วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เสธ.อ้าย (เควี่ย) หง๋อยแดก

"นิพนธ์" บอกปัดไม่รู้จักเสธ.อ้าย และไม่ขึ้นเวทีไล่ "ยิ่งลักษณ์"


วันที่ 24 ตุลาคม 2555 (go6TV) วันนี้  นายนิพนธ์  พัวพงศกร  นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)     ได้ส่งคำชี้แจงข่าวที่ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ แกนนำ กลุ่มองค์กรพิทักษ์สยาม  กล่าวพาดพิงว่า  นายนิพนธ์ จะไปร่วมขึ้นเวทีปราศรัย เรื่องจำนำข้าว    ในวันที่ 28 ตุลาคม ณ สนามม้านางเลิ้ง   เพื่อขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 " ผมขอชี้แจงว่าผมไม่เคยแจ้งว่าจะไปร่วมปราศรัยเบื้องต้นแต่ประการใด และผมไม่เคยรู้จักกับ พล.อ.บุญเลิศ  แก้วประสิทธิ์ " นายนิพนธ์ กล่าว
          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 23 ตุลาคม  พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ เลขาธิการราชตฤณมัยสมาคม   เปิดเผยว่า นักวิชาการที่จะมาร่วมปราศรัยเบื้องต้น มีนายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จะมาพูดเรื่องโครงการรับจำนำข้าว นายประสิทธิ์ ไชยทองพันธ์ อดีตหัวหน้ากองส่งเสริมมวลชน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) จะมาพูดเรื่องน้ำมัน เพราะอะไรน้ำมันถึงแพง ส่วนเรื่องการเมือง การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กำลังดูอยู่ว่าใครเป็นผู้รู้จริงที่จะมาพูด

"เสธ.อ้าย" หงอย! ลดชุมนุมเหลือแค่ 5 ชม.แล้วกลับบ้าน!


วันที่ 24 ตุลาคม 2555 (go6TV)เมื่อเวลา 12.00 น. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เชิญ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.)รวมไปถึงนายตำรวจระดับสูง มารับประทานอาหารกลางวันร่วมกับ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์กรพิทักษ์สยาม
ร.ต.อ.เฉลิม ปฏิเสธว่า เป็นการทานข้าวเพื่อหารือเรื่องการชุมนุมขององค์กรพิทักษ์สยาม ในวันที่ 28 ตุลาคมนี้ เพราะถือว่าเป็นสิทธิของประชาชน และไม่กังวลกับการจัดการชุมนุมครั้งนี้ ว่าจะเกิดเหตุรุนแรง หรือกลายเป็นการปฏิวัติประชาชน เพราะเชื่อว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
พล.ต.อ.อดุลย์ กล่าวว่า เชื่อว่าการชุมนุมใหญ่หยุดวิกฤติและหายนะของชาติในวันที่ 28 ต.ค. บริเวณสนามม้านางเลิ้งจะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น
ด้าน พล.อ. บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ อ้าย  กล่าวว่า เชื่อว่าการหารือในวันนี้ ร.ต.อ.เฉลิม  จะไม่ขอให้ยกเลิกการชุมนุม 28 ตค. โดยจะเป็นการชุมนุมอย่างสงบ และจะมีการเปิดโปงรัฐบาลมีการบริหารงานที่กอบโกย ซึ่งหากคนมาร่วมชุมนุมน้อยก็ยุติการเคลื่อนไหว แต่หากมีคนมาก ก็จะเดินหน้าต่อไป อย่างไรก็ตาม ยืนยัน ว่า การชุมนุม ครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับแผนบันได 5 ขั้นล้มรัฐบาล และพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินอีกด้วย

โผครม.ปู3 ชุดใหญ่ จัดเต็ม!

โผครม.ปู3 ชุดใหญ่ จัดเต็ม!


รายชื่อโผผู้ที่คาดว่าจะเป็นรัฐมนตรีใหม่ใน"ครม.ปู3"ดังนี้

  • 1.นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็น รมว.มหาดไทย
  • 2.พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.มหาดไทย
  • 3.นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย 
  • 4.นายยุคล ลิ้มแหลมทอง เป็นรมว.เกษตรฯ
  • 5.นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รมช.เกษตรฯ 
  • 6.นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ พรรคชาติไทยพัฒนา เป็น รมช.เกษตรฯ
  • 7.นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯควบ รมว.ศึกษาธิการ
  • 8.นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ 
  • 9.นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นรมว.คมนาคม
  • 10.พล.อ.พฤณฑ์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม
  • 11.นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย รมช.คมนาคม 
  • 12.นายประเสริฐ บุญชัยสุข ส.ส.นครราชสีมา พรรคชาติพัฒนา เป็น รมว.อุตสาหกรรม  
  • 13.นายสนธยา คุณปลื้ม พรรคพลังชล เป็น รมว.วัฒนธรรม 
  • 14.นายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นรองนายกฯ   
  • 15.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็น รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
  • 16.นายวราเทพ รัตนากร เป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ
  • 17.น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ 
  • 18.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ ควบ รมว.ต่างประเทศ 
  • 19.นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน 
  • 20.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็น รมช.พาณิชย์ 

ส่วนรัฐมนตรีที่หลุดจากตำแหน่ง ได้แก่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา พ้นจากตำแหน่งรองนายกฯ และนายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ พ้นจาก รมว.พลังงาน

ลือสะพัด! "ครม.ปู3" ใครหลุด ใครโผล่ ใครม้ามืด!

วันที่ 24 ตุลาคม 2555 (go6TV) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล จากนี้ตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นต้นไปมีคณะรัฐมนตรีและว่าที่รัฐมนตรีจำนวนมากเดินทางเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ตึกไทยคู่ฟ้า มีรายชื่อให้ลุ้น อาทิ

  • นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ
  • นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • นางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม
  • นายชัชชาติ สุทธิพันธ์ รมช.คมนาคม
  • พลตำรวจเอกชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม
  • นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์
  • นายฐานิสร์ เทียนทอง รมช.มหาดไทย
  • นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.พรรคเพื่อไทย
  • นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช อดีต รมช.มหาดไทย
  • นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ อดีต รมช.แรงงานและสวัสดิการสังคม
  • นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีต รมว.ยุติธรรม
  • นายเพรียวพันธ์ ดามาพงศ์

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถามนายพงศ์เทพว่า การเข้าพบนายกรัฐมนตรีครั้งนี้เป็นการนำประวัติการทำงานมาส่งเพื่อประกอบการเป็นรัฐมนตรีใช่หรือไม่ โดยนายพงศ์เทพกล่าวเพียงว่า "ไม่รู้ ไม่ทราบ"



ในขณะที่อีกกระแสข่าวรายงานว่า การปรับคณะรัฐมนตรีที่จะมาถึงนี้ จะเป็นการปรับใหญ่ ซึ่งคาดว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ อาจมาเป็นรองนายกรัฐมนตรี ดูแลความมั่นคง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  และอาจจะโยก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แทนนายชูชาติ หาญสวัสดิ์ ที่คาดว่า จะถูกปรับออก  นายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือ มท. 3 แทน นายฐานิสร์ เทียนทอง ที่คาดว่า จะถูกโยกไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แทน  พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก ที่คาดว่า อาจจะหลุดจากตำแหน่ง

ขณะที่สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ที่คาดว่า จะได้รับการแต่งตั้งคือ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นรองนายกฯ ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง  นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อาจเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แทน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ที่อาจจะหลุดจากตำแหน่ง ขณะที่คาดว่า นายวราเทพ รัตนากร อาจมาเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่สามารถแต่งตั้งเพิ่มได้

นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์กันถึงรัฐมนตรีบางคน ทึ่อาจสลับตำแหน่ง เช่น นายปลอดประสพ สุรัสวดี ที่มีรายงานข่าว อาจถูกโยกไปเป็นรองนายกรัฐมนตรี เพื่อดูแล กบอ.คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ และอุทกภัย เพียงตำแหน่งเดียว  ขณะที่อาจจะมีสลับนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เช่นเดียวกัน  ส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นโควต้าภาคเหนือ อาจแต่งตั้งนายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ มาเป็นแทนนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ที่คาดว่า อาจจะหลุดจากตำแหน่ง 

ส่วนตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยฯ หลายกระทรวง มีชื่อของนายประชา ประสพดี  ส.ส.สมุทรปราการ  นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร  ส.ส.มหาสารคาม  นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา  นายจักริน พัฒน์ดำรงจิต  ส.ส.ขอนแก่น

ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาล มีชื่อของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม   นายสนธยา คุณปลื้ม อาจเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามคาดว่า การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว และอาจจะเสร็จสิ้นภายในสัปดาห์นี้ เพื่อป้องกันแรงกระเพื่อมภายในพรรคเพื่อไทย

"แท็กซี่" ป่วน! ปาดหน้ารถ "นายกฯยิ่งลักษณ์" โดนสกัดจับทัน!

"แท็กซี่" ป่วน! ปาดหน้ารถ "นายกฯยิ่งลักษณ์" โดนสกัดจับทัน!




        ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อgวลา14.10 น. ได้เกิดเหตุระทึกกับขบวนตามนายกรัฐมนตรี ขณะที่กำลังออกจากรัฐสภา เพื่อเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองทองธานีเพื่อปฏิบัติภาระกิจ เมื่อขบวนมาถึงแยกกองทัพภาคที่ 1 ลานพระบรมรูปทรงม้าปรากฏว่านายพงษ์พิชาญ ธนาภิรพงษ์ ได้จอดรถแท็กซี่สีชมพู ทะเบียน ทย-9522 จอดรออยู่และเปิดประตูออกมาชูป้ายข้อความ และขวางขบวนรถของนายกฯ ทำให้ทีม รปภ.ชุดล่วงหน้าต้องมากันตัวไว้ จนที่สุดขบวนของนายกรัฐมนตรีก็ผ่านไปได้ แต่นายพงษ์พิชาญไม่ยอมหยุดเพียงเท่านั้น โดยได้ขับรถตามขึ้นมา และตบออกขวาด้านหน้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อแซงรถสื่อมวลชน จนทำให้รถของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ และรถของ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 เสียจังหวะและชนท้ายกันเอง แต่นายพงษ์พิชาญก็ยังไม่ยอมหยุด และพยายามจะแซงมาให้ทันขบวนของนายกฯ แต่ในที่สุดทีม รปภ. ตำรวจ 191 และจราจรนำรถมาสกัด รถของนายพงษ์พิชาญไว้ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวนายพงษ์พิชาญไปที่ สน.นางเลิ้ง



"สุกำพล" ฮึ่ม ! ห้ามทหารร่วมม๊อบ เสธ.อ้าย

"สุกำพล" ฮึ่ม ! ห้ามทหารร่วมม๊อบ เสธ.อ้าย



           วันที่ 25 ตุลาคม 2555 (go6TV) พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มบุคคลพยายามล้มรัฐบาลว่า คนที่ไม่ชอบ คนที่อยากเป็นรัฐบาลก็ต้องพยายามไม่ให้รัฐบาลอยู่ เป็นเรื่องธรรมชาติ เปรียบเหมือนนักมวย 2 คนชกกันก็ต้องอยากชนะ เพราะไม่มีใครชนะทั้งคู่ แต่วิธีการเป็นเรื่องสำคัญ ตนถามว่าวิธีการแบบนี้ดีหรือไม่ ไม่ใช่แค่บอกว่ามีหลักฐานเด็ด สื่อควรวิจารณ์ว่า ดำเนินการแบบนี้ดีหรือไม่ ทำแล้วประเทศชาติจะดีขึ้นหรือไม่คงต้องดูเอา
          ส่วน พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม นัดชุมนุมใหญ่วันที่ 28 ต.ค.นี้ ขอเฝ้าดูอยู่เฉยๆ ไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ แต่ถ้ามีการชักชวนทหารเข้าร่วมชุมนุมก็เป็นปัญหา ตนเชื่อว่าทหารคงไม่ไปร่วมชุมนุม คงรู้ว่าอะไรเป็นอะไร อย่างไรก็ตามเป็นสิทธิส่วนตัวไม่ว่ากัน แต่ควรจะรู้ขอบเขตว่าควรหรือไม่ ส่วนผู้นำเหล่าทัพก็ทราบนโยบายแล้วคงไม่ต้องกำชับทุกวัน เพราะทุกคนรู้ว่าอะไรเหมาะหรือไม่เหมาะ ตนมั่นใจ ผบ.เหล่าทัพมากที่สุดว่าคงไม่มีใครมาดึงไปยึดอำนาจ
          การชักชวนผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยมาร่วมชุมนุม อยากถามว่าการทำแบบนี้เป็นการพัฒนาชาติไทยหรือไม่ หรือทำให้มันเลวลง ซึ่งการชุมนุมเขาต้องการผู้มาร่วมชุมนุมจำนวนมาก แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลนี้ประชาชนเลือกมาถ้าทำงานไม่ได้ก็จะส่งผลถึงการเลือกตั้งครั้งหน้า หากรัฐบาลทำงานมีปัญหาหรือผิดตรงไหนก็ไปฟ้ององค์กรต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย และเข้มแข็งกว่าประเทศใดในโลก มีสิทธิมากมายทุกอย่างทำอะไรมีปัญหาหมด จะประมูลอะไรก็มีปัญหา ไม่เคยราบรื่น

บื้องหลัง! "สายตรงภาคสนาม"

"จุลสารราชดำเนิน" แฉเบื้องหลัง! 

"สายตรงภาคสนาม" คือ "นักข่าวใหญ่ผู้สนิทสนมหัวหน้าพรรคฯ"


25 ตุลาคม 2555 (go6TV) ฮือฮาอย่างแรงส์.. ในหมู่นักข่าวนักหนังสือพิมพ์ เมื่อจุลสาร “ราชดำเนิน” ฉบับเดือนตุลาคม 2555 ไขปมปริศนาใครคือเจ้าของเพจ “สายตรงภาคสนาม”  ระบุ “นักข่าวใหญ่-นักข่าวน้อย” ผู้ใกล้ชิด “หัวหน้าพรรคการเมือง” ร่วมจัดทำเพจลวงโลก

จุลสาร “ราชดำเนิน” ฉบับเดือนตุลาคม 2555 หน้า 30-31 ได้เผยแพร่บทความ “ฝ่ากระแสโซเชียลมีเดีย” หัวข้อ “ล้วงลึกแฟนเพจ “สายตรงภาคสนาม” ยุทธการอัพโหลด “เราไม่เป็นกลาง” กล่าวถึงเพจสายตรงภาคสนาม ที่ถูกตั้งคำถามจากนักข่าวภาคสนามตัวจริงว่า คนทำเพจดังกล่าวเป็นใครไม่ควรเป็นอีแอบ แต่คำตอบที่ได้กลับมาจากเพจสายตรงภาคสนามคือ “เราเป็นนักข่าวตัวจริง”

เมื่อทีมงาน “ราชดำเนิน” ตรวจสอบลึกลงไปปรากฏว่า ปฏิบัติการ อัพโหลด เพจสายตรงภาคสนามนั้น เป็นการทำงานลับๆ ของนักข่าวกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งซึ่งประจำอยู่ที่พรรคการเมืองหนึ่ง!

ว่ากันว่า ตัวจริง “สายตรงภาคสนาม” มีผู้ทำหน้าที่หลัก 2 คน คือ
1.      นักข่าวใหญ่ ผู้เป็นตัวหลักในการเรียบเรียงข้อมูลที่ถูกรับสารและป้อนข้อมูลจาก “นักการเมืองในพรรคการเมืองหนึ่ง” ที่ล้วนทำหน้าที่เป็น “กระบอกเสียง และไกล้ชิดกับหัวหน้าพรรคการเมืองนั้นด้วย

2.      นักข่าวน้อย จากสื่อฯโทรทัศน์ สำนักหนึ่งที่สนิทสนมกับนักข่าวใหญ่ มีอุดมการณ์การเมืองเหมือนกัน มาทำกราฟฟิคดีไซน์ ให้เพจสายตรง 
ทั้งสองคน “ต่างใช้พรรคการเมืองที่ประจำอยู่ และที่รัฐสภา” เป็นฐานที่มั่น “อัพโหลด” ข้อมูลอย่างไม่เกรงกลัวสายตาสื่อรอบข้างที่อาจสะกดจ้อง?!

ยิ่งกว่านั้น เพจสายตรงฯ ยังได้รับการสนับสนุนข้อมูลและภาพจากแนวร่วมอาชีพเดียวกันอย่างลับๆ และนำไปเผยแพร่ยัง “เว็บไซต์” สำนักข่าวหนึ่งเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

เป็นที่รับรู้กันในสนามข่าวการเมืองว่า “นักข่าวใหญ่” นั้นคือใคร  มีครั้งหนึ่ง “นักข่าว” เคยไปถามตรงๆกับ “นักข่าวใหญ่” ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเพจสายตรงหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่รู้”


นอกจากนี้ เว็บไซต์ชื่อดัง แห่งหนึ่ง ได้ลงข้อความในทำนองเดียวกันความว่า

“เพราะจากการตรวจสอบของ ทีมงาน SiamLeaks” พบว่ากลุ่มคนที่ดำเนินการขับเคลื่อนนั้นประกอบไปด้วย 2 ส่วนสำคัญคือ 1.กลุ่มนักข่าวภาคสนาม  ซึ่งประจำการอยู่ที่ พรรคประชาธิปัตย์หรือที่เรียกว่า นักข่าวประจำพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งไม่ได้หมายความว่า นักข่าวประจำพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมดจะเป็นผู้ดำเนินการ เพราะข้อเท็จจริงปรากฎว่า มีเพียง 1-2 คน เท่านั้น ที่อาศัย ร่มเงาความเป็น นักข่าวเป็น เปลือกในการอยู่เบื้องหลัง เพจสายตรงภาคสนามอย่างเมามันส์
แต่คนที่สำคัญก็คือ  นักข่าวสาวใหญ่ วิกหลายสีผู้ตั้งตัวเป็น เอ็ม (M)” ที่มาจากอักษรตัวต้นของคำว่า  MARK  ซึ่งเป็นชื่อเล่นของ  อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรค ปชป.
ซึ่งล่าสุด เธอผู้นี้เพิ่งออกมาโวยวายว่า รัฐบาลปิดกั้นและแทรกแซงสื่อ ที่ไม่ส่งชื่อ เธอไปต่างประเทศร่วมคณะนายกรัฐมนตรีเห้อ !!!
ว่ากันว่า นักข่าวสาวxxxxxxx” ผู้อยู่เบื้องหลัง เพจสายตรงภาคสนามผู้นี้ นอกจากจะเป็นนักข่าวประจำพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ยัง คลั่งไคล้พ่อหนุ่ม “MARK” อย่างออกหน้าออกตา ทำตัวเป็น องครักษ์พิทักษ์ MARK”  จนสร้างความเอือมระอาให้กับ บรรดาเพื่อนนักข่าว
ยิ่งเมื่อครั้ง “MARK” ได้ดิบได้ดี ขึ้นนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี เธอผู้นี้ก็ใช้อภิสิทธิ์ ไปพักผ่อนชายทะเล ส่วนตัวกับ ครอบครัวผู้นำประเทศหลายครั้ง !
กระทั่งวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ที่ ประชาธิปัตย์พ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับ พรรคเพื่อไทย ว่ากันว่า เธอผู้อยู่ในคราบ นักข่าวสาวผู้ยึดมั่นใจ วิชาชีพก็ปล่อยโฮ !!! ร้องไห้ น้ำตาไหล ฟูมฟาย อย่างไม่อายหน้าอินทร์หน้าพรหม และ เพื่อนนักข่าวที่เกาะติดผลการเลือกตั้งในวันนั้น”
ดังนั้น แม้จุลสาร “ราชดำเนิน” และ “เว็บไซต์” ชื่อดัง จะไม่เอ่ยว่าเบื้องหลังเพจสายตรงภาคสนามคือใคร แต่ “ผู้อ่าน” ย่อมรู้ได้ทันทีว่าใครคือ “นักข่าวลวงโลก ผู้อยู่เบื้องหลังเพจสายตรงภาคสนาม!

มหากาพย์ 3G


  มหากาพย์ 3G ประมวลข้อท้วงติง-คำโต้แย้ง-6 คำวินิจฉัยศาลปกครอง
Posted: 24 Oct 2012 10:38 AM PDT (อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท)


     เปิดบทวิเคราะห์สถานการณ์ 7 ข้อ กสทช.โต้วิพากษ์ประมูล 3G พร้อมประมวล 6 คำฟ้อง-คำสั่งศาลปกครองกรณีทักท้วงการประมูล 

     ด้านการตรวจสอบ ป.ป.ช.รับลูกเตรียมประชุมสรุปฮั้วประมูลพรุ่งนี้ ส่วน กมธ.วุฒิเรียกกสทช.ผู้วิจัยจุฬาฯ ร่วมประชุม 


     หลังการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz อันถือเป็นประวัติศาสตร์การประมูลคลื่นครั้งแรกของไทย เมื่อวันที่ 16 ต.ค.55 ผ่านพ้นไป และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค.ได้มีมติเห็นชอบผลการประมูล (อย่างไม่เป็นเอกฉันท์) แล้ว แต่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถึงกรณีการทุจริตในการประมูล-ราคาตั้งต้นการประมูลที่ไม่เหมาะสม-การแข่งขันที่ไม่เกิดขึ้นจริง ก็ยังมีอยู่ต่อเนื่อง ไม่หยุดหย่อน
ภาพข่าว: ''กสทช.'' นำเอกสารประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz ยื่น ''ป.ป.ช.'' ตรวจสอบ ยืนยันความโปรงใส
            ความเคลื่อนไหวล่าสุด เพื่อเป็นการทานกระแสคัดค้านการประมูล เมื่อวันที่ 24 ต.ค.55 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ได้เดินทางด้วยตนเองไปยื่นเอกสารเกี่ยวกับการประมูลทั้งหมดที่สำนักงาน กสทช.จัดรวบรวมขึ้น แก่หน่วยงานต่างๆ ที่มีอำนาจในการตรวจสอบ ทั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)

กสทช.เปิดบทวิเคราะห์สถานการณ์ 7 ข้อ โต้วิพากษ์ประมูล 3G

            ก่อนหน้านี้ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.และหนึ่งใน กทค.เปิดเผยผลการวิเคราะห์สถานการณ์ของการคัดค้านการประมูล 3G ใน 7 ประเด็น ดังนี้
           1.การเคลื่อนไหวต่อต้านการประมูล มีการนำประเด็นเรื่องสัมปทานมาเกี่ยวข้องทั้งๆ ที่มีหลายคนมีแนวคิดที่ไม่เห็นด้วยกับระบบสัมปทานมาก่อน รวมทั้งเคยผลักดันให้มีการเปลี่ยนจากระบบสัมปทานเป็นระบบการแข่งขัน แต่ตอนนี้มีความพยายามนำเรื่องการประมูลมาเปรียบเทียบกับข้อดีของระบบสัมปทาน ทั้งๆ ที่ระบบการประมูลคลื่นความถี่จะเป็นการช่วยลดการผูกขาด อำนาจของหน่วยงานของรัฐ เพิ่มการแข่งขันให้ภาคเอกชน ส่งผลให้คุณภาพบริการดีขึ้น และราคาค่าบริการถูกลง การนำประเด็นเรื่องราคาตั้งต้นการประมูลมาโจมตีว่า กสทช.ตั้งราคาตั้งต้นการประมูลต่ำไป โดยมีการสื่อข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่คลาดเคลื่อนและนำมาเปรียบเทียบกับมูลค่าสัมปทาน ทั้งๆ ที่การประมูลครั้งนี้เป็นการนำคลื่นความถี่ที่ไม่อยู่ภายใต้สัมปทานมาจัดสรรให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยมิได้เข้าไปแทนที่ระบบสัมปทาน จึงเป็นเรื่องที่น่ากังขาอย่างยิ่ง
           2.การเคลื่อนไหวคัดค้านการประมูลในครั้งนี้เคลื่อนไหวในประเด็นที่ต้องการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาล โดยการพยายามให้ กสทช.หารายได้ให้รัฐบาลเยอะๆ และมุ่งโจมตีว่ารัฐบาลจะเสียผลประโยชน์จากการประมูลในครั้งนี้ ทั้งๆ ที่ กสทช.เป็นองค์กรของรัฐก็จริงแต่เป็นอิสระจากรัฐบาลและมิได้มีหน้าที่หารายได้ให้รัฐบาล แต่ต้องจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน จึงมีข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงเคลื่อนไหวเช่นนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดต่อบทบาทอำนาจหน้าที่ของ กสทช.ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
            3.การให้ กสทช.กำหนดราคาตั้งต้นการประมูลสูงเกินไปโดยไม่มีหลักวิชาการรองรับ ทำให้ส่งผลเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายย่อยไม่ให้เข้าร่วมการประมูลได้ ทำให้ตลาดผูกขาดเฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น เหตุใดการคัดค้านจึงต้องการให้ กสทช.กำหนดราคาตั้งต้นที่สูงอย่างไม่มีเหตุผล โดยมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงจากผลการศึกษาของคณะผู้วิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คลิกอ่านรายงานฉบับเต็ม) เช่นนี้ หาก กสทช.ทำตามข้อเรียกร้อง ย่อมเป็นการทำให้ กสทช.กระทำผิดกฎหมาย เนื่องจากถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรายใหญ่และมุ่งหารายได้ให้รัฐบาล โดยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบที่รัฐธรรมนูญกำหนดที่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน
            4.กระบวนการโจมตีการทำงาน และ discredit กสทช.ถูกทำอย่างเป็นระบบ มีการเคลื่อนไหวตั้งแต่ก่อนการประมูล มีการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ส่งต่อกันเป็นทอดๆ มีการปลุกระดมโดยใช้สื่อหลายแขนง ซึ่งถ้ากระบวนการนี้ยังดำเนินต่อไปอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง ประชาชนบางกลุ่มอาจถูกโน้มน้าวให้เกิดความเข้าใจผิดๆ จนต้องการให้ล้มการประมูล 3Gครั้งนี้
           5.มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า กระบวนการเคลื่อนไหวนี้มิได้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการอย่างสุจริตใจ เนื่องจากมีการปลุกเร้าให้คนไทยเกลียดชังและหวาดระแวงว่า กสทช.ทำให้รัฐสูญเสียรายได้นับหมื่นล้าน ทั้งที่จริงๆ แล้วคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลครั้งนี้ รัฐบาลไม่ได้มีต้นทุนใดๆ เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วและใช้ได้ตลอดไปโดยสามารถกำหนดระยะเวลาการใช้ตามอายุของใบอนุญาตได้ เมื่อหมดใบอนุญาตก็สามารถนำมาจัดสรรได้ใหม่ และที่ผ่านมาคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz จำนวน 45 MHz ก็ถูกทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใดๆ ตรงกันข้าม หากไม่มีการนำคลื่นความถี่นี้มาจัดสรร หรือประวิงเวลาให้การจัดสรรคลื่นย่านความถี่นี้ต้องล่าช้าออกไป จะทำให้เกิดวิกฤตต่อระบบโทรคมนาคมของไทยและเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล
           6.อีกไม่ถึง 2 ปี เราก็จะเข้าสู่ AEC แล้ว หากประเทศไทยยังมีระบบโทรคมนาคมที่ไม่มีประสิทธิภาพเราก็จะแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ไม่ได้ และเมื่อบริษัทโทรคมนาคมของต่างชาติเข้ามาแข่งขัน บริษัทโทรคมนาคมของไทยจะไม่มีโอกาสเติบโตได้ การขัดขวางผลการประมูล 3G จะทำให้ต่างชาติได้ประโยชน์แต่ประเทศไทยเสียหายย่อยยับ จึงมีหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นเรื่องที่ผิดปกติที่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้โดยทำให้ประเทศชาติเสียหาย แต่ต่างชาติได้ประโยชน์
          7.มีการโจมตีการทำงานของ กทค.เช่น โจมตีว่า กทค.เร่งรับรองผลการประมูล และ รีบให้ใบอนุญาตโดยพิรุธ ทั้งๆ ที่สื่อมวลชนก็เห็นแล้วว่าเราได้มีการถ่ายทอดเสียงในวันพิจารณาผลการประมูล โดยมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ได้มุบมิบแอบทำ และไม่ได้ลุกลี้ลุกลนแต่ต้องดำเนินการตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้มีการกล่าวหาว่า กสทช.เร่งรัดออกใบอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูล ซึ่งไม่เป็นความจริง ดังจะเห็นได้จากวันที่ 22 ต.ค.55 ที่ กทค.ได้แถลงการณ์ยืนยันว่ามีเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการก่อนให้บริการ 3G (คลิกอ่านแถลงการณ์) ซึ่งเราต้องแน่ใจก่อนว่าผู้ประกอบการต้องทำตามเงื่อนไขที่เรากำหนดก่อนว่าประชาชนผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์สูงสุด

คอมเมนต์ส่งตรงถึง กสทช.การประมูลเข้าข่ายฮั้วประมูล?!?

             แม้ กสทช.และกทค.บางส่วนจะออกมาให้ข่าวยืนยันว่าทำเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประชาชน แต่ในอีกฟากฝั่งหนึ่งของคนที่เฝ้าจับตาและตั้งคำถาม ก็ยืนยันเหตุผลเดียวกันนี้ว่า พวกเขาตั้งคำถามและตรวจสอบการประมูลก็เพื่อผลประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติเช่นกัน

           1.นายณกฤช เศวตนันท์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ พ.อ.เศรฐพงษ์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค.มีหนังสือแนะนำให้มี
การประมูลใหม่เพราะเข้าข่ายฮั้วประมูล
            2.น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ทำหนังสือ "ด่วนที่สุด" ที่ กค (กพวอ) 0421.3/42301 ลงวันที่ 18 ต.ค.2555 ส่งตรงถึงประธาน กสทช.

ประมวล 6 คำฟ้อง-คำสั่งศาลปกครอง กรณีการทักท้วงประมูลคลื่น

              นอกจากนี้ช่วงเวลาก่อนการประมูลคลื่นความถี่ กลุ่มบุคคล ทั้งองค์กรภาคประชาสังคม พนักงาน บมจ.ทีโอที และนักวิชา​การอิสระด้าน​โทรคมนาคม ได้ยื่น​ฟ้อง กสทช.ต่อศาลปกครอง กรณีการจัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz จำนวนทั้งสิ้น 6 คดี ต่อมาคดีทั้งหมดศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
              อย่างไรก็ตาม คำฟ้องดังกล่าวในหลายคดีมีรายละเอียดที่น่าสนใจ แม้อีกหลายคดีจะถูกมองว่ายื่นฟ้องโดยมีเป้าหมายต้องการล้มการประมูลอย่างเห็นได้ชัดจากระยะเวลายื่นอันกระชั้นชิดกับการประมูล
ทั้งนี้ 6 คดี ดังกล่าวประกอบด้วย
             1.นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มการเมืองสีเขียว หรือกลุ่มกรีนและพวก ฟ้อง กสทช.เมื่อวันที่ 15 ต.ค.55 คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยฟ้องให้เพิกถอนประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 GHz เนื่องจากเห็นว่า กสทช.กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและราคาการประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้รัฐสูญเสียรายได้ โดยขอให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและไต่สวนฉุกเฉินการเปิดประมูลใบอนุญาตฯ ของ กสทช.จนกว่าการปรับแก้จะแล้วเสร็จ
              เมื่อวันที่ 22 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดยศาลเห็นว่า ผู้ที่จะมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อให้ตรวจสอบการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองทั่วไปในกรณีนี้ได้แก่ผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่หากเป็นบุคคลทั่วไป บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพและได้ความเดือดร้อนเสียหายโดยตรงจากประกาศของ กสทช. แม้ว่าเหตุแห่งการฟ้องคดีของนายสุริยะใสกับพวกที่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำฟ้องจะมีข้อเท็จจริงพวกสมควรที่ทำให้ศาลในคดีนี้เห็นว่าอาจจะมีประเด็นที่สมควรตรวจสอบการใช้ดุลพินิจและความชอบด้วยกฎหมายของประกาศ กสทช. แต่เมื่อนายสุริยะใสกับพวกเป็นประชาชนทั่วไปมิได้มีส่วนได้เสียกับประกาศของ กสทช.จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง อย่างไรก็ตามหากในอนาคตเห็นว่า กสทช.มีการกระทำทางปกครองที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะและละเมิดสิทธิเสรีภาพของนายสุริยะใสกับพวกก็อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้
            2.นายนราพล ปลายเนตร พนักงาน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และพวกรวม 3 คน ฟ้อง กสทช.และสำนักงาน กสทช. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยขอให้มีคำสั่งชะลอการประมูลคลื่นความถี่ และเพิกถอนประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้คลื่นความถี่ผ่าน 2.1 GHz ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นหนังสือต่อ ประธาน กสทช.ขอให้ตรวจสอบการโอนทรัพย์สินของบริษัทที่ได้สัมปทานให้แล้วเสร็จก่อนอนุญาตให้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ และชะลอการเปิดประมูลคลื่นไว้ก่อนจนกว่าจะมีการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาต พร้อมเปิดเผยข้อมูลและการตรวจสอบต่อสาธารณะ
             เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดยศาลเห็นว่าผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากประกาศดังกล่าว ส่วนการระบุว่า กสทช.ไม่ปฏิบัติตามบทเฉพาะกาลมาตรา 82 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ กรณีจะต้องตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาดังกล่าว พร้อมเปิดเผยข้อมูลและ การตรวจสอบต่อสาธารณะ ตามที่ได้ยื่นหนังสือถึงประธาน กสทช.ไปก่อนหน้านี้ ผู้ฟ้องคดีมีสิทธิฟ้องศาลให้ กสทช.ปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ยังไม่ใช่ในคดีนี้ (เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่ขอให้มีคำสั่งชะลอการประมูลคลื่นความถี่ และเพิกถอนประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้คลื่นความถี่ผ่าน 2.1 GHz)
              3.นายบุญชัย รุ่งเรืองไพศาลสุข ฟ้อง กสทช.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนประกาศหลักเกณฑ์และจัดการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ คดีนี้นายบุญชัยประสงค์จะโต้แย้งการกระทำของ กสทช.ที่มิได้นำความคิดเห็นที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป อันได้แก่ ข้อเสนอเรื่องอัตราค่าบริการจากโครงการ “3G-200” คือให้ประชาชนเสียค่าใช้จ่ายสูงสุดในการใช้โทรศัพท์ในระบบ 3G ในอัตรา 200 บาทต่อเดือน หากใช้ไม่ถึง 200 บาท ก็ให้จ่ายตามจริง ที่เสนอโดยเครือข่ายโทรคมนาคมเพื่อประชาชน กำหนดไว้ในประกาศของ กสทช.
             เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดยศาลเห็นว่า การดำเนินการของ กสทช.ยังไม่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของนายบุญชัย ตามมาตรา 28 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการละเมิดสิทธิเสรีภาพของนายบุญชัยในฐานะประชาชนทั่วไปในคดีจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการประมูลเกิดขึ้น และผู้ชนะประมูลซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ได้ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยมีอัตราค่าบริการที่สูงเกินไป และ กสทช.ไม่ได้ดำเนินการ หรือละเลยไม่ดำเนินการกับผู้รับใบอนุญาต เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างถูกต้องเป็นธรรม นายบุญชัยจึงจะเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายจากการงดเว้นการกระทำของ กสทช.
             4.สมาคมสถาบันคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค ฟ้อง กสทช.และสำนักงาน กสทช.เมื่อวันที่ 10 ต.ค.55 คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนประกาศ กสทช.และสำนักงาน กสทช.เรื่องรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการ โทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่ประกาศให้เอไอเอส ดีแทค และทรู มีสิทธิเข้าร่วมประมูล 3G โดยเฉพาะในกรณีผู้ขอรับใบอนุญาตบางรายไม่มีคุณสมบัติเนื่องจากเป็นคนต่างด้าว พร้อมขอให้ศาลพิจารณาไต่สวนฉุกเฉินและมีคำสั่งระงับเปิดการประมูลเป็นการชั่วคราว จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น 
             เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ขณะนี้ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำของ กสทช.และสำนักงาน กสทช.ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 อีกทั้งมูลเหตุแห่งการฟ้องคดีตามที่กล่าวอ้าง อาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นในอนาคต หากในอนาคตเป็นไปตามที่กล่าวอ้าง ก็ยังมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลได้ภายหลัง
              5.พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ และพวกรวม 3 คน ฟ้อง กสทช.คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีประกาศหลักเกณฑ์และจัดการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz โดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ เพราะการเรียกเก็บเงินประมูลขั้นต่ำ 4,500 ล้านบาท อาจทำให้ กสทช.ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคได้ตามกฎหมาย โดยขอให้ศาลปกครองกลางสั่งเพิกถอนประกาศดังกล่าว และขอทุเลาการบังคับตามประกาศ
              เมื่อวันที่ 15 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เงินที่ได้จากการประมูลหลังหักค่าใช้จ่ายย่อมตกเป็นของแผ่นดิน กสทช.จึงไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ของผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่แต่อย่างใด และหากมีกรณีที่ กสทช.จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้เงินประมูลคลื่นความถี่หรือหนี้อื่นใดก็เป็นเพียงการดำเนินการแทนรัฐเท่านั้น
             6.นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชา​การอิสระด้าน​โทรคมนาคม ฟ้อง กสทช.เมื่อวันที่ 10 ต.ค.55 คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการประกาศหลัก   เกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 GHz ไม่มีข้อกำหนดที่จะแสดงให้เห็นว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการประมูล โดยเฉพาะใน 3 ประเด็น คือ 1.พื้นที่และระยะเวลาที่จะได้รับบริการต้องครอบคลุมประชาชนทั้งประเทศในเวลาที่ทัดเทียมกัน โดยไม่แบ่งตัวเมืองและชนบท 2.คุณภาพการให้บริการต้องครอบคลุมและมีความเสถียรของโครงข่ายและคุณภาพสัญญาณดี ซึ่ง กสทช.ไม่ได้กำหนดความชัดเจน และ 3.อัตราค่าบริการขั้นสูงที่ผู้ให้บริการจะเรียกเก็บได้
             เมื่อวันที่ 15 ต.ค.55 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีไว้พิจารณา เนื่องจาก ผู้ฟ้องไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรงตามคำร้อง และการฟ้องเป็นการกล่าวหาและการคะเนล่วงหน้า ซึ่งความเสียหายอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ ผู้ฟ้องในคดีนี้จึงยังไม่ได้เป็นผู้เสียหาย

ในความเคลื่อนไหว กระบวนการตรวจสอบ ‘การประมูลคลื่น’

             ขณะนี้ กระบวนการการจัดสรรคลื่นความถี่ 2.1 GHz อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาดำเนินการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมให้แก่ผู้ผ่านการประมูล
            ในส่วนกระบวนการตรวจสอบ คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภาได้รับเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ และจะมีการเชิญคณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคม หรือ กทค. คณะผู้วิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสำนักงาน กสทช.เป็นผู้ว่าจ้างให้ทำ เพื่อประเมินมูลค่าคลื่นความถี่และ มูลค่าขั้นต่ำฯ  ตัวแทนผู้ตรวจการแผ่นดิน ตัวแทนเอกชน 3 ราย รวมไปถึงนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง มาร่วมประชุมพร้อมกัน วันที่ 25 ต.ค.นี้

             นอกจากนี้ยังมีกลุ่มประชาชนผู้
ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. นำโดย นายสุรศักดิ์ ศิริพรอุดมสิน อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยคณะลูกศิษย์ลูกตามหาบัว ได้รวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิ์ เลือกตั้ง จำนวน 57,904 รายชื่อ ยื่นต่อ นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้วุฒิสภาถอดถอน กสทช.ทั้งคณะจำนวน 11 คน ออกตากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 (2) เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55
            เนื่องจากเห็นว่า มีพฤติการณ์ 1.ส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่ในกรณีการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3G เป็นความผิดตามมาตรา 11 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้วประมูล) 2.ส่อว่าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง 3.ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G โดยถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 47 วรรคสาม ที่ระบุว่า การดำเนินการของ กสทช.จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชน ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น รวมทั้งต้องจัดให้ประชาชนมีส่วนในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ
             และ 4.ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายโดยใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2555 โดยใช้กฎหมายอย่างไม่มีความเสมอภาค ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาและมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมส่อว่าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด โดยจงใจละเว้นการอนุญาตการใช้คลื่นความถี่และใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้กับสถานีวิทยุที่ทดลองออกอากาศ และจงใจไม่ออกระเบียบหรือประกาศหลักเกณฑ์การอนุญาตกิจการกระจายเสียงประเภทบริการชุมชนให้ครอบคลุมตามกฎหมาย

             ขณะที่ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (สอบ.) เข้ายื่นหนังสือต่อ น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ประธาน กมธ.ศึกษา ตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้
างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่รัฐสภาเช่นกัน ขอให้ตรวจสอบการฮั้วและธรรมาภิบาลในการประมูล 3G ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1.การกระทำของ กสทช.เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดการฮั้วประมูลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้วประมูล) หรือไม่
            2.มาตรการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การกำหนดเงื่อนไขของการให้บริการ การประกาศสัญญามาตรฐานในการให้บริการ ราคาค่าบริการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพราะผลการประมูลเอื้อประโยชน์กับผู้ให้บริการ (ราคาต่ำกว่าทรัพย์สิน) และ 3.แนวทางในการกำหนดกติกาที่ชัดเจนในการให้ผู้ประมูลหรือผู้รับใบอนุญาตในอนาคตใช้โครงข่ายร่วมกัน

ป.ป.ช.รับลูกเตรียมประชุมสรุปฮั้วประมูล 3G พรุ่งนี้

            ด้านความเคลื่อนไหวล่าสุด วันนี้ (24 ต.ค.55) น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ในฐานะ กมธ.ศึกษา ตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธร รมาภิบาล วุฒิสภา พร้อมคณะ ยื่นหนังสือต่อนายนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ตรวจสอบการประมูลคลื่น 3G ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่ามีการทำผิด พ.ร.บ.การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือไม่
            จากการที่ คณะอนุกรรมการกฎหมายป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างความเป็นธรรม ในสังคมที่มีนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา เป็นประธาน ตรวจสอบพบว่า การประกาศรับรองผลการประมูล 3G ของ กทค.มีเจตนาเอื้อประโยชน์ต่อผู้เสนอราคา ส่อทุจริตในการกำหนดราคาโดยมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เห็นได้จากการตั้งราคาเริ่มต้นการประมูลที่ต่ำเกินไป พฤติกรรมบริษัทที่เข้าประมูลไม่มีการแข่งขัน และพฤติกรรมของ กทค.ที่เร่งรีบลงมติเห็นชอบผลการประมูล แม้จะมีผู้คัดค้านจำนวนมาก จึงนำข้อมูลยื่นให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบ เพื่อความโปร่งใส
             ขณะที่เดลินิวส์ รายงานว่า ในวันเดียวกันที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในวันที่ 25 ต.ค.นี้ โดยหากที่ประชุม ป.ป.ช.เห็นว่าหลักฐานที่มีอยู่เข้าองค์ประกอบที่ ป.ป.ช.จะสามารถรับเรื่องมาพิจารณาได้ กล่าวคือมีมูลเหตุที่ส่อให้เห็นว่าการกระทำที่เกิดขึ้นอาจขัด พ.ร.บ.การฮั้วประมูล ป.ป.ช.จะรับเรื่องไว้ พร้อมตั้งอนุกรรมการมาศึกษาเรื่องนี้อย่างเร็วที่สุด แต่หากพบว่าไม่เข้าเงื่อนไขก็ถือว่าคำร้องนั้นยุติไป
             ทั้งนี้ ข้อร้องเรียนที่เข้ามายื่นให้ ป.ป.ช.พิจารณาประกอบไปด้วย ข้อร้องของกระทรวงการคลัง กลุ่มกรีน และคณะกรรมาธิการวุฒิสภาตรวจสอบการทุจริตฯ วุฒิสภา รวมถึงกรณีที่ กสทช.แสดงเจตนาขอรับการตรวจสอบด้วยตัวเอง

ย้ำอีกครั้ง... อำนาจ ป.ป.ช. ตรวจสอบ ไม่ใช่พิพากษา

              อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเรื่องจะเข้าสู่ ป.ป.ช. แล้ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า การประมูลที่ผ่านมาจะถูกล้มเลิกไป โดยเมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา นายวิชัย วิวิตเสวี หนึ่งในคณะกรรมการ ออกมาระบุว่า อำนาจของ ป.ป.ช.นั้น เป็นการวินิจฉัยเพียงว่า กสทช.ได้กระทำความผิดทางอาญา ฐานทุจริตต่อหน้าจริงหรือไม่เท่านั้น

             ขณะที่การดำเนินการเพื่อให้ล้มเ
ลิกการประมูลที่เกิดขึ้นไปแล้ว เป็นอำนาจของศาลปกครอง เนื่องจากมติของ กทค.ที่ได้รับรองการประมูลไป ถือว่าเป็นสัญญาหรือนิติกรรมทางปกครอง ซึ่งอยู่ในข่ายอำนาจวินิจฉัยของศาลปกครองแต่เพียงผู้เดียว โดยผู้มีส่วนได้เสียสามารถยื่นคำร้องไปยังศาลปกครองได้

             หากมีข้อมูลข้อเท็จจริงปรากฏชัด
ว่า กสทช.ในฐานะผู้จัดการประมูลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฮั้วประมูลตามกฎหมาย ป.ป.ช.ก็ไม่สามารถดำเนินการกับบริษัทเอกชนทั้ง 3 รายได้ เพราะเป็นอำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และพนักงานสอบสวน แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน