วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เสียงคำรามจากนางสิงห์แห่งเอเชีย


[IMG]


          เสียงคำรามจากนางสิงห์แห่งเอเชีย  ยิ่งลักษณ์ชินวัตรนายกหญิงคนแรกของประเทศไทย

          "พวกมึงทำกันเกินไปแล้ว"

           ถึงแม้เป็นวลีที่หยาบกระด้างไม่เข้ากับบุคลิกของนายกหญิงคนแรกของประเทศไทยก็ตาม  แต่มันคือ สาระหลัก ที่ RED USA ขอฟันธงว่าเป็นข้อความที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องการสื่่อ ผ่านคำปาฐกถาที่ดังก้องกลางกรุงอูลันบาตอ เมืองหลวงของประเทศมองโกเลีย ระหว่างการประชุมประชาคมประชาธิปไตย เมื่อวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา เพื่อฟ้องร้องกล่าวโทษผู้ที่ทำร้ายประชาชนและขัดขวางระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย เป็นการยืนยันความจริงที่นานาประเทศได้รับรู้รับทราบกันดีอยู่แล้ว

         "พวกมึงทำกันเกินไปแล้ว"

          ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สื่อถึง พวกอนุรักษ์นิยมและบรรดาผู้ต่อต้านระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ส่งผลรุนแรงและล้ำลึกยิ่งกว่าคำท้าทาย ของม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ในวลีทอง "กูไม่กลัวมึง" ซึ่งกลายเป็นตำนานให้เล่าขานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

        มีเพียงผู้มีบารมีที่มั่นใจในอำนาจแห่งตนเท่านั้นที่สามารถกล่าวอย่างเรียบง่ายว่า "พวกมึงทำเกินไปแล้ว" โดยไม่จำเป็นต้องบอกต่อว่าถ้าพวกมึงยังขืนทำต่อไปอะไรจะเกิดขึ้น ไม่ต่างกับผู้มีบารมีและผู้มีอำนาจในหมู่บ้านที่บอกอันธพาลหน้าปากซอย
ด้วยเสียงเย็น ๆ ว่า "พวกมึงทำกันเกินไปแล้ว"

           การปาฐกถาของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ณ กรุงอูลันบาตอ ประเทศมองโกเลีย เปรียบประดุจเสียงคำรามของนางสิงห์ที่ดังก้องไปทั้งราวป่า ทำให้สรรพสัตว์น้อยใหญ่ ทั้งวิหกนกกา ชะนี ลิง ค่าง ต่างตื่นตระหนก ออกอาการหวาดผวา ส่งเสียงระเบ็งเซ็งแซ่ไปทั้งพงไพร

           อาการตื่นตระหนก ส่งเสียงระเบ็งเซ็งแซ่  ประดุจสัตว์ป่าตื่นเสียงคำรามของนางสิงห์มีปรากฏให้เห็นในสังคมไทยทั่วทุกมุมเมือง ตั้งแต่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ส่งเสียงคำรามยังมิได้เดินทางออกจากประเทศมองโกเลียด้วยซ้ำ

           ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใช้เวลาเพียงแค่ 13 นาทีกว่า ๆ ไม่ถึง 14 นาที ลำดับเหตุการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยย้อนหลังไป 15 ปีตั้งแต่ปี 2540 ที่มีรัฐธรรมนูญของประชาชน
ซึ่งคนไทยต่างหวังกันว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยแล้วและจะไม่มีการทำรัฐประหารอีกต่อไป

        แต่ความหวังของประชาชนไม่เคยเป็นจริงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกลับถูกโค่นล้มหลายครั้ง โดยการทำรัฐประหารบ้าง ด้วยปกาศิตของตุลาการภิวัฒน์บ้าง โครงการดีๆที่รัฐบาลของอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของเธอทำไว้เพื่อประชาชนถูกยกเลิก

        ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไล่เรียงเหตุการณ์ของประเทศไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ว่าแม้แต่ในปี พ.ศ. นี้ ก็ยังมีขบวนการต่อต้านประชาธิปไตยมีองค์กรอิสระที่ทำงานเกินหน้าที่ และมีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ตีกรอบไม่ให้ประชาธิปไตยในประเทศไทยเจริญงอกงาม

         คำปาฐกถาของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อหน้าบรรดาผู้นำประเทศประชาธิปไตยหลายสิบประเทศเปรียบเหมือนฟ้าผ่ากลางแดด ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าสมันน้อยทางการเมืองอย่าง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะหาญกล้าเข้าปะมือกับ อำนาจเก่า

        ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศต่อหน้าบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกประชาคมประชาธิปไตยที่เข้าร่วมประชุมว่าที่เธอสามารถมายืนต่อหน้าทุกท่านในการประชุมครั้งนี้เป็นเพราะพลังประชาชนที่เลือกเธอมา

        ด้วยเสียงเรียบ ๆ แต่หนักแน่นไม่ลุกลี้ลุกรน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แจกแจงปัญหาและอุปสรรคที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยและการต่อสู้ของประชาชน เพื่ออิสระและเสรีภาพจนต้องบาดเจ็บล้มตายและถูกคุมขังโดยไม่มีอาการหวาดหวั่นต่อผลที่จะตามมาแต่อย่างใด

         เสียงปรบมือของผู้เข้าร่วมประชุมดังกึกก้องยาวนานเมื่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปิดท้ายคำปาฐกถา ของเธอว่า "ดิฉันหวังว่าความเจ็บปวดที่ครอบครัวของดิฉันได้รับที่ครอบครัวของเหยื่อทางการเมือง และครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้ง 91 คนในเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ต้องเผชิญ จะเป็นความเจ็บปวดครั้งสุดท้ายของประเทศไทย"

          ตั้งแต่เปิดตัวสมัครเป็นผู้แทนราษฎรวันแรก จนได้รับเลือกตั้งและได้รับการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาจนเกือบครบสองปี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่เคยต่อล้อต่อเถึยงหรือแก้ต่างให้ตัวเองสักครั้ง ทั้ง ๆ ที่ถูกใส่ร้ายป้ายสี ได้แต่ทำตัวสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอมา

        ด้วยบุคลิกอย่าง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถ้าไม่เชื่อมั่นว่า"เอาอยู่" คงไม่ประกาศกร้าวกลางที่ประชุมของประชาคมประชาธิปไตยโลกว่า "ขอให้ความเจ็บปวดที่ประชาชนได้รับ จะเป็นความเจ็บปวดครั้งสุดท้ายของประเทศไทย"

        ด้วยบุคลิกอย่าง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถ้าไม่มั่นใจว่า“ชนะ”คงไม่ลงมือ คำสัญญาที่เธอให้ไว้กับประชาชนในการหาเสียงยิ่งลักษณ์ชินวัตรทำได้หมด ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน/ เงินเดือน 1 หมื่น 5 พันบาทสำหรับผู้จบปริญญาตรี / ข้าวราคา 1 หมื่น 5 พันบาท / กองทุนพัฒนาศักยภาพสตรี / รถคันแรก และ ฯลฯ ล้วนทำได้ดั่งคำสัญญา นั่นคือตัวอย่างของ "การพูดจริงทำจริง"

          ดังนั้นคำประกาศเดินหน้าเพื่อประชาธิปไตยไทย ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศต่อสังคมโลกในการประชุมที่กรุงอูลันบาตอ ประเทศมองโกเลีย คงมิใช่ "สักแต่พูด" แต่คงได้ผ่านการข่าว การวิเคราะห์สถานการณ์ การประเมินกำลัง การวางแผน และตัวบุคคลตลอดจนการอ่านอารมณ์มวลชน จนสามารถตัดสินใจวางยุทธศาสตร์จัดยุทธวิธีเผชิญหน้ากับอำนาจเก่าอย่างไม่อ้อมค้อม

           คำประกาศของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ว่า "ขอให้ความเจ็บปวดที่ประชาชนได้รับ จะเป็นความเจ็บปวดสุดท้ายของประเทศไทย" มันบาดลึกและท้าทายอำนาจขององค์กรอิสระและขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ซึ่งเป็นกำลังหลักของฝ่ายอนุรักษ์นิยมและผู้ฝักใฝ่เผด็จการอย่างยิ่ง จนออกอาการต้องดาหน้ากันมากล่าวหาด่าท่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างไร้เหตุไร้ผล

           ในขณะเดียวกันคำประกาศนั้นกลับเพิ่มความฮึกเหิม ให้กับประชาชนผู้รักความเป็นธรรมและได้ใจผู้ไขว่คว้าหาประชาธิปไตยไปเต็มๆ จนพร้อมผนึกกำลังเป็นหนึ่งพุ่งสู่"ศัตรูประชาชน"ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะ "ชี้เป้า"ให้

         แนวรบภาคประชาชนและฟากฝ่ายประชาธิปไตยพร้อมทำศึกแล้วทุกแนวรบ การเมืองภาคประชาชนโดยการนำของวิทยุชุมชน 13 สถานีหรือ กวป. ที่เรียกร้องให้ ตลก.หยุดปฏิบัติหน้าที่และขอโทษประชาชนกำลังเดินหน้าและรุกคืบอย่างมั่นคง โดยกำหนดเส้นตายให้ ตลก. องค์อิสระผู้ประเมินตัวใหญ่เกินจริงไว้ในวันที่ 8 พฤษภาคม มีประชาชนนับล้านทั้งในและนอกประเทศส่งกำลังใจและทุนทรัพย์ไปให้การสนับสนุนอย่างเนืองแน่น ตลอดจนเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างเกาะติด พร้อมเดินหน้าร่วมขบวนรบเมื่อถึงเวลา

           ในขณะที่แนวรบด้านองค์กรมวลชนอย่างนปช.ก็พร้อมเคลื่อนขบวนในวันที่ 19 พฤษภาคม แต่ในช่วงที่ขบวนใหญ่ยังไม่เคลื่อนโรงเรียนนปช.ก็รุกคืบยึดครองพื้นที่ไปทั่วประเทศ อุ่นเครื่องไปพลาง ๆ

         แนวรบฝ่ายนิติบัญญัติก็คึกคักไม่แพ้กัน พร้อมใจกันปฏิเสธอำนาจ ตลก. เดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญต่อไป อีกทั้งยังล่ารายชื่อทำเอกสารพร้อมลายเซ็นเพื่อยื่นถอดถอน ตลก. ที่ก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ

          แนวรบด้านพรรคเพื่อไทยและฝ่ายบริหารก็พร้อม จัดตารางเดินสายเปิดปราศรัย 10 เวทีใหญ่ทั่วประเทศ เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องนโยบายและการทำงานของรัฐบาล

          แนวรบด้านสื่อประชาธิปไตยทั้งวิทยุ โทรทัศน์และโซเชียลเน็ตเวิร์คก็เดือดพล่าน ทั้งนี้ยังไม่รวมแนวรบด้านต่างประเทศทั้งอาเซียน ยุโรป ตลอดจนประเทศมหาอำนาจ อย่างรัสเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่นและประเทศในตะวันออกกลางก็พร้อมยืนอยู่ข้างรัฐบาลยิ่งลักษณ์

          องค์กรต่างประเทศอย่างสหภาพรัฐสภาโลก สหภาพยุโรป ศาลโลก และศาลอาญาระหว่างประเทศ ก็ไม่ปลื้มกับการใช้อำนาจเกินขอบเขตของอำมาตย์ไทยและองค์กรอิสระที่เป็นสมุนบริวาร

         "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นางสิงห์แห่งเอเชีย"คงได้ตรวจสอบและประเมินสถานการณ์แล้วทุกด้าน อย่างลึกซึ้งและวิเคราะห์เจาะลึกรอบคอบ รอบด้านกว่าที่บทความนี้เอ่ยอ้างมากนัก
ปาฐกถาครั้งประวัติศาสตร์ของผู้นำไทยในเวทีโลกที่มองโกเลียจึงดังกึกก้องไปทั้งโลก

          ทุกแนวรบพร้อม  รอเพียงให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลั่นกลองศึกและคำรามเพลงรบเท่านั้น
คนที่ประนามหยามเหยียด "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ว่าโง่ไร้ภาวะผู้นำคงได้เห็นกับตากันครานี้ว่า
"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ตัวจริงเป็นเช่นไร

RED USA
MAY 1, 2013


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เธอช่างงดงามนัก

"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เธอช่างงดงามนัก"
หัวใจทุกดวงของ RED USAขอเป็นกำลังใจให้เธอ

[IMG]

        "จะไม่ให้ทำงานแล้วหรือคะ" เป็นคำพูดกึ่งคำถามที่ออกจากปากของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยเมื่อครั้งถูกนักข่าวรุกไล่ด้วยคำถามที่ต่อเนื่องมาจากการแถลงข่าวของ ปปช. ว่าเธออาจแจ้งทรัพย์สินอันเป็นเท็จ ในกรณีการให้กู้เงินจำนวน 30 ล้านบาทแก่ บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด ที่มีนาย อนุสรณ์ อมรฉัตร สามีของเธอเป็นเจ้าของ

         มันช่างเป็นคำพูดที่กินใจ แม้เสียงที่เปล่งออกมา มิได้ตัดพ้อต่อว่าผู้ใด และก็มิได้เจือปนด้วยโทนเสียงสำเนียงแห่งความท้อแท้สิ้นหว้ง แต่กลับเป็นกระแสเสียงที่สงบปนสติและหนักแน่นด้วยความมุ่งมั่นว่า ภาระกิจของเธอยังไม่เสร็จสิ้น เสียงที่เปล่งผ่าน แม้แผ่วเบาแต่กลับดังกึกก้องได้ยินกันไปทั้งโลกว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเธอมิได้สั่นคลอน แต่กลับหนักแน่นดุจหินผา

         ในขณะที่ใครต่อใครต่างคาดการณ์และคาดเดากันว่า โอกาสที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะถูกสอยออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยมีสูงยิ่ง เพียง ปปช. ชี้ว่าการให้กู้เงินจำนวน 30 ล้านบาทในช่วงปี 2549 ต่อปี 2550 มีมูลว่าเป็นการแจ้งทรัพย์สินอันเป็นเท็จเท่านั้น เธอก็จะต้องหลุดออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยทันที

         ทั้ง ๆ ที่การทำธุรกรรม การให้กู้ยืมเงินในครั้งนั้นเกิดขึ้นก่อนที่เธอจะก้าวเข้าสู่วิถีทางการเมืองหลายปี ในฐานะผู้มีชื่ออยู่อันดับ 1ในบัญชีผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ ที่มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเดิมพันเมื่อปี 2554

         ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เปิดตัวด้วยอาการประหม่า ตื่นเวที แต่สาระที่เธอสื่อถึงคนไทยทั้งประเทศและผู้ที่เฝ้ามองเธออยู่ทั้งโลกในวันนั้น กลับบาดลึกกินใจ ให้จดจำกันได้จากวันนั้นถึงวันนี้ว่าเธอมา "เพื่อแก้ไข มิใช่แก้แค้น"

[IMG]

         เพียง 49วันจากวันเปิดตัวถึงวันลงคะแนนเลือกตั้ง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำพาพรรค เพื่อไทย ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย สร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้ผู้นำทุกประเทศต้องเหลียวหน้ามามองว่าเธอเป็นใครกันแน่ CHARISMA ของเธอสูงส่งระดับใด

        แต่พลพรรคประชาธิปัตย์ผู้พ่ายแพ้การเลือกตั้งแบบหมดรูปทั้ง ๆ ที่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ ทั้ง ๆ ที่แก้ไขรัฐธรรมนูญเตรียมการกันไว้ล่วงหน้า เพื่อชิงความได้เปรียบในการเลือกตั้ง กลับดาหน้าขัดแข้งขัดขา เยาะเย้ยถากถาง ไปพร้อม ๆ กับการประกาศว่ารัฐบาลของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะมีอายุไม่เกิน 3 เดือน 6 เดือน ด้วยวลี "มากับน้ำ ไปกับน้ำ "

         วลีเด็ดที่ "เคย" เป็นความภาคภูมิใจของ พรรคประชาธิปัตย์ และปรปักษ์ทางการเมืองของ พรรคเพื่อไทย หลังการเลือกตั้ง ด้วยความมั่นใจว่า "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ไม่น่าจะรอดปากเหยี่ยวปากกาไปได้นานกว่านั้น แต่รัฐนาวาที่มี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นกัปตันกลับพานาวาลำนี้ผ่านคลื่นลมและโขดหินมาได้จนจะครบสองปีอยู่รอมร่อ และก็มิได้ล่มสลายใน 3 เดือน 6 เดือนอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์วาดหวังอยากให้เป็น จึงกลายเป็นความแค้นที่สุมไฟอิจฉาให้เร่าร้อนรุนแรง

        วันเวลาผ่านเลย ลุล่วงมาถึงวันนี้ "ความจริง" ก็เปิดตัวว่า "คนเสื้อแดง"มิใช่ "คนเผาบ้านเผาเมือง" วาทะกรรมป้ายสีหวังส่งผลกระทบซิ่งไปยัง"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และ"พรรคเพื่อไทย" ด้วยประสงค์ร้ายให้คนเกลียดชัง กลับกลายเป็นบูมเมอแรงที่ย้อนศรวิ่งเข้าหา "พรรคประชาธิปัตย์และผู้ร่วมขบวนการ" ในการล้อมฆ่าประชาชนกลางเมืองหลวงว่า"ใครคือคนเผาบ้านเผาเมือง" ตัวจริง

        ในขณะที่"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลับได้รับความรักและความชื่นชม" จากคนไทยและผู้นำประเทศทั่วโลก

[IMG]

            วันเวลาผ่านเลย ลุล่วงมาถึงวันนี้ "ความจริง" ก็ปรากฎว่า"น้ำมีเจ้าของ" ที่มีการ "วางแผนกันไว้ล่วงหน้า" เพื่อกวาดล้าง "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ให้ล้มระเนระนาดไปกับสายน้ำ ซึ่งมีปริมาณนับพันนับหมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ที่ไหลเชี่ยวกรากจากเหนือลงใต้เพื่อหาทางลงสู่ทะเล แต่"กทม" ที่มีคนของพรรคประชาธิปัตย์เป็น "ผู้ว่าการ" กลับสะกัดกั้นไม่ให้น้ำไหลผ่าน ปล่อยให้ประชาชนในเขตปริมณฑลจมอยู่ใต้น้ำนานนับเดือนอย่างเลือดเย็น

           ประชาชนจึง "ตาสว่าง" กันทั้งแผ่นดินว่าใครรักประชาชนจริง ทำให้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"กลายเป็น "นารีขี่ม้าขาว"ในสายตาประชาชน อีกทั้งยังได้รับคำชื่นชมจากองค์กรระหว่างประเทศและผู้นำนานาชาติว่าเป็น "ผู้นำหญิงคนแรกของโลก" ที่สร้างปรากฎการณ์แก้ไขภัยธรรมชาติครั้งยิ่งใหญ่ได้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

[IMG]



             ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่เคยปริปากกับการไร้น้ำใจและก็ไม่เคยให้ร้ายกับความร่วมมือที่ไม่เคยมีมาจากคนของพรรคประชาธิปัตย์ กลับก้มหน้าก้มตาทำงานแก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งกลางวันกลางคืน วันโกนไม่ละ วันพระไม่เว้น ไม่พักแม้วันหยุด ทั้งวันเสาร์และอาทิตย์

           "เอาอยู่" คือคำพูดติดปาก"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชนและนักลงทุนทั้งไทยและเทศ ว่ารัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องย้ายฐานการผลิตไปที่อื่น นอกจากคำว่า "เอาอยู่" แล้วยังมีคำว่า "Flood Way" ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ การแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมอย่างยั่งยืน กลับถูกพรรคประชาธิปัตย์จิตวิปริตนำมาล้อเลียนและตีความให้ประชาชนเกิดจินตนาการไปในทางลามกอนาจาร

          "ว.5โฟร์ซีซัน" "ที่รองรับน้ำ" ตลอดจนคำถากถางให้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ไปทำงานที่ "สาวเหนือช่ำชอง" ล้วนพรั่งพรูออกจากปากของพลพรรคประชาธิปัตย์และสมุนบริวารเพื่อเหยียบย่ำนายกรัฐมนตรีหญิงของประเทศไทยให้ต่ำลง หากขุดคุ้ยหาความจริง "พรรคประชาธิปัตย์" ต่างหากที่เป็นผู้ใฝ่ต่ำขนานแท้ เริ่มจาก นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์กับ"พฤติกรรมยอมรับลูกไม่รับเมีย ไม่แยแส ติ๋มการบินไทย" ต่อด้วย พฤติกรรมสุดอื้อฉาวของ 3ผู้บริหารสูงสุด แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ที่ร่วมกัน "รุมขยี้สวาทคุณหญิงตราตั้งสมาชิกพรรคของตนเอง" ในตู้นอนบนรถไฟด่วนสายใต้

         อีกทั้งยังมีเรื่องให้เม้าท์กันมันปากว่า"คุณนายแตงโมพยายามฆ่าตัวตายมากกว่า 1 ครั้ง" เพราะ "ไอ้มาร์ค"สามีตัวแสบไปหลงเสน่ห์สาวแก่ "อยากเป็นราชบุตรเขย"
[IMG]



เรื่องราวอื้อฉาวของพรรคประชาธิปัตย์ที่มีโลโก้เป็นพระแม่ธรณีบีบ...วยผม

           มีมากมายที่ผู้คนจำนวนมากได้รับรู้และจดจำจนกลายเป็นตำนานเล่าขานว่าเป็นพรรคแลกผัวแลกเมีย ทั้งนี้ยังไม่รวมเรื่อง "ดันดารา"และเรื่องที่เป็น "พรรคตีท้ายวัง" ซึ่ง "เทพเทือก" รู้เรื่องนี้ดีที่สุด เนื่องจากบุคคลในพรรคหลายคน "ตั้งแต่ระดับสูงลงมาถึงระดับเทพเทือกแอนด์เดอะมาร์ก" ล้วนอยากเป็นผัวของคนในวังทั้งนั้น

เอาตีนราน้ำและแกว่งเท้าหาเสี้ยนได้ทุกเรื่องคือพรรคประชาธิปัตย์

          เพียงอ่านคำ "หญ้าแฝก" เป็น "หญ้าแพรก" และการพลั้งพลาดในการพูดและปราศรัยบ้างบางครั้งคราว พลพรรคประชาธิปัตย์และสมุนบริวารก็กระพือข่าว เม้าท์กระจายว่า "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นั้น "โง่เง่า" ทำลายภาพพจน์ของประเทศ ไม่มีความเป็นผู้นำ ไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย  แต่ทว่าหาก "เจาะประเด็น" ว่า "ด้วยเรื่องของความโง่" กันจริงๆ พรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกนั่นแหละคือ "พวกโง่ตัวพ่อ" ที่โง่ "เกินเยียวยา" ตัวจริง

        ขอยกเอา นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย เป็นตัวอย่างอีกสักครั้ง นั่นคือ นายชวน หลีกภัย ขณะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย สามารถ"นั่งหัวเราะ" ฟังอดีตนายกรัฐมนตรีของมาเลเชียประนามว่าเป็น"คนโง่แห่งเอเชีย"  ในระหว่างการประชุมระดับนานาชาติได้อย่างไม่รู้เหนือรู้ใต้ แสดงความโง่ระดับเทพจริง ๆ ด้วยฝีมือล้วน ๆ ไม่มีตีนปน

        และอีกครั้งในการประชุมที่สหรัฐอเมริกา "นายชวน หลีกภัย" ฟังหัวข้อที่ผู้นำนานาประเทศเขาถกกันไม่รู้เรื่องเนื่องจาก"ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง" สิ่งที่ "นายชวน หลีกภัย" ทำในฐานะนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้นคือการ "นั่งสเก็ตภาพ" สเก็ตภาพอย่างเดียวยังไม่พอ ยังนำเอาภาพที่ตนวาดระหว่างเวลาการประชุมสำคัญนั้นมาโชว์ให้ผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่น ๆ ดูหลังการประชุมอีกด้วย มันเป็นความ "โง่เง่า" ที่ขำไม่ออกจริง

ต่ออีกนิดกับ "ความโง่" ในโครงการ สปก 4-01

         นายชวน หลีกภัย ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และผู้ครองตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มักกล่าวอ้างเสมอมาว่าตนเป็นลูกแม่ค้าขายพุงปลา เป็นเพียงลูกชาวบ้านธรรมดา แต่กลับไม่รู้ความหมายของคำว่า "เกษตรกร" ต้องให้สำนักงานกฤษฎีกา "ตีความ" ทั้ง ๆ ที่โครงการ สปก.4-01 เป็นโครงการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง แต่ นายชวน หลีกภัย ซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลและเป็นผู้ควบคุมนโยบายอยู่ในขณะนั้นกลับ "ตีลูกโง่" เมื่อถูกจับได้ว่า ได้มีการนำที่ดิน สปก.4-01 ไปแจกให้เศรษฐีลูกพรรคที่จังหวัดภูเก็ต จึงต้องแก้เก้อด้วยการประกาศว่า การจัดสรรที่ดินทำกินตามโครงการ สปก.4-01 เหมือนการสอบชิงทุน ไม่เลือกคนรวยคนจน
[IMG]

            เรื่อง "ไข่ชั่งกิโล" คงไม่ต้องพูดถึงเพราะประชาชนเขารู้กันไปทั้งโลกแล้วว่า"มันอัจฉริยะจริงๆ" แค่ลงทุนจ้างผู้เชี่ยวชาญเพียง "69 ล้านบาท" ก็ได้นโยบายการแก้ปัญหาไข่ที่ "เลิศล้ำในสามโลก" อย่างที่ "ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ" เคยพูดไว้ว่านโยบายนี้มีเงินอย่างเดียวทำไม่ได้ "ต้องโง่" ด้วย และที่โง่ล้ำเลิศไปกว่านั้น คือนโยบายของ "หนองเตย" ที่บังคับให้นักเรียนต้องหลังขดหลังแข็งนั่งรอเวลา 6 โมงเย็น เพียงเพื่อร้องเพลงชาติและส่งเสียง "ไชโย ไชโย ไชโย" หลังจากชักธงลงจากยอดเสา ทั้ง ๆ ที่มีการบ้านเต็มพิกัดให้ต้องกังวล ทั้ง ๆ ที่ข้าวต้องกิน น้ำต้องดึ่ม แต่เด็ก ๆ กลับต้องมาทนทุกข์ทรมานรอเวลาเป็นชั่วโมง ๆ รอเพื่อสนองนโยบายรักชาติแบบเอาหัวเดินต่างตีน ไม่รู้ว่ามันโง่หรือว่ามันบ้า เพราะคงไม่มีผู้รักชาติคนใดดีใจเมื่อธงชาติต้องถูกปลดลงจากเสาถึงกับส่งเสียง "ไชโย" ไม่ต่างกับการบังคับคนให้มาส่งเสียงหัวเราะแสดงความดีใจตอนหย่อนหีบศพลงหลุม ฉันใดฉันนั้น

           มีใครจำได้บ้างไหมว่า 67 ปีของพรรคประชาธิปัตย์ ได้ฝากผลงานอะไรไว้ให้ประเทศชาติและประชาชนบ้าง นอกจากการฉ้อฉลและโกงกิน ที่หลักฐานของการฉ้อราษฎร์ บังหลวงยังหลงเหลือให้เห็นตำตาคนไทยทั้งประเทศอยู่ในปัจจุบัน

          ปรส. 8 แสนล้าน - สปก.4-01 - โครงการโฮปเวลล์ - โครงการไทยเข้มแข็ง - สนามฟุตซอล - สถานีตำรวจ - รถดับเพลิง และอีกมากมายที่ไม่อาจบรรยายได้หมดในข้อเขียนเดียว แต่เชื่อไหมว่าพรรคประชาธิปัตย์กลับกล่าวหาพรรคอื่นว่าโกงกินได้อย่างไม่อายปาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวหา "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ว่าโกงทั้งแผ่นดิน และพากันยกโขยงออกมาคัดค้าน ขัดขวาง เตะถ่วง ทุกโครงการและทุกนโยบายของรัฐบาล ทั้ง ๆ ที่โครงการและนโยบายเหล่านั้นล้วนจัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาประเทศ สร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนไทยทั้งสิ้น

[IMG]

         ให้สงสารและเห็นใจ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" อย่างยิ่ง ที่ถูกพรรคประชาธิปัตย์และบรรดาลิ่วล้อบริวาร ด่าว่าแดกดัน กระทบกระเทียบเปรียบเปรยได้ทุกเรื่อง ทุกวัน ตั้งแต่เรื่องเสื้อผ้าหน้าผม ไปจนถึงกิจวัตรและภาระกิจในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหาร ที่ต้องประกอบภาระกิจในประเทศ และต้องเดินทางไปเยือนประเทศต่าง ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์และเจรจาการค้า แต่กลับถูกกล่าวหาว่า "หนีการประชุม" ไม่ให้เกียรติสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร "ไม่มาตอบ" กระทู้สด

         "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ไม่เคย "เสียน้ำตา" หรือใส่ใจกับ "เสียงเห่าหอนแดกดัน" เหล่านั้นแม้แต่น้อย นอกจากก้มหน้าก้มตาทำงานรับใช้ประชาชนต่อไป ตามสัญญาประชาคมที่ให้ไว้ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง เนื่องจากน้ำตาของ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" มีไว้เพื่อประชาชนเท่านั้น "ยามเห็นประชาชนทุกข์" เสียงของเธอสะอื้น น้ำตาคลอเบ้า" คนชั้นรากหญ้าสัมผัสได้ถึงความห่วงใย" แต่ชนชั้นอำมาตย์และพลพรรคประชาธิปัตย์กลับ "แดกดัน" ว่า "อ่อนแอ" ไร้ภาวะผู้นำ


[IMG]




          RED USA จึงขอประกาศไว้ ณ ที่นี้และตรงนี้ให้ เหล่าอำมาตย์ พลพรรคประชาธิปัตย์ องค์กรอิสระและสมาชิกของขบวนการยุติธรรมไทยที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาชน จงได้รับรู้โดยทั่วกันว่าเวลาของพวกท่านใกล้จบลงแล้ว เพราะประชาชนจะไม่ทนให้ท่านเหยียบย่ำและทำร้ายตัวแทนของประชาชนอีกต่อไป
        หาก "น้ำตาของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ต้อง "หลั่งนอง" เพราะ "ความโหดร้าย" ของพวกท่าน โปรดได้จดจำไว้ว่าสงครามประชาชน เพื่อไล่ล่ากวาดต้อนพวกท่านทุกรูปนามไปสู่ขุมนรกอเวจีได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
RED USA
April 9, 2013

RED USA คือใคร... ใครคือ RED USA


RED USA คือใคร... ใครคือ RED USA




RED USA คือใคร... ใครคือ RED USA
RED IN USA

1. Red USA 

      คือกลุ่มคนที่รักประชาธิปไตยและความยุติธรรมในมหานครลอสแองเจลิสที่รวมตัวกันอย่างหลวม ๆ แต่หนักแน่นในด้านอุดมการณ์ เพื่อให้การสนับสนุนคนเสื้อแดงกลุ่มต่างๆ
ในประเทศไทยที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และยังให้ความช่วยเหลือกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอุดมการณ์เดียวกัน

2. กิจกรรมของ Red USA

      Red USA นอกจากให้การสนับสนุนขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในรูปของทุนทรัพย์แล้ว ยังช่วยเผยแพร่สถานการณ์การกดขี่ประชาชนและขยายผลกิจกรรมการต่อสู้ของขบวนการประชาธิปไตยไทยให้นานาประเทศได้รับรู้




      Red USA ยังจัดกิจกรรมต่อต้านเผด็จการ เรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมือง ต่อต้านการมีอยู่ของกฎหมายหมิ่นฯ เขียนบทความและทำกิจกรรมกลางแจ้งอีกมากมาย เพื่อตอกย้ำอุดมการประชาธิปไตยและยืนยันการมีส่วนร่วมในการต่อสู้ คู่ขนานไปกับขบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทย

3. การมีส่วนร่วม





          Red USA มีส่วนร่วมในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อน รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบรรดาผู้ที่ติดตามผลงานของ Red USA ย่อมรับรู้และรับทราบเป็นอย่างดี

4. Red USA และ กวป.


          Red USA เฝ้ามองและส่งกำลังใจให้กับการต่อสู้ของภาคประชาชน โดยการนำของกลุ่มวิทยุชุมชนที่ใช้ชื่อย่อว่า กวป. เพื่อขับไล่ ตลก. ที่ทำตนใหญ่เกินหน้าที่

         นอกจากกำลังใจที่ส่งมาให้แล้ว Red USA ยังส่งปัจจัยมาช่วยอีกด้วย นั่นคือครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 24 เมษายน 2013 จำนวน 36,000 บาท และในครั้งนี้อีกจำนวน 30,000 บาท




นาทีที่ 28.07 เป็นต้นไป

5. Red USA

         กิจกรรมที่ Red USA ทำมาตั้งแต่ต้นจนปัจจุบัน มิได้มุ่งหวังชื่อเสียงหรืออำนาจหน้าตาให้กับผู้หนึ่งผู้ใด แต่เพียงประสงค์ให้ขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย ได้รับรู้ว่าพวกท่านยังมีพี่น้องร่วมรบอยู่อีกกลุ่ม แม้จะอยู่ห่างไปสุดขอบฟ้า ยังอีกฟากฝั่งของท้องทะเล

Red USA
จะยังคงอยู่ร่วมสู้กับพวกท่าน เราขอสัญญา

ความเสื่อมถอยของสถาบันศาล : ความจริงในสายตาประชาชน

ความเสื่อมถอยของสถาบันศาล : ความจริงในสายตาประชาชน

Fri, 2013-05-03 19:25

 
         เมื่อพูดถึงสถาบันศาลในสังคมไทยปัจจุบัน ก็ต้องเข้าใจว่าผู้เขียนไม่ได้หมายถึงเฉพาะสถาบันศาลหรือตุลาการที่เคยถือว่าเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตยสูงสุดของสังคมไทย ที่มีประธานศาลฎีกาซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีและประธานรัฐสภาเป็นประมุขสูงสุด นับตั้งแต่มีการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นต้นมา จนถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน สถาบันศาลใหม่ๆหลายศาลได้เกิดขึ้นในฐานะเป็นองค์กรอิสระเช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองฯ ศาลเหล่านี้ดูเหมือนไม่ได้มีความผูกพันกับสถาบันตุลาการเดิมในเชิงอำนาจ แต่อาจกลายเป็นอำนาจอธิปไตยใหม่ที่อาจมีอำนาจเหนือกว่าอำนาจอธิปไตยเก่าอย่างรัฐบาลหรือรัฐสภาด้วยซ้ำไป ดังนั้นเมื่อพูดถึงสถาบันศาลในบทความนี้ผู้เขียนก็จะหมายรวมศาลเหล่านี้เข้าไปด้วยกัน
 
          ที่ผ่านมาถ้ามองตามกรอบแนวคิดเรื่องประชาธิปไตย กล่าวได้ว่าสถาบันศาลหรือตุลาการนั้นเป็นระบบที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร เพราะสถาบันศาลนั้นยังเป็นเรื่องของข้าราชการโดยสมบูรณ์ ไม่โยงยึดกับประชาชน ประชาชนไม่มีโอกาสเลือกหรือบอกว่าผู้พิพากษาคนใด ที่ประชาชนต้องการหรือไม่ต้องการให้ทำหน้าที่ ถ้าคำว่า “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันตรงกับที่ฝรั่งเรียกว่า Bureaucratic polity ซึ่งหมายถึง ระบบการเมืองที่ข้าราชการเป็นใหญ่เหนือกว่าฝ่ายอื่นๆ กล่าวได้ว่าสถาบันศาลนั้นมีความสอดคล้องกับคำว่าระบอบอำมาตยาธิปไตย มากกว่าระบอบประชาธิปไตย ดีไม่ดีจะไปสอดคล้องกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชด้วยซ้ำไป เพราะคนในระบบตุลาการมักกล่าวเสมอว่าศาลได้รับมอบพระราชอำนาจมาจากพระมหากษัตริย์โดยตรง ทำให้ประชาชนไม่สามารถโต้เถียงหรือวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาลได้ ใครบังอาจกระทำก็อาจถูกข้อหาหมิ่นศาล ถูกศาลจำคุกได้ ไม่เหมือนฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีที่มาที่ไปหรือความสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้แตกต่างกับศาล แต่ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ค่อนข้างมาก แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยน้อยที่สุด แต่สถาบันศาลกลับได้รับความเชื่อถือจากประชาชนเป็นอย่างมาก จนเกิดเป็นคำพูดว่า “ที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน คือ ศาลยุติธรรม” ซึ่งหมายความว่าเมื่อเกิดความขัดแย้งในหมู่ประชาชน ประชาชนทุกคนจะรับฟังศาล ศาลตัดสินอย่างไรทุกฝ่ายก็พร้อมใจกันยอมรับตามคำตัดสินนั้น ไม่มีการโต้เถียงกันอีกต่อไป

 
         การยอมรับอำนาจของสถาบันตุลาการหรือศาลโดยดุษฎีของประชาชน แน่นอนส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อว่าศาลเป็นเสมือนตัวแทนขององค์พระมหากษัตริย์ แต่เหตุผลในการยอมรับอีกส่วนหนึ่งก็มาจากความจริงที่ว่าคนในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะผู้พิพากษาทั้งหลาย ซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก ล้วนวางตัววางบทบาทของตนได้อย่างเหมาะสมดี ท่านมักจะวางตนเองให้อยู่เหนือความขัดแย้งในสังคม มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง พยายามเก็บตัวเงียบๆ ไม่ค่อยไปปรากฏตัวแสดงความคิดเห็นใดๆในที่สาธารณะหรือสื่อสารมวลชน เมื่อทำหน้าที่ตัดสินคดีความก็จำกัดบทบาทของตนเองให้อยู่ในประเด็นของกฎหมายอย่างแท้จริง ตัดสินคดีโดยอิงกับตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่มีการตีความกฎหมายตามอำเภอใจหรือใส่ดุลยพินิจจนเกินเลย ประกอบกับความขัดแย้งหรือคดีความส่วนมาก ก็มักเกิดจากความเข้าใจข้อกฎหมายไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ผู้พิพากษาจึงสามารถอธิบายให้คู่ความเข้าใจกฎหมายและตัดสินคดีความให้เกิดความยุติธรรมสอดคล้องกับหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติเป็นอย่างดี การยอมรับต่อสถาบันศาลของประชาชนจึงมีค่อนข้างสูงตลอดมา
 
         นั่นเป็นภาพในอดีต วันนี้ภาพลักษณ์ของสถาบันศาลในสายตาประชาชน ไม่ได้สวยงามอย่างนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งนั้นมาจากด้านประชาชน ประชาชนในวันนี้มีความคิด มุมมองหรือกระบวนทัศน์(paradigm) ทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไปมาก สิ่งที่เคยยอมรับ เคยปฏิบัติตามโดยปราศจากความสงสัยในอดีต ถูกตั้งคำถาม และคนของรัฐที่เกี่ยวข้องก็มักจะตอบให้สมเหตุสมผลไม่ค่อยได้ เช่น เขาถามว่าทำไมประชาชนจะวิจารณ์ศาลไม่ได้ ในเมื่อรัฐธรรมนูญบอกว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยซึ่งรวมถึงอำนาจศาลด้วย แต่อีกส่วนหนึ่งก็เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในสถาบันศาลนั่นเอง 

           ตั้งแต่การรัฐประหารปี 2549 เป็นต้นมา บุคลากรในวงการศาลส่วนหนึ่งได้เปลี่ยนบทบาทตัวเองไปจากเดิม สถาบันตุลาการได้ถูกดึงให้เข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ในลักษณะการใช้อำนาจศาลเข้ามาแก้ไขปัญหาการเมือง หรือพูดง่ายๆสถาบันศาลถูกดึงเข้ามาเป็นผู้ชี้ขาดว่าพรรคการเมืองใด นักการเมืองคนใดควรได้หรือควรหมดอำนาจทางการเมือง ช่วงหลังการรัฐประหารเราได้เห็นบุคลากรระดับสูงของศาลไปร่วมเป็นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ร่วมเป็นองค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบนักการเมืองที่ถูกรัฐประหาร เห็นบุคลากรของศาลหลายต่อหลายคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองที่ถูกรัฐประหารผ่านสื่อสาธารณะ พูดได้ว่าหลังการรัฐประหาร 2549 บุคลากรในสถาบันศาลส่วนหนึ่ง ซึ่งเคยวางตนอยู่ห่างจากความขัดแย้งทางการเมืองทั้งปวง ได้พลอยเข้ามามีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมืองกับเขาด้วย 

 
          เมื่อย่างก้าวเข้ามาสู่เวทีแห่งความขัดแย้ง แน่นอนบุคลากรในวงการศาลหลายคน ก็หลีกหนีความเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาไม่ได้ ยิ่งความขัดแย้งมีลักษณะเป็นการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ระหว่างฝ่ายอนุรักษ์ดั้งเดิมที่มักอาศัยความได้เปรียบที่เคยมี สถาปนาตนเองเป็นฝ่ายคนดีฝ่ายธรรม กับฝ่ายตรงข้ามที่มักถูกตราหน้าว่าเป็นฝ่ายอธรรมคนชั่ว ทำให้บุคลากรของศาลหลายคนหลงลืมจุดยืนดั้งเดิมที่เคยยึดถือมาช้านาน ถ้าพูดกันอย่างตรงไปตรงมาการเข้ามาสู่ความขัดแย้งทำให้บุคลากรในสถาบันศาลหลายคน ต้องเลือกข้างเลือกฝ่ายทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ เมื่อเกิดการเลือกฝ่าย ก็ย่อมไปมีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของสถาบันศาล การตัดสินคดีความที่เคยจำกัดอยู่ในประเด็นของกฎหมายหรืออิงกับตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัดก็เริ่มน้อยลง มีการใส่ดุลยพินิจใส่ความรู้สึกเข้าไปมากขึ้น 
 
          สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมในเรื่องนี้ ก็คือการพิจารณาคดีเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองหลังการรัฐประหาร ศาลได้ละทิ้งหลักการพื้นฐานสำคัญของกฎหมายซึ่งเป็นหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติไปค่อนข้างมาก เช่น หลักความเป็นกลางในคดีของผู้พิพากษา ประชาชนได้เห็นว่ามีบุคคลที่เคยเป็นผู้ร่วมก่อการรัฐประหารหรือมีความขัดแย้งโดยตรงกับผู้ถูกรัฐประหาร มานั่งเป็นผู้ทำคดีฟ้องร้องหรือเข้าไปเป็นผู้ตัดสินคดีความขัดแย้งที่ตนมีส่วนร่วมอย่างภาคภูมิใจ หรือหลักการผู้ถูกกล่าวหายังคงเป็นผู้บริสุทธิ์ตราบเท่าที่ยังไม่มีคำพิพากษาว่ากระทำผิด มีคดีที่เกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองหลายคดีที่ศาลไม่อนุญาตให้ผู้ต้องหาได้รับการประกันตัวในระหว่างรอพิจารณาคดีโดยไม่ได้มีเหตุผลที่ชัดเจน อีกทั้งไม่ได้มีการเร่งรัดการพิจารณาคดีแต่อย่างใด ปล่อยให้ผู้ถูกกล่าวหาถูกคุมขังเป็นเวลายาวนานเหมือนจงใจลงโทษทางอ้อม หรือแม้แต่หลักการยกประโยชน์ให้จำเลย หากไม่สามารถพิสูจน์ด้วยหลักฐานได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยกระทำผิดจริงตามฟ้อง ศาลก็ต้องปล่อยตัวจำเลยไป แต่ในปัจจุบันกลับพบว่าในคดีความบางประเภท แม้ศาลจะไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง แต่ศาลกลับเห็นว่าสมควรให้ถือว่าจำเลยกระทำผิดไว้ก่อน เป็นต้น

 
          ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้ และ เริ่มรู้สึกว่าการตัดสินคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองของศาล มีความยุติธรรมน้อยลง จนมีคำพูดว่าการดำเนินหรือการตัดสินคดีของศาลมีสองมาตรฐานออกมาเสมอ ไม่มีความคงเส้นคงวาเหมือนสถาบันศาลในอดีต ศาลไม่สามารถอธิบายให้ประชาชนเข้าใจได้ว่าทำไมจึงตัดสินคดีความที่คล้ายคลึงกันหรือเหมือนกันแต่เกิดขึ้นกับคู่กรณีต่างฝ่ายกัน ให้มีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันได้กัน หรือทำไมข้อกฎหมายเขียนไว้อย่างนี้ จึงตัดสินไปเช่นนั้นได้ บางครั้งศาลกลับอธิบายในลักษณะเหมือนใช้สีข้างเข้าถู เช่น บอกว่าตีความตามพจนานุกรม ตีความกฎหมายตามภาษาอังกฤษ หรือตามวัตถุประสงค์ในการร่างรัฐธรรมนูญบ้าง 

          ดังนั้นวันนี้ในสายตาของประชาชนส่วนใหญ่จึงมองว่าสถาบันศาลหรือตุลาการในภาพรวมมีความเสื่อมถอยลงหรือเสื่อมถอยไปจากเดิมหรือบางคนอาจจะมองไปถึงขั้นว่าสถาบันศาลวันนี้ไม่มีความยุติธรรม ตัดสินเป็นสองมาตรฐาน แน่นอนบุคลากรของศาลก็ย่อมโต้แย้งได้ว่าเรื่องนี้ไม่จริง ศาลตัดสินคดีความอย่างยุติธรรมเสมอมา แต่นั่นก็เป็นเรื่องของศาลไม่เกี่ยวกับประชาชน เพราะการที่ประชาชนมีความรู้สึกว่าสถาบันศาลไม่น่าเชื่อถือ ขาดความยุติธรรม เลือกข้างเลือกฝ่าย นั้นเป็นเรื่องของการรับรู้ (perception) ของประชาชน ไม่เกี่ยวกับเรื่องว่าศาลจะเลือกข้างจริงหรือไม่จริง แต่ประชาชนเขามีความรู้สึกนึกคิดอย่างนั้น เป็นเรื่องที่ห้ามปรามกันไม่ได้ จะใช้อำนาจศาลไปลงโทษ ไปจำคุก ก็คงไปบังคับให้คนเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิดของคนหรือกลุ่มคนได้ยากมาก วันนี้เราต้องยอมรับความจริงว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นจำนวนมากด้วย เขามีความรู้สึกนึกคิดต่อสถาบันตุลาการไปในทำนองเช่นนั้น

 
         ปัญหาการรับรู้ของคนที่ก่อให้เกิดผลเชิงลบกับบุคคล องค์กรหรือสถาบัน เป็นเรื่องที่แก้ไขยาก เรื่องนี้ถ้าปัญหาเป็นเพียงสถาบันศาลหลงลืมตัวไปชั่วขณะ จนทำให้ไปตัดสินคดีความไม่ยุติธรรม กลายเป็นสองมาตรฐานจริง ก็จะแก้ไขปัญหาได้ไม่ยาก แค่เพียงให้บุคลากรในสถาบันศาลมีสติกลับคืนมา อย่าไปร่วมวงในความขัดแย้ง ระมัดระวังในการตัดสินคดีความ ให้ยึดกฎหมายเป็นหลักอย่างเคร่งครัดเหมือนในอดีตที่ผ่านมาปัญหาก็จะหมดสิ้นไปได้ทันที แต่กรณีที่ประชาชนเกิดความรู้สึกหรือมีการรับรู้ว่าศาลไม่ยุติธรรม แม้สถาบันศาลจะไปปรับปรุงกระบวนการพิจารณาคดีให้ดีเพียงใดก็คงไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ปัญหาการรับรู้ในลักษณะนี้เท่ากับประชาชนมองว่าระบบตุลาการที่มีอยู่ในปัจจุบัน ขาดความน่าเชื่อถือไปแล้ว การจะแก้ไขปัญหานี้ได้ อาจถึงขั้นต้องมีการปรับโครงสร้างและกระบวนการด้านตุลาการกันใหม่ หรือพูดกันแบบตรงไปตรงมาอาจถึงขั้นต้องรื้อระบบตุลาการกันใหม่ทั้งระบบ ให้มีความแตกต่างไปจากปัจจุบันเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในหมู่ประชาชน สถาบันด้านตุลาการปัจจุบันยังเป็นลักษณะระบบปิด เป็นระบบที่ประชาชนไม่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจใดๆ อาจถึงเวลาที่เราต้องคิดกันว่าระบบตุลาการควรเป็นอย่างไรจึงจะสามารถเชื่อมโยงกับอำนาจของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ระบบควรเป็นอย่างไร ที่จะไม่ทำให้อำนาจของผู้พิพากษาเพียงคนสองคน หรือเพียงไม่กี่คนมีอำนาจชี้เป็นชี้ตายคนอื่นมากเกินไป ไม่เช่นนั้นเราก็จะได้ยินคำโจษจันเรื่อง “ศาลไทยกับสองมาตรฐาน”ไปอีกนาน
http://narater2010.blogspot.com/


ที่มา:  ศปช.
เมื่อวันที่ 2 พ.ค.56 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จังหวัดอุบลราชธานี อ่านคำพิพากษาคดีที่ผู้ชุมนุมเสื้อแดง 21 รายตกเป็นจำเลยวางเพลิงเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 19 พ.ค.53 ซึ่งมีการสลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช.ที่สี่แยกราชประสงค์ในกรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้น สั่งลงโทษจำเลยในฐานความผิดต่างกันไป มีบางส่วนที่สั่งยกฟ้อง บางส่วนถูกสั่งจำคุก 8 เดือน ถึง 2 ปี และมี 4 รายที่มีโทษสูงถึง 33 ปี 12 เดือน ทั้งหมดถูกคุมขังในเรือนจำตั้งแต่ชั้นจับกุมและส่วนใหญ่ได้รับการประกันตัวภายหลังจากที่ถูกจำคุกมาเป็นเวลา 1 ปี 3 เดือน
ส่วนคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์นั้น แบ่งเป็นกลุ่มหลัก ได้แก่
ศาลชั้นต้นยกฟ้อง อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา     6 ราย
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 8 เดือน อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด จำคุกเกิน รอเยียวยา  2  ราย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้อง      2 ราย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 33 ปี 12 เดือน     4 ราย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 1 ปี       1 ราย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นตน จำคุก 2 ปี      4 ราย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ จากจำคุก 8 เดือน เป็น 2 ปี     1 ราย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ จากยกฟ้อง เป็นจำคุก 2 ปี     1 ราย
(อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบด้านล่าง)
อย่างไรก็ตาม จำเลยที่ถูกพิพากษาจำคุกได้รับการประกันภายหลังฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เหลือผู้ที่ยังถูกคุมขังที่เรือนจำจนถึงปัจจุบันอีก 4 ราย ซึ่งเป็นจำเลยที่มีโทษหนัก 33 ปี 12 เดือน หนึ่งในจำนวนนั้นเป็นเพศหญิง
นายวัฒนา จันทศิลป์ ทนายจำเลยให้สัมภาษณ์ว่า จำเลยคดีนี้มีทั้งหมด 21 คน ส่วนที่มีหมายจับแต่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องมีประมาณ 67 หมาย ส่วนผู้ที่ถูกพิพากษายืนให้ลงโทษหนักจะมีการยื่นฎีกาต่อ และส่วนที่ถูกจำคุกเกินกว่าคำพิพากษาหากอัยการไม่อุทธรณ์ถือว่าคดีสิ้นสุด ก็เหลือเพียงการรอรับการเยียวยา
ก่อนหน้านั้นศูนย์ข้อมูลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เดือน เม.ย.-พ.ค.53 หรือ ศปช. ได้ตีพิมพ์รายงานกว่า 1,000 หน้าซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตในคดีเผาศาลากลางอุบลราชธานีด้วย โดยระบุว่า 1.เหตุการณ์นี้ไม่มีการจับกุมผู้ต้องหาในที่เกิดเหตุ อาศัยการจับกุมตามหมายจับทั้งหมด แต่กระบวนการออกหมายไม่รัดกุมและไม่ยึดหลักการของกฎหมายที่ต้องมีหลักฐานตามสมควร มีการออกหมายจับทั้งคนที่อยู่ภายนอกและภายในศาลากลาง  ภาพถ่ายส่วนใหญ่ถ่ายระยะไกล บางภาพมืด ไม่ชัดเจน บางภาพถ่ายขณะขว้างก้อนหินเข้าใส่ป้อมยาม บางภาพถ่ายคนที่ยืนอยู่ภายนอก ไม่มีพฤติกรรมอื่นใด นอกจากนี้คดีนี้ยังมีการออกหมายจับผู้ต้องหาบางคนโดยใช้ภาพที่ไม่ใช่เหตุการณ์ปี 2553 ด้วย และถูกออกหมายจับเพราะตำรวจเคยเห็นเขาร่วมชุมนุมในครั้งก่อนๆ โดยไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับการชุมนุมที่ศาลากลาง (จำเลยที่ 1) มีการใช้ภาพที่ไม่ชัดเจน ทำให้จับผิดตัว เช่น กรณีจำเลยที่ 14 ไม่ได้ไปชุมนุมบริเวณศาลากลางแต่อย่างใด นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังจับกุมโดยไม่แจ้งสิทธิและข่มขู่ให้ผู้ต้องหารับสารภาพ มีบางส่วนที่ถูกทำร้ายร่างกาย
2.การปล่อยชั่วคราว มีเพียงรายเดียวที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวในชั้นพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา เนื่องจากเป็นอัมพฤกษ์ครึ่งตัว พยายามขอประกันตัวหลายครั้งแต่ไม่ได้รับอนุญาต จนกระทั่งเป็นอัมพาตเดินไม่ได้ จึงได้รับการประกันตัว นอกนั้นส่วนใหญ่ได้รับประกันตัวเมื่อเวลาผ่านไปราว 1 ปี 3 เดือน
3.การสอบสวน ผู้ต้องหาไม่ได้รับการแจ้งสิทธิ แม้ทนายไม่ได้อยู่ร่วมขณะสอบสวนแต่ก็มีการลงลายมือชื่อของทนายในสำนวน บางคนถูกข่มขู่ บางคนถูกเกลี้ยกล่อม ให้รับสารภาพแล้วค่อยไปต่อสู้ในชั้นศาล จากการเบิกความของพยานทำให้พบว่ามีการสอบสวนโดยไม่ชอบและบิดเบือนพยานหลักฐาน เช่น พยานให้การปรักปรำจำเลยเพราะเจ้าหน้าที่สั่งให้พูด , จำเลยให้การอย่างหนึ่งแต่เจ้าหน้าที่บันทึกตรงกันข้ามแล้วให้จำเลยลงชื่อโดยไม่อ่านให้ฟัง
4.คำพิพากษา ศาลพิจารณาคดีบนพื้นฐานความเชื่อว่า การเผาศาลากลางเกิดจากกลุ่มเสื้อแดงอย่างไม่ต้องสงสัย มักให้น้ำหนักกับปากคำเจ้าหน้าที่รัฐด้วยเหตุผลว่า “ไม่ปรากฏว่าพยานโจทก์มีเหตุโกรธเคืองกับจำเลย”  และให้น้ำหนักต่อคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนโดยให้เหตุผลว่า “ในชั้นศาลจำเลยมีเวลาคิดปรุงแต่งข้อเท็จจริงให้จำเลยพ้นผิด” หรือกรณีที่พยานโจทก์เบิกความเป็นคุณต่อจำเลย ศาลก็ไม่นำมาวินิจฉัย เช่น กรณีจำเลยที่ 15 เจ้าหน้าที่ กอ.รมน.ระบุว่าได้เข้าร่วมช่วยดับไฟ แต่ศาลก็ยังพิพากษาลงโทษมีความผิดฐานร่วมกันเผาทรัพย์ ที่สำคัญ ศาลใช้พยานหลักฐานที่เป็นภาพถ่ายประกอบคำรับสารภาพ หรือลายมือชื่อรับรองภาพถ่ายโดยเชื่อว่าเวลาดังกล่าวมีความชุลมุนต้องอาศัยภาพที่บันทึกจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประกอบการพิจารณา  นอกจากนี้เหตุการณ์เผาศาลากลางยังมีข้อเท็จจริงที่เป็นที่น่าเคลือบแคลงเช่น พยานผู้สื่อข่าวเบิกความว่าไฟเริ่มไหม้ที่ชั้นสองก่อน ขณะที่กำลังเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจ ถอนออกนอกพื้นที่แทนที่จะควบคุมเพลิง และก่อนเพลิงไหม้มีการยิงออกมาจากศาลากลาง ทำให้ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ 5 คน หลังเหตุการณ์มีทหารอากาศ 1 นาย ทหารบก 1 นายถูกออกหมายจับแต่ภายหลังต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ทั้งสองมีหนังสือถึงพนักงานสอบสวนให้เพิกถอนหมายจับ


ทนายจำเลย กล่าวสรุปคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายหลังฟังคำตัดสิน เนื้อหาโดยสรุปดังนี้

นายพิเชษฐ ทาบุตรดา จำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นจำคุก 1 ปี แต่เนื่องจากถูกจำคุกมาก่อนพิพากษาแล้ว 15 เดือน ถือว่าเกินโทษ ต้องปล่อยโดยปริยาย หากอัยการไม่ฎีกา
นางอรอนงค์ บรรพชาติ จำเลยที่ 2  ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็น  2 ปี  ถูกจำคุกมาก่อนแล้ว 15 เดือน  ได้รับการประกันตัวในชั้นอุทธรณ์
นางสุมาลี ศรีจินดา จำเลยที่ 3 ศาลชั้นต้นยกฟ้องทุกข้อหา ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 2 ปี ได้รับการประกันตัวชั้นอุทธรณ์
นายประดิษฐ์ บุญสุข จำเลยที่ 4 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 2 ปี ได้รับการประกันตัวชั้นอุทธรณ์
นางสาวปัทมา มูลนิล จำเลยที่ 5 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 33 ปี 12 เดือน ไม่ได้รับการประกันตัวตั้งแต่ชั้นจับกุม ปัจจุบันถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำหลักสี่
นายสีทน ทองมา จำเลยที่ 6  ศาลชั้นต้นยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอการเยียวยา
นายลิขิต สุทธิพันธ์ จำเลยที่ 7 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 2 ปี ได้รับการประกันตัวชั้นอุทธรณ์
นางบุญเหรียญ ลิลา จำเลยที่ 8 ศาลชั้นต้นยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา
นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 33 ปี 12 เดือน ไม่ได้รับการประกันตัวตั้งแต่ชั้นจับกุม ปัจจุบันถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำหลักสี่
นายอุบล แสนทวีสุข จำเลยที่ 10  ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 8 เดือน แต่ถูกจำคุกอยู่นาน 15 เดือน อัยการไม่ติดใจอุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา
นายชัชวาลย์ ศรีจันดา จำเลยที่  11 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้อง อัยการไม่ฎีกา รอเยียวยา หากอัยการไม่ฎีกา
นายสนอง เกตุสุวรรณ์  จำเลยที่ 12 ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 33 ปี 12 เดือน ไม่ได้รับการประกันตัวตั้งแต่ชั้นจับกุม ปัจจุบันถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำหลักสี่
นายถาวร แสงทวีสุข จำเลยที่ 13 ศาลชั้นต้นยกฟ้อง อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา
นายธนูศิลป์ ธนูทอง จำเลยที่ 14 ศาลชั้นต้นยกฟ้อง อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา
นายสุพจน์  ดวงงาม จำเลยที่ 15 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 8 เดือน อัยการไม่อุทธรณ์ แต่ถูกคุมขังมานาน 15 เดือน รอเยียวยา
นายสมจิต สุทธิพันธ์ จำเลยที่ 16 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้อง รอเยียวยา หากอัยการไม่ฎีกา
นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ จำเลยที่ 17 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 33 ปี 12 เดือน ไม่ได้รับการประกันตัวตั้งแต่ชั้นจับกุม ปัจจุบันถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำหลักสี่
นายไชยา ดีแสง  จำเลยที่ 18 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นจำคุก 2 ปี ถูกจำคุกมาแล้ว  1 ปี 9 เดือน ได้รับการประกันตัวในชั้นอุทธรณ์
นายพิสิษฐ์ บุตรอำคา จำเลยที่ 19 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำคุก 2 ปี ได้รับการประกันตัวชั้นฎีกา
นายคำพลอย นะมี จำเลยที่ 20 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา
นายพงษ์ศักดิ์ ออนอินทร์ จำเลยที่ 21 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง อัยการไม่อุทธรณ์ รอเยียวยา