วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


เสวนาปรากฏการณ์ 112ริกเตอร์ ถึงเวลาสามัญชนลุกยืนตัวตรง
เสวนาปรากฏการณ์ 112ริกเตอร์ ถึงเวลาสามัญชนลุกยืนตัวตรง
ใน www.prachatai.com/journal/2012/05/40703 . . Sun, 2012-05-27 18:30


           27 พ.ค. 2555 นักวิชาการผู้ร่วมรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, นิธิ เอียวศรีวงศ์, วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และพวงทอง ภวัครพันธุ์ ร่วมเสวนาหัวข้อปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาธรรมศาสตร์ ในโอกาสปิดการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หลังจากดำเนินต่อเนื่องมาทั้งสิ้น 112 วัน โดยมีจำนวนประชาชนเข้าร่วมลงชื่อทั้งสิ้น 39,185 คน

          ชาญวิทย์ เกษตรศิริ มาตรา 112- พ.ศ. 2475 จุดร่วมมุมมองแตกต่าง ความเปลี่ยนแปลงบนเหรียญสองด้าน หัว-ก้อย

          ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มธ. กล่าวว่า ได้ปรับทุกข์กับอาจารย์นิธิว่าคนวัยเราไม่น่าจะต้องมาอยู่กับนักวิชาการรุ่นใหม่แล้ว แต่เมื่อได้ทบทวนสถานการณ์และบทบาทของตนเองในฐานะนักวิชาการและปัญญาชนแล้ว ในที่สุดก็ตัดสินใจเข้าร่วม จากนั้นได้กล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ไทยกับมาตรฐานสากลและกฎหมายหมิ่นมาตรา 112

            จากการศึกษาและการสอนวิชาประวัติศาสตร์การเมืองสยามประเทศไทยมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ขณะนี้สังคมและประชาชนคนไทยเผชิญปัญหาที่ท้าทายอย่างยิ่ง คล้ายปี 2475 ในเรื่องรัฐธรรมนูญ ที่ถ้ามองจากเหรียญด้านหัวของคณะเจ้าก็กล่าวได้ว่าคณะราษฎรใจร้อนชิงสุกก่อนห่าม แต่ถ้ามองจากเหรีญด้านก้อยก็จะเห็นว่าคณะเจ้านั่นเองที่ล่าช้า อืดอาดไม่ทันโลก

           จากการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 ทดลองดุสิตธานี รัชกาลที่ 7 ให้ที่ปรึกษาต่างชาติร่างรัฐธรรมนูญ ก็ยังไม่มีการมอบรัฐธรรมนูญเสียที จึงจำเป็นต้องมีการปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475

           เราจะสามารถปฏิรูปและแก้ไขกฎหมายหมิ่น ม. 112 ได้ทันท่วงทีกับสถานการณ์ภายในและสังคมระหว่างประเทศหรือไม่ เป็นเรื่องต้องชั่งน้ำหนักระหว่างเหรียญด้านหัว-ก้อย กลุ่มอำนาจเดิมกับอำนาจใหม่

           โดยชาญวิทย์กล่าวว่า ได้พบการชี้ถึงปัญหา ม.112 ในหนังสือล่าสุดที่ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นบรรณาธิการ คือ King Bhumibol Adulyadej: A Life''s Work

           ในหนังสือเล่มดังกล่าวมีอยู่บทหนึ่งที่พูดเรื่องกฎหมายหมิ่น กล่าวว่า จากพ.ศ. 2536-2547 begin_of_the_skype_highlighting            2536-2547      end_of_the_skype_highlighting เป็นเวลา 11 ปี จำนวนคดีหมิ่นใหม่ๆ ลดลงครึ่งหนึ่ง และไม่มีคดีหมิ่นเลยในปี 2545 ซึ่งน่าจะเป็นยุคต้นของรัฐบาลทักษิณ อย่างไรก็ตามในปีที่ผ่านมาเร็วๆ นี้จำนวนคดีหมิ่นที่เข้ามาสู่ระบบศาลไทยเพิ่มขึ้นอย่างน่าสังเกต ปี 2552 สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ (เป็นปีเดียวกับที่มีปัญหามรดกโลกและเขาพระวิหาร)

            นอกจากนั้นยังมีการขยายความว่ากฎหมายหมิ่นของไทยนั้นมีโทษรุนแรงที่สุดในรอบหนึ่งร้อยปี โทษขั้นต่ำของไทยเท่ากับโทษสูงสุดของจอร์แดน และสูงกว่าสามเท่าเมื่อเทียบกับในยุโรป ทำให้ราชอาณาจักรไทยในสมัยปัจจุบันมีคดีหมิ่นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของโลกเช่นเดียวกัน ข้อความนี้มาจากหนังสือ King Bhumibol Adulyadej: A Life''s Work

            ข้อมูลเชิงประจักษ์จากหนังสือเล่มนี้น่าจะเพียงพอที่ทำให้ท่านทั้งหลายจะต้องนำมาพิจารณาเพื่อปฏิรูป ปรับปรุงแก้ไข โดยไม่ต้องพูดถึงอดีตที่ค้างคา รวมถึงคดีอากงที่เสียชีวิตไปแล้วในคุก
           
           ทั้งนี้ข้อเสนอของครก. 112 คณะนิติราษฎร์ และกลุ่มสันติประชาธรรม คนหนุ่มสาว กวี และประชาชนหากสามารถผลักดันให้ผ่านสภา มี ส.ส. ส.ว. ที่มีทัศนะกว้างไกล มีความกล้าหาญทางจริยธรรมทางการเมือง รับลูกที่จะดำเนินการต่อในกรอบของกฎหมาย และกรอบรัฐธรรมนูญ ก็จะช่วยให้สังคมไทยมีสันติสุข และทำให้สถาบันกษัตริย์มั่นคงสถาพร และที่สำคัญคือได้มาตรฐานสากล ดังเช่นนานาอารยประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหราชอาณาจักรและยุโรปตะวันตก ไม่ทำให้สถาบันอ่อนแอและล่มสลายอย่างในยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกและเอเชียใต้

            จากการศึกษาทางวิชาการพบว่าสหราชอาณาจักรและยุโรปตะวันออก อาจจะรวมหรือไม่รวมญี่ปุ่นที่แพ้สงคราม ต่างก็มีสถาบันกษัตริย์ที่มั่นคงเพราะได้ปฏิรูปให้เป็นสถาบันที่ให้พระคุณ กอปรด้วยเมตตากรุณา มุทิตา อุเบกขา มากกว่าการใช้พระเดช ที่ข่มขู่ด้วยคุกตาราง ทำให้เกิดความกลัว

             เราได้เห็นโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับ ปรีดี พนมยงค์ เหยื่อคดีสวรรคต ร. 8 เหยื่อพฤษภาอำมหิต หรือเหตุการณ์ที่เกิดกับผู้คนชนบท ชายแดนห่างไกลที่ห่างไกลจากคนที่อยู่ในเมืองหลวง

            บรรดาอารยะประเทศในยุโรปตะวันตก ส่วนใหญ่ก็มีกฎหมายหมิ่น แต่การบังคับใช้ไม่สาหัสสากรรจ์และพร่ำเพรื่อ และไม่ปล่อยให้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

            ถ้าเราจะรักษาสถาบันประชาธิปไตยให้ควบคู่กับการรักษาสถาบันกษัตริย์ต้องปฏิรูปกฎหมายหมิ่นมาตรา 112 ดูประเทศที่สถาบันกษัตริย์อยู่ควบคู่กับสถาบันประชาธิปไตย และหนีไม่พ้นต้องดูแบบประเทศอังกฤษที่เราเลียนแบบมาแม้แต่คำขวัญ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หรือแม้แต่เพลงสรรเสริญพระบารมี ในสมัยรัชกาลที่ 4 เครื่องราชย์ฯ การถอนสายบัว นานานัปการ มาจากอังกฤษที่เป็นมาตรฐานสากลของสถาบันกษัตริย์และประชาธิปไตยซึ่งทำให้รักษาสถาบันกษัตริย์ไว้ได้ ไม่ใช่ทำให้สถาบันกษัตริย์ขัดแย้งกับสถาบันประชาธิปไตย

              สังคมไทยถึงจุดที่กำลังถูกท้าทายอย่างมาก เราต้องไม่ฝืนกระแสโลก ยิ่งทุกวันนี้เทคโนโลยีการสื่อสารรวดเร็ว การบอกว่าประเทศเราไม่ควรนำไปเปรียบกับสังคมโลก แน่นอนแม้เราจะมีลักษณะพิเศษแต่เราก็อยูในสังคมโลก ถามว่าประเทศส่วนใหญ่ 15 หรือ 30 ประเทศเป็นสถาบันกษัตริย์ ที่เหลืออีก 85 เปอร์เซ็นต์เป็นระบบประธานาธิบดี

             ถ้าเราทำให้สถาบันกษัตริย์กับสถาบันประชาธิปไตยขัดแย้งกัน จะทำให้สังคมเรามีปัญหาแน่ๆ แต่ถ้าทำให้อยู่ร่วมกันได้ก็จะไม่เกิดความขัดแย้งรุนแรงอย่างที่เกิดขึ้นหลายครั้งไม่ว่าจะเป็น 14 ต.ค.2516, 6 ต.ค.2519 พฤษภาคม 2535 ทั้งนี้ ไม่ใช่พฤษภาทมิฬ “ทมิฬ” ที่เป็นผู้สร้างอารยธรรม ทมิฬไม่เกี่ยวอะไรกับราชดำเนินและราชประสงค์เลย ดังนั้นขอให้ยกเลิกคำว่า“ทมิฬ”

              ท้ายสุดก็ค่อนข้างเป็นห่วงว่าการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นนี้น่าจะยากเย็นเพราะมีอำนาจเดิมที่เต็มไปด้วยโมหะและอวิชชาสูงมาก ส่วนพลังใหม่ อำนาจใหม่ก็มีทั้งที่เฉื่อยชา เมินเฉย ได้ดีแล้วทำเป็นวัวลืมตีน บางคนเกี๊ยะเซี๊ยะ บางคนมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ คนจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในสังคมชั้นสูงที่ผมจำเป็นต้องพบปะเป็นครั้งคราว คุยทีไรก็บอกเห็นด้วยกับเรื่องการแก้ไขนี้ แต่น้อยคนที่จะกล้าพูดในที่สาธารณะ แสดงความคิดเห็นขีดเขียนเพื่อสังคม ผมจึงเห็นว่าถ้าเป็นอย่างนี้ก็มีโอกาสที่สังคมนี้จะแตกหักไปสู่การนองเลือดเหมือน พ.ค. 53 เกิดกาลียุคดังที่ปรากฏในเพลงยาวพยากรณ์ และบนหน้าบรรณปราสาทเขาพนมรุ้ง เขาพระวิหาร

             สังคมไทยเรายังพอมีโอกาสปลดล็อกเงื่อนไขกาลียุคหรือนองเลือดได้ แต่ก็ต้องการผู้มีความกล้าหาญทางจริยธรรมสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในปีกพลังอำนาจเดิม

             การปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของสากลโลกใช้คนไม่มากเพียงสิบเพียงร้อยที่จะก้าวมาเป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลง และต้องได้รับความสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ที่เป็นตัวจริงของจริง ณ บัดนี้ สังคมสยามประเทศเรามีตัวจริงของจริงจำนวนไม่น้อย มีประชาชนที่หลากหลายจำนวนมากมายมหาศาลทั้งในกรุง ในชนบท อย่างไม่เคยเกิดมาก่อน ที่พร้อมแล้วที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายหมิ่น มาตรา 112 ที่จะให้สถาบันกษัตริย์อยู่ร่วมกับประชาธิปไตยได้อย่างสงบสันติ เสมอภาค ภราดรภาพ ตามเจตนารมณ์ของการปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิ.ย. 2475 และการปฏิวัติประชาชน 14 ต.ค. 2516

             “คบเพลิงของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันได้ส่งต่อมายังประชาชนรุ่นเราท่าน ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่า 14 ต.ค. 2516 กลางเก่ากลางใหม่-พ.ค. 2535 หรือรุ่นล่าสุด เม.ย.-พ.ค. 2553” ชาญวิทย์กล่าวในที่สุด

             นิธิ เอียวศรีวงศ์: หกสิบกว่าปีที่ยาวนานมากที่สถาบันกษัตริย์ควบคุม เลือกการปรับตัวได้ แต่คราวนี้ไม่ใช่ มีคนหน้าไพร่ๆ อย่างพวกเราเข้ามาขอมีส่วนบ้าง

             นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวว่า หากอยากพูดเรื่องการปรับปรุงสถาบันกษัตริย์ ก็คงต้องใช้สติอย่างเต็มที่ในการอภิปรายอย่างระมัดระวัง เรื่องนี้น่าเศร้าไม่ใช่เรื่องน่าขำ เราอยู่ในอาณาจักรไรซ์ที่3 หรือโซเวียตกันแน่ ผมคาดว่าในฐานะคนที่มีลูกมีหลานที่จะต้องมีชีวีตอยู่ในประเทศนี้ต่อไปมันน่าเศร้ามากๆ เพราะโซเวียตได้ล่มสลายไปแล้ว

             เราได้ยินเสมอมาว่าสถาบันกษัตริย์ไทยดำรงอยู่มาตั้งแต่ก่อนสุโขทัยถึงบัดนี้โดยไม่เปลี่ยนแปลง ผมอยากถามว่าคุณบ้าหรือเปล่าเพราะไม่มีสถาบันใดในโลกนี้ที่ดำรงอยู่ได้โดยไม่ปรับเปลี่ยน แม้แต่ตัวเราเองก็ต้องปรับเปลี่ยน โดยคนอื่นเปลี่ยนแปลงเราบ้างหรือเปลี่ยนโดยเรานึกได้แล้วปรับตัวเองบ้าง ดังนั้นสถาบันอะไรก็แล้วแต่ในโลกนี้ต้องถูกเปลี่ยนเสมอ ไม่เช่นนั้นก็อยูไม่ได้

              ย้อนกลับมาที่สถาบันกษัตริย์ไทยใน 100-200 กว่าปีที่ผ่านมา มีวิกฤตหลายครั้งที่สถาบันต้องชิงปรับตัวเอง การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นเป็นชัยชนะครั้งใหญ่ของสถาบันในการสถาปนาอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดเหนือขุนนางทั้งส่วนกลางและภูมิภาค และเหนือพระ ให้ต้องอยู่ใต้อำนาจอาณัติบัญชาของการเมือง

              ความล้มเหลวครั้งสำคัญก็คือ การเปลี่ยนแปลงระบอบประชาธิปไตย รัชกาลที่ 7 ก็คิดว่าจะตั้งนายกฯ แต่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ก็บอกว่าจะตั้งไปทำไม ถ้าตั้งนายกฯ เขาก็ด่านายกฯ แทนท่าน เพราะท่านเป็นคนตั้งนายกฯ ไปบอกให้ฝรั่งเขียนรัฐธรรมนูญแล้วก็ไม่กล้าประกาศ ไม่ทันการณ์ตลอดเวลา ผลจึงเกิด 2475 หลังจากนั้นฝ่ายสถาบันกษัตริย์ที่ไม่ได้หมายถึงกษัตริย์องค์เดียว แต่หมายถึงเจ้านายทั้งหลายก็พยายามทุกวิถีทาง เช่น อยู่ๆ นายกฯ ประกาศปิดสภา ทั้งๆ ที่อยู่ในสมัยประชุม ง่ายๆ คือรัฐประหารโดยมีพระปรมาภิไธย รัชกาลที่ 7 รับรองการรัฐประหารนั้นเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นเกิดกบฏบวรเดช ซึ่งหลักฐานชัดเจนมากขึ้นว่าอย่างน้อย รัชกาลที่ 7 ทรงรู้เห็นมาก่อน และไม่ได้เตือนรัฐบาลว่าจะเกิดการรัฐประหาร ช่วงเวลาดังกล่าวที่ความพยายามที่จะชิงอำนาจกลับคืนมา ถือว่าเป็นความพยายามปรับตัวแต่ไม่สำเร็จ

               หลังจากปี 2476-2490 begin_of_the_skype_highlighting            2476-2490      end_of_the_skype_highlighting เป็นครั้งแรกที่สถาบันกษัตริย์ถูกปรับตัวโดยคนอื่น คนอื่นบังคับให้ต้องปรับ มีรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดของประเทศไทย พ.ศ. 2489 ที่ร่างขึ้น โดยสถาบันกษัตริย์ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง ก่อนหน้านั้นเข้ามาเกี่ยวข้องเกือบจะหลายๆ มาตราด้วยซ้ำไป ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ฝ่ายสถาบันกษัตริย์ที่ประกอบด้วยเจ้านายหลายพระองค์ ขุนนางและนายทุนที่ได้รับเงินกู้จากพระคลังข้างที่ หมดกำลังอย่างสิ้นเชิง

               การเคลื่อนไหวเพื่อแก้มาตรา 112 เป็นเวลาอันเหมาะสมที่ อ.ชาญวิทย์กล่าวว่าสถาบันกษัตริย์ต้องปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว และผมเชื่อว่าผู้ใหญ่ที่ อ.ชาญวิทย์พูดว่า “เห็นด้วยๆ” นี่ เขาเห็นด้วยจากใจจริง

               แต่ปัญหาคือใครจะเป็นคนปรับ เพราะนี่เป็นครั้งแรกของความเคลื่อนไหวในสังคมไทยหลัง พ.ศ. 2476-2490 begin_of_the_skype_highlighting            2476-2490      end_of_the_skype_highlighting ที่คนหน้าตาไพร่ๆ อย่างพวกเรามีส่วนร่วมในการปรับ และสิ่งนี้ต่างหาก ท่าทีอันนี้ต่างหากเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ เพราะจากช่วงเวลา พ.ศ. 2476-2490 begin_of_the_skype_highlighting            2476-2490      end_of_the_skype_highlighting ก็ 60 กว่าปีที่ยาวนานมากที่สถาบันกษัตริย์ควบคุม เลือกการปรับตัวได้ แต่คราวนี้ไม่ใช่ มีคนหน้าไพร่ๆ อย่างพวกเราเข้ามาขอมีส่วนบ้าง กรณีที่อ.เวรเจตน์โดนชกไม่ใช่เรื่องเล็กไม่ใช่เรื่องคนดีคนเลว แต่เพราะท่าทีที่บังอาจถึงขนาดที่จะเป็นผู้หนึ่งที่จะปรับเปลี่ยนสถาบันกษัติย์ อันนี้ต่างหากที่เขารับไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่พวกเราต้องรับต่อไป อาจจะไม่ใช่กำปั้นโดยตรง แต่เราทุกคนจะต้องโดนอย่างเดียวกับที่อ.วรเจตน์โดน เพราะคุณกำลังทำสิ่งที่มันท้าทายต่ออำนาจที่ดำรงอย่างค่อนข้างยืนนานในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ไม่มีหนทางเรียบง่ายหรือสบาย อะไรจะเกิดก็ต้องพร้อมยอมรับมัน

               วรเจตน์ ภาคีรัตน์: ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ คือสัญญาณว่าสามัญชนกำลังจะลุกขึ้นยืนตัวตรง

              วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กล่าวว่า การเกิดปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากมีสัญญาณชัดเจนว่าประชาชนสามัญชนกำลังจะลุกขึ้นยืนตัวตรง และความพยายามนี้หลายคนยังรับไม่ได้ อย่างที่ อ.นิธิได้กล่าวมา ซึ่งถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 15 ม.ค.55 ที่ผ่านมาเขาได้นั่งอยู่บนเวทีนี้และอธิบายตัวร่างแก้ไขมาตรา 112 โดยหวังว่าคนที่ไม่เข้าใจจะเปิดใจรับฟัง เมื่อย้อนรำลึกกลับไป หลัง 15 ม.ค. สัก 1 สัปดาห์ก็ยังไม่เป็นข่าวใหญ่ แต่เริ่มเป็นข่าวเพราะว่าหนังสือพิมพ์ไปเสนอเรื่องนิติราษฎร์เสนอให้กษัตริย์ต้องสาบานตนว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และปิยบุตร แสงกนกกุล เสนอเรื่องกษัตริย์ไม่ควรมีพระราชดำรัสสด จากนั้นกระแสข่าวก็โหมโจมตีคณะนิติราษฎร์อย่างรุนแรง และทำให้ 112 ได้รับรู้สู่สังคมวงกว้างขึ้น

               วรเจตน์กล่าวว่าเมื่อเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 เข้าสู่ความรับรู้ของสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาที่ตัวเขาค่อนข้างมาก และแม้ทางเดินจะยาวก็ต้องเดินต่อไป สำหรับวันนี้เป็นจุดที่น่าดีใจที่มีรายชื่อเพียงพอ และเมื่อประชาชนพยายามลุกขึ้นยืนแล้วก็ต้องยืนให้ได้ ยืนให้ตรง และการเสนอร่างแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ต่อสภา ต่อเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอน

               “คำถามที่หลายคนอาจจะสงสัยคือว่ามันจะประสบความสำเร็จไหม ผมคิดว่าเราหลายคนในที่นี้ก็รู้แก้ใจว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เรากำลังพยายามพูดถึงเรื่องที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งในสังคมไทย 112 เป็นประเด็นที่สาธารณชนต้องพูดถึงต่อไป ท่าทีของนักการเมืองนั้นเห็นอยู่แล้วว่าไม่ประสงค์จะแก้ไข พรรคที่เป็นรัฐบาลก็ปฏิเสธการแก้ไขอย่างเด็ดขาด หลายคนก็สงสัยว่าแล้วจะทำไปทำไม เพราะโอกาสที่จะผ่านสภาคงมีไม่มาก ผมเรียนว่าความสำเร็จนั้นเป็นคนละเรื่องกับความพยายาม เราพยายาม ความสำเร็จเป็นเรื่องในอนาคต ผมรู้สึกว่าการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ผมรู้สึกว่าอาจจะช้าเกินไปแล้ว หรืออาจจะสายเกินไปแล้ว แต่ว่าแน่นอน นี่เป็นสิ่งที่ฝ่ายชนชั้นนำควรต้องประเมินว่าความรู้สึกของคนในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วในกระแสโลกาภิวัตน์ การปรับตัวเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”

               “มาตรา 112 คงเป็นอุปสรรคสำคัญอันหนึ่งทำให้การทำงานทางวิชาการเป็นไปได้ยากลำบาก โอกาสที่พัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าก็ไม่ง่าย โอกาสที่จะแก้ไขหรือปฏิรูปหรือยกเลิกเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ใช่แค่เรื่องนักโทษที่เป็นลำดับแรกที่เราคำนึงถึง แต่รวมถึงการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไปด้วย ตลอดระยะเวลา 112 วันผมเฝ้ารอคอยการโต้เถียงอย่างเป็นอารยะจากฝ่ายที่เห็นว่ามาตรา 112 ควรดำรงอยู่ต่อไป ทุกครั้งที่มีจดหมายมาถึงผม ผมหวังว่าจะได้เห็นความเห็นที่แตกต่างอย่างเป็นเหตุเป็นผล แต่ 112 วันผ่านไป ผมไม่พบความเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลทั้งในที่สาธารณะและในที่ส่วนตัว ว่าทำไม 112 จึงแก้ไม่ได้”

                 วรเจตน์กล่าวว่าข้อโต้แย้งที่มักพบคือกฎหมายนี้มีมานานแล้ว ซึ่งจริงๆ กฎหมายมาตรานี้มีปัญหาอย่างน้อยที่สุดในทางหลักการ และทางทฤษฎี และมีคนได้รับความเดือดร้อนจริงๆ จึงไม่สามารถปฏิเสธปัญหาของมาตรานี้อีกต่อไป

               “ผมคิดว่าวันนี้การเมืองไทยมาถึงทางแยกที่สำคัญ ปรากฏการณ์ 112 จะเป็นปัจจัยสำคัญ มีหลายคนที่ผมคิดว่าเขาอยู่ใกล้ผม แต่เมื่อเกิดปรากฏการณ์นี้เขาอยู่ห่างจากผมมาก แต่บางคนในความมืด ผมไม่เคยคิดว่าเขาอยูใกล้ผม ผมก็พบว่าเขาอยู่ใกล้ๆ ผมนี่เอง”

              ถึงทางแยก 112 vs ปรองดอง จะเดินต่อบนหนทางประชาธิปไตย หรือจะแยกไปเส้นทางอื่น

               วรเจตน์กล่าวว่า ความพยายามเสนอเรื่องนี้ด้วยใจบริสุทธ์และซื่อตรงนี้อาจจะสร้างความขุ่นเคืองใจขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายการเมืองอาจจะประเมินเรื่องเหล่านี้ต่ำเกินไป ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นวันนี้จะละเลยเรื่อง 112 ไม่ได้ อำนาจไม่ได้อยู่ในมือชนชั้นนำไม่กี่คนอีกต่อไปแล้ว แม้แต่หมู่คนเสื้อแดงด้วยกันเอง อำนาจของพ.ต.ท.ทักษิณที่มีต่อการชี้ประเด็นต่างๆ นั้นอาจจะไม่เพียงพอ เมื่อพูดถึง 112 ตอนนี้สังคมไปไกลมากแล้วและดำเนินมาถึงทางแยกสำคัญ หลังจาก 29 พ.ค. นี้ที่เสนอต่อสภา ก็คงตามมาด้วยพ.รบ.ปรองดอง สองเรื่องนี้เมื่อรวมกันเข้าก็แยกคนออกว่าใครจะเดินต่อไปบนเส้นทางประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ใครจะเดินไปบนเส้นทางอื่น ซึ่งก็ยากที่จะเดินร่วมกันไปได้ ที่สุดต้องตัดสินใจ จำนวนคนที่เดินไปในทางนี้อาจจะไม่มาก แต่คงจะมากขึ้นเป็นลำดับ โดยส่วนตัวผมเองอยากจะขอบคุณหลายคนที่สร้างปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ขึ้นมา ท่านหนึ่งที่ผมอยากจะเอ่ยคือ อาจารย์สมศักดิ์ [เจียมธีรสกุล] ที่ได้แสดงความเป็นห่วง แม้ความเห็นจะแตกต่างกัน แต่ท่านเป็นคนหนึ่งที่ทำให้การอภิปรายเรื่องนี้มีวิตชีวาในหมู่นักวิชาการทั่วไป ผมได้รับกำลังใจจากคนจำนวนมาก ก่อนหน้านี้ผมก็ไม่เคยคิดว่าจะมาอยู่ในจุดที่นำในทางความคิดในลักษณะแบบนี้ แต่ผมเชื่อว่าความคิดนี้ได้เข้ามาสู่สังคมแล้ว และเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะขยายออกไป

               “การรณรงค์เรื่องนี้คงไม่สำเร็จในเร็ววัน กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องจะต้องดำเนินต่อไป จากนี้ถ้าใครด่าผม ผมอาจจะทำข้อสอบปรนัย 10 ข้อ ถ้าผ่านก็มีสิทธิด่าผมได้ แต่ถ้าไม่ผ่านก็อยากให้ไปทำความเข้าใจเสียก่อน แล้วค่อยมาด่าต่อไป”

              “เราพยายามลุกขึ้นยืนตรง และเรายืนตรงคนเดียวไม่พอ เราต้องพยายามชวนคนในสังคมให้ลุกขึ้น มีคนจำนวนไม่น้อยพอใจที่จะนั่งพับเพียบต่อไป เราอาจจะต้องบอกกับเขาว่านั่งพับเพียบนานๆ มันเมื่อย และอธิบายให้เขาเข้าใจถึงการยืนตัวตรง และในที่สุดปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์จะได้เปลี่ยนสังคมไทย ปรับทัศนะสถาบันกษัตริย์ ศาล และกองทัพให้อยู่ร่วมกันได้โดยสันติและปลดวงจรความสูญเสียเสียที ”

             วรเจตน์กล่าวถึงข้อกล่าวหาว่าการแก้ไขมาตรา 112 จะทำให้คนด่าเจ้าได้โดยอิสระนั้น เขาเห็นว่าการเปิดโอกาสให้คนได้วิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตจะลดทอนอารมณ์เช่นนั้นออกไป เหมือนรูระบายให้แก่กาน้ำที่กำลังเดือด และเขาย้ำว่า การแก้ไขมาตรา 112 ในเวลานี้อาจจะช้าเกินไปแล้วด้วย

ถาม-ตอบ

ถาม กษัตริย์มาจากการเลือกตั้งได้หรือไม่

วรเจตน์: ปกติเราอธิบายว่ากษัตริย์มาจากการสืบสันตติวงศ์ แต่ถ้ามาจากการเลือกตั้งก็จะเป็นประธานาธิบดี ไม่ใช่ราชอาณาจักรแล้ว แต่มีกรณีที่กษัตริย์มาจากการเลือกได้ เป็นการเลือกในหมู่ราชวงศ์ที่สืบเชื้อสายมา แต่ที่มาจากประชาชนไปลงคะแนน ระบอบแบบนี้ไม่มีอยู่เพราะระบอบกษัตริย์ใช้ระบบการสืบสันตติวงศ์ และจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีปัญหาตลอดเวลาที่มีการเปลี่ยนรัฐเข้าสู่รัฐสมัยใหม่

ถาม กษัตริย์ไม่รับรองการรัฐประหารได้ไหม

วรเจตน์: ท่านคิดว่าได้หรือไม่ ในฐานะที่เป็นนักกฎหมาย ขอตอบว่าในประเทศสเปนเคยมีกรณีกษัตริย์ไม่รับรองการรัฐประหาร แต่ถ้าพูดกันทางหลักการ เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสุ่มเสี่ยง โดยกษัตริย์สเปนถือว่ามีหน้าที่ต้องพิทักษ์รัฐธรรนูญและนี่เป็นเหตุผลอันหนึ่งที่นิติราษฎร์เสนอว่าก่อนขึ้นครองราชย์ให้กษัตริย์ปฏิญาณ หรือแสดงออกว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อแสดงให้เห็นว่าประมุขของชาติ รัฐธรรมนูญกำหนดให้พระองค์พิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้ ต่อมาเมื่อทหารคิดจะทำรัฐประหารจะไปกำหนดให้พระมหากษัตริย์ ลงนามก็ทำให้กษัตริย์ต้องทรงฝ่าฝืนคำปฏิญาณ ผมตอบได้เท่านี้

ถาม กษัตริย์มาจากสามัญชนได้ไหม

ชาญวิทย์: ต้องตอบด้วยวิชาประวัติศาสตร์ เพราะถ้าไม่รู้ประวัติศาสตร์ก็เหมือนตาบอดข้างหนึ่ง แต่ถ้าเชื่อประวัติศาสตร์ฉบับกระทรวงศึกษาธิการก็ตาบอดสองข้าง คำถามนี้ ถ้าดูประวัติศาสตร์ ก็ต้องตอบแบบ น.ม.ส. ว่า “อันผู้ดีมีมาแต่ไหนแน่ สืบไปแน่แท้ก็คือไพร่” จักรพรรดินโปเลียนที่สถาปนาพระองค์ขึ้นมายิ่งใหญ่มาก ก็มาจากสามัญชน

               สมเด็จพระเจ้าตากสิน พระเจ้ากรุงธนบุรี พระพุทธยอดฟ้ารัชกาลที่ 1 คือต้องเริ่มต้นจากเป็นสามัญชนทั้งนั้น เพียงแต่ว่าโลกในอดีต โลกสมัยเก่าสามารถสถาปนาราชวงศ์ใหม่ได้ แต่ปัจจุบันโลกสมัยใหม่เป็นไปไม่ได้แล้ว โลกสมัยใหม่ไม่สามารถมีราชวงศ์ใหม่ๆ ได้ ล่าสุดไม่กี่สิบปีนี้ที่อังกฤษสถาปนาให้เป็นกษัตริย์ในตะวันออกกลาง เดิมเป็นหัวหน้าเผ่าเล็กๆ เช่นซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน สวาซิแลนด์ เลโซโธ เป็นต้น

              ปัจจุบันถ้าดูสถิติจากบทความที่เกษียร เตชะพีระ แปลจากงานของเบน แอนเดอร์สัน ก็จะมีรายชื่อสถาบันกษัตริย์อยู่ราว 27-30 ประเทศ เป็น 15 เปอร์เซ็นต์ของสหประชาชาติ ที่ปัจจุบันมีสมาชิก 193 ประเทศ

             โดยชาญวิทย์กล่าวว่าปัจจุบันนี้โลกไม่ยอมรับราชวงศ์ใหม่ๆ แล้ว ที่จะมีผู้ปกครองโดยคนๆ เดียว

ถาม อาจารย์นิธิคิดอย่างไรกับ พ.ร.บ. ปรองดอง

นิธิ: ขอตอบสั้นๆ ว่าไม่เห็นด้วย แต่เมื่อถามว่าความเป็นไปได้ในทางการเมือง จะปลดปล่อยผู้กระทำผิดสังหารประชาชน เราจะต่อต้านอย่างไร ก็สารภาพว่าตันมากๆ แต่แน่นอนจะไม่ไปร่วมกับ พธม. ในการต่อต้าน ขณะที่เราต้องการพลังในการที่จะควบคุมนักการเมืองไว้ต่อไปให้ได้ ฉะนั้นก็ตอบไม่ได้

             และคิดว่าประชาชนเล่นการเมืองเรื่องการเลือกตั้งน้อยเกินไป เราต้องคิดให้ดีว่าเราจะใช้การหย่อนบัตรเพื่อคุมนักการเมืองอย่างไร นักการเมืองส่วนใหญ่เลวทั้งนั้น แต่เราอย่าเกลียดคนเลว คนดีที่คุมไม่ได้อันตรายกว่าคนเลว ปัญหาของเราคือต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ สร้างองค์กรและขบวนการที่ประชาชนอย่างเราสามารถคุมคนชั่วได้ และหนึ่งในการคุมคนชั่วก็คือมีการเลือกตั้ง เราต้องกลับมาคิดเรื่องนี้ให้ดีว่าทำอย่างไรจะคุมนักการเมืองได้

              ประเด็นที่สอง เป็นความจริงที่ว่าทุกราชวงศ์ในโลกนี้กลัว ไม่ว่าราชวงศ์ใดก็แล้วแต่ถ้าคุณพบว่าเลิกไปล้มไปก็จะไม่เกิดราชวงศ์ใหม่อีก พูดง่ายๆ ก็คือตัวระบบมันอยู่ไม่ได้อีกแล้วในโลกปัจจุบันนี้ และความรู้อันนี้ผมคิดว่าสำหรับเราประชาชนไม่ได้สนใจเท่าไร แต่สำหรับคนที่อยู่ในราชวงศ์เขารู้ดี และเขารู้ดีนี่แหละที่น่ากลัว

              นิธิกล่าวถึงฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องควีนส์ กรณีท่าทีของราชวังต่อการตายของเลดี้ไดอานา หลังจากที่รัฐบาลบอกร้อยแปดว่าไดอานานั้นมีคนรักมาก คนเริ่มออกมารำลึก วางดอกไม้ไว้อาลัย แล้วราชวังจะยังเฉยอยู่ไม่ได้ ที่สุดแล้วรัฐบาลก็ถวายคำแนะนำแนวทางปฏิบัติ แสดงให้เห็นว่าในสังคมประชาธิปไตย อำนาจจะงัดกันไปมา แต่ที่สุดแล้วต้องมีอำนาจหนึ่งที่เป็นสุดยอดที่จะตัดสินและผู้มีอำนาจนั้นก็คือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่แทนที่จะเป็นคำสั่งก็เป็นการถวายคำแนะนำให้ปฏิบัติ

               นิธิกล่าวว่า มีนักวิชาการรายหนึ่งอธิบายว่า ก่อน 24 มิ.ย. อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ หลัง 24 มิ.ย. อำนาจธิปไตยกลับมาเป็นของประชาชน ทำให้หลังรัฐประหาร อำนาจคืนมาสู่กษัตริย์ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ทรงลงพระปรมาภิไธยรับรองการรัฐประหาร แต่จริงๆ แล้ว 24 มิ.ย 2475 ร.7 ได้ลงพระนามในฐานะพระมหากษัตริย์ไทยรับรองว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เป็นการผูกมัดกษัตริย์ทุกพระองค์
http://redusala.blogspot.com

สถิติที่น่าสนใจของการใช้มาตรา 112
รายงานพิเศษ: 
สถิติที่น่าสนใจของการใช้มาตรา 112 
โดย *I Pad* และ สภ.ร้อยเอ็ด
Fri, 2011-12-09 16:26  (อ้างอิงจาก เวบไซท์ประชาไท) 

            กรณีศึกษาเมื่อสามัญชนฟ้องร้องบุคคลอื่นด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 ไอแพด-วิพุธ สุขประเสริฐ และสภ.ร้อยเอ็ด กับตัวเลขที่น่าสนใจเชิงสถิติ ภายใน 1 ปี กล่าวหาบุคคลทั่วไปว่ากระทำผิดมาตรา 112 ไปแล้วอย่างน้อย 15 ราย จากการถกเถียงท้ายบทความของประชาไทจำนวน 3 บทความ
            การฟ้องร้องกันด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า กฎหมายหมิ่นฯ กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในแง่มุมของตัวบทกฎหมายและกระบวนการบังคับใช้ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นเกี่ยว กับกฎหมายมาตราดังกล่าวว่า การบังคับใช้ของกฎหมายนี้รุนแรงเกินไปโดยเฉพาะในแง่ของการฟ้องร้องที่เปิด โอกาสให้ใครก็ได้สามารถกล่าวโทษ ทั้งนี้ เขาเสนอแนะว่า อาจมีการตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่สั่งฟ้องโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้กฎหมายดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง รวมถึงพิจารณาลดบทลงโทษให้ผ่อนคลายลงกว่าเดิมด้วย
            อย่างไรก็ตาม แม้จะเริ่มมีแรงกระเพื่อมในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ต่อกฎหมายดังกล่าว แต่ข้อเท็จจริงคือสถิติคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดภายในเวลา 5 ปี หลังการรัฐประหาร เฉพาะปี 2553 มีการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาจำนวน ทั้งสิ้น 478 คดี เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า เทียบกับปี 2552 ซึ่งมี 164 คดี และปี 2550 จำนวนทั้งสิ้น 126 คดี
            ในช่วงเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการเมืองไทยกำลังเข้มข้นด้วยขบวนการทั้งฝ่ายต่อต้านทักษิณและสนับสนุน ทักษิณ พื้นที่ท้ายข่าวของประชาไทถูกเปิดไว้ โดยผู้โพสต์ความเห็นท้ายข่าวของประชาไทมาจากหลากหลายอุดมการณ์และแนวคิด อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลา 1 ปีกว่าที่ผ่านมา บรรยากาศการถกเถียงท้ายข่าวของประชาไทเริ่มคุกรุ่นด้วยการใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยผู้ใช้นามแฝงว่า I pad ซึ่งมักเข้ามาแสดงความเห็นโจมตีฝ่ายที่เห็นต่างอย่างรุนแรง หยาบคาย พร้อมทั้งขู่ว่าจะฟ้องร้องคู่สนทนาของตนเองด้วยมาตราดังกล่าวอยู่เนืองๆ
            ประชาไทติดตามสำเนาคำฟ้องที่ I pad นำมาโพสต์เพื่อยืนยันว่า ได้กระทำการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าพนักงานสอบสวน สภ.เมืองร้อยเอ็ดจริง ได้ทั้งสิ้น 3 ครั้ง รวมผู้ถูกกล่าวหาทั้งสิ้น 15 คน จากจำนวนที่ไอแพดอ้างว่าเขาได้ร้องทุกข์กล่าวโทษผู้แสดงความเห็นท้ายข่าวประชาไทไปทั้งสิ้น 8 ครั้ง
            ทั้งนี้ จากการโพสต์ข้อความของ I pad ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ฟ้องร้องผู้โพสต์ข้อความท้ายข่าวประชาไททั้ง 15 รายนั้น ปรากฏในคำร้องทุกข์ของเจ้าพนักงานว่า ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษชื่อ นายวิพุธ สุขประเสริฐ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ จ.ร้อยเอ็ด และเป็นนักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย
รายละเอียดของการฟ้องร้องแต่ละครั้งมีดังนี้
วันที่ 1 พ.ย. 2553
           นายวิพุธ สุขประเสริฐ ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สภ. เมืองร้อยเอ็ด มีผู้ถูกกล่าวหาทั้งสิ้น 5 ราย เป็นผู้ใช้นามแฝงในการโพสต์ท้ายข่าวในเว็บไซต์ประชาไท 4 ราย และเว็บมาสเตอร์ประชาไท 1 ราย
          โดยร้องทุกข์กล่าวโทษว่าบุคคลดังกล่าวหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
           ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ไม่ปรากฏว่า นายวิพุธอ้างข้อความใดว่าเป็นการกระทำผิดที่มีลักษณะดังกล่าว

          ไม่ปรากฏการอ้างอิง url ของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเข้าข่ายการกระทำความผิดดังกล่าว

วันที่ 6 ธ.ค. 2553
           นายวิพุธ สุขประเสริฐ ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สภ. เมืองร้อยเอ็ด มีผู้ถูกกล่าวหาทั้งสิ้น 10 ราย เป็นผู้ใช้นามแฝงในการโพสต์ท้ายข่าวในเว็บไซต์ประชาไท 8 ราย เว็บมาสเตอร์ประชาไท 1 ราย และบรรณาธิการประชาไท 1 ราย
          ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ไม่ปรากฏว่า นายวิพุธอ้างข้อความใดว่าเป็นการกระทำผิดที่มีลักษณะดังกล่าว

          ไม่ปรากฏการอ้างอิง url ของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเข้าข่ายการกระทำความผิดดังกล่าว

วันที่ 11 ส.ค. 2554
           นายวิพุธ สุขประสริฐ ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สภ. เมืองร้อยเอ็ด มีผู้ถูกกล่าวหาทั้งสิ้น 3 ราย เป็นผู้ใช้นามปากกาในการเขียนบทความ 1 ราย ผู้ใช้นามแฝงในการแสดงความเห็นท้ายข่าวในเว็บไซต์ประชาไท 1 ราย และเว็บมาสเตอร์ประชาไท 1 ราย
           ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ไม่ปรากฏว่า นายวิพุธอ้างข้อความใดว่าเป็นการกระทำผิดที่มีลักษณะดังกล่าว

          ไม่ปรากฏการอ้างอิง url ของเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเข้าข่ายการกระทำความผิดดังกล่าว

           บางครั้งที่ผู้ใช้นามแฝง Ipad ขู่ว่าจะฟ้องผู้โพสต์ข้อความท้ายข่าวประชาไท เขาจะนำเอาใบรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีซึ่งเจ้าพนักงานสอบสวนบันทึกไว้ มาโพสต์เพื่อแสดงความคืบหน้าในการดำเนินการ เช่น
วันที่ 19 พ.ย. 2553
ขอโพสต์ข้อความที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา (ไร้) สาระ ในคอลัมน์นี้ ของนายเห่าอ่อนไหล หน่อย ติ๊ล่ะ!
เพราะ ให้เครดิตว่าคอลัมน์ของนาย ''อ่อนไหล น่าจะมีคนเข้าชมมากพอดู (นี่ชมนะเนี่ย!) ฮา
จึงขอยืม ส่วนแสดงควายคิดเห็น ของนาย ''อ่อนไหล ประกาศ ดังนี้
ประกาศ
ได้มี สาวก@ป่าช้าไท ตนหนึ่ง นาม ปรวย ท้าทายว่า I Pad เอาแต่ขู่ว่าจะฟ้อง จะแจ้งความ
พอดีว่า I Pad เป็นคนหัวอ่อน ใครสั่งให้ทำอะไรก็ทำตามทุกอย่าง ;)~ นาย ปรวย บอกให้ฟ้อง ก็ ฟ้อง และสั่งไว้อีกว่า ฟ้องแล้วก็เอาหลักฐานการฟ้องมาให้ดูด้วย อย่าเอาแต่พูดลอย เว่าพล่อยๆ แบบ นังดอก เจ มัน! มันไม่ดี ;)~ I Pad ก็เชื่อก็ทำตาม จึงขอแจ้งให้ไปชม บันทึกประจำวันเอาได้ที่นี่
คลิก เอาเลย เพียก ;)~
จบ! ข่าว
ขอ แส ดง ค่วมนับถือ คักคัก ;)~
ลายเซ็นต์ I Pad
(นาย I Pad บ้านโคกอีแหลว แอ่วมอง) ;)~
ปล. ท่านที่ติดร่างแหไปกับนายปรวย ก็ รวมทั้งหมด 6 คน อันได้แก่ ปรวย, น้ำลัด, ว ณ ปากนัง, MM, คนเมียง และ เว็บมัสเตอร์เบชั่น สวัสดี
อ้อ! คราวหน้าคาดว่าจะเป็นคราวของ นายเห่าอ่อนไหล (เจ้าของคอลัมน์ นี้นั่นเอง) ;)~ ผลเป็นประการใดจะแจ้งให้แซ่บ อีกเตื้อ มื่อหน้า เด้อ สู! ;)~
วันพฤหัสบดีที่ 20 ม.ค. 2554 IPAD โพสต์ข้อความดังนี้
แล้วมาถึงก็ได้ละเลงใน คห. ที่อยู่บนสุด ก็ขอซะเลย
ถึงบรรดาเพื่อนๆ กลุ่มเสียง เป็นโรคท่องเที่ยวร้อยเอ็ด (โดยจำใจ) (ฮา) ทราบ
วันนี้กระผมนาย I Pad ได้ไปให้ปากคำเพิ่มเติมครบ 8 คดี เป็นที่เรียบร้อยแว๊ววววว
แล้วบังเอิ๊ญ บังเอิญ ร้อยเวรคดีนี้แกเป็นคนไม่ค่อยรอบคอบ แกเล่นเอาสำนวนคดีมากางให้ I Pad อ่านแล้วให้ปากคำเพิ่มเติม แถมพิมพ์ช้ามาก
ระหว่างให้ปากคำสำนวนคดีนี้จึงเป็นสำนวนคดีที่ I Pad ได้แอบอ่านมากที่สุด กร๊ากกกกกกกก
จน I Pad ได้อ่านไปถึงรายงานจาก Service Provider ทีทำหนังสือตอบมาซึ่งระบุหมายเลข IP ของแต่ละนามแฝง ลงลึกไปถึง ที่ตั้งของ คอมฯ เครื่องนั้น อยู่ที่บ้านเลขที่อะไร ถนนอะไร เมืองอะไร ประเทศอะไร ลึกขนาดนั้นเลย
แล้วในหนังสือนั้นยังแจ้งอีกว่า ขั้นตอนการสืบค้นถึงชื่อบุคคลนั้น ขอให้ทาง สตช. เรียกร้องเพิ่มเติมพร้อมหมายศาล จึงจะสมารถให้ข้อมูลขั้นต่อไปได้
นั่นก็คือท่านผู้ติดเชื้อโรคท่องร้อยเอ็ด (ฮา) ยังไม่โดนระบุถึงชื่อ นามสกุล จริง แต่ก็ระบุที่อยู่ที่ก่อเหตุไว้เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งหลังจากนี้เมื่อ สภอ. เมืองร้อยเอ็ด มีคำสั่งเห็นควรสั่งฟ้อง แล้วอัยการ จว. ร้อยเอ็ด เห็นสมควรตาม เสนอต่อศาล แล้วศาลออกหมาย ทีนี้ สตช. ก็คงขอไปยัง Service Provider เพื่อขอสืบค้นชื่อ นามสกุลจริง ต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดติดตามด้วยใจประหวั่น พลัน (ฮา)
ปล. มีบางท่านไปแอบก่อคดีไกลถึง สรอ. รัฐ นิวเม็กซิโก โน่นแน่ะ! แต่ก็อย่างที่บอก ตร. เขาไม่ได้โง่นะ เพียงแต่เขาจะตามหรือไม่เท่านั้นเอง! แต่ได้ข่าวว่าเขารออนุมัติ แล้วร้อยเวรก็จะเดินทางไปตามถึง สรอ. ด้วยตนเอง
โชคดีนะ ปรวย, เปลียนแปลงสยาม และ น้ำ.... (ฮา)
กรณีของ I pad หรือนายวิพุธ สุขประเสริฐคือตัวอย่าง ของการที่ "ใครก็ได้" สามารถนำเอากฎหมายอาญามาตรา 112 ไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าพนักงาน โดยนายวิพุธ คือตัวอย่างของคนที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถาบันกษัตริย์แล้วเอากฎหมายนี้ไปใช้กล่าวหาผู้ที่ มีความเห็นต่างจากตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อไม่สามารถอดทนถกเถียงแลกเปลี่ยนด้วยเหตุผลและหลักวิชา ขณะที่ สภ. เมืองร้อยเอ็ด ก็กำลังจะเป็นตัวอย่างของกลไกลในกระบวนการยุติธรรมของไทยที่ไม่ทำหน้าที่ตี ความและบังคับใช้กฎหมายให้เป็นคุณแก่เสรีภาพในการแสดงความเห็นของประชาชน
         น่าจับตาดูว่า นายวิพุธ สุขประสริฐและสภ.เมืองร้อยเอ็ด จะสร้างสถิติในการเป็นบุคคลและเป็นสถานีตำรวจที่ฟ้องและรับฟ้องคดีหมิ่นฯ มากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยหรือไม่
          ทั้งนี้ การที่กฎหมายมาตราดังกล่าวถูกใช้อย่างแพร่หลาย โดยบุคคลธรรมดาที่สามารถนำมาตราดังกล่าวไปร้องทุกข์กล่าวโทษแก่เจ้าพนักงาน ได้ และทางปฏิบัติ เจ้าพนักงานก็รับร้องทุกข์ไว้นั้น มีส่วนช่วยเพิ่มจำนวนคดีหมิ่นฯ ได้อย่างมีนัยยะสำคัญ บวกเข้ากับบรรยากาศทางการเมืองไทยมีความแตกต่างทางความคิดเชิงอุดมการณ์ อันนำไปสู่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับสถาบันหลักของประเทศ ซึ่งแม้เสรีภาพในการแสดงความเห็นจะเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่นานา ประเทศเคารพ ดังเช่นคำสัมภาษณ์ของ กงสุลสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยซึ่งแสดงความผิดหวังอย่างรุนแรงต่อกระบวน การยุติธรรมไทยที่ตัดสินโทษ นายโจ กอร์ดอนว่ามีความผิดตามมาตราดังกล่าว ว่า"เรายังคงเคารพสถาบันกษัตริย์ของไทย แต่ในขณะเดียวกันเราก็สนับสนุนสิทธิในการแสดงออก ซึ่งเป็นหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับการรับรองในทางสากล" แต่หลักการเช่นนี้ ยังเป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์ ไม่ใช่จากผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายของไทยเท่านั้น แต่หมายถึงคนไทยทั่วๆ ไปด้วย
             "มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี"
*******************************************
http://redusala.blogspot.com