชกาลที่ ๖ ร่าง ๒ มาตรานี้ น่าจะมีพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (ที่ยังอยู่) และเจ้าฟ้าจักรพงษ์ (ที่สิ้นพระชนม์แล้ว) อยู่ในใจด้วยซ้ำ(๓๗)

การประชุมวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ พินัยกรรมรัชกาลที่ ๖ ให้ประชาธิปกเป็นกษัตริย์
๑ ปีต่อมา รัชกาลที่ ๖ สวรรคต ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ เวลาตีหนึ่ง ๔๕ นาที เวลาประมาณตี ๒ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ได้ประชุมพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาผู้สืบราชบัลลังก์ นี่คือการประชุมที่สุพจน์ ด่านตระกูลอ้างว่ากรมพระนครสวรรค์ผลักดันให้เจ้าฟ้าประชาธิปกขึ้นเป็นรัชกาลที่ ๗ ข้ามพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ แต่ความจริง รายงานการประชุมครั้งสำคัญนี้ ซึ่งยังมีอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ทั้งยังเคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ได้ปฏิเสธเรื่องเล่านี้ ที่สำคัญ ในการประชุมนี้ ได้มีการอ่านพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ ๖ ที่กำหนดให้เจ้าฟ้าประชาธิปกเป็นกษัตริย์ พระราชหัตถเลขานี้ก็เคยถูกตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้วเช่นเดียวกัน

รายงานการประชุม วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ มีข้อความสำคัญ ดังนี้(๓๘)
การประชุมพิเศษ
เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ เวลา ๑.๔๕ ก.ท. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสู่สวรรคต ในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ครั้นเวลาประมาณ ๒.๐๐ ก.ท. พระบรมวงศ์ผู้ใหญ่กับท่านเสนาบดี ประชุมกันในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยตามราชประเพณี มีผู้เข้าประชุมคือ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช,
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต,
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา,
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิสโมสร,
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรณปรีชา,
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิประพันธพงศ์,
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ,
สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์,
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัฒน์วิศิษฎ์,
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทรบุรีนฤนาถ,
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน,
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร,
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร,
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ,
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ,
มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย,
มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาอภัยราชา เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม,
มหาเสวกเอก เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี เสนาบดีกระทรวงวัง,
มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ เสนาบดีกระทรวงคมนาคม, จางวางเอก เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ,
มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ,
นายพลเอก เจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต เสนาบดีกระทรวงกระลาโหม,
มหาเสวกเอก เจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการ,
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต สภาเลขานุการ จดรายงานประชุม

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ผู้เป็นประธานในที่ประชุมรับสั่งว่า บัดนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตลง ได้ทรงแสดงพระราชประสงค์ในเรื่องการข้างหน้าไว้แก่เสนาบดีกระทรวงวัง ซึ่งจะได้แสดงต่อที่ประชุมบัดนี้

เรื่องรัชทายาท เสนาบดีกระทรวงวังอ่านแถลงการณ์และสำเนาพระราชหัตถเลขาใจความว่า มีพระราชประสงค์ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาได้เสด็จเถลิงราชสมบัติสืบต่อจากพระองค์ นอกจากจะทรงมีพระราชโอรสไว้ก็ย่อมพระราชโอรสจะได้รับราชสมบัติ และถ้าเป็นเช่นนั้นก็ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชาทรงสำเร็จราชการระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทรงพระเยาว์.

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชรับสั่งว่า พระราชประสงค์ข้อนี้ ก็แจ่มแจ้งดูไม่มีปัญหาอะไรที่จะสงสัย : จึงผู้เป็นประธานรับสั่งถามความเห็นที่ประชุมว่า จะรับรองปฏิบัติตามพระราชประสงค์หรือไม่

เสนาบดีมหาดไทยว่า ไม่มีข้อขัดข้องอันใด ควรรับรอง.

ผู้เป็นประธานรับสั่งขอให้ที่ประชุมใคร่ครวญดูให้ดีอีกครั้งว่าอย่างใดจะเป็นทางดีทางเจริญสำหรับบ้านเมืองที่สุด ถ้าท่านผู้ใดไม่เต็มใจ ก็จะไม่ทรงรับราชสมบัติ แต่ถ้าไม่มีใครไม่เต็มใจก็เป็นอันต้องทรงน้อมตามความเห็นของที่ประชุมรับรัชทายาท.

ท่านเสนาบดี (ขุนนาง) ได้ลงนั่งกราบถวายบังคม ๓ ครั้งพร้อมกัน.
เป็นอันยุติปัญหาข้อนี้.

เรื่องการพระบรมศพ ...........................................

เลิกประชุมเวลา ๒ ก.ท. ล่วงแล้ว
รายงานการประชุมนี้แสดงให้เห็นว่าการเล่าเรื่องการประชุมวันสวรรคตของสุพจน์ ด่านตระกูล ที่ผมอ้างถึงตอนต้นบทความนี้ คลาดเคลื่อนในแง่ข้อเท็จจริงระดับรองจำนวนหนึ่ง เช่น ประธานที่ประชุม (คือเจ้าฟ้าประชาธิปก ไม่ใช่กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช) หรือตำแหน่งของกรมหลวงนครสวรรค์ขณะนั้น (ซึ่งไม่ใช่เป็นทั้งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย)(๓๙) แต่ที่สำคัญคือ ไม่มีข้อความที่แสดงว่าเจ้าฟ้าประชาธิปกได้ขึ้นครองราชย์เพราะบทบาทผลักดันของกรมหลวงนครสวรรค์ ถึงขั้นที่ฝ่ายหลังได้ลงนั่งกราบฝ่ายแรกขอให้รับเป็นกษัตริย์ แต่เพราะรัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระราชหัตถเลขาสั่งไว้ อย่างไรก็ตาม “ตำนาน” เรื่องนครสวรรค์ลงนั่งกราบให้ประชาธิปกรับเป็นกษัตริย์นี้ มีความเป็นมาที่น่าสนใจ ผมจะกลับมาเรื่องนี้ข้างล่าง

พระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ ๖ ซึ่งเสนาบดีกระทรวงวังอ่านให้ที่ประชุมฟัง อยู่ในรูปของบันทึก (entry) ใน “สมุดจดหมายเหตุรายวัน” ในทางปฏิบัติก็คือพระราชพินัยกรรมนั่นเอง(๔๐) มีข้อความดังนี้
หนังสือสั่งเสนาบดีวัง
เรื่องสืบสันตติวงศ์แลตั้งพระอัฐิ
(ดูรายวันน่า ๑๖๑)
ฃ้าพเจ้ามาล้มเจ็บลงคราวนี้ รู้สึกอำนาจแห่งวัยธรรม, ไม่ควรประมาท,มีกิจการบางอย่างที่ฃ้าพเจ้าเป็นห่วง, จึ่งอยากจะสั่งไว้เสียให้รู้สึกโล่งใจ,จึ่งฃอสั่งเสนาบดีกระทรวงวัง ดังต่อไปนี้ :-

ฃ้อ ๑ ถ้าถึงเวลาที่ฃ้าพเจ้าล่วงลับไป, แม้ฃ้าพเจ้าไม่มีบุตร์ชาย,ฃ้าพเจ้าฃอมอบให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนสุโขทัยธรรมราชาสืบสันตติวงศ์, ให้ฃ้ามหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนเพชรบูรณอินทราไชยนั้นเสียเถิด, เพราะ หม่อมเจ้า วรานนท์ธวัชมีมารดาที่ไม่มีชาติสกุลอย่างใด. เกรงจะไม่เปนที่เคารพแห่งพระบรมวงศานุวงศ์, ฃ้าราชการ,และอาณาประชาชน

ฃ้อ ๒ ถ้าเมื่อฃ้าพเจ้าสิ้นชีวิตไป สุวัทนายังมีครรภ์อยู่, ฃอให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนสุโขทัยธรรมราชาเปนผู้สำเร็จราชการไปก่อน จนกว่าลูกฃ้าพเจ้าจะประสูติ. ถ้าประสูติเปนหญิง ก็ให้เปนไปตามฃ้อ ๑ ถ้าประสูติเปนชาย ก็ให้เปนไปตามข้อ ๓ ข้างล่างนี้

ฃ้อ ๓ ถ้าเมื่อฃ้าพเจ้าสิ้นชีวิตไป มีลูกชายอยู่ แต่อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์, ฃ้าพเจ้าฃองแสดงความปราร์ถนาว่า ให้เลือกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนสุโขทัยธรรมราชา เปนผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามกฎมณเฑียรบาล

(นี่เป็นคำสั่ง (ห้าม) อีกชั้น ๑ .- ถ้าเสนาบดีจะคิดเลือกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเปนผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์, ให้เสนาบดีกระทรวงวังคัดค้านด้วยประการทั้งปวงจนสุดกำลัง, เพราะฃ้าพเจ้าได้สังเกตเห็นมาว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ไม่มีศาสนา, ไม่มีศีล, ไม่มีธรรม, วัน ๑ อาจพูดอย่างหนึ่ง, อีกวันหนึ่งอาจกลับกลอกเสียก็ได้, และฃ้าพเจ้าจะไม่ลืมเลย ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ลิเอาราชอาณาเฃตต์ฃองพระราชวงศ์จักรีไปฃายฝรั่งเสีย ๓-๔ คราวแล้ว. ถ้าให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้เปนผู้สำเร็จราชการ ลูกฃ้าพเจ้าอาจไม่มีแผ่นดินอยู่ก็ได้

ฃ้อ ๔ ต่อไปภายหน้า คงจะมีเหตุเรื่องตั้งพระบรมอัฐิ, คือจะเอาองค์ใดฃึ้นมาตั้งคู่กับฃ้าพเจ้า ฃ้าพเจ้าขอสั่งเด็ดขาดไว้เสียแต่บัดนี้ ห้ามมิให้เอาพระอัฐิ............ขึ้นมาตั้งเคียงข้าพเจ้าเป็นอันขาด เพราะตั้งแต่ได้มาเป็นเมียข้าพเจ้า ก็ได้มาบำรุงบำเรอน้ำใจข้าพเจ้าเพียง ๑ เดือนเท่านั้น ต่อแต่นี้มาหาแต่ความร้อนใจหรือรำคาญมาสู่ข้าพเจ้า อยู่เนืองนิตย์ ถ้าจะเอาผู้ใดตั้งคู่กับข้าพเจ้า ก็น่าจะตั้งอัฐิสุวัทนา ซึ่งถ้าเขามีลูกชายแล้วก็ไม่เป็นปัญหาเลย

คำสั่งนี้มอบไว้แก่เสนาบดีกระทรวงวังในตำแหน่ง ฉนั้นถ้าเสนาบดีกระทรวงวังจำเป็นต้องย้ายตำแหน่งหรือถึงอสัญกรรม ก็ให้มอบคำสั่งนี้ให้แก่เสนาบดีใหม่ ควรให้รู้กัน ๒ คนว่าเก็บไว้ที่ไหน เพื่อเสนาบดีเกิดมีเหตุฉุกละหุกขึ้น ผู้ที่รุ้อีกคน๑ จะได้มอบคำสั่งนี้แก่คนใหม่

พระราชวังพญาไท
วันที่ ๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘
ราม วชิราวุธ ปร. (๔๑)
พระราชหัตถเลขานี้มีขึ้นในวันที่ ๘ กันยายน ๒๔๖๘ ดังที่ทราบกันดีว่า ๒ เดือนเศษต่อมา พระนางเจ้าสุวัทนาทรงให้ประสูติพระธิดา (วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน คือ ๒ วันก่อนสวรรคต) ดังนั้น ข้อ ๒ และ ๓ จึงตกไปโดยปริยาย เหลือเพียงข้อ ๑ ซึ่งสั่งไว้ชัดเจนให้ประชาธิปกเป็นกษัตริย์ โดยข้ามวรานนท์ธวัช ซึ่งตามกฎมณเฑียรบาลต้องอยู่ในลำดับที่จะเป็นกษัตริย์ก่อนประชาธิปก เพราะเป็นลูกของพี่ชายของประชาธิปกคือเพชรบูรณอินทราไชย (เจ้าฟ้าจุฑาธุช) ในพระราชหัตถเลขานี้ไม่เอ่ยถึงจุลจักรพงศ์เลย ผมคิดว่า ไม่มีปัญหาว่า เป็นเพราะรัชกาลที่ ๖ ทรงถือว่าจุลจักรพงษ์ได้ถูกยกเว้นไปแล้วตามกฎมณเฑียรบาล มาตรา ๑๑ (๔) และ ๑๒ (ถ้ามิใช่ตั้งแต่เมื่อทรงทำข้อตกลงกับ “น้องชายเล็ก” ตอนต้นรัชกาล)(๔๒)


เรื่องเล่าเกี่ยวกับนครสวรรค์ลงนั่งกราบประชาธิปก
จะเห็นว่าลำพังหลักฐานร่วมสมัยที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการประชุมเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ตอนตี ๒ ของวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ คือ รายงานการประชุมที่จดโดยพระองค์เจ้าธานีนิวัตข้างต้น ไม่ได้แสดงให้เห็นอะไรมากไปกว่า : มีการอ่านพินัยกรรมของรัชกาลที่ ๖ ซึ่งกำหนดให้เจ้าฟ้าประชาธิปกเป็นกษัตริย์องค์ต่อจากพระองค์, เจ้าฟ้าประชาธิปกทรงถามที่ประชุมว่าเห็นชอบตามพินัยกรรมหรือไม่, กรมพระยาภาณุพันธ์และเจ้าพระยายมราช (เสนาบดีมหาดไทย) กล่าวว่า ไม่มีปัญหาอะไร ควรรับรองตามพินัยกรรม, เจ้าฟ้าประชาธิปกขอให้ที่ประชุมใคร่ครวญอีก ว่าหากมีผู้ใดไม่เห็นด้วยก็จะไม่ทรงรับ แต่ถ้าไม่มีก็เป็นอันต้องรับเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป, ถึงจุดนี้ พระองค์เจ้าธานีทรงบันทึกว่า “ท่านเสนาบดี (ขุนนาง) ได้ลงนั่งกราบถวายบังคม ๓ ครั้งพร้อมกัน. เป็นอันยุติปัญหาข้อนี้” ขอให้สังเกตว่า ทรงเจาะจงบันทึกในวงเล็บว่า “ขุนนาง” ซึ่งน่าจะหมายความว่าเฉพาะเสนาบดีที่เป็นขุนนางเท่านั้น (๘ คน) ที่ “ลงนั่งกราบถวายบังคม ๓ ครั้งพร้อมกัน” แต่เสนาบดีที่เป็นเจ้า (๒ พระองค์) และเจ้าองค์อื่นๆที่ไม่ได้เป็นเสนาบดี (๑๔ พระองค์) ไม่ได้ลงนั่งกราบแต่อย่างใด

หลังจากเหตุการณ์คืนนั้นกว่า ๒๐ ปี (อันที่จริงคือระหว่าง ๒๓ ถึง ๔๔ ปี) ผู้อยู่ในเหตุการณ์บางคนหรือผู้ใกล้ชิดผู้อยู่ในเหตุการณ์บางคน ได้เล่า “ความทรงจำ” ของตนเองหรือของผู้อยู่ในเหตุการณ์ที่ตนใกล้ชิดต่อสาธารณะ เนื่องจากเรื่องที่เล่ามี “สีสัน” มากกว่ารายงานการประชุม (ซึ่งอย่างไรเสียก็เพิ่งได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณะในวงแคบๆครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๒๔ เท่านั้น) ทำให้ “เรื่องเล่า” กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนยึดถือกันมากกว่า ผมไม่ได้กำลังยืนยันว่า “เรื่องเล่า” ต้องไม่จริงเสมอไปเมื่อเปรียบเทียบกับ “รายงานการประชุม” เพราะ “รายงานการประชุม” เองก็เป็นงานเขียนอย่างหนึ่ง “ผู้เขียน” รายงานการประชุมสามารถเลือกที่จะบันทึกหรือไม่บันทึกบางด้านของเหตุการณ์ (การประชุม) ทั้งโดยจงใจและไม่จงใจได้เช่นกัน แต่โดยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่า โอกาสที่หลักฐานประเภทรายงานการประชุมจะบันทึกสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นเลย มีน้อยกว่า “ความทรงจำ” (โดยเปรียบเทียบ)

คนแรกที่เล่า “ความทรงจำ” เรื่องการประชุมคืนวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ คือ ม.จ.หญิงประสงค์สม บริพัตร พระชายาเจ้าฟ้าบริพัตร ในบันทึกที่ทำขึ้นในปี ๒๔๙๑ แต่ตีพิมพ์ในปี ๒๔๙๙ ทรงเขียนว่า(๔๓)
วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯสวรรคต ทางราชการเรียกประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดี เพื่อปรึกษาราชการแผ่นดิน มีสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุพันธ์ฯเป็นประธาน ที่ประชุมตกลงถวายราชสมบัติแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสุโขทัยธรรมราชาเป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบสันตติวงศ์ต่อไป เมื่อเป็นที่ตกลงกันแล้ว ทูนหม่อมได้เสด็จลงจากเก้าอี้ ประทับคุกเข่าลงถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ๓ ครั้ง และกราบบังคมทูลว่า จะทรงใช้สอยในราชการสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็จะฉลองพระเดชพระคุณในราชการสิ่งนั้นทุกอย่าง แต่ขอพระราชทานเลิกคิด “ขบถ” เสียที เพราะได้รับหน้าที่นี้มา ๑๕ ปีแล้ว เบื่อเต็มที พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ทรงพระสรวล มีพระราชดำรัสว่า อนุญาตให้เลิกได้ ทั้งนี้คงเคยทรงได้ยินข่าวที่คนชอบลือว่า ทูนหม่อมทรงคิดขบถอยู่ร่ำไปในรัชกาลที่ ๖
เราได้แต่สันนิษฐานว่า เรื่องที่เล่านี้ ม.จ.หญิงประสงค์สม ทรงรับฟังมาจากพระสามีโดยตรง แต่ก็ยืนยันเด็ดขาดไม่ได้ เพราะอาจจะทรงฟังจากผู้อื่นที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับพระสามีก็ได้ ทรงถ่ายทอดตรงกับที่ได้รับฟังมาหรือไม่ ก็ไม่อาจยืนยันได้ ขอให้สังเกตว่า ตามการเล่านี้ เจ้าฟ้าบริพัตรทรงลุกจากเก้าอี้ คุกเข่ากราบเจ้าฟ้าประชาธิปก “เมื่อเป็นที่ตกลงกันแล้ว” นั่นคือ หลังจากที่ประชุมตกลงให้เจ้าฟ้าประชาธิปกเป็นกษัตริย์แล้ว ไม่ใช่คุกเข่ากราบก่อนเพื่อขอให้เป็น และประธานที่ประชุมก็ได้แก่เจ้าฟ้าภาณุพันธ์ ไม่ใช่เจ้าฟ้าประชาธิปกเองตามรายงานประชุม (อย่างน้อยในประเด็นสุดท้ายนี้ รายงานการประชุมน่าจะถูกต้องมากกว่า)

ในปี ๒๔๙๙ นั้นเอง หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (วิสุทธิ์ ไกรฤกษ์) ได้ตีพิมพ์ชีวประวัติเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) ผู้เป็นพ่อ ซึ่งเป็นราชเลขาธิการในวันสวรรคตรัชกาลที่ ๖ และได้เข้าร่วมประชุมวันนั้นด้วย (ดูรายงานการประชุมข้างต้น) หลวงจักรปาณีเขียนในตอนหนึ่งว่า(๔๔)
ในเดือนธันวาคม [sic] ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงมีพระกรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ แกเจ้าพระยามหิธรและครอบครัว ได้เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนม์มายุเกือบจะครบ ๔๘ พรรษา ยังความวิปโยคอันยิ่งใหญ่มาสู่ท่านและครอบครัว เจ้าพระยามหิธรได้เฝ้าดูพระอาการอยู่จนถึงวาระสุดท้ายและเล่าว่า เมื่อเสด็จสวรรคตและมีการถวายบังคมพระบรมศพตามราชประเพณีแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตซึ่งเป็นเจ้านายที่มีอาวุโสที่สุดในเวลานั้น ได้จูงพระกรและกอดพระสอเจ้าฟ้าประชาธิปกกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ออกทรงพระราชดำเนินกลับไป กลับมาหลายเที่ยวเพื่อตรัสซ้อมความเข้าใจกันบางประการ ครั้นแล้วกรมพระนครสวรรค์ก็ทรุดพระองค์ลงกราบพระบาทกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ถวายราชสมบัติ เจ้านายและข้าราชการซึ่งอยู่ที่นั่นก็พากันกราบถวายบังคมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่โดยพร้อมเพรียงกัน
เช่นเดียวกับการเล่าของ มจ.หญิงประสงค์สม การเล่าของหลวงจักรปาณีเป็นการถ่ายทอดความทรงจำของผู้อื่น (น่าจะของเจ้าพระยามหิธร) อีกต่อหนึ่ง ข้อเท็จจริงระดับรองบางอย่างเรารู้แน่ว่าคลาดเคลื่อน (เจ้านายอาวุโสที่สุดในคืนนั้นคือเจ้าฟ้าภาณุพันธ์ไม่ใช่กรมหลวงนครสวรรค์) ในส่วนที่เกี่ยวกับการ “ทรุดลงกราบ” นั้น ในเรื่องเล่านี้ เกิดขึ้นก่อนในเรื่องเล่าของ ม.จ.หญิงประสงค์สม และดูราวกับว่า เป็นการที่กรมหลวงนครสวรรค์ “ถวายราชสมบัติ” ให้เจ้าฟ้าประชาธิปกจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากในเรื่องเล่าของหลวงจักรปาณีนี้ ไม่มีการเอ่ยถึงพินัยกรรมรัชกาลที่ ๖ ที่ให้เจ้าฟ้าประชาธิปกเป็นกษัตริย์เลย ซึ่งต้องนับว่าเป็นการตกหล่นคลาดเคลื่อนที่สำคัญมาก (เรื่องเล่าของ ม.จ.หญิงประสงค์สม อย่างน้อย ยังให้การ “คุกเข่ากราบ” เกิดขึ้นหลังจาก “ตกลงกันแล้ว” ให้ประชาธิปกเป็นกษัตริย์ และการ “คุกเข่ากราบ” ก็เกี่ยวกับข่าวลือขบถของกรหลวงนครสวรรค์ในอดีต มากกว่าการตกลงว่าใครควรเป็นกษัตริย์) อาจกล่าวได้ว่า เรื่องเล่าในฉบับ (version) ของหลวงจักรปาณี-เจ้าพระยามหิธร นี้ คือต้นแบบสำคัญที่สุดของเรื่องเล่าทำนอง “นครสวรรค์ลงนั่งกราบขอให้ประชาธิปกรับเป็นกษัตริย์” ที่สุพจน์ ด่านตระกูล และนักเขียนสารคดีการเมืองหลายคนนำมาเล่าต่อ

อีกกว่า ๑๐ ปีต่อมา (หรือกว่า ๔๐ ปีหลังเหตุการณ์จริง) พระองค์เจ้าธานีผู้ทรงจดรายงานการประชุมคืนสวรรคตรัชกาลที่ ๖ เอง ได้ทรงเล่าเหตุการณ์คืนนั้น (ทรงเรียกพระองค์เองว่า “พ่อ” ในที่นี้) ดังนี้(๔๕)
การสืบราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เสด็จสวรรคตในกลางดึกวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ ขณะนั้นเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ประทับฟังพระอาการอยู่พร้อมเพรียงในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ทรงเป็นประมุขพระบรมราชวงศ์ ทรงเรียกประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศ์บรรดาทีประทับอยู่ในพระที่นั่ง มีพระดำรัสว่า บัดนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตไปแล้ว จึ่งจะขอปรึกษาที่ประชุมในเรื่องการสืบราชสมบัติ ตรัสให้เสนาบดีกระทรวงวังผู้รักษาพระราชพินัยกรรม เชิญพระราชพินัยกรรมนั้นขึ้นอ่านในที่ประชุม ความว่า การสืบราชสมบัตินั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า มีพระราชประสงค์ว่า ถ้าพระราชกุมารในพระครรภ์พระนางเจ้าสุวัทนาประสูติออกมาเป็นพระราชโอรสก็ใคร่จะให้ได้ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แต่ถ้าเป็นพระราชธิดาก็ใคร่ให้ราชสมบัติตกอยู่แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระราชชนนี ซึ่งมีเหลืออยู่พระองค์เดียวตามนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลฉบับสุดท้ายในเวลานั้น เจ้านายพระบรมวงศ์ทรงแสดงพระดำริเห็นชอบด้วยดุษณีภาพ แต่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาทรงขัดข้อง ด้วยพระองค์อ่อนพระชนมายุและอ่อนความเคยชินกับราชการ ขอถอนพระองค์เพื่อเจ้านายที่ทรงมีพระชันษามากกว่า สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิตทรงแถลงว่า เป็นการสมควรยิ่งที่ราชสมบัติจะตกแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาตามพระราชประสงค์ของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ก่อน ส่วนที่ทรงหนักพระทัยว่าขาดความรู้ความเคยชินแก่ราชการนั้น เจ้านายทุกพระองค์พร้อมที่จะช่วยประคับประคองให้ทรงครองแผ่นดินราบรื่นตลอดไป ขณะนี้ท่านเสนาบดีนอกจากที่เป็นพระบรมวงศ์คือ เสนาบดีกระทรวงพระคลัง การต่างประเทศ มหาดไทย ยุติธรรม คมนาคม วัง เกษตราธิการ ศึกษาธิการ มุรธาธร ก็ลงจากเก้าอี้ถวายบังคมตามราชประเพณีแด่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา พ่อคนเดียวในที่ประชุมนั้นไม่ต้องแสดงกิริยาอย่างใดเพราะเป็นเพียงเลขาธิการของที่ประชุม กับมีสมุหราชองครักษ์ (เจ้าพระยารามราฆพ) ยืนอยู่ห่างๆมิได้มีส่วนในการประชุม
มองอย่างผิวเผิน เรื่องเล่าของพระองค์เจ้าธานีมีลักษณะคล้ายกับเรื่องเล่าของ มจ.ประสงค์สม หรือหลวงจักรปาณี แต่หากอ่านโดยละเอียด จะพบว่า ความจริง เนื้อหาเรื่องเล่านี้ใกล้เคียงและสอดคล้องกับรายงานการประชุมที่พระองค์เองทรงจดเมื่อกว่า ๔๐ ปีก่อนหน้านั้นไม่น้อย ที่สำคัญคือการพูดถึงพินัยกรรมของรัชกาลที่ ๖ ที่ให้เจ้าฟ้าประชาธิปกเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป และการยืนยันว่า ผู้ที่ “ลงจากเก้าอี้ถวายบังคม” มีเฉพาะ “เสนาบดีนอกจากที่เป็นพระบรมวงศ์” ซึ่งแน่นอนว่า ไม่รวมกรมหลวงนครสวรรค์ อย่างไรก็ตาม นอกจากเรื่องประธานที่ประชุมซึ่งไม่ตรงกับรายงานแล้ว พระองค์เจ้าธานียังได้ทรงเพิ่ม “รายละเอียด” หรือ “สีสัน” สำคัญ ๒ ประการที่มากกว่าที่ทรงจดในรายงานประชุม คือ ลักษณะลังเลพระทัยของเจ้าฟ้าประชาธิปกที่แสดงออกมากกว่าในรายงานประชุม (ในรายงานประชุมมีบ้างไม่มาก) และบทบาทของกรมหลวงนครสวรรค์ในฐานะเป็นผู้พูดสนับสนับให้เอาชนะความลังเลพระทัยนั้น (ซึ่งในรายงานการประชุมไม่มีเลย) ๒ ประเด็นนี้มีส่วนเสริมให้เกิด “ตำนาน” เรื่อง “นครสวรรค์ลงนั่งกราบให้ประชาธิปกรับเป็นกษัตริย์” แม้ว่าเรื่องเล่าของพระองค์เจ้าธานีเอง จะไม่ตรงกับ “ตำนาน” ดังกล่าว

จะเห็นว่าเรื่องเล่าทั้ง ๓ ฉบับ (versions) ดังกล่าว มีส่วนไม่ตรงหรือกระทั่งขัดแย้งกันเอง ไม่นับที่ไม่ตรงหรือขัดแย้งกับรายงานการประชุม ตัวอย่างที่น่าสนใจของการ “แก้ปัญหา” นี้ของนักเขียนสารคดีการเมืองบางคน คือกรณี “นายหนหวย” ซึ่งใช้วิธีนำเอาทั้งรายงานการประชุมและเรื่องเล่าใน versions ต่างๆมา “ตัดต่อ” รวมกัน แล้วใส่คำพูดที่เขาเขียนเองเพิ่มเติมเข้าไป! (๔๖)

อันที่จริง เรื่องนครสวรรค์กราบประชาธิปกในคืนสวรรคตนี้ ยังมีอีก version หนึ่ง ซึ่งแม้จะเขียนก่อนเรื่องเล่าอื่นๆที่เพิ่งยกมาทั้งหมด คือเขียนเมื่อพ.ศ. ๒๔๘๖ แต่เพิ่งได้รับการเผยแพร่ไม่นานมานี้ (๒๕๔๒-๔๓) จึงไม่มีผลต่อการเล่าเรื่องของสุพจน์หรือของนักเขียนสารคดีการเมืองเกี่ยวกับรัชกาลที่ ๗ ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเล่าไว้ใน สิ่งที่ข้าพเจ้าได้พบเห็น ว่า(๔๗)
ฉนั้น ในเวลาที่กำลังใจคนยุ่งอยู่นี้, ทูลกระหม่อมบริพัตรฯผู้ซึ่งมีคนนับถือมากอยู่ในเวลานั้น (เพราะกำลังเกลียดในหลวง ร.๖) ทั้งทรงเป็นพี่ผู้ใหญ่ที่ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯทรงนับถือเองด้วย, ก็เชิญเสด็จทูลกระหม่อมประชาธิปกฯไปที่มุมพระที่นั่งอมรินทร์ฯทางหนึ่ง แล้วตรัสถามตรงๆว่า – “จะให้.......มีอำนาจเพียงไร?” ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯตอบว่า – “ไม่ได้คิดว่าจะให้มีอำนาจ, หรือให้เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างไรเลย!” ทูลกระหม่อมบริพัตรฯตรัสย้ำว่า “แน่หรือ?” ทูลกระหม่อมประชาธิปกฯตรัสรับว่า – “แน่!” ทูลกระหม่อมบริพัตรฯก็ทูลว่า – “ถ้าเช่นนั้นก็ยอมเป็นข้า!” แล้วก็ทรุดพระองค์ลงหมอบกราบ เป็นอันว่าทั้งสองพระองค์พี่น้องซึ่งแก่กว่ากันถึง ๑๒ ปี ได้เป็นที่ปรองดองกันแล้ว.
ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ผู้เป็นเจ้าของต้นฉบับ สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ได้เซ็นเซอร์พระนามในเรื่องเล่าข้างต้นนี้ แล้วแทนที่ด้วย “.............” ซึ่งผมสงสัยว่า น่าจะหมายถึง กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฎ์ (พระบิดาพระนางเจ้ารำไพพรรณี หรือ “พ่อตา” ของพระปกเกล้า) อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าเรื่องเล่าของ ม.จ.พูนพิศมัย นี้ไม่เกี่ยวกับการที่เจ้าฟ้าประชาธิปกไม่เต็มใจจะรับเป็นกษัตรย์และเจ้าฟ้าบริพัตรต้องถึงกับก้มลงกราบเพื่อขอร้องให้เป็น

ในแง่ที่เกี่ยวกับการวิวาทะเรื่องในหลวงอานันท์ขึ้นครองราชย์ จะเห็นว่า หากเราสมมุติว่าเรื่องเล่าเกี่ยวกับเจ้าฟ้าบริพัตรลงนั่งกราบเจ้าฟ้าประชาธิปกเป็นความจริงตามเรื่องเล่า version ใดก็ตาม ก็ไม่เกี่ยวกับประเด็นการ “ข้าม” พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เลย เพราะพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ไม่เคยอยู่ในการพิจารณาของเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ในขณะนั้นเลย และไม่เคยอยู่ในการพิจารณาของรัชกาลที่ ๖ (พินัยกรรม) เองด้วย


พระปกเกล้ากับพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
สรุปแล้ว โดยบรรทัดฐานทางกฎหมายของสมบูรณาญาสิทธิราช, พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงหมดสิทธิ์เป็นกษัตริย์ตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนจากรัชกาลที่ ๖ เป็นรัชกาลที่ ๗ แล้ว ทั้งนี้ตาม (ก) เจตนารมย์ของรัชกาลที่ ๖ และข้อตกลงระหว่างรัชกาลที่ ๖ กับเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ให้ข้ามจุลจักรพงษ์, (ข) การ “ข้าม” จริงๆ ไปที่เจ้าฟ้าอัษฎางค์ หลังจักรพงษ์สิ้นพระชนม์ (ค) กฎมณเฑียรบาลมาตรา ๑๑ (๔) และมาตรา ๑๒, และ (ง) พระราชพินัยกรรมรัชกาลที่ ๖ ที่ให้เจ้าฟ้าประชาธิปกเป็นกษัตริย์ต่อจากพระองค์ โดยเฉพาะข้อหลังสุด เพราะกษัตริย์ที่ครองราชย์อยู่มีสิทธิที่จะตั้งใครเป็นกษัตริย์องค์ต่อไปก็ได้ และเมื่อประชาธิปกได้ขึ้นครองราชย์แล้ว ในกรณีที่ประชาธิปกไม่มีลูก ตามกฎมณเฑียรบาล มาตรา ๙ (๘) ผู้อยู่ในอันดับแรกที่จะได้ขึ้นครองราชย์ต่อเป็นรัชกาลที่ ๘ ก็ต้องเริ่มนับที่น้องชายร่วมมารดาของประชาธิปก (ถ้ามี) ไม่ใช่ย้อนไปที่พี่ชายร่วมมารดาและลูกของพี่ชายอีก คือไม่ใช่ย้อนไปที่ จักรพงษ์-จุลจักรพงษ์ หรือ จุฑาธุช-วรานนท์ธวัช อีก แม้จะสมมุติว่าย้อนได้ ทั้ง ๒ กรณีก็ยังต้องถือว่าถูกห้ามตามกฎมณเฑียรบาลไปแล้ว กรณีจักรพงษ์-จุลจักรพงษ์ ห้ามตามมาตรา ๑๑ (๔) และ ๑๒ ดังกล่าว กรณีวรานนท์ธวัช ห้ามในพระราชพินัยกรรม ตามมาตรา ๗ วรรคสอง (“อนึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพและพระราชสิทธิที่จะทรงประกาศยกเว้นเจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งออกเสียจากลำดับสืบราชสันตติวงศ์ได้”)

ในหมู่เจ้านายชั้นสูงน่าจะรู้หรือเข้าใจกันในเรื่องพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์หมดสิทธิ์ไปแล้วนี้ดี ใน เกิดวังปารุสก์ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เองทรงอ้างจดหมายจากพระปกเกล้าที่มีถึงพระองค์ฉบับหนึ่งในเดือนมกราคม ๒๔๗๑ (ปฏิทินเก่า) ดังนี้ (ต้นฉบับจดหมายเป็นภาษาอังกฤษ แปลเป็นไทยโดยพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ หรือ “จ.จ.” ในข้อความข้างล่าง)
แกอาจจะอยากทราบว่าความรู้สึกของฉันที่มีต่อแกนั้นเป็นอย่างไร ฉันบอกได้ทันทีว่าความรู้สึกของฉันต่อแกในฐานะญาติ ในฐานะเป็นอาย่อมมีแต่ความรัก และฉันจะพยายามทุกวิธีที่จะให้แกได้รับความเจริญ แต่ยังมีความรู้สึกอีกด้านหนึ่ง คือความรู้สึกที่ฉันมีต่อแกในฐานะที่ฉันเป็นพระเจ้าแผ่นดินและแกเป็นพระราชวงศ์ ฉันจะพูดกับแกตรงๆและหวังว่าแกจะพยายามเข้าใจความคิดของฉัน ฉันรู้สึกสะอิดสะเอียนอย่างยิ่งที่จะต้องเอามาพูด แต่เป็นการจำเป็นและแกก็รู้ตัวอยู่ดี คือแกเป็นครึ่งชาติ และเพราะเหตุนั้นจึงถูกยกเว้นจากการสืบราชสมบัติ คนบางคนเขาว่าการถือเลือดต่างชาติกันนั้นเป็นของเหลวไหลไม่เป็นสาระ แต่ที่จริง ความรู้สึกมันก็ยังมีอยู่ ฉันจึงต้องขอบอกแกว่า ฉันเห็นด้วยสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการที่แกถูกยกเว้น จนถึงกับมีคนเขารู้กันอยู่แล้ว ว่าฉันแคยพูดอย่างเปิดเผยว่า ถ้าแกพยายามคบคิดที่จะขึ้นราชบัลลังก์ไทย ฉันจะยิงแกด้วยมือของฉันเอง เอาสิ ฉันขอบอกย้ำอีกแก่ตัวแกเอง เพราะฉันเห็นว่า (การคบคิดกระทำเช่นนั้น – จ.จ.) จะเป็นของที่ทนไม่ได้ ฉันรู้ดีว่าแกไม่เคยทำผิดอะไร มันเป็นเรื่องความผิดของพ่อมาตกแก่ลูก พ่อแกทำความผิดอย่างใหญ่หลวง และฉันมีความอับอายที่สุด แกอาจจะว่าฉันยกย่องพระเจ้าวรวงศ์เธออื่นๆอย่างดิบดีกว่าแก ฉันรับว่าฉันทำเช่นนั้นเพราะแกถูกยกเว้นจากการสืบราชสมบัติ และฉันจะทำอย่างเดียวกันกับ............. [วรานนท์ธวัช ? – สมศักดิ์] ฉันไม่ต้องการให้แกได้เข้าเฝ้าพระเจ้ายอร์ช (แห่งอังกฤษ – จ.จ.) เพราะแกไม่อยู่ในขอบเขตสืบสันตติวงศ์ ฐานะของแกในเมืองไทยคือ เป็นเจ้านายและเป็นหลานแท้ๆของฉัน แต่ต้องถูกยกเว้นจากได้ขึ้นราชบัลลังก์โดยไม่มีปัญหา เดี๋ยวนี้เราต่างคนต่างรู้ใจกันดีแล้ว ถ้าแกกลืนถ้อยคำของฉันได้ก็จะดีไป.

ฉันเองเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวองค์ก่อน (พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว – จ.จ.) ท่านทำผิด ในการที่ทรงตั้งแกเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ เพราะท่านได้ตั้งพระทัยจะยกเว้นแกมาแต่แรก การเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอมีแต่จะทำให้ฐานะของแกครึ่งๆกลางๆ แต่เดี๋ยวนี้แก้ไขไม่ได้เสียแล้ว(๔๘)
เป็นเรื่องเชิง irony (ผกผันกลับตาลปัตร) อย่างยิ่ง ที่พระปกเกล้าเอง ขณะที่ทรงตระหนักและทรงย้ำเรื่องพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ “ถูกยกเว้นจากการสืบราชสมบัติ” ไปแล้ว กลับทรงแสดงลักษณะหมกมุ่น (obsession) ต่อความเป็นไปได้ที่จุลจักรพงษ์จะเป็นกษัตริย์ ถึงขั้นที่ทรงเป็นผู้หยิบยกขึ้นมาพูดเสียเองอยู่เสมอๆ ทั้งก่อนและหลัง ๒๔๗๕ ผมจะอภิปรายการที่ทรงยกความเป็นไปได้นี้ขึ้นมาพูดกับคณะราษฎร (แม้จะทรงทำในเชิงประชด) ข้างล่าง ในที่นี้ ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นก่อน ๒๔ มิถุนา

พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เล่าว่า ในช่วงใกล้จะมีงานฉลอง ๑๕๐ ปีราชวงศ์จักรี (เมษายน ๒๔๗๕) พระปกเกล้าทรงมีจดหมายถึงพระองค์ฉบับหนึ่ง ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๕ (ปฏิทินเก่า) เล่าถึงวิกฤตทางการเงินร้ายแรงของรัฐบาลขณะนั้น และข่าวลือเรื่องจะมีการปฏิวัติในช่วงที่มีงานฉลอง ดังตอนหนึ่งของจดหมายว่า “หมู่นี้มีข่าวลือถึงการจะฆ่าคนสำคัญกันอยู่เรื่อยๆ แม้เด็กนักเรียนผู้หญิงตามโรงเรียนก็คุยถกกัน ฟังเสียงดูผู้ที่จะถูกฆ่าคือทูลหม่อมชาย [กรมพระนครสวรรค์ – สมศักดิ์] กับกรมกำแพงฯ เพราะว่าเป็นตัวตั้งตัวตีของคณะเจ้า ซึ่งถูกหาว่าเป็นผู้ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ข่าวลือว่าจะฆ่ากันวันนั้นวันนี้ แต่ว่าจะต้องเกิดขึ้นก่อนพิธี ๑๕๐ ปี” พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงเล่าถึงจดหมายรัชกาลที่ ๗ ต่อไปว่า
จากนี้ท่านก็ทรงเป็นห่วงเรื่องที่ข้าพเจ้าอาจจะอยากเป็นพระเจ้าแผ่นดินอีก เป็นของแปลกมาก เพราะข้าพเจ้าไม่เคยอยากเป็นและไม่เคยแสดงความประสงค์เช่นนั้นแก่ผู้ใด แต่เมื่อทูลหม่อมอา แม้ท่านจะทรงมีกังวลอื่นๆที่สำคัญอย่างมากมาย ก็ยังทรงหวนกลับไปนึกถึงเรื่องนี้อยู่เสมอ ทำให้อดนึกไม่ได้ว่าน่าจะต้องมีผู้ใดคอยเพ็ดทูลท่านอยู่เสมอว่าข้าพเจ้าอยากเป็น ถ้ามีจริงดังนั้นข้าพเจ้าเห็นว่าผู้นั้นทำผิด ไปเฝ้ารบกวนท่านในเรื่องเหลวไหล เมื่อท่านทรงมีพระราชภาระอันสำคัญยิ่งอยู่แล้ว ท่านทรงไว้ในลายพระราชหัตถ์ต่อไปว่า

“ฉันต้องยอมรับว่าฉันเกรงกลัวว่าแกอาจจะเป็นเครื่องกีดขวาง เฉพาะอย่างยิ่งถ้าแกมีนิสัยมักใหญ่ใฝ่สูง ในทางที่ไม่สมควรแก่ตัวแก แต่ซึ่งฉันเคยนึกว่าแกอาจจะทำได้ ฉันรู้สึกว่าสายวงศ์ของแกจะนำมาซึ่งความไม่เที่ยงไม่แน่นอน และความยุ่งเหยิงที่จะทำให้พระราชวงศ์ขาดความมั่นคง..........เมื่อคราวแกกลับมากรุงเทพฯ เพราะฉันรับรองแกอย่างดี เลยถึงกับมีคนลือกันว่า ฉันจะตั้งแกเป็นรัชทายาทปีหน้า แกคงจะเดาได้ว่า ใครเป็นผู้นำข่าวลือนี้มาเล่าให้ฉันฟัง.......... ตั้งแต่ฉันได้พบแกคราวที่แล้ว ฉันก็ค่อยสบายใจขึ้น บัดนี้ฉันเชื่อแล้วว่าแกคงจะไม่ยอมปล่อยให้ความมักใหญ่ใฝ่สูงทำให้แกทำการบ้าอะไรที่จะให้เกิดการวิวาทขึ้นในประเทศและภายในพระราชวงศ์............... แต่ฉันหวังว่าแกจะไม่ยอมให้ใครยุแหย่ให้แกเปลี่ยนใจ”

ข้อที่ข้าพเจ้าไม่เคยเข้าใจเลยก็คือ หากว่าข้าพเจ้าบ้าพอที่จะคบคิดชิงราชบัลลังก์จริงๆแล้ว ข้าพเจ้าจะไปหาใครที่ไหนมาช่วยทำการอันสำคัญนั้น(๔๙)

พระองค์เจ้าอานันท์เป็นอันดับแรกต่อจากพระปกเกล้า
หากตัดพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์และพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชออกแล้ว (และในกรณีที่พระปกเกล้าไม่ได้เจาะจงเลือกใครเป็นพิเศษ) ลำดับการสืบราชสันตติวงษ์ต่อจากพระปกเกล้า ตามกฎมณเฑียรบาล มาตรา ๙ (๑๑) ก็ต้องย้ายไปที่ “สมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชาต่างพระชนนี หรือพระโอรสของสมเด็จพระเชษฐาและสมเด็จพระอนุชานั้นๆ” คือย้ายไปตามลำดับยศของพระชนนีของสมเด็จพระเชษฐาหรือสมเด็จพระอนุชานั้น (พูดตามภาษาสามัญคือย้ายไปที่ลูกของเมียรองๆของรัชกาลที่ ๕ เพราะสายลูกเมียหลวง คือ พระมงกุฏเกล้า-จักรพงษ์-จุฑาธุช-ประชาธิปก หมดแล้ว) ซึ่งในลำดับแรกสุดก็คือ เจ้าฟ้ามหิดล เพราะเป็นลูกของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี ในเมื่อเจ้าฟ้ามหิดลสิ้นพระชนม์แล้ว ลำดับถัดไปก็ได้แก่โอรสของพระองค์คือพระองค์เจ้าอานันท์นั่นเอง ในแง่นี้ ต้องยอมรับว่า ฝ่ายนิยมเจ้า (Royalists) พูดถูกว่า พระองค์เจ้าอานันท์เป็นอันดับแรกของการสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระปกเกล้า ตามกฎมณเฑียรบาล แต่การให้เหตุผลโต้แย้งของสุพจน์และปรีดี ก็ยังอาจจะมีส่วนถูกครึ่งหนึ่งได้ เพราะความเป็นจริงก็คือ หลัง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ การเลือกผู้จะขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎมณเฑียรบาลเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น การสนับสนุนของรัฐบาลและปรีดีจึงยังอาจเป็นปัจจัยสำคัญของการขึ้นครองราชย์ของในหลวงอานันท์ก็เป็นได้


การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ กับปัญหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘
กล่าวได้ว่า ตั้งแต่วินาทีแรกของการยึดอำนาจ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ปัญหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญโดยอัตโนมัต เพราะหากพระปกเกล้าไม่ให้ความร่วมมือ ไม่รับเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และในกรณีที่คณะราษฎรยังต้องการให้มีกษัตริย์เป็นประมุขต่อไป ปัญหานี้ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในประกาศคณะราษฎรที่ปรีดีเป็นผู้ร่าง มีข้อความตอนหนึ่งว่า
ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงได้ขออัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมาก็จะได้ชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างแบบประชาธิปไตย กล่าวคือประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกขึ้นอยู่ในตำแหน่งตามกำหนดกาลเวลา
พูดง่ายๆคือ คณะราษฎรประกาศ (ขู่) ว่า ถ้าพระปกเกล้าไม่ให้ความร่วมมือเป็นประมุขในระบอบใหม่ จะเปลี่ยนประมุขของประเทศเป็นประธานาธิบดี แต่ในจดหมายฉบับแรกที่คณะราษฎรมีถึงพระปกเกล้า กลับมีข้อความตอนหนึ่งดังนี้
คณะราษฎรไม่ประสงค์จะแย่งชิงราชสมบัติแต่อย่างใด ความประสงค์อันยิ่งใหญ่ ก็เพื่อจะมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จึงขอเชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทกลับคืนสู่พระนคร ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไป โดยอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ซึ่งคณะราษฎรได้สร้างขึ้น ถ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทตอบปฏิเสธก็ดี หรือไม่ตอบภายใน ๑ ชั่วนาฬิกานับแต่ได้รับหนังสือนี้ก็ดี คณะราษฎรก็จะได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน โดยเลือกเจ้านายพระองค์อื่นที่เห็นสมควรขึ้นเป็นกษัตริย์
เท่าที่ผมทราบ ไม่เคยมีการค้นพบหลักฐานหรือเสนอคำอธิบายอย่างชัดเจนโต้แย้งไม่ได้ว่า ผู้ก่อการเตรียมจะจัดการอย่างไรกันแน่กับปัญหาประมุขของประเทศ หากพระปกเกล้าไม่ยอมร่วมมือจริงๆ จะเปลี่ยนเป็นประธานาธิบดีตามประกาศ หรือจะหาเจ้านายองค์อื่นขึ้นเป็นกษัตริย์แทนตามจดหมาย และจะให้ใครเป็นประธานาธิบดีหรือกษัตริย์ดังกล่าว โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า ทางเลือกเรื่องประธานาธิบดีน่าจะไม่ใช่ทางเลือกที่จริงจังเพราะถ้าดูจากธรรมนูญการปกครองแผ่นดินที่ร่างเตรียมไว้ ยังกำหนดให้มีกษัตริย์ (แต่ถ้าเช่นนั้นทำไมปรีดีจึงเขียนเรื่องประธานาธิบดีในประกาศ โดยไม่เอ่ยถึงทางเลือกเรื่องเจ้านายอื่นเลย ดูเหมือนไม่เคยมีใครอธิบายได้เด็ดขาดเช่นกัน นอกจากพูดกันทำนองว่าเป็นเพียงการขู่ จึงจงใจเขียนให้ดูรุนแรง)

๖ วันหลังการยึดอำนาจ พระยามโน, พระยาพหล และปรีดี ได้เข้าเฝ้าพระปกเกล้า ในการพบเพื่อสนทนากันอย่างจริงจังครั้งแรกนี้ (พระปกเกล้า : “อยากจะสอบถามความบางข้อและบอกความจริงใจ”) ทรงยกปัญหาผู้สืบราชสมบัติแทนพระองค์ขึ้นมาพูดกับผู้นำใหม่ ดังนี้
อีกอย่าง ๑ อยากจะแนะนำเรื่องสืบสันตติวงศ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าและพระพุทธเจ้าหลวง ได้เคยทรงพระราชดำริจะออกจากราชสมบัติ เมื่อทรงพระชราเช่นเดียวกัน ในส่วนพระองค์พระเนตร์ก็ไม่ปกติ คงทนงานไปไม่ได้นาน เมื่อการณ์ปกติแล้ว จึ่งอยากจะลาออกเสีย ทรงพระราชดำริเห็นว่าพระโอรสสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์ [พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช – สมศักดิ์] ก็ถูกข้ามมาแล้ว ผู้ที่จะสืบสันตติวงศ์ต่อไป ควรจะเป็นพระโอรสสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์ ตั้งกรมขุนชัยนาทเป็น Regent ก็สมควร จะได้เป็นการล้างเก่าตั้งต้นใหม่ เพราะพระองค์จะทรงเป็นกษัตริย์นานไปก็จะไม่มีผู้นับถือ หรือคณราษฎรจะเห็นควรกล่าวแก้ไขประกาศนั้นเสียเพียงใดหรือไม่ก็สุดแล้วแต่จะเห็นควร(๕๐)
ประโยคสุดท้าย ทรงหมายถึงประกาศคณะราษฎร ซึ่งโจมตีพระองค์และราชวงศ์อย่างรุนแรง และเป็นประเด็นใหญ่ที่สุดที่ทรงยกขึ้นมาพูดในวันนั้น การเชื่อมโยงประเด็นเรื่องกษัตริย์รัชกาลใหม่กับแถลงการณ์ชวนให้สงสัยว่า พระองค์จริงจังมากเพียงใดเรื่องการลาออกในขณะนั้น หรือเพียงแต่เป็นปฏิกิริยาเชิง “น้อยพระทัย” ต่อประกาศ จุดที่น่าสนใจในที่นี้คือการที่ทรงระบุว่าพระองค์เจ้าอานันท์คือลำดับแรกของการสืบสันตติวงศ์ (เช่นเดียวกับพินัยกรรมของรัชกาลที่ ๖ ก่อนหน้านี้ การที่ทรงเอ่ยถึงเฉพาะพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ไม่เอ่ยถึงจุลจักรพงษ์ ก็เพราะถือว่าองค์หลังถูกตัดสิทธิ์ตามกฎมณเฑียรบาลไปแล้ว ขณะที่วรานนท์ธวัช ไม่ได้ถูกตัดสิทธิ์ตามข้อกำหนดของกฎมณเฑียรบาลโดยตรง แต่ถูกสั่งให้ข้ามโดยรัชกาลที่ ๖) (๕๑)