วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ยิง M79 ใส่ "โรงพยาบาลจุฬาภรณ์และ SCB Park" รวม 3 ลูก มีแท็กซี่โดนลูกหลงกระจกแตกเล็กน้อย











          เมื่อเวลา 21.40 น. วันที่ 7 พฤษภาคม เกิดเหตุคนร้ายยิงระเบิดเอ็ม79 จำนวน2ลูก ใส่อาคารโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ภายในสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ย่านหลักสี่ ร.ต.อ.รักเกียรติ ปทุมวัน พนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้อง จึงไปตรวจสอบพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน เจ้าหน้าที่ทหาร และเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด หรืออีโอดี ร่วมทำการเข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าระเบิดลูกแรกตกที่ร่องน้ำในสวนหย่อม ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของรพ. แรงระเบิดทำให้รถแท็กซี่ สีเขียว หมายเลขทะเบียน ทม-8249 กทม. กระจกแตกเสียหาย ส่วนระเบิดลูกที่2 ตกใส่ตัวอาคารที่บริเวณชั้น9 ด้านทิศเหนือของตัวอาคาร แรงระเบิดทำให้ห้องพักของแพทย์ห้อง 920 กระจกแตกและทรัพย์สินภายในห้องเสียหาย เบื้องต้นไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตแต่อย่างใด

        ต่อมาเวลา 22.59 น. เกิดเหตุคนร้ายยิงระเบิดเอ็ม79 จำนวน 2 ลูก ใส่ตัวอาคารของธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ บริเวณแยกรัชโยธิน แรงระเบิดทำให้ตัวอาคารได้รับความเสียหาย แต่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนและบุคคลภายนอกเข้าไปภายในอาคาร ซึ่งเบื้องต้นยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด

ศาลรัฐธรรมนูญหลอน



ศาลรธน.สั่งจนท.หยุดงาน หวั่นกระทบความปลอดภัย หลังวินิจฉัยปูสิ้นสภาพ

           เวลา 17.30 น. วันที่ 7 พ.ค. ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ว่า ภายหลังที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยเสร็จสิ้นแล้วปรากฎว่าที่ด้านหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีเสียงปืนดังนั้นเป็นระยะต่อเนื่องกันกว่า 10 นัด ขณะเดียวกันภายในสำนักงานก็มีการนำประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ลงนามโดยนายเชาวนะ ไตรมาส เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ไปติดไว้ที่ประตูทางเข้าโดยมีข้อความแจ้งให้เจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทราบ ว่า ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยกรณีสถานภาพนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวนั้น จากผลคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ปรากฎข่าวสารจากสื่อมวลชนหลายแหล่งว่าจะมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนำผลของคำวินิจฉัยไปสร้างสถานการณ์ยุยง ปลุกปั่น ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นอันก่อให้เกิดอันตรายต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะผู้สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนอาคาร สถานที่ราชการได้ เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัย และชีวิตของบุคลากรของศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ จึงประกาศให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญหยุดทำการในวันพฤหัสบดี ที่ 8 พ.ค.



            แต่สำหรับข้าราชการที่มีภารกิจต้องปฏิบัติให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำงานไปปฏิบัตินอกที่ทำการได้ เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ

ปธ.สภาอุตสาหกรรมย้ำ "เลือกตั้ง 20 ก.ค.เท่านั้นคือทางออก เรียกความเชื่อมั่นกลับมา"




            ส.อ.ท. เรียกร้องนายกฯรักษาการคนใหม่ ประนีประนอมกับผู้คัดค้านรัฐบาล ร่วมหาทางออกให้ประเทศ และถกกกต.เดินหน้าเลือกตั้งวันที่ 20 ก.ค.ตามเป้าหมาย ให้ได้รัฐบาลชุดใหม่ เรียกความเชื่อมั่นกลับ...

           เมื่อวันที่ 7 พ.ค. นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่ง ว่า ภาคเอกชนต้องการให้นายกรัฐมนตรีรักษาการคนใหม่ เพิ่มความยืดหยุ่นในการประนีประนอมกับผู้ที่ชุมนุมคัดค้านรัฐบาล เพื่อร่วมกันหาทางออกของประเทศไทย เพื่อให้ความขัดแย้งผ่อนคลายวิกฤติลงให้มากกว่านี้

          นอกจากนี้ ยังต้องการให้นายกรัฐมนตรีรักษาการคนใหม่ หารือร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าจะทำอย่างไร ให้เกิดการเลือกตั้งตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ วันที่ 20 ก.ค.นี้ เพื่อให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ให้ได้รัฐบาลชุดใหม่ตามครรลองประชาธิปไตย เพื่อให้เป็นปัจจัยฟื้นฟูและเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั่วโลก ให้กลับคืนมา และเพื่อเป็นทางออกของความขัดแย้ง เท่าที่จะดำเนินการได้ตามระบอบประชาธิปไตย

          ขณะที่นายวัลลภ วัฒนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. กล่าวว่า หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องพ้นสภาพ ทางภาคเอกชนหวังให้ทุกฝ่ายยอมรับคำตัดสิน และไม่นำพาประเทศไปสู่ความรุนแรง เพราะขณะนี้เศรษฐกิจถดถอยลงไปมากแล้ว ทั้งนี้ รักษาการรัฐบาลชุดใหม่ จำเป็นต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งชาวไทย และต่างชาติ.

"พิเชษฐ" อดีต สส.ปชป. เขียนเฟสบุ๊คหลังศาลวินิจฉัยยิ่งลักษณ์ เตือนมันจะ "ไป กัน ใหญ่"



         วันที่ 7 พฤษภาคม นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยกรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ว่าศาลกำลังทำให้ยุ่งยาก “ไป กัน ใหญ่”

"ไป กัน ใหญ่"

         มีผู้คาดหวังว่า คำวินิจฉัยของศาลรธน.วันนี้ จะทำให้นายรัฐมนตรีและรัฐบาลรักษาการพ้นไปทั้งคณะ และเกิดสุญญากาศทางการเมือง

         แต่ผลวันนี้ทำให้นายกรัฐมนตรีพ้นตำแหน่งพร้อมรมต.ไม่เกินสิบคนเท่านั้น เพราะส่วนหนึ่งพ้นไป ก่อนหน้านี้แล้ว อีกส่วนหนึ่งเพิ่งเข้ามาหลังมีมติโยกย้ายนายถวิล พรรคเพื่อไทยมีสิทธิเสนอรมต.คนอื่นให้ขึ้นมารักษาการนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีที่เหลือก็พอจะบริหารราชการต่อไปได้ สุญญากาศจึงไม่เกิด

  •           นี่คือสิ่งที่บอกว่าจะไม่เหมือนที่คาดหวัง
    • ศอรส.เตรียมทูลเกล้าฯขอพระบรมวินิจฉัย
    • ม็อบสองฝ่ายเตรียมเปิดศึกเต็มที่
    • ความรุนแรงเกินประมาณการได้
    • ทุกอย่างจะ "ไป กัน ใหญ่" จริงๆ
    • คงต้องขอช่วย "พระสยามเทวาธิราช" อีกแล้วพระเจ้าข้า

'นิค นอตสติทซ์' หวิดโดนการ์ด กปปส.รวบ หน้าศาล รธน.


         นิค นอตสติทซ์ โดนอีก ถูก 3 การ์ด กปปส.พยายามเข้าล็อคตัว "ไปหาหลวงปู่" เจ้าตัว-เพื่อน ร้องเรียก ตร.ช่วย ล่าสุดอยู่ในที่ปลอดภัย
<--break- /><--break- />         7 พ.ค. 2557 นิค นอตสติทซ์ ช่างภาพอิสระชาวเยอรมัน ให้สัมภาษณ์ประชาไทว่า เมื่อเวลาประมาณ 14.30 น.ที่ผ่านมา ขณะที่เขานั่งสูบบุหรี่อยู่กับ โจนาธาน เฮด เพื่อนผู้สื่อข่าวต่างประเทศ บริเวณหน้าประตูศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อรอทำข่าวศาลวินิจฉัยคดีโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรี มีชาย 3 คน ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการ์ด กปปส. เนื่องจากมีสัญลักษณ์ กปปส. เดินตรงมาหาตนเอง และพูดด้วยสำเนียงใต้ว่า "ไปนิค ไปหาหลวงปู่" พร้อมเข้ามานั่งขนาบข้าง พยายามล็อคตัวเขา
         "เขาบอก 'เราเชิญไปหาหลวงปู่' ผมก็บอกว่า ผมไม่ไป ผมรู้คุณพยายามทำร้ายผม" นิคเล่าและว่า พอเขาลุกขึ้นยืน การ์ดทั้งสามยังพยายามเข้ามาดันเขา โจนาธาน เฮด จึงตะโกนขอความช่วยเหลือจากตำรวจทหาร 7-8 นายซึ่งอยู่บริเวณนั้น ห่างไปราวสิบกว่าเมตร
        นิค บอกว่า ขณะนี้ เขาอยู่ในสถานที่ปลอดภัยแล้ว และยืนยันจะแจ้งความต่อไป ทั้งนี้ ทราบจากคนที่ยังอยู่ในบริเวณนั้นว่าหลังจากเขาออกมาแล้วก็ยังมีคนเข้าไปตามหาเขาในบริเวณศาล
       นิค กล่าวว่า เนื่องจากเขาเคยถูกทำร้ายร่างกายก่อนหน้านี้ เขาทราบดีว่าไม่ควรเข้าใกล้หรือเข้าไปในเขตของผู้ชุมนุม  วันนี้เขาก็อยู่ในบริเวณศาล ซึ่งเป็นสถานที่ราชการ ยังคิดว่าน่าจะไม่เป็นไร แต่ก็เกิดเรื่องขึ้น
        ด้าน โจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวบีบีซี ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ว่า ที่เกิดเหตุนั้นอยู่ในบริเวณศาลสูงสุดของประเทศ ซึ่งคาดหวังว่าผู้สื่อข่าวควรจะได้ทำข่าวโดยปราศจากความกลัว

        ก่อนหน้านี้ (25 พ.ย.56) นิคเคยถูกการ์ดผู้ชุมนุมทำร้ายที่แยก พล.1 ระหว่างปฏิบัติการดาวกระจายของ กปปส. หลัง ชุมพล จุลใส แกนนำ กปปส. และ อดีต ส.ส. ปชป. ประกาศผ่านเครื่องขยายเสียง ไล่เขาออกจากจุดถ่ายภาพ 
       สำหรับ นิค นอสติทซ์ (Nick Nostitz) เป็นช่างภาพชาวเยอรมันที่ทำงานในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2536 ผลงานหนังสือภาพถ่ายที่สำคัญของเขาเช่น "Patpong: Bangkok's Twilight Zone" ตีพิมพ์เมื่อปี 2544 อธิบายถึงอุตสาหกรรมทางเพศในประเทศไทย นอกจากนี้ผลงานภาพถ่ายของเขายังปรากฏในนิตยสาร Stern และ Der Spiegel หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เขามีผลงานหนังสือภาพถ่าย Red vs Yellow Volume 1: Thailand's Crisis of Identity พิมพ์ในปี 2552 และ Red vs Yellow Volume 2: Thailand's Political Awakening พิมพ์ในปี 2554 และเขียนบล็อกในเว็บนวมณฑล (New Mandala) เว็บไซต์อภิปรายเรื่องสังคม การเมือง วัฒนธรรมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียด้วย


วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

"โจนาธาน เฮด" เขียนทวิตประจานความชั่ว การ์ด กปปส.ไปทั่วโลก เหตุรุมทำร้ายและอุ้มตัว "นิก นอสติทซ์" นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน


             วันที่ 7 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายนิก นิก นอสติทซ์ นักข่าวอิสระชาวเยอรมัน เปิดเผยว่า ตนถูกกลุ่มชายฉกรรจ์อ้างตัวเป็น "การ์ด" ประจำม็อบเวทีหนึ่ง รุมทำร้ายและพยายามลักพาตัวไปหาแกนนำม็อบ ระหว่างที่ตนกำลังทำข่าวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำพิพากษาในคดีถวิล เปลี่ยนศรี ที่ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อช่วงบ่ายวันนี้

            นายนอสติทซ์ ให้สัมภาษณ์ "ข่าวสด" ทางโทรศัพท์ว่า ตนกำลังยืนสูบบุหรี่กับนายโจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าวอาวุโสของสำนักข่าวบีบีซีจากสหราชอาณาจักร บริเวณทางเข้าศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเวลาประมาณ 14.30 ทันใดนั้น มีการ์ด กปปส. กลุ่มหนึ่งขับมอเตอร์ไซค์และเดินเข้ามาถามตนว่า ตนชื่อนิกใช่หรือไม่ ก่อนจะพูดจาข่มขู่ให้ตนไปกับพวกการ์ด โดยการ์ดอ้างว่าจะพาไปหาแกนนำ ตนจึงปฏิเสธ และพยายามเดินหนีเข้าไปในอาคารศาลรัฐธรรมนูญ

          นายนอสติทซ์ล่าวว่า ไม่ทันที่ตนจะเข้าไปในอาคารได้ กลุ่มการ์ดได้กรูเข้ามาทำร้ายและพยายามดึงตนขึ้นรถจักรยานยนต์ทันที ตนจึงร้องขอความช่วยเหลือ สร้างความตื่นตกใจให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และผู้สื่อข่าวต่างประเทศจำนวนมากที่กำลังรอทำข่าวอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายนอสติทซ์ะบุว่า ในช่วงแรกไม่มีเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วย แต่สักพักหนึ่งตำรวจได้เข้ามากันตนออกจากกลุ่มการ์ด และสั่งให้พวกการ์ดปล่อยตน จากนั้นก็พาตนหลบหนีเข้าไปในศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนที่ตนจะเดินทางออกจากศาลรัฐธรรมนูญทางประตูหลังเพื่อความปลอดภัย

           นักข่าวอิสระผู้นี้กล่าวด้วยว่าก่อนหน้านี้ตนถูกการ์ดกปปส.ทำร้ายโดยถูกกลุ่มการ์ดรุมชกต่อยขณะกำลังทำข่าวในม็อบกปปส.บนถนนราชดำเนินเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2556 ซึ่งในเหตุดังกล่าว นายชุมพล จุลใส แกนนำ กปปส เป็นผู้ปราศรัยให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าทำร้ายนายนอตติซท์ โดยอ้างว่าเป็นนักข่าวเสื้อแดง

         นายนอสติทซ์ผย "ข่าวสด" ด้วยว่า ตนไม่คาดคิดเลยว่าจะถูกทำร้ายโดยการ์ด ในพื้นที่ราชการและพื้นที่ศาลเช่นนี้ ตนมิได้อยู่บนท้องถนนหรือในกลุ่มผู้ชุมนุมเหมือนกรณีก่อนหน้านี้ อีกทั้งเหตุดังกล่าวยังเกิดขึ้นต่อหน้าผู้สื่อข่าวต่างชาติหลายคน

           นอกจากนี้นายนอสติทซ์กล่าวว่าตนรู้สึกหวาดผวาจากการคุกคามของการ์ดกปปส.อย่างมากและตนพยายามต่อสู้ขัดขืนก็เพราะตนรู้ดีว่าถ้าหากตนถูกจับตัวไป ตนก็จะตกอยู่ในอันตรายอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจบางนายที่เคยถูกทรมานและรุมทำร้ายโดยการ์ดก่อนหน้านี้

          “ผมไม่อยากคิดเลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับผมบ้างมันน่ากลัวมากๆ”นายนอสติทซ์กล่าวพร้อมระบุว่าตนจะหาทางแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มการ์ดที่ทำร้ายตนในกรณีนี้ถึงแม้ตนจะไม่อยากดำเนินการใดๆก็ตาม เพราะรู้สึกว่าตนจะถูกเพ่งเล็งจากม็อบมากขึ้นหากตนแจ้งความ แต่ตนก็เห็นว่า ถ้าหากตนไม่พยายามดำเนินการใดๆ เลย กลุ่มการ์ดก็อาจจะมีพฤติกรรมเช่นนี้อีกในอนาคต และสถานการณ์ก็จะเลวร้ายลงอยู่ดี

            “ใจจริงผมไม่อยากแจ้งความอะไรเลยแต่ขณะเดียวกันผมก็ไม่อยากถูกทำร้ายแต่แรกเช่นกันผมแค่อยากที่จะทำหน้าที่สื่อมวลชนได้อย่างปลอดภัย”นายนอสติทซ์กล่าวย้ำ

              เวลา 18.30 น. ร.ต.อ.วิทยา คงทอง พนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้อง ผู้รับแจ้งความจากนายนิก นอสติทซ์ เปิดเผยว่า นิกแจ้งความว่าเวลาประมาณ 14.30 น. ระหว่างยืนสูบบุหรี่อยู่หน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีชายฉกรรจ์ 3 คนขี่รถจยย.เข้ามาหา ซึ่งเจ้าตัวมองออกว่าเป็นการ์ดกปปส. โดยเข้ามาถามว่า "ใช่นิกหรือไม่ ขอเชิญไปพบหลวงปู่หน่อย" ด้านนิกปฏิเสธว่าไม่ไป แต่กลับถูกการ์ดกปปส. กระชากตัวให้ขึ้นรถจยย.ไปกับการ์ดด้วย แต่ยนิกมีรูปร่างใหญ่และแรงเยอะกว่า ทำให้สะบัดตัวหลุดได้ และรีบเข้าไปขอความช่วยเหลือกับตำรวจจึงได้รับความปลอดภัย

             ร.ต.อ.วิทยา กล่าวต่อว่า นายนิกแจ้งว่าการ์ดกปปส. น่าจะมีแบล็คลิสต์รายชื่อคนที่ต้องการตัว ซึ่งนายนิกเชื่อว่าตัวเองเป็นหนึ่งในแบล็คลิสต์ด้วย และที่ปฏิเสธไม่ยอมไปกับการ์ดกปปส. เพราะทราบสรรพคุณของการ์ดกปปส. ดี ทั้งนี้เจ้าหน้าที่นำภาพใบหน้าการ์ดกปปส. มาให้นายนิกชี้ตัวแล้วว่าเป็นคนไหน แต่นายนิกแจ้งว่าจำรายละเอียดไม่ได้ เพราะตอนการ์ดเข้ามาหามีการอำพรางใบหน้าพอสมควร ทั้งใส่แว่นดำ มีผ้าปิดปากและผ้าโพกหัวค่อนข้างมิดชิด หลังจากนี้เจ้าหน้าที่เตรียมประสานขอตรวจสอบกล้องวงจรปิดบริเวณจุดเกิดเหตุต่อไป

ให้ ‘นิวัฒน์ธำรง’ นำแทนนายกฯ ดันเลือกตั้ง – พท.ออกแถลงการณ์ค้านคำวินิจฉัย

          7 พ.ค.2557  นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกันแถลงภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมรัฐมนตรีที่มีมติเห็นชอบให้ย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. พ้นจากตำแหน่ง ว่า รัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งจำนวน 10 คนนั้นมีบางส่วนพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ทางรัฐบาลเกิดประเด็นสงสัยทางกฎหมายว่าการดำรงตำแหน่งของรัฐมนตรีที่เปลี่ยนไปจากคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 นั้น จะมีการพิจารณาอย่างไร ทั้งนี้จะให้คณะกรรมการกฤษฏีกาตีความ และสอบถามไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ต่อไป
          อย่างไรก็ตาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้มอบหมายให้นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อหารือ แนวทางต่อจากนี้ นอกจากนี้นายนิวัฒน์ธำรงค์จะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีและจะดำเนินการให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ โดยคณะรัฐมนตรีที่เหลืออยู่จะทำหน้าที่รักษาการต่อไป ซึ่งจะร่วมกับ กกต.ในการกำหนดรายละเอียดวันเลือกตั้ง และเมื่อมีรัฐมนตรีชุดใหม่ก็จะถือเป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ ทั้งนี้ได้ต้องรอความชัดเจนในการหารือกับ ประธาน กกต. ช่วงบ่ายของวันที่ 9 พ.ค.ต่อไป
         รายงานข่าวแจ้งว่า นายนิวัฒน์ธำรง เป็นรองนายกรัฐมนตรี อันดับสอง ที่อยู่ในลำดับรองจากนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกูล ที่พ้นตำแหน่งไปพร้อมนางสาวยิ่งลักษณ์ และที่สำคัญนายนิวัฒน์ธำรงเป็นรัฐมนตรีสายตรงของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร   นอกจากนี้ความเสี่ยงทางการเมืองจากคดีทุจริตจำนำข้าว ซึ่งป.ป.ช. จะชี้มูลความผิดในวันพรุ่งนี้ นายนิวัฒน์ธำรง ก็เป็นเพียงพยานในคดีเท่านั้น ไม่อยู่ในฐานะของผู้ถูกร้องเช่นนางสาวยิ่งลักษณ์
         ทั้งนี้ รายชื่อรัฐมนตรีผู้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 ในการลงมติแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี  ได้แก่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง, .ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง, นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล, นายปลอดประสพ สุรัสวดี, พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก, ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์, พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา, นายสันติ พร้อมพัฒน์, น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ
         ส่วน รายชื่อ ครม.ที่ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อ มีดังนี้ 
  • 1. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ 
  • 2. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ 
  • 3. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ 
  • 4. นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักฯและรมช.เกษตรฯ 
  • 5. นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ รมว.กระทรวงคมนาคม
  • 6.  นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รมว.กระทรวงทรัพยากรฯ 
  • 7. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.กระทรวงพลังงาน 
  • 8. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย 
  • 9. นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม 
  • 10. นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกฯและ รมว.เกษตรฯ 
  • 11. นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง 
  • 12. นางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลัง 
  • 13. นายสมศักดิ์ ภูรีศรีศักดิ์ รมว.ท่องเที่ยว 
  • 14. นางปวีณา หงสกุล รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 
  • 15. พล.อ.พฤณฑ์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม 
  • 16. นายพ้อง ชีวานันท์ รมช.คมนาคม 
  • 17. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ 
  • 18. นายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ 
  • 19. นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ รมช.มหาดไทย
  • 20. นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม 
  • 21. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ 
  • 22. นายประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข 
  • 23. นายสรวงศ์ เทียนทอง รมช.สาธารณสุข 
  • 24. นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม

        วันเดียวกันที่พรรคเพื่อไทย นำโดยนายโภคิน พลกุล แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายรัฐมนตรีพ้นสภาพเฉพาะตัว และให้คณะรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมและลงมติโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี โดยมิชอบ ซึ่งล่าสุดทางพรรคเพื่อไทยได้มีการประชุมถึงผลการตัดสินที่ออกมา และได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเพื่อแสดงจุดยืนและท่าทีของพรรคต่อคำวินิจฉัยในครั้งนี้ โดยไม่ยอมรับคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ และให้ กกต. และรัฐบาล เร่งตรา พ.ร.ฏ.เลือกตั้งให้เร็วที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
โดยแถลงการณ์ของพรรคเพื่อไทย ระบุ 8 ข้อ ดังนี้ 
  • 1.     พรรคเพื่อไทยได้มีแถลงการณ์ถึงพี่น้องประชาชนและทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องว่า ประเทศจะเดินหน้าไปตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ และจะแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เป็นอยู่ไม่ให้บานปลายจนเกิดกลียุคได้ ก็ด้วยการเลือกตั้งและการตั้งอยู่บนความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติของทุกฝ่าย และทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
  • 2.      พรรคเพื่อไทยได้ย้ำและชี้ให้เห็นมาโดยตลอดว่า มีขบวนการสมคบคิดกันเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ ล้มล้างการเลือกตั้ง มุ่งทำลายล้างฝ่ายประชาธิปไตยมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยความร่วมมือของพรรคการเมืองบางพรรค กปปส.และองค์กรตามรัฐธรรมนูญบางองค์กร ด้วยการไม่ยอมรับการเลือกตั้ง การเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง การกลั่นแกล้งรัฐบาลที่ยึดหลักประชาธิปไตยตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน จนมาถึงพรรคเพื่อไทย ด้วยการยุบพรรคและตัดสิทธิการเมืองกรรมการบริหารพรรคทุกคนเป็นเวลา 5 ปี จนถึงการใช้ทุกกระบวนการเพื่อทำลายนายกรัฐมนตรีตั้งแต่นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์จนถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยไม่สุจริต
  • 3.      พรรคเพื่อไทยขอเรียนพี่น้องประชาชนว่า พรรคอาสาเข้ามารับใช้ประชาชนด้วยจิตสำนึกที่เคารพในอำนาจของประชาชน ด้วยการนำเสนอนโยบายต่างๆ ที่จะทำให้ประชาชนมีความผาสุก มุ่งมั่นทำงานทุกอย่างให้เป็นไปตามนโยบาย  แม้จะถูกขัดขวางและใส่ร้ายป้ายสีมาโดยตลอดโดยขบวนการสมคบคิดดังกล่าว พรรคเชื่อมั่นในวิจารณญาณของพี่น้องประชาชนที่ต้องการเห็นประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนบนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ความเที่ยงธรรมและความเมตตาปรารถนาดีต่อกัน
  • 4.      พรรคเพื่อไทยขอเรียนว่า ตราบใดที่ขบวนการสมคบคิดยังดำเนินต่อไป จะมีการละเมิดหลักการประชาธิปไตยและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอย่างไม่จบสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการรัฐประหารในรูปแบบใหม่เพื่อสร้างระบอบการปกครองใหม่ที่ทำลายความหวังของพี่น้องประชาชนที่จะเห็นประเทศก้าวหน้าไปบนวิถีทางประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม พี่น้องประชาชนจะได้เห็นความพยายามของพรรคประชาธิปัตย์ กปปส.และองค์กรตามรัฐธรรมนูญบางองค์กร ที่จะไม่ให้เกิดการเลือกตั้งในวันที่ 20 กรกฎาคม 2557 และให้มีนายกฯ และคณะรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
  • 5.      พรรคเพื่อไทยเห็นว่าการใช้อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญก็ดี ป.ป.ช.ก็ดีที่กระทำต่อรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ฯ ล้วนเป็นไปด้วยความเร่งรัด เร่งรีบ ผิดปกติ ไม่ให้โอกาสอ้างอิงพยานและรับฟังคำพยานได้เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น และบ่อยครั้งสอดคล้องกับการแถลงของ กปปส. และฝ่ายที่ต้องการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้และที่ผ่านมาได้วางบรรทัดฐานนอกเหนือจากตัวบทกฎหมายและเจตนารมณ์ของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง จนทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากประชาชนได้ และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ก็ไม่เป็นไปตามมาตรา 181 ที่บัญญัติว่าคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ตามมาตรา 180 ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ นั่นคือถ้ายังมีสภาผู้แทนราษฎรอยู่ก็ไปเลือกนายกรัฐมนตรีกันใหม่แล้วมีคณะรัฐมนตรี แต่ถ้าไม่มีสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องไปเลือกตั้งจนได้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อไป 
  • 6.      พรรคเพื่อไทยขอเรียกร้องให้ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและความถูกต้องเที่ยงธรรมทั้งหลาย ร่วมกันต่อต้านขบวนการสมคบคิดดังกล่าวโดยใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม การร้องเรียน แจ้งความร้องทุกข์ ดำเนินคดีและการต่อต้านโดยสันติวิธีทุกรูปแบบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 69 เพื่อมิให้การดำเนินการของขบวนการสมคบคิดบรรลุผล
  • 7.      พรรคเพื่อไทยขอให้อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกพรรคทุกคน ชี้แจงให้พี่น้องประชาชนเข้าใจสถานการณ์ที่เป็นอยู่ และความมุ่งหมายของขบวนการสมคบคิดที่ต้องการทำลายระบอบประชาธิปไตย และร่วมมือกับพี่น้องประชาชนเพื่อต่อต้านขบวนการดังกล่าวอย่างถึงที่สุด เพื่อรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสันติสุขของสังคมต่อไป
  • 8.      พรรคเพื่อไทยขอย้ำอีกครั้งว่า กกต.และรัฐบาลต้องเร่งรัดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2557  และขอให้ทุกพรรคการเมือง ทุกฝ่ายร่วมมือกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นโดยสุจริต  เพื่อเป็นทางออกของความขัดแย้ง  ดังที่ปฏิบัติกันในนานาประเทศและประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมา

‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดใจไม่ว่าอยู่ตำแหน่งไหนขอเดินข้างประชาชนบนทางประชาธิปไตย

Wed, 2014-05-07 17:19

       ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ เปิดใจหลังมีมติศาล รธน. ขอบคุณข้าราชการและประชาชน ตลอดการทำงาน 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ในการสร้างความเสมอภาคสังคม ระบุขอเดินข้างประชาชนตามเส้นทางของระบอบประชาธิปไตย
7 พ.ค. 2557 ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีที่ร่วมมีมติโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สิ้นสภาพรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องทันที ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ แถลงว่า “เรียนพี่น้องประชาชนชาวไทยที่เคารพรักทุกท่าน ตลอดระยะเวลาที่รัฐบาลนี้ได้ปฏบัตหน้าที่และตัวดิฉันได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีก็ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ในการที่จะขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา เพื่อการพัฒนาประเทศและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจในการสร้างความสมดุลให้กับระบบเศรษฐกิจที่จะเพิ่มความแข็งแรงทั้งเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ ทางด้านสังคมที่รัฐบาลนี้มุ่งสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน การแก้ปัญหาของความเหลื่อมล้ำของสังคมและการลดช่องว่าระหว่างผู้ที่มีรายได้น้อยและผู้มีรายได้มาก เพื่อให้พี่น้องประชาชนรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
และเรื่องโครงสร้างพื้นฐานในการที่จะยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อให้ยืนทัดเทียมกัน รวมถึงการพัฒนาให้ประเทศไทยเรานั้นมีบทบาทที่จะยืนอยู่เวทีของอาเซียนเพื่อเป็นศูนย์กลางของการก้าวไปสู่เศรษฐกิจอาเซียน
ดิฉันขอยืนยันว่าตลอดระยะเวลาที่ดิฉันปฏิบัติงานและทำงานมาตลอดรัฐบาลนี้ ดำเนินด้วยความตั้งใจทุ่มเทในการทำงานเพื่อพี่น้องประชาชน ทุ่มเททำงานตามที่พี่น้องประชาชนให้ความไว้วางใจในการเลือกรัฐบาลนี้ขึ้นมา
เราได้ยึกหลักในการบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและไม่เคยมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตตามที่กล่าวหาแต่อย่างใด หรือแม้กระทั่งการเอื้อประโยชน์ในแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฏหมายอย่างที่ได้กล่าวหา
นอกจากนี้ในการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายยังให้ความสำคัญกับการจัดการเรื่องการแก้ปัญหาทุจริตอย่างเสมอมา
ดิฉันขอถือโอกาสนี้ ขอขอบคุณพี่น้องข้าราชการที่ได้ให้การสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลนี้ตลอด 2 ปีกว่าที่ผ่านมา และที่สำคัญดิฉันขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ให้ความไว้วางใจให้ดิฉันและคณะรัฐมนตรีได้มีโอกาสได้รับใช้พี่น้องประชาชนตลอดมา และกำลังใจที่ให้ตลอดเวลาในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นช่วงของความยากลำบากเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นช่วงของความเดือดร้อน การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมหรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ทางการเมืองใดๆ ก็ได้รับกำลังใจจากพี่น้องประชาชนเสมอมา นั่นคือสิ่งที่ทำให้ดิฉันมีกำลังใจในการทำงานและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเทอย่างเสมอมา
และทุกครั้งที่ดิฉันได้ทำงาน วันนี้ดิฉันก็ได้ทำงานมาทั้งหมดเป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ทุกๆนาที ทุกๆวัน ของ 2 ปี 9 เดือน 2 วันนั้น บนนาทีของความภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งจากพี่น้องประชาชน และก้าวเข้ามาสู่การเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยวิถีทางของประชาธิปไตย ดิฉันภูมิใจที่ได้ทำหน้างานอยู่ในหน้าที่นี้ ด้วยความตั้งใจและทุ่มเท
ต่อไปนี้ไม่ว่าดิฉันจะอยู่ในสถานะใด ดิฉันก็จะขอเดินตามเส้นทางของระบอบประชาธิปไตย จะขอยึดมั่นในหลักของนิติรัฐ นิติธรรม จะยึดมั่นในการสร้างความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกันของสังคม
และสุดท้าย ดิฉันขอยืนยันว่าไม่ว่าดิฉันจะอยู่ตำแหน่งไหนดิฉันขอยืนเคียงข้างพี่น้องประชาชนคนไทยตลอดไป”

นายกรัฐมนตรีแถลง 8 ประเด็นในศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ก้าวก่าย ไม่ได้แทรกแซง





               วันที่ 6 พฤษภาคม เวลาประมาณ 10.25 น. ศาลรัฐธรรมนูญจะมีการไต่สวนพยานในคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณีโยกย้ายนายถวิล โดย คำชี้แจงของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการ ปฏิเสธคำร้องของผู้ร้องในทุกประเด็น โดย ยืนยันว่าไม่ได้ใช้สถานะหรือตำแหน่งนายกฯเข้าไปแต่งตั้งหรือโอนนายถวิล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเปิดช่องให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ เครือญาติของผู้ถูกร้องขึ้นเป็น ผบ.ตร. และไม่เคยกระทำการใดๆ ในฐานะนายกฯเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง โดยจะชี้แจงคำร้องใน 8 ประเด็น คือ

  • 1.ความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯได้สิ้นสุดลงแล้ว พร้อม ครม. เมื่อมีการยุบสภา การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นนายกฯสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182(7) อีก ย่อมไม่มีวัตถุแห่งคดี คือ ความเป็นนายกฯให้ต้องสิ้นสุดลงซ้ำสองอีก เปรียบได้กับคนที่ตายไปแล้วเพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง จะให้กลับมาตายเพราะเหตุอื่นอีกไม่ได้
  • 2.กระทำโดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ ที่จะแต่งตั้งให้นายถวิลมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯได้ โดยถือเป็นการกระทำโดยถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้นตามกฎหมายแล้ว ดังที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำวินิจฉัยไว้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (น.ส.ยิ่งลักษณ์) ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของข้าราชการประจำ มีอำนาจในการบริหารงานบุคคลหมุนเวียนสับเปลี่ยนบทบาท ตามแนวนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาได้ แสดงว่านายกฯมีอำนาจตามกฎหมายในการโอนย้ายนายถวิล หากคำสั่งโยกย้ายจะถือเป็นความผิดได้ ต้องเริ่มต้นจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
  • 3.การแต่งตั้งโอนย้ายนายถวิลเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของผู้ที่มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงไม่ใช่การก้าวก่ายหรือแทรกแซงตามความหมายของรัฐธรรมนูญมาตรา 266 และรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ตามที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง
  • 4.การโยกย้ายนายถวิล ไม่ได้ใช้สถานะหรือตำแหน่งของการเป็นนายกรัฐมนตรีในการสั่งอนุมัติโดยลำพัง แต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติในการประชุม ครม. 
  • 5.การโอนหรือย้ายนายถวิล เป็นไปตามความเหมาะสมของฝ่ายปฏิบัติที่จะได้รับความไว้วางใจ ในการตอบสนองต่อฝ่ายบริหารในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา หรือตามที่กฎหมายบัญญัติ 
  • 6.การย้ายนายถวิลไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเปิดช่องให้สามารถผลักดันหรือเป็นผลให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ขึ้นเป็น ผบ.ตร. เพราะการย้ายนายถวิล เป็นการใช้ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มี พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 บังคับใช้เป็นการเฉพาะ ซึ่งนายกฯไม่อาจใช้สถานะนายกฯได้โดยลำพัง ในการแต่งตั้ง ผบ.ตร. แต่จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547
  • 7.สำหรับกรณีที่ พล.ต.อ.วิเชียรมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม นายกฯไม่ได้ติดต่อทาบทาม หรือมอบหมายให้ผู้ใดทาบทาม และไม่มีคำมั่นใดๆ กับ พล.ต.อ.วิเชียร และกระบวนการแต่งตั้งการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคมของ พล.ต.อ.วิเชียร นายกฯเกี่ยวข้องแต่เพียงการเป็นประธานการประชุม ครม.เท่านั้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ปกติ ไม่ได้ใช้สถานะการเป็นนายกฯทาบทามหรือมอบหมายให้ผู้ใดไปทาบทาม พล.ต.อ.วิเชียร มาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคมแต่อย่างใด
  • 8.นายกฯและ ครม.ยังต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไป ไม่ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีจะสิ้นสุดลงเฉพาะตัวหรือไม่ แม้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯจะสิ้นสุดลงเฉพาะตัว แต่ ครม.ที่พ้นจากตำแหน่งยังต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181

         ทั้งนี้ ระหว่างการไต่สวน นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้กล่าวย้ำในหลายตอนว่า เป็นการมอบหมายให้พลตำรวจเอกโกวิทย์ วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ดำเนินการ โดยตนเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง และอ้างว่า ช่วงเวลาดังกล่าว ต้องเร่งแก้วิกฤตน้ำท่วม ไม่ได้ดำเนินการเรื่องนี้ด้วยตนเอง

"พุทธะอิสระ" สุดบ้าประกาศขวาง! ไม่ให้ "อ.ธงทอง จันทรางศุ" เข้าทำงานใน ก.ยุติธรรม


"พุทธะอิสระ" สุดบ้าประกาศขวาง! ไม่ให้ "อ.ธงทอง จันทรางศุ"
เข้าทำงานใน ก.ยุติธรรม




         ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระพุทธะอิสระ ได้นัดหมายตัวแทนหน่วยงานราชการที่อยู่ภายในศูนย์ราชการทั้งอาคารเอและอาคารบี รวมถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ ) มาหารือเกี่ยวกับการย้ายเวทีชุมนุมไปอยู่บริเวณด้านหน้าศูนย์ราชการ อาคารบี และจะขอใช้พื้นที่ภายในศูนย์ราชการ วันที่ 7 พ.ค. เวลา 09.00 น.

        พระพุทธอิสระ ระบุว่าการย้ายพื้นชุมนุมไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีที่เกิดเหตุทำร้ายนายทหารจนได้รับบาดเจ็บ. แต่เพราะมีเสียงสะท้อนถึงความเดือดร้อนในการใช้เส้นทางจราจรถนนแจ้งวัฒนะ จึงต้องการลดแรงเสียงทานความไม่พอใจของประชาชน ได้เชิญตัวแทนสน.ทุ่งสองห้อง และปตอ. มาทำข้อตกลงเรื่องการดูแลความปลอดภัยสถานที่ เงื่อนไขสำคัญคือต้องดูแลไม่ให้มีกลุ่มคนอื่นเข้ามาใช้พื้นที่เพื่อกดดันการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญด้วย หากเป็นไปตามข้อตกลงก็จะทยอยจัดเตรียมสถานที่ใหม่และเคลื่อนย้ายทั้งหมดหลังเสร็จสิ้นภารกิจถวายฎีกาขอคืนพระราชอำนาจที่อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

         พระพุทธอิสระ ยังกล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาโยกย้ายนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมแทนนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ว่า หากนายธงทองมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมจะขัดขวางไม่ได้เข้ามาทำงานในกระทรวงยุติธรรมได้

เปิดรายชือ 24 ครม. ที่เหลืออยู่ จับตา "นิวัฒน์ธำรง" นั่งรักษาการนายกรัฐมนตรี




ครม.ชุดปัจจุบัน ที่ไม่ต้องพ้นตำแหน่ง (ไม่ได้อยู่ร่วม ครม.ยิ่งลักษณ์ 1)
  • 1. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯและรมว.พาณิชย์
  • 2. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ
  • 3. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ
  • 4. นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักฯและรมช.เกษตรฯ
  • 5. นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ รมว.กระทรวงคมนาคม
  • 6. นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รมว.กระทรวงทรัพยากรฯ
  • 7. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.กระทรวงพลังงาน
  • 8. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย
  • 9. นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม
  • 10. นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกฯและ รมว.เกษตรฯ
  • 11. นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง
  • 12. นางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลัง
  • 13. นายสมศักดิ์ ภูรีศรีศักดิ์ รมว.ท่องเที่ยว
  • 14. นางปวีณา หงสกุล รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • 15. พล.อ.พฤณฑ์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม
  • 16. นายพ้อง ชีวานันท์ รมช.คมนาคม
  • 17. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์
  • 18. นายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์
  • 19. นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ รมช.มหาดไทย
  • 20. นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม
  • 21. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ
  • 22. นายประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข
  • 23. นายสรวงศ์ เทียนทอง รมช.สาธารณสุข
  • 24. นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม
คณะรัฐมนตรีที่ต้องพ้นตำแหน่ง
(มีส่วนร่วมในการพิจารณาโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์1)


  • 1. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • 2. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯและรมว.ต่างประเทศ
  • 3. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกฯ
  • 4. นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ
  • 5. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.กระทรวงการคลัง
  • 6. นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • 7. พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหม
  • 8. นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • 9. นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที
  • 10. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.กระทรวงแรงงาน

"พรรคเพื่อไทย"สู้! ไม่ยอมรับคำตัดสินศาล ให้ประชาชนแสดงออก ต่อต้านทุกรูปแบบอย่างสันติ ในกรอบของรัฐธรรมนูญ




          พรรคเพื่อไทยแถลงข่าว ไม่ยอมรับคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ ให้ กกต.และรัฐบาล เร่งตรา พ.ร.ฏ. เลือกตั้งให้เร็วที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหาการขัดแย้ง

          ขอให้ประชาชนร่วมต่อต้านการสมคบคิด ร่วมแสดงความคิดเห็น ร้องเรียน แจ้งความร้องทุกข์ ต่อต้านทุกรูปแบบอย่างสันติในระบอบประชาธิปไตย

"ศอ.รส." เปิดศึก! ทวิตข้อความสู้ขณะศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยคดี "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"



         ศอ.รส."เปิดศึก"ตุลาการศาลรธน. ใช้ทวิตเตอร์โพสต์ข้อความตอบโต้ ระบุคำวินิจฉัยของศาลหลายคดีที่ผ่านมา ก็มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า "มีปัญหา"

         ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญ กำลังอ่านคำวินิจฉัยสถานภาพ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรี" กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ว่าขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ ปรากฎว่า ทวิตเตอร์ของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ ที่ใช้ชื่อว่า ศอ.รส. (live-tweet) ได้มีการโพสต์ข้อความตอบโต้กับคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

         ทวีตเตอร์ของ ศอ.รส. (live-tweet) @capoisoc ระบุว่า จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่สำคัญในหลายคดีที่ผ่านมา ก็มักถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากว่า "มีปัญหา" หลายคดีวินิจฉัยก้าวล่วงการใช้อำนาจอธิปไตยขององค์กรอื่นโดยไม่มีอำนาจ ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมในหลายๆ คดี

          "เมื่อวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ ในรูปของกฎหมาย จึงทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนต่อการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ" หนึ่งในการทวีตข้อความของศอ.รส.

          ศอ.รส. ยังทวีตข้อความอีกว่า หากคำพิพากษาไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญดังกล่าวมาแล้ว ย่อมจะเกิดความไม่พอใจขยายตัวในวงกว้างและเกิดการใช้กำลังเข้าปะทะกัน