“รัฏฐาธิปัตย์” คืออะไร
| |
รัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า ๑) รัฏฐาธิปัตย์ เมื่อกล่าวถึง ปรัชญากฎหมายก็ต้องกล่าวถึง “กฎหมาย” และเมื่อกล่าวถึง กฎหมาย ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงรัฏฐาธิปัตย์ (soverign) ซึ่งสำนักความคิดกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองอธิบายว่าเป็นผู้ทำให้เกิดกฎหมายดังที่ จอห์น ออสติน (John Ausyin) อธิบายว่ากฎหมาย คือ คำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์ ความหมายของรัฏฐาธิปัตย์ สำนัก ฝ่ายกฎหมายบ้านเมืองให้ความสำคัญมากโดยอธิบายว่า รัฏฐาธิปัตย์ คือผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ส่วนจะเป็นใครก็สุดแท้แต่ว่าเป็นผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินหรือบ้านเมืองใด มีระบอบการปกครองอย่างไร ถ้าเป็นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฏฐาธิปัตย์ คือ พระมหากษัตริย์ อำนาจของรัฏฐาธิปัตย์ ก็คือการมีอำนาจอธิปไตยนั่นเอง ซึ่งก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ
สำหรับ ทฤษฎีที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้นประชาชนย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แต่รัฏฐาธิปัตย์เช่นนี้ย่อมถูกจำกัดด้วยอำนาจรัฏฐาธิปัตย์คนอื่นๆ ซึ่งก็มีอำนาจอธิปไตยเท่าเทียมกัน เช่น พระเจ้าแผ่นดินของรัฐ ก. จะทำการใดก้าวก่ายอำนาจอธิปไตยของพระเจ้าแผ่นดินแห่งรัฐ ข. มิได้ เพราะต่างมีอำนาจอธิปไตยเช่นกันฉันใด ราษฎร ก. จะใช้อำนาจอธิปไตยของตนก้าวก่ายอธิปไตยของรัฐ ข. ไม่ได้ฉันนั้น ใน อังกฤษ รัฐสภา เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่งรัฐสภาเป็นรัฏฐาธิปัตย์แทนประชาชนตาม ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของรัฐสภา (supremacy of parliament) “รัฐสภา” มีความหมายพิเศษเพราะประกอบด้วยองค์อำนาจสามประการคือ
สำหรับ ปัญหาที่ว่า ทฤษฎีเรื่องสภาวะสูงสุดของรัฐสภาหมายความว่าอย่างไร นักกฎหมาย รัฐธรรมนูญ อังกฤษอธิบายว่ามีความหมายพิเศษสองประการคือ
ข้อจำกัดอำนาจในทางทฤษฎีอาจแบ่งออกได้ดังนี้
กระนั้นก็ตามทางปฏิบัติ รัฐสภาอาจตกอยู่ใต้อำนาจข้อจำกัดอำนาจบางข้อโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวซึ่งไดซีย์อธิบายดังนี้
แม้รัฐสภาจะมีอำนาจสูงสุด แต่ก็ไม่ต้องกลัวว่ารัฐสภาจะใช้อำนาจบาทใหญ่คุกคามประชาชน เพราะรัฐสภาย่อมกลัวพลังของประชาชน และสมาชิกสภาเองต่างก็มีที่มาจากสังคมนั้นๆ จึงมีจิตสำนึกทางกรเมืองสูง และมีวิญญาณของสุภาพชนในระบอบประชาธิปไตยอย่างครบถ้วน จึงเป็นที่หวังได้ว่าจะไม่ใช้อำนาจของตนออกนอกรีตนอกรอย | |
http://www.redusala.blogspot.com/
|
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2557
“รัฏฐาธิปัตย์” คืออะไร“รัฏฐาธิปัตย์” คืออะไร
กระบวนการตะแบงกฎหมาย
กระบวนการตะแบงกฎหมาย
| |
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
ในที่สุด การเลือกตั้งวุฒิสภาทั่วประเทศ 77 จังหวัดเมื่อวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา ก็ผ่านไปโดยความเรียบร้อยตามการรณรงค์ของคณะกรรมการเลือกตั้ง จึงคาดหมายกันว่าจะมีการรับรองผลการเลือกตั้ง และนำมาสู่การเปิดประชุมวุฒิสภาได้ในเวลาไม่นานนัก ที่การเลือกตั้งราบรื่นเป็นเพราะ ม็อบ กปปส.ที่ก่อกวนขัดขวางการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ไม่ได้ก่อกวนหรือปิดการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งหมายถึงว่า แนวทาง”ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง”ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ใช้เพื่อขัดขวางเฉพาะการเลือกตั้ง ส.ส.เท่านั้น แต่กระนั้น การเลือกตั้งวุฒิสภาก็ยังไม่ได้ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองคลี่คลาย กลุ่ม กปปส.และฝ่ายองค์กรอิสระก็ยังคงหาทางที่จะล้มล้างรัฐบาลรักษาการของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และตะแบงกฎหมายเพื่อตั้งนายกรัฐมนตรีเถื่อนของตนเองต่อไป
แต่ที่ตลกจนขำไม่ออกก็คือ เมื่อรัฐสภาได้มีความพยายามที่จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อยกเลิก ส.ว.ลากตั้ง ให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งหมด ศาลรัฐธรรมนูญกลับมีคำวินิจฉัยในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2556 ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นนี้กระทำไม่ได้ เพราะขัดรัฐธรรมนูญ ต้องให้มี ส.ว.ลากตั้งต่อไป จึงจะสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย หลังจากนั้น ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2557 คณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็แจ้งข้อกล่าวหาให้ถอดถอน ส.ส.และ ส.ว.จำนวน 308 คน ที่ลงมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ซึ่งทั้งหมด ก็คือ ส.ส.และ ส.ว.ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ซึ่งถ้าหาก ส.ว.และ ส.ส.เหล่านี้ถูกถอดถอน ก็จะถูกตัดสิทธิทางการเมืองและการรับราชการเป็นเวลา 5 ปี ไม่เพียงแต่ประเด็นเหล่านี้เท่านั้น ที่องค์กรอิสระเหล่านี้ ใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นงานรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ยังมีเรื่องที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทำการสอบสวนเพื่อชี้มูลความผิดนายกรัฐมนตรีในข้อกล่าวหาเรื่องการละเลยให้มีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ทั้งที่ยังไม่มีคดีเกี่ยวกับการจำนำข้าวคดีใดเลยที่มีหลักฐานถึงการทุจริตที่ชัดเจน และแสดงให้เห็นการเกี่ยวข้องกับการทุจริตของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี แต่คดีนี้ก็เห็นได้ว่า กรรมการ ปปช.ปฏิบัติหน้าที่อย่างน่าเคลือบแคลง และขัดต่อหลักนิติธรรม โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคดีของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เช่น คดีเกี่ยวกับโครงการประกันราคาข้าว คดีทุจริตครุภัณฑ์อาชีวะศึกษา คดีทุจริตโครงการไทยเข้มแข็ง คดีก่อสร้างสถานีตำรวจ จำนวน 390 กว่าแห่ง ซึ่งล้วนแต่เป็นคดีที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้ถูกกล่าวหาคดีเหล่านี้เกิดก่อนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่การไต่สวนข้อเท็จจริงของกรรมการ ป.ป.ช. กลับเป็นไปอย่างล่าช้า ส่วนคดีของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ป.ป.ช.ใช้ระยะเวลาไต่สวนข้อเท็จจริงเพียง 21 วัน ก็แจ้งข้อกล่าวหา ต่อมา ก็คือเรื่องที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาในวันที่ 7 มีนาคม ให้คืนตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติให้แก่นายถวิล เปลี่ยนศรีภายใน 45 วัน โดยอ้างว่า นายกรัฐมนตรีโยกย้ายข้าราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่รัฐบาลทุกชุด ก็ต้องมีการโยกย้ายข้าราชการตำแหน่งสำคัญเพื่อหาบุคคลที่สามารถทำงานประสานกับรัฐบาลได้ดี ดังนั้น ในเดือนกันยายน พ.ศ.2554 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ จึงได้โยกย้ายนายถวิลออกจากตำแหน่ง แล้วแต่งตั้ง พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เข้าแทนที่ ซึ่งก็ไม่ต่างจากการที่ รัฐบาลอภิสิทธิ์ย้ายนายถวิล เข้ามาเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแทน พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2552 เช่นเดียวกัน ซึ่งในกรณีนี้ คำพิพากษาของศาลปกครองก็ยอมรับว่า อำนาจในการโยกย้ายเป็นของฝ่ายบริหาร แต่ก็อ้างว่า รัฐบาลทำผิดเพราะ”ไม่มีคำอธิบายว่า นายถวิลบกพร่องอย่างไร และไม่มีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่อย่างไร” แต่เรื่องอย่างนี้ ก็ตีความได้ว่าเป็นการตั้งใจหาเหตุ เพราะสมมุติว่า รัฐบาลมีคำอธิบายถึงความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของนายถวิล ก็จะถูกกล่าวหาได้อีกว่า ไปกล่าวร้ายนายถวิลอย่างไม่เป็นธรรม จากนั้น กลุ่ม ส.ว. 27 คน ได้นำเรื่องนี้ไปเป็นเครื่องมือในการถอนถอนนายกรัฐมนตรี โดยการยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย กลุ่มต่อต้านประชาธิปไตยนั้นดีดลูกคิดรางแก้วไปว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กรณีโยกย้ายนายถวิลขัดรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีรักษาการจะต้องพ้นสภาพ และได้มีความพยายามในการตีความด้วยว่า คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องหมดต้องสภาพไปด้วย และในภาวะที่ขณะนี้ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่สามารถนำมาใช้บังคับได้ และจากความจำเป็นที่ประเทศนี้จะต้องมีรัฐบาล ก็ถึงคราวที่จะต้องนำมาตรา 7 มาใช้เพื่อแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ก็จะได้รับ”ราชรถ”มาเป็นผู้นำคนใหม่อย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ จะเห็นได้ว่า กระบวนการที่เกิดขึ้นทั้งหมด ก็มาจากการคบคิดรับลูกกัน ตั้งแต่ กปปส.โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ถือโอกาสเอาเรื่องความผิดพลาดในการออกกฎหมายนิรโทษกรรมเหมาเข่ง มาก่อการประท้วงใหญ่ขับไล่รัฐบาลและขัดขวางการเลือกตั้ง ต่อมา คณะกรรมการเลือกตั้ง(ก.ก.ต.)ก็ทำหน้าที่จัดการให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์มีปัญหาไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วเปิดทางให้ศาลรัฐธรรมนูญตะแบงกฎหมายประกาศให้การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์เป็นโมฆะ แล้วจะนำมาสู่นายกคนกลางตามที่ฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตยคาดหวัง แต่ปัญหาทั้งหมดนี้อยู่ที่ว่า ประชาชนส่วนข้างมากของประเทศนั้นไม่เอาด้วย ไม่ยอมรับ และถ้ามีการเลือกตั้งอย่างถูกต้องชอบธรรมครั้งใด พรรคเพื่อไทยก็จะได้รับชัยชนะด้วยการสนับสนุนของประชาชนอีกทุกครั้ง กลายเป็นว่า ฝ่ายศาลและองค์กรอิสระเหล่านี้เลือกข้างสนับสนุนพวกขี้แพ้ในการเลือกตั้ง จึงไปยอมรับการก่อกวนของ ม็อบ กปปส.ว่าเป็นชอบธรรม ปฏิเสธการเลือกตั้งเฉพาะการเลือกสภาผู้แทนราษฎร และใช้การวิธีการ”ศรีธนนชัย”ทางกฏหมายมาล้มล้างกระบวนการประชาธิปไตย ละเลยเสียงประชาชน 20 ล้านคนที่มาออกเสียงเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ และละเมิดสิทธิของพรรคการเมือง 53 พรรคที่ส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งตามกติกา เพื่อไปโอบอุ้มพรรคที่สมัครใจคว่ำบาตรการเลือกตั้ง ด้วยการดำเนินการเช่นนี้ องค์กรอิสระจึงร่วมมือกับ กปปส.สร้างภาวะมิคสัญญีขึ้นในประเทศ และทำให้เศรษฐกิจของประเทศพังเสียหายยับเยิน แต่ก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายในการล้มรัฐบาล จึงทำให้สถานการณ์ยืดเยื้อมาถึงในวันนี้ ความจริงแล้ว บทเรียนจากต่างประเทศก็ชี้ว่า ประชาธิปไตยนั้นเอง คือ วิธีการแก้ปัญหาวิกฤตได้ถูกต้องและตรงจุด และเป็นวิธีการสันติ ที่ได้รับการยอมรับ การแต่พวกชนชั้นนำ สลิ่ม ศาลและองค์กรอิสระ กปปส.และผู้สนับสนุน พยายามใช้วิธีการอันฝืนใจประชาชน อนาคตของพวกเขาจึงเป็นไปไม่ได้ | |
http://www.redusala.blogspot.com/
|
รัฎฐาธิปัตย์เถื่อน
รัฎฐาธิปัตย์เถื่อน
| |
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
คำว่า “รัฏฐาธิปัตย์” ได้กลับกลายมาเป็นคำสำคัญตามหน้าหนังสือพิมพ์อีกครั้งเมื่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.(คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ได้ประกาศบนเวทีสวนลุมพินี เมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมาว่า กปปส. ได้มีการประชุมแกนนำเครือข่ายทั่วประเทศซึ่งมีประมาณ 1,800 กลุ่ม และตกลงให้ต่อสู้ต่อไปเป็นยกสุดท้าย โดยจะยึดอำนาจประเทศไทย เพราะอำนาจอธิปไตยตกเป็นของปวงชนชาวไทยตั้งแต่ที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภา ดังนั้น กปปส.จึงมีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะประกาศความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของประชาชน เหมือนกับสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อประกาศตัวเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แล้วจะสั่งยึดทรัพย์ตระกูลชินวัตรทั้งหมด แล้วให้ไปพิสูจน์เอาเองว่าทรัพย์ส่วนใดที่ที่หามาได้ด้วยความสุจริต จากนั้นจะออกคำสั่งห้ามคนตระกูลชินวัตร ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ห้ามออกนอกประเทศ
นายสุเทพ กล่าวต่อไปว่า จากนั้น กปปส.จะออกคำสั่งแต่งตั้ง นายกฯ และคณะรัฐมนตรีของประชาชน และตนจะนำรายชื่อนายกฯ และ ครม. กราบบังคมทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และตนจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรฐมนตรี ในฐานะเป็นร่างทรงของประชาชน จากน้น จะตั้งสภานิติบัญญัติของประชาชน และรีบปฏิรูปประเทศตามพิมพ์เขียวที่ได้มีการระดมความคิดไว้ก่อนหน้านี้ และเมื่อดำเนินการปฏิรูป แก้ไขกฎหมายและรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ จะปล่อยให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามกระบวนการประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบที่แท้จริง การดำเนินการประกาศตัวเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของนายสุเทพคร้งนี้ ได้รับการอธิบายว่า เป็นการดำเนินการต่อเนื่องกับยุทธศาสตร์ที่ได้ดำเนินการมาแล้ว นับตั้งแต่การชุมนมของ กปปส.ที่เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา ตั้งแต่เริ่มผลักดันให้กองทัพทำการยึดอำนาจล้มรัฐบาล โค่นนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ และเสนอนายกรัฐมนตรีใหม่ตามมาตรา 7 ในกระบวนการนี้ นายสุเทพได้ปฏิเสธระบบรัฐสภาและการเลือกตั้ง แต่เสนอแนวทางปฏิวัติประชาชน โดยตั้งสภาประชาชนเองตามใจชอบเพื่อมาทำหน้าที่รัฐสภา และสุดท้ายเมื่อกองทัพไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะยึดอำนาจได้ แต่กลับเป็นศาลและองค์กรอิสระที่รับบททำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะล้มรัฐบาล นายสุเทพจึงประกาศการเป็นรัฎฐาธิปัตย์คู่ขนาน เพื่อรองรับการดำเนินการขององค์กรอิสระให้สมบูรณ์มากขึ้น ปัญหาก็คือคำว่ารัฏฐาธิปัตย์ที่นายสุเทพประกาศใช้ ไม่มีคำทางรัฐศาสตร์ที่ชัดเจน เพราะคำว่า sovereignty ที่หมายถึงอำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ได้ถอดเป็นภาษาไทยว่า “อำนาจอธิปไตย” ซึ่งในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยย่อมเป็นของประชาชน หมายถึงว่า ประชาชนจะต้องเป็นเจ้าของรัฎฐาธิปัตย์ ซึ่งก็คือจะต้องเป็นการเมืองในระบอบรัฐสภาที่ยอมรับในเสียงของประชาชน ถ้ายอมรับความหมายในลักษณะนี้ ย่อมไม่เหตุผลใดเลยที่จะปฏิเสธการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพราะอย่างน้อยในขบวนการเลือกตั้งก็เป็นการสะท้อนอำนาจของประชาชนที่ชัดเจนที่สุด คำถามที่จะต้องถามก็คือ กปปส.ใช้สิทธิอะไรมาใช้อำนาจแทนประชาชน โดยไม่ต้องการผ่านการเลือกตั้ง หรือใครเป็นคนตั้งให้นายสุเทพเป็นร่างทรงของประชาชน จะอ้างอำนาจการมาชุมนุมสนับสนุนของประชาชนจำนวนมาก แล้วประกาศตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ยึดอำนาจจะเป็นไปได้หรือ เพราะถ้าเป็นดังนี้ กล่มคนเสื้อแดง นปช. ซึ่งก็มีผู้เข้าร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน ก็คงประกาศตัวเป็นรัฏฐาธิปัตย์ยึดอำนาจได้บ้าง ซึ่งกรณีนี้สะท้อนได้จากคำแถลงของนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับการประกาศตัวเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของนายสุเทพโดยอธิบายว่า "ถ้าหากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งประกาศตัวเป็นรัฏฐาธิปัตย์ได้ เดี๋ยวอีกฝั่งก็ประกาศบ้างสุดท้ายจะเกิดภาวะงูกินหางหรือกงกรรมกงเกวียนไม่จบสิ้น ดังนั้นการเคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนพรรคภูมิใจไทยคิดว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด" ประเด็นหลักของเรื่องนี้ก็คือ การอ้างเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของนายสุเทพเช่นนี้ ไม่มีกฏหมายใดในประเทศไทยรองรับเลย ถ้านายสุเทพจะยึดทรัพย์ตระกูลชินวัตร ห้ามใครออกนอกประเทศ และดำเนินการทูลเก้าฯตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเอง ก็จะเป็นการใช้อำนาจรัฐเถื่อน และเป็นเรื่องนอกกฏหมายทั้งหมด ไม่มีความชอบธรรมทางการเมืองอย่างใดเลย แม้กระทั่งในส่วนที่ศาลรัฐธรรมนูญ และกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)กำลงหาทางใช้อำนาจเพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรีรักษาการ ก็ยังเป็นที่วิจารณ์ด้วยซ้ำว่าเป็นการใช้อำนาจเกินกฏหมายแบบตั้งธงล่วงหน้าและมีลักษณะสองมาตรฐาน ซึ่งไม่มีความชอบธรรมเช่นกัน ถ้าจะถามต่อไปว่าแล้วในอดีตของประเทศไทยมีการสถาปนาอำนาจรัฐเถื่อนในลักษณะนี้หรือไม่ คำตอบก็คือ การสถาปนาอำนาจเถื่อนนอกกฏหมายเหล่านี้ทั้งหมดจะเกิดขึ้นหลังจากการยึดอำนาจของกองทัพ โดยเฉพาะการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ใน พ.ศ.2501 ตามที่นายสุเทพอ้างอิงถึง จอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มระบอบรัฐสภา แล้วสถาปนาระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จทั่วด้าน ใช้อำนาจเถื่อนจับกุมคุมขัง และประหารชีวิตประชาชนผู้ปราศจากความผิด การใช้อำนาจของจอมพลสฤษดิ์จึงไม่ได้เป็นอำนาจในระบอบประชาธิปไตย ไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นต้นแบบของการปกครองอันชอบธรรมได้ แต่ในสังคมไทย การอ้างรัฏฐาธิปัตย์ในอดีตกลับแสดงให้เห็นความเกี่ยวเนื่องอย่างยิ่งระหว่างการรัฐประหารกับขบวนการศาล เหตุเกิดหลังจากรัฐประหาร พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นการรัฐประหารของฝ่ายทหารบกเป็นครั้งแรก ในครั้งนั้น หลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น หลีละเมียร)ได้ยื่นฟ้องต่อศาลให้อำนาจของฝ่ายรัฐประหารเป็นโมฆะ เพราะเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญที่ได้มาอย่างถูกต้อง คำสั่งของคณะรัฐบาลที่ตั้งโดยคณะรัฐประหารแล้วโยกย้ายหลวงอรรถสารประสิทธิ์จากตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลังจึงไม่ชอบด้วยกฏหมาย ปรากฏว่า จากคำพิพากษาฎีกาที่ 45/2496 ได้อธิบายว่า แม้รัฐบาลที่ออกกฎหมายจะได้อำนาจมาโดยการรัฐประหารก็ตาม แต่สามารถที่จะยืนหยัดรักษาอำนาจของตนไว้ได้ การใช้อำนาจเช่นนั้นจึงมีผลตามกฏหมาย การตัดสินของศาลเช่นนี้ จึงกลายเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคดีต่อมา และเป็นการยอมรับความชอบธรรมของคณะรัฐประหารเสมอ ศาลไทยจึงไม่เคยต่อต้านรัฐประหาร และผลที่ตามมาคือ การรัฐประหารทุกครั้งที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะล้มรัฐบาลและล้มเลิกสภานิติบัญญัติ แต่ก็จะไม่แตะต้องอำนาจตุลาการ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ศาลและคณะรัฐประหารจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันเสมอมา แต่ในภาวะเช่นนี้ ปัญหาทางการเมืองที่ดำเนินอยู่ ถ้าจะแก้ไขให้ถูกต้องและตรงจุดแล้ว ควรจะต้องล้มเลิกอำนาจรัฏฐาธิปัตย์เถื่อนตามแบบของ กปปส.แล้วนำประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตยตามแบบฉบับโดยคณะกรรมการเลือกตั้ง(ก.ก.ต.) ต้องจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ อันจะนำสู่การเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนญ แล้วให้รัฐสภาเข้ามามีส่วนในการพิจารณาแก้ไขปัญหาของประเทศ ให้รัฐบาลใหม่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายบริหารประเทศให้ก้าวหน้าต่อไป นี่คือการนำความขัดแย้งทางสังคมทั้งมวลที่เกิดขึ้นให้กลับมาต่อสู้ในระบบ ซึ่งจะเป็นหลักประกันที่ดีกว่าในการเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างสันติวิธิ และลดความเสียหายแก่บ้านเมือง ถ้าหากไม่เป็นเช่นนี้ แต่สังคมไทยกลับยอมรับโอบอุ้มรัฏฐาธิปัตย์เถื่อนของ กปปส. และปล่อยให้องค์กรอิสระใช้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญขัดขวางและทำลายระบอบประชาธิปไตยต่อไป หรือแม้กระทั่งสนับสนุนการรัฐประหาร ก็จะเท่ากับว่า เป็นการผลักดันประเทศให้ถอยไปสู่ยุคบ้านป่าเมืองเถื่อน เศรษฐกิจของประเทศจะเสียหาย การพัฒนาการทางการเมืองจะชะงักงัน เหมือนอย่างที่ชะงักมาแล้วเป็นเวลากว่า 5 เดือน การแก้ปัญหาด้วยหลักประชาธิปไตยเท่านั้น จึงเป็นการสร้างรัฏฐาธิปัตย์อันถูกต้อง | |
http://www.redusala.blogspot.com/
|
ผบ.ทบ.ชี้กลุ่ม "รัฐบุคคล" เป็นทหารเกษียณ จะพูดอะไรก็เป็นความคิดท่าน
ผบ.ทบ.ชี้กลุ่ม "รัฐบุคคล" เป็นทหารเกษียณ จะพูดอะไรก็เป็นความคิดท่าน
| |
พล.อ.ประยุทธ์ยืนยันว่าไม่รู้จัก "โกตี๋" และปฏิเสธข่าวส่งทหารไล่ล่า ยืนยันทหารไม่เกี่ยวข้องกับเหตุรุนแรงที่หลักสี่ วอนประชาชนบ้านเมืองยังคับขัน อยากให้ช่วยกันแก้ไขไปในทางที่ถูกต้อง-ตามกฎหมาย ส่วน "รัฐบุคคล" เป็นทหารเกษียณที่อาจนัดเจอกันบ้าง และท่านคงไม่มาสั่งอะไร
4 ก.พ. 2557 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. เดินทางเป็นประธานในพิธีวันคล้ายวันสถาปนาหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ครบรอบ 66 ปี ณ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เขตพระนคร โดยผู้บัญชาการทหารบกได้ร่วมประกอบพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 ,ร่วมประกอบพิธีสงฆ์และลงนามสมุดตรวจเยี่ยม พร้อมขึ้นแท่นรับการเคารพจากแถวทหารต้อนรับ นอกจากนี้ผู้บัญชาการทหารบก ได้มอบแหนบทองคำให้กับผู้บังคับกองผสม ,มอบโล่แก่ผู้บังคับการกรมสวนสนาม 4 กรม และมอบเงินสงเคราะห์แก่คู่สมรสและบุตร ของกำลังพลในสังกัดหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
ทั้งนี้ ข่าวสด ได้เผยแพร่คำให้สัมภาษณ์ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ปฏิเสธข่าวที่ว่า นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ โกตี๋ แกนนำ นปช.ปทุมธานี ถูก ผบ.ทบ. สั่งทหารไล่ล่า โดย พล.อ.ประยุทธ์ ถามว่า เขาเป็นใคร ตนไม่ให้ความสนใจขนาดนั้น เจ้าหน้าที่ไม่สามารถทำอะไรนอกกฏหมายได้อยู่แล้ว ควรไปคิดว่า ควรเชื่อเขาหรือเชื่อตน ส่วนจะฟ้องร้องดำเนินคดีหรือไม่ เป็นเรื่องของกฎหมายที่ต้องว่ากันไป ทั้งนี้ตนคงไม่ให้อภัย เพราะไม่ได้เป็นศัตรูกัน
ส่วนเหตุการณ์ความรุนแรงที่แยกหลักสี่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่า จะต้องมีการตรวจสอบทั้งสองฝ่าย ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า อาวุธที่ใช้เป็นของทหารนั้น มันจะออกมาได้อย่างไร เพราะปืนทหารทุกกระบอกต้องอยู่ในคลัง และปืนทหารไม่ได้ถือติดตัว ทุกวันนี้ทหารมีระเบียบ มีกฎกติกา การเบิกอาวุธออกมาจากคลังต้องมีผู้รับผิดชอบ ถ้าไม่ได้รับคำสั่งให้มีการเคลื่อนย้ายหรือใช้อาวุธ ปืนทุกกระบอกของทางราชการต้องอยู่ในคลังทั้งหมด ถ้าจะเอาออกมามี 2 อย่าง คือ ขโมยออกมา หรือ ไม่ใช่ของทหาร แต่เอามาจากที่อื่น ซึ่งจากการตรวจสอบไม่พบว่า ปืนหายออกไป มีแต่ปืนที่หายไปตั้งแต่ปี 53 และยังไม่ได้คืน ขอให้ช่วยกันหาว่า ปืนเอ็ม 16 และทราโว่อยู่ที่ไหน ซึ่งทุกคนทราบดีว่า หายไปไหน ภาพก็มีอยู่ ให้ไปหาผู้ที่เกี่ยวยข้องมาชี้แจงว่า ปืนหายไปไหน และเอาไปยิงใครบ้างแล้วก็ไม่รู้
"การจะพูดอะไรหรือเป็นข่าวอะไร ขอให้ตรวจสอบด้วย การเป็นทหารไม่ใช่ว่า นึกอยากทำอะไรก็ทำ เรามี 2 สถานะ คือ การเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเมื่อเป็นเจ้าหน้าที่ต้องเคารพกฎหมาย ถ้าเราไม่ยึดถืออะไร ทำตามชอบใจ คงไม่ใช่กองทัพ และจะอันตราย ยืนยันว่า ทหารไม่ได้มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปะทะ บางคนเคยเป็นพลทหารแล้วออกมาเป็นพลเรือน ท่าขว้างระเบิดก็ไม่ยากอะไร หลับตาขว้างก็เหมือนกัน อย่ามองให้เป็นยุทธวิธีกันไปเสียหมด วันนี้อยากให้สังคมช่วยกันวิเคราะห์ให้รอบคอบไม่ว่า จะเป็นภาพหรือข่าวที่เผยแพร่กันในโซเชียลมีเดีย โดยมีข้อเท็จจริงไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่เป็นการเขียนแล้วแต่ว่า ชอบข้างไหน โดยไม่คำนึงถึงผลเสียว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างกับบุคคลหรือองค์กรที่ถูกกล่าวอ้าง โดยเฉพาะกองทัพบกที่ทำงานเยอะ แต่วันนี้ถูกต่อว่ามากมาย ยืนยันว่า จะทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด โดยไม่ไปขัดแย้งกับใครทั้งสิ้น"
"วันนี้สถานการณ์บ้านเมืองยังคับขันอยู่ อยากให้ทุกคนช่วยกันแก้ไขปัญหาไปในทางที่ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย และอย่าสร้างความรุนแรงให้เกิดขึ้น ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งทำผิดกฎหมายแล้วไม่ใช้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ และให้อีกพวกหนึ่งใช้วิธีการนอกกฎหมายมากระทำต่อผู้ทำผิดกฎหมาย ถามว่า ถูกต้องหรือไม่ บ้านเมืองมีขื่อ มีแป บ้างไหม ดังนั้นขอเตือนไว้เสียก่อน ถ้าไม่ได้ทำอะไรผิดก็ไม่ต้องร้อนตัว ไม่ต้องไปกล่าวอ้างอะไรทั้งสิ้น เท่าที่ทราบมีการแจ้งดำเนินคดีมาก ถ้ากลับมาตำรวจคงต้องจับ แทนที่จะไปสู้รบตบมือกับอริราชศัตรูกลับต้องมารบกันเอง แล้วคนที่มาใช้อาวุธ รบกันก็เป็นนักเลงเสียส่วนใหญ่" ผบ.ทบ.กล่าว
ส่วนกรณี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่มีผู้สื่อข่าวถามว่า ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเพราะคนไม่เคารพกฎหมาย โดยปี 53 ก็มีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่แก้ไขไม่ได้ แต่จำเป็นต้องใช้ เพราะเมื่อสถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น ก็ต้องมีการใช้กฎหมาย แต่ขึ้นอยู่กับว่า คนจะเชื่อฟังกฎหมายหรือไม่ และผู้ปฏิบัติจะดำเนินการได้ถูกต้อง รัดกุม รอบคอบ ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายหรือไม่ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเดียว บางครั้งก็เป็นปัญหา เพราะไม่ใช่โจรผู้ร้ายปกติ เนื่องจากครั้งนี้เป็นเรื่องความขัดแย้ง ดังนั้นการบังคับใช้กฎหมายมากๆ ความขัดแย้งก็ยังไม่ลดลง ขอให้ไปหาว่า ความขัดแย้งอยู่ที่ไหน ใครจะต้องแก้ และแก้อย่างไร อย่าทำให้ทุกอย่างสับสน
ส่วนกรณี พล.อ.สายหยุด เกิดผล อดีต ผบ.สส. พล.อ.วิมล วงศ์วานิช อดีต ผบ.ทบ. และอดีตนายทหารระดับสูงจัดตั้งกลุ่ม "รัฐบุคคล" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว ท่านเกษียณอายุไปแล้ว ท่านคงนัดเจอกันบ้าง เพราะมีห่วงใยชาติบ้านเมือง แต่ท่านไม่ได้มายุ่งเกี่ยวอะไรกับพวกตน ไม่ได้มาสั่งอะไร มีแต่ให้กำลังใจ ท่านก็แค่นั่งกินกาแฟ และแสดงความคิดเห็น อาจไม่รู้จะคุยอะไรกันจึงคุยเรื่องบ้านเมือง เรื่องกองทัพบ้าง ส่วนท่านจะพูดอะไร เป็นความคิดเห็นของท่าน ท่านหมดหน้าที่จากกองทัพไปแล้ว คิดว่า ท่านคงไม่มาสั่งอะไรใคร แต่ความคิดของคนห้ามกันไม่ได้ ตราบใดที่บ้านเมืองยังไม่สงบ ทุกคนมีสิทธิ์คิด แต่ปัญหา คือ จะทำอย่างไรให้ถูกต้องเหมือนกองทัพบกที่พยายามทำให้ถูกต้อง
สำหรับคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การจัดการเลือกตั้งไม่ใช่หน้าที่ของตน หน้าที่ของตน คือ ดูแลความสงบเรียบร้อยให้กับประชาชน ซึ่งวันเลือกตั้งถือว่า มีความเรียบร้อยน่าพอใจอยู่ในระดับหนึ่ง และถือว่า ดีที่สถานการณ์ไม่เป็นไปอย่างที่ประเมินไว้ ไม่มีการสูญเสียหรือมีคนตาย แต่จะให้เห็นด้วย หรือไม่กับการเลือกตั้ง ตนคงไม่ตอบในเรื่องนี้ เพราะไม่ได้มอบหน้าที่ให้ตนจัดการเลือกตั้ง ส่วนที่ไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เพราะเจ้าหน้าที่ออกมาปฏิบัติหน้าที่
เมื่อถามว่า กดดันหรือไม่ที่มีผู้ใหญ่หลายฝ่ายกดดันให้กองทัพทำรัฐประหาร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ใครจะมากดดันตน ผู้ใหญ่ที่ไหนไม่มี อย่าพูดให้ท่านเสียหาย สื่อเขียนไปเรื่อยเปื่อย ทำให้คนเหล่านั้นเสียหาย ตนโตมาถึงบัดนี้คงไม่มีใครมาบังคับ ตนทำงานด้วยระบบและกติกา ตนคงไม่ฟังอะไรที่นอกเหนือจากกติกาของกองทัพบก ดังนั้นไม่มีใครชักจูงตนได้
| |
http://www.redusala.blogspot.com/
|
กองปราบประชุมตั้งชุดติดตามจับกุมคดีหมิ่น
กองปราบประชุมตั้งชุดติดตามจับกุมคดีหมิ่น
| |
ตำรวจกองปราบฯ ประชุมคดี “โกตี๋” หมิ่นเบื้องสูง ซึ่งมีความชัดเจนแล้ว 4-5 คดี โดยจะเร่งรัดทำคดีและตั้งชุดทำงานติดตามจับกุม ส่วนคดี "โรส" อยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานตรวจสอบ หากอยู่อังกฤษอาจใช้สนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน 18 เม.ย. 2557 สำนักข่าวไทยรายงานว่าพล.ต.ต.นรบุญ แน่นหนา รักษาการผู้บังคับการกองปราบปราม ประชุมพนักงานสอบสวนคดีนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ หมิ่นสถาบันเบื้องสูง โดยวันนี้เป็นการรวบรวมคดี ตรวจสอบการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องต่างกรรมต่างวาระที่เกิดขึ้นในอดีต หากพบมีความผิดเพิ่มเติมจะพิจารณาแจ้งข้อหาเพิ่ม รวมถึงคดีของบุคคลอื่นที่เข้าข่ายลักษณะเดียวกัน ซึ่งคดีโกตี๋มีความชัดเจนแล้ว 4-5 คดี และเมื่อวานได้ชี้แจงต่อกรรมธิการตำรวจ หลังมีความเห็นว่าคดีล่าช้า ซึ่งจากการชี้แจงกรรมมาธิการตำรวจมีแนวโน้มพอใจการดำเนินคดี ทั้งนี้ ยืนยันจะเร่งรัดคดีและทำอย่างรัดกุม เนื่องจากเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ส่วนการติดตามตัวนายโกตี๋มีการตั้งชุดทำงาน โดยมี พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าชุด พร้อมส่งหมายจับไปทุกหน่วยงานทั่วประเทศ คาดตัวยังอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนการติดตามคดีของ น.ส.ฉัตรวดี อมรพัฒน์ หรือ โรส อยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานตรวจสอบคลิปวิดีโอ เชื่อว่าอยู่ที่ต่างประเทศ โดยจะทำสำนวนส่งอัยการ หากพิสูจน์ว่าอยู่อังกฤษจริง จะใช้สนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนมาดำเนินคดีต่อไป | |
http://www.redusala.blogspot.com/
|
ปปช. มามุกใหม่!! "เล่นจำนำข้าว-ถวิล เปลี่ยนศรี" อาจไม่เวิร์ค เตรียมเรียกนายกฯ สอบมีนาฬิกาหรู 2.5 ล้าน ร่ำรวยผิดปกติ
เตรียมเรียกนายกฯ สอบมีนาฬิกาหรู 2.5 ล้าน ร่ำรวยผิดปกติ
| |
จากกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีหนังสือแจ้งไปถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนาฬิการาคาเรือนละ 2.5 ล้านบาท ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้การต่อศาลฎีกาในการพิจารณาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ได้ให้เงินจำนวน 2.5 ล้านบาท แก่ น.ส.พิณทองทา ชินวัตร หลานสาว (ลูกสาวคนรอง พ.ต.ท.ทักษิณ) ไปซื้อนาฬิกามาให้ แต่ในการแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. ช่วงรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุว่า มีนาฬิกา อยู่ในความครอบครอง จำนวน 9 เรือน รวมมูลค่า 1.8 ล้านบาท ไม่ปรากฏนาฬิกา ราคาเรือนละ 2.5 ล้านบาท แต่อย่างใด
ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2557 สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ได้รับการยืนยันข้อมูลจาก ป.ป.ช. ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ส่งหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องการถือครองนาฬิกาเรือนละ 2.5 ล้านบาท ดังกล่าวมาให้ ป.ป.ช. รับทราบอย่างเป็นทางการแล้ว
อย่างไรก็ตาม การชี้แจงข้อมูลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ดังกล่าว ยังมีประเด็นที่ไม่ครบถ้วนเพียงพอ ทาง ป.ป.ช. จึงได้ทำหนังสือแจ้งให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามาใหม่อีกครั้ง
นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์ยืนยันสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า ป.ป.ช. ได้ทำหนังสือแจ้งให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชี้แจงข้อมูลเรื่องนาฬิกาเข้ามาเพิ่มเติมจริง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ส่งหนังสือชี้แจงข้อมูลเข้ามาให้รับทราบเป็นทางการแล้ว
"ข้อมูลที่นายกฯ ชี้แจงเข้ามาในเบื้องต้น เราเห็นว่ายังไม่ชัดเจนเพียงพอ จึงได้ออกหนังสือแจ้งให้นายกฯ ชี้แจงเพิ่มเติมเข้ามาใหม่อีกครั้งแล้ว" เมื่อถามว่า มีการกำหนดกรอบระยะเวลาในการให้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมหรือไม่ นายวรวิทย์ ตอบว่า "จำไม่ได้ ทราบแต่เพียงว่าให้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามาโดยเร็วที่สุด" | |
http://www.redusala.blogspot.com/
|
ชาวลำพูน รวมตัวขับไล่ "กกต.สมชัย" ที่ตำหนิไม่จัดการเลือกตั้งให้เรียบร้อย
ชาวลำพูน รวมตัวขับไล่ "กกต.สมชัย"
| |
พี่น้องจังหวัดลำพูน รวมตัวประท้วง นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ที่ กกต.ประจำจังหวัดลำพูด แสดงความไม่พอใจที่นายสมชัย เขียนเฟสบุ้คตำหนิคนเสื้อแดงว่าถ่อย - เถื่อน - ต่ำ และปราศรัยโจมตีการทำงานของ กกต.ว่า ไม่จัดการเลือกตั้ง ทั้งนี้ จังหวัดลำพูน เป็นจังหวัดที่มีสถิติการใช้สิทธิ์เลือกตั้งสูงที่สุดในประเทศไทย ติดต่อกันถึง 11 ครั้งติดต่อกัน และเป็นจังหวัดที่มีการตื่นตัวด้านประชาธิปไตยอย่างน่าสนใจจังหวัดหนึ่งด้วย | |
http://www.redusala.blogspot.com/
|
อัน ฑะ บุก คน เขี่ยลูกให้ อัน ฑะ บุ หลุด
คลิปเด่นประจำวงการการเมืองหลังเลือกตั้ง 5 ก.พ. 2557 คือการประชุมตั้งกลุ่ม “รัฐบุคคล” (Man of the State) ของกลุ่มอดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ และนักกฎหมายกลุ่มหนึ่ง โดยใช้สถานที่สโมสรโปโลคลับ ลุมพินี
การประชุมกลุ่มรัฐบุคคล (ภาพจาก Facebook Kriengsak Lekkla)
เนื้อหาภายในคลิปการประชุมตั้งกลุ่มรัฐบุคคล ยังต้องวิเคราะห์กันต่อไป แต่ในเบื้องต้นมีข้อมูลและประวัติย่อของสมาชิกในกลุ่มรัฐบุคคล ดังนี้
ฝ่ายทหาร
การประชุมกลุ่มรัฐบุคคล (ภาพจาก Facebook Kriengsak Lekkla)
เนื้อหาภายในคลิปการประชุมตั้งกลุ่มรัฐบุคคล ยังต้องวิเคราะห์กันต่อไป แต่ในเบื้องต้นมีข้อมูลและประวัติย่อของสมาชิกในกลุ่มรัฐบุคคล ดังนี้
ฝ่ายทหาร
พล.อ.สายหยุด เกิดผล อดีต ผบ.สส. เกิด พ.ศ. 2465 ปัจจุบันอายุ 92 ปี จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เคยผ่านสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นผู้ร่วมจัดตั้ง “กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รอม.)” ในสมัยสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ เมื่อ พ.ศ. 2508, ภายหลังเติบโตในสายทหารจนเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) หลังจากเกษียณอายุราชการแล้วยังมีบทบาทวิจารณ์การเมืองอยู่บ่อยครั้ง ถือเป็นทหารนักวิชาการที่มีผลงานเขียนหนังสือหลายเล่ม
ความเคลื่อนไหวของกลุ่มอดีตนายทหารกลุ่มนี้ เคยมีข่าวว่าเป็นแนวร่วมสนับสนุน “กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ” (กปท.) ที่มีบทบาทในการชุมนุมช่วงปลายปี 2556 โดยชื่อสมาชิกที่เคยมีข่าวคือ พล.อ.สายหยุด, พล.อ.วิมล, พล.อ.อ.กันต์ นอกจากนี้ยังมี พล.ร.อ. บรรณวิทย์ เก่งเรียน, พล.ต.ท. สมเกียรติ พ่วงทรัพย์, นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ, และนายสนธิ เดชานันท์ อดีตผู้ว่าราชการ จ.สงขลา อย่างไรก็ตาม พล.อ.สายหยุด ได้ออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับกลุ่ม กปท. (ไทยรัฐออนไลน์)
บทความประกอบ ทหารที่ผมรู้จัก : พลเอกสายหยุด เกิดผล โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช
การให้สัมภาษณ์ของ พล.อ. สายหยุด ทาง ASTV ต่อปัญหาการเมืองไทย
พล.อ.วิมล วงศ์วานิช
อดีต ผบ.ทบ. เกิด พ.ศ. 2477 ปัจจุบันอายุ 80 ปี จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน (ครั้งที่ 1 ในปี 2534) สมัยยังรับราชการถือเป็นรุ่นพี่ของ “ชุดปฏิบัติการพิเศษ” ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีและองคมนตรี (อ้างอิง)
พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์
อดีต ผบ.ทอ. เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศระหว่าง พ.ศ. 2535-2536 มีบทบาททางการเมืองโดยเป็นแกนนำของ นกปภ. (กลุ่มนายทหารนอกประจำการที่ภักดีต่อสถาบันฯ และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ที่มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองช่วงปลายปี 2556 โดย พล.อ.กันต์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม และมีรองหัวหน้ากลุ่มคือ พล.อ.วิมล, พล.ร.อ. วิเชษฐ, พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ โดยกลุ่ม นกปภ. มีความเชื่อมโยงกับ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ “เสธ.อ้าย” อดีตประธานองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่ม (อ้างอิง)
คลิปแถลงข่าวของกลุ่ม นกปภ. ที่มี พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ อดีตผบ.ทอ. เป็นหัวหน้ากลุ่ม ร่วมแถลงโดย พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีต ผบ.ตร., นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาสภาความมั่นคงแห่งชาติ และพ.ท.กมล ประจวบเหมาะ อดีต สว. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2556
พล.ร.อ. วิเชษฐ การุณยวนิช
อดีต ผบ.ทร. เป็นผู้บัญชาการทหารเรือระหว่าง พ.ศ. 2534-2536 และเคยเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาระหว่าง พ.ศ. 2535-2539 นอกจากนี้เคยเป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคไทยรักไทยในระบบปาร์ตี้ลิสต์ อันดับที่ 87 (อ้างอิง) ถือเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม นกปภ. ที่นำโดย พล.อ.กันต์
พล.ร.อ. สุรวุฒิ มหารมณ์
อดีต เสธ.ทร. เคยเป็นเจ้ากรมยุทธการทหารเรือ และเกษียณราชการด้วยตำแหน่งเสนาธิการทหารเรือ
คลิปสัมภาษณ์ พล.ร.อ.สุรวุฒิ ในช่อง FMTV เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 (หลังการประกาศตั้งกลุ่มรัฐบุคคล)
พล.อ.อ. เทอดศักดิ์ สัจจะรักษ์
อดีต เสธ ทอ. เป็นหนึ่งในบุคคลที่เคยมีชื่อว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่ม กปท. ถือเป็นหนึ่งในบุคคลแนวร่วม พธม. ที่บุกยึดสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิใน พ.ศ. 2551 และยังถือเป็นจำเลยในคดีปิดล้อมสนามบินทั้งหมด 114 คนด้วย (อ้างอิง)
คลิป พล.อ.เทอดศักดิ์ สัจจะรักษ์ และ อ.ปราโมทย์ นาครทรรพ พูดประเด็นปัญหาพรมแดนไทย-กัมพูชา ทางช่อง FMTV
ฝ่ายพลเรือน
ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
เกิดเมื่อ พ.ศ. 2473 ปัจจุบันอายุ 84 ปี เป็นนักกฎหมายชั้นครู จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบปริญญาเอกด้านกฎหมายระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยปารีส เคยเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรรมการในหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาคเอกชน สภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง
ศ.อมร ถือเป็นนักกฎหมายมหาชนผู้มีชื่อเสียง และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐธรรมนูญมากคนหนึ่งของประเทศไทย (บทสัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์)
คลิปสัมภาษณ์ทางช่อง FMTV ในเดือนธันวาคม 2556
ศ.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ
นักวิชาการรัฐศาสตร์ และอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 และเคยร่วมจัดตั้งพรรคการเมือง คือ พรรคพลังใหม่ ภายหลังถือเป็นนักวิชาการคนหนึ่งในพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ช่วงวิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2548-2549 เขาเป็นผู้เปิดโปง ปฏิญญาฟินแลนด์ ซึ่งภายหลังได้รับการปฏิเสธจากฝ่ายการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งของประเทศไทย อดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
จบปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เคยมีบทบาททางการเมืองโดยเป็นหนึ่งในผู้เรียกร้องให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2531 นอกจากนี้ยังเป็นคอลัมนิสต์ให้กับสื่อในเครือผู้จัดการมาโดยตลอด
หลังจากเหตุการณ์วิกฤตการเมืองปี 2553 ศ.ชัยอนันต์ ได้เข้ามาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (ชุดของนายอานันท์ ปันยารชุน) ที่แต่งตั้งในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
คุณสุรพงษ์ ชัยนาม
อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล “พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์” มีศักดิ์เป็นหลานลุงของนายดิเรก ชัยนาม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหลายสมัย
สุรพงษ์ ชัยนาม เคยเป็นเอกอัครราชทูตของประเทศไทยประจำประเทศโปรตุเกส เวียดนาม และประเทศอื่นๆ รวม 5 ประเทศ ยังเคยเป็นอดีตอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
มีบทบาทด้านการเมืองโดยเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มพันธมิตรฯ และเป็นหนึ่งในจำเลยที่ถูกฟ้องจากคดีปิดสนามบินเมื่อ พ.ศ. 2551 นอกจากนี้ยังมีผลงานเขียนด้านนโยบายต่างประเทศของไทยอยู่บ่อยครั้ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)