วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รีวิว 10 ข้อเสนอปฏิรูปกองทัพ (หลุมดำที่ สปช.ไม่เสนอ)

กว่า 1 ปีที่ผ่านมาจนกระทั่งได้ข้อเสนอสำหรับการปฏิรูปประเทศไทย  505 ข้อ โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และส่งงานไปยังสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) สิ่งที่น่าสังเกต สปท. ไม่พูดถึงการปฏิรูปกองทัพเลย ตามที่ iLaw เรียกว่า “หลุมดำ” ทั้งที่กองทัพไทยทั้งขนาด กำลังพล และแสนยานุภาพถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก ผลสำรวจ “Global Firepower 2014” ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการประเมินศักยภาพและแสนยานุภาพทางทหารของ 106 ประเทศทั่วโลก ซึ่ง ASTVผู้จัดการออนไลน์ นำมาเผยแพร่เมื่อ พ.ค.57 ระบุว่า กองทัพไทย อยู่อันดับ 24 ของโลก

และหากย้อนกลับไปเมื่อปี 54 ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงกลาโหม[1] ได้ดำเนินการจัดทำร่าง "แผนพัฒนาขีดความสามารถกระทรวงกลาโหม ปี 2554-2563" (Modernization Plan : Vision 2020) ซึ่งได้กำหนดความต้องการโครงการพัฒนา และจัดหายุทโธปกรณ์หลักของกระทรวงกลาโหม แบ่งเป็นความต้องการระดับสูงสุด 332 โครงการ วงเงิน 1,307,731.413 ล้านบาทและความต้องการระดับต่ำสุด 301 โครงการ วงเงิน 770,392.413 ล้านบาท ด้วย จึงยิ่งเห็นความสำคัญขององค์กรที่มีบทบาทและใหญ่ที่สุดในสังคมไทยอย่างกองทัพ

ในโอกาสนี้ประชาไทได้รวบรวมข้อเสนอการปฏิรูปกองทัพที่กลุ่มและบุคคลเคยเสนอมาก่อนหน้านี้ 10 ข้อ ที่น่าสนใจดังนี้

1. อยู่ใต้อำนาจของพลเรือน ที่เป็นรัฐมนตรีภายใต้รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย

ข้อเสนอของ ภัควดี วีระภาสพงษ์ ที่เผยแพร่เมื่อ 26 พ.ค.58 ในบทความ ‘ถ้าข้าพเจ้าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย ข้าพเจ้าจะปฏิรูปกองทัพ’[2] ภัควดี อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า การอยู่ใต้อำนาจพลเรือนไม่ใช่การเสื่อมเกียรติ แต่เป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน  ประชาชนจะไว้วางใจทหารที่ถืออาวุธได้อย่างไรหากไม่มั่นใจว่าทหารจะยึดโยงกับประชาชนเสมอ?  กองทัพไม่ควรหวาดระแวงหรือดูหมิ่นว่าพลเรือนไม่รู้เรื่องการทหาร การอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือนเป็นเพียงแค่การยอมรับอำนาจชี้นำของประชาชนเกี่ยวกับทิศทางของประเทศในภาพกว้างเท่านั้น  ถึงอย่างไรกองทัพก็ยังเป็นผู้รู้ดีที่สุดเกี่ยวกับการสงครามและการจัดกำลังพล พลเรือนย่อมเคารพกองทัพในแง่นี้  กองทัพก็ควรเคารพประชาชนในแง่ของการบริหารประเทศเช่นกัน
ซึ่งประเด็นนี้ นิธิ เอียวศรีวงศ์[3] ก็กล่าวไว้ เช่นกัน ว่า ที่ขาดไม่ได้ในการปฏิรูปกองทัพก็คือ ความมีอำนาจสูงสุดของพลเรือนเหนือกองทัพ เรื่องนี้สำคัญกว่ายุบหรือไม่ยุบ บก.สส., เกณฑ์ทหารอย่างไร หรือเลิกการเกณฑ์ทหาร, ขั้นตอนการเลื่อนยศเลื่อนขั้น ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ทั้งนั้น แต่เป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่หลักการ สำคัญสุดคือการมีอำนาจสูงสุดของพลเรือนเหนือกองทัพ
กฎหมายสภากลาโหม ถือเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ โดยประเด็นนี้ สุรชาติ บำรุงสุข[4] ได้เคยให้สัมภาษณ์กับประชาไทเมื่อ ก.ค.58 ถึงกฎหมายดังกล่าว ด้วยว่า กฎหมายดังกล่าว ออกหลังรัฐประหารปี 2549 เพราะห่วงว่าฝ่ายการเมืองจะเข้าไปจัดการแทรกแซงกิจการทหาร  คนก็ตีความว่านายกฯ มารอบนี้(รัฐบาลยิ่งลักษณ์ปี 56)จะมีล้มกฎหมายนี้ ถามว่ากฎหมายสภากลาโหมที่เป็นกฎกระทรวงที่ออกโดยสภากลาโหม กับกฎหมายที่เป็นระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ศักดิ์ใครสูงกว่า ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมีศักดิ์สูงที่สุดในระบบการบริหารราชการไทย ถ้าเรายอมรับเงื่อนไขทางกฎหมายแบบนี้ นายกฯ เท่ากับมีอำนาจโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงกฎกระทรวงก็ได้ กฎตรงนั้นก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ถ้าจำเป็นต้องทำให้ความสัมพันธ์กับรัฐบาลไม่กลายเป็นวิกฤตก็อาจไม่เข้าไปแตะต้อง ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ทำอย่างนั้นมาตั้งแต่ทำหน้าที่ ถามว่าหากอยากไปล้มไปอะไร เอาเข้าจริงทำได้ไหม ตนว่าก็ทำไม่ได้ แต่ถ้าคิดในประเด็นทางกฎหมายก็อย่างที่กล่าวไป ไม่ต้องไปล้ม อยู่ที่ว่านายกฯ กล้าใช้อำนาจไหม ตนเข้าใจว่าโดยบุคลิกและท่าทีรัฐบาลก็คงไม่อยากมีประเด็นที่ต้องชนกับทหาร จะเห็นชัดว่ารัฐบาลไม่ชนกับทหารเรื่องสภากลาโหม ไม่ชนกับทหารเรื่องคดีเสื้อแดงที่เรียกร้องให้จัดการผู้นำทหารที่เกี่ยวข้องกับการล้อมปราบ

2. ลดจำนวนนายพลว่างงาน ลดกำลังพลให้เหมาะสมกับจำนวนประชากร เพราะไทยไม่ได้อยู่ในภาวะสงคราม

จากข้อเสนอของ กานดา นาคน้อย เมื่อ 19 ต.ค. 57 ในบทความชื่อ นายพลว่างงาน[5] ซึ่งเสนอให้ลดจำนวนนายพลและลดกำลังพลให้เหมาะสมกับจำนวนประชากร การเข้าร่วมประชาคมอาเซียนไม่ใช่การเข้าทำสงคราม แต่เป็นการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรบุคคล ถึงเวลาแล้วที่นายพลที่ว่างงานควรโดนปลดประจำการเพื่อคืนทรัพยากรให้ส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นงบรถยนต์ประจำตำแหน่ง งบค่าน้ำมันฟรี งบตั๋วเครื่องบินฟรี ฯลฯ เพื่อให้งบประมาณโดนจัดสรรเพื่อการวิจัยและพัฒนาให้ทัดเทียมกับประเทศในกลุ่มอาเซียน
โดย กานดา ระบุว่า ปัจจุบันกองทัพไทยมีนายพลประมาณ 1,400 คน[6] ส่วนสหรัฐฯซึ่งเป็นมหาอำนาจทางการทหารมีฐานทัพหลายแห่งทั่วโลกกลับมีนายพลทุกเหล่าทัพรวมกันไม่ถึง 1,000 คน[7] เทียบแล้วสหรัฐฯมีจำนวนนายพลเพียง 2 ใน 3 ของจำนวนนายพลไทย สหรัฐฯ มีกำลังพลประมาณ 3 เท่าของกำลังพลของกองทัพไทย เมื่อเปรียบเทียบด้วยจำนวนประชากรแล้ว  สหรัฐฯมีประชากรประมาณ  5 เท่าของไทย ดังนั้นสัดส่วนกำลังพลของกองทัพไทยต่อประชากรจึงสูงกว่าสัดส่วนกำลังพลของกองทัพสหรัฐฯเสียอีก

3. ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร เปลี่ยนเป็นใช้วิธีสมัครใจ

ในวงประกายไฟเสวนาหัวข้อ "กระชับพื้นที่กองทัพ ขอคืนพื้นที่ประชาชน" เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 54 จิตรา คชเดช[8]เสนอว่าควรยกเลิก การบังคับชายไทยอายุ 21 ปี เข้าเกณฑ์ทหาร แต่ให้เปลี่ยนเป็นวิธีสมัครใจแทน
เช่นเดียวกับ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล[9] ที่มองว่า การเกณฑ์ทหารเป็นเรื่องที่ล้าสมัย หลายประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกการเกณฑ์ทหารไปแล้ว หรือมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเกณฑ์ทหารเป็นระบบสมัครใจ พวกเขาได้เรียนรู้ว่าความเต็มใจที่จะเป็นทหารนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการบังคับ

4. ลดงบประมาณของกองทัพ เอาไปสร้าง 'ความมั่นคงของประชาชน' อย่างสวัสดิการแทน

เมื่อ 28 ก.ย.51 สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล และกลุ่มประกายไฟ ได้ออกแถลงการณ์ร่วมถึงข้อเสนอการเมืองใหม่[10] ขณะนั้น โดยมีข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปกองทัพตอนหนึ่งว่า ควรลดงบประมาณของกองทัพ เพราะประเทศไทยไม่ได้อยู่ในสภาวะสงคราม ดังนั้นไม่จำเป็นต้องนำงบประมาณจำนวนมากไปใช้สำหรับการส่งเสริมแสนยานุภาพของกองทัพ

5. ย้ายค่ายทหารออกจากเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ไปเป็นรั้วของชาติ

ในแถลงการณ์ร่วมถึงข้อเสนอการเมืองใหม่ข้องต้นยังมีข้อเสนอให้ย้ายค่ายทหารออกจากเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อใช้พื้นที่ดังกล่าวสำหรับสร้างสวนสาธารณะ และศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่คนจน

6. ยกสนามกอล์ฟ สนามม้าของกองทัพบก ให้ชุมชนใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณะ

จากบทความทุนกองทัพไทย (3) : ที่ดินกองทัพบก ของ กานดา[11] เมื่อวันที่ 1 มิ.ย 58 เสนอว่าสนามกอล์ฟและสนามม้าของกองทัพบกก็ควรยกกรรมสิทธิ์ให้ชุมชนใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณะ เช่น ปรับพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะ   เพราะการพัฒนาที่ดินไม่ควรเป็นงานของกองทัพโรงเรียนนายร้อยจปร.ไม่ใช่โรงเรียนผลิตนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แต่เป็นโรงเรียนผลิตทหารที่มีหน้าที่ป้องกันประเทศ นอกจากนี้ยุคนี้ไม่มีชาติไหนขี่ม้ารบกันแล้ว   ไม่ใช่ยุคอัศวินมีไพร่ในสังกัดไม่ใช่ยุคอัศวินใส่ชุดเกราะขี่ม้ารบกัน   ดังนั้นกองทัพบกก็ไม่จำเป็นต้องมีสนามม้าอีกต่อไป 

7. ปฏิรูปกระบวนการจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์โดยมียุทธศาสตร์ที่แท้จริงรองรับ

สุรชาติ บำรุงสุข เขียนไว้ในบทความ ‘การปฏิรูปกองทัพ : ปัญหาการจัดหายุทโธปกรณ์’[12] เสนอว่าปฏิรูปกระบวนการจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์โดยมียุทธศาสตร์ที่แท้จริงรองรับ และขณะเดียวกัน การซื้อก็เกิดจากความต้องการทางยุทธศาสตร์เพื่อตอบสนองต่อโจทย์ความมั่นคงของประเทศในอนาคต ไม่ใช่สนองกระเป๋าของใครในปัจจุบัน

8. ลดภาระงานที่กองทัพทำซ้ำซ้อน เช่น งานบรรเทาสาธารณภัย ควรให้ ปภ. ทำ

เมื่อปี 54 สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงกลาโหม ก็ได้ดำเนินการจัดทำร่าง "แผนพัฒนาขีดความสามารถกระทรวงกลาโหม ปี 2554-2563"[13] ซึ่งมีการตั้งงบประมาณในภารกิจช่วยเหลือ และบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งเป็นงานที่ซ้ำซ้อนกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งไม่ควรซ้ำซ้อนทั้งภาระงาน งบประมาณและกำลังพล

9. เป็น ‘ทหารอาชีพ’

ก่อนรัฐประหาร 19 ก.ย.49 มีการพูดถึงความเป็นทหารอาชีพของทหาร ที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือ อย่างที่นักวิชาการรัฐศาสตร์ชาวอเมริกาคนสำคัญอย่าง ฮันติงตั้น (Samuel Phillips Huntington) เขียนไว้ใน The Soldier and the State: The Theory and Politics pf Civil-Military Relations. Cambridge: Harvard University Press. ปี 1957 ซึ่งอ้างถึงในบทความ “ว่าด้วยการแทรกแซงการเมืองของ "ชายบนหลังม้า" ที่เขียนโดย  พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ เมื่อปลายปี 49 โดยฮันติงตั้น มองว่า "ความเป็นทหารอาชีพ จะไม่ทำให้ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะทหารในสังคมสมัยใหม่นั้นเป็นนักเทคนิคในการบริหารจัดการความรุนแรงของรัฐ ซึ่งต่างจากทหารเมื่อสองร้อยปีที่แล้วที่เป็นนักรบรับจ้าง หรือทหารของพระราชา.."
ในขณะที่พิชญ์ เองกลับมองว่า "วิธีคิดของฮันติงตั้นวางอยู่บนความเชื่อที่ว่า "ความเป็นทหารอาชีพ" นั้นมีอยู่แบบเดียวคือต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือเป็นกลางทางการเมืองทั้งที่บ่อยครั้งความเป็นทหารอาชีพต่างหากที่ผลักดันให้ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะเขาจะเชื่อว่าเขาเป็นข้าฯรับใช้ประเทศชาติและองค์อธิปัตย์มากกว่ารัฐบาลที่ปกครองประเทศอยู่" (ดูเพิ่มเติม : 9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 2 : ความสัมพันธ์กับกองทัพ[14])

10. ยุบ  บก.สส. และกองกำลังส่วนหน้า

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา กษิต ภิรมย์[15] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้เสนอให้ปฏิรูปกองทัพด้วย โดยยุบกองบัญชาการทหารสูงสุด (บก.สส.) และกองกำลังส่วนหน้า เพราะเกินความจำเป็นและเป็นไปไม่ได้ที่ทั้งสองส่วนนี้จะใหญ่กว่า 3 เหล่าทัพ ส่วนเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน คิดว่าจะพูดถึงแค่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นนั้นไม่พอ การกระจายอำนาจต้องรวมถึงภาคเอกชน ภาคชุมชนและภาคประชาสังคมด้วย
เหล่านี้เป็นเพียงการรวบรวมข้อเสนอการปฏิรุปกองทัพที่สามารถค้นได้ในอิเตอร์เน็ตทั่วไป แต่อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า สปช. กลับไม่มีข้อเสนอการปฏิรูปกองทัพ ซึ่ง iLaw มองว่า ทั้งๆ ที่เรื่องการปฏิรูปกองทัพ เคยปรากฏอยู่ในข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูป ชุดของอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งในรายงานของคณะกรรมการชุดดังกล่าว ระบุว่า คณะกรรมการยังมิได้ศึกษาจนชัดเจน แต่มีหลักการเบื้องต้น 3 ประการ[16] ได้แก่
1. ทหารต้องยอมรับอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายแห่งชาติจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
2. ลดภารกิจที่ไม่ใช่กิจการโดยตรงของกองทัพ โดยเฉพาะการเข้ามามีบทบาททางการเมือง
3. ปรับลดขนาด ตำแหน่ง และยุทโธปกรณ์ ที่ไม่จำเป็น แล้วนำทรัพยากรไปทุ่มเทให้กับเพื่อให้กับภารกิจหน้าที่หลักของกองทัพ



[1] เปิดแผน 10 ปีกองทัพผูกพัน "ล้านล้าน" ชงซื้ออาวุธอื้อ http://www.prachatai.com/node/32916/talk
[2] ภัควดี วีระภาสพงษ์, ถ้าข้าพเจ้าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย ข้าพเจ้าจะปฏิรูปกองทัพ http://www.prachatai.com/journal/2015/05/59480
[3] นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปฏิรูปกองทัพ คือสถาปนาอำนาจสูงสุดของพลเรือน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1424680999
[4] คุยกับสุรชาติ บำรุงสุข : 10 โจทย์ใหญ่กว่า ‘โผทหาร’ สำหรับรมว.กลาโหมใหม่ http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47604
[5] กานดา นาคน้อย: นายพลว่างงาน http://www.prachatai.com/journal/2014/10/56086
[6] http://www.freedomhouse.org/report/countries-crossroads/2011/thailand#.VEIKUPldWQw
[7] http://truth-out.org/index.php?option=com_k2&view=item&id=5920%3Athe-pentagons-biggest-overrun-way-too-many-generals
[8] เสนอออกกม.ลงโทษผู้ยึดอำนาจรัฐที่มาจากปชช. http://news.voicetv.co.th/thailand/17650.html
[9] เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล, แถลงการณ์ปฏิเสธเกณฑ์ทหาร http://prachatai.org/journal/2015/10/62157
[10] นักศึกษา-แรงงาน เสนอการเมืองใหม่ที่เป็นอิสระจาก "พันธมิตร" ปฏิรูปเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ http://www.prachatai.com/journal/2008/09/18350
[11] กานดา นาคน้อย ทุนกองทัพไทย (3) : ที่ดินกองทัพบก http://www.prachatai.com/journal/2015/06/59565
[12] สุรชาติ บำรุงสุข, การปฏิรูปกองทัพ : ปัญหาการจัดหายุทโธปกรณ์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1437283112
[13] เปิดแผน 10 ปีกองทัพผูกพัน "ล้านล้าน" ชงซื้ออาวุธอื้อ http://www.prachatai.com/node/32916/talk
[14] 9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 2 : ความสัมพันธ์กับกองทัพ http://prachatai3.com/journal/2013/07/47880
[15] "กษิต ภิรมย์" มาเเรง จี้ เร่งปฏิรูปกองทัพ แนะยุบทิ้ง บก.สส.-กองกำลังส่วนหน้า http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1423966926
[16] รายงาน: บทเรียนการปฏิรูปความมั่นคงข้อที่สอง ทั่วโลกกำลังปฏิรูปภาคความมั่นคง http://v-reform.org/v-report/security-reform-lesson-2/

วิษณุ แจงเร่งรัดคดีจำนำข้าว เพราะต้องฟ้องคดีเอกชนอีกหลายราย


29 ต.ค. 2558 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง ผลสอบของคณะกรรมการชุดกระทรวงการคลัง ในคดีจำนำข้าว ว่า ได้ส่งมาบางส่วนแล้ว ทางคณะกรรมการได้ขอขยายเวลาให้พยานมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม จากเดิมมีกำหนดถึงวันที่ 30 ตุลาคม แต่ผู้ถูกกล่าวหา ขอเพิ่มเติมพยาน จึงต้องขยายเวลาให้  แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังไม่เดินทางมาให้ข้อมูล
นายวิษณุ กล่าวว่า สำหรับผลสอบของคณะกรรมการชุดกระทรวงพาณิชย์ จะส่งไปให้กรรมการชุดที่มีอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นประธาน ไม่จำเป็นต้องรอผลสอบของกระทรวงการคลัง การดำเนินการดังกล่าวมีเหตุผล เพราะคดีมีอายุความกำหนดไว้ ต้องทำภายใน 2 ปี ไม่เร่งทำคงไม่ได้  แม้ว่าฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาจะตั้งข้อสังเกตว่าเร่งรัดจนเหมือนถูกกลั่นแกล้ง ก็ตาม แต่ยืนยันว่าไม่ได้กลั่นแกล้งเพราะต้องเดินไปตามเวลาที่กำหนด  และกำชับให้เกิดความเป็นธรรม จึงขยายเวลาการรับฟังพยาน จนเกือบเป็นที่พอใจของผู้ถูกกล่าวหา
นายวิษณุ กล่าวว่า ในกรณีของกระทรวงพาณิชย์  จะต้องฟ้องร้องดำเนินคดีกับเอกชนอีกหลายราย ในกรณีขายข้าวจีทูจี แต่ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเอกชนมีอายุความสั้นเพียง 1 ปีเท่านั้น ซึ่งจะหมดอายุความในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559  แต่จนถึงวันนี้ยังดำเนินการอะไรไม่ได้ เพราะต้องรอผลของเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดเสียก่อน จึงจะได้นำมาคิดกับความรับผิดของเอกชน  จึงจำเป็นต้องเร่งทำเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เสร็จก่อน  จะนำไปฟ้องเอกชน   แต่สำหรับกรณีของ ของอดีตนายกยิ่งลักษณ์ ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเอกชน

สมคิด เผยประยุทธ์พร้อมใช้ ม.44 ดันเมกะโปรเจกต์ที่ล่าช้า


สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เผย พล.อ.ประยุทธ์ พร้อมที่จะใช้อำนาจพิเศษหรือ มาตรา 44 ดำเนินการเพื่อให้สามารถเร่งรัดการทำงานโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่างๆ ให้เร็วขึ้น
29 ต.ค. 2558 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญ เช่น โครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟฟ้าเส้นทางกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งโครงการส่วนใหญ่อยู่ในขั้นตอนที่มีความพร้อมที่จะเริ่มก่อสร้างได้เป็นส่วนใหญ่ โดยนายกรัฐมนตรีอยากให้โครงการต่างๆ ดำเนินการไปอย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของกระบวนการหรือขั้นตอนที่ไม่จำเป็นหรือสามารถลดขั้นตอนการดำเนินการ นายกฯพร้อมที่จะใช้อำนาจพิเศษหรือ มาตรา 44  แห่งรัฐธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ.2557 ดำเนินการเพื่อให้สามารถเร่งรัดการทำงานต่างๆให้เร็วขึ้น
ส่วนในเรื่องของการลงทุนโดยใช้รูปแบบความร่วมมือภาครัฐ-ภาคเอกชน (Public Private Partnership: PPP) ตนก็ได้สอบถามไปยังกระทรวงการคลังว่ามีความคืบหน้าอย่างไร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะลงทุนในโครงการต่างๆ ตามระยะเวลาที่กำหนด 
"หลายโครงการคมนาคมที่ควรจะเริ่มก่อสร้างได้ในปีนี้เช่น รถไฟฟ้า 3 เส้นทาง ซึ่งโครงการพวกนี้อยู่ในกระบวนการอยู่แล้ว แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมบอกว่ามีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ ซึ่งใช้เวลามาก เช่น การวิเคราะห์โครงการ หรือ การทำการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่ใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งยืดยาวโดยใช่เหตุ นายกฯก็บอกว่าตรงนี้หากมีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษเพื่อให้โครงการที่สำคัญเดินหน้าได้รวดเร็วขึ้น โดยหากพร้อมที่จะใช้ก็ขอให้เสนอเข้ามา" นายสมคิดกล่าว
นายสมคิดกล่าวว่า ในวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้หารือกับผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลสิงคโปร์ที่เดินทางมาประชุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดระหว่างสิงคโปร์กับไทย ซึ่งปัจจุบันสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการลงทุนในไทยเป็นอันดับ 1 ยังมีความสนใจที่จะลงทุนในไทยอีกหลายอย่าง ตนเองจึงได้เสนอให้มีการประชุมร่วมคณะรัฐมน ตรีไทย-สิงคโปร์ แบบเต็มคณะ ซึ่งจะกำหนดอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี 2559 ต่อไป

ฟรีดอมเฮาส์ 2015 เผยรายงานเสรีภาพเน็ต-ไทยคะแนนแย่-ยังอยู่โซน 'ไม่เสรี'


ฟรีดอมเฮาส์เปิดรายงานล่าสุด ชี้เสรีภาพอินเทอร์เน็ตทั่วโลกแย่ลงรวมถึงมีการเปลี่ยนวิธีการจำกัดเสรีภาพจากการปิดกั้นธรรมดามาเป็นการบีบบังคับให้นำเนื้อหาออก ด้านประเทศไทยได้คะแนนแย่ลงกว่าปีที่แล้วและยังอยู่ในระดับ 'ไม่เสรี' จากกรณีกฎหมายหมิ่นฯ และการคุกคามผู้เห็นต่างหลังรัฐประหาร
29 ต.ค. 2558 ฟรีดอมส์เฮาส์ซึ่งเป็นองค์กรภาคเอกชนทำวิจัยด้านประชาธิปไตยและเสรีภาพทางการเมือง เผยแพร่รายงานเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตประจำปี 2558 หรือ "Freedom on the net 2015" ระบุว่าทั่วโลกมีการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตมากขึ้น รวมถึงมีการข่มขู่คุกคาม การสอดแนม การบีบบังคับให้บริษัทหรือประชาชนนำเนื้อหาออกจากเว็บไม่อย่างนั้นจะมีการลงโทษ
รายงาน Freedom on the net 2015 ไทยยังคงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศ "ไม่เสรี" โดยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเพียงฟิลิปปินส์ที่อยู่ในกลุ่มประเทศ "เสรี" ขณะที่มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย กัมพูชา อยู่ในกลุ่มประเทศ "เสรีบางส่วน" ขณะที่พม่ายังอยู่ในกลุ่มประเทศ "ไม่เสรี" (ที่มา: freedomhouse)
ฟรีดอมส์เฮาส์ ระบุว่าจากการสำรวจ 65 ประเทศ โดยภาพรวมแล้วมีการสั่งลบเนื้อหาจากเว็บไซต์รวมถึงการจับกุมและข่มขู่คุกคามมากขึ้นทั้งในประเด็นที่เกี่ยวกับการเมือง ศาสนา หรือสังคม โดยเฉพาะในประเทศจีน ขณะที่ในประเทศโลกเสรีเองก็มีเรื่องของการพยายามสั่งห้ามเครื่องมือที่ปกป้องความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
ในงานแถลงข่าวของฟรีดอมส์เฮาส์ แกดี เอปสไตน์ อดีตหัวหน้าสำนักงานแผนกจีนของนิตยสารดิอิโคโนมิสต์กล่าวว่าประเทศจีนมีความพยายามปิดกั้นสื่อมากขึ้นเช่นการบล็อคเว็บไซต์อย่างกูเกิล การจับกุมตัวนักกิจกรรมอินเทอร์เน็ตที่แสดงความคิดเห็นในหลายประเด็นรวมถึงการทุจริตคอร์รัปชัน
ทางด้านซานจา เคลลี ผู้อำนวยการโครงการ 'เสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต' (Freedom on the Net) เปิดเผยว่ารัฐบาลหลายประเทศหันมาใช้วิธีการกดดันประชาชนหรือบริษัทภาคเอกชนมากขึ้นในการบังคับให้ลบหรือนำเนื้อหาออกแทนวิธีการบล็อคหรือการกรองเว็บแบบเดิม
ฟรีดอมส์เฮาส์ระบุอีกว่ามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าร้อยละ 61 อาศัยอยู่ในประเทศที่การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล กองทัพหรือครอบครัวที่ปกครองประเทศอยู่จะถูกปิดกั้นเนื้อหา และมากกว่าร้อยละ 58 ของประเทศเหล่านี้จะมีการจับกุมผู้เผยแพร่เนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวกับการเมือง สังคม และประเด็นศาสนา โดยประเด็นที่เสี่ยงต่อการถูกเซ็นเซอร์และถูกลงโทษมากที่สุดคือข่าวความขัดแย้ง ข่าวเรื่องการทุจริตของผู้นำระดับสูงของรัฐหรือหน่วยงานธุรกิจ เว็บไซต์ของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล และเนื้อหาเชิงเสียดสีสังคม
จากการสำรวจนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2557 จนถึงตอนนี้ฟรีดอมเฮาส์ระบุว่าประเทศที่มีเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตแย่ลงอย่างที่ต้องจับตามองคือลิเบีย, ฝรั่งเศส และยูเครนซึ่งกำลังมีความขัดแย้งด้านเขตแดนกับและสงครามโฆษณาชวนเชื่อกับรัสเซีย ส่วนประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเสรีภาพอินเทอร์เน็ตมากขึ้นคือศรีลังกาและแซมเบียที่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับรัฐบาลเมื่อไม่นานมานี้ ส่วนในประเทศคิวบาประชาชนมีความสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในราคาที่จ่ายได้เพิ่มมากขึ้นหลังจากปรับสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐฯ แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่ได้

เสรีภาพอินเทอร์เน็ตประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับ 'ไม่เสรี'
ในรายงานเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับประเทศไทยฟรีดอมเฮาส์ยังคงจัดให้ประเทศไทยอยู่ในสถานะ "ไม่เสรี" (Not Free) เช่นเดียวกับปี 2557 โดยมีคะแนนแย่ลง 1 คะแนน จาก 62 เป็น 63 คะแนน (ใช้ระบบ คะแนนมากกว่าถือว่าแย่กว่า) ทำให้ไทยอยู่ในระดับแย่กว่าหลายประเทศในภูมิภาคเดียวกันอยางกัมพูชา (48 คะแนน) สิงคโปร์ (41 คะแนน) มาเลเซีย (43 คะแนน) ฟิลิปปินส์ (27 คะแนน) ในขณะที่มีคะแนนเท่ากับพม่า (63 คะแนน)
โดยฟรีดอมเฮาส์ระบุว่าทั้งในปี 2557 และ 2558 หลังเกิดการรัฐประหารประเทศไทยมีการพยายามจับกุมหรือปิดกั้นผู้ที่แสดงความคิดเห็นต่อต้านรัฐบาลเผด็จการรวมถึงมีการดำเนินคดีกรณีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปี 2558 มีกรณีการใช้ศาลทหารตัดสินลงโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์คือ 56 ปีและ 60 ปี ก่อนจะลดโทษเหลือ 28 และ 30 ปี เนื่องจากให้การรับสารภาพ
นอกจากนี้ฟรีดอมเฮาส์ยังระบุถึงกรณีการเรียกรายงานตัวประชาชนในค่ายทหารราว 400 คนโดยบีบให้เปิดเผยรหัสผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อแลกกับการปล่อยตัว นอกจากนี้ยังวิจารณ์เรื่องการร่างกฎหมายของรัฐบาลที่เป็นไปเพื่อลิดรอนเสรีภาพสื่อในโลกออนไลน์และทำลายสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชน
ถึงแม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประชาชนไทยจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้นแต่หลังจากการรัฐประหารครั้งล่าสุดก็มีการประกาศแผนการ 'ซิงเกิล เกตเวย์' ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น 'อินเทอร์เน็ตดิจิตอลเกตเวย์แห่งชาติ' เพื่อควบคุมข้อมูลข่าวสารจากอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ ขณะที่ในสภาพการณ์ความเป็นจริงประเทศไทยมีการใช้แบนด์วิดท์หรือปริมาณการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นในประเทศร้อยละ 132 และนอกประเทศร้อยละ 195
ในประเด็นเรื่องการปิดกันเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต ฟรีดอมเฮาส์ระบุว่าถึงแม้ประเทศไทยจะมีการปิดกั้นสื่อเว็บไซต์อย่างหนักอยู่แล้วแต่หลังเกิดการรัฐประหารก็มีกระบวนการปิดกั้นที่ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น โดยยกตัวอย่างคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ (คสช.) ที่สั่งปิดกั้นและสอดส่องสื่อโดยอ้างว่าเพื่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง มีกรณีการปิดกั้นเว็บไซต์ต่างๆ เช่น เดลีเมล หรือเว็บไซต์ในประเทศอย่างสำนักข่าวประชาธรรม รวมถึงเว็บไซต์ฮิวแมนไรท์วอทช์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คณะนิติราษฎร์ และหน้าเว็บล็อกหรือโซเชียลมีเดียส่วนตัวที่มีเนื้อหาต่อต้านคณะรัฐประหาร หรือมีเนื้อหาวิจารณ์สถาบัน
ฟรีดอมส์เฮาส์ยังรายงานถึงเรื่องการพยายามควบคุมบงการสื่อและเนื้อหาของสื่อทำให้ไม่เกิดมุมมองที่หลากหลายทั้งการพยายามปิดกั้นสื่อ การว่ากล่าวตักเตือนและบีบให้นำเนื้อหาออกแม้กระทั่งกับกรณีวาสนา นาน่วม ที่ทำเสนอเรื่องราวของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังรัฐประหารแต่ถูก คสช. สั่งให้ขอโทษและนำบทความออกจากเว็บไซต์บางกอกโพสต์ นอกจากนี้ยังมีการเซ็นเซอร์ตัวเองเช่นกรณีการปลดผังรายการของภิญโญ ไตรสุริยธรรมา จากอมรินทร์ทีวี ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุนเผด็จการทหารเองกลับใช้การโจมตีด้วยข้อมูลแบบจัดตั้งเตรียมการไว้ก่อนเพื่อคุกคามฝ่ายที่ต่อต้านเผด็จการทหาร
ในแง่กฎหมายคุ้มครองผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ฟรีดอมเฮาส์ระบุว่า เดิมทีแล้วรัฐธรรมนูญปี 2550 ของไทยมีมาตราที่ระบุถึงการส่งเสริมเสรีภาพสื่อแบบกว้างๆ แต่รัฐธรรมนูญก็ถูกฉีกทิ้งหลังการรัฐประหารปี 2557 แล้วแทนที่ด้วยรัฐธรรมนูญชั่วคราวของคณะรัฐประหารเอง แต่ฝ่ายรัฐก็ยังคงใช้กฎหมายที่มีอยู่แต่เดิมอย่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ปี 2550 หรือพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ฟรีดอมเฮาส์ระบุถึงการลิดรอนเสรีภาพด้วยการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกฎหมายคอมพิวเตอร์ ในแง่การหมิ่นประมาทจำนวนมาก รวมถึง 'คดีพงศ์ศักดิ์' 'คดีเครือข่ายบรรพต' 'คดีเจ้าสาวหมาป่า' รวมถึง 'คดีสำนักข่าวภูเก็ตหวาน' ที่ตีพิมพ์บทความเปิดโปงเรื่องที่ทหารเรือไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงยา ฟรีดอมเฮาส์วิจารณ์อีกว่าเจ้าหน้าที่อัยการและผู้พิพากษาของไทยไม่มีความเข้าใจความแตกต่างของกฎหมายทั้ง 2 เลย รวมถึงเรื่องที่ไม่เข้าใจว่า "การนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จ" (false computer information) ที่ระบุใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หมายถึงอาชญากรรมในเชิงเทคนิคอย่างการแฮ็กข้อมูล ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นตามความคิดของตัวเองในโลกออนไลน์
นอกจากคณะรัฐประหารแล้ว ฟรีดอมเฮาส์ยังระบุว่ามีกลุ่มรอยัลลิสต์บางกลุ่มที่ทำการข่มขู่คุกคามประชาชนทั่วไปเช่น "องค์กรเก็บขยะแผ่นดิน" ที่ทำการล่าแม่มดไล่ฟ้องร้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไปทั่ว และ "เครือข่ายเฝ้าระวัง พิทักษ์และปกป้องสถาบันฯ" ที่ทำการฟ้องร้องทอม ดันดี ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นอกจากนี้ยังมีการพยายามโจมตีโดยกลุ่มคนทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่นกรณีที่มีคนไปรุมคอมเมนต์ประณามเพจข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) หลังได้ข่าวว่า 'ตั้ง อาชีวะ' ได้ลี้ภัยทางการเมืองในนิวซีแลนด์

เรียบเรียงจาก
Privatizing Censorship, Eroding Privacy: Freedom on the Net 2015 New Findings Released, Freedom House, 27-10-2015 https://freedomhouse.org/article/privatizing-censorship-eroding-privacy-freedom-net-2015-new-findings-released
Freedom House: World Internet Freedom Keeps Eroding, Voice of America, 28-10-2015http://www.voanews.com/content/freedom-house-world-internet-freedom-keeps-eroding/3027570.html
รายงาน Freedom on the Net 2015 ของ Freedom House https://freedomhouse.org/report/freedom-net/freedom-net-2015
รายงาน Freedom on the Net 2014-2015 ของ Freedom House กรณีประเทศไทย

รีวิว 10 ข้อเสนอปฏิรูปกองทัพ (หลุมดำที่ สปช.ไม่เสนอ)

ดูภาพขนาดใหญ่

กว่า 1 ปีที่ผ่านมาจนกระทั่งได้ข้อเสนอสำหรับการปฏิรูปประเทศไทย  505 ข้อ โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และส่งงานไปยังสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) สิ่งที่น่าสังเกต สปท. ไม่พูดถึงการปฏิรูปกองทัพเลย ตามที่ iLaw เรียกว่า “หลุมดำ” ทั้งที่กองทัพไทยทั้งขนาด กำลังพล และแสนยานุภาพถูกจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก ผลสำรวจ “Global Firepower 2014” ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการประเมินศักยภาพและแสนยานุภาพทางทหารของ 106 ประเทศทั่วโลก ซึ่ง ASTVผู้จัดการออนไลน์ นำมาเผยแพร่เมื่อ พ.ค.57 ระบุว่า กองทัพไทย อยู่อันดับ 24 ของโลก
และหากย้อนกลับไปเมื่อปี 54 ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงกลาโหม[1] ได้ดำเนินการจัดทำร่าง "แผนพัฒนาขีดความสามารถกระทรวงกลาโหม ปี 2554-2563" (Modernization Plan : Vision 2020) ซึ่งได้กำหนดความต้องการโครงการพัฒนา และจัดหายุทโธปกรณ์หลักของกระทรวงกลาโหม แบ่งเป็นความต้องการระดับสูงสุด 332 โครงการ วงเงิน 1,307,731.413 ล้านบาทและความต้องการระดับต่ำสุด 301 โครงการ วงเงิน 770,392.413 ล้านบาท ด้วย จึงยิ่งเห็นความสำคัญขององค์กรที่มีบทบาทและใหญ่ที่สุดในสังคมไทยอย่างกองทัพ
ในโอกาสนี้ประชาไทได้รวบรวมข้อเสนอการปฏิรูปกองทัพที่กลุ่มและบุคคลเคยเสนอมาก่อนหน้านี้ 10 ข้อ ที่น่าสนใจดังนี้

1. อยู่ใต้อำนาจของพลเรือน ที่เป็นรัฐมนตรีภายใต้รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย

ข้อเสนอของ ภัควดี วีระภาสพงษ์ ที่เผยแพร่เมื่อ 26 พ.ค.58 ในบทความ ‘ถ้าข้าพเจ้าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย ข้าพเจ้าจะปฏิรูปกองทัพ’[2] ภัควดี อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า การอยู่ใต้อำนาจพลเรือนไม่ใช่การเสื่อมเกียรติ แต่เป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน  ประชาชนจะไว้วางใจทหารที่ถืออาวุธได้อย่างไรหากไม่มั่นใจว่าทหารจะยึดโยงกับประชาชนเสมอ?  กองทัพไม่ควรหวาดระแวงหรือดูหมิ่นว่าพลเรือนไม่รู้เรื่องการทหาร การอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือนเป็นเพียงแค่การยอมรับอำนาจชี้นำของประชาชนเกี่ยวกับทิศทางของประเทศในภาพกว้างเท่านั้น  ถึงอย่างไรกองทัพก็ยังเป็นผู้รู้ดีที่สุดเกี่ยวกับการสงครามและการจัดกำลังพล พลเรือนย่อมเคารพกองทัพในแง่นี้  กองทัพก็ควรเคารพประชาชนในแง่ของการบริหารประเทศเช่นกัน
ซึ่งประเด็นนี้ นิธิ เอียวศรีวงศ์[3] ก็กล่าวไว้ เช่นกัน ว่า ที่ขาดไม่ได้ในการปฏิรูปกองทัพก็คือ ความมีอำนาจสูงสุดของพลเรือนเหนือกองทัพ เรื่องนี้สำคัญกว่ายุบหรือไม่ยุบ บก.สส., เกณฑ์ทหารอย่างไร หรือเลิกการเกณฑ์ทหาร, ขั้นตอนการเลื่อนยศเลื่อนขั้น ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ทั้งนั้น แต่เป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่หลักการ สำคัญสุดคือการมีอำนาจสูงสุดของพลเรือนเหนือกองทัพ
กฎหมายสภากลาโหม ถือเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ โดยประเด็นนี้ สุรชาติ บำรุงสุข[4] ได้เคยให้สัมภาษณ์กับประชาไทเมื่อ ก.ค.58 ถึงกฎหมายดังกล่าว ด้วยว่า กฎหมายดังกล่าว ออกหลังรัฐประหารปี 2549 เพราะห่วงว่าฝ่ายการเมืองจะเข้าไปจัดการแทรกแซงกิจการทหาร  คนก็ตีความว่านายกฯ มารอบนี้(รัฐบาลยิ่งลักษณ์ปี 56)จะมีล้มกฎหมายนี้ ถามว่ากฎหมายสภากลาโหมที่เป็นกฎกระทรวงที่ออกโดยสภากลาโหม กับกฎหมายที่เป็นระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ศักดิ์ใครสูงกว่า ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมีศักดิ์สูงที่สุดในระบบการบริหารราชการไทย ถ้าเรายอมรับเงื่อนไขทางกฎหมายแบบนี้ นายกฯ เท่ากับมีอำนาจโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงกฎกระทรวงก็ได้ กฎตรงนั้นก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ถ้าจำเป็นต้องทำให้ความสัมพันธ์กับรัฐบาลไม่กลายเป็นวิกฤตก็อาจไม่เข้าไปแตะต้อง ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ทำอย่างนั้นมาตั้งแต่ทำหน้าที่ ถามว่าหากอยากไปล้มไปอะไร เอาเข้าจริงทำได้ไหม ตนว่าก็ทำไม่ได้ แต่ถ้าคิดในประเด็นทางกฎหมายก็อย่างที่กล่าวไป ไม่ต้องไปล้ม อยู่ที่ว่านายกฯ กล้าใช้อำนาจไหม ตนเข้าใจว่าโดยบุคลิกและท่าทีรัฐบาลก็คงไม่อยากมีประเด็นที่ต้องชนกับทหาร จะเห็นชัดว่ารัฐบาลไม่ชนกับทหารเรื่องสภากลาโหม ไม่ชนกับทหารเรื่องคดีเสื้อแดงที่เรียกร้องให้จัดการผู้นำทหารที่เกี่ยวข้องกับการล้อมปราบ

2. ลดจำนวนนายพลว่างงาน ลดกำลังพลให้เหมาะสมกับจำนวนประชากร เพราะไทยไม่ได้อยู่ในภาวะสงคราม

จากข้อเสนอของ กานดา นาคน้อย เมื่อ 19 ต.ค. 57 ในบทความชื่อ นายพลว่างงาน[5] ซึ่งเสนอให้ลดจำนวนนายพลและลดกำลังพลให้เหมาะสมกับจำนวนประชากร การเข้าร่วมประชาคมอาเซียนไม่ใช่การเข้าทำสงคราม แต่เป็นการแข่งขันด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรบุคคล ถึงเวลาแล้วที่นายพลที่ว่างงานควรโดนปลดประจำการเพื่อคืนทรัพยากรให้ส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นงบรถยนต์ประจำตำแหน่ง งบค่าน้ำมันฟรี งบตั๋วเครื่องบินฟรี ฯลฯ เพื่อให้งบประมาณโดนจัดสรรเพื่อการวิจัยและพัฒนาให้ทัดเทียมกับประเทศในกลุ่มอาเซียน
โดย กานดา ระบุว่า ปัจจุบันกองทัพไทยมีนายพลประมาณ 1,400 คน[6] ส่วนสหรัฐฯซึ่งเป็นมหาอำนาจทางการทหารมีฐานทัพหลายแห่งทั่วโลกกลับมีนายพลทุกเหล่าทัพรวมกันไม่ถึง 1,000 คน[7] เทียบแล้วสหรัฐฯมีจำนวนนายพลเพียง 2 ใน 3 ของจำนวนนายพลไทย สหรัฐฯ มีกำลังพลประมาณ 3 เท่าของกำลังพลของกองทัพไทย เมื่อเปรียบเทียบด้วยจำนวนประชากรแล้ว  สหรัฐฯมีประชากรประมาณ  5 เท่าของไทย ดังนั้นสัดส่วนกำลังพลของกองทัพไทยต่อประชากรจึงสูงกว่าสัดส่วนกำลังพลของกองทัพสหรัฐฯเสียอีก

3. ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร เปลี่ยนเป็นใช้วิธีสมัครใจ

ในวงประกายไฟเสวนาหัวข้อ "กระชับพื้นที่กองทัพ ขอคืนพื้นที่ประชาชน" เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 54 จิตรา คชเดช[8]เสนอว่าควรยกเลิก การบังคับชายไทยอายุ 21 ปี เข้าเกณฑ์ทหาร แต่ให้เปลี่ยนเป็นวิธีสมัครใจแทน
เช่นเดียวกับ เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล[9] ที่มองว่า การเกณฑ์ทหารเป็นเรื่องที่ล้าสมัย หลายประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกการเกณฑ์ทหารไปแล้ว หรือมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเกณฑ์ทหารเป็นระบบสมัครใจ พวกเขาได้เรียนรู้ว่าความเต็มใจที่จะเป็นทหารนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการบังคับ

4. ลดงบประมาณของกองทัพ เอาไปสร้าง 'ความมั่นคงของประชาชน' อย่างสวัสดิการแทน

เมื่อ 28 ก.ย.51 สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล และกลุ่มประกายไฟ ได้ออกแถลงการณ์ร่วมถึงข้อเสนอการเมืองใหม่[10] ขณะนั้น โดยมีข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปกองทัพตอนหนึ่งว่า ควรลดงบประมาณของกองทัพ เพราะประเทศไทยไม่ได้อยู่ในสภาวะสงคราม ดังนั้นไม่จำเป็นต้องนำงบประมาณจำนวนมากไปใช้สำหรับการส่งเสริมแสนยานุภาพของกองทัพ

5. ย้ายค่ายทหารออกจากเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ไปเป็นรั้วของชาติ

ในแถลงการณ์ร่วมถึงข้อเสนอการเมืองใหม่ข้องต้นยังมีข้อเสนอให้ย้ายค่ายทหารออกจากเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อใช้พื้นที่ดังกล่าวสำหรับสร้างสวนสาธารณะ และศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่คนจน

6. ยกสนามกอล์ฟ สนามม้าของกองทัพบก ให้ชุมชนใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณะ

จากบทความทุนกองทัพไทย (3) : ที่ดินกองทัพบก ของ กานดา[11] เมื่อวันที่ 1 มิ.ย 58 เสนอว่าสนามกอล์ฟและสนามม้าของกองทัพบกก็ควรยกกรรมสิทธิ์ให้ชุมชนใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณะ เช่น ปรับพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะ   เพราะการพัฒนาที่ดินไม่ควรเป็นงานของกองทัพโรงเรียนนายร้อยจปร.ไม่ใช่โรงเรียนผลิตนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แต่เป็นโรงเรียนผลิตทหารที่มีหน้าที่ป้องกันประเทศ นอกจากนี้ยุคนี้ไม่มีชาติไหนขี่ม้ารบกันแล้ว   ไม่ใช่ยุคอัศวินมีไพร่ในสังกัดไม่ใช่ยุคอัศวินใส่ชุดเกราะขี่ม้ารบกัน   ดังนั้นกองทัพบกก็ไม่จำเป็นต้องมีสนามม้าอีกต่อไป 

7. ปฏิรูปกระบวนการจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์โดยมียุทธศาสตร์ที่แท้จริงรองรับ

สุรชาติ บำรุงสุข เขียนไว้ในบทความ ‘การปฏิรูปกองทัพ : ปัญหาการจัดหายุทโธปกรณ์’[12] เสนอว่าปฏิรูปกระบวนการจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์โดยมียุทธศาสตร์ที่แท้จริงรองรับ และขณะเดียวกัน การซื้อก็เกิดจากความต้องการทางยุทธศาสตร์เพื่อตอบสนองต่อโจทย์ความมั่นคงของประเทศในอนาคต ไม่ใช่สนองกระเป๋าของใครในปัจจุบัน

8. ลดภาระงานที่กองทัพทำซ้ำซ้อน เช่น งานบรรเทาสาธารณภัย ควรให้ ปภ. ทำ

เมื่อปี 54 สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงกลาโหม ก็ได้ดำเนินการจัดทำร่าง "แผนพัฒนาขีดความสามารถกระทรวงกลาโหม ปี 2554-2563"[13] ซึ่งมีการตั้งงบประมาณในภารกิจช่วยเหลือ และบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งเป็นงานที่ซ้ำซ้อนกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งไม่ควรซ้ำซ้อนทั้งภาระงาน งบประมาณและกำลังพล

9. เป็น ‘ทหารอาชีพ’

ก่อนรัฐประหาร 19 ก.ย.49 มีการพูดถึงความเป็นทหารอาชีพของทหาร ที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือ อย่างที่นักวิชาการรัฐศาสตร์ชาวอเมริกาคนสำคัญอย่าง ฮันติงตั้น (Samuel Phillips Huntington) เขียนไว้ใน The Soldier and the State: The Theory and Politics pf Civil-Military Relations. Cambridge: Harvard University Press. ปี 1957 ซึ่งอ้างถึงในบทความ “ว่าด้วยการแทรกแซงการเมืองของ "ชายบนหลังม้า" ที่เขียนโดย  พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ เมื่อปลายปี 49 โดยฮันติงตั้น มองว่า "ความเป็นทหารอาชีพ จะไม่ทำให้ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะทหารในสังคมสมัยใหม่นั้นเป็นนักเทคนิคในการบริหารจัดการความรุนแรงของรัฐ ซึ่งต่างจากทหารเมื่อสองร้อยปีที่แล้วที่เป็นนักรบรับจ้าง หรือทหารของพระราชา.."
ในขณะที่พิชญ์ เองกลับมองว่า "วิธีคิดของฮันติงตั้นวางอยู่บนความเชื่อที่ว่า "ความเป็นทหารอาชีพ" นั้นมีอยู่แบบเดียวคือต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือเป็นกลางทางการเมืองทั้งที่บ่อยครั้งความเป็นทหารอาชีพต่างหากที่ผลักดันให้ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะเขาจะเชื่อว่าเขาเป็นข้าฯรับใช้ประเทศชาติและองค์อธิปัตย์มากกว่ารัฐบาลที่ปกครองประเทศอยู่" (ดูเพิ่มเติม : 9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 2 : ความสัมพันธ์กับกองทัพ[14])

10. ยุบ  บก.สส. และกองกำลังส่วนหน้า

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา กษิต ภิรมย์[15] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้เสนอให้ปฏิรูปกองทัพด้วย โดยยุบกองบัญชาการทหารสูงสุด (บก.สส.) และกองกำลังส่วนหน้า เพราะเกินความจำเป็นและเป็นไปไม่ได้ที่ทั้งสองส่วนนี้จะใหญ่กว่า 3 เหล่าทัพ ส่วนเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน คิดว่าจะพูดถึงแค่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นนั้นไม่พอ การกระจายอำนาจต้องรวมถึงภาคเอกชน ภาคชุมชนและภาคประชาสังคมด้วย
เหล่านี้เป็นเพียงการรวบรวมข้อเสนอการปฏิรุปกองทัพที่สามารถค้นได้ในอิเตอร์เน็ตทั่วไป แต่อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า สปช. กลับไม่มีข้อเสนอการปฏิรูปกองทัพ ซึ่ง iLaw มองว่า ทั้งๆ ที่เรื่องการปฏิรูปกองทัพ เคยปรากฏอยู่ในข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูป ชุดของอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งในรายงานของคณะกรรมการชุดดังกล่าว ระบุว่า คณะกรรมการยังมิได้ศึกษาจนชัดเจน แต่มีหลักการเบื้องต้น 3 ประการ[16] ได้แก่
1. ทหารต้องยอมรับอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายแห่งชาติจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
2. ลดภารกิจที่ไม่ใช่กิจการโดยตรงของกองทัพ โดยเฉพาะการเข้ามามีบทบาททางการเมือง
3. ปรับลดขนาด ตำแหน่ง และยุทโธปกรณ์ ที่ไม่จำเป็น แล้วนำทรัพยากรไปทุ่มเทให้กับเพื่อให้กับภารกิจหน้าที่หลักของกองทัพ



[1] เปิดแผน 10 ปีกองทัพผูกพัน "ล้านล้าน" ชงซื้ออาวุธอื้อ http://www.prachatai.com/node/32916/talk
[2] ภัควดี วีระภาสพงษ์, ถ้าข้าพเจ้าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตย ข้าพเจ้าจะปฏิรูปกองทัพ http://www.prachatai.com/journal/2015/05/59480
[3] นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปฏิรูปกองทัพ คือสถาปนาอำนาจสูงสุดของพลเรือน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1424680999
[4] คุยกับสุรชาติ บำรุงสุข : 10 โจทย์ใหญ่กว่า ‘โผทหาร’ สำหรับรมว.กลาโหมใหม่ http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47604
[5] กานดา นาคน้อย: นายพลว่างงาน http://www.prachatai.com/journal/2014/10/56086
[6] http://www.freedomhouse.org/report/countries-crossroads/2011/thailand#.VEIKUPldWQw
[7] http://truth-out.org/index.php?option=com_k2&view=item&id=5920%3Athe-pentagons-biggest-overrun-way-too-many-generals
[8] เสนอออกกม.ลงโทษผู้ยึดอำนาจรัฐที่มาจากปชช. http://news.voicetv.co.th/thailand/17650.html
[9] เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล, แถลงการณ์ปฏิเสธเกณฑ์ทหาร http://prachatai.org/journal/2015/10/62157
[10] นักศึกษา-แรงงาน เสนอการเมืองใหม่ที่เป็นอิสระจาก "พันธมิตร" ปฏิรูปเพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ http://www.prachatai.com/journal/2008/09/18350
[11] กานดา นาคน้อย ทุนกองทัพไทย (3) : ที่ดินกองทัพบก http://www.prachatai.com/journal/2015/06/59565
[12] สุรชาติ บำรุงสุข, การปฏิรูปกองทัพ : ปัญหาการจัดหายุทโธปกรณ์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1437283112
[13] เปิดแผน 10 ปีกองทัพผูกพัน "ล้านล้าน" ชงซื้ออาวุธอื้อ http://www.prachatai.com/node/32916/talk
[14] 9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 2 : ความสัมพันธ์กับกองทัพ http://prachatai3.com/journal/2013/07/47880
[15] "กษิต ภิรมย์" มาเเรง จี้ เร่งปฏิรูปกองทัพ แนะยุบทิ้ง บก.สส.-กองกำลังส่วนหน้า http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1423966926
[16] รายงาน: บทเรียนการปฏิรูปความมั่นคงข้อที่สอง ทั่วโลกกำลังปฏิรูปภาคความมั่นคง http://v-reform.org/v-report/security-reform-lesson-2/