วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สมเด็จวัดปากน้ำขอบิณฑบาต"สุเทพ" ทำบ้านเมืองสงบสุขถวายในหลวง


สมเด็จวัดปากน้ำขอบิณฑบาต"สุเทพ" ทำบ้านเมืองสงบสุขถวายในหลวง


            5 ธันวาคม 2556 go6TV - สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) กล่าวว่า เนื่องในเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้ จึงฝากคำขวัญให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และสาธุชนทั้งหลายว่า เราเป็นคนไทย จิตใจบริสุทธิ์ พระพุทธศาสนามั่นคง ดำรงภูมิพล จึงขอบิณฑบาตนายสุเทพและสาธุชน ขอให้อยู่ในความสงบ ให้มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อีกไม่กี่วันถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคมแล้ว คิดว่านายสุเทพและประชาชนชาวไทยต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้ว ทั้งคณะสงฆ์และพุทธ ศาสนิกชนได้ชื่นใจที่วันนี้มาถึง และขอให้ทุกคนระลึกถึงพระบารมีพระองค์ ที่จะร่วมกันทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข

           "นายสุเทพและประชาชนต่างมีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์เป็นเสมือนบิดาของประชาชนคนไทยทุกคน เป็นพระประมุขของประเทศชาติ คนไทยทุกคนอยู่ภายใต้ร่มพระบารมี ทุกคนเปรียบเหมือนลูกของพระองค์ ทุกคงมีความจงรักภักดีต่อพระองค์และอยากให้พระองค์สุขใจและเมื่อพระองค์เห็นพสกนิกรของพระองค์มีความสุข มีความสงบ มีความร่มเย็น ซึ่งท่านทั้งหลายพึงรู้เห็นอยู่แล้วว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำทุกอย่างเพื่อประชาชนของพระองค์ ดังนั้น อาตมาขอบิณฑบาตนายสุเทพและญาติโยมให้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ขอให้จงมีความสงบและขอให้พระพุทธอิสระ (หลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม) ให้สตินายสุเทพและให้หยุดกระทำทุกสิ่งทุกอย่างกลับไปวัด เพื่อบ้านเมืองจะได้มีความสงบสุข" กรรมการ มส.กล่าว

       สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์กล่าวอีกว่า ที่สำคัญอยากให้ประชาชนมีสติสัมปชัญญะคือ สติ หมายถึงการระลึกได้ ส่วนสัมปชัญญะคือการรู้ตัว หากใช้หลักคุณธรรมทั้ง 2 อย่างนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกคน คือเมื่อเราจะทำอะไร เราก็สามารถระลึกได้ว่า เรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร



A mini-guide to Thai political and media Doublespeak

Wednesday, 4 December 2013


A mini-guide to Thai political and media Doublespeak

I have decided to put together a small guide to the Doublespeak used by Thai fascist supporters, Abhisit Vejjajiva and other Democrat Party stooges and the usual weak reporting produced by the Western media in Thailand.

I'm sure some people will disagree with my interpretations so please leave your own in the comments box.


คำแปลอย่างเป็นทางการ

1 Million people - 50,000 people
ประชาชนหนึ่งล้าน - คือ 50,000 คน


Vast majority - small very violent minority
มวลมหาประชาชน - เสียงส่วนน้อยที่เน้นความรุนแรงมาก


Tyranny – democratically-elected government
ทรราชย์ - รัฐบาลที่ได้รับเลือกตามระบอบประชาธิปไตย


Thaksin-regime – a democratically-elected government led by or allied with the most popular Prime Minister in Thailand’s history.
ระบอบทักษิณ - รัฐบาลที่ได้รับการเลือกมาตามระบอบประชาธิปไตย ภายใต้การนำหรือมีสายสัมพันธ์กับนายกรัฐมนตรีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย


Illegitimate – not backed by the Bangkok elites
ขาดความชอบธรรม - ไม่ได้รับการสนับสนุนโดยกลุ่มชนชั้นนำในกรุงเทพ


Legitimate – backed by the Bangkok elites
มีความชอบธรรม - ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นนำในกรุงเทพ


Populist – health care, nascent welfare state, wealth re-distribution
ประชานิยม - การสาธารณสุข, รัฐสวัสดิการ, การกระจายความมั่งคั่ง


Vote-buying – see Populist
ซื้อเสียง - ดูคำว่า ประชานิยม


Peaceful – violent
สงบสุข สันติ - รุนแรง


People’s Council – unelected body appointed by tiny unrepresentative group of unelected elite persons.
สภาประชาชน - กลุ่มคนที่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ซึ่งแต่งตั้งมาโดยกลุ่มชนชั้นนำกลุ่มเล็ก ๆ ที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง และไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน


Anti-government protesters – anti-democracy rioters
กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล - กลุ่มผู้ก่อการจราจลต่อต้านประชาธิปไตย


Pro-government supporters – pro-democracy activists
กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาล - นักเคลื่อนไหวที่นิยมระบอบประชาธิปไตย


Democrat Party – an ultra-nationalistic and violent Thai fascist party absolutely opposed to democracy led by an "educated" British citizen, Abhisit Vejjajiva.
พรรคประชาธิปัตย์ - อันนี้แปลยาก มีคำขยายยาวๆ ทั้ง violent, fascist, absolutely opposed to democracy, "educated" ใครเก่งช่วยแปลให้หน่อย แต่ขอฮาไว้ก่อน เอิ๊ก ๆๆ


Educated - rich and stupid
ชนชั้นที่มีการศึกษา - แปลว่า รวย และสติวปิด (อ๊ากกกกกกกกกกซ์)


Uneducated - poor and clever
ชนชั้นด้อยการศึกษา - ยากจน และฉลาด


Good people – unelected representatives of tiny elite groups
คนดี - ตัวแทนซึ่งไม่ผ่านการเลือกตั้ง ของชนชั้นสูงกลุ่มเล็ก ๆ


Bad people – elected representatives of the Thai people as mandated in a free and democratic election
คนชั่ว - ตัวแทนของประชาชน ซึ่งชนะการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยแบบเสรี


อันสุดท้าย...
"We are winning" - we are losing
"เราชนะแล้ว" แปลว่า เราแพ้

'ปฏิวัติประชาชน' ในไทย ร้องหา 'ระบอบพ่อขุน'


'ปฏิวัติประชาชน' ในไทย ร้องหา 'ระบอบพ่อขุน'

สำนักข่าวเอ็นบีซีเผยแพร่บทวิเคราะห์ ชี้ 'ปฏิวัติประชาชน' ในประเทศไทย เป็นการร้องหา 'ระบอบพ่อขุน' มุ่งริบเอาสิทธิลงคะแนนไปจากผู้คนส่วนข้างมาก เผย 'สุเทพ' เป็นแค่คนออกหน้า ตัวละครจริงล้วนเล่นหลังฉาก



ผู้สื่อข่าว Ian Williams แห่งสำนักข่าว NBC ในสหรัฐ ได้เขียนบทวิเคราะห์ เรื่อง "Thailand's 'people's revolt' is not quite as billed" (การ 'ปฏิวัติประชาชน' ของประเทศไทย ไม่ได้เป็นอย่างที่เรียกกัน)


รายงานซึ่งเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของเอ็นบีซีเมื่อวันอังคารชิ้นนี้ ระบุว่า คนที่ไปเยือนกรุงเทพจะได้เห็นความทันสมัยทุกอย่าง แต่การเมืองยังคงอยู่ในยุคกลาง ตัวละครสำคัญมักเดินบทบาทอยู่หลังฉาก

วิลเลียมส์ บอกว่า สิ่งที่เรากำลังได้เห็นในกรุงเทพในเวลานี้ ไม่ใช่ "การปฏิวัติประชาชน" อย่างที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้อธิบายในช่วงเวลาหลายวันของการก่อความไม่สงบที่ผ่านมา แรงสนับสนุนเขามาจากชนชั้นนำเก่า รอยัลลิสต์ กับชนชั้นกลางกรุงเทพ ในความเป็นจริง รัฐบาลยังคงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางนอกเมืองหลวงของประเทศออกไป และอาจชนะการเลือกตั้งครั้งใหม่อีก

ตัวนายสุเทพเองก็ไม่ใช่นักรณรงค์การเมืองใสสะอาด เขาเป็นนักเจรจาข้อตกลงลับ เคยถูกตรวจสอบในหลายกรณี แต่มักปฏิเสธว่า ตนไม่ได้ทำอะไรผิด เกือบเป็นที่แน่นอนว่า เขาเป็นเพียงคนออกหน้าในการประท้วงรอบนี้

รายงานระบุว่า เหตุประท้วงในกรุงเทพเป็นเพียงภาคต่อของความขัดแย้งที่ดำเนินมาตั้งแต่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นนายกรัฐมนตรี เขาได้รับเสียงสนับสนุนในชนบท ทำให้ชนะการเลือกตั้งตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ฝ่ายที่ต่อต้านได้โค่นทักษิณในการรัฐประหารเมื่อปี 2549 และโค่นรัฐบาลที่เป็นพันธมิตรของทักษิณโดยใช้ศาล ด้วยข้อหาทำกับข้าวออกทีวีการต่อต้านระลอกล่าสุดนี้ เกิดจากการผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งจะเปิดทางให้พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้าน วุฒิสภาได้คว่ำร่างนั้นไปแล้ว และพรรคการเมืองในสภาได้ถอนร่างออกไปหลังจากถูกประท้วง กระแสต่อต้านได้บานปลายกลายเป็นการขับไล่รัฐบาล

บทวิเคราะห์บอกว่า ในรอบใหม่นี้ กองทัพไม่ต้องการเข้าแทรกแซงโดยเปิดเผย แต่กองทัพยังมีบทบาทสำคัญอยู่หลังฉาก ข้อเรียกร้องที่คลุมเครือของแกนนำการประท้วง ที่จะให้แต่งตั้งคณะกรรมการของ "คนดี" เข้าบริหารประเทศ ดูคล้ายกับสิ่งที่กองทัพเคยพยายามทำมาแล้วเมื่อปี 2549 แต่ปรากฏผลลัพธ์น่าผิดหวัง

ชนชั้นนำเก่าของไทยโหยหาวันคืนแบบเดิมๆ ที่ชาวไร่ชาวนาในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงว่านอนสอนง่าย มีความสุขตามอัตภาพ ภายใต้ระบอบพ่อขุน พวกเขามองว่า ปัญหาจะแก้ได้ด้วยการริบเอาสิทธิเลือกตั้งของพวกคนโง่ไปเสีย เพราะคนพวกนี้ยังคงโหวตเลือกอย่างผิดๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า

วิลเลียมส์ สรุปความเห็นของเขาว่า "นี่เป็นวิธีคิดที่อันตรายที่สุด".

บันทึกไว้ในแผ่นดิน



ในหลวงพระราชทานเครื่องราชฯชั้นสูงสุด มปช.แก่นายกฯ เป็นกรณีพิเศษ
















พระราชดำรัสเรื่องมาตรา 7

           จากการที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ยังยืนยันในข้อเรียกร้องให้มีการตั้งสภาประชาชน พร้อมตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลชั่วคราว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 7 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยมีพระราชดำรัสในเรื่องนี้ เมื่อปี 2549

            พระราชดำรัสในโอกาสที่พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้า ฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล วันอังคาร ที่ 25 เมษายน 2549 ความตอนหนึ่งว่า 

          " มาตรา 7 นั้น ไม่ได้หมายถึงให้มอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามชอบใจ ไม่ใช่. มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินใจทำได้ทุกอย่าง. ถ้าทำ เขาจะต้องว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่. ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเกิน ไม่เคยทำเกินหน้าที่. ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย."

            ทั้งนี้ มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 และฉบับปี 2550 บัญญัติเหมือนกันว่า "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"




ในโอกาสที่พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประธานศาลปกครองสูงสุด 
(นายอักขราทร จุฬารัตน) นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้า ฯ 
ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่
ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
วันอังคาร ที่ 25 เมษายน 2549
(อย่างไม่เป็นทางการ)


           ที่ได้ปฏิญาณนั้นมีความสำคัญมาก เพราะว่ากว้างขวาง หน้าที่ของผู้พิพากษา หน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง มีหน้าที่กว้างขวางมาก. ซึ่งเกรงว่าท่านอาจจะนึกว่าหน้าที่ของผู้ที่เป็นศาลปกครองมีขอบข่ายที่ไม่กว้างขวาง ที่จริงกว้างขวางมาก

          ในเวลานี้ อาจจะไม่ควรจะพูด แต่อย่างเมื่อเช้านี้เอง ได้ยินเขาพูดเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และโดยเฉพาะเรื่องเลือกตั้งของผู้ที่ได้คะแนน ได้แต้มไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เขาเลือกตั้งอยู่คนเดียวซึ่งมีความสำคัญ. เพราะว่าไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เขาคนเดียว ในที่สุดการเลือกตั้งไม่ครบสมบูรณ์.ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับท่านหรือเปล่า. แต่ความจริงน่าจะเกี่ยวข้องเหมือนกัน เพราะว่าถ้าไม่มีจำนวนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งพอ ก็กลายเป็นว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินการไม่ได้. แล้วถ้าดำเนินการไม่ได้ ที่ท่านได้ปฏิญาณเมื่อตะกี้นี้ ก็เป็นหมัน. ถึงบอกว่าจะต้องทำทุกอย่าง เพื่อให้การปกครองแบบประชาธิปไตยต้องดำเนินการไปได้. ท่านก็เลยทำงานไม่ได้. และถ้าท่านทำงานไม่ได้ ก็มีทางหนึ่งท่านอาจจะต้องลาออก เพราะไม่ได้มีการแก้ไขปัญหา ไม่ได้แก้ปัญหา. ที่มีอยู่ต้องหาทางแก้ไขได้ เขาอาจจะบอกว่าต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่เรื่องของตัว. ศาลรัฐธรรมนูญว่าเป็นการร่างรัฐธรรมนูญ. ร่างเสร็จแล้วก็ไม่เกี่ยวข้อง. เลยขอร้องว่าท่านอย่าไปทอดทิ้งความปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบที่จะทำให้บ้านเมืองดำเนินการผ่านออกไปได้

          แล้วก็อีกข้อหนึ่ง การที่จะ ที่บอกว่ามีการยุบสภาและต้อง ต้องเลือกตั้งภายใน 30 วัน ถูกต้องหรือไม่. ไม่พูดเลย ไม่พูดกันเลย. ถ้าไม่ถูกก็จะต้องแก้ไข. แต่ก็อาจจะให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะหรือเป็นอะไร. ซึ่งท่านจะมี จะมีสิทธิที่จะบอกว่า อะไรที่ควร. ที่ไม่ควร ไม่ได้ว่าบอกว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่ฟังดู มันเป็นไปไม่ได้. คือการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย เลือกตั้งพรรคเดียวคนเดียว ไม่ใช่ทั่วไป ทั่ว. แต่ในแห่งหนึ่งมีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้. ไม่ ไม่ใช่เรื่องของประชาธิปไตย. เมื่อไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านก็พูดกันเองว่าท่านต้องดูเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกครองให้ดี. ตรงนี้ขอฝาก อย่างดีที่สุดถ้าเกิดท่านจะทำได้. ท่านลาออก ท่านเอง ไม่ใช่รัฐบาลลาออก ท่านเองต้องลาออก ถ้าทำไม่ได้ รับหน้าที่ไม่ได้. ตะกี้ที่ปฏิญาณไปดูดีๆ จะเป็นการไม่ได้ทำตามที่ปฏิญาณ.

          ฉะนั้นก็ตั้งแต่ฟังวิทยุเมื่อเช้านี้ กรณีเกิดที่ ที่นบพิตำ กรณีที่จังหวัด อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. อันนั้นไม่ใช่แห่งเดียว ที่อื่นมีอีกหลายแห่งที่จะทำให้บ้านเมืองล่มจม บ้านเมืองไม่สามารถที่จะ ที่จะรอดพ้นจากสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้อง. ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านไปศึกษาว่า เกี่ยวข้องอย่างไร ท่านเกี่ยวข้องหรือไม่. แต่ถ้าท่านไม่เกี่ยวข้อง ท่านก็ลาออกดีกว่า. ท่านผู้ที่เป็นผู้ได้รับหน้าที่ ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ เป็นผู้ที่ต้องทำให้บ้านเมืองดำเนินได้. หรือมิฉะนั้นก็ต้องไปปรึกษากับท่านผู้พิพากษาที่จะเข้ามาต่อมา. ท่านผู้พิพากษาศาลฎีกา ท่านผู้นี้ก็คงเกี่ยวข้องเหมือนกัน. ก็ปรึกษากัน 4 คน ก็ท่านปรึกษากับผู้พิพากษาศาลฎีกาที่จะเข้ามาใหม่ ปรึกษากับท่าน ก็เป็นจำนวนหลายคนที่มีความรู้ ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ที่มีความและ มีหน้าที่ที่จะทำให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป. ฉะนั้นก็ขอฝาก คุณอักขราทร ก็ต้องไปพูดกับสมาชิกอื่นๆ ด้วย ก็จะขอบใจมาก.

          เดี๋ยวนี้ยุ่ง เพราะว่าถ้าไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีทางจะปกครองแบบประชาธิปไตย. มีของเรามีศาลหลายชนิด มากมาย แล้วมีสภาหลายแบบ และก็ทุกแบบนี่จะต้องเข้ากัน ปรองดองกัน และคิดทางที่จะแก้ไขได้. นี่พูดเรื่องนี้ค่อนข้างจะประหลาดหน่อย ที่ขอร้องอย่างนี้. แล้วก็ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็บอกว่าต้องทำตามมาตรา 7 มาตรา 7 ของ รัฐธรรมนูญ. ซึ่งขอยืนยัน ยืนยันว่า มาตรา 7 นั้น ไม่ได้หมายถึงให้มอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามชอบใจ ไม่ใช่. มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินใจทำได้ทุกอย่าง. ถ้าทำ เขาจะต้องว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่. ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเกิน ไม่เคยทำเกินหน้าที่. ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย.

        เขาอ้างถึงเมื่อครั้งก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์. ตอนนั้นไม่ได้ทำเกินอำนาจของพระมหากษัตริย์. ตอนนั้นมีสภา สภามีอยู่ ประธานสภา รองประธานสภามีอยู่ แล้วก็รองประธานสภาทำหน้าที่ แล้วมีนายก ที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น. ไม่ ไม่ได้หมายความว่าที่ทำครั้งนั้นผิดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่. ตอนนั้นเขาไม่ใช่นายกพระราชทาน. นายกพระราชทานหมายความว่าตั้งนายกโดยไม่มีกฎเกณฑ์อะไรเลย. ตอนนั้นมีกฎเกณฑ์. เมื่อครั้งอาจารย์สัญญาได้รับตั้งเป็นนายก เป็นนายกที่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ รองประธานสภานิติบัญญัติ นายทวี แรงขำ. ดังนั้น ไปทบทวนประวัติศาสตร์หน่อย. ท่านก็เป็นผู้ใหญ่ ท่านก็ทราบมี มีกฎเกณฑ์ที่รองรับ แล้วก็งานอื่นๆ ก็มี. แม้จะที่เรียกว่าสภาสนามม้า ก็หัวเราะกัน สภาสนามม้า แต่ไม่ผิด ไม่ผิดกฎหมาย เพราะว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนอง. นายกรัฐมนตรี นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับสนองพระบรมราชโองการ. ก็สบายใจว่าทำอะไรแบบถูกต้อง ตามครรลองของรัฐธรรมนูญ. แต่ครั้งนี้ก็เขาจะให้ทำอะไรผิด ผิดรัฐธรรมนูญ ใครเป็นคนบอกก็ไม่ทราบนะ แต่ว่าข้าพเจ้าเองรู้สึกว่าผิด.

         ฉะนั้นก็ขอให้ช่วยปฏิบัติอะไร คิดอะไร ไม่ให้ผิดกฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นสิ่งที่เป็นอุปสรรคและมีความเจริญรุ่งเรืองได้. ขอขอบใจท่าน.



พระราชดำรัส
ในโอกาสที่ประธานศาลฎีกา (นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ) นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่
ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
วันอังคาร ที่ 25 เมษายน 2549








พระบรมราโชวาทสกัดนายกฯ ม.7 ย้ำนายกฯ ต้องมาจาก ส.ส.




"เพื่อไทย"ยกพระบรมราโชวาทสกัดนายกฯ ม.7 ย้ำนายกฯ ต้องมาจาก ส.ส.

          นายโภคิน พลกุล และนายชูศักดิ์ ศิรินิล คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายโภคินกล่าวว่า ข้อเสนอของนักวิชาการที่ระบุว่าหากเกิดสุญญากาศทางการเมืองเมื่อนายกรัฐมนตรียุบสภาฯ และลาออกจากตำแหน่ง จะเข้าเงื่อนไขที่สามารถนำรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 มาบังคับใช้ได้นั้น หากทำเช่นนั้นก็จะทำขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง เนื่องจากในรัฐธรรมนูญระบุให้รักษาการจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีใหม่เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างทางการบริหาร ส่วนกรณีที่บอกว่าเมื่อนายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งแล้วยังต้องลาออกจากตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีด้วยนั้น ยิ่งไม่มีในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แต่มีความพยายามที่จะหาวิธีให้ได้ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีต้องมาจากส.ส. และผู้รับสนองพระบรมราชโองการต้องเป็นประธานสภาฯ เรื่องนี้เคยมีข้อถกเถียงเมื่อปี2549 ว่า ให้ประธานวุฒิสภารับสนองฯได้หรือไม่ แต่ก็เป็นที่ยุติลงด้วยพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2549 ส่วนการตั้งสภาประชาชนนั้นสามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 64 แต่ต้องมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย ถ้าออกนอกกรอบก็เข้าข่ายมาตรา 68 ล้มล้างการปกครอง

          ด้านนายชูศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุด ถึงการเลือกตั้งส.ส.และการขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี ความบางตอนว่า 

           "มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งขอยืนยันว่ามาตรา 7 ไม่ได้หมายถึงให้มอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามชอบใจ ไม่ใช่มาตรา 7 นั้นพูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินได้ ทำได้ทุกอย่าง ถ้าทำเขาก็จะว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่ ซึ่งจริงๆ ไม่เคยทำเกินหน้าที่ ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมากที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทานนายกฯ พระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษ แบบมั่ว แบบไม่มีเหตุมีผล สำคัญอยู่ที่ท่านที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกามีสมองแจ่มใส สามารถกลับไปคิดวิธีที่จะปฏิบัติคือ ปกครองต้องมีสภาฯ สภาฯ ที่ครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วนก็ว่าไม่ได้ แต่อาจจะต้องหาวิธีที่ตั้งสภาฯ ที่ไม่ครบถ้วนแบบตำนานได้ แต่ก็มั่ว ขอโทษอีกทีนะ ใช้คำมั่วไม่ถูก ไม่ทราบใครจะทำมั่ว ปกครองประเทศมั่วไม่ได้ ที่คิดแบบว่าทำปัดๆ ไปให้เสร็จ ถ้าทำไม่ได้ก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่วอีก เพราะพระมหากษัตริย์ไม่มีหน้าที่ที่จะไป ก็เลยต้องมาขอร้องฝ่ายศาลให้คิดและช่วยกันคิด"

http://f.ptcdn.info/299/006/000/1371470759-1065952707-o.jpg


Photo: "นายกรัฐมนตรีต้องมาจากส.ส. และผู้รับสนองพระบรมราชโองการต้องเป็นประธานสภาฯ" - นายโภคิน พลกุล

#PTCyberTalk




จับการ์ดม็อบนกหวีดประชาธิปัตย์ สวมชุดดำพกกระสุนปืนลูกซองเตรียมก่อเหตุ


จับการ์ดม็อบนกหวีดประชาธิปัตย์ สวมชุดดำพกกระสุนปืนลูกซองเตรียมก่อเหตุ

            4 ธันวาคม 2556 go6TV - เมื่อเวลาประมาณ 21.30 น. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งจับกุมตัว นายเสน่ห์ มณีสม การ์ดนกหวีดประชาธิปัตย์ ขณะสวมใส่ชุดดำพร้อมของกลาง กล่องกระสุนปืนลูกซองยี่ห้อ วินเชสเตอร์จำนวน 4 นัด โดยมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนลูกซองไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ความมั่นคง หลังจากขับขี่รถจักรยานยนต์ฮอนด้าคลิ๊ก สีแดงไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ผ่านจุดตรวจถนนดำรงรัก ล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ส่งตัวให้พนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการตามกฏหมายต่อไป







ห้องเรียนประชาธิปไตยของจริง




ม็อบนกหวีดเข้าแถวทำอะไรกัน เหตุเกิดก่อนคืนวันที่ 2


ไทยงงแต่กูทนได้








เซ็นชื่อรับตัง ก่อนป่วนเมืองนะคับ



บีบีซียิงคำถาม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ละอายใจหรือไม่


บีบีซีจี้ถาม 'อภิสิทธิ์' ปชป.หนุนม็อบโค่นปชต.

บีบีซีจี้ถาม 'อภิสิทธิ์' ปชป.หนุนม็อบโค่นปชต.


            บีบีซียิงคำถาม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ละอายใจหรือไม่ พรรคการเมืองเก่าแก่สนับสนุนขบวนการโค่นล้มระบอบประชาธิปไตย ใช้วิถีทางรุนแรง ขณะหัวหน้าพรรคปชป.ป้อง 'สุเทพ' ต่อสู้เพราะเสื่อมศรัทธาต่อระบบ

             เมื่อวันอังคาร ผู้สื่อข่าวบีบีซี โจนาธาน เฮด ได้สัมภาษณ์แบบเผชิญหน้ากับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคการเมืองที่สนับสนุนขบวนการเรียกร้องการ "คืนอำนาจประชาชน"

           ในคลิปวีดีโอ ความยาว 3:54 นาที นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวโทษรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่า มุ่งตอบสนองผลประโยชน์ของพี่ชาย ไม่ตอบสนองเสียงเรียกร้องของมวลมหาประชาชน ทำให้สถานการณ์บานปลาย พร้อมกับโจมตีนายกรัฐมนตรีว่า ไม่ได้แสดงความเสียใจ และไม่แสดงความพร้อมรับผิด

          ระหว่างการสัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวบีบีซี ได้ตั้งคำถามถึงบทบาทของ "พรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดที่ได้สนับสนุนขบวนการที่ไม่เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย" และบทบาทของกลุ่มผู้ชุมนุมที่นำโดยนักการเมืองอาวุโสของประชาธิปัตย์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ได้ใช้ "วิธีการประท้วงที่ไม่เป็นไปโดยสันติ"

          ตลอดการสัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีได้ซักค้านคำตอบของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อถึงตอนกลาง ๆ ของการสัมภาษณ์ บรรยากาศการสนทนาได้เกิดความตึงเครียดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สังเกตได้จากผู้สัมภาษณ์ที่พยายามย้อนถามแทรกเป็นช่วง ๆ และน้ำเสียงของผู้ให้สัมภาษณ์ที่เริ่มตอบอย่างตะกุกตะกัก และต่างฝ่ายต่างมองตอบกันด้วยสายตาเย็นชา

          ในการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ได้ "ให้ข้อมูล" และ "แสดงความเห็น" ในหลายช่วงหลายตอน ทำให้เกิดคำถามว่า สิ่งที่ผู้นำพรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพูด กับสิ่งที่เป็น "ข้อเท็จจริง" นั้น เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่




อภิสิทธิ์ : ผู้ประท้วงและแกนนำรู้สึกเสื่อมศรัทธากับระบบ ผมคิดว่า รัฐบาลต้องตอบสนองเพื่อฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย แต่ไม่มีการยอมรับ ไม่มีความจริงใจ ที่จะยอมรับว่าผู้ชุมนุมมีประเด็นเรียกร้องที่ชอบธรรม


บีบีซี : แต่นั่นไม่ได้สร้างความชอบธรรมให้แก่ขบวนการที่จะโค่นล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้ง

อภิสิทธิ์ : ฟังนะครับ ประชาชนเรียกร้องการลาออก ประชาชนเรียกร้องการยุบสภา

บีบีซี : (ย้อนถามพลางกลั้วหัวเราะ) แต่ผู้ประท้วงพยายามเข้ายึดอาคารรัฐบาลนะครับ

อภิสิทธิ์ : สิ่งที่ผู้ประท้วงได้รับจากรัฐบาลคือ ไม่มีการตอบสนอง แล้วรัฐบาลยังประกาศไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาล (รัฐธรรมนูญ) ซึ่งผู้ประท้วงเห็นว่า รัฐบาลไม่ยอมรับกฎหมาย รัฐบาลได้นำพาประเทศไปถึงวงจรของการโต้เถียงกันไปมา ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมรับว่า อีกฝ่ายเคารพกฎหมาย


             ดังนั้น ความรับผิดชอบในเบื้องแรกตกเป็นของนายกรัฐมนตรี ที่จะแก้ปัญหา และวิธีที่ง่ายที่สุดที่เธอควรทำไปแล้ว คือ ยุบสภา ซึ่งผมได้บอกเธอเช่นนั้นตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และผมได้บอกไปว่า ยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี แต่เธอก็ปล่อยให้เรื่องสายเกินการณ์ ตอนนี้ได้เกิดเหตุรุนแรงแล้ว เกิดสภาพไร้ขื่อแป ยากที่จะหาทางออกได้แล้ว
           เมื่อนายอภิสิทธิ์พูดจบ ผู้สัมภาษณ์ได้ยิงคำถามสวน ผู้สัมภาษณ์ถึงกับมีสีหน้าผงะ และตอบด้วยเสียงอันดัง ทั้งสองได้พูดสวนกัน บางตอน นายอภิสิทธิ์กล่าวตอบอย่างตะกุกตะกัก


นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 
ปราศรัยกับผู้ชุมนุมในกรุงเทพ เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2556


บีบีซี : ท่านรู้สึกละอายใจหรือไม่ ที่พรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่เก่าแก่ที่สุด ได้สนับสนุนโดยเปิดเผยต่อขบวนการที่ไม่เชื่อมั่นในประชาธิปไตย?

อภิสิทธิ์ : เราไม่ได้พูดว่า เราไม่ศรัทธาในประชาธิปไตย เราเพียงแต่บอกว่า เราปกป้องสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญของผู้ประท้วง พวกเขามีสิทธิ์ที่จะชุมนุมโดยสงบ มีสิทธิ์ที่จะปกป้องรัฐธรรมนูญ ด้วยสันติวิธี
บีบีซี : คุณพูดว่าเป็นการชุมนุมโดยสันติ แต่พวกเขาพยายามบุกฝ่าเครื่องกีดขวาง ยิงวัตถุระเบิดใส่ตำรวจ นั่นไม่ใช่สันติวิธี

อภิสิทธิ์ : แต่เราไม่สนับสนุนการกระทำเช่นนั้น และคุณสุเทพก็ไม่สนับสนุนการทำอย่างนั้น

บีบีซี : พรรคของท่านมองอย่างไรต่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีของท่าน และเป็นผู้ใหญ่ในพรรคของท่าน ที่ได้นำการโค่นล้มระบบ?

อภิสิทธิ์ : เขาเป็นคนที่มุ่งมั่นมาก เขาเป็นนักต่อสู้ตัวจริง เขาต้องการบรรลุในสิ่งที่คิดว่าเป็นความดีสำหรับประเทศนี้ เขาลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะเขารู้สึกสิ้นหวัง

บีบีซี : เขาจะรณรงค์ต่อต้านคอรัปชั่นไหม?

อภิสิทธิ์ : ไม่ แต่ประชาชนจำนวนมากออกมาสนับสนุนข้อเรียกร้องของเขา ที่จะต่อต้านคอรัปชั่น

บีบีซี : ขบวนการของเขาได้รับการสนับสนุนมากแค่ไหน?

อภิสิทธิ์ : คุณต้องดูแรงสนับสนุนที่เขาได้รับ ผมไม่ใช่คนที่จะตัดสิน แต่เขาเรียกมวลชนได้เป็นจำนวนมาก
ถึงตอนนี้ ผู้สื่อข่าวบีบีซีพยายามจะถามถึงความชอบธรรมของการประท้วงอีกครั้ง แต่นายอภิสิทธิ์ชิงตอบสวน

บีบีซี : ทำไมบรรยากาศของการประท้วง...?

อภิสิทธิ์ : ผมก็วิตก ผมไม่อยากให้ประเทศตกหล่มอยู่อย่างนี้ นับเป็นเรื่องน่าละอายที่นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในฐานะที่จะก้าวข้ามสิ่งนี้ ไม่ได้นำพาประเทศก้าวพ้นไปจากผลประโยชน์ของพี่ชาย ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลของคนทั้งประเทศ เธอจัดลำดับความสำคัญไม่ถูกต้อง เธอนำประเทศกลับสู่สถานการณ์แบบนี้อีก ถึงเวลาที่เธอจะต้องนำประเทศออกจากวิกฤตนี้ ด้วยการแสดงความพร้อมรับผิด

            ผมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้น แต่อารมณ์ของผู้ประท้วงร้อนแรงมาก หน้าที่ของเรา คือ ถอนชนวนวิกฤตนี้ คนที่จะถอดชนวนได้ดีที่สุด คือ นายกรัฐมนตรี ก่อนอื่น เธอต้องแสดงความเสียใจ และรับผิดชอบในสิ่งที่เธอได้ทำลงไป.





ที่มา : BBC News
ภาพ : AFP