วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

ป้าสังเวียนเผาตัวประท้วงหน้าทำเนียบ-เสียชีวิตแล้วหลังรับการรักษา 5 เดือน

สังเวียน รักษาเพ็ชร ซึ่งมาร้องเรียนหนี้สินที่ทำเนียบรัฐบาลและเผาตัวประท้วงเมื่อ 15 ตุลาคม 57 นั้น ล่าสุดเสียชีวิตแล้วที่วชิรพยาบาล
เอกสารร้องเรียนต่อศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล ของสังเวียน รักษาเพ็ชร์ (ที่มา: ตรงจากสนามข่าว)
17 มี.ค. 2558 - กรณีที่เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2557 นางสังเวียน รักษาเพ็ชร์ อายุ 52 ปี ชาว อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี อาชีพเกษตรกรและให้เช่าที่นา ได้มาตามเรื่องร้องเรียนที่ศูนย์บริการประชาชน ของทำเนียบรัฐบาล ภายในสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กรณีเกี่ยวกับหนี้สิน ที่เคยทำสัญญากู้เอาไว้ 4 แสนบาท แต่เมื่อรวมดอกเบี้ย ณ ปัจจุบัน กลับเพิ่มเป็น 1.5 ล้านบาท ส่งผลทำให้นางสังเวียนเกิดความเครียด จนกระทั่งจุดไฟเผาตัวเองด้วยน้ำมันและไฟแช็กที่เตรียมมา โดยรักษาตัวที่วชิรพยาบาลนั้น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)
ความคืบหน้าล่าสุด ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า นางสังเวียน ได้เสียชีวิตลงแล้ว ตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 22.00 น. วันที่ 16 มี.ค.  ขณะเข้ารับการรักษาอยู่ที่วชิรพยาบาล

พล.อ.ประยุทธ์มอบโดนัทรูปหัวใจให้คนไทยทุกคน-พร้อมชวนอุดหนุน OTOP


ผวจ.ร้อยเอ็ด พร้อมตัวแทน ธ.ก.ส. นำผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าวหอมมะลิมาแสดงที่ทำเนียบรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ ขอเชิญชวนคนไทยสนับสนุน OTOP และผลิตภัณฑ์แป้งข้าวหอมมะลิไทย พร้อมนำโดนัทรูปหัวใจมาแจกเพื่อสื่อว่ามอบให้คนไทยทุกคน
17 มี.ค. 2558 - เว็บไซต์รัฐบาลไทย รายงานว่า บริเวณด้านหน้าตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยตัวแทนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจังหวัดร้อยเอ็ด มาพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อนำผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ทีเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัด และผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าวหอมมะลิที่จะนำไปจัดงานโรดโชว์ที่สิงคโปร์มาแสดง พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนงบประมาณแก่จังหวัดร้อยเอ็ดในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จนประสบความสำเร็จ
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้แนะนำให้ทางจังหวัดร้อยเอ็ดต่อยอดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและสร้างความดึงดูดสายตาชาวไทยและต่างประเทศ โดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับยุคสมัยในปัจจุบัน พร้อมทั้งเชิญชวนให้คนไทยช่วยสนับสนุนผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าวหอมมะลิไทยนอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังได้สนับสนุนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวหอมมะลิที่นำมาทำเป็นขนมต่าง ๆ อาทิ โดนัทข้าวหอมมะลิอบ เค้กเนยข้าวหอมมะลิ ชิฟฟอนเค้กแป้งข้าวหอมมะลิ เป็นต้น โดยนำมาแจกให้สื่อมวลชนในทำเนียบรัฐบาลด้วย
ทั้งนี้ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับอนุมัติจัดสรรงบประมาณจากงบพัฒนาจังหวัดและงบกลุ่มจังหวัด เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของจังหวัด นำไปสู่การผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ที่มีประสิทธิภาพ และได้การรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิ ได้ส่งเสริมการแปรรูปข้าวสารหอมมะลิที่ควบคุมน้ำตาล อีกทั้ง ส่งเสริมให้วิสาหกิจชุมชนจัดตั้งโรงงานผลิตแป้งข้าวหอมมะลิแห่งแรกของประเทศไทย และได้ดำเนินการส่งเสริมสถาบันเกษตรกรมากกว่า 180 กลุ่ม รวมถึงผู้ประกอบการในจังหวัดในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากแป้งข้าวหอมมะลิ ซึ่งปีงบประมาณ 2558 จังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด ได้กำหนดจัดงาน Road Show ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยจะนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้า OTOP เด่นของจังหวัดในภาคการเกษตร และด้านบริการไปแสดงและจำหน่าย เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างรายได้ของจังหวัดกระจายไปทุกด้าน และขยายช่องทางตลาดสินค้าของจังหวัดให้มากขึ้นต่อไป
ในรายงานของ สำนักข่าวไทย ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะขึ้นไปเป็นประธานการประชุม ครม. ได้มอบขนมโดนัทให้กับสื่อมวลชน จากนั้นได้ถ่ายรูปพร้อมชูโดนัทรูปหัวใจ สื่อมวลชนถามว่าโดนัทรูปหัวใจมอบให้ใคร โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า มอบให้คนไทยทุกคน

เปิดจดหมาย ‘ทอม ดันดี’ ถึงกรรมการสิทธิฯ ร้องขอพลเรือนไม่ขึ้นศาลทหาร


ธานัท ธนวัชรนนท์ หรือ ทอม ดันดี อดีตนักร้องนักแสดง อายุ 56 ปี เป็นชาวเพชรบุรี ก่อนถูกจับเขามีอาชีพเป็นชาวสวนปลูกไผ่ขาย ในวัยหนุ่มเขาเคยไปเล่าเรียนด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ประเทศฝรั่งเศส เขาเคยเล่าด้วยว่าระหว่างศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศสได้มีโอกาสไปเยือนและร่วมรับประทานอาหารที่บ้านของปรีดี พนมยงค์ พ่อของเขาเป็นทั้งครูใหญ่และแพทย์ เคยเข้าร่วมขบวนการเสรีไทย แม่ของเขาเป็นมีอาชีพเป็นนางละคร ดูเหมือนเขาจะได้รับอิทธิพลจากทั้งพ่อและแม่ ในระยะหลังที่การเมืองไทยทวีความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น เขาออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ขึ้นเวทีปราศรัยทั้งของ นปช.และเวทีย่อยต่างๆ ที่จัดโดยคนเสื้อแดงกลุ่มอิสระมากมายหลายกลุ่ม
หลังการรัฐประหาร 22 พ.ค.57 เขาถูกควบคุมตัว 2 ครั้ง ครั้งแรกกรณีไม่รายงานตัวตามประกาศ คสช. เขาถูกจับกุมที่บ้านจังหวัดเพชรบุรี วันที่ 9 มิ.ย.57 อยู่ในความควบคุมของทหาร 3 วัน ถูกควบคุมตัวที่กองปราบ 2 วัน จากนั้นถูกนำตัวไปฝากขังยังศาลทหาร และถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ อีก 4 วัน ก่อนได้รับอนุญาตให้ประกันตัว
ประมาณหนึ่งเดือนถัดมา เขาถูกเจ้าหน้าที่บุกควบคุมตัวอีกครั้งจากบ้านพักในวันที่ 9 ก.ค.เพื่อนำตัวมาสอบสวนที่ บก.ปอท. พร้อมแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยอ้างเหตุจากกรณีที่เขาไปปราศรัยในเวทีเล็กๆ จัดโดยสถานีวิทยุชุมชนของนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ โกตี๋ เมื่อราวเดือนพฤศจิกายน 2556 หลังจากนั้นเขาขอประกันตัว แต่ศาลทหารไม่อนุญาต
ระหว่างถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ รวมถึงวันนี้ 8 เดือนเศษ ตอนแรกคดีของเขาถูกส่งฟ้องศาลอาญา ก่อนที่จะถูกโอนมาให้ศาลทหารในเวลาต่อมา และจะเริ่มการสืบพยานนัดแรกในวันพุธที่ 19 มีนาคมนี้
ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วเขาได้พยายามร้องเรียนกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเนื่องจากเห็นว่าคดีของเขาไม่ควรถูกฟ้องยังศาลทหาร อย่างน้อยที่สุดก็เนื่องจากการกระทำความผิดของเขาตามที่กล่าวหานั้น เกิดขึ้นก่อนประกาศของ คสช. ฉบับที่ 37/2557 ที่ให้คดี 112 ที่เกิดขึ้นหลังประกาศฉบับนี้ต้องขึ้นศาลทหาร ประกาศฉบับ 37 นี้ออกวันที่ 25 พ.ค.57 อย่างไรก็ตาม ในคำฟ้องคดีทอมระบุว่า คดีนี้ถือเป็นคดีเกี่ยวเนื่องตามประกาศคสช.ฉบับ 38/2557 เพราะแม้เขาจะปราศรัยในเดือนพฤศจิกายน 2556 (ก่อนออกประกาศ) แต่มีผู้อื่นนำเสียงของเขาไปอัพโหลดขึ้นยูทูปซึ่งเปิดให้เข้าถึงเรื่อยมาจนกระทั่งหลังวันที่ 25 พ.ค.57 จึงถือว่าเป็นการกระทำผิดร่วมกัน แม้เขาจะไม่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และไม่ทราบว่าใครเอาไปอัพโหลดขึ้นยูทูปก็ตาม
จดหมายของทอม ดันดี ถูกส่งด้วยความยากลำบาก แต่ท้ายที่สุดก็ถึงมือคณะกรรมการสิทธิฯ
ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยัง น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ผู้รับเรื่องร้องเรียนของทอม ดันดี น.พ.นิรันดร์ให้สัมภาษณ์ว่าได้รับเรื่องดังกล่าวแล้ว กรณีที่ผู้ต้องหาต้องการให้กรรมการสิทธิฯ เป็นผู้เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองว่าการส่งพลเรือนขึ้นศาลทหารเป็นการละเมิดสิทธินั้น ปัจจุบันนี้กรรมการสิทธิฯ ไม่มีอำนาจดังกล่าวแล้ว เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2550 ถูกยกเลิก อำนาจในการส่งเรื่องยังศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ หรือกระทั่งการฟ้องแทนผู้เสียหายจึงหมดไป อย่างไรก็ตาม ข้อร้องเรียนการละเมิดสิทธิต่างๆ ซึ่งได้รับเรื่องไว้ราว 30 คำร้องนั้น ทางคณะกรรมการสิทธิฯ ได้เข้าไปตรวจสอบและเตรียมเขียนร่างรายงานนำเสนอในประเด็นต่างๆ เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อ คสช.และนายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาเรื่องการยุติการใช้กฎอัยการศึก การให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร การบังคับใช้คำสั่ง คสช.บางส่วนที่อาจทำให้การคุ้มครองสิทธิของประชาชนบกพร่องไป
000000
33 เรือนจำพิเศษกรุงเทพ แดน 1
ถ.งามวงศ์วาน ลาดยาว จตุจักร
กรุงเทพ 10900
วันที่ 8   ธันวาคม 2557
เรื่อง      ร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน
เรียน     นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยนแห่งชาติ
            ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ข้าพเจ้านายธานัท ธนวัชรนนท์ หรือ ทอม ดันดี อายุ 56 ปี อาชีพศิลปินนักร้องและนักแสดงภาพยนตร์ ถูกกล่าวหาว่าร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา โดยทหารเข้าจับกุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2557 ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติในข้อหาไม่ไปรายงานตัว เข้าจับกุมที่สามแยกป้อมตำรวจวังจันทร์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ในขณะที่กำลังเดินทางเอาพืชผลทางการเกษตรที่บ้านได้ปลูกไว้คือ หน่อไม้ ไปส่งให้ลูกค้าเวลาประมาณ 17.00 น.และในวันที่ 10 มิถุนายน 2557 ได้มีการเข้าตรวจค้นบ้านพักภายในจังหวัดเพชรบุรี ไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ และถูกคุมขังในค่ายทหาร 3 วัน กองปราบปราม 2 วัน และที่เรือจำพิเศษ 4 วัน ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2557 มีเงื่อนไขเป็นข้อตกลงห้ามแสดงความคิดเห็นและเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง ฯลฯ
ต่อมาในวันที่ 9 ก.ค.2557 ทางทหารได้เข้าจับกุมตัวเป็นครั้งที่สอง มีการเข้าค้นภายในบ้านพักที่จังหวัดเพชรบุรี และส่งตัวเข้ามาคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฏาคม 2557
การกล่าวหาตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา โดยคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ขัดต่อหลักนิติรัฐและหลักกฎหมายโดยสิ้นเชิง จึงจะขอร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
การรัฐประหาร เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นการได้อำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการมิได้เป็นไปตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอาญา และละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยสิ้นเชิง ดังนั้น คำสั่ง คสช.ในการจับกุมข้าพเจ้า และคนอื่นๆ จำนวนมาก จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย
การนำคดีของข้าพเจ้าเข้าสู่การพิจารณาของศาลทหาร โดยที่ศาลทหารขึ้นอยู่กับกระทรวงกลาโหม จึงไม่เป็นอิสระและไม่เป็นกลางในการอำนวยความยุติธรรม อีกทั้งไม่มีกระบวนการพิจารณาคดีเป็นไปตามหลักกฎหมาย ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้รับสิทธและเสรีภาพในด้านต่างๆ อาทิ เช่น การจับกุมโดยไม่มีหมายจับ และมีการข่มขู่ ทรมาน ระหว่าการไต่สวน การคุมขังเกินกว่าระยะเวาที่กำหนดในกฎหมาย เช่น ฝากขังเกิน 84 วัน ส่งฟ้องลับหลังจำเลย และไต่สวนโดยไม่เปิดเผย ฯลฯ
ข้าพเจ้าไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว หรือการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการต่อสู้คดี โดยปราศจากเหตุผล เช่น อ้างว่ากลัวหลบหนีโดยไม่มีการไต่สวน หรือไม่มีประจักษ์พยาน ทำให้ไม่มีสิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง ไม่มีหลักประกันการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผย ไม่ได้รับทราบข้อเท็จจริง ไม่ได้ตรวจเอกสารและการโต้แย้งคดีอย่างเพียงพอ
การไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวจึงเป็นเสมือนการมัดมือชกและเป็นการดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรม
การนำพลเรือนไปสู่การพิจารณาของศาลทหารเป็นการเลือกปฏิบัติ ก่อให้เกิดความแตกต่างอันเป็นการขัดต่อหลักความเสมอภาค เท่าเทียมทางกฎหมาย อาทิ เช่น คดีมาตรา 112 ที่กระทำการก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 บางกรณีนำไปสู่ศาลอาญาตามปกติ แต่ในกรณีของข้าพเจ้ากลับนำมาสู่การพิจารณาของศาลทหาร
การจับกุมคุมขังทำให้ข้าพเจ้าสูญเสียอิสรภาพ ได้รับความทุกข์ทรมานและเดือดร้อนแสนสาหัส สูญเสียรายได้จากการ้องเพลงและการแสดง เดือนละ 3-4 แสนบาท ครอบครัวยากลำบาก มีหนี้สินมากมายจากการกระทำของคณะรัฐประหาร
จากที่ได้กล่าวไว้แล้ว 4 ประการข้างต้น ข้าพเจ้าจึงขอร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 5 ประการ ดังนี้
1.      ให้พิจารณาในกรณีการจับกุมคุมขังข้าพเจ้าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
2.      นำเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีเห็นชอบตามผู้ร้องเรียน กรณีคำสั่ง คสช. ไม่ชอบด้วยสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญ
3.      เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครอง กรณีเห็นชอบตามผู้ร้องเรียนว่า คำสั่งและการพิจารณาคดีในศาลทหารเป็นคำสั่งทางการปกครอง กระทบต่อสิทธิมนุษยชน
4.      ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนข้าพเจ้า ซึ่งเป็นผู้เสียหายทั้งทางแพ่งและทางอาญา เป็นการปกป้องสิทธิมนุษยชน
5.      จัดหาทนายความดำเนินการ เพื่อให้มีการประกันตัวหรือการปล่อยตัวชั่วคราว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงเป็นการเร่งด่วน เป็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนของพลเมือง ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ด้วย

ขอแสดงความนับถือเป็นอย่างสูง

นายธานัท ธนวัชรนนท์ (ทอม ดันดี)

เปิดจดหมาย ‘ทอม ดันดี’ ถึงกรรมการสิทธิฯ ร้องขอพลเรือนไม่ขึ้นศาลทหาร


ธานัท ธนวัชรนนท์ หรือ ทอม ดันดี อดีตนักร้องนักแสดง อายุ 56 ปี เป็นชาวเพชรบุรี ก่อนถูกจับเขามีอาชีพเป็นชาวสวนปลูกไผ่ขาย ในวัยหนุ่มเขาเคยไปเล่าเรียนด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ประเทศฝรั่งเศส เขาเคยเล่าด้วยว่าระหว่างศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศสได้มีโอกาสไปเยือนและร่วมรับประทานอาหารที่บ้านของปรีดี พนมยงค์ พ่อของเขาเป็นทั้งครูใหญ่และแพทย์ เคยเข้าร่วมขบวนการเสรีไทย แม่ของเขาเป็นมีอาชีพเป็นนางละคร ดูเหมือนเขาจะได้รับอิทธิพลจากทั้งพ่อและแม่ ในระยะหลังที่การเมืองไทยทวีความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น เขาออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ขึ้นเวทีปราศรัยทั้งของ นปช.และเวทีย่อยต่างๆ ที่จัดโดยคนเสื้อแดงกลุ่มอิสระมากมายหลายกลุ่ม
หลังการรัฐประหาร 22 พ.ค.57 เขาถูกควบคุมตัว 2 ครั้ง ครั้งแรกกรณีไม่รายงานตัวตามประกาศ คสช. เขาถูกจับกุมที่บ้านจังหวัดเพชรบุรี วันที่ 9 มิ.ย.57 อยู่ในความควบคุมของทหาร 3 วัน ถูกควบคุมตัวที่กองปราบ 2 วัน จากนั้นถูกนำตัวไปฝากขังยังศาลทหาร และถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ อีก 4 วัน ก่อนได้รับอนุญาตให้ประกันตัว
ประมาณหนึ่งเดือนถัดมา เขาถูกเจ้าหน้าที่บุกควบคุมตัวอีกครั้งจากบ้านพักในวันที่ 9 ก.ค.เพื่อนำตัวมาสอบสวนที่ บก.ปอท. พร้อมแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยอ้างเหตุจากกรณีที่เขาไปปราศรัยในเวทีเล็กๆ จัดโดยสถานีวิทยุชุมชนของนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ โกตี๋ เมื่อราวเดือนพฤศจิกายน 2556 หลังจากนั้นเขาขอประกันตัว แต่ศาลทหารไม่อนุญาต
ระหว่างถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ รวมถึงวันนี้ 8 เดือนเศษ ตอนแรกคดีของเขาถูกส่งฟ้องศาลอาญา ก่อนที่จะถูกโอนมาให้ศาลทหารในเวลาต่อมา และจะเริ่มการสืบพยานนัดแรกในวันพุธที่ 19 มีนาคมนี้
ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วเขาได้พยายามร้องเรียนกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเนื่องจากเห็นว่าคดีของเขาไม่ควรถูกฟ้องยังศาลทหาร อย่างน้อยที่สุดก็เนื่องจากการกระทำความผิดของเขาตามที่กล่าวหานั้น เกิดขึ้นก่อนประกาศของ คสช. ฉบับที่ 37/2557 ที่ให้คดี 112 ที่เกิดขึ้นหลังประกาศฉบับนี้ต้องขึ้นศาลทหาร ประกาศฉบับ 37 นี้ออกวันที่ 25 พ.ค.57 อย่างไรก็ตาม ในคำฟ้องคดีทอมระบุว่า คดีนี้ถือเป็นคดีเกี่ยวเนื่องตามประกาศคสช.ฉบับ 38/2557 เพราะแม้เขาจะปราศรัยในเดือนพฤศจิกายน 2556 (ก่อนออกประกาศ) แต่มีผู้อื่นนำเสียงของเขาไปอัพโหลดขึ้นยูทูปซึ่งเปิดให้เข้าถึงเรื่อยมาจนกระทั่งหลังวันที่ 25 พ.ค.57 จึงถือว่าเป็นการกระทำผิดร่วมกัน แม้เขาจะไม่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ และไม่ทราบว่าใครเอาไปอัพโหลดขึ้นยูทูปก็ตาม
จดหมายของทอม ดันดี ถูกส่งด้วยความยากลำบาก แต่ท้ายที่สุดก็ถึงมือคณะกรรมการสิทธิฯ
ผู้สื่อข่าวสอบถามไปยัง น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ผู้รับเรื่องร้องเรียนของทอม ดันดี น.พ.นิรันดร์ให้สัมภาษณ์ว่าได้รับเรื่องดังกล่าวแล้ว กรณีที่ผู้ต้องหาต้องการให้กรรมการสิทธิฯ เป็นผู้เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองว่าการส่งพลเรือนขึ้นศาลทหารเป็นการละเมิดสิทธินั้น ปัจจุบันนี้กรรมการสิทธิฯ ไม่มีอำนาจดังกล่าวแล้ว เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2550 ถูกยกเลิก อำนาจในการส่งเรื่องยังศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ หรือกระทั่งการฟ้องแทนผู้เสียหายจึงหมดไป อย่างไรก็ตาม ข้อร้องเรียนการละเมิดสิทธิต่างๆ ซึ่งได้รับเรื่องไว้ราว 30 คำร้องนั้น ทางคณะกรรมการสิทธิฯ ได้เข้าไปตรวจสอบและเตรียมเขียนร่างรายงานนำเสนอในประเด็นต่างๆ เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อ คสช.และนายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาเรื่องการยุติการใช้กฎอัยการศึก การให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร การบังคับใช้คำสั่ง คสช.บางส่วนที่อาจทำให้การคุ้มครองสิทธิของประชาชนบกพร่องไป
000000
33 เรือนจำพิเศษกรุงเทพ แดน 1
ถ.งามวงศ์วาน ลาดยาว จตุจักร
กรุงเทพ 10900
วันที่ 8   ธันวาคม 2557
เรื่อง      ร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน
เรียน     นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยนแห่งชาติ
            ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ข้าพเจ้านายธานัท ธนวัชรนนท์ หรือ ทอม ดันดี อายุ 56 ปี อาชีพศิลปินนักร้องและนักแสดงภาพยนตร์ ถูกกล่าวหาว่าร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา โดยทหารเข้าจับกุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2557 ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติในข้อหาไม่ไปรายงานตัว เข้าจับกุมที่สามแยกป้อมตำรวจวังจันทร์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ในขณะที่กำลังเดินทางเอาพืชผลทางการเกษตรที่บ้านได้ปลูกไว้คือ หน่อไม้ ไปส่งให้ลูกค้าเวลาประมาณ 17.00 น.และในวันที่ 10 มิถุนายน 2557 ได้มีการเข้าตรวจค้นบ้านพักภายในจังหวัดเพชรบุรี ไม่พบสิ่งผิดปกติใดๆ และถูกคุมขังในค่ายทหาร 3 วัน กองปราบปราม 2 วัน และที่เรือจำพิเศษ 4 วัน ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2557 มีเงื่อนไขเป็นข้อตกลงห้ามแสดงความคิดเห็นและเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง ฯลฯ
ต่อมาในวันที่ 9 ก.ค.2557 ทางทหารได้เข้าจับกุมตัวเป็นครั้งที่สอง มีการเข้าค้นภายในบ้านพักที่จังหวัดเพชรบุรี และส่งตัวเข้ามาคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฏาคม 2557
การกล่าวหาตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา โดยคำสั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ขัดต่อหลักนิติรัฐและหลักกฎหมายโดยสิ้นเชิง จึงจะขอร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
การรัฐประหาร เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นการได้อำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการมิได้เป็นไปตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอาญา และละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยสิ้นเชิง ดังนั้น คำสั่ง คสช.ในการจับกุมข้าพเจ้า และคนอื่นๆ จำนวนมาก จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย
การนำคดีของข้าพเจ้าเข้าสู่การพิจารณาของศาลทหาร โดยที่ศาลทหารขึ้นอยู่กับกระทรวงกลาโหม จึงไม่เป็นอิสระและไม่เป็นกลางในการอำนวยความยุติธรรม อีกทั้งไม่มีกระบวนการพิจารณาคดีเป็นไปตามหลักกฎหมาย ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้รับสิทธและเสรีภาพในด้านต่างๆ อาทิ เช่น การจับกุมโดยไม่มีหมายจับ และมีการข่มขู่ ทรมาน ระหว่าการไต่สวน การคุมขังเกินกว่าระยะเวาที่กำหนดในกฎหมาย เช่น ฝากขังเกิน 84 วัน ส่งฟ้องลับหลังจำเลย และไต่สวนโดยไม่เปิดเผย ฯลฯ
ข้าพเจ้าไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว หรือการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการต่อสู้คดี โดยปราศจากเหตุผล เช่น อ้างว่ากลัวหลบหนีโดยไม่มีการไต่สวน หรือไม่มีประจักษ์พยาน ทำให้ไม่มีสิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง ไม่มีหลักประกันการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผย ไม่ได้รับทราบข้อเท็จจริง ไม่ได้ตรวจเอกสารและการโต้แย้งคดีอย่างเพียงพอ
การไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวจึงเป็นเสมือนการมัดมือชกและเป็นการดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรม
การนำพลเรือนไปสู่การพิจารณาของศาลทหารเป็นการเลือกปฏิบัติ ก่อให้เกิดความแตกต่างอันเป็นการขัดต่อหลักความเสมอภาค เท่าเทียมทางกฎหมาย อาทิ เช่น คดีมาตรา 112 ที่กระทำการก่อนรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 บางกรณีนำไปสู่ศาลอาญาตามปกติ แต่ในกรณีของข้าพเจ้ากลับนำมาสู่การพิจารณาของศาลทหาร
การจับกุมคุมขังทำให้ข้าพเจ้าสูญเสียอิสรภาพ ได้รับความทุกข์ทรมานและเดือดร้อนแสนสาหัส สูญเสียรายได้จากการ้องเพลงและการแสดง เดือนละ 3-4 แสนบาท ครอบครัวยากลำบาก มีหนี้สินมากมายจากการกระทำของคณะรัฐประหาร
จากที่ได้กล่าวไว้แล้ว 4 ประการข้างต้น ข้าพเจ้าจึงขอร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 5 ประการ ดังนี้
1.      ให้พิจารณาในกรณีการจับกุมคุมขังข้าพเจ้าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
2.      นำเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีเห็นชอบตามผู้ร้องเรียน กรณีคำสั่ง คสช. ไม่ชอบด้วยสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญ
3.      เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครอง กรณีเห็นชอบตามผู้ร้องเรียนว่า คำสั่งและการพิจารณาคดีในศาลทหารเป็นคำสั่งทางการปกครอง กระทบต่อสิทธิมนุษยชน
4.      ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนข้าพเจ้า ซึ่งเป็นผู้เสียหายทั้งทางแพ่งและทางอาญา เป็นการปกป้องสิทธิมนุษยชน
5.      จัดหาทนายความดำเนินการ เพื่อให้มีการประกันตัวหรือการปล่อยตัวชั่วคราว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงเป็นการเร่งด่วน เป็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนของพลเมือง ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ด้วย

ขอแสดงความนับถือเป็นอย่างสูง

นายธานัท ธนวัชรนนท์ (ทอม ดันดี)