วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ขอนแก่น 'พลเมืองรุ่นใหม่' ปล่อยลูกโป่ง ร้องยุติดำเนินคดี 13 รณรงค์ประชามติ


27 มิ.ย.2559 จากเมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2559 มีนักกิจกรรมจากกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM) นักกิจกรรม รามคำแหง และกลุ่มสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ รวม 13 คน ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจควบคุมตัวตั้งแต่วันนี้ที่หน้านิคมอุตสาหกรรมบางพลี จ.สมุทรปราการ เนื่องจากไปแจกแผ่นพับและเอกสารให้ความรู้เรื่องร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติ (อ่านข่าวที่นี่)  ต่อมาถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 ข้อ 12 เรื่องชุมนุมทางการเมืองจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยในจำนวนนั้นมีผู้ขอประกันตัว 6 ราย ที่เหลืออีก 7 รายยืนยันว่าไม่ได้ทำสิ่งใดผิดจึงไม่ขอประกันตัว ทั้งหมดถูกเจ้าหน้าที่นำตัวมาศาลทหารเพื่อขออนุญาตฝากขัง โดยที่ 6 ราย ขอประกันตัวและได้รับการปล่อยตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพและ ทัณฑสถานหญิงกลางเมื่อกลางดึกคืนที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ 7 รายที่ไม่ยื่นประกันตัวนั้นถูกฝากขังที่เรือนจำดังกล่าว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
วันนี้ (27 มิ.ย.59) เวลาประมาณ 14.00 น. ณ บริเวณริมบึงศรีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มพลเมืองคนรุ่นใหม่ (New Generation Citizen) ออกแถลงการณ์ "รณรงค์ ไม่ผิด หยุด..!! คุมขังผู้รณรงค์ ปลดปล่อยเพื่อนเรา" พร้อมปล่อยลูกโป่ง "รณรงค์ ไม่ผิด" โดยเรียกร้องว่า การรณรงค์ใดๆ ต่อประชามติ ที่ไม่ได้เป็นการข่มขู่คุกคามผู้อื่นถือว่าไม่ผิด และเรียกร้องให้มีการปล่อยตัว 7 ผู้ถูกคุมขัง ทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข

กลุ่มนักกิจกรรมรามฯ จี้ มหา'ลัย-องค์การน.ศ. ปกป้อง น.ศ.รามที่ถูกจับกรณีรณรงค์ประชามติ


28 มิ.ย. 2559 ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เวลา 09.10 น. กลุ่มภาคีนักศึกษา นักกิจกรรมเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยรามคำแหง อ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ ม.รามคำแหงและองค์การนักศึกษา ม.รามคำแหง แสดงบทบาทปกป้องนักศึกษา
แถลงการณ์ระบุว่า จากกรณีที่มีการจับกุมนักศึกษาและประชาชน ที่ออกไปรณรงค์ให้คนไปใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกเขตจังหวัด จนนำไปสู่การคุมขังนักศึกษา 7 คนที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยแจ้งข้อกล่าวหาตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2558 พ.ร.บ.ประชามติและประกาศ คมช.ที่ 25/2549 มีข้อมูลว่า นักศึกษา 5 ใน 7 นั้นเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งถูกคุมขังมากว่า 5 วันแล้ว มีเพื่อน นักกิจกรรมและนักวิชาการมหาวิทยาลัยต่างๆ ไปเยี่ยมให้กำลังใจจำนวนมาก ขณะที่ยังไม่เห็นบทบาทของ ม.รามคำแหงและองค์การนักศึกษา ม.รามคำแหง
ทางกลุ่มจึงเรียกร้องให้ ม.รามคำแหงและองค์การนักศึกษา ม.รามฯ ออกมาแถลงแสดงบทบาทปกป้องนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เช่นที่อาจารย์และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยอื่นปฏิบัติ รวมถึงเรียกร้องต่อองค์กรที่บังคับใช้กฎหมาย ให้เปิดพื้นที่การรณรงค์และการแสดงออกเกี่ยวกับกระบวนการประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยสามารถให้ทั้งฝ่ายที่เห็นต่างสามารถรณรงค์ได้เพื่อประโยชน์ในการรับรู้ของประชา

ศิษย์เก่ารามฯ เรียกร้องปล่อย 7 น.ศ.-หยุดใช้กม.ประชามติ เปิดแสดงความเห็นร่าง รธน.


            28 มิ.ย. 2559 ศิษย์เก่า และอดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยรามคำแหง ออกแถลงการณ์กรณีมีการจับกุมนักศึกษาที่จัดกิจกรรมรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 7 คน เรียกร้องหยุดใช้ พ.ร.บ.ประชามติ เปิดให้มีการแสดงออกต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ และหยุดใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. เพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่เห็นต่าง รวมถึงให้ปล่อยกลุ่มนักศึกษาทั้ง 7 คน ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ โดยไม่มีเงื่อนไข 
รายละเอียดมีดังนี้
          จากกรณีที่มีการจับกุมนักศึกษา ที่จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้คนไปใช้สิทธินอกเขตจังหวัด และแจกเอกสารแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงข้อดี ข้อเสียของร่างรัฐธรรมนูญ และให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิตัวเองเพื่อกำหนดอนาคตประเทศ
          แต่เจ้าหน้าที่รัฐ ได้อ้างคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เข้าดำเนินคดี จับกุมคุมขังกลุ่มนักศึกษาดังกล่าว และส่งดำเนินคดีในศาลทหาร จนถูกจองจำขาดอิสรภาพ
         การดำเนินกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิในกระบวนการประชามติ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ถือว่าเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง และประชาชนต้องได้รับรู้ข้อมูลที่รอบด้านเพียงพอ ต่อการตัดสินใจในครั้งนี้
          การใช้อำนาจรัฐเข้าจับกุม โดยขาดการไตร่ตรองของเจ้าหน้าที่ ซึ่งกฎหมายประชามติ ยังคงมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย อยู่ระหว่างการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งการจะระบุว่า ใครทำผิดกฎหมายประชามติ ต้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้วินิจฉัย แต่ครั้งนี้กลับไม่ได้มี กกต.เข้าร่วมในการสอบสวน แต่เจ้าหน้าที่ก็ได้แจ้งข้อกล่าวหากับนักศึกษา
           ส่วนคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3 ก็เห็นได้ว่า เป็นคำสั่งที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งในบรรยากาศที่อยู่ในช่วงก่อนทำประชามติ ควรที่จะเปิดให้ประชาชนได้แสดงออกอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นประโยชน์อันสูงสุด
           พวกเราในนามศิษย์เก่า และอดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยรามคำแหง เห็นว่าการดำเนินคดีกับนักศึกษา ยังขาดการไตร่ตรอง จึงมีข้อเรียกร้องดังนี้
  • 1.หยุดการใช้กฎหมายประชามติ เพื่อดำเนินการจับกุม กับบุคคลทุกคน และเปิดให้มีการแสดงออกต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่
  • 2.หยุดใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. เพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่เห็นต่าง และให้เจ้าหน้าที่รัฐทบทวนบทบาทการทำงานในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนให้หยุดใช้ความรุนแรงในการเข้าจับกุม
  • 3.ให้ปล่อยกลุ่มนักศึกษาทั้ง 7 คน ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ โดยไม่มีเงื่อนไข เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลต่อการทำประชามติ ที่สามารถทำได้ตามหลักสากล

เชื่อมั่นศรัทธาพลังคนรุ่นใหม่
  1. บารมี ชัยรัตน์
  2. วิสา คัญทัพ
  3. วัฒน์ วรรยางกูล
  4. นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์
  5. อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน
  6. เจณจิณณ์ เอมะ
  7. ประกาศ เรืองดิษฐ์
  8. ศรีสุวรรณ จรรยา
  9. พีร ศรีเมือง
  10. เอกชัย พรพรรณประภา
  11. รัตนา ศิลปประสม
  12. นราภรณ์ ดำอำไพ
  13. ตรีชฎา ศรีธาดา
  14. บุญเลิศ มโนสุจริตชน อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  15. วีรพงษ์ คำเนตร อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  16. ธเนศ ศรีวิรัญ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
  17. ทวีศักดิ์ เห็นครบ อดีตประธานชมรมศึกษาปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม
  18. สรสิช ฟักแฟง อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
  19. พงษ์สุวรรณ สิทธิเสนา อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
  20. พิศาล บุพศิริ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
  21. จักรพล บูรพา อดีตสมาชิกชมรมศึกษาปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม
  22. ราชันย์ กัลยาฤทธิ์
  23. กนกวรรณ พุ่มอยู่
  24. ศัลธณี เกิดชนะ
  25. วีรชัย เฟ้นดี้ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
  26. กานญานุช เขื่อนทา
  27. ปิยนัฐ เสมารัมย์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
  28. รัตนาภรณ์ ไชยพงษ์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
  29. คุณภัทร คะชะนา
  30. จริยาภรณ์ ภูเดช อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
  31. วลี นาคสุวรรณ
  32. ธนู แนบเนียร
  33. วีรนันท์ ฮวนศรี อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหง
  34. อัครพงศ์ พรหมมา อดีตรองประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
  35. รณชัย ชัยนิวัฒนา
  36. พรพนา ก๊วยเจริญ
  37. ณฤตณ ฉอ้อนศรี
  38. ชูศักดิ์ เจริญหงษ์ทอง
  39. สิรินาฏ ศิริสุนทร
  40. ทวิภัทร บุณฑริกสวัสดิ์
  41. ธนู จำปาทอง
  42. ร่วมพงษ์ ซ่อนกลิ่น
  43. วินัด เพ็งแจ่ม
  44. สิริธร ไพรลุณ อดีตประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  45. ชาญชัย ษมาชัยเรืองฤทธิ์ อดีตประธานชมรมศึกษาปัญหาชาวเขา
  46. สาธิต กลิ่นเทศ
  47. รัฐประชา พุฒนวล อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
  48. ธนวินท์ เตชินท์ธนนันท์ อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
  49. พจมาลย์ วงษ์พันธุ์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
  50. ณิฐฐา หนูสม อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
  51. ฌัชเมษ อมรพุทธิกุล
  52. อดิราช ท้วมละมูล
  53. ธนพล ใคร่ครวญ
  54. ธัญญาวัส ประจันต์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
  55. ไพรัตน์ ทองใสย์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
  56. ราตรี สุริเตอร์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  57. นัทธวัฒน์ ทับทิมทอง อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  58. สรณ ขจรเดชกุล อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  59. อภิสิทธิ์ เหล่าลุมพุก อดีตประธานชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  60. สุทธิพงษ์ พูนกล้า อดีตสมาชิกชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
  61. พงษ์สัญ สะโรชะมาศ
  62. มูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ
  63. ธนพล สว่างแสง
  64. อรุณี สะโรชะมาศ
  65. พระวิศรุต ชุตินธโร อดีตประธานชมรมศึกษาปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม

292 นักวิชาการจี้ปล่อยตัว น.ศ.-เรียกร้องหยุดคุกคามรณรงค์ประชามติ รธน.


28 มิ.ย. 2559 นักวิชาการ 292 คนในนามเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ออกแถลงการณ์ เรื่อง ปล่อยตัวนักศึกษาและให้มีการรณรงค์การออกเสียงประชามติอย่างเสรี โดยมีการแถลงข่าวหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เรียกร้องรัฐไทยปล่อยตัว 7 นักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ที่ถูกจับกุมคุมขัง หลังจากออกมารณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ ยุติการขัดขวางคุกคามจับกุมผู้ที่รณรงค์ประชามติและแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างต่อร่างรัฐธรรมนูญ และขอให้รัฐบาลประกาศสัญญาประชาคมว่าจะให้การออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม เป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม

แถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
เรื่อง ปล่อยตัวนักศึกษาและให้มีการรณรงค์การออกเสียงประชามติอย่างเสรี


เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 นักศึกษาและกรรมการสหภาพแรงงานจำนวนหนึ่งได้จัดกิจกรรมในย่านนิคมอุตสาหกรรมบางพลีเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติ แต่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจขัดขวางจับกุมและถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ท้ายสุดนักศึกษา 7 คนได้ถูกศาลทหารปฏิเสธคำร้องให้ปล่อยตัวชั่วคราวและถูกคุมขัง ณ เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและเป็นการขัดขวางการแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญในหมู่ประชาชนเพื่อให้การออกเสียงประชามติเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม การรณรงค์ประชามติของนักศึกษาและประชาชนดังกล่าวเป็นไปอย่างสงบ สันติ เปิดเผย มิได้ขัดต่อกฎหมายหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลใด แต่เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักในสิทธิของตนและได้รับข้อมูลรอบด้านเพื่อตัดสินใจกำหนดอนาคตของตน

ยิ่งกว่านี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มีเนื้อหาที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะมาตรา 61 ที่คุกคามการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตของประชาชน การอ้างพระราชบัญญัติฉบับนี้มาจับกุมดำเนินคดีผู้ที่รณรงค์ประชามติจึงไม่มีความชอบธรรม

การออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมจะมีความชอบธรรมเป็นที่ยอมรับนั้นต้องเกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศที่มีเสรีภาพ มิใช่การกดขี่บังคับและสร้างความหวาดกลัวดังเช่นที่เป็นอยู่ การณ์กลับเป็นว่าการรณรงค์ประชามติที่รัฐดำเนินอยู่มีลักษณะด้านเดียวคือ เน้นแต่ข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญ แต่ห้ามและดำเนินคดีผู้เสนอข้อมูลอีกด้าน ดังกรณีนักศึกษาและกรรมการสหภาพแรงงานที่เสนอความเห็นต่างกลับถูกขัดขวางจับกุมคุมขัง ในขณะที่นักกิจกรรมและนักการเมืองที่สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญกลับแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่รัฐทั่วประเทศยังได้ถูกระดมออกไปพบประชาชนเพื่อชี้แจงแต่ข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญเพียงด้านเดียว ทั้งหมดนี้จะทำให้การออกเสียงประชามติไม่เป็นไปอย่างเสรี ขาดความชอบธรรม และไม่เป็นที่ยอมรับ

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองพร้อมกับผู้มีรายชื่อแนบท้ายจึงมีข้อเรียกร้องต่อ คสช. ดังนี้
1. ปล่อยตัวนักศึกษาทั้ง 7 คนที่ทำการรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข

2. ยุติการขัดขวาง คุกคาม จับกุมผู้ที่รณรงค์ประชามติและแสดงความคิดเห็นต่างต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างสงบ สันติ เปิดเผย พร้อมทั้งให้มีการเสนอความเห็นรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในช่องทางต่างๆ ได้อย่างเสรี

3. ประกาศสัญญาประชาคมว่าจะให้การออกเสียงประชามติวันที่ 7 สิงหาคมเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อสะท้อนความเรียกร้องต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง โดยเปิดให้การรณรงค์ประชามติเป็นไปอย่างรอบด้าน ให้ทุกฝ่ายสามารถเสนอข้อมูลทั้งข้อดีและจุดอ่อนของร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่ถูกขัดขวางจากเจ้าหน้าที่รัฐ

ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
28 มิถุนายน 2559

รายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์
1. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช นักวิชาการอิสระ
4. กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
5. กฤติธี ศรีเกตุ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
6. กฤษฎา บุญชัย นักวิชาการอิสระ
7. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8. กษมาพร แสงสุระธรรม นักวิชาการอิสระ
9. กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
10. กิตติ วิสารกาญจน สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี
11. กิตติกาญจน์ หาญกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
12. กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ นักวิชาการอิสระ
13. กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
14. กุลลดา เกษบุญชู มี้ด นักวิชาการอิสระ
15. กุศล พยัคฆ์สัก นักวิชาการอิสระ
16. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17. เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
18. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ นักศึกษา The University of Manchester
20. เขมรัฐ โอสถาพันธุ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
21. คงกฤช ไตรยวงค์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
22. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร
23. คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
24. คารินา โชติรวี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
25. เคท ครั้งพิบูลย์ นักวิชาการอิสระ
26. เครือมาศ บำรุงสุข นักวิชาการอิสระ
27. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
28. จอน อึ๊งภากรณ์
29. จักเรศ อิฐรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
30. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
31. จักรกฤษ กมุทมาศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
32. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
33. จุฑามณี สามัคคีนิชย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
34. จันทนี เจริญศรี สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
35. เจษฎา บัวบาล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
36. เฉลิมชัย ทองสุข กลุ่มผู้ประกอบกิจการสังคมเพื่อประชาธิปไตย
37. ชล บุนนาค คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
38. ชลัท ศานติวรางคณา สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
39. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
40. ชวาลิน เศวตนันทน์ Macquarie University, Australia
41. ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
42. ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
43. ชนัญญ์ เมฆหมอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
44. ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
45. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการอิสระ
46. ชานันท์ ยอดหงษ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
47. ชไมพร รุ่งฤกษ์ฤทธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
48. ชำนาญ จันทร์เรือง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
49. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
50. เชษฐา พวงหัตถ์ นักวิชาการอิสระ
51. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
52. ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
53. ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
54. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
55. ญดา สว่างแผ้ว นักวิชาการอิสระ
56. ญาณาธิป เตชะวิเศษ นักวิชาการอิสระ
57. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
58. ฐิติรัตน์ สุวรรณสม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
59. ณภัค เสรีรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
60. ณรงค์ อาจสมิติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
61. ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
62. ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
63. ณัฐดนัย นาจันทร์ นิสิตปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
64. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
65. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
66. ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
67. เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
68. เดือนฉาย อรุณกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ
69. ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง นักวิชาการอิสระ
70. ทนุวงศ์ จักษุพา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
71. ทวีศักดิ์ เผือกสม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
72. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
73. ทับทิม ทับทิม นักวิชาการอิสระ
74. ทัศนัย เศรษฐเสรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
75. ธนพงษ์ หมื่นแสน นักกิจกรรมทางสังคม
76. ธนพร ศรียากูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
77. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
78. ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล Graduate School of Asia-Pacific Studies, Waseda University
79. ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
80. ธนาคม วงษ์บุญธรรม นักวิจัย
81. ธนาวิ โชติประดิษฐ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
82. ธนิศร์ บุญสม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
83. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
84. ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
85. ธัชธรรม ศิลป์สุพรรณ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
86. ธัญญธร สายปัญญา รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
87. ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
88. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
89. ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
90. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
91. นงเยาว์ เนาวรัตน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
92. นนท์ นุชหมอน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
93. นภนต์ ภุมมา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
94. นภาพร อติวานิชยพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
95. นรุตม์ เจริญศรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
96. นฤมล กล้าทุกวัน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
97. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
98. นลินี ตันธุวนิตย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
99. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
100. นาตยา อยู่คง ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
101. นิติ ภวัครพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
102. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการ
103. บดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
104. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
105. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
106. บารมี ชัยรัตน์ สมัชชาคนจน
107. บาหยัน อิ่มสำราญ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
108. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
109. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
110. บุปผาทิพย์ แช่มนิล นักกิจกรรมเยาวชน เขาชะเมา
111. เบญจมาศ บุญฤทธิ์
112. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
113. ปฐม ตาคะนานันท์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
114. ประกาศ สว่างโชติ ข้าราชการเกษียณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
115. ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
116. ประไพพิศ มุทิตาเจริญ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
117. ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
118. ประภากร ลิพเพิร์ท นักวิชาการอิสระ
119. ประเสริฐ แรงกล้า คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
120. ประภาส ปิ่นตบแต่ง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
121. ปราโมทย์ ระวิน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
122. ปวลักขิ์ สุรัสวดี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
123. ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
124. ปัทมวรรณ จิมากร ซิลลิ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
125. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
126. ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
127. ปิยรัฐ จงเทพ สมาคมเพื่อเพื่อน
128. ปีติกาญจน์ ประกาศสัจธรรม อดีตอาจารย์วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
129. ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
130. พกุล แองเกอร์ นักวิชาการอิสระ
131. พงศ์สุดา กาศยปนันท์ ศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา
132. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
133. พงศ์เทพ แก้วเสถียร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
134. พรณี เจริญสมจิตร์ ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยศิลปากร
135. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
136. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
137. พศุตม์ ลาศุขะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
138. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
139. พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
140. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
141. พิชญา พรรคทองสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
142. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
143. พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
144. พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
145. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักวิชาการอิสระ
146. พุทธพล มงคลวรวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
147. แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
148. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปล/นักเขียน
149. ภัทรภร ภู่ทอง มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล
150. ภัทรนันท์ ทักขนนท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
151. ภาสกร อินทุมาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
152. มณีรัตน์ มิตรปราสาท นักวิชาการอิสระ
153. มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
154. มูนีเราะฮ์ ยีดำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
155. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
156. เมธาวี โหละสุต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
157. ยศ สันตสมบัติ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
158. ยอดพล เทพสิทธา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
159. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
160. เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
161. รชฎ สาตราวุธ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
162. รชฏ นุเสน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
163. รอมฎอน ปันจอร์ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
164. รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
165. รัตนา โตสกุล นักวิชาการ
166. รามิล กาญจันดา คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
167. ลักขณา ปันวิชัย นักเขียน
168. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
169. วรยุทธ ศรีวรกุล นักวิชาการอิสระ
170. วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
171. วรวิทย์ เจริญเลิศ นักวิชาการอิสระ
172. วริณาฐ พิทักษ์วงศ์วาน สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
173. วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
174. วัชรฤทัย บุญธินันท์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
175. วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
176. วาสนา ละอองปลิว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
177. วิเชียร อันประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
178. วิจักขณ์ พานิช นักวิชาการอิสระ
179. วิทยา อาภรณ์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
180. วิภา ดาวมณี นักวิชาการอิสระ
181. วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
182. วิริยะ สว่างโชติ นักวิชาการอิสระ
183. วิโรจน์ ณ ระนอง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
184. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
185. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
186. วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอาคันตุกะ, SOAS, University of London
187. วีระชัย พุทธวงศ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
188. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
189. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
190. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
191. ศรันย์ สมันตรัฐ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
192. ศรีประภา เพชรมีศรี สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
193. ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา
194. ศักรินทร์ ณ น่าน คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
195. ศิริจิต สุนันต๊ะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
196. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
197. ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
198. ศุภวิทย์ ถาวรบุตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
199. สถิตย์ ลีลาถาวรชัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
200. สมเกียรติ วันทะนะ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
201. สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
202. สมัคร์ กอเซ็ม ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
203. สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ
204. สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
205. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ
206. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
207. สายชล สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
208. สายฝน สิทธิมงคล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
209. สาวตรี สุขศรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
210. สาวิตร ประเสริฐพันธุ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
211. สิทธารถ ศรีโคตร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
212. สิทธิพล เครือรัฐติกาล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
213. สุชาดา จักรพิสุทธิ์ TCIJ
214. สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ
215. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
216. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
217. สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี นักวิจัยอิสระ
218. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา
219. สุภัทรา นีลวัชระ วรรณพิณ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์
220. สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
221. สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
222. สุรัช คมพจน์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
223. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
224. สุรินทร์ อ้นพรม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
225. สุรินรัตน์ แก้วทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
226. สุไรนี สายนุ้ย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
227. เสนาะ เจริญพร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
228. เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
229. เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
230. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
231. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
232. หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
233. อดิศร เกิดมงคล เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
234. อนุสรณ์ ติปยานนท์ ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
235. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
236. อภิญญา เวชยชัย คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
237. อภิชาต พงษ์สวัสดิ์ นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๊วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
238. อภิชาต สถิตนิรามัย เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
239. อภิชาติ จันทร์แดง สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
240. อมต จันทรังษี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
241. อรชา รักดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
242. อรภัคค รัฐผาไท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
243. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
244. อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
245. อรศรี งามวิทยาพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
246. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
247. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
248. อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
249. อัจฉรา รักยุติธรรม คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
250. อัฏฐพร ฤทธิชาติ นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
251. อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
252. อัมพร หมาดเด็น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
253. อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
254. อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
255. อาชัญ นักสอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
256. อาทิตย์ ศรีจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
257. อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล อาจารย์พิเศษ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
258. อิมรอน ซาเหาะ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
259. อิสราภรณ์ พิศสะอาด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
260. อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
261. อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
262. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการ
263. เอกชัย ไชยนุวัติ นักวิชาการกฎหมาย
264. เอกชัย หงส์กังวาน สมาคมเพื่อเพื่อน
265. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
266. เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
267. Aim Sinpeng, Department of Government and International Relations, University of Sydney
268. Alessandra Mezzadri, Department of Development Studies, SOAS, University of London
269. Andrea Molnar, Department of Anthropology, Northern Illinois University
270. Andrew Newsham, Centre for Development, Environment and Policy, SOAS, University of London
271. Angela Chiu, Department of the History of Art and Archaeology, SOAS, University of London
272. Brett Farmer, Honorary Research Fellow, University of Melbourne
273. Charles Keyes, Professor Emeritus, University of Washington
274. Clare Farne Robinson, Scholars at Risk
275. Jesse Levine, Scholars at Risk
276. John Faulkner SOAS, University of London
277. Kalpalata Dutta, PhD candidate, Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University
278. Lars Peter Laamann, History Department, SOAS, University of London
279. Nadje Al-Ali, Center for Gender Studies, SOAS, University of London
280. Michael Montesano, Institute of Southeast Asian Studies, Singapore
281. Michelle Tan, Faculty of Political Science, Thammasat University
282. Mulaika Hijjas, SOAS, University of London
283. Owen Miller, Department of Japan and Korea, SOAS, University of London
284. Peter Vandergeest, Department of Geography, York University
285. Philip Hirsch, University of Sydney
286. Rachel Harrison, Department of the Languages and Cultures of South East Asia, SOAS
287. Rahul Rao, Department of Politics and International Studies, SOAS, University of London
288. Tyrell Haberkorn, Political and Social Change, Australian National University
289. Wolfram Schaffar, Institut fur Internationale Entwicklung, Universitat Wien
290. Yorgos Dedae, SOAS, University of London
291. สุพัตรา บุญปัจญโรจน์
292.ณรุจน์ วศินชัยมงคล

รอง หน.ประชาธิปัตย์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญมีชัย-เขียนเพราะกลัวเพื่อไทยตั้งรัฐบาล



Tue, 2016-06-28 15:26


        เวทีสาธารณะเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ตำหนิร่าง รธน. แบบกลัวเสียงข้างมาก กลัวเพื่อไทยเป็นรัฐบาล รับไม่ได้ให้ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี ด้านสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ระบุ รธน. ออกแบบสวนทางสากล มุ่งให้รัฐบาลอยู่ภายใต้การควบคุม ทำอะไรไม่ได้มากเพราะออกแบบไว้หมดแล้ว ส่วน ปกรณ์ อารีกุล ชี้ห้ามรณรงค์ก่อนประชามติเท่ากับปิดกั้นตัดขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วน 'ไผ่ ดาวดิน' ถูกตำรวจยึดลูกโป่งหน้าเรือนจำ


     เมื่อวานนี้ (27 มิ.ย. 59) ที่ห้องประชุม 109 อาคารปัญญาพิพัฒน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีการจัดเวทีถกแถลงสาธารณะ "ร่างรัฐธรรมนูญกำกับรัฐบาลไว้อย่างไร"


รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ฟันธงร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้เพราะกลัวเพื่อไทยเป็นรัฐบาล
         นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญว่า เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยความกลัวเสียงข้างมาก เนื่องจากมีความพยายามจัดวางโครงสร้างในรัฐธรรมนูญเพื่อกำกับควบคุมรัฐบาล และประกอบกับคำถามพวงประชามติที่มีเจตนาให้ ส.ว. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง มีส่วนร่วมในการเลือกคนที่จะมาเป็นรัฐบาล

        "ในระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบที่เราปกครองด้วยเสียงข้างมาก แต่ผู้ที่ร่างรัฐธรรมนูญนี้ ร่างมาด้วยความกลัวเสียงข้างมาก พูดง่ายๆ คือกลัวพรรคเพือไทยจะเป็นรัฐบาล เขาคิดว่าถ้าเพือไทยกลับมาจะทำอย่างไร เพื่อจะควบคุมเสียงข้างมาก เขามีเจตนาชัดเจนในคำถามพวง ที่เสนอให้ ส.ว. เข้ามามีส่วนในการเลือกคนที่จะมาเป็นรัฐบาล ผมสนับสนุนทุกพรรคที่ได้เสียงข้างมากเป็นรัฐบาล แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องการที่ให้ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี ผมรับเรื่องนี้ไม่ได้" นิพิฏฐ์ กล่าว



สุดารัตน์ ชี้ร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้ - รัฐบาลทำอะไรไม่ได้มากนัก เพราะออกแบบไว้หมด


            สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวด้วยว่า "ต้องยอมรับว่าการร่างรัฐธรรมนูญที่แตกต่างจากร่างรัฐธรรมนูญที่เคยเกิดขึ้น เพราะต่างจากหลักรัฐธรรมนูญที่เป็นสากล โดยมีเป้าหมายในการจัดการกับนักการเมืองอย่างชัดเจน อาจจะมองได้ว่าเป็นการควบคุมนักการเมือง แต่กลับเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด ดิฉันไม่ได้ห่วงว่าพรรคไหนจะได้ที่นั่งมาก น้อย แต่เป็นห่วงว่าประเทศไทยจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร"

           สุดารัตน์ ระบุด้วยว่า ด้วยโครงสร้างอำนาจการเมืองที่ออกแบบไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ จะทำให้ประเทศไทยมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยภายใต้การควบคุม รัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้งจะไม่ต่างจากเป็ดง่อย เพราะไม่สามารถทำอะไรได้มาก เนื่องจากมีการออกแบบการทำงานของรัฐบาลไว้แล้วทั้งหมดผ่านยุทธศาสตร์ 20 ปี ทั้งยังมีกลไกต่างๆ เข้ามาควบคุม เช่น ส.ว. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้มีที่มาที่ยึดโยงกับประชาชน

           "อีก 20 ปีข้างหน้าเราอาจจะไม่ต้องเสี่ยงกับการรัฐประหารอีกครั้ง เพราะถูกอย่างถูกรับรองไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ" สุดารัตน์ กล่าว

           นอกจากนี้ ปกรณ์ อารีกุล หนึ่งในสมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ หรือ NDM ได้เข้าร่วมเสวนาด้วย โดยแสดงความเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องการกำกับและควบคุมการทำงานของรัฐบาล โดยไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของประชาชน และไม่เข้าใจความคิดของคนรุ่นใหม่ เมื่อมองการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในช่วงหลัง โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในขบวนการประชาธิปไตยใหม่

          กลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ได้ยึดติดอยู่กับพรรคการเมือง นักศึกษานักกิจกรรมที่อยู่ในขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ได้ทำงาน ไม่ได้ของการตรวจสอบ และเคลื่อนไหวในประเด็นต่างๆ กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นพรรคใด แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือการปิดกั้นโอกาส และตัดขาดการมีส่วนร่วม ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลโดยประชาชน เพราะกลไกอำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชนค่อยตรวจสอบอย่างแน่นหนา ซึ่งนั้นอาจไม่ต้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน

          ปกรณ์ กล่าวด้วยว่า แม้กระทั่งการรณรงค์เรื่องร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติในตอนนี้ ผู้มีอำนาจยังได้อ้างว่าเป็นการฝ่าผืนคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 และที่สุดแล้วทำให้มีเพื่อนในขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ติดคุกทั้งหมด 7 คน

          "ทั้ง 7 คนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง 5 คน นักศึกษาปริญญาโทธรรมศาสตร์ 1 คน และนักศึกษาปริญญาโทมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1 คน คำถามที่เราต้องถามคือ ขณะที่สังคม และสื่อมวลชนหลายสำนักกำลังทำข่าว การลงประชามติที่ประเทศอังกฤษ แต่ประเทศไทยเด็ก 7 คนแค่แจกความเห็นแย้งกลับติดคุก ผมออกจากบ้านเมื่อเช้ายังคิดว่านี้เป็นความฝันอยู่เลย" แมน ปกรณ์ กล่าว

          ปกรณ์ได้แจกเอกสารความเห็นร่างรัฐธรรมนูญให้กับผู้เข้าร่วมเวทีถกแถลงทุกคน โดยระบุด้วยว่า ครั้งนี้ตัวเขาเองมาแจกคนเดียว เจ้าหน้าที่รัฐจะมาอ้างว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองไม่ได้ ส่วนเรื่องผิด พ.ร.บ.ประชามติหรือไม่ เป็นเรื่องที่ กกต. ต้องตีความ



ไผ่ ดาวดิน ถูกตำรวจสกัดห้ามปล่อยลูกโป่งหน้าเรือนจำ


          มีรายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 12.15 น. ที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ขณะที่ ไผ่ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน หนึ่งในสมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ กำลังเดินเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เพื่อเข้าเยี่ยมเพื่อนทั้ง 7 คนที่ถูกคุมขังหลังจากแจกเอกสารรณรงค์โหวตโน ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ จาก สน.ประชาชื่น 2 นาย เข้ามาพยายามแย่งลูกโป่ง "รณรงค์ ไม่ผิด" 7 ใบ ซึ่งเตรียมไว้สำหรับ จัดกิจกรรมปล่อยลูกโป่งหน้าเรือนจำในช่วงบ่ายวันนี้

         จตุภัทร์ ได้ให้ข้อมูลว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบที่ได้เข้ามาล็อกแขนทั้งสองข้าง และพยายามแย่งลูกโป่งไป จนทำลูกโป่งหลุดมือ และลอยขึ้นฟ้าไป โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ให้เหตุผลว่า ห้ามไม่ให้มีการแสดงสัญลักษณ์ต่างๆ หน้าเรือนจำ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบไม่ได้ควบคุมตัว จตุภัทร์ แต่อย่างใด


ประชาธิปไตยใหม่รณรงค์ต่อเนื่องช่วงเย็นที่แยกคอกวัว รำลึกวันกำเนิดรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนายน



         นอกจากนี้เมื่อเวลา 18.00 น. ที่ อนุสรณ์ 14 ตุลา แยกคอกวัว ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ได้จัดงาน ดนตรี กวี เรื่องเล่า "2 ร่าง 2 ปี เอา D ไม่ได้" รำลึก 27 มิถุนายน วันกำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรก โดยในเวทีมีกำหนดการกิจกรรมมากมาย โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาทิ วงสามัญชน วงกำปั้น สุชาติ สวัสดิ์ศรี สมบัติ บุญงามอนงค์ บุญเลิศ วิเศษปรีชา บทกวีจาก และตัวแทนสหภาพแรงงานที่ถูกควบคุมตัว

         ปกรณ์ อารีกุล หนึ่งในสมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ได้ระบุว่า การจัดกิจกรรมนี้ถูกวางไว้ก่อนหน้าที่เพื่อนทั้ง 7 คนจะถูกคุมขัง โดยกลุ่มเพื่อนที่ยังอยู่ข้างนอกได้ถามเพื่อนที่ถูกจับกุมว่า จะให้มีการจัดกิจกรรมต่อไปหรือไม่ ซึ่งคำตอบได้ปรากฏให้เห็นแล้ว โดยในกิจกรรม จุตภัทร์ หรือ ไผ่ ดาวดิน มาบอกเล่าเหตุการณ์ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมด้วย

        ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่ามีประชาชนเข้ากิจกรรมครั้งนี้ราว 100 คน และมีเจ้าหน้าที่ยูเอ็นมาสังเกตุการณ์ด้วย

6 องค์กรสิทธิเรียกร้องหยุดปิดกั้นเสรีภาพแสดงออก-ชุมนุม ปล่อย 7 น.ศ.



28 มิ.ย. 2559 องค์กรสิทธิมนุษยชน 6 แห่ง ประกอบด้วย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.), สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.), มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw), ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และ มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ออกแถลงการณ์ร่วมเรียกร้องให้ปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวจากกรณีการทำกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนโดยทันที ยุติการดำเนินคดีกับนักศึกษา นักกิจกรรมและประชาชนทั้งหมดที่เคลื่อนไหวรณรงค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญโดยสงบ รวมถึงยกเลิกกฎหมายที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและไร้การตรวจสอบ โดยเฉพาะคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558

รายละเอียดมีดังนี้



แถลงการณ์
ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยทันที

**************************

            สืบเนื่องจากกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ทำการจับกุมควบคุมตัวนักกิจกรรมรวม 13 คน ที่จัดกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกพื้นที่ ที่ตลาดเคหะบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 23 มิถุนายน 2559 พร้อมทั้งแจ้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเป็นจำนวน 5 คนขึ้นไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ซึ่งขณะนี้นักศึกษา 7 ใน 13 ราย ยังถูกควบคุมตัวภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ

           อีกทั้ง ในช่วงสายของวันที่ 24 มิถุนายน 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวนักศึกษาและนักกิจกรรมอีก 7 คนที่จัดกิจกรรม "ปัดฝุ่นประชาธิปไตย" ณ อนุสาวรีย์ปราบกบฎ (หลักสี่) เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหาทั้ง 7 คนในข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 และ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558

           องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว และขอยืนยันหลักการสิทธิเสรีภาพที่รัฐต้องให้การเคารพและคุ้มครอง ดังต่อไปนี้

  • 1. เสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) ซึ่งเป็นสิทธิที่รับรองไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย [1] และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม โดยกติกาฯดังกล่าวได้ประกันสิทธิของบุคคลทุกคนที่จะถือเอาความคิดเห็นใดๆโดยปราศจากการแทรกแซง และบุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและกระจายข่าวและความคิดเห็นทุกรูปแบบ [2] เพราะถือว่า สิทธิเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นในการที่จะส่งเสริมให้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ [3] และถือเป็นกลไกสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชน อันจะนำไปสู่การมีข้อเสนอที่มีความเหมาะสมในประเด็นต่างๆที่กระทบต่อประชาชนและเป็นที่ยอมรับของประชาชน

            ที่ผ่านมารัฐไทยมีการละเมิดสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนอยู่อย่างต่อเนื่องผ่านการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน โดยเฉพาะการใช้ข้อกล่าวหาตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 โดยอ้างความไม่ปกติของสถานการณ์บ้านเมืองหรือความมั่งคงของรัฐ ทั้งที่การแสดงออกของบุคคลในหลายกรณี รวมถึงกรณีการจับกุมควบคุมตัวกลุ่มรณรงค์ร่างรัฐธรรมนูญ และการแสดงออกเพื่อระลึกถึงคณะราษฏรดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสงบและยังห่างไกลจากการกระทบต่อความมั่นคงของชาติดังที่เจ้าหน้าที่มักกล่าวอ้าง ดังนั้น การตั้งข้อกล่าวหาทางอาญาเพื่อจำกัดหรือปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกในกรณีดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสงดออก ผ่านการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในทางที่มิชอบและเป็นไปโดยอำเภอใจ

  • 2. สิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองในทางการเมือง เป็นสิทธิที่รับรองไว้ทั้งในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งการมีส่วนร่วมในเรื่องรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกติกาสูงสุดในการปกครองประเทศและเป็นกติกาที่กำหนดเรื่องทางการเมือง ระบบเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงหลักประกันสิทธิต่างๆของประชาชน ประชาชนจะต้องสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดเจตจำนงของตนเองได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การกีดกันหรือไม่ยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และกว้างขว้าง ดังจะเห็นได้จากการออกมาข่มขู่ประชาชนอยู่เสมอและมีการจับกุมและตั้งข้อกล่าวหาแก่ประชาชนที่รณรงค์ในทางที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผ่านกฎหมายที่หลากหลาย ทั้งคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 3/2558 พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 รวมทั้งพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มาตรา 61 กรณีเช่นนี้ถือเป็นการขัดขวางไม่ให้ประชาชนสามารถแสดงเจตจำนงของตนได้อย่างเสรี

  • 3. สิทธิที่จะได้รับการดำเนินคดีที่เป็นธรรม (Rights to Fair Trial) เป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง[4] และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย[5] โดยสิทธิประการดังกล่าวกำหนดห้ามมิให้จับกุมหรือควบคุมบุคคลโดยอำเภอใจเว้นแต่โดยเหตุและเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย[6] โดยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้การจับโดยทั่วไปต้องมีหมายจับที่ออกโดยศาลและมีเหตุแห่งการออกหมายจับ[7] การจับกุมควบคุมตัวบุคคลที่ใช้เสรีภาพในการมีส่วนร่วมกำหนดเจตจำนงของตนเองในทางการเมืองและการแสดงออกโดยสันติวิธีซึ่งเป็นหลักสิทธิมนุษยชนที่ถูกรับรองไว้ด้วยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง จึงไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และยิ่งเป็นการจับกุมโดยไม่มีหมายหรือคำสั่งของศาลแล้ว การจับกุมควบคุมตัวบุคคลดังกล่าวย่อมเป็นการกระทำโดยไม่ชอบและอำเภอใจ ไม่มีเหตุผลอันสมควรและไม่เป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

         สิทธิในการเข้าถึงศาลที่เป็นอิสระ เป็นกลาง และมีอำนาจและตั้งขึ้นตามกฎหมาย[8] เป็นหลักประกันสิทธิบุคคลที่จะได้รับการดำเนินคดีที่เป็นธรรมที่กำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยศาลปกติ[9] โดยการพิจารณาคดีโดยศาลทหารนั้น จะจำกัดเฉพาะความผิดที่เกี่ยวข้องกับทหาร และศาลทหารจะไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีของพลเรือน เว้นแต่เมื่อไม่มีศาลพลเรือนอยู่หรือศาลพลเรือนตามปกติไม่สามารถดำเนินการพิจารณาคดีได้[10] ดังนั้น การกำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีที่พลเรือนถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และพยายามตั้งข้อกล่าวหาที่สามารถนำพลเรือนขึ้นสู่ศาลทหาร ซึ่งมีปัญหาเรื่องความเป็นอิสระและเป็นกลาง ทั้งที่ศาลพลเรือนยังมีอยู่และยังทำหน้าที่ของตนได้นั้น ย่อมเป็นการละเมิดต่อหลักสิทธิที่จะได้รับการดำเนินคดีที่เป็นธรรมดังกล่าว

       องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เจ้าหน้าที่ทหารหรือตำรวจ ตลอดจนศาลทหารและองคาพยพต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้โดยทันที
  • 1. ปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวจากกรณีการทำกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนโดยทันที
  • 2. ยุติการดำเนินคดีกับนักศึกษา นักกิจกรรมและประชาชนทั้งหมดที่เคลื่อนไหวรณรงค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญโดยสงบ และใช้เสรีภาพในการแสดงออกและชุมนุมโดยสงบในประเด็นอื่นๆ
  • 3. ยุติการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการจำกัดหรือปิดกั้นการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบของประชาชนพร้อมทั้งต้องเปิดพื้นที่ในการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น ทั้งในทางการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญ การกำหนดนโยบายสาธารณะ และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
  • 4. คสช. ต้องทบทวนเพื่อยกเลิกกฎหมายที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและไร้การตรวจสอบ โดยเฉพาะคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558
  • 5. ต้องยกเลิกการนำกระบวนการยุติธรรมทหารมาใช้กับพลเรือน และกลับไปใช้กระบวนการยุติธรรมปกติโดยทันที

ด้วยความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw)
ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน



  • [1]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 4
  • [2] International Covenant on Civil and Political Rights article 19 (1) (2)
  • [3] Human Rights Committee, International Covenant on Civil and Political Rights, General Comment No.34, 12 September 2011, para.2
  • [4] กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ข้อ 6– 9
  • [5] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 4
  • [6] กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ข้อ 9
  • [7] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66
  • [8] โปรดดู กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ข้อ 14 (1)
  • [9] หลักการพื้นฐานสหประชาชาติว่าด้วยความเป็นอิสระของศาล ค.ศ. 1985 ข้อ 5
  • [10] หลักการที่ 5 ของ International Standard Principles Governing the Administration of Justice Through Military Tribunals, United Nations Economic and Social Council