วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ก้าวย่างสู่ชัยชนะต่อเผด็จการอมาตย์อย่างมั่นคงของพรรคเพื่อไทย


ก้าวย่างสู่ชัยชนะต่อเผด็จการอมาตย์อย่างมั่นคงของพรรคเพื่อไทย

ก้าวย่างสู่ชัยชนะต่อเผด็จการอมาตย์อย่างมั่นคงของพรรคเพื่อไทย
(บทความจาก webboard IF ขอขอบคุณ webboard IF http://www.internetofreedom.com)
ปูนนก           ระยะที่ผ่านมานี้ ผมได้เฝ้ามองดูสถานการณ์ทางการเมือง และการทำงานของพรรคเพื่อไทยอย่างใกล้ชิด พยายามพิจารณา และวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่าจะดำเนินต่อไปในรูปแบบใด ซี่งจะส่งผลอย่างไรในอนาคตต่อการต่อสู้กับเผด็จการอมาตย์ในสงครามครั้งนี้

            ต้องขอย้ำเตือนให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า ทุกๆ ท่านคงไม่ลืมว่า “ขณะนี้พี่น้องผู้รักประชาธิปไตยในประเทศนี้กำลังทำสงครามทั้งเย็น และร้อนกับฝ่ายเผด็จการอมาตย์ เพื่อให้ได้มาซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย” ซึ่งในการสงครามครั้งนี้จะไม่สามารถจบลงได้ด้วย Win Win จะต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะหรือแพ้กันอย่างเด็ดขาด และฝ่ายประชาชนประชาธิปไตยจะต้องชนะ ซึ่งนี่คือ “เป้าหมาย และเป็นยุทธศาสตร์” ที่ตัวแทนของประชาชนฝ่ายประชาธิปไตย (โดยอนุโลมเฉพาะหน้า) คือ พรรคเพื่อไทย และ นปช. จะต้องก้าวเดินไปสู่เป้าหมายนี้ ผมเชื่อว่าก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมาท่านนายกทักษิณ และประชาชนไทยผู้รักประชาธิปไตยทุกคนต่างก็ไม่คาดคิดมาก่อนว่า “เจ้าของอำนาจเผด็จการที่ครอบประเทศไทยมาอย่างยาวนานนี้ จะโหดเ..หี้ยม และร้ายกาจต่อประชาชนในประเทศได้ถึงเพียงนี้” ผมมั่นใจว่าใครที่ไม่ได้ผ่านสถานการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 มาจะไม่มีทางซาบซึ้งถึงความร้ายกาจที่ เจ้าของอำนาจเผด็จการได้ปิดซ่อนเอาไว้อย่างมิดชิดตลอดระยะเวลาอันยาวนานนี้ได้เลย.. 

             แต่ทว่านับแต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมาภาพแห่งความโหดร้าย การแสดงความเป็นเผด็จการโดยไม่สนใจต่อกฏหมายที่เป็นหลักในการปกครองประเทศ ได้ถูกทำลายครั้งแล้วครั้งเล่า โดยผ่านทางกลุ่มเครื่องมือของอำนาจเผด็จการหลายกลุ่มด้วยกัน เช่นกลุ่ม พธม. (กรณียึดสนามบิน, ยึดทำเนียบรัฐบาล และยึดสถานีดาวเทียมไทยคม อันนี้ชัดเจนที่สุด) กลุ่มองค์กรอิสระต่างๆ ที่แสดงความเป็นปฏิปักษ์อย่างชัดเจนต่อผู้ที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตย องค์กรศาลต่างๆ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ ที่ตัดสินคดีการเมืองอย่างเลวทรามที่สุดโดยปลดนายกสมัคร ออกจากตำแหน่งด้วยข้อหาที่ไม่มีใครเขาคิดกันได้ (ถ้าไม่ชั่วร้ายจริงๆ) ยุบพรรคการเมืองที่เป็นเครือข่ายของท่านนายกทักษิณถึง 2 ครั้งคือ ไทยรักไทย และพลังประชาชน ตัดสิทธิ์นักการเมืองที่อยู่ฝ่ายนายกทักษิณคนละ 5 ปี 

             และที่สำคัญก็คือพรรคประชาธิปัตย์ ที่ทำงานการเมืองด้วยความเมามัวในอำนาจเผด็จการ และคดโกงอย่างหาที่เปรียบได้ยาก ซึ่งสุดท้าย ทหารที่เป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่สุดของอำนาจเผด็จการก็ออกมา “สังหารหมู่ประชาชน” กลางเมืองหลวงในเวลากลางวันแสกๆ ภาพเหล่านี้ได้ถูกฉายซ้ำเดิมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมากขึ้นจนทำให้ประชาชนไทยผู้รักประชาธิปไตยและความเป็นธรรม ได้เข้าใจและรู้ซึ้งแล้วว่า “เจ้าของอำนาจเผด็จการที่ครอบประเทศไทยอยู่นี้ เขาไม่ได้รักประชาชนอย่างที่พยายามสร้างภาพมาตลอดหลายสิบปีนี้เลย” สิ่งที่เขารักและต้องการก็คือ “อำนาจ และเงินตรา” ที่ได้สูบเลือดเนื้อไปจากประชาชนไทย อย่างชั่วร้ายที่สุด ใครบางคนที่ประชาชนเคยคิดและเทิดทูนว่าเป็น “เทวา” แต่ในที่สุดก็ได้รู้ว่าเป็นเพียง “ซาตาน” ที่ชั่วร้ายที่สุด เท่านั้นเอง

             ท่านนายกทักษิณได้รับบทเรียนอย่างเจ็บแสบมาแล้วหลายครั้ง และมี 2 ครั้งสำคัญมาก ก็คือ การรัฐประหารล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทย และตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย และล้มรัฐบาลท่านนายกสมชาย และตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน ด้วยเหตุนี้แนวทางการต่อสู้ของท่านนายกทักษิณ และพรรคเพื่อไทยที่จะกำลังต่อสู้ต่อไปก็คือ “การที่จะถือครองอำนาจรัฐให้ได้ยาวนานที่สุด และเปิดโปงความชั่วร้ายของเครือข่ายอำนาจเผด็จการที่แสดงตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยให้ได้มากที่สุด” โดยอาศัยภาพแห่งความเน่าเฟะแห่งความเลวร้ายเหมือนช้างตายทั้งตัว ที่ฝ่ายเผด็จการพยายามเอาใบบัว แห่งความศรัทธาจากภาพที่ถูกสร้างไว้ในอดีต มาปกปิดนั้น มาเปิดเผยต่อประชาชนทั้งประเทศ และต่อทั่วโลก ซึ่งสิ่งที่ท่านนายกทักษิณ และพรรคเพื่อไทยกำลังพยายามทำนี้ก็คือ “การจัดตั้งทางความคิด และอุดมการณ์แห่งประชาธิปไตยให้กับคนไทยทั้งชาตินั่นเอง” 

ทักษิณ
              ในเบื้องแรกผมก็ไม่เข้าใจวิธีคิดของผู้บริหารพรรคเพื่อไทยว่า “ทำไมถึงไม่ยอมแสดงความเข้มแข็งในทางรัฐสภา เพื่อชนกับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญอย่างตรงไปตรงมา” ซึ่งเมื่อพิจารณาดูในเบื้องแรกแล้ว ก็น่าที่จะได้เปรียบในทางการเมือง และได้ใจประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยให้ฮึกเหิมในการต่อสู้กับอำนาจเผด็จการมากขึ้น แต่การที่พรรคเพื่อไทยถอย ไม่ยอมเข้าปะทะ นอกจากเสียเปรียบทางเมืองแล้ว ยังทำให้ประชาชนที่สนับสนุนพรรคถอดใจ หรือปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทยอีกด้วย นี่คือความคิดในเบื้องแรกของผม และเชื่อว่าคนเสื้อแดงโดยเฉพาะนักคิดจำนวนมากก็คิดเช่นนี้ดุจเดียวกัน

              แต่จากการชุมนุมรำลึกครบรอบ 80 การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่ผู้คนเรือนแสนมาร่วมชุมนุมกันอย่างพร้อมเพรียง ได้มีปรากฏการณ์สำคัญเกิดขึ้นก็คือ มีประชาชนจำนวนมากให้ความสำคัญกับ “หมุดคณะราษฎร และร่วมกันอ่านประกาศฉบับที่ 1 ของคณะราษฎรกันอย่างมากมาย” แสดงว่าประชาชนผู้รักประชาธิปไตย เริ่มเข้าใจถึง “หลักแห่งการต่อสู้ในครั้งนี้มากขึ้นแล้วว่า เรากำลังต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย มิใช่สู้เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง” ดังนั้นการโจมตีจากกลุ่ม พธม. และพรรคประชาธิปัตย์ ที่กล่าวหาว่าประชาชนคนเสื้อแดง สู้เพื่อนายกทักษิณ จึงไม่มีผลใดๆ เกิดขึ้นในทางการเมืองเลย

               การเลือกตั้งนายก อบจ. ที่เชียงใหม่ และเลือกตั้ง อบต. อีกหลายแห่ง ที่พรรคเพื่อไทยชนะพรรคประชาธิปัตย์อย่างขาดลอย แสดงให้เห็นว่าประชาชนยังไม่เสื่อมคลายการสนับสนุนพรรคเพื่อไทย.. 

               ดังนั้นด้วยยุทธศาสตร์ที่จะต้องเอาชนะเผด็จการอมาตย์ให้ได้อย่างเด็ดขาด ผมเชื่อว่าทีมงานของพรรคเพื่อไทยต้องการวางแผนเอาชนะเผด็จการอมาตย์ด้วยการ “จัดตั้งทางความคิด และอุดมการณ์ ประชาธิปไตยให้กับคนไทยทั้งชาติ” ด้วยการเปิดเผยให้เห็นความชั่วร้ายของอำนาจอิทธิพลมืด.. ความเสื่อมทรามของระบบยุติธรรมของประเทศ.. การโกหกโดยอาศัยความหน้าด้านและไร้ยางอาย ของเผด็จการผู้ครองอำนาจอยู่ และชี้ให้ประชาชนเห็นถึงความชั่วร้ายของรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ของเผด็จการที่สร้างเอาไว้ว่า ทำให้ประชาชนและคนไทยทั้งชาติสูญเสียประโยชน์มากเพียงใด

               การที่รัฐบาลตัดสินใจที่จะนำเอาข้อพิจารณาว่าจะอนุญาตให้องค์การนาซาของสหรัฐอเมริกา มาใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นฐานในการปฏิบัติการด้านอุตุนิยมวิทยา และฝุ่นละอองในอากาศของภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค เข้าสู่กระบวนการทางรัฐสภาโดยไม่ตัดสินใจอนุมัติหรือไม่อนุมัติโดยมติคณะรัฐมนตรีเองนั้น ผมมองว่าเป็นความชาญฉลาดและเป็นเหลี่ยมคูทางการเมืองที่แหลมคม และสอดคล้องกับการที่รัฐบาลยอมถอยจากการปะทะกับศาลรัฐธรรมนูญในกรณีการลงมติวาระ 3 ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะสิ่งที่รัฐบาลกระทำทั้ง 2 กรณีนั้นส่งผลให้เกิดขึ้นในภาคประชาชนในทางสาธารณะ คือ 

            1. ประชาชนได้เห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ในความชอบธรรมในการต่อสู้ทางระบบรัฐสภา ซี่งพรรคประชาธิปัตย์ที่อ้างตลอดมาว่า “ยึด มั่นในระบบรัฐสภา” แต่ได้เป็นผู้ทำลายระบบรัฐสภานั้นเสียเอง


            2. ประชาชนได้เห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้โกหก และไม่รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองกระทำในกรณีสนามบินอู่ตะเภานี้ โดยอาศัยการหลอกลวง..หน้าด้าน.. อย่างไร้ยางอาย และกระทำให้ประชาชนไทยทั้งชาติสูญเสียสิ่งที่เป็นประโยชน์และสำคัญยิ่งไปอย่างน่าเสียดาย 


           3. ประชาชนได้เห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์พยายามปลุกกระแสให้เกิดความหวาดวิตกต่อประชาชนถึงการเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการของนาซาในเบื้องแรก เพื่อให้เกิดแรงต่อต้านจากประชาชนทั้งๆ ที่จุดเริ่มแรกของเรื่อง นาย กษิต ภิรมย์ ซึ่ง่เป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์เองได้เป็นผู้เริ่มต้นอนุมัติให้นาซาเข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการในไทยได้


            4. ประชาชนได้เห็นว่า ความเลวร้ายและกับดักแห่งความชั่วทั้งมวลได้ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 นี้ อย่างเลวร้ายที่สุด เพราะเหตุว่า ถ้า ครม. ของรัฐบาลนี้ อนุมัติให้นาซา เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการในไทยตามที่มีการตกลงเอาไว้ก่อนหน้านั้น ก็อาจจะเป็นช่องทางให้ศาลรัฐธรรมนูญ ยกเอาเหตุนี้มาเป็นข้อที่จะสามารถตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย หรือปลดนายกรัฐมนตรีได้ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 มาตรา 190 ได้ระบุเอาไว้ว่า

             “หนังสือ สัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมาย ระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตาม วรรคสองคณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย”

              ซึ่งด้วยกับดักนี้ การที่ ครม. จะพิจารณาอนุมัติโดยลำพังก็จะเข้าทางที่จะถูกปลุกปั่นกระแสให้กลายเป็นเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เป็นข้ออ้างในการปลดคณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีได้ทันที ตามแผนล้มอำนาจรัฐด้วยศาลปกครองที่ฝ่ายเผด็จการอมาตย์วางเอาไว้              5. ประชาชนได้เห็นว่า ท่านนายกยิ่งลักษณ์มีความตั้งใจจริงและแน่วแน่ในการทำงานให้กับบ้านเมืองและประชาชนอย่างแท้จริง โดยไม่เอาเวลาไปต่อล้อต่อเถียงทางการเมืองเลย ไม่ว่าจะถูกรุมกระหน่ำ โจมตีให้ร้าย หรือแม้กระทั่งถูกจ้องจับตัวเพื่อบีบบังคับให้ลาออก แต่ท่านนายกยิ่งลักษณ์ ก็ยังตั้งใจทำงานสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนและประเทศชาติโดยรวม ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไป สิ่งนี้ทำให้เห็นข้อแตกต่างและเปรียบเทียบการทำงานระหว่างนายกยิ่งลักษณ์ กับนายกอภิสิทธิ์ ได้อย่างชัดเจน

 ยิ่งลักษณ์             พี่น้องผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายครับ ไม่มีสงครามการต่อสู้ใดที่ไม่มีการนำแม้จะเป็นสงครามทางความคิดก็ตาม คนเสื้อแดงผู้ต้องการประชาธิปไตยทุกท่านต้องการให้ได้มาซึ่งความเป็นประชาธิปไตย หรืออย่างน้อยก็ทำลายอำนาจเผด็จการอมาตย์ที่ครอบงำประเทศนี้ให้หมดสิ้นไป ซึ่งคณะราษฎรได้พยายามกระทำเมื่อปี 2475 แต่ไม่สำเร็จ ซึ่งเป็นโอกาสของเราที่จะรับหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์นี้ต่อไปเพื่อลูกหลาน และคนรุ่นต่อไปจะได้ไม่ต้องตกเป็นผู้อยู่ใต้อำนาจเผด็จการเถื่อนของอมาตยาธิปไตยอีกต่อไป 

               คณะราษฎรเอาชนะอำนาจอันยิ่งใหญ่ของสมบูรณาญาสิทธิราชได้ ก็ด้วยความสมัครสมานสามัคคีกันอย่างแน่นแฟ้น มีเป้าหมายมั่นคงและมุ่งมั่นต่ออุดมการณ์อย่างแน่วแน่ในเบื้องต้น ทำให้ไม่มีใครเอาชนะได้ พี่น้องพวกเราที่รักประชาธิปไตยทุกท่าน “จะต้องยึดมั่นใน อุดมการณ์แห่งความเป็นประชาธิปไตย เชื่อมั่น และยอมรับการนำของพรรคเพื่อไทย และ นปช. (แม้ว่าหลายอย่างเราจะไม่เห็นด้วยก็ตาม)” เพราะจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีกลุ่มการเมืองใด หรือใคร ที่จะศักยภาพพอที่จะต่อกรกับอำนาจเผด็จการที่ครอบงำประเทศนี้อยู่ได้เลย 

               ดังนั้นเราทุกคนต้องช่วยเสริมกำลังซึ่งกันและกัน ไม่ใช่การทำลายกัน การติเพื่อก่อ เป็นสิ่งที่ต้องทำและต้องสนับสนุนให้ทำกันมากๆ เพื่อที่การนำของพรรคเพื่อไทย จะได้มีมุมมองกว้างขึ้น มากกว่าจะฟังเพียงแค่ผู้ที่อยู่ใน War Room เท่านั้น.. แต่ขณะเดียวกัน การติเพื่อทำลายกันจะส่งผลให้เกิดการแตกแยก และการนำพังทลาย ซึ่งเมื่อการนำพังทลาย รัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็จะพ่ายแพ้ในการต่อสู้.. เมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยพ่ายแพ้ในการต่อสู้ นปช. ก็จะพ่ายแพ้ในการต่อสู้.. เมื่อ นปช. พ่ายแพ้ในการต่อสู้ คนเสื้อแดงก็พ่ายแพ้ในการต่อสู้ด้วย เมื่อคนเสื้อแดงพ่ายแพ้ในการต่อสู้ ประชาธิปไตยที่เราต้องการมอบและส่งต่อให้กับลูกหลานของเราในอนาคตก็จะพ่ายแพ้ไปด้วย 

*** หมายเหตุคำว่า “พ่ายแพ้” ผมหมายความว่าเผด็จการอมาตย์กลับมามีอำนาจครอบงำประเทศได้เหมือนเดิมโดยไร้การต่อต้านอย่างเป็นรูปธรรมเหมือนเช่นปัจจุบันนี้..มิได้หมายความว่า   ประชาชนจะพ่ายแพ้โดยไม่ต่อสู้อีก แต่การต่อสู้จะยากและยาวนานกว่าที่ควรจะเป็นมาก*** 


“เนื่องจากตะปูเล็ก ๆ ตัวหนึ่งหลุดหายไปเกือกม้าจึงหลุดหายเนื่องจากเกือกม้าหายไปม้าจึงเสียหลักเนื่องจากม้าเสียหลักขุนพลจึงตกหลังม้าเนื่องจากขุนพลพลัดตกจากหลังม้าการสู้รบจึงพ่ายแพ้เนื่องจากการสู้รบพ่ายแพ้จึงสูญชาติ

ปูนนก 

--------------------------------------------------------------------------
ต่อไปนี้เป็นข้อเขียนของคุณ Redstar

"ปูนนก เขียน"

              ดังนั้นด้วยยุทธศาสตร์ที่จะต้องเอาชนะเผด็จการอมาตย์ให้ได้อย่างเด็ดขาด ผมเชื่อว่าทีมงานของพรรคเพื่อไทยต้องการวางแผนเอาชนะเผด็จการอมาตย์ด้วยการ “จัดตั้งทางความคิด และอุดมการณ์ประชาธิปไตยให้กับคนไทยทั้งชาติ” 
..........
มีคำถามว่า เป็นเช่นนั้น จริงหรือ 

            หากทีมงานพรรคเพื่อไทย และ องค์การ นปช ประสงค์จะจัดตั้งทางความคิดจริง สองปี ที่ผ่านมา ทำไมจึงพยายาม ฉุด รั้ง ให้ความคิดอ่านของมวลชน หยุดนิ่ง อยู่กับที่ การที่มวลชน คิดก้าวหน้า มาในปัจจุบัน ควรเป็นผลงาน ของ แดงก้าวหน้า กลุ่มอื่นๆ เช่น แดงสยาม กลุ่ม 24 มิย ฯลฯ หรือนักวิชาการก้าวหน้า เช่น คณะนิติราษฎร์ อ สุธาชัย อ จรรยา ยิ้มประเสริฐ อ สมศักดิ๋ เจียม ฯ และ วิทยากรหัวก้าวหน้าคนอื่นๆ ฯลฯ ไม่ใช่ผลงานโดยตรง ของ นปช หรือ ทีมงานพรรคเพื่อไทย 

ตัวอย่าง ของการฉุดรั้งความคิดอ่านของมวลชน เช่น 

           เมื่อไร ก็ตาม ที่มีใคร เสนอ แนวความคิดที่ก้าวหน้า ต่อมวลชน จะถูก กล่าวหา ว่า สร้างความแตกแยก ให้คนเสื้อแดง ถูกโจมตี ให้ร้าย ตลอดมา ไม่ว่าจะเป็น อ สมศักดิ๋ เจียม ฯ อ จรรยา และวิทยากร อีกหลายท่าน ในอดีต คุณปูนนก ก็เป็นคนหนึ่ง ที่เคยแสดงความเห็นที่เฉียบคม ว่า รถโดยสารของ นปช ต้องการไปแค่นครสวรรค์ แต่คนขับรถ ของ รถ นปช ไม่เคยบอก ผู้โดยสาร ว่า รถ นปช คันนี้ ไปแค่ นครสวรรค์ ไม่ใช่หรือ 

            ความคิดอ่านที่เฉียบคม เช่นนี้ ของคุณปูนนก หายไปไหน ? ผมรู้ว่าหลายคนคงไม่ชอบความเห็นแบบนี้ แต่ก็ไม่คิดที่จะขออภัย ที่อยากแย้ง ก็คือ การจัดตั้งทางความคิด สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ต้องทำให้มวลชนคิดเองเป็น ไม่ใช่ต้องรอการชี้นำ จากแกนนำ แต่เพียงอย่างเดียว 

             ถ้าคิดเองไม่เป็น ต้องรอการชี้นำ อย่างเดียว แต่ปากบอกว่า คิดเองเป็น แบบนี้ไม่เรียกว่า การจัดตั้งทางความคิด 

-----------------------------------------------------------------------------------
คุณปูนก ได้โต้แย้งว่า...
             สวัสดีครับคุณ redstar

              ผมดีใจที่ได้มีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมรบ นักรบร่วมอุดมการณ์ที่เคยต่อสู้ร่วมกันมาหลายปี ทั้งในโลกไซเบอร์ และบนท้องถนนจริงๆ ขอบคุณที่ยกข้อความที่ผมเคยเขียนเอาไว้ในอดีตว่า "รถโดยสารของ นปช ต้องการไปแค่นครสวรรค์ แต่คนขับรถ ของ รถ นปช ไม่เคยบอก ผู้โดยสาร ว่า รถ นปช คันนี้ ไปแค่ นครสวรรค์" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคุณ redstar ก็เป็นท่านหนึ่งที่สู้รบเคียงบ่าเคียงไหล่ ร่วมกันกับนักรบประชาธิปไตยท่านอื่นๆ มาอย่างยาวนาน เพราะข้อความนี้ผมเชียนเอาไว้ในบทความหลายปีมาแล้ว ดูเหมื่อนจะเป็นสมัยท่านนายกสมัคร หรือท่านนายกสมชายนี่แหละ ซึ่งผมต้องขอบคุณอย่างมากที่คุณ redstar ได้ย้ำเตือนความเข้าใจให้กับผมอีกครั้งหนึ่งถึงแนวทางที่ผมเคยมีจุดมุ่งหมายเอาไว้

               ก่อนอื่นผมต้องขอยืนยันกับคุณ redstar ว่า ผมนายปูนนก คนที่เขียนบทความชิ้นนั้น กับนายปูนนกที่เขียนบทความชิ้นนี้ ยังคงเป็นคนๆ เดียวกัน ยังคงมีความรู้สึกนึกคิด และความปรารถนาที่จะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ทว่านายปูนนกวันนี้ กับนายปูนนกวันนั้น "มีความเข้าใจสถานการณ์การสู้รบแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ" เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นคนละคนกันเลยก็ว่าได้..ความหมายก็คือเวลานี้ผมมองการต่อสู้ไปที่ศัตรู ไม่ได้มองการต่อสู้ไปที่มิตรร่วมรบ ผมไม่ไว้ใจศัตรู แต่ไว้ใจพันธมิตรร่วมรบ พูดง่ายๆ ก็คือ ศัตรูของผมก็คือ อำนาจเผด็จการอมาตยาธิปไตย และเครือข่ายทั้งหมด ซึ่งผมจะต้องเข้าร่วมกับพันธมิตรเพื่อทำลายอำนาจเผด็จการอมาตยาธิปไตยนี้ให้สิ้นซากไปจากประเทศไทยให้ได้ และขณะนี้มิตรร่วมรบ และนักรบร่วมศึกของผมก็คือ พรรคเพื่อไทย และ นปช. ครับ

                เพราะถ้าเราไม่มีพันธมิตรเหล่านี้ ก็ยากที่จะประชาชนผู้รักประชาธิปไตยจะเอาชนะเผด็จการอมาตย์ที่ครองประเทศนี้มาอย่างยาวนาน และมีอำนาจเต็มในมือได้ในเร็ววัน บอกตรงๆ ครับ ความคิดของผมขณะนี้ สำหรับการสู้รบในสงครามกับเผด็จการอมาตย์ที่เป็นอยู่นี้ผมต้องการชัยชนะอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และผมจะไม่เปิดศึก 2 ด้านโดยเอาอุดมการณ์ประชาธิปไตยขั้นที่ 10 มาไว้ใน การต่อสู้ขั้นที่ 1 

               ผมไม่ใช่นักการเมือง ผมไม่ใช่แกนนำ นปช. หรือผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการเป็นรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย ผมไม่เคยได้รับการช่วยเหลือทางการเงินใดๆ จากท่านนายกทักษิณแม้แต่น้อย ผมก็ยังคงมีสภาพเป็นนายปูนนกเช่นเดิมเหมือนที่เคยเป็นมา แต่ทว่าเวลานี้ผมต้องการมิตรร่วมรบ มากกว่าศัตรูรอบข้าง เพื่อจะเอาชนะต่อเผด็จการอมาตย์ให้ได้ในเบื้องแรก... และจากนั้นเมื่อเผด็จการอมาตย์พ้นออกไปจากอิทธิพลการครอบครองประเทศนี้แล้ว


                การต่อสู้กับมิตรที่เคยร่วมรบกันมากรณีที่จะไม่ร่วมเดินต่อกันไปจนถึงฝั่งฝัน ย่อมอาจจะต้องเกิดขึ้นได้ (แต่นั่นเป็นเรื่องในอนาคต) และผมก็จากการเป็นมิตรก็อาจจะต้องเป็นศัตรูกับเพื่อนที่เคยร่วมศึกมาด้วยกัน.. แต่นั่นคือเรื่องของอนาคตครับ ไม่ใช่วันนี้

               ดร. ซุนยัดเซน มีขุนพลคู่กายอยู่ 2 คนที่ทำการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ชิงสำเร็จ คือ เจียงไคเช็ค และเหมา เจ๋อ ตง เมื่อเจียง กับเหมา มีอุดมการณ์ทางการเมืองต่างกัน แต่ก็ร่วมมือกันกับซุน ยัดเซน ล้มล้างราชวงศ์ชิงได้ แต่พอซุนยัดเซน ตาย อุดมการทางการเมืองที่ต่างกันก็ทำให้ เจียง กับ เหมา รบกัน ทั้งๆ ที่เคยเป็นสหายศึกมาแต่เก่าก่อน และในที่สุดก็อย่างที่ทราบๆ เจียงไคเช็ค พ่ายแพ้ ต้องหนีไปอยู่เกาะฟอร์โมซา (ใต้หวัน) มาจนทุกวันนี้

               คุณ redstar ครับ ผมมีคำถามให้คิดง่ายๆ ครับ แต่คำตอบไม่ง่ายนักให้คุณคิดพร้อมอธิบายเหตุผล ถ้าเป็นคุณ คุณ redstar จะเลือกทำอย่างไรระหว่าง 

              1. เป็นวีรชนต่อสู้กับข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่าทั้งๆ ที่รู้ว่าสู้ไม่ได้จนตัวตาย และในที่สุดการศึกก็พ่ายแพ้บ้านเมืองถูกยึดทำลาย (เหมือนชาวบ้านบางระจัน) 

              2. เป็นผู้ได้ชื่อว่าทรยศด้วยการหลีกหนีการต่อสู้ปล่อยให้บ้านเมืองถูกทำลาย แต่ไปซ่องสุมกำลังแล้วกลับมาเอาชนะข้าศึกกู้บ้านกู้เมืองได้ (ดังเช่นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) 

              เรียนตามตรงครับ ผมขอเลือกทำอย่างที่ 2 เพราะคนที่ตายแล้ว เอาชนะข้าศึกไม่ได้ครับ (ยกเว้น เอลซิด คนเดียว)

              ปูนนก

------------------------------------------------------------
ความเห็นของคุณ Redstar
คุณปูนนก 

             ที่คุณบอกว่า "ความหมายก็คือเวลานี้ผมมองการต่อสู้ไปที่ศัตรู ไม่ได้มองการต่อสู้ไปที่มิตรร่วมรบ ผมไม่ไว้ใจศัตรู แต่ไว้ใจพันธมิตรร่วมรบ พูดง่ายๆ ก็คือ ศัตรูของผมก็คือ อำนาจเผด็จการอมาตยาธิปไตย และเครือข่ายทั้งหมด " 

             ผมหรือ redstar คิดไม่แตกต่างจากคุณ อาจจะแตกต่างกันในเรื่อง ที่ผมมองว่า องค์กร นปช และ พรรคเพื่อไทย ไม่อาจที่จะผูกขาด การนำทางความคิด แต่เพียง 2 องค์กรนี้ เหมือนแต่ก่อน และต้องขอยืนยันว่า ทั้งองค์กร นปช และ พรรคเพื่อไทย เป็นมิตร และ เป็นแนวร่วมของคนเสื้อแดง ดังนั้น การกระทำใดๆ ของทั้ง 2 องค์กร 

             ถ้าเป็นเรื่องที่ ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางความคิด ย่อมต้อง สนับสนุน และเชิดชู แต่ถ้าเรื่องใด เป็นเรื่องที่ ฉุดรั้ง ความคิดอ่านของมวลชน ให้หยุดนิ่งอยู่กับที่ ก็จำเป็นต้องติติง กันบ้าง แต่จำกัดวง แค่ "การติเพื่อก่อ" ไม่ใช่ "ติเพื่อทำลาย" 

             การติเพื่อก่อ เช่นนี้ต่างหาก ที่สะท้อน ความรัก ความห่วงใย ที่มีต่อ นปช พรรคเพื่อไทย และ ท่านทักษิณอย่างแท้จริง เรื่อง ที่ผมเห็นต่างและโต้แย้ง เป็นเรื่อง ที่ว่า จะต้องทำอย่างไร จึงจะเรียกว่า เป็นการจัดตั้งทางความคิด ให้แก่มวลชนเพื่อให้มวลชน คิดเองเป็น เพราะ ถ้าไม่ทำเช่นนั้น ก็จะไม่เรียกว่า การจัดตั้งทางความคิดแต่เป็นการ ครอบงำ ทางความคิด ต่างหากสาระสำคัญ ของผม อยู่ที่นี่

คุณปูนนก ได้ตั้งคำถามมา สอง คำถาม 

             คำถามแรก 1. เป็นวีรชนต่อสู้กับข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่าทั้งๆ ที่รู้ว่าสู้ไม่ได้จนตัวตาย และในที่สุดการศึกก็พ่ายแพ้บ้านเมืองถูกยึดทำลาย (เหมือนชาวบ้านบางระจัน) 
ผมขอตอบแบบนี้ 

             ในขั้นตอนนี้ ยังอยู่ในขั้นของการ แสดงความเห็นที่หลากหลาย โต้แย้ง และ ถกเถียงกัน เพื่อก่อให้เกิดการตกผลึกทางความคิดร่วมกัน และเมื่อ เกิดการตกผลึกทางความคิดร่วมกัน การคิดหาหนทางการต่อสู้ ใหม่ๆ จึงจะเกิดตามมา 

              ขอย้ำว่า นี่ไม่ใช่การปลุกระดม ให้เร่งออกไปลงมือปฎิบัติการ เพราะ หนทางการต่อสู้ใหม่ๆที่ดีกว่า ยังไม่เกิดขึ้น การเร่งรีบลงมือ ปฎิบัติการ แบบที่สะใจพวกฮาร์คอร์ด จึงเป็นการ ฆ่าตัวตาย และ นำความพ่ายแพ้มาให้ รู้ทั้งรู้อยู่ว่า คนเสื้อแดง ยังเป็นรองอำมาตย์ อยู่อีกหลายขุม ผมคงไม่สนับสนุน พวกที่เอาแต่สะใจ หรือ ฮาร์คอร์ด เพียงอย่างเดียว ..หาเรื่องฆ่าตัวตายชัดๆ

              ความกล้าหาญ เป็น สิ่งทีดี แต่ถ้าใช้แต่ความกล้าหาญ เสียสละ โดยละเลยปัญญา ..ละเลยหลัก "รู้เขา รู้เรา ร้อยศึกบ่พ่าย" ก็จะพากันไปฆ่าตัวตาย แบบวีรชนชาวบางระจัน ซึ่งผมก็ขอคัดค้าน เช่นกัน

ผมจะตอบคำถามข้อ 2 ของ คุณแบบนี้ 

             ในสภาพที่ขบวนการคนเสื้อแดง เป็นรองฝ่ายอำมาตย์ เช่นในขณะนี้ หลักการที่ผมยึด ก็คือ 

              หลักแรก "สะสมกำลัง รอคอยโอกาศ และเร่ง ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่มวลชน ไม่ฉุดรั้งมวลชน "  และหลักหลัง " เองมาข้ามุด เองหยุดข้าแหย่ เองแย่ข้าตี เองหนีข้าตาม " 

              ซึ่งทั้ง 2 หลัก ต่างล้วน อยู่ภายใต้ หลักใหญ่ คือ " รู้เขารู้เรา ร้อยศึกบ่พ่าย" 

              ถ้าสถานการณ์ บังคับ ให้ต้องทำแบบ พระเจ้าตากสิน มันก็ต้องทำ ไม่เห็นจะผิดตรงไหน 
              แต่ถ้าสถานการณ์ ยังไม่ถึงขั้นที่ ต้องทำแบบนั้น จะรีบห่วงใย ไปทำไม

               ผมตอบคุณปูนนกแล้ว ไม่ทราบว่า คุณปูนนก มีความเห็นอย่างไร 

---------------------------------------------------------
ข้อคิดเห็นของคุณ nokkapood


            เห็นด้วยในประเด็นของความสามัคคคีร่วมใจในการต่อสู้กับศัตรูคนเดียวกัน ที่ผ่านมานั้นรัฐบาลหรือพรรค เพื่อไทย รวมทั้ง นปช. เดินไปในแนวทางเดียวกัน คือสู้แบบมีข้อจำกัด สู้ไปกราบไป หรืออาจมีการเจรจาต่อรองอะไรกันบ้าง คนวงนอกอย่างผมก็มิอาจรู้ได้ แต่ก็เชื่อว่ามีเหตุผลเพียงพอ โดยเฉพาะจากสถานะการณ์ล่าสุด (เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องนาซ่า) ซึ่งเลือกที่จะถอยเพื่อลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่กระบวนการยุบพรรคหรือถอดถอนรัฐบาล ก็เป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ การถอยอาจเป็นการต่อสู้อย่างหนึ่ง แต่ขอให้เป็นการถอยในรุกบ้าง ที่ผ่านมารัฐบาลยินยอมปฏิบัติตามความต้องการของผู้มีอำนาจตลอดมา หรือเรียกได้ว่าเอาอกเอาใจ ซึ่งเชื่อกันว่าจำเป็นต้องทำให้เขาไว้วางใจเพื่อให้รัฐบาลอยู่รอดปลอดภัยจนเป็นที่ขัดใจผู้รักประชาธิปไตยอย่างน่าเป็นห่วง มาถึงวันนี้แล้วอยาก

             ฝากท่านปูนนกไปถึงรัฐบาล พรรคเพื่อไทย หรือ นปช. ว่า ท่านจะเอาอกเอาใจเพียงใดเขาก็ไม่เอาท่านไว้แน่นอน สิ่งใดที่เป็นการรุกเพื่อเอาชนะก็ควรเร่งดำเนินการ เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ นปช.เดินทางศาลโลกซึ่งถือป็นเกมรุกทางหนึ่ง แต่ก็หวังว่าจะไม่ทำเพื่อเป็นแต้มในการต่อรองอีกต่อไปนะครับ 


----------------------------------------------------------
ความเห็นของคุณ Maquidd


                ขอบคุณ คุณปูนนก บทความยอดเยี่ยมค่ะ เห็นด้วยกับข้อสรุปเพื่อให้ได้ชัยชนะอย่างมั่นคง 

                พี่น้องพวกเราที่รักประชาธิปไตยทุกท่าน“จะต้องยึดมั่นใน อุดมการณ์แห่งความเป็นประชาธิปไตย เชื่อมั่น และยอมรับการนำของพรรคเพื่อไทย และ นปช. (แม้ว่าหลายอย่างเราจะไม่เห็นด้วยก็ตาม)” เพราะจนถึงขณะนี้ ยังไม่มีกลุ่มการเมืองใด หรือใคร ที่จะศักยภาพพอที่จะต่อกรกับอำนาจเผด็จการที่ครอบงำประเทศนี้อยู่ได้เลย 

               ดังนั้นเราทุกคนต้องช่วยเสริมกำลังซึ่งกันและกัน ไม่ใช่การทำลายกัน การติเพื่อก่อ เป็นสิ่งที่ต้องทำและต้องสนับสนุนให้ทำกันมากๆ เพื่อที่การนำของพรรคเพื่อไทย จะได้มีมุมมองกว้างขึ้น มากกว่าจะฟังเพียงแค่ผู้ที่อยู่ใน War Room เท่านั้น.. แต่ขณะเดียวกัน การติเพื่อทำลายกันจะส่งผลให้เกิดการแตกแยก และการนำพังทลาย ซึ่งเมื่อการนำพังทลาย รัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็จะพ่ายแพ้ในการต่อสู้.. เมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยพ่ายแพ้ในการต่อสู้ นปช. ก็จะพ่ายแพ้ในการต่อสู้.. เมื่อ นปช. พ่ายแพ้ในการต่อสู้ คนเสื้อแดงก็พ่ายแพ้ในการต่อสู้ด้วย เมื่อคนเสื้อแดงพ่ายแพ้ในการต่อสู้ ประชาธิปไตยที่เราต้องการมอบและส่งต่อให้กับลูกหลานของเราในอนาคตก็จะพ่ายแพ้ไปด้วย
*
*
...ฝ่ายอำมาตย์ มีเครื่องมือ คือ ทหาร และ อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
...เครื่องมือของฝ่ายประชาธิปไตย คือ ประชาชน(เสื้อแดง) รัฐบาล(ส.ส.พรรคเพื่อไทย) และรัฐสภา... เพื่อไทยเป็นรัฐบาลก็จริงแต่มิได้มีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ


ฉะนั้น รัฐบาลเพื่อไทยจะต้องอยู่ในวาระให้ยาวนานที่สุด
คนเสื้อแดงต้องแสดงพลังออกมา ด้วยการเข้าร่วมการชุมนุมทุกแห่งให้มากที่สุด


คนเสื้อแดงต้องเสริมความแข็งแกร่งให้รัฐบาลเพื่อไทย ด้วยการเลือกส.ส.เพื่อไทยเข้ารัฐสภาให้มากๆ เพื่อผลักดันให้รัฐบาลแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญให้จงได้ 
และในการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรต่างๆ เลือกตัวแทนของพรรคเพื่อไทย เข้าไปให้มากที่สุดเพื่อช่วยรัฐบาลบริหารประเทศ 


...เมื่อรัฐบาลแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ รัฐบาลมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เมื่อนั้นแหละเราจึงจะได้ชัยชนะเผด็จการอำมาตย์ และได้ประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ 
http://redusala.blogspot.com

การต่อสู้ทางการเมือง ภายใต้การรัฐประหารของตุลาการรัฐธรรมนูญ


การต่อสู้ทางการเมือง
ภายใต้การรัฐประหารของตุลาการรัฐธรรมนูญ

           บทความนี้เขียนขึ้นมาในช่วงการต่อสู้ทางการเมือง ภายใต้การรัฐประหารของตุลาการรัฐธรรมนูญว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ประชาชนอาจจะถูกเข่นฆ่าเป็นจำนวนมาก จากฝีมือของผู้มีอำนาจแห่งประเทศนี้เป็นที่แน่นอน ความสงสัยในเรื่องนี้ก็ถือว่า เมื่อไหร่ท่านจะหยุดเข่นฆ่าประชาชนซึ่งพวกเขาก็เป็นเจ้าของประเทศและเป็นคนไทยเช่นเดียวกับพวกของท่าน การเข่นฆ่าประชาชนเพียงเพื่อรักษาอำนาจที่มีนั้นนำไปขูดรีดจากประชาชนจนมากเกินพอแล้ว แต่ท่านก็ยังห้วงอำนาจของท่านโดยไม่ยอมให้ใครมาแตะต้องแม้เพียงเล็กน้อย ท่านก็จะเข่นฆ่าและฆ่าต่อไปไม่สิ้นสุด แปลกจริงๆหัวจิตหัวใจของท่านทำด้วยอะไรหือ?

           ในสถานการณ์การเมืองของประเทศตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ประชาชนได้ลงมติเป็นเอกฉันท์แล้ว โดยตกลงให้พรรคเพื่อไทย ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารซึ่งเป็นไปตามหลักการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศต่างโล่งอกโล่งใจว่าจากวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 ไปจนกว่าจะครบ 4 ปี ซึ่งหมดวาระของคณะบริหารชุดนี้ต่างเชื่อว่าประเทศจะอยู่ในความความสงบและรัฐบาลจะบริหารประเทศนำพาประเทศชาติก้าวหน้าเท่าเทียมประเทศต่างๆที่มีอารยะทั้งหลาย และจะสร้างความผาสุกให้แก่ประชาชนในชาติต่อไป

            ความหวังของประชาชนกับปลาสนาการไปเสียจนหมดสิ้น เมื่ออำนาจนอกระบบกระทำการต่างๆขัดขวางการบริหารของรัฐบาล ตั้งแต่เริ่มต้นในการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งประชาชนทั่วไปต่างทราบได้ดีว่าการกระทำของพวกท่านสร้างอุปสรรคขัดขวางทุกวิธี โดยไม่คำนึงว่าสิ่งที่พวกท่านกระทำนั้นผิดหรือถูกกฎหมายอย่างไร แม้ผิดกฎหมายท่านก็ทำได้ จนมีเสียงคัดค้านดังก้องไปทั่วประเทศ แต่หาได้หยุดยั้งการกระทำของพวกท่านได้ไม่ เพียงแต่ว่าท่านจะทำตามอำเภอใจ ใครจะทำไม แม้ในสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทยมีเสียงข้างมากก็ไม่สามารถผ่านกฎหมายซึ่งพวกท่านไม่ประสงค์ก็ไม่อาจทำได้ เพราะจะมีบริวารของพวกท่านออกมาฟาดงวงฟาดงามีให้เห็นเป็นประจำ

             การฟาดงวงฟาดงาของพรรคพวกของท่านได้กระทำการเหิมเกริมถึงขั้นยื้อยุดลากแขนประธานสภาและลากเก้าอี้ประธานสภา เขวี้ยงแฟ้มเอกสารใส่ประธานสภา บีบคอสมาชิกสภาซึ่งอยู่ฝ่ายตรงข้ามก็ทำได้เป็น และประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เป็นการกระทำที่รับไม่ได้จริงๆพระเดชพระคุณท่านพี่น้องเอ๋ย

            สำหรับบริวารเจ้าของอำนาจคือองค์กรอิสระจะเป็น กกต., ปปช., ผู้ตรวจการแผ่นดิน, คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานอิสระเหล่านี้บางองค์กรได้กระทำการตามหน้าที่โดยเข้มแข็งทำทุกช่องทางที่มีเพื่อดำเนินการเอาผิดคนของพรรคเพื่อไทย โดยไม่คำนึงถึงว่าฝ่ายพวกของตนเองได้กระทำไปโดยไม่คำนึงว่าผิดหรือถูกแต่องค์กรอิสระบางองค์กรก็ละเว้นไม่ดำเนินการเสมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้าหากเป็นคนของฝ่ายพรรคเพื่อไทยจะถูกดำเนินการเอาเป็นเอาตายบดขยี้กันอย่างเต็มที่ ครั้นคนฝ่ายพรรคเพื่อไทยตอบโต้ว่าฝ่ายตรงข้ามได้กระทำมาก่อน แต่กับได้รับคำตอบโต้แบบเอาข้างเข้าถูบิดเบี้ยวแม้การเอาข้างเข้าถูเป็นการตอบแบบไม่คำนึงถึงตัวบทกฎหมายอะไรทั้งนั้น เรียกว่ากลิ้งยิ่งกว่าลูกบิลเลียด ถ้าเปรียบในความเป็นบุคคล บุคคลเหล่านี้ปลิ้นปล้อนกว่าศรีธนญชัย เฮ้อเหนื่อยใจจริงๆกับคนพวกนี้ แม้องค์กรเหล่านี้จะมีอิทธิฤทธิ์หรือฤทธิ์เดชอย่างไรก็ไม่สามารถล้มรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้

           แต่อำนาจนอกระบบก็มีทีเด็ดที่จะจัดการล้มพรรคเพื่อไทยได้ก็คือกองทัพ แต่กองทัพในปัจจุบันก็ยังไม่พร้อมที่จะลงมือกระทำการใดๆเหตุเพราะติดคนเสื้อแดง กองทัพจึงไม่เสี่ยงแต่อย่างไรก็ตาม หมาป่ามันจะกินลูกแกะฉันใด อำนาจนอกระบบก็เป็นฉันนั้น สุดท้ายเครื่องมือของอำนาจนอกระบบจึงมีคำสั่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่วินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติ, พระราชกำหนดขัดหรือแย้ง บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2555 ศาลรัฐธรรมนูญยังรับคำร้องของคนเพียงไม่กี่คนนำไปวินิจฉัยและมีคำสั่งให้ประธานรัฐสภาชะลอการลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญวาระ3ไว้ก่อน จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ การกระทำของศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องและสั่งให้ประธานรัฐสภาชะลอการลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้งที่สุดได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการ, นักกฎหมาย ประชาชนทั่วไปอย่างอื้ออึง แต่หาทำให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแสดงความรับผิดชอบแต่ประการใด กลับทำตนเป็นคนหูหนวก ตาบอดกันอย่างครบทุกผู้ทุกคน นิ่งเฉยให้ความด้านเป็นเกราะป้องกันอย่างแข็งแรง จึงทำให้คนพวกนี้เหิมเกริม มีคำสั่งให้ผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง นำพยานเข้ามาไต่สวนในวันที่ 5-6 กรกฎาคมนี้

           การกระทำเช่นนี้ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการกระทำผิดซ้ำเพิ่มอีกกระทงหนึ่ง และจากนี้จะต้องมีการวินิจฉัยและมีคำสั่งออกมา ก็เป็นการกระทำผิดเพิ่มเติมไม่สิ้นสุด และไม่มีใครเข้าไปขัดขวางห้ามการกระทำของบุคคลคณะนี้ได้ แต่จะกระทำการต่อไปถึงขั้นยุบพรรคเพื่อไทยและคณะบุคคลหรือสมาชิกสภาผู้แทนที่สนับสนุน ดำเนินคดีอาญากวาดล้างคนของพรรคเพื่อไทยให้หลุดพ้นจากวงจรการเมืองก็จะยุติการกระทำของตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นการเสร็จสิ้นภารกิจของรัฐประหารโดยการกระทำของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นี่คือหมาป่ากินลูกแกะได้ตามความประสงค์ของอำนาจนอกระบบ

           ด้วยเหตุที่ดำเนินการไล่เรียงมาดังกล่าว เป็นสถานการณ์การเมืองภายใต้สถานการณ์การรัฐประหารโดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้เสร็จการจริงๆ

           แต่การประเมินของอำนาจนอกระบบมั่นใจว่าการใช้ศาลรัฐธรรมนูญ คงจะไม่มีใครหรือคนกลุ่มไหนคัดค้านการกระทำดังกล่าว นี่เองเป็นการประเมินเหตุการณ์ครั้งนี้ผิดอย่างมหันต์ที่สุด เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ประชาชนของประเทศนี้ที่รักความเป็นธรรมและต้องการให้ประเทศนี้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ดำรงอยู่ในประเทศนี้อย่างถาวรตลอดไป

          วันที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าวินิจฉัยยกคำร้องเพื่อล้างบาปของพวกท่านคือ การยกคำร้อง เหตุร้ายต่างๆที่จะเกิดขึ้นก็จะยุติโดยพลัน แต่หากพวกท่านวินิจฉัยเป็นผลร้ายบิดเบือนหลักกฎหมายวันนั้นขอเรียนว่าไม่มีใครหน้าไหนที่จะขัดขวางกระบวนการของประชาชนผู้รับความเป็นธรรมและต้องการประชาธิปไตย ให้หยุดการกระทำของคนพวกนี้ได้ และผลสุดท้ายความเสียหายครั้งร้ายแรงของชาติที่ไม่เคยเกิดขึ้นในอดีตก็จะมีให้เห็น

          หยุดเสียเถิดครับท่านคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะการกระทำของคณะของท่านเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหากท่านไม่หยุดยังคงเดินหน้าต่อไป พวกท่านทั้งคณะจะต้องรับผิดชอบที่ประเทศเกิดวิกฤตครั้งนี้ คณะของท่านเป็นต้นเหตุของความเสียหายที่แท้จริง

          สำหรับพวกอำนาจนอกระบบทุกวันนี้ท่านอยู่ดีมีสุขอย่างล้นเหลือไม่พอหรือท่าน ถ้าท่านยังคงดื้อด้านสั่งให้บริวารของท่านกระทำการเช่นที่ผ่านมา ประชาชนจะดึงท่านออกจากอำนาจนอกระบบและวันนั้นความวิบัติไม่ใช่เกิดจากประชาชน แต่พวกท่านต่างหากที่ก่อให้เกิดความวิบัติ ภายใต้การรัฐประหารของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้แน่นอน วันนั้นท่านจะมีชีวิตอยู่เพื่อเสียใจต่อเหตุการณ์นี้หรืออาจจะไม่มีโอกาสได้เสียใจก็ได้

           หยุดการกระทำของท่านเท่านั้นคือความปลอดภัยของพวกท่านทุกคนและจำไว้ด้วยว่าประชาชนตาสว่างเห็นแล้วว่าวันนี้ รัฐธรรมนูญแก้ไขง่ายเมื่อคนร้ายครองเมือง แต่รัฐธรรมนูญแก้ไขยากถ้าคนร้ายมิได้ครองเมืองแล้วประชาชนที่ไหนใครจะยอม ทราบหรือยังเจ้าของอำนาจนอกระบบ แต่ถ้าท่านต้องการจบก็จะสมความปรารถนาของท่านทุกประการ ภายใต้การรัฐประหารของตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่ประชาชนจะไม่ยอมจบจนกว่าพวกท่านจะสูญหายไปจากประเทศไทย
http://redusala.blogspot.com

"ศ.ธงชัย-โรเบิร์ต" ให้สัมภาษณ์หลังให้การศาลอาญาระหว่างประเทศ


"ศ.ธงชัย-โรเบิร์ต" ให้สัมภาษณ์หลังให้การศาลอาญาระหว่างประเทศ

"ศ.ธงชัย-โรเบิร์ต" ให้สัมภาษณ์หลังให้การศาลอาญาระหว่างประเทศ





            ศาสตราจารย์ธงชัย วินิจจะกูล อดีตผู้นำขบวนการนักศึกษาในเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2519 ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ในสหรัฐฯ เขียนจดหมายถึงศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ไอซีซี ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับเหยื่อในเหตุการณ์เมษายน - พฤษภาคม 2553 โดยเขาเป็นหนึ่งในผู้เข้าให้ข้อมูลกับอัยการ พร้อมกับกลุ่มคนเสื้อแดง


            โดยศาสตราจารย์ธงชัย ได้เล่าย้อนถึงประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่มีลักษณะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตั้งแต่เหตุการณ์ปราบปรามประชาชนในเดือนตุลาคม ปี 2516 ที่มีผู้เสียชีวิต 70 ราย และบาดเจ็บอีกนับพันคน ที่จนถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่มีหน่วยงานใด ที่เข้าไปตรวจสอบถึงสิ่งที่เกิดขึ้น

             จนกระทั่งเดือนตุลาคม ปี 2519 ก็เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นอีก โดยรัฐบาลสลายการชุมนุมของประชาชนและนักศึกษา จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 40 ราย บาดเจ็บอีก 100 คน

             ซึ่งการสลายการชุมนุมดังกล่าว มีการใช้อาวุธหนัก บางคนถูกเผาทั้งเป็น ถูกข่มขืน รวมถึงการแขวนคอ ขณะที่ ผู้รอดชีวิตอีกส่วนหนึ่งก็ถูกจับตัวไปคุมขัง ซึ่งรวมถึงตัวของเขาเองด้วย ที่ถูกคุมขังนานถึง 2 ปี แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าว ไม่มีใครออกมาตรวจสอบ หรือลงโทษผู้ที่อยู่เบื้องหลัง ทุกคนพยายามที่จะลืมเรื่องนี้ และปล่อยให้สิ่งที่เกิดขึ้นผ่านพ้นไป

             จากนั้น ในเดือนพฤษภาคม ปี 2535 ก็เกิดเหตุการณ์แบบเดิมขึ้นอีก และมีผู้เสียชีวิตถึง 70 ราย ซึ่งแม้ว่าในครั้งนี้ จะมีการเปิดเผยรายงานการตรวจสอบคดีดังกล่าวออกมา แต่ข้อมูลบางส่วนกลับถูกเซ็นเซอร์ และบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง

            โดยศาสตราจารย์ธงชัย ได้เรียกร้องให้ไอซีซี ช่วยเข้ามาสอบสวนข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์สังหารผู้ประท้วง เมื่อสองปีก่อน และช่วยนำตัวคนผิดมาดำเนินคดี เนื่องจากสถาบันหลักต่างๆในประเทศไทย ไม่สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ เนื่องจากวัฒนธรรมการนิรโทษกรรมคนผิด ที่เกิดขึ้นซ้ำซาก และฝังรากลึกในสังคมคนไทย

             ศาสตราจารย์ธงชัย ระบุว่า เหตุการณ์นองเลือดทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นับตั้งแต่เหตุการณ์เดือนตุลาคม 2516 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงเหตุการณ์ปราบกลุ่มคนเสื้อแดงในปี 2553 มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง บรรดาผู้นำในสังคมไทยต่างไม่มีใครสนใจที่จะสืบสวนหาข้อเท็จจริง และเอาผิดกับผู้สั่งการสังหารประชาชน

            ขณะเดียวกัน ระบบตุลาการในไทย ก็ไม่เคยแสดงบทบาทที่เป็นอิสระ ในการสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้น เนื่องจากพวกเขายึดมั่นในหลักการที่ว่า การปฏิวัติรัฐประหาร ถือเป็นเรื่องที่ถูกต้องหากทำสำเร็จ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้มีอำนาจไม่เกรงกลัวในการสั่งการปราบปรามประชาชน

          โดยในเหตุการณ์ปราบปรามผู้ชุมนุมในเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม ปี 2553 ผู้นำทางการเมือง และการทหารของไทย ไม่ได้คำนึงถึงผลที่พวกเขาจะได้รับหลังการสั่งการปราบปรามประชาชน อันเนื่องมาจากวัฒนธรรมการละเว้นโทษดังกล่าว ทำให้พวกเขาใช้มาตรการที่ไม่ชอบธรรม ทั้งการกล่าวหาอย่างเลื่อนลอย และสร้างหลักฐานเท็จขึ้นมาเพื่อหาความชอบธรรมในการสังหารประชาชน

         บทสรุปของจดหมายฉบับนี้ ศาสตราจารย์ธงชัย ยังย้ำว่า แม้ประเทศไทย จะไม่โดดเด่นในสายตาประชาคมโลก และมีผู้เสียชีวิตไม่มากเหมือนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่การรับพิจารณาคดีนี้ จะป้องกันไม่ให้เกิดวงจรการให้อภัยผู้กระทำผิดซ้ำซาก
http://redusala.blogspot.com

ศาลอาญาระหว่างประเทศ" รับคำร้องคดีเสื้อแดงแล้ว


ศาลอาญาระหว่างประเทศ" รับคำร้องคดีเสื้อแดงแล้ว
จาก  http://www.go6tv.com/



             ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อเวลาที่ 18.30 น. วันที่ 1 กรกฎาคม ว่า นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ แกนนำแนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อเต้นเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้วิดีโอลิงค์ เปิดเผยว่า ในการนำคดีการสลายการชุมนุมช่วง​เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553ยื่นต่อศาลอาญาระหว่างประเท​ศ นั้นศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้รับเรื่องการสลายการชุมนุม กรณีที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สั่งให้เจ้าหน้าที่ขอคืนพื้นที่​ จนส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิตจำ​นวน 91 ศพ ไว้แล้ว ซึ่งต่อจากนี้ไป จะต้องมีการรับรองเขตอำนาจของศา​ลเพื่อให้ศาลอาญาระหว่างประเทศส​ามารถพิจารณาสำนวนคดีการสลายการ​ชุมนุม

          นอกจากนี้ นางธิดา ยังเรียกร้องให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงชื่อรับรองอำนาจดังกล่าว เพื่อให้คดีดำเนินต่อไป
http://redusala.blogspot.com

"ปลาบู่" เมาหมัดท้า "ดีเบต" หน้าพรรคฯไม่เกี่ยง "โอ๊คเทียม-โอ๊คแท้"


"ปลาบู่" เมาหมัดท้า "ดีเบต" หน้าพรรคฯไม่เกี่ยง "โอ๊คเทียม-โอ๊คแท้"

"ปลาบู่" เมาหมัดท้า "ดีเบต" หน้าพรรคฯไม่เกี่ยง "โอ๊คเทียม-โอ๊คแท้"



            ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงปัญหาเรื่องการใช้สนามบินอู่ตะเภาของนาซา ที่ยังมีหลายคนที่ใช้เฟซบุ๊กและเว็บไซต์ หรือทำตัวเป็นอีแอบตามที่ต่างๆ พยายามที่จะให้ข้อมูลสร้างความสับสนให้ประชาชน ที่สำคัญคือพยายามโยนบาปให้พรรคประชาธิปัตย์ว่าเป็นผู้เริ่มต้น ซึ่งตนพยายามที่จะอธิบายไปหลายครั้งแล้วว่าใครจะเริ่มหรือไม่เริ่มปัญหาไม่ได้อยู่ตรงนั้น แต่อยู่ที่ว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่เริ่มให้มีการใช้สนามบินอู่ตะเภาเข้ามาเกี่ยวข้อง และเป็นเงื่อนไขที่อาจกระทบความมั่นคง ปัญหาของรัฐบาลคือไม่กล้าที่จะเดินหน้าเอง เพราะกลัวว่าตัวเองจะกระทำผิด รู้ว่าตัวเองไม่ได้เตรียมพร้อมพอที่จะเดินหน้าโครงการต่อไป เป็นความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล

           "ขอให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหยุดสร้างความบิดเบือน หรือความเข้าใจผิดให้กับประชาชน และคิดว่าถ้าเรื่องอย่างนี้ยังอยากโต้เถียงว่าใครเป็นผู้ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ทำให้โครงการนี้ต้องพับลงไป ใครทำให้นาซาไม่สามารถดำเนินโครงการนี้ได้ ผมยินดีที่จะรับคำท้าดีเบตกับทุกคน ขอเปิดลานแม่พระธรณีบีบมวยผม ไม่ต้องถึงคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หรอก แค่ผมกับคุณถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็น่าจะพอเพียง แล้วฝั่งโน้นจะเป็นใครก็ได้ เป็นรัฐมนตรี โอ๊คเทียม โอ๊คแท้ มาให้หมด อย่าฝังตัวเองอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีใครยอมรับดีเบตผม ก็ขอให้หุบปากไปเลย แล้วหยุดพูดเรื่องนี้ เงียบไปเลย อย่าทำตัวเป็นอีแอบ สร้างความขัดแย้ง สร้างความสับสนให้กับประชาชน ถ้าอยากจะชี้ให้เห็นว่า เรื่องนี้ใครเป็นผู้ที่ทำให้ชาติเสียหาย ผมเชิญที่หน้าแม่พระธรณีฯ ได้ทุกวันและเวลา หรือจะเป็นที่อื่นก็ยินดี" นายชวนนท์ กล่าว
http://redusala.blogspot.com

ซ้ายในวงกวี


ซ้ายในวงกวี

จันทร์ ที่ 2 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2555
http://redusala.blogspot.com

จดหมายเปิดผนึก ศ.ดร.ธงชัย วนิจจะกุล


จดหมายเปิดผนึก ศ.ดร.ธงชัย วนิจจะกุล
คณะผู้แทนไทยพบ ICC ขณะที่ประเทศเผชิญกับความวุ่นวายรอบใหม่
และจดหมายจากอดีตนักโทษ 6 ตุลา

ที่มา เว็บไซต์โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
(อ้างอิงจาก เวบไซท์ ThaiEnews)


               
           ณ กรุงเฮก วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2555
       
         -ในอาทิตย์นี้คณะผู้แทนคนไทยได้เข้าประชุมเบื้องต้นกับอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอแลนด์เพื่อสนทนาเกี่ยวกับเรื่องการสลายการชุมนุมอย่างรุนแรงโดยกองทัพเมื่อปี 2553 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 90 ราย


        ดร.ธงชัย วินิจกุล ศาสตราจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิลได้เป็นผู้นำคณะบุคคลซึ่งเป็นพยานและผู้รอดชีวิตจำนวนหนึ่งเข้าประชุมร่วมกับไอซีซี ดร.ธงชัยได้ย้ำถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในจดหมายซึ่งส่งไปยังอัยการก่อนหน้าการเข้าประชุมว่าศาลได้สร้างความชอบธรรมให้กับกองทัพซึ่งทำรัฐประหารและใช้ความรุนแรงต่อพลเรือน ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในประวัติศาสตร์ไทย

             “ผมศึกษาหลายวิชารวมถึงความรุนแรงในปี 2516, 2519 และ 2535 รวมถึงวัฒนธรรมการทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษในประเทศไทย ผมได้ติดตามสถานการณ์การเมืองไทยอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่รัฐประหารปี 2549 โดยเฉพาะเหตุการณ์นองเลือดในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 และสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น”

              ดร.ธงชัยเขียนในจดหมายของเขา “ผมอยากร้องขอให้ไอซีซีช่วยยุติการทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าที่ทำให้เกิดการสังหารพลเมืองครั้งแล้วครั้งเล่าโดยเริ่มทำการสอบสวนกรณีการสังหารในปี 2553 และนำคดีนี้ขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศ”

             การเดินทางไปกรุงเฮกเกิดขึ้นสองปีหลังจากมีการรณรงค์กระตุ้นให้คนตื่นรู้เกี่ยวกับอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะซึ่งถูกกล่าวว่ากระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ แม้ว่าประเทศไทยมิได้ให้สัตยาบัณต่อธรรมนูญกรุงโรม แต่ทางทีมกฎหมายของเหยื่อเสื้อแดงมีหลักฐานยืนยันว่านายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์คือพลเมืองอังกฤษ ดังนั้นจึงเขาจึงอยู่ภายใต้การพิจารณาคดีของศาล

             “การประชุมกับไอซีซีเป็นประโยชน์ และเราต้องปฏิบัติตามระเบียบการปกติเพื่อผลักดันกระบวนการนี้อย่างต่อเนื่อง” นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม นักกฎหมายระหว่างเทศจากสำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พาร์ทเนอส์ซึ่งเป็นทนายตัวแทนระหว่างประเทศของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดงกล่าว “การประชุมที่สำคัญนี้เกิดขึ้นในสภาวะแวดล้อมที่ตึงเครียด เพราะคนกลุ่มน้อยที่พยายามอย่างต่อเนื่องที่จะใช้กำลังถอดถอนพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยโดยคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีขึ้น โอกาสของความรุนแรงและความไร้เสถียรภาพรอบใหม่คือความกังวลอย่างมากของประชาคมโลก และทำให้การร้องขอของเราต่อไอซีซีมีความสำคัญมากขึ้น”


*****************

จดหมายจากอดีตนักโทษการเมืองไทยถึงศาลอาญาระหว่างประเทศ
จดหมายจากศ.ธงชัย วินิจกุลถึงอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ

                                                                               วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2555

                                                                             
                                                                               อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี)
                                                                               กรุงเฮก ประเทศเนเธอแลนด์

เรื่อง :    คำร้องขอต่อไอซีซีให้ช่วยเหลือนำความยุติธรรมมาให้เหยื่อผู้ถูกกระทำ
              จากเหตุการณ์นองเลือดปี 2553 ในประเทศไทย


เรียน:     อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ

               ผมเขียนถึงท่านในฐานะพลเมืองไทยคนหนึ่ง ในฐานะอดีตนักโทษทางการเมืองซึ่งรอดชีวิตจากเหตุการณ์สังหารหมู่ในกรุงเทพฯ ปี 2519 และในฐานะผู้เชียวชาญเกี่ยวกับประเทศไทย ขณะนี้ผมเป็นศาสตราจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

               ผมศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประเทศไทยและกระบวนการการสร้างประชาธิปไตยเป็นเวลา 30 ปี ผมศึกษาหลายวิชารวมถึงความรุนแรงในปี 2516, 2519 และ 2535 รวมถึงวัฒนธรรมการทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษในประเทศไทย ผมได้ติดตามสถานการณ์การเมืองไทยอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่รัฐประหารปี 2549 โดยเฉพาะเหตุการณ์นองเลือดในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 และสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น เหมือนกัน

               การสังหารครั้งก่อน มีความเป็นไปได้ที่กองทัพและกลุ่มคนที่สั่งฆ่าจะได้รับการยกเว้นโทษอีกครั้งและเหยื่อจะไม่ได้รับความยุติธรรมอีกครั้ง ผมร้องขอไอซีซีให้ช่วยยุติการทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าซึ่งนำไปสู่การสังหารพลเมืองครั้งแล้วครั้งเล่า โดยให้เริ่มทำการสอบสวนกรณีการสังหารในปี 2553 และนำคดีนี้ขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศได้โปรดให้ผมอธิบายประวัติศาสตร์ของการทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษอย่างเป็นระบบในประเทศไทย
                 ในเดือนตุลาคม ปี 2516 การชุมนุมครั้งใหญ่ได้ยุติเผด็จการทหารซึ่งปกครองประเทศไทยเป็นเวลาสามทศวรรษ มีผู้เสียชีวิต 72 ราย และมีผู้บาดเจ็บหลายพันราย ท่ามกลางความตื่นเต้นแห่งรุ่งอรุณแห่งประชาธิปไตย รัฐบาลใหม่ประกาศนิรโทษกรรมให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารทั้งหมดเพื่อความสมานฉันท์ทางสังคมและการเมืองในประเทศ

                 นิรโทษกรรมยังหมายถึงว่าจะไม่มีการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประชาธิปไตยอันอ่อนเยาว์คงอยู่เพียงสามปีเมื่อกองทัพกลับมามีอำนาจอีกครั้งในเดือนตุลาคม ปี 2519 รัฐประหารเกิดขึ้นในวันเดียวกับการสังหารหมู่นักศึกษาและประชาชนที่ชุมนุมในมหาวิทยาลัยเพื่อต่อต้านอุบายของกองทัพในการนำเผด็จการกลับมา ประชาชนราว 40 คนเสียชีวิตและหลายร้อยคนบาดเจ็บ แต่วิธีการที่พวกเขาถูกสังหารนั้นเลวร้ายเกินบรรยาย นอกจากจะถูกสังหารโดยอาวุธหนักแล้ว บางคนถูกเผาทั้งเป็น ถูกข่มขืนและถูกแขวนคอ หลังจากนั้นศพของพวกเขายังถูกประชาทัณฑ์หรือลากไปทั่วสนามฟุตบอล ทุกอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในที่สาธารณะมีคนมุงดูหลายร้อยคน ผู้รอดชีวิตกว่าสามพันรายถูกคุมขังตั้งแต่หลายวันไปจนถึงห้าเดือน และนักศึกษา 19 ราย (รวมถึงผม) ถูกคุมขังสองปี ในปี 2521 เนื่องด้วยเหตุผลของการปรองดองสมานฉันท์

                 มีการผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อยกเว้นการกระทำผิดทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ นักศึกษาที่ถูกคุมขังได้รับการปล่อยตัว ผู้กระทำผิดได้รับการยกเว้นโทษราวกับว่าการสังหารหมู่ไม่เคยเกิดขึ้น ไม่มีการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

               ข้อเท็จจริงคือ เพื่อการปรองดองสมานฉันท์ มีการส่งเสริมให้ประชาชนลืมเหตุการณ์และปล่อยให้ความทรงจำนั้นเลือนลางไป เหตุการณ์นั้นไม่ถูกกล่าวถึงในที่สาธารณะเป็นเวลาหลายปีหลังจากนั้น และไม่เคยถูกบันทึกไว้ในหนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์ที่ควบคุมโดยรัฐจึงถึงทุกวันนี้

              ในขณะเดียวกับ ต้องขอบคุณระบบการทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษเพราะผู้มีอำนาจหลายคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ยังคงเสวยสุขกับเอกสิทธิ์ของพวกเขาหลายปีหลังจากนั้น บางคนมีส่วนร่วมในการสังหารหมู่ทางการเมืองอีกครั้งในปี 2535 เพราะพวกเขารู้ว่าพวกเขาจะไม่ถูกนำตัวมาลงโทษ

               กระบวนการสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทยอยู่ในสภาวะขึ้นๆลงๆตลอดเวลาในช่วงยุค 80 ช่วงเวลาที่มีการเปิดกว้างและเป็นประชาธิปไตยกลับมามีมากขึ้นในปี 2531 แต่ก็ไม่ต่างจากในอดีต ช่วงเวลานั้นมีระยะสั้นๆ ในปี 2534 เผด็จการทหารกลับมาอีกครั้ง

               อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้อยู่ไม่นาน เพราะมีการชุมนุมครั้งใหญ่ในปี 2535 อีกครั้ง มีประชาชนมากกว่า 70 เสียชีวิตในระหว่างการต่อสู้หลายวันกับทหารบนท้องถนนที่ยิงประชาชนผู้ต่อต้านรัฐบาล ในที่สุด รัฐบาลทหารก็ยอมแพ้และลาออก แต่พวกเขาทำเช่นนั้นหลังจากล้างความผิดการกระทำอาชญากรรมให้กับพวกเขาโดยการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ประชาชนเรียกร้องให้มีการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว

             อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่มีอำนาจแม้แต่จะบังคับให้เหล่าผู้บังคับบัญชาการกองทัพให้การ ก็ไม่ต้องกล่าวถึงว่าจะเอาคนผิดมาลงโทษเลย หลังจากนั้น เหมือนว่ามันไม่ใช่เรื่องที่คอขาดบาดตาย รายงานการสอบสวนที่ได้ตีพิมพ์หลายปีหลังจากนั้นแสดงให้เห็นถึงการสอบสวนที่ไม่สะเพร่าและขาดความพยายามที่แม้แต่จะค้นหาข้อเท็จจริงขั้นพื้นฐาน และที่แย่ที่สุดคือ มีการเซ็นเซ่อร์รายงานที่ตีพิมพ์ต่อสาธารณะชนอย่างหนัก โดยมีการขีดฆ่าชื่อทั้งหมดและข้อมูลสำคัญถึงขนาดที่ว่าทำให้ไม่สามารถเข้าใจรายงานได้ การทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษคือการเพาะพันธุ์ความไม่แยแสต่อประชาชนอย่างสิ้นเชิง

         ตลอดเหตุการณ์โศกนาถกรรมที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า บทบาทของระบบความยุติธรรมไทยไม่เคยมีความเป็นอิสระในการค้ำจุนความยุติธรรม ระบบตุลาการไทยยึดถือว่าหากรัฐประหารใดที่ทำสำเร็จถือว่ามีความชอบด้วยกฎหมาย ระบบรับใช้ผู้มีอำนาจไม่ว่าพวกเขาจะขึ้นสู่อำนาจอย่างชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นตุลาการจึงยอมรับว่าคำสั่งและกฎหมายทั้งหมดที่บังคับใช้โดยคนที่มีอำนาจกลุ่มเล็กนั้นชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการนิรโทษกรรมให้กับตนเองของผู้นำทางการทหารจากการกระทำผิดทุกอย่าง เช่นการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตยและฉีกรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยทิ้ง

               นอกจากนี้ตุลาการไทยยังถือว่าคำสั่งประหารชีวิตโดยไม่มีการพิจารณาคดีในศาล การจับกุมและคุมขังโดยไม่มีการตั้งข้อหา และปฏิบัติการสังหารฝ่ายตรงข้ามโดยมิชอบด้วยกฎหมายของกองทัพเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย เช่นเดียวกันกับกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำผิดในปี 2516, 2519 และ 2535 ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะนำตัวผู้ที่ต้องรับผิดขอบต่อความป่าเถื่อนมาลงโทษในประเทศไทยได้เพราะการสมรู้ร่วมคิดของตุลาการ การทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษสำหรับผู้นำที่มีอำนาจเป็นวัฒนธรรม เป็นระบบและชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีความยุติธรรมให้กับเหยื่อผู้ถูกกระทำจากโศกนาถกรรมเหล่านั้น เมื่อไม่มีความยุติธรรม ประชาธิปไตยจึงไม่ต่างจากละครเวทีตลก

              การทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษคือปัจจัยที่ชัดเจนว่าทำไมการสังหารหมู่ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ปี 2553 เกิดขึ้นอีกครั้ง ผู้นำทางการเมืองและกองทัพในเหตุการณ์นั้นไม่ความกังวลเลยว่าพวกเขาจะถูกลงโทษหลังจากนั้น พวกเขาผลิตข้อกล่าวหาที่เป็นเท็จและสร้างหลักฐานเพื่อเป็นข้ออ้างในการสังหารประชาชน เพิกเฉยต่อข้อปฎิบัติสากลในเรื่องของหลักการควบคุมฝูงชนอย่างสิ้นเชิงโดยการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุอย่างมหาศาลและวิธีการที่โหดร้ายสังหารพลเรือน มีการใช้อาวุธหนัก กระสุนจริง พลซุ่มยิงและวัตถุระเบิด

              พวกเขาให้ข้อมูลเท็จ โกหก และชี้นำประชาชนในทางที่ผิดอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างบรรยากาศของความกลัวและสร้างความชอบธรรมให้กับการสังหาร แม้แต่อาสาพยาบาลก็ถูกขัดขัดขวางการทำงาน ถูกยิงและถูกสังหารด้วยเช่นกัน ประชาชนกว่า 90 รายเสียชีวิต และบาดเจ็บอีกหลายพันราย และมีอีกหลายคนถูกจับกุมและได้รับการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม หลักฐานของกระทำอันไร้มนุษยธรรมมีมากมายถูกเเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยนักข่าวในประเทศและต่างประเทศ และยังมีการแบ่งปันข้อมูลกันระหว่างประชาชนกันเองในโซเชียลมีเดีย แต่ผู้นำทางการเมืองและกองทัพมักเมินเฉยต่อหลักฐานและการวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้น และบ่อยครั้งแทนที่จะตอบโต้ด้วยเหตุผล ความเห็นใจหรือคำอธิบาย แต่กลับตอบโต้ด้วยมุขตลกหรือคำพูดเสียดสี พวกเขาย่อมรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นแน่นอน นั้นคือการทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษคือประเพณีปฏิบัติทั่วไป เป็นวัฒนธรรมของอำนาจ ซึ่งบ่มเพาะความหยาบโลนอันป่าเถื่อน

           อย่างไรก็ตามในครั้งนี้ เหยื่อและประชาชนเปลี่ยนไป ต่างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากความป่าเถื่อนครั้งก่อนหน้านี้ พวกเขาเรียกร้องให้มีการสอบสวนอย่างรอบคอบและปฏิเสธการนิรโทษกรรมที่จะล้างผิดให้ผู้กระทำความผิด พวกเขาประกาศว่า พวกเขาไม่ต้องการการปรองดองสมานฉันท์โดยปราศจากความจริงและความยุติธรรม แต่โชคร้ายคือ ระบบตุลาาร ตั้งแต่ตำรวจไปจนถึงอัยการและตุลาการคืออุปสรรคนการค้นหาความจริงและสร้างความยุติธรรม ผู้นำทางการเมืองถ้าไม่มีส่วนร่วมในความป่าเถื่อนก็มักจะขาดความกล้าหาญที่จะสนับสนุนความยติธรรมเพื่อยุติการทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษอย่างเป็นวัฒนธรรมและเป็นระบบ พวกเขาพยายามที่จะปกปิดอาชญกรรมอีกครั้งในนามของความสามัคคี ปรองดองสมานฉันท์ และความจำเป็นที่ประเทศต้องเดินไปข้างหน้า

           หากการทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษเกิดขึ้นอีกครั้ง จะมีการสังหารหมู่เกิดขึ้นอีกกี่ครั้ง ก่อนที่จะมีการยอมรับว่า หนึ่งชีวิตต้องได้รับการเคารพ? จะมีความป่าเถื่อนเกิดขึ้นต่อประชาชนอีกกี่ครั้ง ก่อนที่ประชาชนทุกคนจะได้รับความเท่าเทียมบนผืนแผ่นดินเดียวกัน? จะต้องมีการบูชายัญความจริงหรือความยุติรรมอีกมากเท่าไร จนกว่าจะมีความยุติธรรมและความจริงจะถูกเปิดเผยโดยปราศจากความกลัว?

            ไอซีซีสามารถช่วยยุติวัฒนธรรมการทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษได้ ผมเข้าใจว่ามีการยื่นคำร้องขอให้อัยการไอซีซีพิจารณาการสังหารหมู่เดือนเมษายน-พฤษภาคม ปี 2553 ในประเทศไทยแล้ว ผมหวังว่าท่านจะพิจารณาคำร้องนี้อย่างจริงจัง ผมเชื่อว่าไอซีซีจะทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อนำความยุติธรรมมาให้เหยื่อและประชาชนในประเทศที่ระบบความยุติธรรมไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ อย่างน้อยที่สุด การดำเนินการของไอซีซีสามารถสนับสนุนก้าวต่อไปข้างหน้าก้าวใหญ่ในการยุติการทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษในอนาคต

            ในต้นยุค 90 หลังจากการสังหารหมู่ปี 2553 แต่ก่อนที่จะมีการจัดตั้งศาลไอซีซี ผมพยายามหาทางที่จะนำคดีปี 2519 ขึ้นสู่องกรค์ระหว่างประเทศ ผมเรียนรู้ด้วยความผิดหวังอย่างใหญ่หลวงว่ามันเป็นไปไม่ได้ด้วยเหตุผลสองประการ

            ประการแรก ในทางกฎหมาย ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีองค์กรระหว่างประเทศที่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีที่จะพิจารณาคดี

            ประการที่สอง ในเชิงทางการทูต ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศสำคัญที่นานาชาติรู้สึกกังวลใจ แน่นอนว่าประเทศเสวยสุขกับการมีชื่อเสียงในทางที่ดี ดังนั้นประเทศอื่นจึงเต็มใจปล่อยให้ประเทศไทยแก้ไขปัญหาตนเอง นอกจากนี้ จำนวนผู้เสียชีวิตในการสังหารหมู่ค่อนข้างน้อย ผมเชื่อว่าสำหรับศาลไอซีซีแล้ว ความยุติธรรมไม่ได้สำคัญน้อยลงตามความเจริญเติบโตของประเทศหรือจำนวนผู้บาดเจ็บเสียชีวิต


           การทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษอาจจะเหนียวแน่นมากกว่าในประเทศอย่างประเทศไทยเพราะนานาชาติไม่ใส่ใจเนื่องจากไม่ใช่ประเทศนานาชาติรู้สึกกังกล ดังนั้นนานาชาติจึงเต็มใจที่จะมองข้าม การทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษถูกเก็บซ่อนดีกว่าในประเทศอย่างประเทศไทยเพราะอาญชากรรมมีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือความรุนแรงขนาดใหญ่ ดังนั้น มันจึงกลายเป็นระบบ ดังนั้นอาชญากรรมจึงเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าและจำนวนคนตายก็พอกพูนขึ้น ความเงียบ ความกลัว และการลืมเลือนยังคงดำเนินต่อไป

             ผมขอร้องไอซีซีว่าได้โปรดใช้ความพยายามเท่าที่จะทำได้ช่วยยุติการทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษในประเทศไทย

ด้วยความเคารพ

ธงฉัย วินิจจะกุล
ศาสตราจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์
http://redusala.blogspot.com

ไม่ปรองดอง ก็ไม่ปรองดอง ?


ไม่ปรองดอง ก็ไม่ปรองดอง ?

ความปรองดองนี้นะช่างยากเย็นเหลือเกิน ?


           รัฐบาลอยากให้ประเทศชาติสงบร่มเย็น จึงพยายามเข็นกฎหมายปรองดองออกมา เพื่อจะนำพาประเทศชาติและประชาชนได้หันหน้าเข้าหากัน แต่ในที่สุดก็ถูกต่อต้านทั้งในสภาและนอกสภา แทบจะฆ่ากัน



          ตาย ถ้ามันปรองดองยากขนาดนี้ก็อย่าไปปรองดองดองมันเลยครับ (ผมว่า) ?


เห็นไหม ? แล้วเราก็เห็นชัดกระจ่างตาว่าพวกเสื้อเหลืองไม่ต้องการปรองดอง 

พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ต้องการปรองดอง พวกเขาพากันรุมค้านสุดเหวี่ยง




          เห็นไหมเล่า ? มีการป่วนสภาแบบป่าเถื่อนสุดสุด เริ่มตั้งแต่ตรงเข้าไปฉุดกระชากลากแขนประธานรัฐสภา แล้วอีกคนหนึ่งก็ลากเก้าอี้ประธานรัฐสภาด้วยท่าทางเอาเป็นเอาตาย สร้างความวุ่นวายในสภาผ่านไป 1 วัน ถึงวันรุ่งขึ้น เล่นรุนแรงหนักไปกว่าเดิม ด้วยการอาละวาด ฟาดหาง โยนกระดาษ ฟาดแฟ้มเอกสารใส่ประธานรัฐสภา แทบว่าจะยุให้เกิดการชกต่อยกันขึ้นในสภาผู้แทนราษฎรให้ได้ ? มิใช่แต่เท่านี้ ยังมี ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ท่านหนึ่ง กระโดดเข้าเค้นคอ ส.ส. พรรคเพื่อไทย ราวจะบีบคอให้ตายคามือ

          แต่ก็ยังโชคดีที่ไม่มีความร้ายแรงถึงขนาดนั้น ทว่าแม้เพียงแค่นี้ก็ได้กลายเป็น รอยด่างในรัฐสภาไทยว่านักการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์เล่นกันแบบป่าเถื่อนไร้จริยธรรมอันดีงาม  ทำความชั่วต่อสายตาของชาวโลก (เพราะมีการถ่ายทอสด) สุดท้ายได้กลายเป็น “ขี้ปาก” ไปทั่วโลก ทำให้คนไทยได้รับความอับอายขายหน้าอย่างไม่มีทางเลี่ยง ผมเชื่อว่าพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวไทย ทั้งในและนอกประเทศไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวนี้ และคงจะตำหนิติเตียน-ก่นด่าอยู่ในใจ วาเหตุไร ส.ส. ไทยจึงกลายเป็นคนเลวได้ถึงขนาดนั้นไปได้

           ตั้งแต่วันนั้น ผมเกิดอาการ “รังเกียจ” ส.ส. ประเภทนี้แบบจมดิ่ง จะถอนให้หายเกลียดอย่างไรก็ถอนไม่ขึ้น มันดึงใจของผมให้เกิดความขยะแขยง ไม่อยากเข้าใกล้ ไม่อยากได้ยินชื่อ ไม่อยากให้เขาเป็นนักการเมืองของประเทศไทยอีกต่อไป

ประชาชนทั้งหลายควรรุมประณามอย่างไม่ไว้หน้า (ขนาดนั้น)?

         ผมวินิจฉัยของผมเองว่าสิ่งเหล่านี้เกิดจากจิตใจของพวกเสื้อเหลือง – พันธมิตร และพรรคการเมืองเก่าแก่ที่ชื่อว่า “พรรคประชาธิปัตย์” มีจิตใต้สำนึกทางการเมืองต่ำเตี้ย ดักดานขนาดหนัก จนไม่รู้ซึ้งในคำว่าระบอบประชาธิปไตย (อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุข) คืออะไร ดังจะเห็นได้จากการแสดงออกในสภา ล้วนแต่ผิดแผกแตกต่างจากสิ่งที่ควรจะเป็น

เห็นไหม...? อภิปรายต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญยาวเหยียดย้ำไปย้ำมาบนเรื่องราวเดิมๆนานถึง 15 วันเต็มก็ยังพากันทำ โดยมิได้ใส่ใจเลยว่าจะก่อให้เกิดความอิดหนาระอาใจเพียงไร การกระทำเยี่ยงนี้ 


แสดงว่าวิสัยทัศน์ทางการเมืองต่ำเตี้ยเหลือที่จะกล่าว นึกไม่ถึงว่าคนเป็นนักการเมืองจะเป็นไปได้ถึงขนาดนี้

ที่แปลกมากก็คือ ได้มีการคัดค้านและต่อต้านกฎหมาย “ปรองดอง” จำนวน 4 ร่างแบบสุดกู่ โดยมิได้แยกแยะว่าเนื้อหาสาระใน “ร่างกฎหมายปรองดอง” มีความแตกต่างกันอย่างไร พูดกันให้ชัดก็คือทางพรรคประชาธิปัตย์พากันกกล่าวหาว่าร่างกฎหมายปรองดองทั้งหมด ล้วนแต่ทำเพื่อคน-คนเดียว อันเป็นการต่อต้านที่ไร้เหตุผลอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ก็เพราะว่าถ้าจะกล่าวหา “ร่างกฎหมายปรองดอง” ฉบับใดเขียนขึ้นมาเพื่อช่วย พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร (เพียงคนเดียว) ก็ควรจะเอามาตีแผ่ให้ประชาชนได้รับรู้อย่างทั่วถึง หลังจากนั้น..จะคัดค้านอย่างไรก็ชอบด้วยเหตุผล

แต่พ่อมหาจำเริญเล่นเหมารวมแบบไม่มีหูรูดแบบนี้ มันอันธพาลชัดๆ ?


เมื่อผมได้พบกับการกระทำแบบนี้ ผมเชื่อว่าหัวใจของพ่อแม่พีน้องจะโหวเหว-หมดศรัทธากับ ส.ส. (พรรคประชาธิปัตย์) อย่างรุนแรง แม้แต่สมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์ดั้งเดิมประเภทคนพันธุ์แท้ก็ยังถอดใจหนี จะเหลืออยู่ก็แต่พวก “สมุนอำมาตย์” ที่ร่ำรวยได้ลาภกับการกระทำ (สุดห่าม) ที่พากันโลดแล่น-ก๋ากั่นยกพวกมาประท้วง ซึ่งก็เห็นว่ามีจำนวนไม่น้อย

          ท่านผู้อ่านครับ ผมอยากเก็บเอาความในใจมาเล่าให้ฟังว่า บ้านเมืองของเราคงไม่มีทางปรองดองได้ ทั้งนี้เนื่องจากข้อขัดแย้งได้ขยายวงกว้างไปทั้งแผ่นดิน กล่าวคือได้มีคนกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยพันธมิตร-สันติอโศกกับพรรคประชาธิปัตย์ พากันขนานนามคนเสื้อแดงว่าเป็นผู้ก่อการร้าย จนกลายเป็นเหตุให้เกิดการปราบปราม-เข่นฆ่าทารุณ รวมทั้งการจับกุมคุมขัง ล่ามโซ่ตีตรวน

ข้อกล่าวหาดังกล่าวนี้ แม้จะร้ายแรงและเป็นภัยแก่คนเสื้อแดงเพียงไร คนเสื้อแดงก็ยังพอใจที่จะสร้างความปรองดองเพื่อจะได้อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข แต่ทว่า “ฝ่ายคนเสื้อเหลือง และพวกอำมาตย์” ซึ่งมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นกองกำลังทางการเมืองไม่ยอมเอาด้วย

ความหวังที่จะได้สร้างความปรองดองจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้

ผมว่านะ...ขอให้ถอนร่าง “กฎหมายปรองดอง” ออกไปเสียเถิดครับ อย่าไปปรองดองมันเลย ขอให้เหลืออยู่เพียงเรื่องเดียวคือการแก้รัฐธรรมนูญเผด็จการ เอาให้เป็น รธน. ประชาธิปไตยให้ได้

ผมอยากว่าต่อไปว่า ถ้ารัฐธรรมนูญของสยามฉบับใหม่เป็นรัฐธรรมนูญที่สนับสนุนประชาธิปไตยของประชาชน...ยกย่องอำนาจของประชาชนอย่างแท้จริง จะเป็นรัฐธรรมนูญที่จะนำชาติไปสู่ความรุ่งเรืองทั้งในทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ให้เชิดหน้าชูตาแก่ตนเอง กระหึ่มไปทั่วพิภพ

แต่ทว่า...จะทำอะไรก็ทำไม่ได้ จะปรองดองก็ไม่สำเร็จ จะแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญก็ไม่ยอมให้แก้

ผมก็เชื่อว่าประเทศไทยของเราคงไม่พ้นคนไทยต้องฆ่ากันเอง (อีกครั้ง) ?!

ข้อเขียนของผมในวันนี้ ไม่ประสงค์จะให้เกิดสงคราม

แต่ถ้าหลีกไม่พ้น...ก็จำเป็นมิใช่หรือครับ ?

ไม่ปรองดอง...ก็ไม่ต้องปรองดอง...มันจะได้จบเสียที ?!

“ สอาด จันทร์ดี”
http://redusala.blogspot.com