ดร.พระมหาโชว์ ทสสนีโย เวทีมินิคอนเสิร์ต | |
ดร.พระมหาโชว์ ทสสนีโย เวทีมินิคอนเสิร์ต อ่างเก็บน้ำหนองจุก อ.เขาชะเมา จ.ระยอง วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2554 VDO ftp://baygon5.no-ip.org/savefiles/mahashow26-11-11.wmv http://youtu.be/2KkA1ZqS80A mp3 http://www.mediafire.com/?ivrpltydjazmgr9 http://www.4shared.com/audio/G-h4ZcwE/__26-11-2011.html | |
http://redusala.blogspot.com |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554
คนไทยในสหรัฐอเมริกา สนับสนุนแนวคิด คุณ คำผกา
Red LA USA ปล่อยอากง
| |
คนไทยในสหรัฐอเมริกา สนับสนุนแนวคิด คุณ คำผกา
‘คำ ผกา’ เปลือย(หน้า)อก และ(หน้า)ใจ
ส่งข้อความเรียกร้องปล่อยตัวอากง ชี้สังคมไทยต้องก้าวข้ามความกลัว
ถอดทิ้งอคติ และสำรวจจิตใจตัวเองในฐานะเพื่อนมนุษย์
คนไทยในสหรัฐอเมริกา กลุ่ม Red LA USA ตอบสนองไอเดียทันทีจากสองภาพแรก
และตามมาด้วยเวปบล๊อก คนไทย LA
คุณหมอพงษ์ศักดิ์ ป้า Tiffy ส่งเข้าประกวด
ผู้รักความยุติธรรมในประเทศไทยตอบสนองไอเดีย
หนุ่มสาวในโลกไซเบอร์ จากบล๊อก คนไทย LA
สาวไทยในแคนนาดาส่งลูกสาวชื่อ Angle เข้าร่วม
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
นักรัฐศาสตร์ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสิงคโปร์
เริ่มต้นรณรงค์ออนไลน์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา
น่าจะสืบเนื่องจากหญิงเหล็กคนนี้
และสานต่อโดย คำผกา สาวไทยคนนี้
และตามมาด้วยคนนี้ Kamphaka I Love You ....
และทะยอยตามมาจากทุก ๆ เวปไซท์
หนู้น้อยจาก Facebook
คุณลุงจาก Facebook
หันหลังให้ระบอบเผด็จการ อำหมาด และผู้มีอำนาจ
Uncle เรียกร้องปล่อย Grandfar
ชมรมวิทยุเสรีชน
Yoko Ono ก็มาด้วย......หรือปล่าว ?
อกสามศอก เพื่ออากง
วัดสมองของคุณ ว่าคุณสนใจหน้าเอกเธอ
หรือ สิ่งที่เธอแสดงผ่านข้อความบนหน้าอกและฝ่าของเธอ
ท่านนี้ต้องการจะบอกว่าอะไรอยู่เบื้องหลังหรือปล่าว
หมวกเผด็จการครอบหัวอากง ?
ข้างบนสี่นิ้ว ข้างล่างห้านิ้ว รวมกันเป็น 9 บอกอะไรสังคมไทย
ใครล้อมกรอบชื่ออากง
หกฝ่ามือ เพื่ออากง
http://pics.manager.co.th/Images/554000016381208.JPEG
หลานสาวตัวน้อยของอากง
หลานสาวคนใหญ่ในโลกไซเบอร์
จากเวปบล๊อกฟ้าแลบ
ชื่อภาพ "ข้างหลังภาพ 1"
ชื่อภาพ "ข้างหลังภาพ 2"
ภาพจากชาวพุทธ
**********************************
ภาพจากงานเสวนา เครือข่ายประชาธิปไตย (คปต.)
และสาว คำผกา ผู้จุดประกาย
นักเขียนดังให้สัมภาษณ์เว็บไซต์ประชาไท ถึงโครงการศิลปะชิ้นนี้ว่า อยากจะสื่อออกไปยังสังคมไทย ให้ถอดอคติส่วนตนออกไปจากจิตใจ และลองเปลือยใจเพื่อสำรวจถึงความมีมนุษยธรรมในฐานะเพื่อนมนุษย์ และตั้งคำถามดูว่าทำไมกรณีของอากงจึงเกิดขึ้นได้ มันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ไหม และมันมากเกินไปหรือเปล่า "แทนที่จะหลบอยู่หลังตู้เย็น หลบอยู่หลังหน้าจอคอมพ์ อย่างน้อยเราก็ได้ทำอะไรซักอย่าง ที่จะก้าวข้ามความกลัวนั้นไป และส่งข้อความออกไปยังสังคม...ให้สังคมไทยนั้นก้าวพ้นความกลัวไปด้วยกัน" เธอกล่าว คำ ผกา กล่าวปิดท้ายว่า งานชิ้นนี้ เปรียบเสมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่ใช้ร่างกายประท้วงต่อความไม่เป็นธรรมในสังคม ซึ่งการกล้าเปิดกาย-ใจ และการกล้าเปิดเผยตัวตนนี่เอง ที่เป็นการเผชิญหน้าและเอาชนะความกลัวได้อย่างแท้จริง
----------
ตัวอย่างรูปถ่ายของผู้เข้าร่วมแคมเปญฝ่ามือ "อากง"
คำผกา จัดหนัก
‘คำ ผกา’ เปลือย(หน้า)อก และ(หน้า)ใจ ส่งข้อความเรียกร้องปล่อยตัวอากง ชี้สังคมไทยต้องก้าวข้ามความกลัว ถอดทิ้งอคติ และสำรวจจิตใจตัวเองในฐานะเพื่อนมนุษย์ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลายคนอาจได้เห็นแคมเปญ ‘ฝ่ามืออากง’ กันไปบ้างแล้วในเฟซบุ๊ก การรณรงค์ดังกล่าวเริ่มต้นโดยปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ประเทศสิงคโปร์ เพื่อเรียกร้องอิสรภาพให้แก่นายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ถูกตัดสินจำคุก 20 ปีด้วยการถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือที่มีเนื้อหาหมิ่นเบื้อง สูงจำนวน 4 ข้อความไปยังเลขาส่วนตัวของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ(ขณะนั้น) แคม เปญดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้ใช้เฟซบุ๊กในไทยและต่างประเทศอย่างรวดเร็ว โดยมีคนส่งภาพตัวเองที่มีข้อความ “อากง” เขียนบนฝ่ามือมาร่วมในการรณรงค์ดังกล่าว 150 คนในเวลาเพียง 2 วัน หนึ่งในนั้น มีรูปหญิงสาวเปลือยพร้อมข้อความ “No Hatre for Naked Heart” หราอยู่บนหน้าอกหน้าใจ พร้อมคำว่า “อากง” บนฝ่ามือ จะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากลักขณา ปันวิชัย หรือนักเขียนชื่อดังในนาม “คำ ผกา”… เธอ เล่าถึง “Art project” ชิ้นนี้ ซึ่งเป็นภาพเปลือยของเธอพร้อมข้อความ “No Hatre for Naked Heart” เขียนด้วยน้ำหมึกดำอยู่บนอกสองข้างของเธอว่า อยากจะสื่อออกไปยังสังคมไทย ให้ถอดอคติส่วนตนออกไปจากจิตใจ และลองเปลือยใจเพื่อสำรวจถึงความมีมนุษยธรรมในฐานะเพื่อนมนุษย์ และตั้งคำถามดูว่าทำไมกรณีของอากงจึงเกิดขึ้นได้ มันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ไหม และมันมากเกินไปหรือเปล่า “แทนที่จะหลบ อยู่หลังตู้เย็น หลบอยู่หลังหน้าจอคอมพ์ อย่างน้อยเราก็ได้ทำอะไรซักอย่าง ที่จะก้าวข้ามความกลัวนั้นไป และส่งข้อความออกไปยังสังคม...ให้สังคมไทยนั้นก้าวพ้นความกลัวไปด้วยกัน” เธอกล่าว ‘คำ ผกา’ กล่าวว่า งานชิ้นนี้ เปรียบเสมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่ใช้ร่างกายประท้วงต่อความไม่เป็นธรรมใน สังคม ซึ่งการกล้าเปิดกาย-ใจ และการกล้าเปิดเผยตัวตนนี่เอง ที่เป็นการเผชิญหน้าและเอาชนะความกลัวได้อย่างแท้จริง ที่มาประชาไท...
No More "อากง"-จากเฟซบุ๊คของ Jesiga NoMo
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์ 3 ธันวาคม 2554 ดร.สมศักดิ์เขียนในเฟซบุ๊คของเขาว่า ผมเห็นด้วยในแง่ที่ว่า การรณรงค์ทาง facebook การชุมนุม "เชิงสัญลักษณ์" (ที่เรียกกันว่า "จัดอีเว้นต์" อะไรแบบนั้น) เขียนชื่ออากง ฯลฯมีข้อจำกัด คืออาจจะ "ฮือฮา" กันอยู่สักระยะ (อาจจะเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน) แต่ถ้าลำพังการเคลื่อนไหวแบบนี้ โดยตัวเอง ยากจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง ที่เป็นจริงได้ ผมเน้นคำว่า "ลำพัง..." เพราะผมมองว่า จะว่าการเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ "ไม่ได้ประโยชน์อะไร" ล้วนๆ ผมว่า ไม่ใช่นะ มันมีประโยชน์อยู่จริง ในแง่ของการทำให้คนที่ไม่มาสนใจ มาสนใจ หรือทำให้เป็นการแสดงความเห็น ความรู้สึกของคนจำนวนมาก ให้สื่อ ให้บรรดาคนในระดับการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ผลักดัน (เช่น พวก นปช อย่างนี้แหละ) อะไรแบบนี้ มองเห็น ... ครับใช่ แต่ถ้าลำพังแค่นี้ เท่านั้น โอกาสที่มัน จะ frizzle out (แตกกระสานกันไป) หลังจากระยะหนึ่ง โดยไม่เกิดอะไรขึนตามมา (ยกเว้นทีบรรยายในย่อหน้าที่แล้่ว ที่อาจจะเรียกว่าทำให้ เกิด awareness ในระดับหนึ่ง) อย่างกรณี อากง ผมจึงเสนอว่า ต้อง "พ่วง" หรือพูดให้ถูก คือ เสนอ มาตราการอะไรที่จะมีผลในเชิง realistic ด้วย ซึง สำหรับโทษทีตัดสินแล้ว อย่าง อากง หรือ เผาจวน นั้น มีทางทำให้หลุดได้เพียง 2 ทางเท่าน้น ในทางกฎหมาย คือ อภัยโทษ (ซึ่ง ต้อง "ยอมรับสารภาพ" และขออภัยโทษ และต้องมีประวัติ มีความผิดตัดตัว ซึง โดยรวมแล้ว ไม่ดี) กับ นิรโทษกรรม ผมจึงเสนอว่า บรรดาท่านผุ้ร่วมรณรงค์ครั้งนี้ ควรต้อง ช่วยกันผลักดันเสนอ รบ. สส. ให้ออก นิรโทษกรรม กรณีอากง กรณีเผาจวน และอื่นๆ ผมว่านะ เรื่องนี้ ถ้าจะทำจริงๆ ใช้เวลาไม่นานหรอก ร่างกฎหมาย เสนอสภา ผ่านสภา ทำได้ ภายในไม่กี่สัปดาห์ อยากย้ำประเด็นเรื่อง เอาระดับล่างออกให้หมด คือ ในเมื่อเสื้อแดงเอง ก็ยังต้องการดำเนินคดีอภิสิทธิ์ สุเทพ และอาจจะผู้นำทหารด้วย ฝ่ายพันธมิตร เองก็ต้องยืนยัน ดำเนินคดีแกนนำเสื้อแดงด้วย ยิ่งกรณีคุณทักษิณ ยิ่งแล้วใหญ่ ถ้าคิดจะออกกฎหมายนิรโทษกรรม คงต้อง สู้กันหลายยก ดังนั้น จะรอให้ชะตาของคนระดับล่างๆ ไปผูกอยู่กับคนระดับนำ ทั้งสองฝ่ายแบบนี้ โอกาสจะไปถึงไหน จะยาก และแต่ละวัน คนระดับล่างเหล่านี้ ก็ลำบาก (ระดับ ส่วนใหญ่ ทั้งสองฝ่าย ไม่ได้อยู่ในคุกอยู่แล้ว) ไม่รู่้นะ ผมมองไม่เห็นทางอื่นที่ realistic (เป็นจริงได้) มากกว่านี้ ไม่วา กรณีอากง หรือกรณี สมยศ สุรชัย หรือ พวกเผาจวน ฯลฯ ผมนึกวิธีที่ realistic กว่านี้ไม่ออก - ยินดีรับฟังความเห็น หรือข้อเสนอ ว่า ท่านอื่นมีข้อเสนออะไรไหม แต่จุดสำคัญที่อยากย้ำ คือ เรื่อง realistic ที่ จะทำให้ปล่อย อากง และคนอื่นๆ ออกมาได้จริงๆ ทั้งนี้มีทนายความจำเลยคดี112อยู่2รายที่แสดงความเห็นด้วยกับดร.สมศักดิ์คือทนายอานนท์ นำภา และทนายประเวศ ประภานุกูล โดยทนายอานนท์ ทนายความของอากงแสดงความเห็นว่า หากการใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกกฎหมายนิรโทษกรรมครั้งนี้จะพอคลีคลายสถานการณ์บ้าง ก็น่าจะชอบธรรมในฐานแห่งการถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายตุลาการ เพราะเราเล็งเห็นถึงความไม่เสถียรของระบบแล้ว เราควรใช้อำนาจที่มีฐานมาจากปวงชนชาวไทย ในการจัดการกับอำนาจที่มีฐานจากระบอบราชการแบบเก่า ๆ ผมเห็นดังนี้จริงๆ ทนายประเวศ ทนายความของดา ตอร์ปิโด แสดงความเห็นว่า เห็นด้วยกับ อ.สมศักดิ์ นะครับว่า ควรต้องมีการรณรงค์ แบบ เอาจริงเอาจัง กันเสียที กับข้อเสนอของอาจารย์ต่อการเรียกร้องให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรม นักโทษการเมือง(ที่ไม่ใช่แกนนำของทั้ง 2 ฝ่าย) ผมไม่มีอะไรคัดค้านครับ อย่างไรก็ตามมีผู้แสดงความเห็นว่า การเรียกร้องให้มีพรบ.นิรโทษกรรมอาจกลายเป็นประเด็นการเมือง และจะไม่มีผลปฏิบัติจริง ควรเคลื่อนไหวเรียกร้องตามข้อเสนอของคอป.ที่เสนอต่อรัฐบาล จนมีการแต่งตั้ง ปคอป.มาดำเนิืนการตาม และมีมติครม.ออกมาแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ต่อมาได้มีการทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่นยวข้องคือปลัดกระทรวงยุติธรรม อัยการสูงสุด ผบ.ตร. อธิบดีดีเอสไอ กล่าวโดยสรุปคือเห็นว่าคดีที่เกิดขึ้นหลังรัฐปนระหาร 19 กันยายน เป็นคดีการเมืองทั้งหมด รวมทั้งคดี112 ศาลต้องตัดสินคดีด้วยบริบทนี้ไม่ใช่มองเป็นอาชญากรรมปกติ อัยการอย่าเพิ่งสั่งฟ้อง ให้ชลอคดีออกไปก่อน(คือเว้นวรรคไว้ก่อน)จนกว่าจะหาสูตรความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนยผ่านได้ ส่วนกรณีศาลได้ตัดตัดสินคดีในชั้นต้นไปแล้ว ก็ควรต้องไปต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาตัดสินโดยอิงตามข้อเสนอของคอป.นี้ คือให้เว้นวรรคชลอคดี ปล่อยตัวออกมาก่อน "นี่เป็นมติคอป. ปคอป. มติครม. และหนังสือถึงหน่วยงานต่างๆhttp://issuu.com/thai_e-news/docs/trc_comments?mode=window&backgroundColor=%23222222 ดังนั้นก็ควรติดตามเร่งรัดรัฐบาล และหน่วนยงานที่เกี่ยวข้องคือ ปคอป. กระทรวงยุติธรรม ศาล อัยการ ดีเอสไอ ให้ทำตามก็พอแล้ว ทำไมจะไปเริ่มต้นใหม่ขอให้ออกพรบ.นิรโทษกรรมแบบเว้นวรรคไม่ให้นิรโทษกรรมแม้ว หรือแกนนำ มันจะกลายเป็นประเด็นปัญหาใหม่ทางการเมืองมากกว่ามังครับ" ดร.สมศักดิ์ได้โต้แย้งว่าข้อเสนอ คอป ตามเอกสารที่ ครม.นำมาสรุปนี้ ไม่สามารถใช้ในการครอบคลุมประเด็นทีผมเสนอเลย - จะสังเกตว่า ข้อแรกสุดเรื่อง ให้ทบทวนว่า มีการตั้งข้อหาเกินจริงหรือไม่ ผมว่า อันนี้ ไม่ได้รวมถึงคดีทีขึ้นศาล ดำเนินไปจนจบ (ตัดสินแล้ว) เลยครับ เพราะรวมไม่ได้ เพราะพอถึงจุดนั้นแล้ว ไมได้อยู่ในอำนาจของฝ่ายบริหาร หรือแม้แต่ อัยการแล้ว (คือ ถ้ายังดำเนินอยู่ อาจจะบอกว่า ให้อัยการถอนฟ้อง หรือยุติการดำเนินคดีได้) ดังน้ัน คดีอย่าง อากง หรือ คดี เผาจวน และคดีอื่นๆที่ตัดสินไปแล้ว ตามข้อเสนอนี้ ไม่ครอบคลุมแล้วครับ (เช่น ต่อให้กรรมการของรัฐบาล สรุปว่า คดีเผาจวน เป็นการต้งข้อหาเกินไป จะให้ทำยังไงครับ ถ้ารบ. คิดจะแก้? ก็ต้องออกเป็น พรบ.นิรโทษกรรมอยู่ดี) - การพูดถึง 112 ของเอกสารรัฐบาลนี้ อันที่จริง เป็นการพูดแบบรวมๆครับ ในข้อเสนอขอ คอป (ซึงไม่ได้อยู่ในเอกสารตาม link นี้ มีการพูดถึง 112 จริง แต่ก็พูดไว้น้อยมาก จริงว่า คดีอย่างสมยศ หรือ สุรชัย อาจจะสามารถทำเป็นข้อสรุป ตามนี้ว่า "ตั้งมากเกินจริง" และอาจจะหาทางทำให้ อัยการ ถอนฟ้อง หรือยุติคดีได้ แต่คดี ดา หนุ่ม และครับ คดี อากง ก็ไม่รวมอยู่นั่นเอง ตามที่กล่าวมาในย่อหน้าที่แล้ว ดังนั้น ไม่มีทางอื่นครับ ทีจะทำให้คนที่ถูกตัดสินไปแล้ว อย่าง อากง เผาจวน ฯลฯ สามารถหลุดออกมาได้ ความจริง เรืองนี้เป็น "เบสิค" อยู่แล้วครับ มันก็เหมือนกรณีคดีทักษิณนั่นแหละ ที่วิธี "หลุด" มี 2 วิธี เท่านั้น คือ อภัยโทษ หรือ นิรโทษกรรม ซึงแน่นอนวิธีแรกอยู่ในอำนาจ ครม.ระดับหนึง เช่นออกเป็น พรฎ (อย่างที่เพิ่งคิดจะทำ) แต่ก็มีข้อเสียตรงทีต้องยอมรับว่า มีโทษติดตัวอยู่ และ พรฎ น้ันเป็นกรณีพิเศษด้วย ถ้าเป็นอภัยโทษปกติ ก็ต้อง "สารภาพ" ซึง อากง หรือ คุณหนุ่ม หรือ ดา จนถึงตอนนี้ ไม่ได้คิดจะรับ หรืออีกทางคือ นิรโทษกรรม ซึ่งดีกว่าแน่ๆ เพราะคดีหลุดเลย ถือว่าเสมือนไม่มีคดี สรุปแล้ว ถ้าต้องการช่วยคนเหล่านี้จริงๆ โดยเฉพาะกรณีอากง ไม่มีทางอื่นครับ อย่งน้อย ไม่มีทางอื่นที่ผมคิดอออก ตามระบบกฎหมาย มี 2 ทางเท่านั้นจริงๆ สำหรับคดีที่ตัดสินแล้ว คือ อภัยโทษ (จากการสารภาพ) หรือ นิรโทษกรรม ครับ ส่วนที่เสนอให้พูดถึงคดีที่ตัดสินศาลชันต้นไปแล้ว ให้ใช้ข้อเสนอ คอป ไปอ้างต่อศาลอุทธรณ์ ให้ "ชะลอคดี" นั้น ก็ยังไมใช่การปล่อยครับ ถ้า ไม่มีการประกันในระหว่างอุทธรณ์ จะยิ่งแย่ แต่ต่อให้มีการประกัน คดีก็ยังอยู่ครับ ซึง ดังที่ผมบอกว่า คดียังติดตัวอยู่ สำหรับคนธรรมดาๆ มันไมใช่เรื่องสบาย ... สรุปอีกทีว่า คดีทีตัดสินแล้ว อย่างอากง หรือ เผาจวน มี 2 ทาง คือ ไม่ "อภัยโทษ" ก็ "นิรโทษกรรม" ซึงถ้าไม่เอาอภัยโทษ (ต้องสารภาพ ต้องมีประวัติติด) ก็ต้อง นิรโทษ อย่างเดียวเท่านั้นครับเนวินก็เคยเสนอให้นิรโทษกรรมมวลชนยกเว้นแกนนำแต่ไม่สำเร็จ ขนาดไม่รวม112และกรณีผิดชัดเผาห้าง-ศาลากลาง อย่างไรก็ตามข้อเสนอให้นิรโทษกรรมให้แก่แนวร่วมหรือมวลชน โดยไม่รวมแกนนำหรือตัวการสำคัญนั้น นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทยเคยเคลื่อนไหวเมื่อปีที่แล้ว แต่เผชิญแรงต้าน จนเขากล่าวในเวทีสัมมนาหนหนึ่ง ว่า่ การนิรโทษกรรมเป็นการแก้ปัญหาแบบไทยสไตล์ คือ อโหสิแก่กัน วันนี้มีคนตกเป็นผู้ต้องหามากมาย ต่างฝ่ายก็ไม่ลดราวาศอก หากไม่เอาฟืนออกจากไฟ เอาคนบริสุทธิ์ออกมาก่อน ปัญหาก็จะลุกลาม แต่พอมีแนวคิดนี้ก็มีเสียงคัดค้านผมก็ประหลาดใจว่าในขณะที่มีความพยายามนิรโทษกรรมให้คนที่เคลื่อนไหวโดยบริสุทธิ์ใจกลับถูกคัดค้าน แต่การเรียกร้องให้อภัยโทษคนคนเดียวกับมีความสนับสนุนดูข้อเสนอของเนวินในรายงานข่าว "เนวิน"เดินหน้าล่ารายชื่อ "นิรโทษกรรม"ผู้บริสุทธิ์ ย้ำให้รู้จัก "อโหสิกรรม" ขอเน้นย้ำว่า เฉพาะผู้ชุมนุมทางการเมืองโดยบริสุทธิ์ ไม่ได้สร้างปัญหาความรุนแรง หรือก่อการร้าย หรือเป็นแกนนำของการชุมนุม และ/หรือคนที่โดนตัดสิทธิ์ทางการเมืองจากการถูกยุบพรรคเนวิน กล่าวย้ำว่า การเดินหน้านิรโทษกรรมให้แก่ผู้บริสุทธิ์ เป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะเรายอมรับหรือไม่ว่าคนที่ไปยืนหน้าศาลากลางที่ถูกเผา ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ก็ตกเป็นผู้ต้องหา วันนี้เรายอมรับหรือไม่ มีหลายคนไม่ได้เป็นผู้ก่อการ แต่มาด้วยจิตวิญญาณบริสุทธิ์ เขา ก็ตกเป็นผู้ต้องหา ทำไมเราไม่กันคนเหล่านั้นออกมาจากความแตกแยก ส่วนใครที่เป็นแกนนำ ใครเป็นผู้ก่อการ ผู้ต้องหาคดีอาญา ก็ดำเนินคดีไป คนที่มีหลักฐานมีคดีชัดเจนก็ดำเนินคดีอาญาไป แต่คนที่ไม่มีหลักฐาน แต่กลับต้องติดบ่วงก็นิรโทษกรรมให้เขาไป เนวินย้ำชัดว่า การนิรโทษกรรมครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับบ้านเลขที่ 111 และบ้านเลขที่ 109 เพราะประเด็นของตน คือการนิรโทษกรรมให้ผู้ที่ไม่ได้กระทำความผิดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกรณีเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง ควรจะได้รับการเยียวยา โดยตนอยากให้แยกพี่น้องประชาชนที่มีเจตนาบริสุทธิ์ออกไปเสียจากวงนี้ ที่ทำให้เขาเป็นผู้ต้องหา เป็นผู้ถูกกล่าวหา ไม่ว่าเป็นข้าราชการหรือประชาชน ไม่ว่าราชประสงค์หรือสุวรรณภูมิที่มีเจตนาบริสุทธิ์ในการมาชุมนุมและการทำหน้าที่ ส่วนเรื่องจาบจ้วงสถาบันต้องดำเนินการอยู่แล้วจะนิรโทษกรรมไม่ได้ หมอเหวงเผยกระทรวงยุติธรรมจะนำคดีพิจารณาใหม่กรณีตั้งข้อหาแรงไป นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่ม นปช. กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ กรณีวานนี้ (2 ธ.ค.) นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานกลุ่ม นปช. ได้เข้าเยี่ยมกลุ่มนปช.ที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ เพื่อหารือเรื่องการเตรียมขอประกันตัว และสอบถามความเป็นอยู่ว่า นางธิดาได้เดินทางเข้าไปแล้ว ดังนั้น จะเร่งทำเรื่องขอประกันตัวได้ในเร็วๆ นี้ เพราะนางธิดาได้มีการหารือกับ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เรียบร้อยแล้ว ซึ่งรัฐบาลมีความยินดีจะดำเนินการเป็นเจ้าภาพในการเดินเรื่องขอประกันตัวจากศาล โดยจะจัดหาหลักทรัพย์ในการประกันตัวให้ผู้ที่ขาด แคลนทุนทรัพย์ รวมทั้งกระทรวงยุติธรรมพร้อมจะนำคดีความมาพิจารณาใหม่ คดีใดที่มีการตั้งข้อหารุนแรงเกินไป หรือมีหลักฐานไม่สมบูรณ์ จะได้พิจารณาใหม่ ซึ่งพล.ต.อ.ประชา ได้ตอบรับแล้วเช่นกัน เมื่อเช้าวานนี้ อ.ธิดา, คุณหมอหวง และทีมทนายความมีนัดกับผู้ต้องขังเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อนเข้าไปภายในเรือนจำ อาจารย์ได้พบกับภรรยาของคุณอำพล(อากง) ที่มาดักรอพบและ เธอได้เข้ามาแนะนำตัวและฝากให้ช่วยอากงด้วย ซึ่งอาจารย์รับปากว่าจะช่วยอย่างเต็มกำลังเท่าที่สามารถทำได้ จึงได้ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน และหลังจากได้เข้าไปพบกับอากงแล้ว เห็นว่าอากงเป็นผู้สูงอายุธรรมดา ๆ คนหนึ่ง ไม่รู้การใช้เทคโนโลยีเท่าไร ไม่ได้อยู่้ในขบวนของคนเสื้อแดง ไม่ได้ถูกจับกุมในการชุมนุม แต่การที่ได้รับการตัดสินคดีอย่างนี้ก็ คงต้องมีการอุทธรณ์กันต่อไปเพราะคดีของอากงนั้นมีบทบาทสูงมาก(ที่มา:facebook อ.ธิดา) หลังจากพบปะพูดคุยกับพี่น้องในเรือนจำแล้ว ออกมาให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว DNN และ Spring News ที่มารอทำข่าวอยู่ โดยในวันนี้ได้ข้อสรุปว่าพี่น้องในเรือนจำดีใจที่จะได้ย้ายไปที่ใหม่ที่มีศักดิ์ศรี ไม่ต้องอยู่ปะปนกับอาชญากรในคดีต่าง ๆ มีผู้ที่คาดว่าจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษจำนวน 11 คน อีก 5 คนกำลังรอลุ้นอยู่เนื่องจากโทษที่ได้รับยังเหลืออีกมากกว่า 1 ปี ผู้ที่ขอให้ทางรัฐบาลประกันตัวมี 17 คน และอีก 6 คนนั้นคดีเด็ดขาดไปแล้ว ไม่สามารถประกันตัวได้ แต่ก็ได้ย้ายไปอยู่ในที่แห่งใหม่แน่นอนวานนี้นางธิดา ไปเยี่ยมนักโทษการเมืองและให้สัมภาษณ์สื่อว่า นปช. เราดำเนินการผลักดันและพยายามให้การช่วยเหลือคนเสื้อแดงที่ยังอยู่ในเรือนจำตลอดมาโดยตลอด และในวันนี้ก็ไปเยี่ยมและหารือกับผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มา เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องการย้ายไปควบคุมตัวไปที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขนเพื่อแยกจากคดีทั่วไป โดยคาดว่าจะสามารถย้ายได้ไม่เกินกลางเดือน ธ.ค.นี้ รวมทั้งการเซ็นชื่อในการขอประกันตัวเพิ่มเติมอีก 18 รายด้วย อย่างไรก็ตามในเรื่องการย้ายที่ควบคุมตัวบางคนอาจจะว่าตนหน่อมแน้ม แต่ก็ต้องขอทำความเข้าใจว่าบางเรื่องที่เกี่ยวกับศาลเราไม่สามารถก้าวล่วงได้ ต้องให้เป็นไปตามกระบวนการแต่ยืนยันว่าหลังจากย้ายที่คุมขังแล้ว เรื่องการประกันตัวก็ยังดำเนินการต่อไปรวมทั้งประเด็นอากงที่ส่งเอสเอ็มเอสที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากซึ่งอยู่จำนวน 102 คน ที่เรากำลังดำเนินการให้ความช่วยเหลือด้วย “นอกจากนั้นเบื้องต้นทราบมาว่า จะมีนักโทษการเมืองที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษในวันที่ 5 ธ.ค.นี้ โดยเป็นคนเสื้อแดงที่อยู่ในเรือนจำพิเศษ 10 กว่าราย ต่างจังหวัดอีก 20-30 ราย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี ส่วนผู้ต้องขังที่ยังไม่สามารถประกันตัวได้ ในส่วนกลาง นปช. จะเป็นฝ่ายดำเนินการ และในต่างจังหวัด ส.ส. แต่ละพื้นที่ก็กำลังเร่งดำเนินการอยู่เช่นกัน ทั้งนี้ในเรื่องความล่าช้าของการช่วยเหลือคนที่เสื้อนั้นต้องยอมรับว่ารัฐบาลนี้ล่าช้า แต่ความล่าช้าและติดขัดก็เกิดจากรัฐบาลที่แล้วเช่นกัน เพราะเราดำเนินการในเรื่องขอย้ายจากนักโทษอาญามาเป็นนักโทษการเมืองแล้วแต่เขาก็ไม่ยอม ขอให้ลองมาติดคุกบ้างแล้วจะได้รู้ แล้ววันนั้นอย่ามาขออยู่โรงเรียนพลตำรวจบางเขนที่พวกเราพยายามเคลี่อนไหวให้ย้ายมาก็แล้วกัน ”นางธิดา กล่าว เมื่อถามว่าเวลานี้มีนักวิชาการที่เคยเป็นแนวร่วมของนปช. ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของพรรคเพื่อไทยและแกนนำนปช.ว่ามัวแต่แก้ปัญหาทางการเมืองของตัวเอง โดยไม่สนใจคนเสื้อแดงที่ถูกดำเนินคดีเช่น กรณีเอสเอ็มเอสอากงและคนเสื้อแดงที่ยังอยู่ในคุกจำนวนมากนั้น จะทำให้เสียแนวร่วมหรือไม่ นางธิดา กล่าวว่า ในเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลนั้นก็แล้วแต่จะคิด แต่ตนก็ยอมรับว่ารัฐบาลดำเนินการเรื่องนี้ล่าช้าจริง นายแพทย์สลักธรรม โตจิราการ บุตรชายนางธิดา กล่าวทางเฟซบุ๊คว่า คุณแม่ไปประชุมในเรือนจำ เจอทั้ง อากง คุณสุรชัย คุณธันย์ฐวุฒิ และคนอื่นๆทั้งหมด รวมถึงเมียอากงด้วย เมียอากงมาฝากฝังอากงกับคุณแม่ด้วยน้ำตาคลอเบ้า ซึ่งคุณแม่รับปากว่าจะช่วยเหลือให้ถึงที่สุดทั้งเรื่องการดูแลสภาพที่คุมขัง การประกันตัวและการสู้คดี และก็พูดคุยกันถึงเรีื่องย้ายเรือนจำ คุณแม่ก็เลยเล่าว่ามีบางคนบอกว่าการย้ายเรือนจำเป็นเรื่องหน่อมแน้ม หลายคนในนั้นเลยฝากมาบอกว่า "ให้ลองมาติดคุกดูเองดูครับ" เดี๋ยวคุณแม่คงจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมครับ ดร.สมศักดิ์ได้วิจารณ์ด้วยการขึ้นภาพนี้ในเฟซบุ๊คของเขา
เรื่องนี้เคยรณรงค์ในพม่า
(คลิ๊กที่ภาพ เพื่อชมภาพผู้เข้าร่วมอีกหลายราย)
อภัยมุทรา (มุทราแห่งศานติ) เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงการปกป้องคุ้มครอง ศานติ และการขจัดความกลัว ในปี 1962 คณะรัฐประหาร นำโดยนายพลเนวิน ได้ยึดอำนาจปกครองประเทศพม่า ทำให้ดินแดนแห่งพุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์แห่งนี้ตกอยู่ใต้ความเลวร้าย ตลอดเวลาห้าสิบปีที่ผ่านมา ประชาชนหลายพันคนถูกจับกุม ทรมาน และถูกจำคุกเป็นเวลาหลายปี เพียงเพราะแสดงความคิดความเชื่อของตนอย่างเปิดเผย และกล้าที่จะแข็งข้อต่อต้านเผด็จการทหาร ผู้ไม่ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างหรือตรงข้ามใดๆ ทั้งสิ้น
ทุกวันนี้ นักโทษการเมืองมากกว่า 2,000 คน ซึ่งมีทั้งพระสงฆ์ นักศึกษา ผู้สื่อข่าว ทนายความ สมาชิกสภาพผู้แทนราษฎร และสมาชิกพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย พรรคฝ่ายค้านของนางอองซาน ซูจีอีกมากกว่า 300 คน ถูกคุมขังในเรือนจำที่แสนหฤโหดในพม่า ไม่ต่างอะไรกับ “นรกบนดิน” ดังที่อู วิน ทิน อดีตนักโทษการเมืองที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของพม่าซึ่งถูกจำคุกอยู่ 20 ปีได้กล่าวไว้ หลังจากถูกจับกุม นักโทษการเมืองจะถูกทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเริ่มต้นในห้องสอบสวน และจะถูกนำตัวไปทรมานต่อในที่ใดที่หนึ่งในเรือนจำ 42 แห่ง หรือค่ายแรงงาน 109 แห่ง สภาพความเป็นอยู่ภายในสถานที่คุมขังและกักกันเหล่านั้นเลวร้ายมาก ไม่มีการดูแลสุขอนามัยใดๆ ทั้งสิ้น นักโทษ 146 คนได้เสียชีวิตไปแล้วในเรือนจำจากการถูกโบยตี ทรมาน และไม่ได้รับการดูแลรักษาทางการแพทย์ ในพม่า และทั่วโลก อดีตนักโทษการเมืองหลายร้อยคนได้มารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ชาวโลกเกิดความตื่นตัวและให้ความสนใจสภาพการณ์อันเลวร้ายของเพื่อนนักโทษการเมืองของพวกเขา ซึ่งยังคงอยู่ในเรือนจำ อภัย – ศานติชัยในพม่า เป็นส่วนหนึ่งของการเรียกร้องในระดับนานาชาติเพื่ออิสรภาพของนักโทษเหล่านี้
ทุกคนในภาพจะอยู่ในท่ายืน โดยยกมือขวาขึ้น และหันฝ่ามือมาที่กล้อง ชื่อของนักโทษการเมืองจะเขียนอยู่บนฝ่ามือของพวกเขา การทำท่า “อภัยมุทรา” (อภัย – ปราศจากความกลัว, ศานติ) ที่พบเห็นคุ้นเคยในพระพุทธรูปปางประทานอภัยที่เราเคารพบูชานั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นการประท้วงโดยสันติวิธีเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องหมายสื่อถึงศานติธรรมอีกด้วย
“ทุกคนที่มีภาพอยู่ในหนังสือเล่มนี้ได้เรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับความกลัวมาแล้วอย่างกล้าหาญโดยไม่หลบลี้ ในช่วงหลายสิบปีแห่งการต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในพม่า การอุทิศตัวของพวกเขานั้นคือความกล้าหาญ สิ่งสำคัญยิ่งคือ เราต้องไม่มีวันลืมเลือนพวกเขาเหล่านี้ หรือลืมสิ่งที่พวกเขายืนหยัดต่อสู้เรียกร้องเป็นอันขาด เราต้องระลึกและจดจำความทุกข์ยากและปณิธานของพวกเขาในใจเราเสมอ” “ฉันหวังว่าผู้ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้จะได้รับแรงพลัง ที่จะทำทุกสิ่งเท่าที่จะทำได้เพื่ออิสรภาพของนักโทษการเมืองในพม่า และร่วมกันสร้างโลกที่ปราศจากนักโทษการเมืองอีกต่อไป” อองซาน ซูจี (ตุลาคม 2554) การปล่อยตัวนักโทษการเมืองเป็นเรื่องสำคัญพื้นฐานในการสร้างอนาคตของประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกชาติ ทุกรัฐบาล รวมทั้งองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนทั่วโลกเรียกร้อง หากไร้ความพยายามของทุกประเทศและองค์กรเหล่านี้ ความมืดมนอนธกาลก็จะยังดำรงอยู่ต่อไป ความปรองดองในชาติจะไม่มีวันเป็นจริงได้ในประเทศพม่า ตราบใดที่ยังมีนักโทษการเมืองอยู่ ความปรองดองจะเกิดขึ้นได้อย่างไร หากคนที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นผู้นำบริหารประเทศ และผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์อนาคตของชาติ เช่น แพทย์ ทนายความ และครูอาจารย์ ยังถูกขังอยู่ในเรือนจำ? หนังสือใหม่ชื่อ Abhaya: Burma's Fearlessness โดย เจมส์ แมคคาย โดยสำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ มีภาพถ่ายทั้งหมด 244 ภาพ จะเปิดตัวและมีจำหน่ายเป็นครั้งแรกในงานนี้ "อภัย: ศานติชัยในพม่า" ได้รับการสนับสนุนจาก สถานเอกอัครราชทูตประเทศแคนาดาประจำประเทศไทย Burma’s fearlessness
Award-winning photographer James Mackay will this month release a book of images documenting the ongoing plight of Burma’s political prisoners. Abhaya: Burma’s Fearlessness is comprised of photographs of former political prisoners holding their hands up to display the name of friends and colleagues still behind bars.
| |
http://redusala.blogspot.com
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)