แถลงการณ์พรรคประชาธิปัตย์ ต่อ กรณี "ปาฐกถามองโกเลีย"
แถลงการณ์พรรคประชาธิปัตย์
นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475
ประเทศไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ได้ผ่านกระบวนการทางประชาธิปไตยและอุปสรรคต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดีประชาชนชาวไทยก็ไม่เคยหมดความหวังและไม่ท้อถอยในการต่อสู้เพื่อ
ให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยที่แท้จริง
ในการกล่าวสุนทรพจน์ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีในที่ประชุมประชาคมประชาธิปไตย ณ เมืองอูลัน บาตอ
ประเทศมองโกเลีย ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
กล่าวติติงต่อกระบวนการประชาธิปไตยของประเทศว่ามีการถดถอยและเสื่อมลง
โดยอ้างว่าตัวเธอ พี่ชายของเธอ
และครอบครัวของเธอเป็นผู้ปกป้องคุณค่าของประชาธิปไตยและยังกล่าวว่าฝั่งของ
เธอนั้นเป็นตัวแทนของประชาธิปไตยที่แท้จริง
โดยกล่าวหาว่ามีกลุ่มต่อต้านประชาธิปไตยดำรงอยู่ภายในประเทศไทย
โดยข้อเท็จจริงแล้วเป็นที่ประจักษ์กันทั่วไปว่าครอบครัวนายกรัฐมนตรี
และโดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนั้น
ร่ำรวยขึ้นมาจากการได้รับสัมปทานการสื่อสารในอดีตจากรัฐบาลที่นำโดยกลุ่มของ
ทหารจากเหตุการณ์ปฏิวัติในปี พ.ศ. 2534 ต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ได้เข้าสู่เวทีการเมืองและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2544 – 2549
การบริหารราชการแผ่นดินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรนั้น เต็มไปด้วยการทุจริต
คอร์รัปชั่น มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ทางธุรกิจ
นโยบายการทำสงครามยาเสพติด ซึ่งก่อให้เกิดการฆาตกรรมเกินขอบเขตกฎหมายหรือ
“การฆ่าตัดตอน” หลายพันศพ รวมทั้งนโยบาย “กำปั้นเหล็ก”
ต่อเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้เป็นหลักฐานของการขาดเป็นประชาธิปไตย
วิธีการบริหารบ้านเมืองโดยการใช้อำนาจแทรกแซงองค์กรที่มีหน้าที่ในการตรวจ
สอบ ถ่วงดุล รวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม
และการแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง และพวกพ้อง
นำมาซึ่งความไม่พอใจของประชาชนจนการประท้วงลุกลามออกสู่ท้องถนน
และรัฐบาลในขณะนั้นกลับสนับสนุนให้มีสถานการณ์การเผชิญหน้า พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร ตัดสินใจยุบสภาและในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ
ฝ่ายทหารได้เข้าแทรกแซงในเดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2549
และแต่งตั้งรัฐบาลพลเรือนชั่วคราว ต่อมาก็มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนได้ให้ความเห็นชอบต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือน
สิงหาคม ปีพ.ศ. 2550 ในการลงประชามติซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
การเลือกตั้งทั่วไปจึงได้เกิดขึ้น
นายสมัคร สุนทรเวช จากพรรคพลังประชาชนที่มีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
สนับสนุนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง และเป็นนายกรัฐมนตรีในต้นปีพ.ศ. 2551
จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศไทย
เพื่อต่อสู้ต่อคดีทุจริต และไม่นานก่อนที่จะถึงการตัดสินคดี พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร
ได้ขออนุญาตศาลเดินทางออกนอกประเทศเป็นการชั่วคราวและมิได้กลับมาสู่ประเทศ
ไทยจนกระทั่งปัจจุบัน โดยศาลได้พิพากษาจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเวลา
2 ปีในคดีดังกล่าว
นายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่ง
จากการกระทำซึ่งขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และแม้ว่า นายสมัคร
สามารถกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีก แต่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย
พ.ต.ท.ทักษิณกลับเป็นผู้ที่ได้รับการลงคะแนนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน
ตลอดมาทั้งนายสมัครและนายสมชายมีความพยายามที่จะเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม
ซึ่งจะทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
สามารถเดินทางกลับสู่ประเทศไทยอย่างพ้นผิด และปราศจากมลทินทุกประการ
เรื่องดังกล่าวเป็นชนวนก่อให้เกิดการประท้วงบนท้องถนนขึ้นอีกครั้ง
หลังจากนั้นนายสมชาย ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เพราะพรรคพลังประชาชนถูกยุบในข้อหาทุจริตในการเลือกตั้งและในการเลือกนายก
รัฐมนตรีคนต่อมา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจำนวนหนึ่งที่เคยสนับสนุนพรรคพลังประชาชน
ได้ตัดสินใจลงคะแนนในสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย
โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2551 ถึงเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.
2553 โดยในช่วงรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ สภาพการเมืองไทยมีการเผชิญหน้า
และมีความรุนแรง สืบเนื่องมาจากแนวทางแก้ว 3
ประการของพ.ต.ท.ทักษิณและกลุ่มผู้สนับสนุน คือ พรรคเพื่อไทย
กลุ่มคนเสื้อแดง และกองกำลังติดอาวุธ
โดยนางสาวยิ่งลักษณ์
ชินวัตรนั้นก็ได้มีส่วนร่วมในการประท้วงกับกลุ่มคนเสื้อแดง
ซึ่งศาลยุติธรรมได้มีคำพิพากษาให้เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย
และไม่ใช่เป็นไปตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
การชุมนุมได้มีการละเมิดสิทธิ เสรีภาพพื้นฐานของผู้อื่น
และยังมีกองกำลังที่เรียกว่า “ชายชุดดำ” ใช้อาวุธสงคราม เช่น ลูกระเบิด M67
M79 และอาวุธสงครามต่างชนิด
แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการกระทำเหล่านี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับถ้อยแถลงของ
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าการประท้วงในปีพ.ศ. 2553
นั้นเป็นไปเพื่อประชาธิปไตยและเป็นไปในแนวทางของสันติวิธี
แต่ควรจะเรียกว่าเป็นการชุมนุมที่มีกองกำลังติดอาวุธ
ก่อการร้ายต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์
ฝ่ายรัฐบาลนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ได้นำประเทศกลับสู่ภาวะปกติด้วยกลไกต่างๆ
ภายในขอบเขตของกฎหมาย
ผู้เสียชีวิต 91 คนที่นางสาวยิ่งลักษณ์ระบุนั้น มีทั้งข้าราชการ ทหาร
และตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษากฎหมายและความมั่นคงของประเทศ
ประชาชนผู้บริสุทธิ์
และผู้ประท้วงหลายคนถูกเข่นฆ่าด้วยกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ
และขณะนี้กระบวนการยุติธรรมของประเทศ ก็ได้มีการดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิด
และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ก็เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาก่อการร้ายจากเหตุการณ์ดังกล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่เพื่อเป็นการแสดงออกต่อความ
ปรองดอง ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2554
นางสาวยิ่งลักษณ์
เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีที่ประเทศไทยมีความเสถียรภาพและมีเศรษฐกิจที่เข้ม
แข็ง แต่นางสาวยิ่งลักษณ์กลับทำหน้าที่ด้วยการรับคำสั่งจากพี่ชาย
และหลีกเลี่ยงการทำหน้าที่อย่างเช่นการเข้าร่วมการประชุมรัฐสภา
นางสาวยิ่งลักษณ์และพ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงดำเนินการอย่างไม่ลดละ
ที่จะรวบอำนาจรัฐ และพยายามลดความน่าเชื่อถือขององค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ
ฝ่ายตุลาการและองค์กรอิสระ และจนถึงปัจจุบัน
ก็ยังมีกลุ่มมวลชนของรัฐบาลที่เรียกว่ากลุ่มคนเสื้อแดงยังได้มีพฤติกรรมคุก
คาม ข่มขู่ องค์กรตุลาการ ภาคประชาชน พรรคการเมือง
และสื่อมวลชนที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาล
สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อคุกคามฝ่ายตรงข้าม
ด้วยพฤติกรรมดังกล่าว
นางสาวยิ่งลักษณ์จึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้กล่าวประนามผู้อื่นว่าไม่มีความ
เป็นประชาธิปไตย
พรรคประชาธิปัตย์ยืนหยัดต่อหลักการว่าด้วยเสรีประชาธิปไตย
ทั้งชายและหญิงควรจะได้รับความเคารพในสิทธิ การแสดงออกอย่างเท่าเทียม
ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะมีความคิดทางการเมืองในฝ่ายของเสียงข้างมากหรือไม่ก็ตาม
การประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง
และการคุกคามต่อองค์กรภาคประชาสังคมและผู้ที่เห็นต่าง
ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการบ่อนทำลายสิทธิ เสรีภาพทางการเมือง
และความหวังของประชาชนชาวไทย โดยที่การตระหนักและการเล็งเห็นการคุกคามต่างๆ
ต่อประชาธิปไตยอย่างแท้จริงโดยประชาชนคนไทย
และมิตรสหายในประชาคมโลกเท่านั้น
เราจึงจะสามารถร่วมกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาธิปไตยของประเทศมี
ความยั่งยืนสืบไป
////////////////
Press Release of the Democrat Party
Since 1932, Thailand has undergone a democratization
process under the banner of Constitutional Monarchy. The democratization
process of Thailand has had its ups and downs. Despite the drawbacks,
the Thai people have never abandoned their hope or shirk their duties to
secure a truly democratic Thailand.
In her speech delivered at the Conference of the Community of
Democracies on 29th April 2013, Ulan Bator, Mongolia, Ms. Yingluck
Shinawatra, Prime Minister of Thailand complained about the setback of
Thailand's democracy and claimed that there are reactionary and
anti-democratic forces at work while her brother and family are truly
democratic and defenders of democratic values.
It is public knowledge that her family made the bulk of their fortune
on the back of monopoly in the telecommunication business, with
concessions gained during the military-led government after the 1992
bloodshed. Mr. Thaksin Shinawatra then entered politics and became the
Prime Minister of Thailand from 2001 to 2006. Abuse of power,
corruption, changing of laws to suit business interests characterized
his premiership. The thousands of extrajudicial killings during Mr.
Thaksin's "war of drugs" campaign and self-confessed iron fist policy on
the Deep South are testament to his undemocratic ruthlessness.
The conduct of governing and widespread interference with all agencies
tasked with providing checks and balances and enforcement of the law led
to street protests. Counter protests were being orchestrated. Violent
confrontations popped up and were on the rise. He dissolved the
parliament. While he was caretaker Prime Minister, the military
intervened in September 2006 and set up an interim civilian government.
A constitution drafting Assembly was set up. The Constitution was
approved by the majority of the people in August 2007 at the first ever
held national referendum. National elections followed.
Mr. Samak Sundaravej from the Thaksin backed Palang Prachachon Party
became the Prime Minister in early 2008. Charged with corruption,
Thaksin decided to return to Thailand to fight his case in court. With
the proceedings completed, but aware of the impending verdict, he
obtained a court permission to leave the country on a temporary basis
but has not returned since. In absentia, he was sentenced to a two-year
imprisonment term.
Mr. Samak was removed from office for infringement of the Constitution.
Despite Mr. Samak being eligible to resume office, Mr. Somchai
Wongsawat, brother – in – law of Mr. Thaksin Shinawatra, was chosen to
become Mr. Samak’s replacement. Both Mr.Samak and Mr.Somchai attempted
to introduce and pass an Amnesty Law to help and facilitate Mr. Thaksin
Shinawatra’s return to Thailand with impunity, sparking off street
protests and they failed.
Mr. Somchai did not last long in office. The Phalang Prachachon Party
was disbanded guilty of election fraud. Subsequently a group of MPs
switched side and voted in Parliament for Mr. Abhisit Vejjajiva of the
Democrat Party to become the 27th Prime Minister of Thailand
(December2008-July2011).During such time the political
landscape of Thailand became more confrontational, violent and bloody
with the three-pronged approach adopted by Thaksin and his supporters,
namely the Pheu Thai Party, the Red Shirt Movement and the unknown armed
elements. Ms.Yingluck also participated in the Red Shirts protests.
The protests in the year 2010 were deemed by the Court to be unlawful
since they infringed on the rights of the general public, especially
with the use of weapons such as M67, M79 and grenades. Such act is
contrary to the statement of Ms.Yingluck that the protests were
democratic and peaceful. An armed insurrection was a more appropriate
description. The Democrat-led government returned the country to
normalcy using means within the law.
The 91 deaths mentioned by Ms.Yingluck included military and police
officers who were carrying out their duties to uphold the rule of law
and keep peace, innocent bystanders and protesters. Many were killed by
the so-called armed elements, others caught in the crossfire. Charges
have been brought against the criminal proprietors. Mr.Thaksin
Shinawatra is also one of those accused of terroristic acts and
instigators of violence.
Mr. Abhisit Vejjajiva dissolved the Parliament and called a national election as a gesture towards reconciliation in May 2011.
Ms. Yingluck inherited a stable Thailand and a strong economy. But she
takes order from her brother Mr. Thaksin Shinawatra. Like her brother,
she avoids attending Parliamentary sessions. She and her brother
continue their determination to control the three branches of government
painting the Judiciary and Independent bodies as undemocratic.
Meanwhile, the Red Shirts, tacitly backed by the government, harass and
threaten the Democrat Party, the judicial bodies, civil society, and
members of the media with opposing opinions. The Police and the
Department of Special Investigations are being used as a political tool
to intimidate the Opposition. Given such behavior, it is highly ironic
that she should be the one talking about others being anti-democratic
The Democrat Party of Thailand stands by the liberal democratic
principles that all men and women, whatever their political beliefs and
whether they belong to the “majority” or not, deserve to be heard and
respected equally. Everyone is entitled to shape the course of our
democracy with peaceful means.
The Red Shirt protests and physical threats to the
Democrat Party, civil society and those opposed to the thuggish
behaviors of this government prove to be detrimental to everyday
political life and aspirations of the Thai people.
Only by recognizing these threats to democracy can we in
Thailand and our friends in the international community take further
steps to strengthen our democracy.
May 7, 2013
|