ตะวันออกกลางห่างมากไหมกับตะวันออกเฉียงใต้ http://tgdr.blogspot.com/ ผู้เขียนได้ติดตามชมภาพงานคอนเสิร์ตรุ่งอรุณความยุติธรรมที่เขาใหญ่ตามเว็บบอร์ดต่างๆ ทำให้ทราบว่าการรวมตัวของคนเสื้อแดงครั้งนี้ต่างกับครั้งอื่นๆ เล็กน้อย ที่ไม่ค่อยมีแผ่นป้ายคำคมมากนัก แต่ก็อดสะดุดตากับป้ายที่เขียนถึงตูนิเซีย อียิปต์ และลิเบียไม่ได้ สันนิษฐานว่าคงจะติดใจได้อารมณ์กับคำของคุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำคนหนึ่งซึ่งพูดไว้เมื่อคราวชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยหลังจากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวได้ไม่นาน เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าสามประเทศที่กล่าวถึงเป็นส่วนหนึ่งของกระแสปฏิวัติประชาชนที่กำลังระอุอยู่ในภูมิภาคต่อเนื่องกันของตะวันออกกลาง อาฟริกาตอนเหนือ และอ่าวเปอร์เซีย อันเป็นย่านของชนชาวอาหรับหลากหลายสายพันธุ์ และต่างกันสองนิกายในศาสนาอิสลาม ตูนิเซียกับอียิปต์ปฏิวัติสำเร็จไปแล้ว กำลังฝ่าควันการเมืองเสรีหาทางไปสู่ประชาธิปไตยกันอย่างน่าเหน็ดเหนื่อยแทน ส่วนลิเบียยังลูกผีลูกคนเพราะจอมเผด็จการกาดาฟี่ไม่ยอมจำนนง่ายๆ และพันธมิตรตะวันตกในการนำของสหรัฐ (ซึ่งก็พยายามโยนลูกไปให้กับนาโต้ ขณะที่ฝรั่งเศสคอยช่วงชิงออกหน้า) ใช้ยุทธศาสตร์ที่บอกว่าเจาะจงเพียงด้านมนุษยธรรม การระดมยิงจรวดเข้าใส่ฐานกำลังของกาดาฟี่ก็เพียงเพื่อสกัดไม่ให้ทำร้ายกองกำลังฝ่ายประชาชน ไม่ได้มุ่งกำจัดกาดาฟี่โดยตรง แม้จะยังแบ่งรับแบ่งสู้ว่าจะช่วยฝ่ายกองกำลังประชาชนด้วยอาวุธหรือไม่ สหรัฐก็ได้ส่งหน่วยซี.ไอ.เอ. เข้าไปคุยกับแกนนำกองกำลังฝ่ายประชาชนแล้ว ทว่าเป้าหมายของซี.ไอ.เอ. ไม่เพียงเสาะหาข้อเท็จจริงว่าสมควรติดอาวุธให้ฝ่ายประชาชนไหม แต่ดูเหมือนจุดประสงค์หลักเป็นการสอดแนมพวกแกนนำ ว่าเป็นเส้นสายของมุสลิมหัวรุนแรงหรือเปล่าด้วย เพราะบทเรียนจากอิรักสอนไว้ว่า เมื่อโค่นผู้เผด็จการลงไปโดยยังไม่รู้จักมวลชนดี และไม่สามารถควบคุมมวลชนได้ ก็จะถูกสอดแทรกโดยมุสลิมหัวรุนแรง ดังที่มวลชนอิรักกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะของอัลไคดาห์ไป การนำคำของคุณณัฐวุฒิที่อ้างถึงตะวันออกกลางมาใช้เป็นเครื่องลูบไล้กระตุ้นน้ำใจคนเสื้อแดงให้กระชุ่มกระชวย ว่าตัวอย่างของชัยชนะในฝ่ายประชาชนนั้นมีให้เห็นตำตา แต่ถ้าจะลงลึกเอารายละเอียดเป็นแบบอย่างสำหรับปรับใช้กับบ้านเรา ก็อาจจะยากสักหน่อย เพราะตะวันออกกลางกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ห่างไกลกันพอดู โดยเฉพาะในเรื่องพื้นฐานทางวัฒนธรรม ความเชื่อทางนิกายศาสนา และความแปลกแยกเรื่องเผ่าพันธุ์ แต่ละแห่งล้วนมีลักษณะของตนเองที่จะก่อเกิดการอัดอั้นสั่งสมในชนหมู่มาก จนเมื่อมีประกายจุดขึ้นจึงกลายเป็นการ“ปฏิวัติประชาชน”* การปฏิวัติประชาชนทุกแห่งในโลกมีปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งเป็นแรงขับดันเหมือนกัน นับตั้งแต่ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน เวียตนาม ยุโรปตะวันออก มากระทั่งถึงตะวันออกกลาง นั่นก็คือความแตกต่างห่างไกลในการดำรงชีวิต ระหว่างชนชั้นปกครองส่วนน้อย กับผู้ถูกปกครองส่วนใหญ่ ที่ใดมีความแตกต่างทางการดำรงชีพสูง ขณะที่ฝ่ายปกครองกระชับวงความปลอดภัยของตนอย่างเหนียวแน่น ด้วยอำนาจกฏระเบียบ หรืออาวุธ มากเท่าไร ก็จะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาไปสู่การปฏิวัติเร็วขึ้นเท่านั้น ในย่านอาหรับที่กำลังกรุ่นด้วยไฟปฏิวัติประชาชน ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่มีผู้ปกครองเป็นประธานาธิบดี เช่นตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย เยเมน และซีเรีย หรือที่ยังมีกษัตริย์ และราชาธิบดี เช่นบาหเรน จอร์แดน มอร็อคโค และซาอุดิ อาราเบีย ล้วนมีปัญหาสั่งสมในเรื่องความไม่ใกล้เคียงอย่างยิ่งระหว่างความเป็นอยู่ของชนชั้นปกครอง และประชาชน ดังนั้น ถ้าจะใช้ตะวันออกกลางเป็นกรณีศึกษา แทนที่จะดูจากสองประเทศที่ปฏิวัติสำเร็จไปแล้ว หรือแม้แต่ลิเบียที่ผู้ปกครองเป็นจอมเผด็จการแจ่มแจ้ง น่าที่จะดูจากสองประเทศที่ยังไม่เสร็จมากกว่า เช่นบาหเรน และจอร์แดน ผู้ปกครองในทั้งสองประเทศยังแสดงตนก้ำกึ่ง ทั้งที่กำอำนาจเบ็ดเสร็จ และกุมบังเหียรประเทศไว้ในมือด้วยเหล่าบริวารว่านเครือ แต่ก็พยายามเสนอภาพของการก้าวทันโลกาภิวัฒน์ และวาทกรรมปฏิรูปอยู่เสมอ แบบที่เรียกกันในสำนวนตลาดว่า “อีแอบ” (ทางการเมือง) ที่จอร์แดนซึ่งสถานะของกษัตริย์อับดุลลาห์ ที่สอง มั่นคงกว่าผู้ปกครองใดๆ ในย่านนี้ ประการหนึ่งเพราะประชากร ๖ ล้านคนแปลกแยกเป็นสองสายพันธุ์ พวกยากจนอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนล้วนเชื้อสายปาเลสไตน์ พวกมีอันจะกินเป็นชาวเผ่าต่างๆ อยู่บนฝั่งตะวันออก กษัตริย์ และชนชั้นปกครองในราชวงศ์ฮาชิไม้ท์ เป็นที่หมายพึ่งของประชาชนสองฝ่ายที่ไม่ยอมผสานกลมกลืน (Assimilate) ต่อกัน แต่กระนั้นความต้องการปฏิรูป และขจัดคอรัปชั่นที่มีเกลื่อนกลาดในหมู่ข้าราชบริพารก็แผ่ขยายจนกลายเป็นการชุมนุมเรียกร้องใหญ่ๆ หลายครั้งแล้ว ชาวบ้านที่ถูกเอาเปรียบหลายรายยังคิดว่ากษัตริย์อับดุลลาห์ไม่ทรงทราบว่าคนของพระองค์กำลังทำให้ประชาชนเดือดร้อน แม้ว่าราชสำนักแถลงออกมานานแล้วว่ากษัตริย์ทรงรับสั่งให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูป แต่ก็ยังไม่เป็นจริงเสียที การประท้วงโดยมวลชนจึงเกิดขึ้น บางทีอาจเป็นแบบที่ ไซมอน เซแบ็ก มองเตฟิออร์** นักเขียนผู้เชี่ยวชาญตะวันออกกลางอ้างถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ในฝรั่งเศสยุคปี ค.ศ. ๑๗๘๙ ทรงตรัสถามมหาดเล็กถึงเสียงอึงคนึงนอกพระราชวังว่าเกิดจลาจลขึ้นหรือไร ลาโรเช เฟาโคล ลีอองคอร์ท มหาดเล็กผู้นั้นตอบว่า “ไม่ใช่หรอกพ่ะย่ะค่ะ มันเป็นการปฏิวัติ” นั่นเป็นการเปรียบเปรยของนักเขียนผู้นี้ต่อเหตุแห่งปรากฏการณ์ปฏิวัติประชาชนเป็นลูกโซ่ทั่วตะวันออกกลาง ว่าเป็นเพราะพวกผู้ปกครองสูญเสียความชอบธรรมในอำนาจอย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่าง ตามทฤษฎีของแม็ก วีเบอร์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน อำนาจทั้งสามได้แก่ อำนาจนิรันดรของเมื่อวันวาน หรือวิธีการสืบทอดตามสายเลือด อำนาจแห่งพรสวรรค์ของความสง่าเหนือธรรมดา หรือบุคลิกภาพอันสูงส่ง และสุดท้ายคืออำนาจแห่งการครอบงำด้วยคุณค่าของกฏหมาย มองเตฟิออร์ยังบอกด้วยว่าพวกผู้ปกครองระบบประธานาธิบดีในตะวันออกกลางอาจมีบุคลิกภาพส่วนตัวค้ำจุนอำนาจ แต่ก็ล้วนพยายามผ่องถ่ายอำนาจสืบตามสายเลือดแบบเดียวกับพวกกษัตริย์ และราชาธิบดีเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นฮอสนิ มูบารัค ของอียิปต์ มูอัมมาร์ กาดาฟี่ ของลิเบีย หรือบาชาร์ อัล อัสสัด ของซีเรีย ขณะเดียวกันพวกกษัตริย์ และราชาธิบดีซึ่งมีศักดิ์ศรีตามความเชื่อทางศาสนาหนุนหลัง ต่างกำลังสูญเสียอำนาจอันนิรันดรของพวกตนกันไป เพราะว่าศักดิ์ศรีนั้นไม่จีรัง และมักจะเสื่อมสลายได้เสมอ ที่บาหเรนกษัตริย์ฮะหมัด บิน อิสสา อัล-คาลิฟา ขอกำลังทหารจากซาอุดิ อาราเบียเข้าไปช่วยสลายการชุมนุมเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว รัฐบาลแถลงว่าได้กำจัดเสี้ยนหนามของแผ่นดินจนสิ้นซาก พร้อมทั้งส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปรื้อทิ้งอนุสาวรีย์ไข่มุก และทำลายบริเวณวงเวียนที่เป็นสัญญลักษณ์ และศูนย์รวมการต่อสู้ของฝ่ายประชาชนราบคาบไปด้วย ตัวอย่างของการปฏิวัติโดยประชาชนที่ยังไม่เสร็จสิ้นดังที่กล่าวถึงข้างต้นนั่นสิ ควรที่จะใช้เป็นกรณีศึกษาสำหรับไทยเรามากกว่า เพื่อที่จะเทียบเคียงทั้งในส่วนที่เหมือนกัน หรือปรับใช้ในข้อผิดพลาด ดังเช่นรัฐบาลบาหเรนอ้างการใช้กำลังเข้าปราบปรามสลายการชุมนุมว่า เพราะมีการยุยง และแทรกแซงโดยตัวการชั่วร้ายจากภายนอกประเทศ ซึ่งก็หมายถึงพวกมุสลิมหัวรุนแรงจากอิหร่าน เทียบกับบ้านเราเห็นเคยมีข้ออ้างว่านักโทษหนีคดีคอรัปชั่นปลุกปั่นทำร้ายประเทศไทยอยู่เหมือนกัน หรือผู้ประท้วงที่จอร์แดนถูกทหารหน่วยปราบจลาจลตีด้วยไม้กระบองร้องโอดครวญ ว่าเป็นเพราะความชั่วร้ายของเจ้าหน้าที่ยังไม่ทราบถึงพระเนตรพระกรรณ์ของกษัตริย์ ส่วนคนตกงานที่พากันไปชุมนุมหน้าพระราชวังอุตส่าห์เสียค่ารถมากกว่ารายได้สวัสดิการต่ออาทิตย์ในการเดินทางจากที่ห่างไกล ต้องผิดหวังกันเป็นแถวเพราะข่าวที่ว่ากษัตริย์จะเสด็จมาพระราชทานเงินแก่คนยากจนเป็นเพียงข่าวลือ ความผิดหวังของคนตกงานจอร์แดนเพราะข่าวลือจะเท่าชาวบ้านยากจนของไทยหรือไม่ ก็น่าสงสัยถ้าได้ซาบซึ้งกับการรับแจกถุงยังชีพแล้วเปิดถุงออกมาปรากฏว่าเจอของเน่าอยู่ภายใน แม้แต่ในกรณีความสำเร็จของประชาชนอียิปต์ ผู้สังเกตุการณ์บางรายให้เหตุผลว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะนายมูบารัคยังไม่เลือดเย็น หรือเหี้ยมไม่พอ อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีปัจจัยอื่นหนุนอยู่โดยไม่รู้ตัว นั่นคือฝ่ายทหารที่สหรัฐขุนมา และขณะนี้ตอผุดแล้วว่าแก่นแข็งภายในพลังประชาชนอียิปต์แท้จริงเป็นขบวนการภราดรภาพมุสลิมนั่นเอง ถึงกระนั้นก็ตาม หนทางไปสู่ประชาธิปไตยในอียิปต์หลังจากการปฏิวัติประชาชนโค่นล้มผู้ปกครองแบบจ้าวเหนือหัว (Autocrat) ได้แล้วก็ยังช่างขรุขระสิ้นดี*** ตามรายงานของนายนิโคลัส คริสท้อฟ นักวิจารณ์ประจำหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์คไทม์ มองเห็นเช่นเดียวกับนายไซม่อน มองเตฟิออร์ ว่าท้ายที่สุดอียิปต์อาจจะได้ประชาธิปไตยชนิดมีทหารเป็นพี่เลี้ยงแบบเดียวกับตุรกี แต่ว่าขณะนี้สิ่งที่สหรัฐหวาดระแวงน่าจะไม่เกิด นั่นคือการที่มุสลิมหัวรุนแรงเข้ามาครอบงำทั้งหมดเหมือนอิหร่าน เพราะความเข้มแข็งของมุสลิมสายกลาง หรือกลุ่มภราดรภาพมุสลิมทำให้อัลไคดาห์เข้าไม่ติด หากแต่ว่าการปฏิวัติเกิดขึ้น และสำเร็จด้วยพลังประชาชนที่ไม่ลดละ(Spontaneous) โดยไม่ต้องมีแกนนำ ทำให้ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้จำต้องเกิดมีการนำโดยฝ่ายทหารขึ้นมาอย่างช่วยไม่ได้ แถมด้วยความร่วมมือของภราดรภาพมุสลิม กลายเป็นข้อเสียอันจะทำให้อียิปต์คงไปได้ไม่ถึงประชาธิปไตยที่แท้จริง นั่นคือฝ่ายทหารที่เคยยืนข้างประชาชน พอได้เป็นแกนนำแล้วชักเหลิง บัดนี้ใช้วิธีทุบตีเข้าจัดการกับพวกเรียกร้องประชาธิปไตยที่ยังเห็นต่าง มิหนำซ้ำรัฐบาลชั่วคราวที่เต็มไปด้วยทหารเพิ่งเสนอร่างกฏหมายสำหรับใช้กับอียิปต์ยุคใหม่ โดยไม่มีปฏิกริยาท้วงติงใดๆ จากภราดรภาพมุสลิม เป็นกฏหมายที่ห้ามประชาชนชุมนุมประท้วง มันช่างเหมือนกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีไทยเสนอเข้าสภาไปแล้ว ใครเล่าจะคิดว่าประชาธิปไตยพันธุ์ทางไฉนเกิดได้เหมือนกันทั้งในตะวันออกกลาง และตะวันออกเฉียงใต้ |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554
วันนี้เมื่อปีกลาย จุดยืนไทยอีนิวส์ต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน: โปรดให้โอกาสสุดท้ายแก่สันติภาพ เปิดเจรจาหาทางออก http://thaienews.blogspot.com/2011/04/blog-post_2407.html หมายเหตุไทยอีนิวส์:วันนี้เมื่อปีกลาย ( 7 เมษายน 2553 เวลาราว 18.00 น. )รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้ไทยอีนิวส์ได้เผยแพร่ จุดยืนไทยอีนิวส์ต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน:โปรดให้โอกาสสุดท้ายแก่สันติภาพ เปิดเจรจาหาทางออกในช่วงเย็นวันนั้น ลิ้งค์ จุดยืนไทยอีนิวส์ต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน:โปรดให้โอกาสสุดท้ายแก่สันติภาพ เปิดเจรจาหาทางออก ที่เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อเย็นวันที่ 7 เมษายน 2553 http://thaienews.blogspot.com/2010/04/blog-post_6449.html ได้โปรดให้โอกาสแก่สันติภาพที่ยังไม่ถึงทางตัน ได้โปรดดำเนินการทุกวิถีทางที่จำเป็นดังนี้ 1.ยุติการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเอาไว้ก่อน โดยเฉพาะการปราบปรามสลายการชุมนุม สถานการณ์ชุมนุมในเวลานี้ยังไม่อาจชี้ขาดแพ้-ชนะได้ โดยทั้งสองฝ่าย มีแนวโน้มจะก่อความรุนแรงได้ ยิ่งภายหลังจากที่รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเตรียมการปราบปรามผู้ชุมนุมอันไม่สอดคล้องต่อสถานการณ์ เนื่องจากผู้ชุมนุมยังเคลื่อนไหวเรียกร้องโดยสันติ แต่รัฐบาลกลับไม่ใช้ความอดกลั้นที่ได้พยายามมาด้วยดีโดยตลอด 2.ผู้สนับสนุนรัฐบาล โดยเฉพาะสื่อกระแสหลัก และสื่อที่มีจุดยืนต่อต้านทักษิณ ได้ออกมาชี้นำตลอดให้ใช้กำลังจัดการปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด และแสดงท่าทีแข็งกร้าวว่าหากรัฐบาลไม่ยอมจัดการปราบปรามสลายการชุมนุม กลุ่มหัวรุนแรงเหล่านี้ก็อาจลงมือจัดการต่อผู้ชุมนุมเอง ในลักษณะม็อบชนม็อบ หรือลอบก่อการร้าย อันเป็นการยั่วยุและบีบคั้นกดดันให้รัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.ผู้นำและผู้จัดการประท้วง ยังไม่ได้แสดงความพยายามอย่างถึงที่สุดในการที่จะแสวงหาทางออกด้วยวิธีการเจรจา การประกาศว่าตายเป็นตายพร้อมพลีชีพ หรือประกาศว่าพร้อมรับมือการปราบปราม หากไม่มาปราบก็จะบุกไปจัดการต่อฝ่ายรัฐบาลนั้น เป็นการปลุกเร้าที่อาจนำไปสู่การสูญเสีย แกนนำการชุมนุมและผู้จัดการการชุมนุมยังไม่ได้แสดงออกว่าถนอมรักมวลชนอย่างที่ควรต้องทำ 4.ผู้สนับสนุนทักษิณและสนับสนุนการชุมนุม ก็เชื่อมั่นอย่างสุดจิตสุดใจเกินไปว่าการยกระดับการชุมนุม และออกนอกแนวทางสันติในบางครั้ง เช่น กรณีบุกเข้าไปในที่ทำการรัฐสภา จะสามารถกดดันให้รัฐบาลตัดสินใจยุบสภา หรืออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถปกครองบริหารประเทศได้ ซึ่งก็สุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆที่ยุ่งยากกว่า เช่น เปิดช่องให้เกิดการทำรัฐประหาร หรือการปราบปราม ม็อบชนม็อบ หรือวิถีที่ห่างไกลจากข้อเรียกร้องออกไป ในเมื่อข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นเป็นเพียงขอให้รัฐบาลยุบสภา ไม่ใช่การโค่นล้มขับไล่รัฐบาล ซึ่งแกนนำผู้ชุมนุมก็ย่อมทราบดีว่าเป็นเพียงข้อต่อสู้เรียกร้องในระดับที่ต่ำที่สุด และเป็นไปได้ที่สุดที่จะพลิกสถานการณ์มาเป็นฝ่ายชนะได้ด้วยการชี้ขาดของประชาชาติไทยในการเลือกตั้งครั้งใหม่ ดังนั้นการดำเนินการชุมนุมต่อไป โดยปลุกเร้าให้มีการยอมเสียสละชีพ หรือด้วยยุทธวิธีที่เรียกกันว่า"ยกระดับชุมนุม"ก็รังแต่จะทำให้สุ่มเสี่ยงจะเพลี่ยงพล้ำทั้งขบวนได้ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลและกลไกรัฐ ทั้งตำรวจและทหารก็ต้องทราบด้วยว่า ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยนั้นผู้ที่ก่อความรุนแรงและสร้างความสูญเสียทุกครั้งคือฝ่ายกุมอำนาจรัฐนั่นเอง ไม่ใช่ประชาชนที่ปราศจากอาวุธ หนทางการกลับคืนสู่โต๊ะเจรจาจึงเป็นทางเลือกที่ทั้งกลุ่มผู้ชุมนุม และรัฐบาลควรเดินหน้าต่อไปมากที่สุดในสถานการณ์นี้โดยไม่ชักช้า และโดยไม่ต้องกลัวเสียหน้า โดยในเมื่อฝ่ายผู้ชุมนุมเสนอไป 15 วัน ฝ่ายรัฐบาลปฏิเสธและเสนอกลับมา 9 เดือน ก็สมควรจะต้องเจรจากันในยกที่สามต่อไป ซึ่งฝ่ายผู้ชุมนุมก็ชอบที่จะผ่อนปรนข้อเสนอตามสมควร เช่น อาจพิจารณาตามข้อเสนอของกลุ่มนักวิชาการเครือข่ายสันติประชาธรรมที่กำหนดให้ยุบสภาใน 3 เดือน ให้ทุกฝ่ายยอมรับในกติกา ให้เคารพผลการเลือกตั้ง และไม่ต้องจัดทำประชามติ เป็นต้น ทั้งนี้หากฝ่ายรัฐบาลยังคงยืนกรานที่ 9 เดือน โดยไม่ขยับลดกรอบเวลายุบสภาลงมา ความชอบธรรมในการจัดการชุมนุมแบบเอาแพ้เอาชนะก็จะมีความชอบธรรม หรือได้รับแรงสนับสนุนจากสาธารณชนมากขึ้น ขณะที่หากฝ่ายรัฐบาลยืนกรานที่ 9 เดือนก็จะเสียการสนับสนุนจากสาธารณชน เช่นกัน เราขอเรียกร้องต่อทั้งฝ่ายรัฐบาลและผู้สนับสนุน กับฝ่ายผู้ชุมนุมและผู้สนับสนุน ได้โปรดให้โอกาสแก่สันติภาพที่ยังไม่ถึงทางตัน หลีกเลี่ยงการใช้กำลังอาวุธ ความรุนแรง การยั่วยุใดๆ รวมทั้งทุกภาคส่วนที่ปรารถนาสันติภาพได้โปรดดำเนินการทุกวิถีทางที่จำเป็นดังนี้ 1.ยุติการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเอาไว้ก่อน โดยเฉพาะการปราบปรามสลายการชุมนุม ยกเว้นแต่กลุ่มผู้ชุมนุม และฝ่ายรัฐบาล รวมทั้งกองเชียร์ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องการทางออกที่สันติ ปิดทางสันติภาพทั้งที่ยังไม่หมดโอกาส นั่นก็เป็นเคราะห์กรรมของประเทศ และประชาชาติไทยมีราคาที่ต้องจ่ายแสนแพง กองบรรณาธิการไทยอีนิวส์ |
เพื่อร่วมรำลึกวันจักรี: ย้อนประวัติศาสตร์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ด้วยสายตาของไพร่ http://thaienews.blogspot.com/2011/04/blog-post_9964.html 6 เมษายน 2554 เมื่อวานนี้ เป็นวันครบรอบ 229 ปี แห่งราชวงศ์จักรี เป็นวันสถาปนาปฐมบรมราชาแห่งราชวงศ์จักรี ตามที่เราท่านได้ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เกิดขึ้นหลังจากเจ้าพระยาจักรีทำรัฐประหารและประหารชีวิตพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช พร้อมทั้งครอบครัว และขุนนางที่จงรักภักดีทั้งหลาย การโค่นราชวงศ์หนึ่งแล้วตั้งราชวงศ์ใหม่เกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทยในยุคสมัยสมบูรณาณาสิทธิราชย์ และราชวงศ์จักรีก็ไม่ได้มีประวัติแห่งการก่อกำเนิดที่แตกต่างจากราชวงศ์อื่นๆ เช่นกัน ดังนั้นในการร่วมรำลึกวันจักรี ในฐานะประชาชน เราควรร่วมรำลึกอย่างมีสติ ด้วยการพยายามเข้าใจวิถีคิดและจิตวิทยาการเมืองแห่งราชวงศ์จักรี เพื่อสืบสานและรักษาอำนาจให้คงอยู่คู่ฟ้า ราชวงศ์จักรีได้สืบทอดแนวคิดและจิตวิทยาการบริหารบ้านเมืองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาจากราชอาญาจักรอยุธยา และราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายในอดีต และปฏิบัติตาม “โองการสวรรค์” ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน วิถีการรักษาอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มักอิงแอบแนบชิดกับนายทหารเสนาบดี ควบคู่ไปกับส่งเสริมค่านิยมความเชื่อในเรื่อง “ความเป็นสมมุติเทพ” ที่ดำรงต่อเนื่องมาเนิ่ินนานหลายพันปีแห่งประวัติศาสตร์มหาราชา อันเป็นยุทธศาสตร์แห่งการดำรงอยู่และขยายราชอาญาจักร และเป็นยุทธศาสตร์เพื่อการสร้างความชอบธรรมและการยอมรับในหมู่ประชาชนว่า การเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ขึ้นเป็นผู้ปกครองแว้นแคว้นนั้นๆ นั้นเป็นโองการจากสวรรค์ ทั้งมหาจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ของจีน พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งมหาอาณาจักรขอมที่ยิ่งใหญ่ หรือแม้แต่พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษที่ฉีกสัญญาประชาคมที่ทำไว้กับขุนพลจากเมืองต่างๆ เมื่อกว่า 800 ปีที่ผ่านมา (แม้ว่าสุดท้ายก็ต้องยอมทำสัญญาแมคนาคาร์ตาในปลายรัชกาลก็ตาม) ต่างก็อ้างว่าพระองค์ได้รับการแต่งตั้งจากสวรรค์ นั่นมันเนิ่นนานมามากแล้ว หลายร้อยปีมาแล้ว สถาบันกษัตริย์ในหลายประเทศปลาสนาการไปในช่วง 229 ปี ภาพการประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ด้วยเครื่องกิโยติน 21 มกราคม 1793 (พ.ศ. 2336) พระราชวงศ์พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 2 ของรัสเซีย ทุกพระองค์ถูกสังหารโหดในวันที่ 17 กรกฎาคม 1918 (2461) ภาพการปฏิวัติรัสเซียพ.ศ. 2460 ในช่วงเวลาหลายร้อยปีนี้ ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่างก็ทยอยถูกโค่นล้มโดยประชาชนในทั่วทุกมุมโลก สำหรับกษัตริย์ที่ชาญฉลาดต่างก็รู้ว่าจำต้องปรับตัวลงมาอยู่ร่วมกับประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญ กษัตริย์ที่บ้าอำนาจที่ไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญต่างก็ถูกโค่น อย่างถอนรากถอนโคน และถูกประหารชีวิต (ชัดเจนที่สุดได้แก่ กรณีพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ของฝรั่งเศส พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ของรัสเซีย หรือร่วมสมัยในกรณีของพระเจ้าคยาเนนทราของเนปาล ที่ถูกโค่นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่รัฐบาลทักษิณถูกโค่นด้วยรัฐประหาร 2549 ของคณะปฏิรูปการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (หรือในอีกนัยยะหนึ่งก็คือรัฐประหาร โดยคณะรัฐประหารอ้างว่า เพื่อดึงอำนาจกลับไปสู่สถาบันพระมหากษัตริย์)) สมบูรณาญาธิราชย์แบบไทยไทย ถ้ามองย้อนคร่าวๆ ไปยังบันทึกการเมืองสมัยอยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ พวกเราจะเห็นการฆ่าฟันแย่งชิงกันขึ้นสู่อำนาจตลอดเวลา เกือบทุกรัชสมัย เกิดมาพร้อมกับวรรณกรรมเพื่อการกล่อมเกลาสังคม อาทิ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ที่ใช้ประกอบการทำพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเพื่อสาบานตนต่อพระมหากษัตริย์ ที่ใช้มาตั้งแต่องค์ปฐมกษัตริยแห่งราชอาณาจักรอยุธยา และสืบสานต่อเนื่องมาจนถึงกรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ และจนถึงปัจจุบันแม้จะมีการพูดเรื่องทศพิธราชธรรมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า การเมืองระบอบกษัตริย์ ไม่รู้จักกับคำว่า (หรือไม่มีนิยามคำว่า) “ความยุติธรรม” มีแต่เพียงคำว่า “พระราชอำนาจ”“พระราชโองการ” และ/หรือ “พระราชดำริ” เป็นต้น ระบบสมบูรณาณาสิทธิราชย์ เพื่อการเมืองที่กดหัวคน จึงเป็นระบบการเมืองที่เหน็ดเหนื่อย ที่ไม่มีเสถียรภาพ ไม่ยั่งยืน เพราะมันต้องอยู่กับความหวาดระแวง ชิงไหวชิงพริบ ต่อสู้แย่งชิงอำนาจ ระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา ประวัติศาสตร์เจ้าจึงเป็นประวัติศาตร์แห่งเขตแดนที่ไม่เคยอยู่นิ่ง - ประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยสงครามและการนองเลือดแห่ง . . ==> การรักษาอำนาจและอาณาเขตแดน (ของเจ้า) ==> การขยายอาณาเขต ==> การกู้แผ่นดิน ==> การแย่งชิงในราชสำนัก ==> เกิดราชวงศ์ใหม่ เป็นวัฎจักรหมุนวนกันอย่างนี้ ไม่รู้จบไม่รู้สิ้น จนกว่าจะเจ้าจะยอมรับในระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ที่ทุกคนได้รับการปฎิบัติอย่างเท่าเทียมกัน การเมืองกษัตริย์จึงเป็นการเมืองของศักดินาชนชั้นสูง การเมืองของกษัตริย์ อุปราช และเสนาบดีกลาโหม เป็นการเมืองที่ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น - ทั้งขึ้นทั้งล่อง - หรือที่สุภาษิตว่าไว้ว่า “เมื่อช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกราญ” เป็นการเมืองที่แน่นอนว่าประชาชนต่างก็ไม่พอใจ และต่างก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ประชาชนต้องเสี่ยงชีวิตในฐานะทหาร เสียชีวิตจากการปล้นสะดมภ์ ขาดอาหาร และถูกจับเป็นเชลยข้ามเขตแดนกันไปมา ตามแต่ว่าศึกครั้งนี้มหาราชองค์ไหนคือผู้ชนะ ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่มีคำว่า “ประชาชน” มีแต่คำว่า ไพร่ ทาส เลก ที่ไม่มีอธิปไตยของชีวิตตัวเอง เป็นเพียงกำลังแรงงาน สนมนางกำนัล เครื่องบำเรอความใคร่ และกองกำลังทหารที่หล่อเลี้ยงความมั่งคั่งแห่งเมืองหลวง ในระบบศักดินาสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เจ้าศักดินาคนไหนก็ตามที่เริ่มมีอิทธิพลและมีไพร่ทาสมากเกินไป จะถูกจับตามอง และถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางที่ฉ้อฉลคนอื่น พวกเขามักจะถูกกำจัดทิ้งอย่างง่ายดาย ฆ่าเรียบ เผาเรียบ พร้อมกับยึดไพร่ ทาส มาเแจกจ่ายระหว่างกลุ่มที่ชนะ นี่คือการเมืองแห่งอำนาจของลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ไทย เป็นการเมืองแห่งการรบราฆ่าฟัน จี้ปล้น แย่งชิง เผาบ้าน เผาเมือง กันอยู่ตลอดเวลา มันโหดร้ายยิ่งนัก ด้วยเหตุนี้ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ดำรงตนด้วยการบ่มเพาะความเชื่อว่ากษัตริย์คือโอรสสวรรค์ จึงถูกท้าทายจากพลังประชาชนควบคู่มาพร้อมกับประวัติศาตร์ราชสำนัก เพราะในตัวลัทธิแนวคิดนี้ มันขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความรักอิสรภาพ รักสงบ และรักความเป็นไท ประชาชนทั่วไปต่างก็ต้องการดำรงชีวิตด้วยความเข้าใจและเคารพในธรรมชาติ พึ่งตนเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้งลงแรงช่วยเหลือกันและกันในเทือกสวนไร่นา ดังนั้นพวกเขาไม่ต้องการเป็นข้า ไพร่ หรือทาสของใครทั้งนั้น การลุกขึ้นโค่นเผด็จการและกษัตริย์ในโลกปัจจุับัน ลัทธิการปกครองระบบกษัตริย์ และเผด็จการทหารที่อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็กำลังอยู่ในภาวะอกสั่นขวัญหาย อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในหลายประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศในอาฟริกา และตะวันออกกลางที่การเปลี่ยนผ่านได้เกินอายุขัยมานานร่วมศตวรรษ จนอยู่หลงยุค หลงสมัย และกลายเป็นตัวตลกในหมู่ประชาคมโลกมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประชาชนในประเทศเหล่านั้นก็รู้ดี และกำลังลุกขึ้นสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและยุติหลายศตวรรษแห่งชีวิตที่ถูกกดขี่ภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์และเผด็จการทหาร ความร้ายกาจแห่งอำนาจอาจนุ่มนวลขึ้นบ้าง ไม่ใช่ “ไม่พอใจใครก็สั่งตัดหัวเสียบประจาน” แห่งระบบสมบูรณาญาสิทธิราชอันบริบูรณ์ แต่เป็นวิธีเชือดนิ่มๆ ครอบงำการเมืองด้วยวิถีการฑูตราชสำนัก หรือจะเรียกว่ายุทธวิธีแห่ง “น้ำผึ้งเคลือบยาพิษแห่งลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์” ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็็โหดร้ายป่าเถื่อนไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันและก็ไม่เคยปรานีคนที่คิด ต่างเช่นกัน ประเทศที่ปกครองด้วยลัทธิมหาราชเอกบุรุษ และเผด็จการทหารหรือเผด็จการรัฐสภา ที่อยู่รอดมาถึงปัจจุบัน (เหลืออยู่น้อยเต็มที่) ต่างก็อยู่่เกินอายุขัย และต่างก็พยายามอย่างหนัก และทุ่มเทงบประมาณของรัฐ(อันจำกัด) จำนวนมากมายมหาศาล ไปกับการสร้างภาพและปลูกฝังความคิดแห่ง “สมมติเทพ” และ “ความศักดิ์สิทธิ์” ให้กับองค์พระมหากษัตริย์กันอย่างบ้าคลั่ง ทั้งพัฒนากลไกที่ซับซ้อนและวิจิตรบรรจงมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งพัฒนาการแห่งเครื่องประดับอาภรณ์และพระราชธรรมเนียมต่างๆ บทเรียนของกษัตริย์ฆวน คาร์ลอส คือบทเรียนแห่งการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญอย่างน่าชื่นชม
ประวัติศาสตร์ไพร่ การลุกขึ้นสู้ของประชาชนที่อาฟริกาตอนเหนือและตะวันออกกลางในช่วงปลายปีที่่ผ่านจนถึงขณะนี้ คือประวัติศาสตร์การลุกขึ้นสู้ของประชาชนแห่งยุคสมัยปัจจุบัน
ประชาชนอียิปต์ลุกขึ้นขับไล่เผด็จการมูบารัค 25 มกราคม 2554 ทั้งประเทศและต่อเนื่อง มูบารัคต้องยอมลาออกในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 จากศรีปราชญ์ถึงณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เราจะเห็นได้ว่า แม้ประวัติศาสตร์มักจะเขียนโดยชนชั้นสูงเพื่อชนชั้นสูงเป็นส่วนใหญ่ มันก็ยังทิ้งเรื่องราวให้เราอ่านระหว่างบันทัดได้อยู่บ้างจากบันทึกเหล่านี้ได้บ้าง อาทิ มันได้บันทึกจิตวิญญาณอิสระของมนุษย์คนหนึ่งไว้เช่นกันเมื่อร่วมสี่ร้อยปีที่ผ่านมา จิตวิญญาณของมหากวีแห่งยุคสมัยพระเจ้านารายณ์ “ศรีปราชญ์” ที่ยิ่งใหญ่จนแม้แต่นักประวัติศาสตร์ราชสำนักก็ไม่อาจไม่บันทึกความยิ่งใหญ่ของเขา ที่ตอบโต้ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมของพระนารายณ์ ที่กล่าวหาศรีปราชญ์ว่า . . หะหายกระต่ายเต้น ชมจันทร์ ศรีปราชญ์ย้อนตอบ . . หะหายกระต่ายเต้น ชมแขการตอบโต้ครั้งนี้ระหว่างศรีปราชญ์ มหากวีแห่งยุคสมัยกับพระสนมของพระนารายณ์ ทำให้เขาติดคุกหลวงและถูกเนรเทศไปนครศรีธรรมราชจนถูกประหารชีวิต ซึ่งเขาได้เขียนบทกลอนในวันประหารชีวิตไว้ว่า . . ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน นี่เป็นบทกวีแห่งเสรีชนเมื่อกว่่าสี่ร้อยปีที่ผ่านมา. .
ไม่มีบทจบไหนจะงดงามและจุดประกายแห่งความหวังของการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสังคมที่เท่าเทียมและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว ในวาระครบรอบ 229 ปีแห่งรัตนโกสินทร์ ข่าวที่ผ่านมาในไทยอีนิวส์ 216ปีกิโยตินบั่นพระเศียรราชินีมารี อังตัวเนต 92ปีวันอวสานราชวงศ์โรมานอฟรัสเซียจากเวบไซด์กลุ่มนิติราษฎรเมื่อฆวน คาร์ลอสปฏิเสธรัฐประหาร - ปิยบุตร แสงกนกกุล |
ประชาธิปไตยที่ปลายอุโมงค์ http://free-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC4yMzk5MS1kY WVyaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5pLnd3dy8vOnB0d Gg%3D%0A ประชาธิปไตยที่ปลายอุโมงค์-ความผิดข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ ไม่มีแล้ว 25 3 54 ประชาธิปไตยที่ปลายอุโมงค์ ตุลาการภิวัฒน์ หรือตุลาการปฏิวัติกันแน่ 27 3 54 ประชาธิปไตยที่ปลายอุโมงค์ สูญญากาศ สตง 29 3 54 ประชาธิปไตยที่ปลายอุโมงค์ ยุบสภาเมื่อไร แพ้เลือกตั้งเมื่อนั้น 30 3 54 ประชาธิปไตยที่ปลายอุโมงค์ แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 93 98 2 4 54 ประชาธิปไตยที่ปลายอุโมงค์ กระบองไม่มียักษ์ 5 4 54 ประชาธิปไตยที่ปลายอุโงค์ ความผิดข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ ไม่มีแล้ว http://www.asiaupdate.tv/2011/04/21221.html |
เทพเทือก ชี้ บรรจุ "แดงเผาเมือง" ในหลักสูตรการเรียน เป็นเรื่องสมควรยิ่ง http://free-surf.appspot.com/u?purl=bG10aC40Mzk5 MS1kYWVyaHQvc3UubW9kZWVyZnRlbnJldG5pLnd 3dy8vOnB0dGg%3D%0A ที่มา: Matichon Online วันที่ 07 เมษายน พ.ศ. 2554 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันที่ 7 เมษายน ถึงกรณี นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำคนเสื้อแดงระบุว่ากระทรวงศึกษาธิการ พยายามบรรจุเรื่องการชุมนุมของคนเสื้อแดงและเหตุการณ์เผาเมือง ในหลักสูตรการเรียนการสอนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ว่าไม่ทราบและเพิ่งทราบจากคำพูดนพ.เหวง แต่ถ้าเป็นเรื่องของการพูดความจริงก็เป็นเรื่องที่สมควรยิ่ง จะต้องทำเพื่อไม่ให้ ประชาชนเข้าใจผิด ฝ่ายค้านพยายามเอาเรื่องนี้ไปอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ถ้าได้ฟังคำชี้แจงของตนก็จะนึกภาพออกและเห็นข้อเท็จจริงชัดเจนว่าการก่อเหตุ ร้ายจลาจลวุ่นวายไม่ใช่เฉพาะเผาเซ็นทรัลเวิลด์ แต่เผาธนาคาร สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ศาลากลางจังหวัด และที่อื่นได้มีการเตรียมการกันมาโดยกลุ่มที่มีนายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. ได้ประกาศมาเป็นระยะๆ ว่าจะมีการเผาบ้านเผาเมืองถึงขนาดสั่งให้ผู้ที่มาชุมนุมเตรียมน้ำมันกันมา ก่อนคนละลิตรคนละขวด บอกว่าถ้าเกิดอะไรขึ้นให้ทุกคนไปศาลากลางจังหวัด บนเวทีก็พยายามยุยงว่าถ้าเกิดเหตุ อะไร ก็วิ่งเข้าห้างไปหยิบฉวยสินค้าแบรนด์เนม เผาเลย เราได้เอาหลักฐานเหล่านี้มาแสดงชัดเจน นายสุเทพกล่าวว่า คนที่ฟังเรื่องทั้งหมดจะเข้าใจได้ว่า คนที่จะเผาบ้านเผาเมืองต้องมีแรงจูงใจ เป้าหมายของคนเหล่านี้คือต้องการให้เกิดจลาจล และความวุ่นวายขึ้นในประเทศ เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการเจรจาต่อรองทางการเมือง แต่มาโยนความผิดให้รัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ ประชาชนทั้งหลายโปรดไตร่ตรองดูเพราะรัฐบาลไม่มีแรงจูงใจที่จะไปทำ แต่มีหน้าที่ดูแลบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อย ถ้าไม่เรียบร้อยรัฐบาลก็แย่ ภาพที่ปรากฎมีหลักฐานมี วิดีโอที่ถ่ายไว้ได้และคำให้การผู้ร่วมในเหตุการณ์ทั้งหลายก็ยิ่งชัดเจนว่า กลุ่มคนที่ได้รับการชี้นำ บงการจากแกนนำผู้ชุมนุมคือคนที่เผา ตนพร้อมจะนำเรื่องนี้ไปพูด อธิบายให้ประชาชนได้ทราบ ไม่ต้องการให้มีการบิดเบือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ขอให้ประชาชนติดตามตรวจสอบ ################################### รู้สึกว่า ...หมู่นี้ จะเลวขึ้นทุุกวันนะไอ้เทือก เอาเลย พยายามเข้า หลักฐานเท็จที่ปั้นแต่งกันขึ้นมาน่ะ พอเขาจับได้ไล่ทันกันหมดแล้ว ก็จะใช้วิธีล้างสมองเด็ก .. มรึงนี่ชั่วหาที่ติไม่ได้เลยจริง ๆ ขอให้ทำอีกเยอะ ๆ อย่าหยุดนะ ไอ้เมือก |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)