จับทหารร่วมม็อบ พกปืน กระสุน และ กัญชา
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557
จับทหารร่วมม็อบ พกปืน กระสุน และ กัญชา
จับทหารร่วมม็อบ พกปืน กระสุน และ กัญชา
สำนักจุฬาราชมนตรีออกแถลงการ กรณี กปปส. คุกคามมัสยิด
มัลลิกา ตอแหลซ้ำ บอกเป็นเสื้อแดงปลอมตัว
เตรียมดำเนินคดีแนวร่วม คปท. พังป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เตรียมดำเนินคดีแนวร่วม คปท. พังป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
วันที่ 23 มกราคม 2557 go6TV – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.15 น. พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 22 ม.ค. กรณีกลุ่มผู้ชุมนุม คปท. เคลื่อนมวลชนมากดดันที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้วทำลายป้ายชื่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า ป้ายดังกล่าวทำขึ้นมาด้วยงบประมาณราชการ และมีการเปิดป้ายโดยสมเด็จพระสังฆราชฯ เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2547 เหตุดังกล่าวขอใช้คำว่า “ไม่น่าทำเลยครับ” แต่อย่างไรก็ตามถือว่าเป็นบทเรียนในการทดสอบถึงอุดมคติ ในบรรทัดที่ 3 ของตำรวจ คือ การอดทนต่อความเจ็บใจในทุกอย่าง เพราะเราทำหน้าที่รักษากฎหมาย ดังนั้นภาพต่างๆ ที่ปรากฏ ทางฝ่ายเทคโนโลยีได้ถอดเทปบันทึกภาพเหตุการณ์ทั้งหมดมาแล้ว เบื้องต้นพบผู้กระทำความผิด 21 คน
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวต่อว่า “เรื่องนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ได้แบ่งภารกิจให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงรับเรื่องไปดำเนินคดี โดยให้ดำเนินการอย่างเด็ดขาด โดยมี พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผบ.ตร.เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนการสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิด มอบหมายให้ พล.ต.ท.วินัย ทองสอง ผู้ช่วย ผบ.ตร. ส่วนการทำป้ายใหม่มอบหมายให้ พล.ต.อ.พีระ พุ่มพิเชฏฐ์ ที่ปรึกษา (สบ10) เป็นผู้ดูแล พร้อมกันนี้ ผบ.ตร. ยังย้ำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายอดทนต่อการยั่วยุ เพราะไม่อย่างนั้นจะเข้าสู่ยุทธศาสตร์ที่มีผู้ต้องการให้มีการใช้กำลัง”
“คดีดังกล่าวมีอายุความ 10 ปี เรื่องที่มีการปราศรัยบนเวทีผู้ชุมนุมว่าจะทำป้ายใหม่ให้ เราคงไม่ขอรับข้อเสนอ โดย ผบ.ตร.มีคำสั่งว่าเมื่อทำป้ายเสร็จเรียบร้อย ให้มีการทำพิธีอย่างยิ่งใหญ่ดังเดิมเช่นเมื่อปี พ.ศ. 2547 ตนขออนุญาตชี้แจงในนามสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่า ไม่ได้ถือเรื่องโกรธแค้นแต่อย่างใด ซึ่งตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทาง ผบ.ตร. ได้รับมอบหมายให้เป็นผบ.กองกำลัง มีหน้าที่ดูแลยุทธการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับทหาร ขณะนี้อยู่ระหว่างรอกระบวนการต่างๆ และรอการประกาศคำสั่งตามมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยจะมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละส่วนต่อไป” พล.ต.ต.ปิยะ กล่าว
ครูมาสอนหนังสือ นักเรียนมาเรียนหนังสือ มันแปลว่า "พวกกูไม่รักชาติใช่มั๊ย?"
"ครูชุมพร" โวย "กปปส.ชุมพรปิดโรงเรียน" ถาม "ครูมาสอนหนังสือ นักเรียนมาเรียนหนังสือ มันแปลว่า "พวกกูไม่รักชาติใช่มั๊ย?"
เจ้าของโรงเรียนชุมพรบริหารธุรกิจ สุดทนโวย “กปปส.ชุมพร” บุกปิดโรงเรียนตน ถามกลับ “การที่ครูทำหน้าที่ในการมาสอนหนังสือ นักเรียนทำหน้าที่นักเรียนในการมาเรียนหนังสือ มันแปลว่า "พวกกูไม่รักชาติใช่มั๊ย?"
อาจารย์สาริยา มัยโภคา อาจารย์และเจ้าของโรงเรียนชุมพรบริหารธุรกิจได้เผยแพร่คลิปขณะที่ม็อบ กปปส. ปิดโรงเรียนของตน โดยม็อบได้แย่งไมโครโฟนของคุณครู ที่พยายามอธิบายให้กลุ่มม็อบเข้าใจว่าเด็กนักเรียนมีภาระต้องเรียนหนังสือ และต้องมีการสอบในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ม็อบแย่งไมโครโฟนไปและตะโกนด่าทอว่า “มาเรียนหนังสือ เท่ากับไม่รักชาติ อย่าพาลูกหลานมาเรียนที่นี่”
อาจารย์สาริยา มัยโภคา ได้เขียนเฟสบุ้คส่วนตัว บอกความรู้สึกเสียใจมากที่กลุ่ม กปปส. ได้เข้ามาสร้างความเดือดร้อนจนกระทบกับการเรียนการสอนของนักเรียนว่า
“ถ้าการปิดโรงเรียน 3วันเพื่อแสดงรักชาติ แล้ว 34 ปี ที่ก่อตั้งโรงเรียนมา ขึ้นลงกรุงเทพ-ชุมพร เพื่อมาดูโรงเรียนในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ตลอดชีวิตก่อนวัยเกษียณอายุ ส่งเสียงลูก 3คนให้ได้รับการศึกษาดีๆ จบการศึกษาจากต่างประเทศ เพื่อมาพัฒนาเด็กในบ้านเกิดของพ่อ ลูกสาว 3 คนยอมทิ้งชีวิตในเมืองหลวงของประเทศ ทิ้งสังคม ทิ้งเพื่อน เพื่อมาจัดการศึกษาให้ลูกหลานคนในแผ่นดินพ่อ มันแสดงว่าอะไร?”
“การที่เราเปิดโรงเรียน ให้นักเรียนมาเรียนหนังสือ เตรียมสอบ O-Net วันที่ 8 กพ. , แข่งขันทักษะวิชาการ วันที่12 กพ. จัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีวิชาความรู้ ไม่ไปมั่วสุม มันแปลว่าไม่รักชาติเหรอ???
กูงง + โมโหอย่างแรง ปิด 3 วันจร้าเพื่อแสดงว่า รักชาติ!! ตรรกะกปปส.ชุมพร
ตรรกะของคนแถวนี้ คือ ใครไม่ไปขึ้นเวทีเป็นเสื้อแดง ใครเปิดหน่วยงานไม่รักชาติ...เจริญค่ะพี่ หลังสวนสมชื่อล่ะทีนี้ มีแกนนำแบบนี้ ที่สำคัญโรงเรียนไหนเอาเด็กไปขึ้นเวทีมันกล่าวชื่นชมยินดี โรงเรียนไหนนิ่งเฉยมันด่ากระจาย พ่อตูนโดนด่าบนเวทีหาว่าเป็นเสื้อแดง โรงเรียนโดนด่าว่าไม่รักชาติ ไม่ให้ผู้ปกครองส่งลูกมาเรียน
ทั้ง ๆ ที่พ่อตูนเป็นคนหลังสวนแท้ๆ ทำโรงเรียนมา 34 ปีเพื่อลูกหลานคนหลังสวน บ้านตูนไม่ยุ่งเรื่องการเมืองทั้งท้องถิ่น และระดับชาติ สำมะโนครัวของครอบครัวตูนทุกคนอยู่กรุงเทพฯ เพื่อให้รู้ว่าเราไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เราสนับสนุนทุกคนในท้องถิ่น แสดงถึงความเป็นกลางแต่กลายเป็น...เศร้าเลย
ขอบคุณค่ะ แค่คนหลังสวนเข้าใจว่าครอบครัวตูนและโรงเรียนชุมพรบริหารธุรกิจรักชาติ เช่นเดียวกับชาวหลังสวนทุกคน ตูนก็ดีใจแล้วค่ะ บ้านตูนก็แค่ทำหน้าที่ของ"อาชีพครู" สอนหนังสือ วิชาความรู้ ไม่ก้าวก่ายการเมือง แค่เพียงเห็นเยาวชนเป็นคนดี ทำประโยชน์เพื่อชาติ บ้านเมือง คนเป็นครูทุกคนก็ต้องการแค่นี้ทั้งนั้นค่ะ”
“การที่ครูทำหน้าที่ในการมาสอนหนังสือ นักเรียนทำหน้าที่นักเรียนในการมาเรียนหนังสือ มันแปลว่า "พวกกูไม่รักชาติใช่มั๊ย?"
ตรรกะของคนแถวนี้ คือ ใครไม่ไปขึ้นเวทีเป็นเสื้อแดง ใครเปิดหน่วยงานไม่รักชาติ...เจริญค่ะพี่ หลังสวนสมชื่อล่ะทีนี้ มีแกนนำแบบนี้ ที่สำคัญโรงเรียนไหนเอาเด็กไปขึ้นเวทีมันกล่าวชื่นชมยินดี โรงเรียนไหนนิ่งเฉยมันด่ากระจาย พ่อตูนโดนด่าบนเวทีหาว่าเป็นเสื้อแดง โรงเรียนโดนด่าว่าไม่รักชาติ ไม่ให้ผู้ปกครองส่งลูกมาเรียน
ทั้ง ๆ ที่พ่อตูนเป็นคนหลังสวนแท้ๆ ทำโรงเรียนมา 34 ปีเพื่อลูกหลานคนหลังสวน บ้านตูนไม่ยุ่งเรื่องการเมืองทั้งท้องถิ่น และระดับชาติ สำมะโนครัวของครอบครัวตูนทุกคนอยู่กรุงเทพฯ เพื่อให้รู้ว่าเราไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เราสนับสนุนทุกคนในท้องถิ่น แสดงถึงความเป็นกลางแต่กลายเป็น...เศร้าเลย
ขอบคุณค่ะ แค่คนหลังสวนเข้าใจว่าครอบครัวตูนและโรงเรียนชุมพรบริหารธุรกิจรักชาติ เช่นเดียวกับชาวหลังสวนทุกคน ตูนก็ดีใจแล้วค่ะ บ้านตูนก็แค่ทำหน้าที่ของ"อาชีพครู" สอนหนังสือ วิชาความรู้ ไม่ก้าวก่ายการเมือง แค่เพียงเห็นเยาวชนเป็นคนดี ทำประโยชน์เพื่อชาติ บ้านเมือง คนเป็นครูทุกคนก็ต้องการแค่นี้ทั้งนั้นค่ะ”
“การที่ครูทำหน้าที่ในการมาสอนหนังสือ นักเรียนทำหน้าที่นักเรียนในการมาเรียนหนังสือ มันแปลว่า "พวกกูไม่รักชาติใช่มั๊ย?"
“พานทองแท้” FB นักการเมืองประเภทเข้าพรรคฯไหน หัวหน้าตายหมด มาอีกแล้ว
“พานทองแท้” FB นักการเมืองประเภทเข้าพรรคฯไหน หัวหน้าตายหมด มาอีกแล้ว
วันที่ 23 มกราคม 2557 go6TV – นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Oak Panthongtae Shinawatra (https://www.facebook.com/oakpanthongtae) โดยมีเนื้อหาดังนี้
นักการเมืองประเภทเข้าพรรคฯไหน หัวหน้าตายหมด มาอีกแล้วคร้าบพี่น้องงงง...555555555
ผมกำลังลุ้นอยู่ว่า จะมีอดีตสส.ปชป.คนไหน บ้องตื้นออกมางับเหยื่อ ตำหนิเรื่องสินบนนำจับ 10 ล้านบาทบ้าง ปรากฏว่ามีจริงๆด้วยครับ..gagagagagagaga
คนพูดเป็นน้องชายของผู้ใหญ่ในพรรคฯที่ชื่อ จุรินทร์ ลักษณวิสิฏฐ์ เสียด้วย ได้ออกมางับเหยื่อเข้าไปเต็มกระพุ้งแก้ม บอกว่าพานทองแท้ ติดนิสัยให้สินบน จึงมาประกาศให้สินบนนำจับ มือระเบิดที่ทำร้ายม็อบ 10 ล้านบาท..!!
อ้าว..!! ก็เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันมี ผู้ก่อการร้ายปาระเบิดใส่ม็อบ ที่นำโดยสส.พรรคประชาธิปัตย์ มีกองเชียร์ของตัวเองบาดเจ็บล้มตาย พอมีคนตั้งค่าหัวให้สินบนนำจับ อดีตสส.พรรคฯนี้กลับไม่ดีใจ แถมออกมาตำหนิเขาอีก อืมม..!! น่าคิดๆๆ
เห็นว่ามีคนเอาเงินมาบริจาคช่วยม็อบ เป็นสิบเป็นร้อยล้าน ไม่เอามาช่วยกองเชียร์ของตัวเอง ที่บาดเจ็บล้มตายก็แย่พอแล้ว พอมีคนจะควักประเป๋า ให้สินบนนำจับฟรีๆ จะได้เอาตัวคนผิดมาลงโทษได้เร็วๆ สส.ปชป.กลับไปตำหนิเขาว่าติดสินบน เฮ้อออ..!! คิดได้นะ คนพรรคฯนี้
แปลกจริงๆครับ..!! พูดบนเวทีปฏิเสธกันปาวๆว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้อยู่เบื้องหลังมือระเบิด แล้วจะไปกลัวอะไรกับเงินรางวัลนำจับมิทราบครับ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้รู้เห็นในการกระทำดังกล่าว ควรจะเรียงหน้าออกมาขอบคุณพานทองแท้ฯ กันทั้งพรรคฯด้วยซ้ำไป มิใช่เหรอครับ??
เห็นว่าจะฟ้องพานทองแท้ด้วย ว่าไปกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนม็อบ กปปส. ทำให้พรรคประชาธิปัตย์เสียหาย อ้าววว..!! ม็อบคนดีไม่ใช่เหรอครับ? ยอมรับหรือครับว่า การสนับสนุนม็อบกปปส.เป็นเรื่องที่ทำให้พรรคฯเสียหาย? ถ้าไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์ที่สนับสนุนม็อบนี้ แล้วจะเป็นพรรคไหนละครับ? มีพรรคการเมืองใดเขาสนับสนุนม็อบนี้บ้าง? ผมเห็นแต่พรรคฯอื่นๆทั่วประเทศ 40-50 พรรคฯ เขาไปลงสมัครรับเลือกตั้งกันทั้งนั้นครับ ไม่เห็นมีพรรคฯใดเลยที่คัดค้าน มีแต่พรรคประชาธิปัตย์พรรคนี้พรรคเดียวแหละครับ
เอ้...แบบนี้ผมว่ายิ่งฟ้อง พรรคประชาธิปัตย์จะยิ่งเสียหายเองนะครับ หนังสือพิมพ์จะพาดหัวข่าวว่า
"พรรคประชาธิปัตย์ฟ้องโอ๊ค กล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนม็อบกปปส. ทำให้พรรคประชาธิปัตย์เสียหาย" 555555 ไม่เชื่อจะลองฟ้องดูก็ได้ครับ
แต่ผมว่าแทนที่จะฟ้อง พรรคประชาธิปัตย์ควรจะออกมาขอบคุณพานทองแท้ฯ ที่อุตส่าห์ตั้งค่าหัวสินบนนำจับ คนปาระเบิดที่สวมนกหวีดในรูปซะดีๆ มิฉะนั้น...
หากชาวบ้านเขาคิดว่า พรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลัง มือระเบิดจริงๆแล้วละก็ อีกหน่อยจะไม่มีใครกล้า คบหาสมาคมด้วยนะครับ..!!
บันทึกที่เห็นต่าง...อำนาจเลื่อนวันเลือกตั้ง
พิชิต ชื่นบาน: บันทึกที่เห็นต่าง...อำนาจเลื่อนวันเลือกตั้ง
บันทึกที่เห็นต่าง...อำนาจเลื่อนวันเลือกตั้งสส. เป็นการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่มีหรือไม่ เป็นของใคร
ในฐานะที่เป็นคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยได้รับการสอบถามอย่างมากภายหลังมีมติศาลรธน.เอกฉันท์ 6:0 รับคำร้อง กกต.ที่มีคำขอให้ศาลรธน.วินิจฉัย ซึ่งผู้สื่อข่าวรายงานว่า กกต.ยื่นคำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ใน 2 ประเด็นคือ 1.หากมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้หรือไม่ และ 2.อำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นอำนาจขององค์กรใดระหว่างผู้ร้อง กกต.กับ ครม.โดยนายกรัฐมนตรี
มีข้อสังเกตที่เป็นประเด็นสำคัญจากคำขอท้ายคำร้องของกกต.ซึ่งศาลรธน.รับวินิจฉัยตามผู้สื่อข่าวรายงาน ดังนี้
1. ประเด็นศาลรธน.วินิจฉัยว่า เป็นความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างคณะรัฐมนตรีและ กกต.ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
เรื่องนี้เห็นต่างกับคำวินิจฉัยว่า น่าจะคลาดเคลื่อนต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ คือ “การยุบสภาผู้แทนราษฎรเป็นการกระทำของนายกรัฐมนตรีโดยลำพังรัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้เป็นอำนาจคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป” เพียงแต่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้การยุบสภาให้กระทำโดยรูปแบบพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น จึงเป็นกระบวนการตราพระราชกฤษฎีกาที่ต่างกับการตราพระราชกฤษฎีกาทั่วไปที่ต้องผ่านคณะรัฐมนตรีและเมื่อตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา 2556 มาตรา 5 บัญญัติให้เพียงนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา
ดังนั้น เมื่อการยุบสภาเป็นการกระทำของนายกรัฐมนตรีโดยลำพังและประกอบกับนายกรัฐมนตรีโดยลำพังเช่นเดียวกันเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายไม่เกี่ยวข้องกับคณะรัฐมนตรีแต่อย่างใด บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและพรฎ.ยุบสภา 2556 มาตรา 5 ข้างต้นบัญญัติชัดแจ้งอย่างนี้จะถือเป็นความขัดแย้งของ 2 องค์กรตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้องได้อย่างไร ทั้งฝ่ายผู้ร้องและศาลรัฐธรรมนูญควรมีคำอธิบายในเรื่องนี้ในคำวินิจฉัยให้ชัดเจนไม่เคลือบคลุมและกำกวม
2. ประเด็นตามคำขอของกกต. ที่ให้ศาลรธน.วินิจฉัยใน 2 ประเด็นคือ 1.หากมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้หรือไม่ และ 2.อำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นอำนาจขององค์กรใดระหว่างผู้ร้องกกต.กับครม.โดยนายกรัฐมนตรี
ประเด็นในเรื่องนี้มีข้อสังเกตอันเป็นข้อพิรุธที่ชวนให้สงสัยว่าคำขอตามคำร้องของกกต.ใน3 ประเด็นคือ
1.ทำไมคำขอท้ายคำร้องของกกต.ที่ยื่นต่อศาลรธน.ในครั้งนี้จึงต่างกับหนังสือที่ กกต.มีถึงนายกรัฐมนตรี กล่าวคือหนังสือที่มีถึงนายกรัฐมนตรีกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 5 ท่าน ใช้ถ้อยคำว่า “นายกรัฐมนตรีควรเสนอพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่” แต่เมื่อมายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญกกต.กลับใช้ถ้อยคำใหม่ที่ยื่นต่อศาลรธน.เป็นว่า “...หากมีเหตุจำเป็นที่มิอาจก้าวล่วงได้จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่” ประเด็นที่เป็นข้อสังเกตคือ ทำไมกกต.จึงไม่ใช้ถ้อยคำว่า “...หากมีเหตุจำเป็นที่มิอาจก้าวล่วงได้จะสามารถเสนอพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่” ทำไมคำขอของกกต.จึงตัดถ้อยคำ “พระราชกฤษฎีกาออกไป” ทำให้เกิดความไม่ชัดเจน กำกวม ว่าเหตุใดจึงไม่ขอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนว่า จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ อย่ามาอธิบายว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้ก็สามารถตราพระราชกฤษฎีกาได้เอง จะถือเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 108 หรือไม่ประกอบกับพรบ.เลือกตั้งสส.มาตรา 78 บัญญัติว่าหากมีเหตุจำเป็นให้เป็นอำนาจของกกต.ในการ “เลื่อนวันลงคะแนนเลือกตั้ง” มิใช่เลื่อนกำหนดวันเลือกตั้งแต่อย่างใด
2. คำขอที่อ้าง “เหตุจำเป็นที่มิอาจก้าวล่วงได้” ไม่มีบัญญัติไว้ในพรบ.เลือกตั้งสส.ซึ่งมาตรา 78 ของพรบ.เลือกตั้งสส.บัญญัติถ้อยคำที่ให้กกต.เลื่อนกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งโดยใช้ถ้อยคำแต่เพียงว่า “เหตุจำเป็นอย่างอื่น” คำขอนี้ได้นำถ้อยคำในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 40 ซึ่งเป็นเหตุที่คู่ความขอเลื่อนการพิจารณาคดีของศาลมาใช้จึงเป็นเรื่องค่อนข้างอัศจรรย์อยู่พอสมควรที่นำถ้อยคำของบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้ในการเลื่อนการนั่งพิจารณาคดีของศาลมาใช้กับการเลื่อนกำหนดวันเลือกตั้ง ผมไม่อยากคิดว่าเพราะมีกกต.3 ท่านเป็นอดีตผู้พิพากษาจึงนำป.วิ.แพ่ง ว่าด้วยการเลื่อนคดีมาใช้ในการเลื่อนวันเลือกตั้งเพราะตามมาตรา 78 ของพรบ.เลือกตั้งเพียงให้อำนาจกกต.เลื่อนวันลงคะแนนเลือกตั้งและหากจะแปลความว่าการเพิ่มถ้อยคำจากมาตรา 78 ที่บัญญัติถ้อยคำว่า “เหตุจำเป็นอย่างอื่น” เป็น “เหตุจำเป็นที่มิอาจก้าวล่วงได้” ซึ่งมีอาจารย์กฎหมายที่เป็นอดีตคตส.เขียนในคำบรรยายว่า “เหตุจำเป็นที่มิอาจก้าวล่วงได้ หมายถึงเหตุจำเป็นที่มีเหตุผลหนักแน่นมากกว่าเหตุจำเป็นทั่วไป” ถ้อยคำนี้เมื่อไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการเลือกตั้งสส. แล้วสามารถนำมาใช้เพื่อให้เกิดความสามารถในการกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้จะถือเป็นการบัญญัติ “พจนานุกรมขึ้นใหม่หรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่หรือไม่”
3. หากสามารถกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้จะมีคำถามต่อมาว่าคำขอตามคำร้องของกกต.ไม่ได้มีคำขอต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า จะกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่เป็นจำนวนกี่วันและเป็นวันใดเป็นคำขอที่ไม่ชัดแจ้งและกำกวมอย่างยิ่งเพราะรธน.มาตรา 108 บัญญัติไว้ว่า การเลือกตั้งทั่วไปต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันยุบสภา ดังนั้น คำขอจึงมิได้ขอให้ชัดแจ้งว่า กำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่นั้นจะกำหนดอย่างไรหากเกินกว่า 60 วันจะขัดรธน.มาตรา 108 หรือไม่และจะให้นับแต่วันใดก็ไม่มีในคำขอ และศาลรธน.เองฝ่ายผู้ร้องกกต.ไม่ขอมาก็ไม่น่าวินิจฉัยใดๆที่เกินคำขอและประการที่สำคัญการกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ซึ่งน่าจะเป็นอย่างเดียวกับการเลื่อนวันเลือกตั้งเป็นปัญหาดุลพินิจหรือปัญหาข้อกฎหมายที่บังคับให้ต้องปฏิบัติเพราะรธน.มาตรา 108 มีสภาพบังคับในการใช้ดุลพินิจไม่ให้เกิน 60 วัน ดังนั้นจึงเป็นข้อสังเกตที่ศาลรธน.ต้องมีคำอธิบายเพราะจะเกิดปัญหากับผู้ปฏิบัติหากไม่ชัดเจนและในเรื่องนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ศาลรธน.จะเปิดโอกาสให้ฝ่ายนายกรัฐมนตรีทำคำชี้แจงหรือไม่ หรือจะให้เข้าเป็นคู่ความในคดีในฐานะที่ถูกกล่าวหาจากกกต.ว่าเกิดความขัดแย้งทั้งที่ไม่เกี่ยวกับครม.แต่อย่างใด เพราะการยุบสภาและการกำหนดวันเลือกตั้งหาได้เป็นอำนาจหน้าที่ของครม.แต่อย่างใด และเป็นครม.ภายหลังยุบสภาจะทำได้หรือไม่เพราะความรับผิดชอบเป็นคณะบุคคลดังที่รธน.มาตรา 171 ให้ถือหลักความรับผิดชอบร่วมกันต้องนำมาพิจารณาด้วยเมื่อครม.ไม่เกี่ยวข้องกับการยุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ศาล รธน.จะวินิจฉัยให้ครม.มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ตามคำขอของ กกต.ได้อย่างไร
บันทึกที่เห็นต่างฉบับนี้ จัดทำขึ้นด้วยความสุจริตประสงค์ให้ทุกฝ่ายให้ช่วยกันมีส่วนร่วมในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้นเพราะเห็นใจประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจุดเทียนเฝ้ารอที่จะใช้อำนาจอธิปไตยของตนในการเลือกตัวแทนของเขาในวันที่ 2 กพ. 2557 ตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตยไม่มีเจตนาเป็นอย่างอื่นครับขอเพียงช่วยกันคิดและประการที่สำคัญบทบัญญัติรธน.มาตรา 197 ได้บัญญัติว่า “การพิจารณาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไป โดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย...”
พิชิต ชื่นบาน
24 มค. 2557
ในฐานะที่เป็นคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทยได้รับการสอบถามอย่างมากภายหลังมีมติศาลรธน.เอกฉันท์ 6:0 รับคำร้อง กกต.ที่มีคำขอให้ศาลรธน.วินิจฉัย ซึ่งผู้สื่อข่าวรายงานว่า กกต.ยื่นคำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ใน 2 ประเด็นคือ 1.หากมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้หรือไม่ และ 2.อำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นอำนาจขององค์กรใดระหว่างผู้ร้อง กกต.กับ ครม.โดยนายกรัฐมนตรี
มีข้อสังเกตที่เป็นประเด็นสำคัญจากคำขอท้ายคำร้องของกกต.ซึ่งศาลรธน.รับวินิจฉัยตามผู้สื่อข่าวรายงาน ดังนี้
1. ประเด็นศาลรธน.วินิจฉัยว่า เป็นความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างคณะรัฐมนตรีและ กกต.ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
เรื่องนี้เห็นต่างกับคำวินิจฉัยว่า น่าจะคลาดเคลื่อนต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ คือ “การยุบสภาผู้แทนราษฎรเป็นการกระทำของนายกรัฐมนตรีโดยลำพังรัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้เป็นอำนาจคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป” เพียงแต่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้การยุบสภาให้กระทำโดยรูปแบบพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น จึงเป็นกระบวนการตราพระราชกฤษฎีกาที่ต่างกับการตราพระราชกฤษฎีกาทั่วไปที่ต้องผ่านคณะรัฐมนตรีและเมื่อตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา 2556 มาตรา 5 บัญญัติให้เพียงนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา
ดังนั้น เมื่อการยุบสภาเป็นการกระทำของนายกรัฐมนตรีโดยลำพังและประกอบกับนายกรัฐมนตรีโดยลำพังเช่นเดียวกันเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายไม่เกี่ยวข้องกับคณะรัฐมนตรีแต่อย่างใด บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและพรฎ.ยุบสภา 2556 มาตรา 5 ข้างต้นบัญญัติชัดแจ้งอย่างนี้จะถือเป็นความขัดแย้งของ 2 องค์กรตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้องได้อย่างไร ทั้งฝ่ายผู้ร้องและศาลรัฐธรรมนูญควรมีคำอธิบายในเรื่องนี้ในคำวินิจฉัยให้ชัดเจนไม่เคลือบคลุมและกำกวม
2. ประเด็นตามคำขอของกกต. ที่ให้ศาลรธน.วินิจฉัยใน 2 ประเด็นคือ 1.หากมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้หรือไม่ และ 2.อำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นอำนาจขององค์กรใดระหว่างผู้ร้องกกต.กับครม.โดยนายกรัฐมนตรี
ประเด็นในเรื่องนี้มีข้อสังเกตอันเป็นข้อพิรุธที่ชวนให้สงสัยว่าคำขอตามคำร้องของกกต.ใน3 ประเด็นคือ
1.ทำไมคำขอท้ายคำร้องของกกต.ที่ยื่นต่อศาลรธน.ในครั้งนี้จึงต่างกับหนังสือที่ กกต.มีถึงนายกรัฐมนตรี กล่าวคือหนังสือที่มีถึงนายกรัฐมนตรีกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 5 ท่าน ใช้ถ้อยคำว่า “นายกรัฐมนตรีควรเสนอพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่” แต่เมื่อมายื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญกกต.กลับใช้ถ้อยคำใหม่ที่ยื่นต่อศาลรธน.เป็นว่า “...หากมีเหตุจำเป็นที่มิอาจก้าวล่วงได้จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่” ประเด็นที่เป็นข้อสังเกตคือ ทำไมกกต.จึงไม่ใช้ถ้อยคำว่า “...หากมีเหตุจำเป็นที่มิอาจก้าวล่วงได้จะสามารถเสนอพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่” ทำไมคำขอของกกต.จึงตัดถ้อยคำ “พระราชกฤษฎีกาออกไป” ทำให้เกิดความไม่ชัดเจน กำกวม ว่าเหตุใดจึงไม่ขอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ชัดเจนว่า จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ อย่ามาอธิบายว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้ก็สามารถตราพระราชกฤษฎีกาได้เอง จะถือเป็นการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 108 หรือไม่ประกอบกับพรบ.เลือกตั้งสส.มาตรา 78 บัญญัติว่าหากมีเหตุจำเป็นให้เป็นอำนาจของกกต.ในการ “เลื่อนวันลงคะแนนเลือกตั้ง” มิใช่เลื่อนกำหนดวันเลือกตั้งแต่อย่างใด
2. คำขอที่อ้าง “เหตุจำเป็นที่มิอาจก้าวล่วงได้” ไม่มีบัญญัติไว้ในพรบ.เลือกตั้งสส.ซึ่งมาตรา 78 ของพรบ.เลือกตั้งสส.บัญญัติถ้อยคำที่ให้กกต.เลื่อนกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งโดยใช้ถ้อยคำแต่เพียงว่า “เหตุจำเป็นอย่างอื่น” คำขอนี้ได้นำถ้อยคำในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 40 ซึ่งเป็นเหตุที่คู่ความขอเลื่อนการพิจารณาคดีของศาลมาใช้จึงเป็นเรื่องค่อนข้างอัศจรรย์อยู่พอสมควรที่นำถ้อยคำของบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้ในการเลื่อนการนั่งพิจารณาคดีของศาลมาใช้กับการเลื่อนกำหนดวันเลือกตั้ง ผมไม่อยากคิดว่าเพราะมีกกต.3 ท่านเป็นอดีตผู้พิพากษาจึงนำป.วิ.แพ่ง ว่าด้วยการเลื่อนคดีมาใช้ในการเลื่อนวันเลือกตั้งเพราะตามมาตรา 78 ของพรบ.เลือกตั้งเพียงให้อำนาจกกต.เลื่อนวันลงคะแนนเลือกตั้งและหากจะแปลความว่าการเพิ่มถ้อยคำจากมาตรา 78 ที่บัญญัติถ้อยคำว่า “เหตุจำเป็นอย่างอื่น” เป็น “เหตุจำเป็นที่มิอาจก้าวล่วงได้” ซึ่งมีอาจารย์กฎหมายที่เป็นอดีตคตส.เขียนในคำบรรยายว่า “เหตุจำเป็นที่มิอาจก้าวล่วงได้ หมายถึงเหตุจำเป็นที่มีเหตุผลหนักแน่นมากกว่าเหตุจำเป็นทั่วไป” ถ้อยคำนี้เมื่อไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการเลือกตั้งสส. แล้วสามารถนำมาใช้เพื่อให้เกิดความสามารถในการกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้จะถือเป็นการบัญญัติ “พจนานุกรมขึ้นใหม่หรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่หรือไม่”
3. หากสามารถกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้จะมีคำถามต่อมาว่าคำขอตามคำร้องของกกต.ไม่ได้มีคำขอต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า จะกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่เป็นจำนวนกี่วันและเป็นวันใดเป็นคำขอที่ไม่ชัดแจ้งและกำกวมอย่างยิ่งเพราะรธน.มาตรา 108 บัญญัติไว้ว่า การเลือกตั้งทั่วไปต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันยุบสภา ดังนั้น คำขอจึงมิได้ขอให้ชัดแจ้งว่า กำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่นั้นจะกำหนดอย่างไรหากเกินกว่า 60 วันจะขัดรธน.มาตรา 108 หรือไม่และจะให้นับแต่วันใดก็ไม่มีในคำขอ และศาลรธน.เองฝ่ายผู้ร้องกกต.ไม่ขอมาก็ไม่น่าวินิจฉัยใดๆที่เกินคำขอและประการที่สำคัญการกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ซึ่งน่าจะเป็นอย่างเดียวกับการเลื่อนวันเลือกตั้งเป็นปัญหาดุลพินิจหรือปัญหาข้อกฎหมายที่บังคับให้ต้องปฏิบัติเพราะรธน.มาตรา 108 มีสภาพบังคับในการใช้ดุลพินิจไม่ให้เกิน 60 วัน ดังนั้นจึงเป็นข้อสังเกตที่ศาลรธน.ต้องมีคำอธิบายเพราะจะเกิดปัญหากับผู้ปฏิบัติหากไม่ชัดเจนและในเรื่องนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ศาลรธน.จะเปิดโอกาสให้ฝ่ายนายกรัฐมนตรีทำคำชี้แจงหรือไม่ หรือจะให้เข้าเป็นคู่ความในคดีในฐานะที่ถูกกล่าวหาจากกกต.ว่าเกิดความขัดแย้งทั้งที่ไม่เกี่ยวกับครม.แต่อย่างใด เพราะการยุบสภาและการกำหนดวันเลือกตั้งหาได้เป็นอำนาจหน้าที่ของครม.แต่อย่างใด และเป็นครม.ภายหลังยุบสภาจะทำได้หรือไม่เพราะความรับผิดชอบเป็นคณะบุคคลดังที่รธน.มาตรา 171 ให้ถือหลักความรับผิดชอบร่วมกันต้องนำมาพิจารณาด้วยเมื่อครม.ไม่เกี่ยวข้องกับการยุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ศาล รธน.จะวินิจฉัยให้ครม.มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ตามคำขอของ กกต.ได้อย่างไร
บันทึกที่เห็นต่างฉบับนี้ จัดทำขึ้นด้วยความสุจริตประสงค์ให้ทุกฝ่ายให้ช่วยกันมีส่วนร่วมในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้นเพราะเห็นใจประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจุดเทียนเฝ้ารอที่จะใช้อำนาจอธิปไตยของตนในการเลือกตัวแทนของเขาในวันที่ 2 กพ. 2557 ตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตยไม่มีเจตนาเป็นอย่างอื่นครับขอเพียงช่วยกันคิดและประการที่สำคัญบทบัญญัติรธน.มาตรา 197 ได้บัญญัติว่า “การพิจารณาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไป โดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย...”
พิชิต ชื่นบาน
24 มค. 2557
ภูมิใจไทย ซัด “อภิสิทธิ์” บอยคอตเลือกตั้ง อย่าก้าวล่วงพรรคอื่น
ภูมิใจไทย ซัด “อภิสิทธิ์” บอยคอตเลือกตั้ง อย่าก้าวล่วงพรรคอื่น
วันที่ 23 มกราคม 2557 go6TV – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 11.20 น. ที่พรรคภูมิใจไทย น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี โฆษกพรรคภูมิใจไทย แถลงตอบโต้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ออกมาวิจารณ์นโยบายพรรคภูมิใจไทยว่าทำไม่ได้จริงหากไม่กู้หรือไม่ขึ้นภาษี โดยเฉพาะนโยบายเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นเดือนละ 3,000 บาท ไม่สามารถทำได้ ว่า นายอภิสิทธิ์รู้ได้อย่างไรว่านโยบายของพรรคทำไม่ได้ เราเป็นพรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่ง ทุกนโยบายต้องคิดแล้วว่าทำได้จึงนำเสนอต่อประชาชน ในส่วนของนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดือนละ 3,000 บาท เป็นนโยบายที่เราต้องการตอบแทนพระคุณของบุพการีของชาติ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ท่ามกลางค่าครองชีพที่สูงขึ้น แตกต่างจากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ที่เริ่มต้นให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพียงเดือนละ 500 บาท และเพิ่มเป็นขั้นบันได ซึ่งพรรคภูมิใจไทยได้สอบถามผู้สูงอายุพบว่าไม่พอยาไส้ เฉลี่ยได้รับเงินเพียงวันละ 17 บาท
“ดิฉันอยากวิงวอนให้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่กำลังเดินหน้าทำพิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศก็ทำไป ท่านอาจจะคุ้นชินกับคำว่าดีแต่กู้ แล้วการที่ท่านบอยคอตการเลือกตั้งก็ทำไป เพราะครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก แต่ท่านก็ควรให้เกียรติพรรคการเมืองอื่นที่ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วย ไม่ควรก้าวล่วง เพราะเราเสนอนโยบายเพื่อเป็นทางเลือกของประชาชน นายอภิสิทธิ์ไม่ควรวิจารณ์นโยบายพรรคอื่น ซึ่งพรรคการเมืองเขาไม่ทำกัน” น.ส.ศุภมาส กล่าว
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ "ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน" ยกเว้นหาเสียงเลือกตั้ง
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ "ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน" ยกเว้นหาเสียงเลือกตั้ง
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้ตีพิมพ์ ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แระกาศตามมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ระบุว่า
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี อําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และอําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 แล้ว นั้น
เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ คณะรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนด ดังต่อไปนี้
- ข้อ 1 ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ทั้งนี้ ภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนดเว้นแต่เป็นการชุมนุมตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
- ข้อ 2 ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร
- ข้อ 3 ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด
- ข้อ 4 ห้ามใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใด ๆ ทั้งนี้ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด
- ข้อ 5 ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด
- ข้อ 6 ในการดำเนินการตามข้อ 1 ถึงข้อ 5 หัวหน้าผู้รับผิดชอบจะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควรเพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้
อนึ่ง พล.ท.ภราดร กล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า การที่รัฐบาลไม่มีการแถลงอย่างเป็นทางการถึงข้อกำหนดเพิ่มใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลัง ครม. มีมติเห็นชอบ เนื่องจากมาตรา 9 ต้องรอให้ ผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการกำหนดรายละเอียดเป้าหมายที่ชัดเจน ในการจำกัดสิทธิบางประการในบางพื้นที่การชุมนุมเพื่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีก 1-2 วัน จึงจะประกาศอย่างเป็นทางการได้ ในขณะที่มาตรา 7 อำนาจหน้าที่นายกฯมีการกำหนดไว้ในระเบียบแล้ว ส่วนสถานที่ที่จะใช้เป็นที่บัญชาการ ศรส. ทางผบ.ตร.กำลังดำเนินการจัดหาสถานที่อยู่
จับผู้ชุมนุมม็อบกบฏ! พกปืน กระสุน และ กัญชา จากม็อบกลับบ้าน
จับผู้ชุมนุมม็อบกบฏ! พกปืน กระสุน และ กัญชา จากม็อบกลับบ้าน
จับผู้ต้องหาพกอาวุธและยาเสพติด!!
วันเวลาที่เกิดเหตุ : วันที่ 24 มกราคม 2557 เวลาประมาณ 02.00 น.
สถานที่เกิดเหตุ : ปากซอยแจ้งวัฒนะ 1 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
ผู้ต้องหา : จ่าเอกพิชายุทธ วิบูลย์กุล อายุ 36 ปี
พฤติการณ์ : ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุระหว่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งจุด ว.43 ได้พบเห็นผู้ต้องหาผ่านมามีท่าทางพิรุธต้องสงสัย จึงได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและตรวจค้นพบของกลาง ดังนี้
ข้อกล่าวหา : “มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต, พกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร และมียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 (กัญชา) ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต” จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาและจับกุมตัวนำส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป
วันเวลาที่เกิดเหตุ : วันที่ 24 มกราคม 2557 เวลาประมาณ 02.00 น.
สถานที่เกิดเหตุ : ปากซอยแจ้งวัฒนะ 1 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
ผู้ต้องหา : จ่าเอกพิชายุทธ วิบูลย์กุล อายุ 36 ปี
พฤติการณ์ : ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุระหว่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งจุด ว.43 ได้พบเห็นผู้ต้องหาผ่านมามีท่าทางพิรุธต้องสงสัย จึงได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและตรวจค้นพบของกลาง ดังนี้
- 1. อาวุธปืนออโตเมติก ขนาด 9 มม. ยี่ห้อกล็อก จำนวน 1 กระบอก
- 2. เครื่องกระสุนปืน ขนาด 9 มม. จำนวน 23 นัด
- 3. ยาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 (กัญชา) จำนวน 1 ห่อ
- 4. ซองกระสุนปืน 1 ซอง
ข้อกล่าวหา : “มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต, พกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร และมียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 (กัญชา) ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต” จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาและจับกุมตัวนำส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป
เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์พระราชทานพวงหรีดไว้อาลัยประคอง ชูจันทร์
เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์พระราชทานพวงหรีดไว้อาลัยประคอง ชูจันทร์
ครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิด ถ.บรรทัดทอง ซาบซึ่งในพระมหากรุณาธิคุณ หลังได้รับพวงหรีดพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
19 ม.ค. 2557 - เมื่อเวลา 19.00 น. วอยซ์ทีวี รายงานว่า ที่ศาลา 1 เตชะอิทธิพร วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร นายเปรี่ยมศักดิ์ มิลินทจินดา ผู้แทนพระองค์ได้อัญเชิญพวงมาลาและพวงหรีดพระราชทานจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มามอบให้ในพิธีสวดพระอภิธรรมศพ นายประคอง ชูจันทร์ ผู้ชุมนุมกลุ่ม กปปส. ที่ถูกระเบิดจนเสียชีวิต ขณะเดินขบวนอยู่ที่ถนนบรรทัดทอง ทำให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง
ส่วนบรรยากาศของพิธีรดน้ำศพ และสวดพระอภิธรรมนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ได้มาร่วมงานศพ นอกจากนี้มีแกนนำ กปปส. บางส่วน และญาติมิตรมาร่วมแสดงความอาลัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)