วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


ทหารหน้าตัวเมีย แหล่งข่าวชั้นสูง โคตรพ่อโคตรแม่มึง
          เล่นง่าย-คมชัดลึก สื่อค่ายเนชั่น ซึ่งมีอคติอย่างโจ่งแจ้งจ้องเล่นงานรัฐบาลจากการเลือกตั้งของประชาชน นำเสนอข่าว กองทัพสับ'ปู'สอบตกแก้น้ำท่วม แต่ก็ไม่ยอมเปิดเผยว่าแหล่งข่าวที่ว่านี้เป็นใคร มีตัวมีตนหรือไม่ หรืออุปโลกข์สร้างกระแสตีกินฟรีๆ แต่หากมีจริงข้อโจมตีทั้ง 12 ข้อก็ถือว่า"นิ่ม" โดยจะขอแจงให้ฟังทีละข้อว่าทำไมถึงบอกว่า"นิ่ม"( อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง:กลาโหม-ทบ.ปฏิเสธข่าว กองทัพให้รัฐบาลสอบตกแก้น้ำท่วม )

โดย Pegasus
7 พฤศจิกายน 2554


"แหล่งข่าวจากกองทัพ"ซึ่งยังไม่รู้เป็นใคร? ปล่อยข่าวทำลายรัฐบาลอย่างหน้าตัวเมีย ไม่ยอมเปิดเผยชื่อให้ถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยและปลดออกจากราชการ ผ่านทางหนังสือพิมพ์เครือข่ายอำมาตย์แห่งหนึ่ง มีใจความโดยสรุป 12 ข้อว่า นายกฯสอบตกแก้น้ำท่วม


           โดยกล่าวหาว่า นายกรัฐมนตรีและศปภ.ขาดประสบการณ์การบริหาร ไม่เข้าใจการใช้เครื่องมือการบริหาร ใช้กฎหมาย พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแทน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ยอมใช้โฆษกที่มีความรู้เรื่องน้ำ ไม่ใช้กระทรวงมหาดไทยตั้งศูนย์ แจกของเฉพาะคนเสื้อแดง ไม่เข้าใจทิศทางน้ำ แก้ไขปัญหามุ่งเน้นภาคอุตสาหกรรมไม่เอาสังคมเป็นที่ตั้ง แก้ปัญหาแบบแก้ผ้าเอาหน้ารอดแม้แต่ศปภ.ยังต้องอพยพเหมือนประชาชน ปกปิดข้อมูล พูดเป็นภาษาราชการเกินไป รู้กันแต่ในเฟสบุ๊คส์ มีการเมืองกับกทม. สร้างตำรวจแข่งกับทหารแทนที่จะไปจับผู้ร้าย มีข้อมูลเสนอซ้ำไปซ้ำมา ไม่ยอมขุดเจาะถนน

            ที่กล่าวมาครบถ้วนทั้ง 12 ข้อแบบเจาะประเด็น ส่วนภาษาวกวนประดิษฐ์ถ้อยคำจะไม่ขอยกมาให้เปลืองสายตาท่านผู้อ่าน 

            แหล่งข่าวระดับสูงเช่นนี้ ถ้าออกมาจากกองทัพโดยมีการเชิญผู้สื่อข่าวไปให้ข้อมูล ก็น่าจะมาจากห้าเสือคนใดคนหนึ่งในกองทัพทั้งสี่เหล่าทัพ หรืออาจจะรวมหัวกันหมดก็เป็นได้  และนี่คือเหตุผลว่าทำไมต้องแก้กฎหมายทหาร เพราะพวกนี้เป็นงูเห่าเลี้ยงไม่เชื่อง และชมชอบการลอบกัดเป็นอย่างยิ่ง

            ก่อนอื่นขอปูพื้นทวนของเก่านิดหนึ่งว่า น้ำท่วมครั้งนี้เป็นการกระทำโดยมนุษย์ทำให้เกิดขึ้น (อ่านรายละเอียด:12ปริศนาทฤษฎีสมคบคิด คนคำนวณหรือจะสู้ฟ้าลิขิต)
แต่พวกอำมาตย์ฉลาดเป็นกรด เขารู้ว่าคนกรุงเทพฯอ่อนไหวกับความลำบาก เป้าหมายของเขาคือคนกรุงเทพฯด้วยปริมาณน้ำที่เสกมา ก็เชื่อว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาไม่ทัน 

           แต่เคราะห์ดีที่ต่างประเทศระดมกำลังกันเข้ามาสืบสวนหาสาเหตุ มาให้คำปรึกษา บางประเทศจะเข้ามาวางระบบชลประทานเสียใหม่จากที่มีการวางแผนอย่างไม่เป็นระบบ และไม่มีประสิทธิภาพมานานมาก  ถึงขนาดมีเรื่องราวต้องส่งทหารออกไปฆ่าคนของเขาเสียยกลำเรือเพื่อเป็นการสั่งสอนที่กล้าเข้ามาช่วยรัฐบาล 

            แต่ก็แปลกหลังจากนั้น ก็ยังมีมาเรื่อยๆ และดูเหมือนจะมากขึ้นด้วยจากทุกมุมโลก น่าแปลกใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ขนาดออกข่าวว่า สหรัฐถอนการช่วยเหลือ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐยังออกปากชมรัฐบาลว่า จัดการได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ 

           ผู้เชี่ยวชาญด้านการอพยพจากสวิตเซอร์แลนด์ชมว่า ไทยจัดการดูและประชาชนดีเยี่ยม ทั้งๆที่ตามข่าวแล้วกระทรวงการต่างประเทศ โดยพวกข้าราชการไม่ยอมช่วยเหลือ ดูแลผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ ซึ่งยินดีมาช่วยโดยไม่คิดเงิน ไม่คิดค่าเสียเวลา 

คนของเรา(อุ๊บ ขออภัย คนของอำมาตย์) เสียอีกที่ไปกีดกันเขา 

         เอาล่ะสรุปแล้วเหล่าอำมาตย์ตั้งเป้าคนกรุงเทพฯ เพื่ออะไร ก็เพื่อที่จะระดมคนมาขับไล่รัฐบาลหลังน้ำลด หลังจากออกอาวุธจนรัฐบาลน่วมแล้วนั้นเอง

        นอกจากนั้นน้ำลดแล้วประชาชนก็จะอดอยาก ลำบาก ข้าวของแพง จะได้เป็นโอกาสก่อความวุ่นวาย และก็ทำการล้มรัฐบาลโดยตุลาการภิวัฒน์ โดยมีทหารคอยยืนกำกับ เพื่อว่าจะได้มีคนกรุงเทพฯซึ่งส่วนใหญ่ เป็นชนชั้นกลวง ไร้เดียงสาทางการเมืองให้การสนับสนุนเหมือนเช่นเคย

        ทีนี้ก็คงมองเห็นแล้วว่า ทหารที่ขอกล่าวซ้ำว่า เป็นหนึ่ง หรือทั้งหมดของห้าเสือของเหล่าทัพนั้นแหละเป็นคนให้ข่าว อย่างนี้สมควรหรือยังที่จะปลดทั้งหมดเสียที อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการให้ความรู้กับฝ่ายประชาธิปไตยเรา แม้ว่าอ่านแล้วจะขยะแขยงกับแนวความคิดที่ตื้นเขินเหลือจะประมาณ แม้ว่าภายนอกจะดูดี ประดิษฐ์ถ้อยคำสละสลวยอย่างไรก็ตาม 

        โดยจะชี้แจงโดยตั้งหลักกันก่อนว่า นี่ไม่ใช่การแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่เป็นการลงมือทำสงครามของอำมาตย์ที่โหดร้าย เหมือนดังที่พูดกันในเว็บใต้ดินว่า เปรียบเสมือนโจโฉไม่รู้จะสู้กับลิโป้อย่างไร ก็ทำอุบายไขน้ำเข้าเมืองท่วมประชาชนตายเป็นเบือ ทำให้คนไม่พอใจ หมดกำลังต่อสู้ และทำให้ลิโป้แพ้ในที่สุด 

         แต่จะขอพูดไว้ตรงนี้ว่า นี่เป็นประชาชนคนไทยไม่ใช่ศัตรู คนที่ลงมือกับคนไทยด้วยกัน แล้วทหารบางส่วนยังไปรับใช้อยู่นั้น เป็นพวกตระกูลชั่วด้วยกันหมดทั้งสิ้น เสียดายจริงๆ จนป่านนี้ยังไม่รู้ว่าใครเป็นคนวางแผนชั่วนี้กันแน่ คนวางแผนนะคิดได้ยังไง ขนาดคุณประชัยฯเหลืองแท้ๆ ยังทนไม่ไหวบอกว่าอำมหิตเกิน

เอาล่ะมาตอบข้อวิจารณ์กัน 

ประการแรก กล่าวหาว่า นายกรัฐมนตรีขาดประสบการณ์การบริหาร 

          อันนี้ต้องขอแย้งว่า นายกฯปู บริหารองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีความเสี่ยงกับเรื่องเงินๆทองๆ ไม่ใช่ข้าราชการกินหัวคิวภาษีประชาชนแล้วมาอวดว่าตัวเองทำงานเก่ง 

         สองสามปีที่ผ่านมาทหารคุมอำนาจ มีใครไม่รู้ว่าโกงกินกันขนาดไหน หรือว่านายกฯขาดประสบการณ์เรื่องนี้จริงๆ ไม่รู้จักแบ่งเงิน แบ่งงบประมาณมหาศาลให้กับทหารเหมือนรัฐบาลที่ผ่านมา ถึงมาแว้งกัดเขา 

         แต่แน่ล่ะเรื่องของข้าราชการ ส่วนราชการนายกฯย่อมไม่รู้ แต่ขอโทษ คนเป็นนายกรัฐมนตรี เขาปรึกษาเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรีได้ใช่หรือไม่ 

         ถามคำเดียว เวลาทหารจะนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องของกระทรวงกลาโหมต้องนำเรื่องผ่านสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งจะมีหน้าที่กลั่นกรองว่างานของทหารนั้นๆได้พิจารณามารอบคอบหรือไม่ ถ้าไม่ สำนักนายกรัฐมนตรีนี่เองจะให้นำเรื่องไปปรึกษากระทรวงที่เกี่ยวข้องหรือไม่ก็รับเป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะเล็กก่อน 

          ยกตัวอย่างเช่น เป็นคณะกรรมการกลั่นกรองด้านความมั่นคง มีสภาความมั่นคงเป็นเลขาฯ คณะกรรมการกลั่นกรองด้านเศรษฐกิจ มีสภาพัฒนาฯเป็นเลขา เป็นต้น 

         คณะรัฐมนตรีจะใช้งานส่วนราชการต่างๆตามช่องทางนี้เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับกระทรวงเป็นรายกระทรวง เพราะระดับนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้บูรณาการรายกระทรวงเข้าด้วยกัน จากนั้นจะแต่งตั้งใครให้ดูแลแทนนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง 

          พอเข้าใจตรงนี้แล้ว ก็จะขอตอบต่อในเรื่องทำไมใช้รัฐมนตรียุติธรรม ไม่ใช้ รัฐมนตรีมหาดไทย ทำไมไม่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมเป็นเรื่องเดียวกัน 

          ก่อนอื่นขอทวนความจำสักเล็กน้อยว่า ผบ.ทบ.เป็นผู้กล่าวเองว่า ไม่อยากให้ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพราะไม่ได้ไปยิงน้ำอะไรทำนองนี้ 

         ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกับ ทบ.ก่อนว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้นอำนาจไม่ได้อยู่ที่ทหาร แต่เป็นการให้ทหารไปช่วยฝ่ายพลเรือนปฏิบัติงานหากเกิดภาวะไม่ปกติขึ้นมา แต่ยังไม่เกิดสงคราม พอเกิดภาวะสงครามก็จะใช้กฎอัยการศึก ข้าราชการพลเรือนชุดเดิมก็จะกลับมาเป็นผู้ช่วยทหาร 

          ดังนั้นแท้จริงแล้ว พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อำนาจสูงสุดยังอยู่ที่ฝ่ายพลเรือนและตำรวจ ว่ากันตรงนี้ในแง่กฎหมายให้ชัดก่อน แต่ที่ทหารมายิงอะไรนั้นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะถ้ายิงตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะมีอำนาจเท่าพนักงานตำรวจไม่เกินไปกว่านี้ 

         หมายถึงยิงคนมีอาวุธที่เบากว่าไม่ไ ด้เช่นเห็นคนมีหนังสะตี๊ก แล้วเอาสไนเปอร์ติดกล้องยิงระยะไกลอย่างนี้เข้าคุกเรียบ แม้แต่กฎอัยการศึกก็ยิงพลเรือนปราศจากอาวุธไม่ได้อยู่ดีเข้าคุกเช่นกัน 

         คงพอจำกันได้ว่าพอประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใครเป็นเจ้าภาพ ก็ต้องหน่วยงานที่บูรณาการด้านความมั่นคงคือ สำนักงานเลขาฯสภาความมั่นคงแห่งชาติ กำลังมีการเปลี่ยนตัว คนเก่าไม่ยอมไป คนใหม่ยังไม่มา จนกว่าจะตุลาคมแล้ว ยังต้องรอโปรดเกล้าฯอีกหลายวัน ถามว่าเวลานั้นน้ำท่วมมันรอหรือไม่ 

         เช่นเดียวกับกรณีกระทรวงมหาดไทย ที่จริงแล้วรัฐบาลสามารถประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยใช้กรมบรรเทาสาธาณภัย โดยกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติงาน และมีอำนาจสั่งผู้ว่าฯทั้งประเทศ เอาทหารเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน 

         ก็เข้าประเด็นเดียวกันคือ คนเก่าเพิ่งไปคนใหม่ยังไม่มา รัฐบาลยังกล้ำกลืน ไม่ใช่ พ.ร.บ.บรรเทาสาธารณภัย ซึ่งเป็นการรวมศูนย์อำนาจเหมือน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 

แทบไม่ต่างอะไรกันเลย เพียงแต่เป็นเหตุการณ์เฉพาะภัยธรรมชาติแยกออกมาเท่านั้น จนกระทั่งนายพระนาย สุวรรณรัตน์ ได้รับโปรดเกล้าฯเป็นปลัดกระทรวง มีคนทำงานแล้วนั้นแหละถึงได้มีการมอบอำนาจให้ไปคุมกทม.เจ้าปัญหา 

           คำถามอาจจะมีว่า ก็ใช้พวกรองๆ ทั้งสองหน่วยงานไปก่อนไม่ได้หรือ ตอบว่าไม่ว่าจะประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯหรือ พ.ร.บ.บรรเทาฯก็ตามที อย่างที่ทหารวิจารณ์มา แต่ก็ต้องถามก่อนว่า แล้วคนที่เหลืออยู่เป็นคนของใคร แล้วฝ่ายอำมาตย์เองใช่หรือไม่ ไม่ยอมให้มีการโยกย้ายคนด้านความมั่นคงเลย รวมถึงทหารด้วย 

           ดังนั้นทั้งสำนักงานเลขาฯสภาความมั่นคงฯ ทั้งมหาดไทยมีแต่สมุนของอำมาตย์ยั้วเยี้ยไปหมด ดังที่เกิดเหตุมีข้าราชการระดับสูงของบางหน่วยงานลงมือใช้รถแทรคเตอร์ไปพังพนังกั้นน้ำด้วยตัวเอง จนต้องรีบย้ายออกจากตำแหน่งแทบไม่ทันเป็นต้น 

          สุดท้ายก็ต้องมาตอบคำถามว่า ทำไมไม่เลือก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คำตอบตอนนี้ก็คงพอมองเห็นแล้ว คนใหม่ของสำนักฯสภาความมั่นคงฯก็เป็นคนของอำมาตย์ส่งตรงมาโดยเฉพาะ นี่ตอบกันตรงๆไม่อ้อมค้อม 

          ถ้าให้อำนาจไปแล้ว เอาแค่ทหารแกล้งไปยิง หรือไปพังบ้านประชาชนโดยอ้างว่า เปิดทางน้ำ ฯลฯ อะไรสักอย่าง รัฐบาลก็พังแล้ว 

          ขนาดไม่ให้มายุ่ง ให้ช่วยรับส่งประชาชนอย่างเดียว นอกจากจะมาน้อยแล้วยังกินเบี้ยเลี้ยงแพงมากๆ สองร้อยกว่าบาท แต่เสนอจำนวนมาห้าหมื่นคน 

           เทียบกับคุณยาย คุณย่า ที่อดน้ำอยู่ตามบ้านไม่มีจะกินแล้วต่างกันลิบ ไม่รู้จะรวยกันไปถึงไหน แถมยังมีการแอบมาทำภารกิจลับตอนตีสอง ตีสามกันอีก หรือว่าไม่จริงรู้อยู่แก่ใจ
จากเหตุผลนี้ขอถามกลับ เอาเรื่องทหารนี่แหละ สมมติว่า มีนายทหารยศนายพลตรีคนหนึ่ง จบแค่มัธยมไต่เต้ามาจากชั้นประทวน ได้ดีเพราะเจ้านายไว้ใจ วันดีคืนดีเจ้านายเป็นผบ.ทบ. ก็เลยตั้งมาเป็นผู้บัญชาการหน่วยรบระดับกองพล เพื่อตอบแท นและเพื่อให้เป็นคนของตัว พอเกิดสงครามจริง ถามทีเถอะ แม่ทัพที่คุมจะกล้าสั่งไปทำงานหรือเปล่า 

       ถ้าเปรียบเทียบว่าอำมาตย์ส่งคนของตัวมา รัฐบาลก็ไม่กล้าใช้งานหรอก ฉันใด ก็ฉันนั้น 

        สำหรับในกรณีที่วิจารณ์ว่าทำไมใช้กระทรวงยุติธรรมไม่ใช้กระทรวงมหาดไทย อันนี้ขอตอบว่า ทหารระดับสูงท่านนี้ หรือกลุ่มนี้คงไม่เข้าใจในระบบราชการ โดยเฉพาะระบบบริหารงานในระบบคณะรัฐมนตรี ไม่ใช่ระบบประธานาธิบดี ว่ารัฐบาลมีหน้าที่บูรณาการทำงานร่วมกันไม่ใช่รายกระทรวง


            คำถามต้องไม่ใช่ว่า รัฐมนตรียุติธรรม หรือ รัฐมนตรีมหาดไทย แต่ต้องถามว่า ทำไมไม่ใช้รองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลด้านกระทรวงมหาดไทย ที่มีกรมบรรเทาสาธารณภัยในหน่วยงาน นั่นคือ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ คำตอบก็จะกลับมาเหมือนเดิม คือยังไม่ได้แต่งตั้งปลัดกระทวงคนใหม่ อีกทั้ง”เวลาและวารี มิเคยมีจะรอใคร” จะให้รองนายกฯ พล.ต.อ.โกวิทฯคุมหรือ ก็ได้แต่ด้านทหาร ไม่ได้กระทรวงมหาดไทยที่ควรเป็นเจ้าภาพหลัก ความเชี่ยวชาญเรื่องของฝ่ายพลเรือนไม่มากพอ 

           รองนายกฯสารวัตรเฉลิมฯ ก็ได้แต่ตำรวจ รองนายกฯที่เหลือที่ยังมีเจ้าหน้าที่เพียงพอเริ่มงานก่อนก็ตกมาที่กระทรวงยุติธรรม 

           แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม ก็มีส่วนราชการมารับผิดชอบร่วมกันตั้งแต่ต้น รอจนแต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทยแล้วนั่นแหละจึงขยับขยายได้มากขึ้น 

           ส่วนเรื่องอำนาจหน้าที่นั้น นายกรัฐมนตรีจะมอบหมายรองนายกรัฐมนตรีท่านใดก็ได้เป็นผู้กำกับราชการแทน เพียงแต่ว่าจะให้ท่านยงยุทธฯ ทำงานตั้งแต่ยังไม่มีปลัดกระทรวงนั้นก็กลับจะทำให้งานล่าช้า เพราะตอนนั้นฝ่ายอำมาตย์ก็ยังลุ้นคนของตัวอยู่เช่นกัน 

           ภาพการบริหารงาน ณ ต้นตุลาคมยังไม่ชัดเจนเช่นนั้น สรุปแค่นี้คงพอตอบข้อสงสัยของฝ่ายประชาธิปไตยได้ ส่วนที่เป็นสมุนเผด็จการก็ว่าไป หน้าที่เราคือชิงมวลช นโดยเฉพาะคนกรุงเทพฯและปริมณฑลให้ตาสว่างในเรื่องนี้ให้ได้เท่านั้น

ต่อไปเรื่องไม่ยอมใช้โฆษกที่รู้เรื่องน้ำ นี่ก็เป็นอีกกับดักหนึ่งของระบอบอำมาตย์ชั่ว 

            ที่จริงรัฐบาลก็พยายามใช้กรมชลประทานอยู่แล้ว แต่ในที่สุดก็ต้องให้คนอื่นมาคุมแทนอธิบดีกรมชลประทานฯ 

           ตรงนี้ไม่อยากพูดมากเพราะยังไม่แน่ชัด แต่ขอถามหน่อยว่าจะให้คนรู้เรื่องน้ำมาเป็นโฆษก แล้วเริ่มต้นจากการรายงานเท็จกับรัฐบาลว่า น้ำเหนือมีแค่ 4 พันล้านคิว แต่พอกระทรวงวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลมายันว่าจริงๆมาถึง 2 หมื่นล้านคิว ก็แทบทำอะไรไม่ทันแล้ว และนั่นคือผู้รู้เรื่องน้ำโดยอำนาจ และรู้จริงๆแน่นอน แต่จะพูดจริงหรือไม่อีกเรื่อง

          อย่างไรก็ตามในการแก้ไขปัญหา ก็มีรองอธิบดีกรมชลประทานดำเนินการแทนอธิบดีฯ ย่อมรู้เรื่องน้ำแน่นอน ก็เป็นผู้ให้ข่าวอยู่ตามระยะเวลา เช่นกัน 

           ปัญหาคือโฆษกผู้ให้ข่าวกับสื่อมวลชนที่ต้องรับความจริงว่า ยังอ่อนประสบการณ์ จุดนี้ไม่เถียง แต่โฆษกไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องน้ำ เพียงแต่ต้องขยันหาข้อมูล และรู้ให้ทันสถานการณ์เท่านั้น 

           ทีนี้ใครที่รู้เรื่องน้ำนอกเหนือจาก รองอธิบดีกรมชลประทาน ก็ต้องเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ทุกคนก็ต้องไปทำงานหนักกันทั้งนั้น หรือว่าทหารอยากให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องแต่ชอบออกสื่อ ทำเป็นรู้เรื่องน้ำ ชอบปรากฏตัว 

           อย่างนี้ถ้าสมมติเป็นคนของอำมาตย์ ออกมาแสดงตัวเพื่อเข้ามาพลิกสถานการณ์ต่างๆจะไม่ยิ่งแย่ไปกว่านี้หรือ หรือว่านั่นจะเข้าแผนที่เพียรพยายามทำแต่รัฐบาลไม่ตกหลุม 

           ตั้งแต่มาบอกว่า อย่าไปกั้นอะไรให้น้ำผ่าน กทม. จะได้เข้าแผนหรืออย่างไร จริงอยู่ เราไม่สามารถกั้นน้ำได้ เพราะ กทม.ไม่ยอมระบายน้ำตั้งแต่แรก อันนี้รวมถึงกรมชลประทานด้วย เช่น ต่างก็ขาดเครื่องสูบน้ำจำนวนมาก ทั้งๆที่มีเวลา และเห็นปัญหาอยู่ตรงหน้าแท้ๆ แต่ก็ไม่ยอมช่วยประชาชน 

          แต่ถ้าปล่อยน้ำผ่าน กทม. โดย กทม.มีการวางแผนให้น้ำไม่ไหล ให้วนแต่ใน กทม.ล่ะ ก็จะกลายเป็นความผิดรัฐบาลใช่หรือไม่ เพราะ กทม.ออกมาเล่นละครว่า ไม่ยอมให้ผ่าน รัฐบาลบังคับให้ผ่าน จำได้ใช่หรือไม่ แท้จริงแล้วการให้น้ำผ่านนั้นถ้ารีบ เร่งระบายน้ำตั้งแต่แรกน้ำที่จะมาสะสมจนมีอำนาจทำลายล้างคันกั้นน้ำก็จะไม่เกิดขึ้น การพังของคันกั้นน้ำต่างๆจะไม่มี 

          แต่การเล่นการเมือง การถ่วงเวลา ทั้งหมดทำเพื่อรอมวลน้ำเข้ามาสะสมก็เท่านั้น โชคดีที่รัฐบาลแก้ปัญหาได้โดยใช้บิ๊กแบ๊ก แม้ว่าจะช้าเพราะเพิ่งคิดกัน แต่ก็ทำให้กทม.ไม่มีสิทธิมีข้ออ้างได้อีกนอกจากรีบระบายน้ำ 

         ทีนี้คำถามก็กลับไปอีกว่า กทม.ที่แทบไม่ได้เตรียมอะไรระบายน้ำเลย จะมีความสามารถแค่ไหนในการระบายน้ำ แต่ที่ควรจะย้อนถามไปยังเหล่าทหารระดับสูงนั้นเองว่า ผู้ให้ข่าวเรื่องน้ำท่วมของกรุงเทพมหานครนั้นคือใคร ทำไมไม่เอาผู้รู้เรื่องน้ำมาพูด ทำไมเอาหม่อมฯที่จบอะไรก็ไม่รู้ ซึ่งไม่ใช่วิศวกรรมแน่พูดเรื่องน้ำเป็นวรรค เป็นเวร 

         หรือว่าเป็นพวกเดียวกันเลยไม่พูดถึง ช่วยพยายามสร้างมาตรฐานเดียวกันหน่อย
เรื่องแจกของเฉพาะคนเสื้อแดงนี่ ใส่ร้าย ป้ายสี เหมือนพรรคการเมืองเกินไป 

          ถามนิดหนึ่ง จริงหรือไม่และรู้อยู่แก่ใจว่าของที่แจกจ่ายโดย ศปภ. ในช่วงแรกนั้น ทหารไม่ยอมเอาไปแจกโดยอ้างว่า เข้าไม่ถึงพื้นที่ แต่แล้วก็ดอดไปทำการตกลงลับๆกับบางสถานีโทรทัศน์ ส่งทหารไปร่วมแจกออกสื่อเอาหน้า โดยมีการสั่งลับๆว่า “งานนี้เราต้องเป็นพระเอก” 

        ถึงขนาดบางส่วนราชการเองก็รู้สึกน้อยใจว่า ทำแต่งานแต่ไม่มีข่าว บางหน่วยงานไม่ค่อยได้ทำแต่มีข่าวทุกวัน อันนี้เป็นไปตามแผนใช่หรือไม่

           อย่างไรก็ตามเรื่องแจกแต่เสื้อแดงนี้ ก็ได้มีการเคลียร์กันชัดไปแล้วว่าไม่ใช่ และเพื่อตัดปัญหาการใส่ร้ายป้ายสี กลุ่มเสื้อแดงก็ตั้งจุดรับบริจาคแยกกันไปแล้ว ไม่ขอพึ่งรัฐบาลเป็นจุดเก็บของอีกต่อไป 

          ขอแถมเรื่องที่ว่าย้ายศูนย์ฯแล้วทิ้งเสื้อไว้เป็นกองไม่ยอมแจก ที่จริงแล้วผู้ปฏิบัติงานบอกเองว่าทหารนั้นแหละเป็นคนไม่ขนไป ขนแต่ชิ้นดีๆไปต่างหาก เรื่องไม่เข้าใจทิศทางน้ำของ ศปภ. ถ้าพูดอย่างนั้น ก็ต้องหมายความว่า การบริหารจัดการลุ่มน้ำของกรมชลประทานที่เป็นเจ้าหน้าที่หลักใน ศปภ.นั้นไม่ได้เรื่องแน่ ต้องให้ทหารมาจัดการคุมเขื่อน คุมการระบายน้ำแทนใช่หรือไม่ เพราะถ้าตัวเองบอกว่า คนอื่นไม่รู้เรื่องอะไร ก็แสดงว่าตัวเองต้องรู้มากกว่าคนนั้นจริงหรือไม่ 

ถามแค่นี้แหละตอบได้หรือไม่

           ข้อกล่าวหาว่าการแก้ไขปัญหามุ่งเน้นภาคอุตสาหกรรมไม่สนใจด้านสังคม ก่อนอื่นขอถามว่า กองทัพบกส่งกำลังไปคุ้มครองเขตอุตสาหกรรมบางชันใช่หรือไม่ ถ้าเราไม่ควรสนใจเขตอุตสาหกรรมแล้วไปทำไม

          เรื่องนี้แน่ใจว่าศปภ.ไม่ได้สั่งแน่ ตอบคำถามเรื่องนี้ก่อนให้ได้เถอะนะ แล้วช่วยอธิบายคำว่า สังคมหน่อยว่าแปลว่าอะไร

          ส่วนตัวแล้วคำว่าสังคม หมายถึงเรื่องของกลุ่มบุคคล มิติทางสังคมคือมิติของกลุ่มบุคคล ถามว่า รัฐบาลจัดตั้งสถานที่พักพิงซึ่งได้รับคำชมจากต่างประเทศหรือไม่ รัฐบาลระดมภาคประชาชนและจิตอาสาอย่างไม่เคยมีมาก่อนใช่หรือไม่ นี่ไม่ใช่มิติทางสังคมละหรือ หรือว่าทหารมีนิยามตัวอื่น หรือว่าสักแต่พูดลอยๆ ให้ดูสวยๆไปอย่างนั้นเอง 

          ที่สำคัญถ้าละเลยภาคอุตสาหกรรม การตกงานจะตามมานับเป็นล้านๆคน และนี่คือที่มาของปัญหาสังคมขนาดใหญ่ ที่ฝ่ายอำมาตย์ต่างหากพยายามสร้างความลำเค็ญ และจลาจลขึ้นในประเทศไทยอย่างโหดเหี้ยมทารุณ โดยมีทหารบางส่วนยอมลดตัวจากความเป็นมนุษย์ลงไปรับใช้ 

          ข้อกล่าวหาที่ว่าแก้ปัญหาแบบ แก้ผ้าเอาหน้ารอด แม้ศปภ.ยังต้องอพยพเหมือนประชาชน คำตอบนี้ง่ายๆ ถ้าไม่มีมือมืดดอดไปตอนตีสอง ตีสามเพื่อไปพังประตูน้ำคลองสาม น้ำเหนือก็จะไม่ทะลุมาที่ดอนเมือง ศปภ.ซึ่งเลือกที่ตั้งดีแล้วก็จะไม่ต้องอพยพมาให้เหล่าสมุนอำมาตย์ต้องมาเยาะเย้ย 

         จุดนี้ต่างหากต้องเรียกร้องให้ประชาชนให้เห็นถึงความเหี้ยมโหด ชั่วร้ายของระบอบเผด็จการซ่อนรูป ที่สั่งการระบบราชการไทยได้ทั้งระบบจนทำร้ายประชาชนได้ถึงขนาดนี้ สมควรที่ประชาชนจะต้องทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก 2475 ให้สำเร็จสมบูรณ์กันเสียทีต่างหากเล่า

ข้อกล่าวหาเรื่องการปกปิดข้อมูล พูดภาษาราชการเกินไป กล่าวซ้ำไปมา 

         อันนี้ต้องยอมรับว่า ในช่วงต้นนั้นเนื่องจากคนของฝ่ายอำมาตย์แฝงตัวอยู่ใน ศปภ. ข้อมูลต่างๆ ขัดแย้ง ไม่ตรงกันไปหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างกรมชลประทานที่รับผิดชอบเรื่องน้ำกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ที่มีภาพถ่ายดาวเทียมทำให้เกิดความสับสน งุนงง จนในที่สุดหลังจากรู้ชัดว่า ใครเป็นมิตร ใครเป็นศัตรู หลังโยกย้ายข้าราชการฝ่ายอำมาตย์จำนวนมากอย่างเงียบๆแล้ว หลังจากนั้นการทำงานก็เป็นปกติ 

           ข้อมูลก็ออกมาตรงกับความจริงที่ควรจะเป็น ขอบคุณสำหรับผู้ที่เป็นนักวิชาการจริงๆ พูดเรื่องจริงจำนวนหนึ่งที่ให้ข้อมูลโดยไม่มีวาระซ่อนเร้น 

ต้องเข้าใจว่านี่เป็นการทำสงคราม ไม่ใช่เรื่องการช่วยเหลือประชาชนตามปกติ 

           ส่วนการใช้ภาษาราชการเกินไป พูดซ้ำไปมา ก็หวังว่าจะไม่ได้ต้องการให้ราชการ มาใช้ภาษาจำอวดหรือตลกกันหรอกนะ หน้าที่ของการขยายความคือผู้สื่อข่าวทั้งหลาย หรือผู้จัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ ต้องทำความเข้าใจแล้วสื่อขยายความไป 

           ที่คนในเฟสบุ๊คส์เขารู้กันมาก เพราะเป็นภาคประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่ตามทันข้อมูลเขาก็จะแชร์ความรู้กัน คิดกันเองได้ ถ้าจะถามก็ต้องถามว่าวิทยุทหารมีมากกว่าคนอื่นเขา มากที่สุดในประเทศไทย สมควรไหมที่จะนำข้อมูลของ ศปภ.มาขยายความให้ประชาชนเข้าใจและช่วยกันฟันฝ่าภัยพิบัติจากมนุษย์ชั่วนี้ไป มากกว่าเชิญแต่นักวิชาเกินที่เล่นการเมืองมาพูดจาให้ร้ายรัฐบาลไม่จบสิ้น หรือไม่จริง 

           ส่วนการใช้ภาษาราชการ เช่น สูงสามเมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งคนฟังไม่รู้เรื่อง เพราะแต่ละพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เท่ากันต้องไปตีความอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าจะดูยุ่งยาก แต่จะทำให้แต่ละส่วนราชการที่รู้เรื่องอยู่แล้ว สามารถบริหารจัดการน้ำได้ทันทีโดยมีจุดอ้างอิง 

           เปรียบเทียบเหมือนกับที่ว่า วันนี้พระอาทิตย์ตกเมื่อเวลากี่นาฬิกาที่แหลมพรหมเทพ พวกเราก็ต้องนึกเปรียบเทียบเอาว่า ถ้าอยู่ระยองพระอาทิตย์น่าจะตกก่อน เป็นต้น 

          เรื่องแบบนี้หยุมหยิมเกินกว่าจะมาพูดกัน หวังว่าจะเข้าใจ ส่วนการกล่าวซ้ำไปมา ก็เพื่อย้ำให้ผู้ที่ตามข่าวไม่ทันได้รับทราบ เหมือนตอนทหารจะยึดอำนาจในตอนพูดคำประกาศของคณะรัฐประหารไม่ว่าจะใช้ชื่ออะไร จะมีคำว่า “โปรดฟังอีกครั้ง” มิใช่หรือ

          ส่วนเรื่องการมีการเมืองกับ กทม.นั้น ขอให้เพียงเปลี่ยนภาษาหน่อยว่า กทม.มีการเมืองกับ ศปภ. ก็จะถูกต้องแล้ว สาเหตุเพราะอะไรคงไม่ต้องอธิบายให้เปลืองหมึก สร้างตำรวจมาช่วยประชาชนแข่งกับทหารทำไมไม่ไปจับผู้ร้าย อันนี้ขำกลิ้ง 

         ถ้าตำรวจถามกลับมาว่า หน้าที่ตำรวจคือพิทักษ์สันติราษฎร์ ถามว่าตอนนี้ประชาชนเดือดร้อนจะให้นิ่งนอนใจได้อย่างไร จะปล่อยเป็นหน้าที่มหาดไทยอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ใครทำอะไรได้ก็ทำ ตำรวจมีเครื่องมือ เครื่องไม้น้อยกว่าทหารเยอะ ส่วนมากใช้การชักชวนภาคเอกชนมาร่วมเช่นมีรถบิ๊กฟูต มารับส่ง มีเจ๊ทสกีที่เคยช่วยเองแต่ถูกพวกเรือรับจ้างขูดรีดประชาชนไล่ยิงก็กลับมาช่วย ฯลฯ 

           แล้วหน้าที่ทหารล่ะ หน้าที่หลักน่ะอยู่ตามชายแดนไม่ใช่หรือ แล้วมายุ่งอะไรกับการออกทีวี ทั้งๆที่ส่งคนมาช่วยน้อยกว่า ตอนปราบเสื้อแดงเสียอีกหรือว่าเบี้ยเลี้ยงน้อยกว่าได้สองร้อยกว่า แต่ตอนปราบเสื้อแดงได้พิเศษวันละสี่ร้อยกว่า กินกันอ้วนท้วน มีการถอยรถใหม่กันถ้วนหน้า 

          ถ้าถามอย่างนี้ ก็ขอให้กลับไปอยู่ชายแดนกับสามจังหวัดภาคใต้นั่นเลย ณ เวลานี้ใครช่วยใครได้ ต้องออกมาช่วยทั้งนั้น บางคนขับรถ ขับเรือด้วยจิตอาสาช่วยคนโดยไม่คิดเงิน ไม่มีเบี้ยเลี้ยง เขาไม่เห็นบ่นว่าใครจะมาแย่งซีนเลย

            เรื่องสุดท้ายคือไม่ยอมขุดเจาะถนน อันนี้ตอบแทน ศปภ.ได้เลยว่า ไม่นานคงเห็นถนนพระราม 2 ถูกเจาะเป็นทางระบายน้ำเพราะเห็นเคลียร์ถนนอีกเส้นไว้รองรับแล้ว 

            ต้องเข้าใจการทำงานที่มองภาพรวม มองอะไรเป็นระบบ เป็นยุทธศาสตร์ไว้ด้วย อย่ามองเฉพาะเรื่องหยุมหยิม เล็กๆน้อยๆใกล้ๆตัวและเห็นแก่ตัว ในภาวะอย่างนี้มันเกินไป

           ขอส่งท้ายให้รัฐบาลเร่งทำการเผยแพร่ข้อกฎหมายธรรมนูญกรุงโรม จากนั้นใช้มติคณะรัฐมนตรีแถลงรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ จากนั้นแก้ไขกฎหมายทหาร และองค์กรอิสระต่างๆตามได้แล้ว อย่าเสียเวลาไปกว่านี้อีก 

          ฝ่ายอำมาตย์ออกอาวุธ ถึงขนาดสังหารประชาชนไปเกือบห้าร้อยราย สิ้นเนื้อประดาตัวเป็นล้านๆคนอย่างนี้แล้ว รัฐบาลยังจะยอมกันไปถึงไหนกัน 

ไม่รักประชาชนหรือ
****************

ข่าวเกี่ยวเนื่อง:


           เครือเนชั่น รายงานข่าวเมื่อ 19.29 น.วัีนนี้ว่า พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า ตามที่มีสื่อมวลชนบางสำนักเสนอข่าวว่า กองทัพไม่พอใจการทำงานของนายกรัฐมนตรีนั้น กระทรวงกลาโหม ขอชี้แจงว่า จากการตรวจสอบข้อมูลด้านการข่าวของกองทัพไม่ปรากฏพบว่ามีกำลังพลหรือกลุ่ม บุคคลใดของกองทัพได้แสดงความคิดเห็นดังกล่าว เพราะที่ผ่านมากระทรวงกลาโหม โดย กองบัญชาการกองทัพไทยและเหล่าทัพ ได้ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยอย่างเต็มกำลังความสามารถ ภายใต้การมอบนโยบายของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) 

         โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวอีกว่า การนำเสนอข่าวดังกล่าวอาจเป็นความไม่หวังดีของบุคคลที่ต้องการสร้าง ความแตกแยกในการทำงานร่วมกันระหว่างกองทัพกับรัฐบาล รวมทั้งอาจทำให้เกิดความหวาดระแวงจนทำให้การทำงานขาดเอกภาพและไม่มี ประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน กระทรวงกลาโหม ขอยืนยันว่ายังคงปฏิบัติงานเป็นกลไกของรัฐบาล รวมทั้งให้การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของประชาชน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ 

           พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก กล่าวภายหลังการประชุมผู้บังคับหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก(นขต.ทบ.) ว่า กรณีที่มีการเสนอข่าวว่า กองทัพมีการประเมินผลงานการแก้ไขน้ำท่วมของรัฐบาลว่า สอบตกนั้น สิ่งที่ออกมาทางสื่อ กองทัพบกยืนยันว่า ไม่ได้มีการหารือ หรือพูดถึง วิเคราะห์วิจารณ์ตามที่สื่อนำเสนอ อย่างไรก็ตามการนำเสนออะไรที่เป็นบทวิเคราะห์ แหล่งที่มาของการอ้างอิงควรเป็นแหล่งที่มาชัดเจน อ้างอิงได้ว่าเป็นความคิดเห็นของใคร 

          แต่ถ้าเป็นการอ้างแหล่งข่าว และอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน ซึ่งเป็นองค์กรของกองทัพ ในข้อเท็จจริง กองทัพไม่ได้วิเคราะห์วิจารณ์เช่นนั้น การนำเสนอข่าวเช่นนี้ทำให้ประชาชนเข้าใจกองทัพผิด ปัจจุบันการทำงานของรัฐบาลและทุกภาคส่วน และกองทัพมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากความเดือดร้อน ซึ่งต้องร่วมมือกัน ดังนั้นอะไรที่ทำให้เกิดการบิดเบือนหรือข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ขอให้ระมัดระวังในการนำเสนอ กองทัพกับรัฐบาลทำงานใกล้ชิดกันการทำงานทุกอย่างเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล รวมถึงการบริหารประสานงานทำตามขั้นตอน

          ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่น่าทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันเพราะเป็นการนำเสนอเชิงวิเคราะห์จากแหล่งข่าวที่ไหนก็ไม่รู้ ขอให้วิเคราะห์ข้อมูล น้ำหนักความน่าเชื่อถือจากแหล่งข่าว รวมถึงการใช้วิจารณญาณเพราะไม่ใช่ข้อมูลจากกองทัพ

"ยุทธศักดิ์" เผย "ประยุทธ์" โทร.เคลียร์ปัดวิจารณ์ "ยิ่งลักษณ์" สอบตกแก้น้ำท่วม-ไม่เคยได้ยินปรับ ครม.

          ขณะที่มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์กรณีข่าวที่ระบุกองทัพออกมาวิจารณ์และให้คะแนนสอบตกการแก้ไขน้ำท่วมของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่าทราบเรื่องนี้จากสื่อบางฉบับในช่วงสายของวันนี้ (7 พ.ย.) จึงได้โทรศัพท์หา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกเพื่อสอบถามถึงกรณีดังกล่าวแต่ไม่รับสายเพราะติดประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบก (นขต.ทบ.) 

         แต่ พล.อ.ประยุทธ์โทร.กลับมายืนยันว่า เหล่าทัพไม่ได้มีการประชุมและให้คะแนนการทำงานต่อนายกรัฐมนตรีเหมือนที่เป็นข่าวออกมา ยืนยันกองทัพพร้อมสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล ดังนั้น ข่าวที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นความคิดเห็นของนายทหารบางคนเท่านั้น ส่วนการที่ผู้นำประเทศร้องไห้จากข่าวการวิจารณ์ของกองทัพยิ่งทำให้ประชาชนเสียขวัญหรือไม่นั้น คงเป็นความจริงใจ เวลามีความจริงใจอะไรก็แสดงออกมา

         เมื่อถามว่า กองทัพวิเคราะห์ผลงานแก้ไขน้ำท่วมของรัฐบาลหรือไม่ พล.อ.ยุทธศักดิ์กล่าวว่า กองทัพไม่ได้วิเคราะห์อะไรออกมา เราให้กองทัพวิเคราะห์การทำงานของกองทัพเพื่อเป็นบทเรียนในการแก้ปัญหาของเรา แต่เราไม่ได้ก้าวล่วงไปถึงการทำงานของรัฐบาล ตนคุยกับ ผบ.ทบ.แค่เรื่องการทำงานร่วมกัน การประสานงานกัน 

        ทั้งนี้เรามองว่า นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังกับนิคมบางชัน เป็นนิคม 2 อันสุดท้าย ซึ่งเรารักษามาตั้งแต่ จ.พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี แต่ไม่สามารถรักษาป้อมค่ายต่างๆ เหล่านี้ได้ จึงเหลือพื้นที่สำคัญอีก 2 ที่ที่เราต้องรักษาไว้ให้ได้ เพราะถือเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ได้ มิเช่นนั้นจะเสียชื่อรัฐบาล และเสียชื่อเราด้วย

       เมื่อถามถึงกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.ยุทธศักดิ์กล่าวว่า ไม่มี เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับกระทรวงกลาโหม ตนตอบไม่ได้ คิดว่ารัฐบาลพยายามอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะหัวหน้ารัฐบาล ท่านได้เสียสละทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ตนยืนยันว่า ท่านทุ่มเทมาก และเห็นการทำงานว่า ทำอย่างเต็มที่ ส่วนที่มีข่าวโจมตีท่านบางอย่างจากผู้ไม่หวังดีก็ต้องดูว่าข่าวมาจากไหน ยืนยันว่า กองทัพสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลอย่างเต็มกำลังเพื่อความสุขความอยู่รอดของประชาชน ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยพยายามผลักดันให้มีการปรับ ครม.นั้น ตนไม่ทราบจริงๆ และตอบไม่ได้
http://redusala.blogspot.com

ใครทำน้ำท่วม
โดย ...ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม , ธนพล บางยี่ขัน

         "ผมเดาว่าอีก 15 วัน มันจะหยุดและเริ่มลดเหมือนบ้านผมที่นนทบุรี แต่ภาพรวมของประเทศเราผ่าน Worst Case มาแล้ว เรามาถึง at the end จากนี้เราต้องอยู่กับมันให้ได้ แล้วก็มาเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิม"

         คาดการณ์อีกครั้ง 15 วันจบ จาก ปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานฝ่ายปฏิบัติการของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. ที่ประกาศออกทีวีให้คนปทุมธานีดอนเมือง รังสิต อพยพด่วน หลังเห็นสัญญาณไม่ดีจากการซ่อมประตูระบายน้ำคลองบ้านพร้าว ก่อนจะถูกตำหนิจากคนในรัฐบาลด้วยกันว่า สร้างความแตกตื่นเพราะรัฐบาลยืนยันกรุงเทพมหานคร (กทม.)ไม่มีท่วมแน่ สุดท้ายก็พิสูจน์แล้วว่าคำเตือนของปลอดประสพเป็นจริง กทม. หลายพื้นที่จมน้ำ! นับแต่นั้น "บิ๊กปลอด" ก็ถอยฉากออกจาก ศปภ.มาทำหน้าที่เตือนภัยส่วนตัว ที่เป็นข่าวพาดหัวมากกว่า ศปภ.

         เวลาที่เหลือจากนี้ กทม.ชั้นในจะรอดไหม ?
         เจ้าตัวบอกไม่อยากตอบ ถ้าจะท่วมก็นิดเดียวอย่างเก่งก็หัวเข่า แต่สถานการณ์โดยรวมมาถึงปลายทางแล้ว มวลน้ำตอนนี้เหลือ 8,000-1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ค้างทุ่งประมาณ 25%ลงมาอย่างเก่งก็ 3,000-4,000 ล้าน ลบ.ม. ที่จะไหลมาอยู่รอบ กทม. แต่ใน 1 หมื่นล้าน ลบ.ม.ก็ต้องค้างอยู่ประมาณ 3,000-4,000 ล้าน ลบ.ม. เพื่อใช้ในการเกษตร

       "ก้อนใหญ่แบบไหลพลั่กๆ มาที่ กทม. ไม่มีแน่นอนล้านเปอร์เซ็นต์ ส่วนตะวันตกหรือย่านฝั่งธนฯ จะท่วมเกือบทุกเขต ปัญหาคือ น้ำไม่ระบายไปด้านตะวันออกลงอ่าวไทย เพราะแม่น้ำบางปะกงสูงกว่าย่านรังสิต 2 เมตร เช่นเดียวกับที่ริมทะเล แถวคลองด่าน จ.สมุทรปราการ ก็สูงเพราะเป็นสันทรายดังนั้น ถ้าจะออกได้เร็วก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปั๊ม ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้ปั๊มจริง"

             วิกฤตอุทกภัยครั้งนี้ในมุมมองปลอดประสพ ถือว่ารุนแรงกว่าปี 2538 มาก เป็นรองก็แค่ปี 2485 แต่ถ้าให้แจกแจงสาเหตุมาจากอะไร เขาบอก นอกจากภัยธรรมชาติที่มากกว่าทุกครั้ง ยังมาจากปัจจัยหลายส่วน เช่น เมื่อต้นปี ก่อนที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งมี ธีระ วงศ์สมุทร เป็น รมว.เกษตรฯ และผู้ว่าการ กฟผ.ขณะนั้น ได้ระบายน้ำออกจากเขื่อนภูมิพล กับเขื่อนสิริกิติ์น้อยกว่าปกติเมื่อเทียบกับทุกปีที่ผ่านมา เพราะต้องการเก็บน้ำไว้ทำนาปรัง โดยเชื่อใน "โครงการประกันรายได้"

          "พวกผมเป็นรัฐบาลในเดือน ก.ย. พอปล่อยน้ำออกจากเขื่อนในเดือนนั้น ฝนก็ยังตกหนักอีก เลยทำให้ความเสียหายมันรุนแรงมากขึ้น ฉะนั้น ถ้ารัฐบาลเก่าจะมาว่าพวกผม ก็ว่าได้หลังเดือน ก.ย.ว่า ปล่อยน้ำมาก เหตุที่ปล่อยมากเพราะ กฟผ.กลัวเขื่อนพัง แต่การที่ไม่ปล่อยก่อนเดือน ก.ย.เพราะรัฐบาลที่แล้วต้องการจะเก็บไว้ทำนาปรัง สรุปรัฐบาลที่แล้วปิดเขื่อนแต่เราเป็นคนปล่อย"

         อีกประการที่ ปลอดประสพ ซัดตรงๆ การทำหน้าที่กรมชลประทาน "ผมขอตำหนิ กรมชลฯ ใส่ใจกับน้ำท่า (น้ำแม่น้ำ) มากเกินไป ละเลยน้ำทุ่ง(น้ำตามพื้นดิน) ทั้งที่กระทรวงวิทย์ใช้ดาวเทียม คีออส ถ่ายภาพน้ำทุ่งมายันตลอด แต่กรมชลฯ ก็ไม่ยอมรับความจริง กระทั่งเกิดน้ำท่วมที่อยุธยา กรมชลฯ จึงเริ่มยอมรับว่ามันมีน้ำทุ่ง และก็ควบคุมน้ำทุ่งไม่ได้ ที่จริงถ้ากรมชลฯ ใส่ใจเรื่องน้ำทุ่ง และยอมรับว่ามันมีน้ำทุ่ง ฟังความเห็นของคนที่รู้เรื่องน้ำทุ่ง สถานการณ์จะดีกว่านี้"

         ได้พูดเรื่องนี้ใน ศปภ.ไหม?...
         รมว.วิทยาศาสตร์ฯเสียงเข้ม "ผมพูดตั้งแต่ยังไม่เป็น ศปภ.ด้วยซ้ำซึ่งกรมชลฯ แย้งว่า มีน้ำที่ประตูน้ำบางไทรเท่าไรเขื่อนชัยนาทเท่าไร นครสวรรค์เท่าไร มีน้ำไหลกี่คิวเซค ไม่เคยใช้ภาษาว่ามีกี่ล้านตัน ก็ต้องยอมรับว่ากรมชลฯ ไม่มีคนที่มีประสบการณ์ด้านการระบายน้ำเพราะเขาไม่ได้สร้างและเขาก็ไม่เคยเจออย่างนี้มาก่อน ส่วนใหญ่มาจากสายก่อสร้างทั้งนั้น ตรงนี้จึงเป็นปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ วันข้างหน้ากระทรวงเกษตรฯ ต้องอย่าปล่อยให้การเมืองมาชี้นำจนกระทั่งโครงสร้างของราชการไม่ครอบคลุมต่อสาระที่เป็นประโยชน์ของสังคม

         ปลอดประสพ ยังตำหนิกรมชลฯ อีกว่า การให้ข้อมูลของกรมชลฯ ไม่ตรงตามที่คนอยากรู้ว่าน้ำไปถึงไหนแล้ว จะท่วมบ้านเขาไหม ท่วมนานเท่าไร เมื่อไรจะระบายออกไป

"กรมชลประทานบอกไม่หมด แต่ผมไม่ได้ว่าเขาปกปิดข้อมูลนะ"

        แล้วทำไมเขาไม่บอก... "ก็เขาไม่สนใจไง เขาไปทำอย่างอื่นไง ผมถึงได้เตือนบ่อยๆ ว่า น้ำมาถึงตรงนั้นแล้วนะ ตรงนี้แล้วนะ จะเดือดร้อน ให้ขึ้นชั้นสองนั่นคือสิ่งที่ประชาชนต้องการ แล้วผมก็ลงพื้นที่ไปวัดระดับน้ำเองเลย"

        เขาย้ำว่า ใน ศปภ.ไม่มีใครวิเคราะห์เรื่องระดับน้ำที่เข้าท่วมแต่ละพื้นที่อย่างจริงจัง กรมชลฯ ก็ไปทำอย่างอื่น เมื่อกรมชลฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักไม่คิดทำแล้วใครจะไปทำได้ ก็ต้องเดากันหมด ซึ่งมันไม่ควรเดาในภาวะอย่างนี้

         "ความจริงผมไม่อยากวิจารณ์ถึงขนาดนั้นว่าใครไปเลือกที่ไหนว่าควรจะมีน้ำหรือไม่มีน้ำ ไม่อยากจุดประเด็น แต่มั่นใจว่ากรมชลประทาน แต่ไหนแต่ไรรัฐมนตรีว่าการจะคุมเองทุกสมัย มันแปลว่าอะไร เพราะงบประมาณเยอะหรือไม่"

         การที่พรรคเพื่อไทยไม่ได้ดูกระทรวงเกษตรฯ แต่เป็นของพรรคชาติไทยพัฒนา ปรับครม.ครั้งหน้า พรรคเพื่อไทยจะคุมเองหรือไม่เพื่อให้การแก้ปัญหาน้ำท่วมเกิดเอกภาพ ปลอดประสพ ตอบว่า ความจริงพรรคเพื่อไทยพูดตั้งแต่เป็นฝ่ายค้านแล้วว่า เมื่อเราหาเสียงเรื่องชาวนา คนรากหญ้า เราก็ควรดูกระทรวงเกษตรฯ ด้วย ฉะนั้น หลังน้ำท่วมเสร็จ เชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นประเด็นทางการเมืองที่ สส.ในพรรคเพื่อไทยจะนำมาอภิปรายกัน เราเคารพพรรคร่วมรัฐบาลเพราะไปเชิญมา แต่ที่พูดเพราะเป็นข้อเท็จจริง ไม่มีเจตนาให้ร้ายหรือรังเกียจ

         การทำงานใน ศปภ.ที่ดูไม่มีความเป็นเอกภาพมีคณะกรรมการหลายชุดพะรุงพะรังทำให้เป็นปัญหาต่อการตัดสินใจของผู้มีอำนาจในการแก้วิกฤตน้ำท่วมหรือไม่ "ปลอดประสพ"ตอบแบบอึดอัดเหมือนอยากระบายออกมา


         "ไม่รู้...ผมมุ่งแต่เรื่องของผม ไม่อยากก้าวก่ายคนอื่นเพราะเราก็ไม่ได้รู้จริง แต่ผมก็ไม่เชื่อว่าใครจะรู้จริงเท่าไรหรอก...เรื่องคณะกรรมการหลายชุดอาจจะพัฒนาไปตามสถานการณ์มั้งช่วงหลังผมก็ไม่อยากยุ่งทางด้านเทคนิคมากเกิน ผมก็ให้ ดร.รอยล จิตรดอน ดร.อานนท์สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ซึ่งเป็นข้าราชการสายตรงมาจากผม และลูกน้องเขาอีก 3-4 คนไปช่วยส่วนผมก็ถอยออกมาช่วยประชาชน ไม่ใช่ผมถอนตัว แต่ผมรู้มันเป็นเรื่องเทคนิค ตอนนี้ผมก็ยังช่วยอยู่"

          ปลอดประสพ พูดเสียงเข้มว่า ถ้าสิ่งที่ผมเตือนว่าน้ำจะท่วม กทม.แน่ และทุกคนเชื่อตาม แนวทางการทำงานจะไปทางนั้นหมดว่า พื้นที่ไหนจะท่วมก่อนหรือหลัง จะลึกตื้นแค่ไหน และดูว่าใครจะเดือดร้อน การบริหารจัดการตรงไหนจะมีปัญหา มันจะถูกแก้ไปตั้งแต่วันนั้น แต่เมื่อไม่เชื่อว่ามันไม่ท่วม ไปเชื่อว่าบริหารจัดการได้ มันก็ไม่ได้มีความพยายามไปสู่จุดที่ผมพูด

          ทำไมเขาไม่เชื่อท่าน ?
          เจ้าตัวรีบตอบ ก็มันไม่เคยเกิดขึ้น เขาอาจมองว่าผมเป็นคนกล้าโดยนิสัยอยู่แล้ว ไม่ได้คิดว่าผมพูดบนพื้นฐานทางวิชาการ 100%

          ผมไม่เหมือนคนอื่นนะ ผมมีประสบการณ์ทำเรื่องน้ำมานาน ผมมีลูกน้องและเพื่อนที่ทำเรื่องนี้ ช่วงนี้ก็มีฝรั่ง (ฮอลแลนด์) มาช่วยประเมินด้วย ซึ่งเขาก็ประเมินหนักกว่าผมตั้งเยอะ กระทรวงวิทย์ฯ ก็มีข้อมูลป้อนให้ และผมก็ลงพื้นที่ ก่อนที่ผมจะพูด ผมไปดูแล้วดูอีกคลองลาดพร้าวผมไป 3-4 ครั้ง ฝั่งตะวันตก ผมบินไปดู นั่งรถไปดู 5 รอบแล้ว ฉะนั้นก่อนผมจะพูดจะผ่านการสังเคราะห์หมด ผมจะพูดส่งเดชได้ไง แล้วผมเป็นใคร ถามจริงเหอะ"

          ปลอดประสพ ยกตัวอย่าง เรื่องที่เคยเสนอแต่ไม่ถูกนำไปปฏิบัติ เช่น เคยบอกในที่ประชุมกับ ผวจ.นครสวรรค์ ให้ระวังเขื่อนที่กั้นรอบแม่น้ำเจ้าพระยาจะพัง ต้องจัดเวรยาม 24 ชั่วโมง และทำเขื่อนสองชั้น ซักซ้อมชาวบ้านเปิดไซเรนเพื่อหนีหาจุดอพยพ สุดท้ายเขื่อนก็พังจริงจากนั้นได้กลับมาพูดใน ครม. โดยย้ำว่าขอฝาก รมว.มหาดไทย ไปบอกทุกแห่งไว้ที่ทำเขื่อนดินเพราะอาจเกิดปัญหาถ้าแช่น้ำนาน มันจะแตก แล้วพอมาเห็นนิคมฯ ทั้งหลายเห็นก็รู้ ฉะนั้นเวลาจะป้องกันนิคมใหญ่ๆ มันไม่มีทางเอาอยู่

         "เราพยายามสร้างเขื่อนดินสูง 3-4 เมตรในเวลากะทันหัน มันจะเอาอยู่ได้ยังไง เขื่อนดินเท่าลูกแมว น้ำก็มาเป็นพายุ แน่นอนเราต้องสู้ก่อน แต่เวลาที่สู้ เอาไปย้ายของไม่ดีกว่าหรือ เห็นมั้ยสุดท้ายก็พังหมด ผมเห็นนวนครแตกไปต่อหน้าผม ผมพูดก่อนไม่ถึง 15 นาทีถ้าผมไม่เตือนให้รีบหนี ก็จะมีคนเจ็บตัวมากกว่าอีก"

          แล้วทำไมรัฐบาลถึงไม่ส่งสัญญาณเตือนแรงๆ คนจะได้เตรียมการเนิ่นๆ ปลอดประสพบอก ไม่รู้เหมือนกัน ...อันนี้แล้วแต่จุดยืน ของผมในฐานะที่ทำเรื่องการเตือนภัย หรือ Early Warning ผมจึงถูกฝึกให้เตือนล่วงหน้ามากๆตามทฤษฎีที่ถือว่า ชีวิตของมนุษย์สำคัญกว่าการที่ใครจะมาโกรธหรือตกใจ ผมไม่สนใจหรอกใครจะตกใจ แต่ผมให้คุณรอดก็พอ คุณจะตามด่าทีหลังไม่เป็นไร เพราะผมถูกด่าคนเดียว

          คำวิจารณ์ที่ว่า ถ้ารัฐบาลบริหารงานแก้ปัญหาดีกว่านี้อาจช่วยลดความรุนแรงลงได้จริงแค่ไหน...ปลอดประสพ ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธ "ไม่รู้...ไม่กล้าตอบ (หัวเราะ)...เอางี้ ผมตอบได้แต่เพียงว่า แม้แต่ตัวผมเอง ก็ยังรู้สึกว่ารู้น้อยไป ผมอยากรู้มากกว่านี้ จะได้ช่วยคนได้มากกว่านี้ แต่ทำไงได้ ผมรู้แค่นี้

เมื่อ'ปลอด'ประสบภัย

           แม้จะรั้งตำแหน่งประธานฝ่ายปฏิบัติการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แต่อีกด้าน "ปลอดประสพ"ยังคงมีสถานะเป็น "ผู้ประสบภัย" น้ำท่วมไม่แตกต่างจากชาวบ้านอีกหลายๆ คน เป็นคนแรกที่แจ้งเตือนภัยล่วงหน้า จนสร้างความแตกตื่นโกลาหลวันนั้น แต่กลายเป็นจริงในเวลานี้ สภาพบ้านพักบนเนื้อที่กว่า30 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใต้สะพานพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี ของเขาก็ไม่อาจรอดพ้นมวลน้ำก้อนมหึมาครั้งนี้ได้

          ค่ำของวันนั้น หลังจาก "ปลอดประสพ"ออกแถลงเตือนประชาชน เขาก็รีบกลับบ้านย่านไทรม้าแห่งนี้ เล่าให้ภรรยาและลูกฟังถึงสิ่งที่เขาเชื่อว่าน้ำจะท่วมเข้าที่บ้านแน่ แต่กลับถูกด่าบานเลย

         "ลูกก็บอกไม่เป็นไรนะพ่อ แต่ผมก็บอกทุกคนว่ายังไงก็คงท่วมแน่ รวมทั้งตัวเรา ฉะนั้นก็เก็บของดีกว่า ทุกคนก็ช่วยกันเก็บ เก็บอยู่หลายวัน โดยเฉพาะบ้านลูกที่เตี้ยกว่าเพื่อนพอเริ่มท่วมก็ให้คนเกือบ 30 คน อพยพไปอยู่พัทยา เอาคนใช้ คนเลี้ยงหลานไปด้วย"

         บ้านของ "ปลอดประสพ" รัฐมนตรีที่ร่ำรวยที่สุดในรัฐบาลประกอบไปด้วย 3 หลัง เขาอยู่อาศัยเองหนึ่งหลังตรงกลาง และอีก 2 หลังข้างๆ ของลูกๆ

           ด้วยความเชื่อลึกๆ ก่อนหน้านี้ว่า อย่างไรน้ำต้องท่วมแน่ ทำให้เขาเตรียมแผนป้องกันแต่เนิ่นๆ ด้วยการทำคอนกรีตเสริมรอบบ้าน50 ซม. และขนของขึ้นไปอยู่ที่สูง สุดท้ายน้ำก็เอ่อขึ้นมาเกินแนวที่กั้นไว้เข้ามาท่วมพื้นที่เฉลี่ยน้ำสูงเกือบ 1 เมตร ซึ่งตั้งแต่ปลูกบ้านมาตั้งแต่ปี 2475 ยังไม่เคยพบอะไรจะมากเท่านี้

          "เป็นความเชื่อของผม และผมก็ปฏิบัติจริงๆ ในครอบครัว เป็นความเชื่อเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ เป็นความเชื่อที่ผมถูกฝึกมา ผมไม่ได้ทำอะไรวิเศษพิสดาร ผมถูกฝึกมาอย่างนี้ ยังมีหลายคนที่น้ำท่วมแล้วตอนนั้น เพราะไม่ยอมเชื่อ จนพูดกันเป็นโจ๊กกันเล่นๆ ว่า ถ้าเชื่อผมก็สบายไปแล้ว"


           หลังจากน้ำท่วมบ้าน "ปลอดประสพ" ส่งภรรยาและลูกไปยัง จ.ชลบุรี ขณะที่ตัวเขาเองยังอยู่ที่บ้านหลังนี้ แต่ต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต โดยใช้เรือออกมาจากบ้าน ก่อนจะต่อรถยนต์ออกไป ศปภ.และตรวจพื้นที่

           ที่น่าสนใจคือ บรรดาสัตว์เลี้ยงหายากจำนวนมากในบ้านที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับน้ำท่วมครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น นกยูงอินเดีย 5-6 ตัวที่เกิดในบ้านหลังนี้ ห่าน 3 ตัว เป็ดป่าเกือบ20 ตัว เป็ดธรรมดากว่า 20 ตัว ไก่ป่าเกือบ 20 ตัว ฯลฯ ที่ต้องกลายเป็น "สัตว์ประสบภัย" จากเดิมเลี้ยงอยู่พื้นดินรอบบ้านต้องขยับมาอาศัยอยู่ในบ้าน บนหลังคาระเบียงบ้าน ขณะที่ตัวเขาเองก็นอนชั้นสอง

           "อย่างนกยูง ผมกินข้าวอยู่ มันยังมาแย่งผมกินข้าวด้วย มันหิวมันก็มาเกาะ ผมก็บอกเอ้ย ไป สุดท้ายก็ต้องแบ่งข้าวให้มันกิน เพราะปกติมันกินยอดไม้อ่อนๆ หรือหาหนอน แต่หนอนอยู่ในดิน จะไปหายังไง เพราะน้ำมันท่วม มันก็มาแย่งผมกิน"

            นอกจากสัตว์เลี้ยงแล้ว ยังมีสัตว์ที่ไม่ได้เลี้ยงเข้ามาหลบน้ำท่วมในบ้านโดยไม่ได้รับเชิญ ทั้งงูจงอางตัวใหญ่ที่มาขดอยู่บนต้นไม้ หรือแมงป่องที่มาหลบอยู่แถวผ้าเช็ดเท้า พอคนในบ้านไปจับผ้าก็โดนต่อยบวมใหญ่

            ความเสียหายจากน้ำท่วมเที่ยวนี้ ยังทำให้รถยนต์ของเขาและครอบครัวเสียหายไปแล้วกว่า 4 คัน โดยเฉพาะที่น่าเสียดายเป็นพิเศษคือ รถยนต์โบราณตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษที่เวลานี้ทำได้เพียงแค่การจอดไว้โดยยกหัวรถขึ้นเพื่อให้พ้นน้ำซึ่งคันปัจจุบันที่ใช้อยู่ต้องไปยกท่อไอเสียให้สูงพ้นน้ำ ซึ่งโดนร้านโขกราคาไป 1,500 บาท จากเดิมเคยทำแค่ 500 บาท

           ยังไม่นับรวมกับ "ต้นไม้" ที่เขาปลูกไว้เต็มพื้นที่ หลายต้นเริ่มเหี่ยวเฉาจากน้ำที่เจิ่งนองโดยเฉพาะต้นทุเรียนที่เขาเสียใจเป็นที่สุด

            สถานการณ์ ณ เวลานี้ "ปลอดประสพ"มองว่า "จบแล้ว" รอแค่น้ำลดลง และเชื่อว่าวันที่ 7 พ.ย. น้ำในถนนในบ้านพักจะแห้ง แต่งานใหญ่ในช่วงหลังน้ำลดคือ การเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมเข้าบ้าน ที่อาจเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ก็ได้

           "ต่อไปนี้ไม่ยอมแล้ว ผมจะทำเขื่อนเป็น 2 ชั้นแล้ว เขื่อนล้อมทั้งบ้าน แต่ที่บ้านผมมันใหญ่30 กว่าไร่ ต้องทำเนินดินรอบใหญ่หนึ่งรอบแล้วก็จะทำรอบเล็กอีกรอบ คุมบ้านผม 3 หลังไว้ เดี๋ยวจะเริ่มทำตอนหน้าแล้ง ใช้เป็นดิน ไม่มีอะไรดีกว่าดินเหนียว ต้องยอมซื้อดิน ให้เขาเอามาลงหน้าบ้านใส่เรือค่อยๆ ทำไปทั้งปี"

           แวบไปถามรัฐบาลนี้โชคร้ายหรือไม่ที่มาเจอวิกฤตน้ำท่วมพอดี เจ้าตัวรับสภาพ มันเป็นจังหวะบังเอิญ แต่ถ้าเราผ่านวิกฤตนี้ได้ วันหน้าเราก็ผ่านวิกฤตอย่างอื่นได้อีก "มันก็หนักนะ เพราะมันทำความลำบากให้กับคน ต่อให้ทำดีอย่างไร มันก็เกิดความลำบาก

            แล้วใครมันจะชอบเขาเดือดร้อนน้ำท่วมบ้าน ท่วมรถ คนก็ต้องวิจารณ์เป็นเรื่องธรรมดา เขาเลยต้องหาเหตุด่า ในยามนี้จะให้คนรักคนสรรเสริญไม่มีทาง ถ้าคิดอย่างนั้น โกหกตัวเองอีก"

            ปลอดประสพ ทิ้งท้ายสำหรับคนกรุงเทพมหานคร(กทม.) ที่กำลังลุ้นระทึกว่าน้ำจะท่วมบ้านหรือไม่ ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้มันเป็นบทเรียนให้กับคนไทยว่า การที่ กทม.จะถูกน้ำท่วมแค่เอวเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ "จะเอะอะโวยวายก็ไม่ได้ประโยชน์ แล้วคนกรุงเทพฯ ก็อย่าคิดว่าตัวเองวิเศษกว่าคนอื่น

            เมื่อก่อนคนกรุงเทพฯ ดูข่าวน้ำท่วมก็คงรู้สึกเพียงแค่สงสารอยากจะช่วย แต่วันนี้ไม่พอแล้ว คนกรุงเทพฯ จะต้องคิดว่ามันสามารถเกิดกับตัวเองได้ คนกรุงเทพฯ จะสูงกว่าคนอื่นไม่ได้ บ้านผมถึงไหล่ชาวอยุธยาล่อไปมิดหัว แล้วมันทำไงล่ะ"
http://redusala.blogspot.com

นักการเมืองคนไหนทำน้ำท่วม กฟผ.ขว้างงูไม่พ้นคอ
แจงเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ไม่เกี่ยวกลายเป็นหลักฐานมัด


             คนมักวิจารณ์กันว่าใครต้องรับผิดชอบกับการปล่อยน้ำจากเขื่อนมาท่วมบ้านเมือง รัฐบาลเก่าหรือรัฐบาลใหม่? เพื่อโยนผิดให้กัน แต่ทั้ง 2 รัฐบาลต่างก็มีนายธีระ วงศ์สมุทร รมว. เกษตรฯคนเดียวกัน ซึ่งน่ากังขาว่าอาจมีวาระซ่อนเร้นเรื่องหาผลประโยชน์เข้าพรรคจากภัยพิบัติน้ำท่วม และยังอาจหวังผลทางการเมืองด้วย

            อย่าลืมว่าปีกลายก็ท่วม จนกังขากันว่าวัตถุประสงค์ของการก่ออุทกภัยเพื่อจะประกาศเขตภัยพิบัติ ซึ่งมีผลต่อการปรับระเบียบการเบิกจ่ายงบกลาง และงบเงินสะสม มีการหักเปอร์เซ็นต์เงินช่วยเหลือ เพื่อระดมทุนก่อนการหาเสียงเลือกตั้งใหญ่หรือไม่?

           ส่วนคำชี้แจงจากกฟผ.ที่บอกว่าเขื่อนภูมิพลกับเขื่อนสิริกิติ์ไม่เกี่ยวข้องนั้น ผู้รู้ย่อมจะเห็นชัดเจนว่า ได้กลายเป็นหลักฐานมัดคอซะเอง นี่เป็นการ "จงใจ" ให้เกิดอุทกภัยอย่างแน่นอน ตรงไหน เดี๋ยวชี้ให้ดูชัดๆ..

โดย วิศวกรเจอน้ำท่วมซ้ำซ้อน
7 พฤศจิกายน 2554

          ข้อสังเกตจากคำชี้แจง กฟผ. เกี่ยวกับการบริหารจัดการ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในสถานการณ์วิกฤตน้ำท่วม : บทเรียนจากอุทกภัยปี ๕๓ มาถึงปี ๕๔

หลังจากมีเสียงวิจารณ์หนักว่าการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ เป็นต้นเหตุซ้ำเติมให้น้ำท่วมใหญ่ในปีนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ไำด้จัดทำเอกสารเรื่อง10 คำถาม – คำตอบ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในสถานการณ์วิกฤตน้ำท่วม ออกมาชี้แจง กล่าวโดยสรุปก็คือ ปฏิเสธที่จะเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อกล่าวหาโดยสิ้นเชิง



ผู้เขียนเองจบวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาฯ ศึกษามาทางเรื่องนี้โดยตรง จึงอยากให้ข้อสังเกตเป็นข้อๆดังนี้

1. ถาม การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน กฟผ. และพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำอย่างไร?

    กฟผ.ตอบ การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน กฟผ. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา การบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูน้ำหลากอยู่ในความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ (กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์ สำนักการระบายน้ำ กทม. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ กฟผ.) ร่วมกันติดตาม-วิเคราะห์สถานการณ์น้ำเพื่อวางแผนการระบายน้ำให้มีความเหมาะสม
- มีแผนการพร่องน้ำในอ่างฯ ในช่วงต้นฤดูฝนเพื่อรองรับน้ำที่คาดว่าจะมีมาตลอดฤดูฝน โดยประสานและวางแผนการพร่องน้ำร่วมกับกรมชลประทาน ตามข้อมูลคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา

- ควบคุมระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำด้วยเส้นระดับน้ำควบคุม (Operating Rule Curve)

- ติดตามข้อมูลฝนและระดับน้ำโดยระบบโทรมาตร เพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว

- มีศูนย์ปฎิบัติการติดตามสถานการณ์น้ำ (War Room) เพื่อประชุมติดตาม แลกเปลี่ยนข้อมูลและผลการวิเคราะห์ ประกอบการตัดสินใจ

- ประสานกับกรมชลประทานทุกสัปดาห์ หรือทุกวัน เพื่อหารือและวางแผนการระบายน้ำที่เหมาะสม

การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ.

             เขื่อนของ กฟผ.เป็นเขื่อนเอนกประสงค์ มีหน้าที่กักเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค การอุตสาหกรรมและการบรรเทาอุทกภัยเป็นหลัก ส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นเพียงผลพลอยได้จากการปล่อยน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามปริมาณ เพื่อการใช้ประโยชน์ที่กล่าวข้างต้น
            ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนของ กฟผ. ตามหลักการจะพยายามควบคุมให้ระดับน้ำ อยู่ในกรอบของ “เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ” (Rule Curve) ซึ่งมีอยู่ 2 เกณฑ์ คือ “เกณฑ์ควบคุมน้ำตัวล่าง” (Lower Rule Curve) และ “เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน” (Upper Rule Curve)

            • Lower Rule Curve จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้ต่ำกว่าระดับนี้ จะมีความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนน้ำในปีหน้า

            • ส่วน Upper Rule Curve จะทำหน้าที่บอกให้ทราบว่า หากเก็บน้ำไว้สูงกว่าระดับนี้จะมีความเสี่ยงเรื่อง น้ำล้นเขื่อนจนอาจต้องเปิดประตูระบายน้ำล้น (Spillway)

            ในสภาวการณ์ปกติ เขื่อนจะพยายามควบคุมไม่ให้ระดับน้ำต่ำกว่า Lower Rule Curve ในช่วงฤดูแล้ง และช่วงฤดูฝน เขื่อนก็จะพยายามระบายน้ำเพื่อไม่ให้ระดับน้ำสูงเกิน Upper Rule Curve ดังนั้น Rule Curve จึงเปรียบเสมือนเกณฑ์ที่คอยควบคุมระดับน้ำในเขื่อนให้มีปริมาณน้ำเก็บกักที่เหมาะสมเทียบกับช่วงเวลาของฤดูกาล เพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวมตลอดทั้งปี

            อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนให้อยู่ภายในกรอบของ Rule Curve ดังกล่าวนั้น ในทางปฏิบัติ อาจมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการได้ตามแผนงานปกติ อาทิ การคาดการณ์สภาวะอากาศ ปริมาณน้ำฝน/น้ำท่าในลุ่มน้ำ ปรากฎการณ์เอลนินโญ่ หรือลานินญ่า การมีมรสุมที่ทำให้เกิดฝนตกหนักมากเป็นประวัติการณ์ หรือข้อจำกัดที่พื้นที่ท้ายน้ำของเขื่อนอยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวพืชผล หรือกำลังเกิดปัญหาอุทกภัย เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนต้องปรับเปลี่ยนไปจากแนวปฏิบัติ

ข้อสังเกตของผู้เขียน -ตรงนี้กฟผ.พยายามจะ establish false authority ให้ผู้อ่านยึดมั่นถือมั่นเอา lower rule curve เป็นหลัก

           แต่ถ้าเป็นนักวิชาการ ดูแล้วจะเห็นว่ าไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง curve นี้ถูกใช้เป็นจำเลยในการคำนวณทุกปี มีลักษณะความห่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปีคือ 20 เมตร (linear)
เป็น curve ที่ถูกเขียนขึ้นตั้งแต่ตอนออกแบบเขื่อน กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว

          การทำ control curve ที่ถูกต้อง ต้องมีการคำนวณถึงความน่าจะเป็น ประมาณการณ์พายุของปีนั้น ซึ่งจะมีรายงานของกรมอุตุฯ ไทย ฮ่องกง (GCACIC) ญีปุ่น (JMA) และสหรัฐ (JTWC) ประมาณการณ์ ไว้อย่างชัดเจน ช่วงประมาณเดือน เมษายน ตัวอย่างเช่น ปีนี้http://en.wikipedia.org/wiki/2011_Pacific_typhoon_season#Seasonal_forecasts  และควรอยู่ในรูปแบบ non linear เช่นในช่วงต้นปี ซึ่งยังไม่แน่นอน จะต้องขยายกว้างกว่าช่วงปลายปี

            สรุปว่าทำ control curve ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การดึงเอาสิ่งที่ "ผิด" มาอ้างว่าเป็น "เกณฑ์" ก็จะทำให้หลักคิด และผลลัพธ์ทุกอย่างผิดตามไปหมด ลองอ่านข้อ 2 และข้อ 2 ที่จะได้อ่ารต่อไปมาประกอบจะยิ่งเห็นภาพชัดเจน

2. ถาม ทำไมเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์จึงไม่ระบายน้ำออกมาก่อนในช่วงต้นฤดูฝน

    กฟผ.ตอบ ช่วงต้นฤดูฝน ณ วันที่ 1 พ.ค. เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำเก็บกัก 6,076 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 45.1 ของความจุ เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำเก็บกัก 4,784 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 50.3 ซึ่งเมื่อเทียบกับระดับน้ำควบคุม (Rule Curve) ที่ใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนแล้วถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก

       จากข้อมูลข้างต้นทั้งสอง เขื่อนมีปริมาณน้ำเก็บกักค่อนข้างน้อยในช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งตามแนวปฏิบัติของการบริหารจัดการน้ำตามสถิติข้อมูลที่ใช้อ้างอิง จะต้องเก็บกักน้ำไว้ เพื่อให้สามารถมีน้ำไว้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวมตลอดทั้งปี ดังนั้นการระบายน้ำออกจากเขื่อนในช่วงนี้ จึงทำผ่านการผลิตไฟฟ้า ตามปริมาณน้ำที่ต้องการใช้เพื่อการเกษตรกรรมและสาธารณูปโภคเป็นหลัก

        แต่ต่อมาปีนี้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุหลายลูก ได้แก่ ไหหม่า (ปลาย มิ.ย. ถึงต้น ก.ค.) และนกเตน (ปลาย ก.ค. ถึงต้น ส.ค.) จึงมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยปกติมาก ทั้งนี้ มากที่สุดตั้งแต่สร้างเขื่อนภูมิพลมา (กว่า 40 ปี) และเกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม

        ปริมาณน้ำฝนที่ตกในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย 30 ปี ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนตั้งแต่ช่วงต้นเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา เป็นเหตุให้ไม่สามารถระบายน้ำออกจากเขื่อนได้ เนื่องจากจะไปซ้ำเติมปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ในช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย.

        และต่อมาในช่วงปลายเดือน ก.ย. มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางตอนบน จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “ไห่ถาง” และ “เนสาด” ทำให้ปัญหาน้ำท่วมทวีความรุนแรงมากขึ้น

ข้อสังเกตของผู้เขียน ข้อนี้ กฟผ. อธิบายว่าวันที่ ๑ พค. ๕๔ ระดับน้ำ ๖ กิ๊ก ซึ่งต่ำกว่า rule curve ถือว่าอยู่ใน "เกณฑ์ที่ต่ำมาก"


         ขอให้พิจารณากราฟของ กฟผ.นะครับ ปี 2010 (๒๕๕๓) เส้นสีน้ำเงินอยู่ที่ระดับ ๕ กิ๊กเองครับ  นอกจากจะไม่กลัวว่าต่ำมากยังแถมลดระดับลงไปเหลือ ๔ กิ๊ก ในเดือนสิงหาคม ๕๓ ซึ่งถ้ายังยืนยันว่าระดับ ๔ กิ๊ก เดือนสิงหาคม "ต่ำมาก" อยู่อีก ก็ต้องขอให้อธิบายว่าที่ระดับ ๔ กิ๊ก ในเดือนสิงหาคม ๕๓ ยังไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมปี ๕๓ ได้ คุณยังจะเรียกว่า "ต่ำมาก" อีกหรือ

3. ถาม ทำไมเขื่อนต้องระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น (Spillway) เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการผลิตกระแสไฟฟ้า

   กฟผ.ตอบ เขื่อนสิริกิติ์มีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ระหว่างวันที่ 25 ส.ค. – 11 ก.ย. 54  เขื่อนภูมิพลมีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้น ระหว่างวันที่ 5 – 13 ต.ค. 54 และ 18 – 20 ต.ค. 54

       การที่ทั้ง 2 เขื่อนจำเป็นต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นผ่านประตูระบายน้ำล้น นอกเหนือจากการระบายน้ำผ่านการผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากปริมาณน้ำใกล้เต็มความจุของอ่างเก็บน้ำ และจากการติดตามข้อมูลปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างยังมีแนวโน้มที่มีปริมาณสูงอยู่ จึงจำเป็นต้องระบายน้ำออกเพิ่มมากขึ้น  เพื่อควบคุมไม่ให้ระดับเก็บกักน้ำเกินความจุของอ่าง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบ ทั้งนี้ในระหว่างการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้นก็ได้มีการเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำที่ไหลเข้าอ่างอย่างใกล้ชิด เมื่อพบว่ามีแนวโน้มลดลงก็ลดปริมาณการระบายน้ำ จนปัจจุบันไม่มีการระบายน้ำผ่านประตูระบายน้ำล้นจากเขื่อนทั้งสอง

ข้อสังเกตของผู้เขียน-ถูกต้องตาม กฟผ.ชี้แจงครับ

4. ถาม เขื่อนต้องการเก็บน้ำไว้มากเพื่อประโยชน์จากการผลิตกระแสไฟฟ้า

    กฟผ.ตอบ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน  แต่เป็นผลพลอยได้จากการระบายน้ำตามความต้องการใช้น้ำเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ อาทิ เช่น การอุปโภค บริโภค การเกษตรกรรม รวมทั้งการบรรเทาอุทกภัย ซึ่งการบริหารจัดการ เรื่องปริมาณน้ำที่จะต้องระบายออก ในช่วงเวลาใดๆ ในรอบปี อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการฯ ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อพิจารณาตัดสินใจร่วมกันอย่างใกล้ชิด

            นอกจากนี้การเก็บกักน้ำไว้เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในเรื่องรายได้ที่เพิ่มขึ้นต่อ กฟผ. แต่ประการใด ทั้งนี้เนื่องจากในระบบโครงสร้าง อัตราค่าไฟฟ้าปัจจุบัน กฟผ.ได้รับรายได้กลับคืนในรูปแบบ “ผลตอบแทนเงินลงทุน” (ROIC) จึงไม่เกิดแรงจูงใจให้ กฟผ.จะต้องเก็บกักน้ำไว้ในปริมาณมากๆ แต่อย่างใด ดังนั้นปัจจุบันการระบายน้ำของเขื่อนเป็นไปตามความจำเป็นทางด้านเกษตรกรรม การบรรเทาอุทกภัย และสาธารณูปโภคเป็นหลัก

ข้อสังเกตของผู้เขียน-ถูกต้องตาม กฟผ.ชี้แจงครับ

5. ถาม ปัจจุบันเขื่อนลดปริมาณการปล่อยน้ำลงแล้ว แต่ทำไมน้ำยังท่วมอยู่

    กฟผ.ตอบ ปัจจุบัน เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีการระบายน้ำออกรวมกันวันละ 70 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นปริมาณน้ำไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ประมาณ 800 ลบ.ม.ต่อวินาทีหรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของมวลน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ราว 4,000 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งน้ำที่ผ่านจังหวัดนครสวรรค์มาจากแม่น้ำหลัก 4 สาย คือ ปิง วัง ยม และน่าน
            ขณะที่มีเขื่อนขนาดใหญ่กั้นอยู่เพียง 2 สาย คือ แม่น้ำปิงและน่าน ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือจึงมาจากแม่น้ำยมและวัง รวมทั้งน้ำที่ค้างอยู่ตามทุ่งไหลลงมา ซึ่งมีปริมาณรวมถึงร้อยละ 80 ของน้ำที่ผ่าน จ.นครสวรรค์แล้วไหลสู่กรุงเทพฯและปริมณฑลไปรวมกับมวลน้ำที่ยังค้างอยู่ตามไร่นาจากภาวะ น้ำท่วมพื้นที่ภาคกลาง ตั้งแต่ช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย. ทำให้มวลน้ำที่กำลังมุ่งสู่กรุงเทพฯ ยังคงมีปริมาณมาก

ข้อสังเกตของผู้เขียน- ข้อที่น่าติดใจสงสัยของคำชี้แจงจาก กฟผ. อยู่ตรงที่

        ๑. ใช้อัตราปล่อยน้ำของวันที่ ๒๙ ตค. ซึ่งน้อยลงมากแล้ว และ 
        ๒. เทียบสัดส่วนของปริมาณน้ำเขื่อนต่อปริมาณน้ำทั้งหมด ที่ถูกต้องคำนวณร้อยละแบบ marginal ครับ เพราะตามธรรมชาติการไหลของน้ำฝน น้ำทุ่ง ประมาณ ๓๐๐๐ ก็ใกล้ระดับตลิ่งอยู่แล้ว ส่วนที่เพิ่มอีกมันก็คือส่วนที่จะทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นจากตลิ่ง ไหลเข้าสู่บ้านเมืองของเรานั่นเองครับ  น้ำ ๒ เขื่อนที่ปล่อยออกมา ณ วันที่ ๒๙ ตค. ๕๔ จำนวน ๕๓ ล้าน ในจำนวนนี้ผู้เขียนประมาณว่า เขื่อนภูมิพลน่าจะประมาณ ๓๐ ล้าน นั่นหมายความว่า ถ้าเขื่อนภูมิพลปล่อยน้ำ ๓๐ ล้าน และเขื่อนอื่นๆเป็นไปตามสัดส่วนนี้ จะทำให้เพิ่มการไหลประมาณ ๖๑๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

         ดังนั้นถ้าการไหลของน้ำปรกติประมาณ ๓๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งรักษาระดับน้ำได้ที่ริมตลิ่ง แต่ถ้าเขื่อนภูมิพลเพิ่มการระบายน้ำเป็น ๑๐๐ ล้านต่อวัน ดังที่กระทำในช่วงที่เกิดอุทกภัย มันก็จะเพิ่มการไหลอีก ๑๘๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
6. ถาม เขื่อนเก็บน้ำไว้ตั้งแต่ต้นมากเกินไปหรือไม่
    กฟผ.ตอบ ในช่วงต้นฤดูฝน 2554 ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลยังต่ำกว่าเกณฑ์กักเก็บปกติในปี 2552 และ 2553 แต่เนื่องจากปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำทั้งของเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ ในช่วงฤดูฝนปี 2554 มีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 2 เท่า

           ซึ่งจากสถิติน้ำของเขื่อนภูมิพล ตั้งแต่ก่อสร้างและเริ่มเก็บกักน้ำในปี 2507 มีน้ำไหลเข้าเฉลี่ย 5,536 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แต่ตั้งแต่ต้นปี 2554 ถึงวันที่ 24 ตุลาคม ก็มีน้ำไหลเข้า 11,200 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ย 2 เท่าตัว

           ประกอบกับ ปีนี้เป็นปีที่น้ำมามากและมาเร็วตั้งแต่ต้นฤดูฝน และพื้นที่ท้ายเขื่อนประสบอุทกภัยทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้มากนัก จากพายุ ไห่ถัง เนสาด และนาลแก เข้ามาที่ภาคเหนือของประเทศไทยเมื่อต้นเดือนตุลาคม แม้ว่าทั้ง 2 เขื่อนจะมีการระบายน้ำเพิ่มจากแผนการระบายน้ำเดิมแล้วก็ตาม

           อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับความจริงว่า เราไม่สามารถคาดการณ์สภาพดินฟ้าอากาศล่วงหน้าได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ บางปีก็เป็นไปตามคาดการณ์ บางปีก็ไม่เป็นไปตามคาดการณ์ จึงต้องอาศัยการพยากรณ์และการเก็บสถิติน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำย้อนหลังเป็นเวลาหลายปี มาประมวลจัดทำเป็นเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำ(Rule Curve) ในแต่ละเดือน สัปดาห์ และวัน นอกจากนี้ จะต้องมีการติดตามและปรับแผนการระบายน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง แบบวันต่อวัน เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาหากเกิดอุทกภัยหรือภัยแล้ง

          ข้อสังเกตของผู้เขียน-กฟผ. ชี้แจงว่าระดับน้ำ ๖ กิ๊กในเดือนพฤษภาคม ๕๔ ถือว่าเป็นเกณฑ์ "ต่ำมาก" แต่จากกราฟปี ๕๓ เส้นสีน้ำเงิน เดือนพฤษภาคมระดับน้ำอยู่ที่ ๕ กิ๊ก และลดระดับลงไปถึง ๔ กิ๊กในเดือนสิงหาคม

           ที่ระดับนี้ยังก่อให้เกิดอุทกภัย ๑๒ จังหวัดภาคกลางในปี ๕๓ เพราะฉะนั้นเกณฑ์ "ต่ำมาก" ของ กฟผ. ที่ระดับ ๖ กิ๊กในเดือนพฤษภาคม ๕๔ นั้นเป็นเกณฑ์ที่ "จงใจ" ให้เกิดอุทกภัยอย่างแน่นอน

ข้อเท็จจริงก็คือ จากเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายนของทุกปี ประเทศไทยเริ่มเข้าหน้าฝน ปริมาณน้ำมีแต่จะเพิ่มขึ้น ไม่มีลดลงอย่างแน่นอน

7. ถาม เขื่อนภูมิพลช่วยบรรเทาภาวะน้ำท่วมอย่างไร

    กฟผ.ตอบ แม้จะมีน้ำมาก เขื่อนภูมิพลก็ยังสามารถบรรเทาภาวะน้ำท่วมได้ จากข้อมูลการระบายน้ำตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 13 ตุลาคม 2554 เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ ทั้งสิ้น 10,281 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำในช่วง 5 เดือนครึ่งรวมกัน 2,861 ล้าน ลบ.ม. เก็บน้ำไว้ถึงกว่า 7 พันล้าน ลบ.ม. ในขณะที่เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ รวม 9,760 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำในช่วงเดียวกัน 5,000 ล้าน ลบ.ม. เก็บน้ำไว้เกือบ 5 พันล้าน ลบ.ม.

            จะเห็นว่าตลอดช่วงฤดูฝนเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ได้เก็บน้ำไว้กว่า 12,000 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นปริมาณน้ำราวครึ่งหนึ่งของมวลน้ำที่ท่วมภาคเหนือตอนบนและภาคกลาง ที่คาดว่าจะมวลน้ำท่วมมากถึง 20,000 ล้าน ลบ.ม  แม้ในช่วงระหว่างวันที่ 1 – 24 ตุลาคม 2554 ที่เขื่อนภูมิพลมีน้ำเกือบเต็มความจุอ่าง ก็ได้ระบายน้ำผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและประตูระบายน้ำฉุกเฉินรวมราว 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปริมาณน้ำไหลเข้าที่มีมากถึง 2,500 ล้านลูกบาศก์เมตร

ข้อสังเกตของผู้เขียน-ถูกต้องตาม กฟผ.ชี้แจงครับ
     8. ถาม ทำไมไม่เร่งระบายน้ำแบบเดียวกับปี 2553 เพราะมีข้อมูลว่า เดือนเมษายน 2554 ปริมาณน้ำในเขื่อน 50.21% แต่กลับปล่อยน้ำออกเพียง 7.0 ล้านลบม. ในขณะที่ปี 2553 ปริมาณน้ำ 37.95% ระบายน้ำถึง 12 ล้านลบ.ม. พฤษภาคม 2554 ปริมาณน้ำในเขื่อน 52.63% แต่กลับปล่อยน้ำออกเพียง 7.5 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ปี 2553 ปริมาณน้ำ 36.90% ระบายน้ำถึง 8.3 ล้าน ลบ.ม. มิถุนายน 2554 ปริมาณน้ำในเขื่อน 60.27% แต่กลับปล่อยน้ำออกเพียง 0.0 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ปี 2553 ปริมาณน้ำ 34.10% ระบายน้ำถึง 11.0 ล้าน ลบ.ม. พอเริ่มปล่อยน้ำออกมาก็พอดีกันกับที่ฝนตกชุก พอน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ปล่อยลงสู่แม่น้ำน่านก็ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม

          กฟผ.ตอบ เนื่องจากปี 2553 มีปัญหาการขาดแคลนน้ำยาวนานจนถึงปลายปี ทำให้เขื่อนต้องวางแผนระบายน้ำเป็นปริมาณมาก โดยในช่วง เม.ย. – มิ.ย. 2553 ระบายรวมทั้งสิ้น 2,150 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็นเขื่อนภูมิพล 1,200 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนสิริกิติ์ 950 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่ปี 2554 ระบายน้ำตามแผนจำนวนทั้งสิ้น 1,330 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็นเขื่อนภูมิพล 530 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนสิริกิตติ์ 800 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปี 2553 จำนวน 150 ล้านลูกบาศก์เมตร
ข้อสังเกตของผู้เขียน- ข้อนี้ กฟผ. ใช้คำว่า "ปี 2553 มีปัญหาการขาดแคลนน้ำยาวนานจนถึงปลายปี" ข้อเท็จจริง คือ ปี ๕๓ เดือนตุลาคม - ธันวาคม เกิด"อุทกภัย" นะครับ ไม่ใช่ "ขาดแคลนน้ำ"
สาเหตุจากการจงใจปล่อยน้ำที่มีปริมาณเพียง ๙ กิ๊กออกมามากๆอย่างรวดเร็ว จนน้ำเหลือน้อยมาก จึงเกิดเหตุภัยแล้งติดตามมาในเดือนมกราคม - มีนาคม ๕๔

           ส่วนตัวเลขปี ๕๓ ระบายน้ำ ๒๑๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ปี ๕๔ ระบาย ๑๓๓๐ สรุประบายน้อยกว่าแค่ ๑๕๐ แปลกไหมครับ กฟผ. ลบเลขยังผิด (2150-1330 = 820 ล้านลูกบาศก์เมตร) ดังนั้น ๘๒๐ เม็ก บวกกับน้ำต้นทุนที่ต่ำกว่าอีกมาก เป็นผลให้ระดับน้ำ เดือนสิงหาคม ๕๓ ซึ่งก่อให้เกิดน้ำท่วมอยู่ที่ ๔ กิ๊ก ส่วนเดือนสิงหาคม ๕๔ อยู่ที่ ๘.๕ กิ๊ก ต่างกันมากกว่าเท่าตัว

9. ถาม ทำไมไม่หยุดปล่อยน้ำ ทั้งๆ ที่ไม่มีรายงานฝนตกเหนือเขื่อน
    กฟผ.ตอบ พื้นที่รับน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ มีบริเวณกว้าง แม้จะไม่มีรายงานฝนตก แต่ก็อาจมีฝนตกในบางพื้นที่ รวมทั้งจะมีปริมาณน้ำหลากค้างทุ่งหรือพื้นที่ป่าเขาที่ทะยอยไหลเข้าเขื่อนตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม หากข้อมูลน้ำไหลเข้าเขื่อนลดลง จะมีการประเมินสถานการณ์ เพื่อลดการระบายน้ำทันที
           นอกจากนี้ เพื่อช่วยให้เขื่อนยังสามารถช่วยบรรเทาสถานการณ์ความรุนแรงบางส่วนได้ ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2554 เป็นต้นมา มีระดับเก็บกักเกินกว่าร้อยละ 99 ที่ระดับเก็บกักดังกล่าวนี้ เขื่อนภูมิพลจะสามารถรับน้ำได้ไม่เกินวันละ 120 ล้านลูกบาศก์เมตร

           การปล่อยน้ำบางส่วน ยังช่วยให้มีพื้นที่รับน้ำได้ดีกว่าการเก็บไว้จนเต็ม 100 เปอร์เซนต์ เช่น ในระหว่างวันที่ 3 - 5 ตุลาคม 2554 มีน้ำไหลเข้าวันละ 213 ถึง 289 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งหากเขื่อนเก็บกักน้ำไว้จนเต็มความจุ 100 เปอร์เซนต์ ก็จะต้องปล่อยน้ำที่เข้ามาในแต่ละวันออกทั้งหมด ซึ่งจะทำให้มีอัตราการไหลของน้ำรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้

ข้อสังเกตของผู้เขียน-ถูกต้องตาม กฟผ.ชี้แจงครับ

10. ถาม ใครเป็นผู้ตัดสินใจสั่งให้หรือไม่ให้ปล่อยน้ำ


       กฟผ.ตอบ ในการวางแผนการระบายน้ำในแต่ละปี คณะทำงานวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆกว่า 20 หน่วยงาน ที่รับผิดชอบดูแลการใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรม อุปโภค และบริโภค จะกำหนดเป้าหมายความต้องการใช้น้ำตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ตลอดช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นต้นไป โดยจะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ รวมทั้งต้นทุนน้ำในแต่ละเขื่อน จากนั้นกรมชลประทานและ กฟผ. จึงมาร่วมกันวางแผนการระบายน้ำในรายละเอียดเป็นรายเดือน รายสัปดาห์ และรายวัน ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำ และประกาศให้เกษตรกรทราบ เพื่อวางแผนการใช้น้ำต่อไป
            อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุการณ์ผิดปกติ ทั้งภัยแล้ง หรือน้ำท่วม เช่นในปี 2554 กรมชลประทานจะเรียกประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ เพื่อติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดและพิจารณาปรับแผนการระบายน้ำตามสถานการณ์

ข้อสังเกตของผู้เขียน-จะเห็นว่าอนุกรรมการ หรือกรรมการอะไรก็แล้วแต่ สุดท้ายสิทธิ์ขาดจะอยู่ที่กรมชลฯ ที่เดียว

          ในสภาวะปรกติ กรมชลฯ จะส่งแผนระบายน้ำมาอาทิตย์ละครั้ง กฟผ. จะรับแผนไปลงในแต่ละวัน แต่ละชั่วโมง ซึ่งรวมทั้งสัปดาห์แล้วจะต้องไม่มาก หรือน้อยไปจากแผนรายสัปดาห์ของกรมชลฯ เกินกว่าที่กำหนด

ผู้เขียนอยากขอเสริม ๒ ประเด็นเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำได้กรุณาพิจารณาประกอบ
๑. สถานการณ์น้ำในเขื่อน นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เริ่มดูที่เดือนมกราคม ๕๔ ซึ่งระดับน้ำต่ำมาก ทำให้เกิดข้ออ้างในการเร่งสะสมน้ำเป็นการใหญ่

ที่ถูก ต้องเริ่มพิจารณาสภาพน้ำในเขื่อนตั้งแต่เดือนตุลาคม ๕๓ ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลอยู่ที่ ๙ กิ๊ก สามารถรับน้ำได้อีกถึง ๑๓ กิ๊ก แต่มีคำสั่งให้ปล่อยน้ำจำนวนมากในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้เกิดน้ำท่วมใน ๑๒ จังหวัด ปล่อยหนักจนกระทั่งระดับน้ำเดือนมกราคม ๕๔ ถึงต่ำมาก จนกลายเป็นข้ออ้างสำคัญในเวลาต่อมา

วัตถุประสงค์ของการก่ออุทกภัย ตุลาคม - ธันวาคม ๕๓ นั้น อาจน่าสงสัยว่า เพื่อประกาศเขตภัยพิบัติ ซึ่งมีผลต่อการปรับระเบียบการเบิกจ่ายงบกลาง และงบเงินสะสม มีการหักเปอร์เซ็นต์เงินช่วยเหลือ เพื่อระดมทุนก่อนการหาเสียงเลือกตั้งใหญ่

อีกประการหนึ่งเป็นโอกาสในการนำถุงยังชีพออกไปแจกฐานเสียง และจ่าย ๕,๐๐๐ บาทเป็นประชานิยม

๒. หลายคนพูดถึงรัฐบาลเก่า รัฐบาลใหม่ เพื่อโยนผิดให้กัน แท้จริงแล้วทั้ง 2 รัฐบาลต่างก็มีนายธีระ วงศ์สมุทร รมว. เกษตรฯ คนเดียวซึ่งควบตำแหน่งนี้ทั้งปี ๕๓ และปี ๕๔  ส่วนคำถามที่ว่านายธีระจะวางยาตัวเองเพื่ออะไร โดยเฉพาะต้องเร่งกักเก็บน้ำในขณะที่ยังไม่รู้ผลการเลือกตั้ง อันนี้ก็น่ากังขาว่า อาจเป็น

         แผน A ถ้าประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง ก็กลับไปเล่นสูตรเดิมแบบปี ๕๓ หักเปอร์เซ็นต์เข้าพรรคแต่ถ้าเพื่อไทยชนะ 
         แผน B ก็คืออาศัยประเด็นนี้เล่นงานรัฐบาล ถ้าดึง สส. เพื่อไทยได้แบบกลุ่มเนวินคราวที่แล้ว ก็มีโอกาสพลิกขั้วกลับมาจัดตั้งรัฐบาล

          โดยลำพังนายธีระเองก็ไม่น่ากลัวหรอกครับ แต่ท่านเป็นนอมินีของใคร มีอิทธิพลมากในหลายๆด้านแค่ไหน ให้ไปหากันเอง
************
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:สุดท้ายชายชุดดำผิดภัยพิบัติน้ำถล่มกรุง
http://redusala.blogspot.com