วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โลกสูญเสีย! ดัชเชส"ออฟ อัลบ้า"มหาเศรษฐีนีผู้ร่ำรวย-เปี่ยมสีสันที่สุดแห่งราชวงศ์สเปน สิ้นพระชนม์แล้ว


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ดัชเชส ออฟ อัลบ้า สมาชิกราชวงศ์สเปน มหาเศรษฐีผู้ร่ำรวยที่สุด และเปี่ยมสีสัน ที่สุดแห่งราชวงศ์สเปน ได้ทรงสิ้นพระชนมแล้ว ด้วยสิริอายุ 88 ชันษา 

http://www.matichon.co.th/online/2014/11/14165454341416549690l.jpg

           รายงานระบุว่า ดัชเชส ออฟ อัลบ้า ทรงสิ้นพระชนม์ภายในเวลาอันสั้น ภายหลังทรงพระชวรด้วยอาการปอดบวม เมื่อต้นสัปดาห์ ก่อนจะสิ้นพระชนม์ในช่วงเช้าวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่น โดยมีพระโอรส 6 พระองค์ และพระสวามี เฝ้าพระองค์อยู่ข้างเตียง ขณะที่กษัตริย์ฟิลิปเป้ และสมาชิกราชวงศ์รายอื่น ๆ ได้รับข่าวร้ายนี้แล้ว ขณะที่นายกเทศมนนตรีเมืองเซวิลล์ ได้ประกาศข่าวการสิ้นพระชนม์ของดัชเชส ออฟ อัลบ้า ต่อสาธารณชนด้วย


http://www.matichon.co.th/online/2014/11/14165454341416549857l.jpg

          รายงานระบุว่า ดัชเชส ออฟ อัลบ้า ถือเป็นสมาชิกราชวงศ์สเปนผู้ร่ำรวยที่สุด  กล่าวคือพระองค์เป็นเจ้าของที่ดินมากมายในสเปนชนิดที่เรียกว่าไม่มีชาวสเปนคนไหนไม่เคยเหยียบที่ดินของพระองค์ และประเมินว่า พระองค์ทรงมีทรัพย์สินว่า 2,800 ล้านปอนด์ (ราว  1.48 แสนล้านบาท) แต่พระองค์มีชื่อเสียงในฐานะชอบปฏิบัติตัวเยี่ยงสามัญชน โดยพระองค์ทรงอภิเษกสมรส 3 ครั้ง และครั้งสุดท้ายกับนายอัลฟองโซ ดิเอซ ข้าราชการหนุ่ม สามัญชนที่มีอายุอ่อนกว่าพระองค์ 25 ปี

           พระองค์ทรงมีสถานที่พำนักในกรุงมาดริด คือ พระราชวัง"ไลเรีย"ซึ่งเต็มไปด้วยงานศิลป์กว่า 240 ชิ้น รวมทั้งยังสะสมเอกสารประวัติศาสตร์มากมาย รวมทั้ง จดหมายของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นอกจากนี้ พระองค์ยังสามารถพูดได้ 5 ภาษา และนิยมการเดินทางท่องเที่ยว และยังนิยมชอบการสู้วัวกระทิง และการเต้นระบำฟลามิงโก้ ด้วย

         นอกจากนี้ พระองค์ถือเป็นสมาชิกราชวงศ์ที่มีพระยศและฐานันดรศักดิ์ กว่า 40 ตำแหน่ง เนื่องจากบรรพบุรุษมีการสมรสข้ามวงศ์ตระกูลอย่างซับซ้อน จนได้รับการบันทึกจากกินเนสเวิลด์เรคคอร์ดว่าเป็นราชนิกุลที่มีบรรดาศักดิ์มากที่สุดในโลก

เพิ่มอีก51รายชื่อ นักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม เอ็นจีโอ จี้เลิก'อัยการศึก'


วิฑูรย์  เลี่ยนจำรูญ –สุณัย ผาสุข -หมอสุภัทร-สุดแดน-ศรีประภา สมทบเข้าชื่อร่วมกลุ่ม 102 คน ยกเลิกกฎอัยการศึกภายหลังจากแถลงการณ์ยกเลิกกฎอัยการศึกจากกลุ่มนักวิชาการ นักเขียน และนักกิจกรรม 102 คน ได้ถูกเผยแพร่เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น. ของ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา โดยมีบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการนักเขียนร่วมลงชื่อเป็นจำนวนมาก อาทิ เช่น สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ, อธิคม คุณาวุฒิ บก.นิตยสาร WAY,  ภัควดี วีระภาสพงษ์, วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล, วิจักขณ์ พานิช, สนานจิตต์ บางสพาน, สฤณี อาชวานันทกุล, เวียง-วชิระ บัวสนธ์, ปรีดา ข้าวบ่อ

ในด้านวิชาการมีก็นักวิชาการจากหลายมหาวิทบาลัยร่วมลงชื่อ เช่น ประภาส ปิ่นตบแต่ง,  เดชรัต สุขกำเนิด, คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี) ประจักษ์ ก้องกีรติ, ประทับจิต นีละไพจิตร, กนกรัตน์ เลิศชูสกุล, นฤมล ทับจุมพล, โอฬาร ถิ่นบางเตียว

นอกจากนี้ยังนักพัฒนาเอกชน หรือ NGO ร่วมลงชื่อ เช่น วิโชคศักดิ์ รณรงค์ นพพรรณ พรหมศรี และ สนั่น ชูสกุล เป็นต้น

ทั้งนี้ได้มีการเชิญชวนให้ประชาชนร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ ยกเลิกกฎอัยการศึก ใน Change.org โดยล่าสุดเมื่อเวลา 12.40 น. (21 พฤศจิกายน 2557 ) ได้มีผู้ร่วมลงชื่อแล้วกว่า 2300 คน

และยังมีการอัพเดตรายชื่อเพิ่มเติม อีก 51 ชื่อ โดยมีรายชื่อที่น่าสนใจ เช่น วิฑูรย์ เลี่ยนจํารูญ นักพัฒนาเอกชน, นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ/กลุ่มขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน, อ.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ ม.ธรรมศาสตร์ร, ศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ม.มหิดล, อ. ศรีประภา เพชรมีศรี  สถาบันสิทธมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาประจำประเทศไทยของฮิวแมนไรท์วอทช์, นิมิตร เทียนอุดม มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, ผศ.ดร.จาตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ไชยันต์ รัชชกูล, เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์, ผศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรศ. ดร. สุธี ประศาสน์เศรษฐ

โดยมีการอธิบายในหน้ากิจกรรม change.org ว่า “ขอเน้นยำว่าแถลงการณ์ฉบับนี้เป็นการแสดงเจตนารมณ์การมีอยู่ของกลุ่มบุคคล ที่มีจุดยืนตามแถลงการณ์ หากท่านต้องการณ์แสดงเจตนารมณ์เช่นเดียวกับเราสามารถร่วมลงชื่อได้โดยที่ราย

ชื่อที่กดเข้าร่วม ใน Change.org จะไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ หากไม่ได้รับอนุญาต” แต่ทั้งนี้รายชื่อที่มีการอัพเดตบนหน้าเว็บทั้งหมด เป็นรายชื่อที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่แล้ว

สำหรับรายชื่อที่ถูกอัพเดตเพิ่มเติมได้แก่ ทั้งนี้ในขณะมีรายชื่อรวมแล้วทั้งหมด 151 ราย
1. วิฑูรย์ เลี่ยนจํารูญ   นักพัฒนาเอกชน
2. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ     ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ/กลุ่มขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน
3. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์  คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
5. สุณัย ผาสุข   ที่ปรึกษาประจำประเทศไทยของฮิวแมนไรท์วอทช์
6. อ. ศรีประภา เพชรมีศรี  สถาบันสิทธมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
7. นิมิตร เทียนอุดม   มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
8. ผศ.ดร.จาตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร  ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
9. ไชยันต์ รัชชกูล    นักวิชาการ
10. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์  นักวิชาการ
11. ผศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ   คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. วนิดา วินิจจะกูล
13. วิไลพร จิตรประสาน   กลุ่มเพื่อนประชาชน
14. กฤตยา อาชวนิจกุล
15. ชาญชัย ชัยสุขโกศล
16. ประกาศ เรืองดิษฐ์    องค์กรพัฒนาเอกชน
17. สุภา ใยเมือง   นักพัฒนาเอกชน
18. ฝ้ายคำ หาญณรงค์   นักพัฒนาเอกชน
19. กิตติกาญจน์ หาญกุล
20. ทวีศักดิ์ เผือกสม
21. เบญจพร อินทร์งาม
22. วิภาวดี พันธ์ยางน้อย
23. ภัทรพร ภู่ทอง     Rotary Peace Center at Chulalongkorn University
24. ศิรินันต์ สุวรรณโมลี    NIDA
25. ปรีชาญา ชาวกัณหา
26. ปัญญา พราหมณ์แก้ว
27. ดวงพร มากศิริ   ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ
28. ฒาลัศมา จุลเพชร   ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ
29. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล  สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ
30. ธงชัย ร่มเย็นเป็นสุข
31. เอี่ยวเร่ง ตะวันทัศนัย ,
32. ณรงค์ วัจรินทร์   สหภาพแรงงานไทยซูซูกิ
33. ทวีศักดิ์ เกิดโภคา
34. อนุพงษ์ จันทะแจ่ม  สภากาแฟ มหาวิทยาธรรมศาสตร์
35. บุญญฤทธิ์ ร่องบอน
36. ศศิประภา ไร่สงวน
37. จุฑามาส ศรีหัตถผดุงกิจ
38. ธีระยุทธ สิมหลวง
39. อิสระพงศ์ เวียงวงษ์
40. สมานฉันท์ พุทธจักร
41. วศินี บุญที
42. รัฐศาสตร์ บาทชารี
43. ปฏัก หนุนชู
44. อภิวัฒน์ สุนทรารักษ์
45. จิรวิชญ์ ฉิมมานุกูล
46. จิรัชญา หาญณรงค์
47. ธนัชชนม์ ธนาธิป - ปริพัฒน์   (นักเขียน)
48. วัฒนชัย วินิจจะกูล
49. พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์
50. ธีรธรรม  วงศ์ษา
51. รศ. ดร. สุธี ประศาสน์เศรษฐ

เพิ่มอีก51รายชื่อ นักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม เอ็นจีโอ จี้เลิก'อัยการศึก'



วิฑูรย์  เลี่ยนจำรูญ –สุณัย ผาสุข -หมอสุภัทร-สุดแดน-ศรีประภา สมทบเข้าชื่อร่วมกลุ่ม 102 คน ยกเลิกกฎอัยการศึกภายหลังจากแถลงการณ์ยกเลิกกฎอัยการศึกจากกลุ่มนักวิชาการ นักเขียน และนักกิจกรรม 102 คน ได้ถูกเผยแพร่เมื่อเวลาประมาณ 13.30 น. ของ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา โดยมีบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการนักเขียนร่วมลงชื่อเป็นจำนวนมาก อาทิ เช่น สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ, อธิคม คุณาวุฒิ บก.นิตยสาร WAY,  ภัควดี วีระภาสพงษ์, วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล, วิจักขณ์ พานิช, สนานจิตต์ บางสพาน, สฤณี อาชวานันทกุล, เวียง-วชิระ บัวสนธ์, ปรีดา ข้าวบ่อ

ในด้านวิชาการมีก็นักวิชาการจากหลายมหาวิทบาลัยร่วมลงชื่อ เช่น ประภาส ปิ่นตบแต่ง,  เดชรัต สุขกำเนิด, คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี) ประจักษ์ ก้องกีรติ, ประทับจิต นีละไพจิตร, กนกรัตน์ เลิศชูสกุล, นฤมล ทับจุมพล, โอฬาร ถิ่นบางเตียว

นอกจากนี้ยังนักพัฒนาเอกชน หรือ NGO ร่วมลงชื่อ เช่น วิโชคศักดิ์ รณรงค์ นพพรรณ พรหมศรี และ สนั่น ชูสกุล เป็นต้น

ทั้งนี้ได้มีการเชิญชวนให้ประชาชนร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ ยกเลิกกฎอัยการศึก ใน Change.org โดยล่าสุดเมื่อเวลา 12.40 น. (21 พฤศจิกายน 2557 ) ได้มีผู้ร่วมลงชื่อแล้วกว่า 2300 คน

และยังมีการอัพเดตรายชื่อเพิ่มเติม อีก 51 ชื่อ โดยมีรายชื่อที่น่าสนใจ เช่น วิฑูรย์ เลี่ยนจํารูญ นักพัฒนาเอกชน, นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ/กลุ่มขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน, อ.สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ ม.ธรรมศาสตร์ร, ศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ม.มหิดล, อ. ศรีประภา เพชรมีศรี  สถาบันสิทธมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, สุณัย ผาสุข ที่ปรึกษาประจำประเทศไทยของฮิวแมนไรท์วอทช์, นิมิตร เทียนอุดม มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, ผศ.ดร.จาตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ไชยันต์ รัชชกูล, เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์, ผศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรศ. ดร. สุธี ประศาสน์เศรษฐ

โดยมีการอธิบายในหน้ากิจกรรม change.org ว่า “ขอเน้นยำว่าแถลงการณ์ฉบับนี้เป็นการแสดงเจตนารมณ์การมีอยู่ของกลุ่มบุคคล ที่มีจุดยืนตามแถลงการณ์ หากท่านต้องการณ์แสดงเจตนารมณ์เช่นเดียวกับเราสามารถร่วมลงชื่อได้โดยที่ราย

ชื่อที่กดเข้าร่วม ใน Change.org จะไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ หากไม่ได้รับอนุญาต” แต่ทั้งนี้รายชื่อที่มีการอัพเดตบนหน้าเว็บทั้งหมด เป็นรายชื่อที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่แล้ว

สำหรับรายชื่อที่ถูกอัพเดตเพิ่มเติมได้แก่ ทั้งนี้ในขณะมีรายชื่อรวมแล้วทั้งหมด 151 ราย
1. วิฑูรย์ เลี่ยนจํารูญ   นักพัฒนาเอกชน
2. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ     ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ/กลุ่มขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน
3. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์  คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
5. สุณัย ผาสุข   ที่ปรึกษาประจำประเทศไทยของฮิวแมนไรท์วอทช์
6. อ. ศรีประภา เพชรมีศรี  สถาบันสิทธมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
7. นิมิตร เทียนอุดม   มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
8. ผศ.ดร.จาตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร  ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
9. ไชยันต์ รัชชกูล    นักวิชาการ
10. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์  นักวิชาการ
11. ผศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ   คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. วนิดา วินิจจะกูล
13. วิไลพร จิตรประสาน   กลุ่มเพื่อนประชาชน
14. กฤตยา อาชวนิจกุล
15. ชาญชัย ชัยสุขโกศล
16. ประกาศ เรืองดิษฐ์    องค์กรพัฒนาเอกชน
17. สุภา ใยเมือง   นักพัฒนาเอกชน
18. ฝ้ายคำ หาญณรงค์   นักพัฒนาเอกชน
19. กิตติกาญจน์ หาญกุล
20. ทวีศักดิ์ เผือกสม
21. เบญจพร อินทร์งาม
22. วิภาวดี พันธ์ยางน้อย
23. ภัทรพร ภู่ทอง     Rotary Peace Center at Chulalongkorn University
24. ศิรินันต์ สุวรรณโมลี    NIDA
25. ปรีชาญา ชาวกัณหา
26. ปัญญา พราหมณ์แก้ว
27. ดวงพร มากศิริ   ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ
28. ฒาลัศมา จุลเพชร   ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ
29. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล  สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ
30. ธงชัย ร่มเย็นเป็นสุข
31. เอี่ยวเร่ง ตะวันทัศนัย ,
32. ณรงค์ วัจรินทร์   สหภาพแรงงานไทยซูซูกิ
33. ทวีศักดิ์ เกิดโภคา
34. อนุพงษ์ จันทะแจ่ม  สภากาแฟ มหาวิทยาธรรมศาสตร์
35. บุญญฤทธิ์ ร่องบอน
36. ศศิประภา ไร่สงวน
37. จุฑามาส ศรีหัตถผดุงกิจ
38. ธีระยุทธ สิมหลวง
39. อิสระพงศ์ เวียงวงษ์
40. สมานฉันท์ พุทธจักร
41. วศินี บุญที
42. รัฐศาสตร์ บาทชารี
43. ปฏัก หนุนชู
44. อภิวัฒน์ สุนทรารักษ์
45. จิรวิชญ์ ฉิมมานุกูล
46. จิรัชญา หาญณรงค์
47. ธนัชชนม์ ธนาธิป - ปริพัฒน์   (นักเขียน)
48. วัฒนชัย วินิจจะกูล
49. พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์
50. ธีรธรรม  วงศ์ษา
51. รศ. ดร. สุธี ประศาสน์เศรษฐ

ชาวไทยในซีแอทเทิ่ลชูป้ายต้านรัฐบาลทหารหน้าโรงหนัง ประกาศชูสามนิ้วไม่ใช่อาชญากรรม



20 พฤศจิกายน 2557  เวลา 16.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น กลุ่มชาวไทยในซีแอทเทิ่ลได้มารวมตัวกัน หน้าโรงภาพยนต์ AMC Pacific Place 11 ซึ่งจะจัดให้มีการฉายภาพยนต์เรื่อง The Hunger Games: Mocking Jay-Part 1 รอบปฐมฤกษ์   โดยได้แสดงออกในเชิงสัญลักษณ์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติการละเมิดสิทธิพลเมืองของตนเอง คืนเสรีภาพในการแสดงออกใหักับประชาชน ยกเลิกกฎอัยการศึก ทั้งนี้ การชูสามนิ้วอันเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ มิใช่อาชญากรรม
ทั้งนี้ ตัวแทนกลุ่มได้ให้สัมภาษณ์ว่า "ผมคิดว่าการจับกุมคุมขังคนที่ประท้วง คสช. และรัฐบาลอย่างไม่ปรานีปราศรัยแบบนี้นอกจากจะสะท้อนลักษณะเผด็จการอำนาจนิยมของรัฐบาลอย่างโจ่งแจ้งแล้ว ยังบอกด้วยว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลถนิมสร้อย คืออ่อนแอบอบบางต่อเสียงวิจารณ์อย่างน่าสมเพช ที่จริงรูปแบบการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ที่ผ่านมาเช่นการกินแซนด์วิชหรือการชูสามนิ้วก็ไม่ได้ทรงพลังอะไร แต่ความวิตกจริตของเผด็จการทำให้สิ่งเหล่านี้มีความหมายมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะมีคนพยายามดึงกลับไปสู่ความหมาย "ดั้งเดิม" ในหนังก็ไม่สำเร็จ คุณนอนถ่ายเซลฟี่ชูสามนิ้วอยู่กับบ้านคุณคัดค้านรัฐบาลได้ ทั้งนี้คงเป็นเพราะอุดมการณ์ความเชื่อที่รัฐบาลและผู้สนับสนุนยึดเหนี่ยวอยู่มันช่างง่อนแง่นเปราะบางเหลือเกิน เขาถึงหวาดระแวงและทำทุกวิถีทางเพื่อปกป้องสิ่งเหล่านั้นไว้"
ผู้เข้าร่วมในครั้งนี้ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า  “การแสดงออกครั้งนี้ก็เพื่อคัดค้านการควบคุมตัวนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น และพื้นที่อื่นๆ ที่แสดงสัญลักษณ์ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารด้วยการชูสามนิ้ว นักศึกษาไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะถูกขับให้ออกจากสถานภาพนักศึกษา เพราะนี่คือการแสดงความเห็นต่างอย่างสันติวิธีที่สุด การชูสามนิ้วที่มาจากการตีความเนื้อหาของภาพยนตร์ควรเป็นสิ่งที่ทำได้อย่างเสรี เพราะไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องตีความการชูสามนิ้วเหมือนกันทั้งหมด เช่นเดียวกับความคิดเห็นทางการเมืองที่ทุกคนก็มีมุมมองและจุดยืนต่างกัน ซึ่งหากรัฐบาลมั่นใจว่าจะสามารถปฏิรูปไปสู่ระบอบประชาธิปไตยได้ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกังวลกับการแสดงออกเหล่านี้เลย การไล่ล่าผู้ชูสามนิ้ว ไม่ใช่ผลงานที่รัฐบาลต้องแสดงให้ชาวโลกรู้ แต่ควรนำประเทศไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่โดยเร็วที่สุดจะดีกว่า”

ม.บูรพา : ตร.-ทหารตบเท้าไม่สบายใจของดเสวนา "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนฯ”


ตร.-ทหาร อ้างไม่สบายใจ เข้าเจรจาของดเสวนาวิชาการ "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไทยในยุคป-ะช-ธิ-ไ-ย" ที่ ม.บูรพา ผู้จัดเผยเลื่อนจัดไปก่อน
21 พ.ย.2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.43 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘รัฐราษฎร์ รัฐศาสตร์เพื่อราษฎร’ โพสต์ประกาศยกเลิกการจัดงานงานเสวนา "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไทย ในสมัยประชาธิปไตยสมบูรณ์" "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไทยในยุคป-ะช-ธิ-ไ-ย" ซึ่งเป็นงานที่จัดโดยชุมนุม PARADOXOCRACY ร่วมกับ นิสิตรัฐศาสตร์ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยบูรพา ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้
ภาพเจ้าหน้าที่ที่เดินทางมาขอเจรจาให้งดจัดกิจกรรม
จากการสอบถามนิสิตชุมนุม PARADOXOCRACY ม.บูพา หนึ่งในผู้จัดกิจกรรม(สงวนชื่อ) กล่าวว่า เมื่อเวลา 13.30 น. มีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจประมาณ 5-6 นาย ในเครื่องแบบ เดินทางมายังคณะรัฐศาสตร์ ม.บูรพา เพื่อเจรจากับอาจารย์ที่คณะฯ โดยแสดงความไม่สบายใจและขอให้ยกเลิกงานเสวนาดังกล่าว
ผู้จัดกิจกรรมฯ กล่าวด้วยว่า พึ่งประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘รัฐราษฎร์ รัฐศาสตร์เพื่อราษฎร’ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สำหรับรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่มาคุยกับอาจารย์นั้นยังไม่ทราบ ทราบเพียงเจ้าหน้าที่ไม่สบายใจและขอให้งดกิจกรรมดังกล่าว เบื้องต้นทางผู้จัดกิจกรรมจึงตัดสินใจเลื่อนการจัดกิจกรรมดังกล่าวออกไปก่อน 

ม.บูรพา : ตร.-ทหารตบเท้าไม่สบายใจของดเสวนา "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนฯ”


ตร.-ทหาร อ้างไม่สบายใจ เข้าเจรจาของดเสวนาวิชาการ "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไทยในยุคป-ะช-ธิ-ไ-ย" ที่ ม.บูรพา ผู้จัดเผยเลื่อนจัดไปก่อน
21 พ.ย.2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.43 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘รัฐราษฎร์ รัฐศาสตร์เพื่อราษฎร’ โพสต์ประกาศยกเลิกการจัดงานงานเสวนา "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไทย ในสมัยประชาธิปไตยสมบูรณ์" "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไทยในยุคป-ะช-ธิ-ไ-ย" ซึ่งเป็นงานที่จัดโดยชุมนุม PARADOXOCRACY ร่วมกับ นิสิตรัฐศาสตร์ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยบูรพา ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้
ภาพเจ้าหน้าที่ที่เดินทางมาขอเจรจาให้งดจัดกิจกรรม
จากการสอบถามนิสิตชุมนุม PARADOXOCRACY ม.บูพา หนึ่งในผู้จัดกิจกรรม(สงวนชื่อ) กล่าวว่า เมื่อเวลา 13.30 น. มีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจประมาณ 5-6 นาย ในเครื่องแบบ เดินทางมายังคณะรัฐศาสตร์ ม.บูรพา เพื่อเจรจากับอาจารย์ที่คณะฯ โดยแสดงความไม่สบายใจและขอให้ยกเลิกงานเสวนาดังกล่าว
ผู้จัดกิจกรรมฯ กล่าวด้วยว่า พึ่งประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘รัฐราษฎร์ รัฐศาสตร์เพื่อราษฎร’ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สำหรับรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่มาคุยกับอาจารย์นั้นยังไม่ทราบ ทราบเพียงเจ้าหน้าที่ไม่สบายใจและขอให้งดกิจกรรมดังกล่าว เบื้องต้นทางผู้จัดกิจกรรมจึงตัดสินใจเลื่อนการจัดกิจกรรมดังกล่าวออกไปก่อน 

ม.บูรพา : ตร.-ทหารตบเท้าไม่สบายใจของดเสวนา "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนฯ”


ตร.-ทหาร อ้างไม่สบายใจ เข้าเจรจาของดเสวนาวิชาการ "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไทยในยุคป-ะช-ธิ-ไ-ย" ที่ ม.บูรพา ผู้จัดเผยเลื่อนจัดไปก่อน
21 พ.ย.2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.43 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘รัฐราษฎร์ รัฐศาสตร์เพื่อราษฎร’ โพสต์ประกาศยกเลิกการจัดงานงานเสวนา "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไทย ในสมัยประชาธิปไตยสมบูรณ์" "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไทยในยุคป-ะช-ธิ-ไ-ย" ซึ่งเป็นงานที่จัดโดยชุมนุม PARADOXOCRACY ร่วมกับ นิสิตรัฐศาสตร์ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยบูรพา ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้
ภาพเจ้าหน้าที่ที่เดินทางมาขอเจรจาให้งดจัดกิจกรรม
จากการสอบถามนิสิตชุมนุม PARADOXOCRACY ม.บูพา หนึ่งในผู้จัดกิจกรรม(สงวนชื่อ) กล่าวว่า เมื่อเวลา 13.30 น. มีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจประมาณ 5-6 นาย ในเครื่องแบบ เดินทางมายังคณะรัฐศาสตร์ ม.บูรพา เพื่อเจรจากับอาจารย์ที่คณะฯ โดยแสดงความไม่สบายใจและขอให้ยกเลิกงานเสวนาดังกล่าว
ผู้จัดกิจกรรมฯ กล่าวด้วยว่า พึ่งประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘รัฐราษฎร์ รัฐศาสตร์เพื่อราษฎร’ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สำหรับรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่มาคุยกับอาจารย์นั้นยังไม่ทราบ ทราบเพียงเจ้าหน้าที่ไม่สบายใจและขอให้งดกิจกรรมดังกล่าว เบื้องต้นทางผู้จัดกิจกรรมจึงตัดสินใจเลื่อนการจัดกิจกรรมดังกล่าวออกไปก่อน 

ม.บูรพา : ตร.-ทหารตบเท้าไม่สบายใจของดเสวนา "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนฯ”


ตร.-ทหาร อ้างไม่สบายใจ เข้าเจรจาของดเสวนาวิชาการ "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไทยในยุคป-ะช-ธิ-ไ-ย" ที่ ม.บูรพา ผู้จัดเผยเลื่อนจัดไปก่อน
21 พ.ย.2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.43 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘รัฐราษฎร์ รัฐศาสตร์เพื่อราษฎร’ โพสต์ประกาศยกเลิกการจัดงานงานเสวนา "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไทย ในสมัยประชาธิปไตยสมบูรณ์" "สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไทยในยุคป-ะช-ธิ-ไ-ย" ซึ่งเป็นงานที่จัดโดยชุมนุม PARADOXOCRACY ร่วมกับ นิสิตรัฐศาสตร์ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยบูรพา ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้
ภาพเจ้าหน้าที่ที่เดินทางมาขอเจรจาให้งดจัดกิจกรรม
จากการสอบถามนิสิตชุมนุม PARADOXOCRACY ม.บูพา หนึ่งในผู้จัดกิจกรรม(สงวนชื่อ) กล่าวว่า เมื่อเวลา 13.30 น. มีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจประมาณ 5-6 นาย ในเครื่องแบบ เดินทางมายังคณะรัฐศาสตร์ ม.บูรพา เพื่อเจรจากับอาจารย์ที่คณะฯ โดยแสดงความไม่สบายใจและขอให้ยกเลิกงานเสวนาดังกล่าว
ผู้จัดกิจกรรมฯ กล่าวด้วยว่า พึ่งประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘รัฐราษฎร์ รัฐศาสตร์เพื่อราษฎร’ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สำหรับรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่มาคุยกับอาจารย์นั้นยังไม่ทราบ ทราบเพียงเจ้าหน้าที่ไม่สบายใจและขอให้งดกิจกรรมดังกล่าว เบื้องต้นทางผู้จัดกิจกรรมจึงตัดสินใจเลื่อนการจัดกิจกรรมดังกล่าวออกไปก่อน 

พล.อ.ประยุทธ์เตือนนักศึกษา The Hunger Games คือการแสดง-ไม่ใช่เรื่องจริง



พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล Thailand Energy Awards 2014 พร้อมมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวด ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล 21 พฤศจิกายน 2557 (ที่มา: แฟ้มภาพ/เว็บไซต์รัฐบาลไทย)
นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ยืนยันไม่ยุ่งกับการฉาย The Hunger Games แน่นอน เรื่องนักศึกษาชูสามนิ้ว ขอชมเชยความกล้าหาญ แต่อยากให้ใช้ในทางที่ถูกเพื่อให้ประเทศเดินหน้า โดยพร้อมรับฟังทุกเรื่อง แต่มาขอประชาธิปไตยกับเลือกตั้งยังให้ไม่ได้ ยอมรับไม่ใช่นายกฯ ประชาธิปไตย 100% แต่ขอถามว่า 100% แล้วทำอะไรให้ประเทศได้บ้าง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 (ที่มา: มติชนทีวี)
21 พ.ย. 2557 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบรัฐบาล โดยในคลิปที่นำเสนอโดยมติชนทีวี ผู้สื่อข่าวถามว่า ห่วงหรือไม่ว่าการชูสามนิ้วจะแพร่กระจาย พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า "ไม่ได้ห่วงๆ แต่ว่ามันจะเป็นปัญหาทางกฎหมายหรือเปล่าผมก็ไม่แน่ใจนะ ก็จะทำให้เสียอนาคต ซึ่งผมไม่อยากทำนะ ก็วันนี้บอกไปแล้วให้ระมัดระวัง และที่ทำไป ผมก็ให้พูดคุยตักเตือนและปล่อยไปนะ ถ้าทำมาอีก ก็จะยุ่งอีกอ่ะนะ อย่าทำเลยไม่ได้ประโยชน์"
จากนั้นมีผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้หรือยัง พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า "ยังไม่ได้ดูหรอก แต่เคยดูตอนที่ 1 มันเป็นเรื่องของดราม่าน่ะ (Drama - ละคร, การแสดง) ดราม่า ไม่ใช่เรื่องจริง"
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะต้องถึงขั้นว่าไม่ให้ภาพยนตร์ฉายเลยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า "ผมไม่ได้ไปยุ่งกับเขาเลย เขาจะฉายไม่ฉายก็เรื่องของเขาสิ"
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า กระแสตอนนี้คิดว่าจุดติดหรือไม่ จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ต่างกันหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า "ไม่ทราบ ไม่ทราบ ไม่รู้ ไม่รู้ ก็ไปช่วยชี้แจงสินะ สื่อก็ช่วยไปชี้แจงสิ"
จากนั้นผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรีคิดว่าเป็นการลามปามหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า "สื่อก็บอกเขาสิ ปัญญาชนก็ต้องรู้จักคิด แยกแยะ ผมชมเชยนะในความกล้าหาญนะ ชมเชย แต่เรื่องความกล้าหาญนั้นถ้าใช้ความกล้าหาญในทางที่ถูกวันหน้า ประเทศไทยก็จะเดินหน้าไปได้ วันนี้ประเทศไทยสถานการณ์แบบนี้ เวลานี้ ก็ขอไว้ก่อน แค่นั้นเอง"
"กล้าหาญก็ดีอยู่แล้วล่ะ ชื่นชม แต่ใช้ในทางที่ถูก วันนี้เห็นบอกไปดร็อบเดริบอะไรเรียนหนังสือ ไม่ใช่เรื่องนะ เสียเวลา" จากนั้นผู้สื่อข่าวถามว่าต้องขอร้องไปทางอธิการบดีหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า "ไม่ขอ ไม่ขอ ทุกคนต้องช่วยกัน ทำไมต้องขอ" จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า "ไม่กลัวอะไรทั้งนั้น ไม่กลัว บอกว่าไม่กลัว"
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการสืบทอดอำนาจหรือไม่ มีคนสงสัยว่าจะตั้งพรรคทหาร พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า ไม่มีสืบทอดอำนาจ สงสัย ก็ถามไอ้คนสงสัย เอามาจากไหน ผมไม่รู้ ไปถามคนพูด ผมไม่เคยพูด ไม่เคยคิด จบแล้วตรงนั้น ไปเขียนให้มันเลอะเทอะไปเรื่อย
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ยังไม่พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อพ้นแล้วค่อยถาม "เอาให้มันพ้นก่อนเถิด แก้ไขปัญหาของประเทศ" จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ถามผู้สื่อข่าวรายหนึ่งว่ารู้ไหมปัญหาประเทศเยอะแค่ไหน และกล่าวว่า "อย่าไปถามไอ้เรื่องการเมืองต่างๆ ผมไม่ใช่นักการเมืองอยู่แล้ว"
ผู้สื่อข่าวถามว่า ยังมั่นใจว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังสนับสนุนหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า "ต้องถามเขานะ การที่ผมเข้ามาแล้วแก้ปัญหาให้ ทำให้เกิดความเป็นธรรม แก้ปัญหาที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน ถามว่าผมทำผิดตรงไหน หรือผมทำอะไรที่เสียหายหรือยัง หรือร้ายการ้ายแรงที่เคยเกิดมาก่อน ผมเคยทำอย่างนั้นหรือยัง ผมอาจไม่ใช่ประชาธิปไตย 100% แต่ผมถามว่า การที่เป็นประชาธิปไตย 100% แล้วทำอะไรให้ประเทศไทยได้บ้าง ผมถามสิ ไปหาคำตอบมาให้ผม เอาล่ะพูดไปก็ลามปามไปทะเลาะคนโน้นอีก ไม่เอาๆ"
"วันนี้ดูสิเราทำอะไรได้บ้าง รู้ไหมเราทำอะไรได้บ้าง พูดในห้องเมื่อกี้ฟังบ้างไหม นี่แหละสิ่งที่เราคิดทุกวันนะ ไม่ใช่สั่งแล้วมาพูดแล้วก็จบ ไม่ใช่ คิดทุกอย่างให้มันเกิดความเชื่อมโยงกันทั้งมั่นคง เศรษฐกิจ จิตวิทยา โน่นมันถึงพูดทุกวันไง แล้วพูดถึงวันก็ยังไม่เข้าใจกันเลย เพราะฉะนั้น ขอให้เข้าใจว่าผมไม่ได้เป็นศัตรูใครทั้งสิ้น แต่ว่าขอร้องกันอย่ามาขัดขวางการทำงาน การทำงานของเรานั้น ผมพร้อมรับฟังทุกเรื่อง จากทุกคน นักศึกษาทุกคนส่งมา แต่ถ้ามาบอกว่ามาขอเป็นประชาธิปไตย ขอเลือกตั้ง ผมก็ให้ไม่ได้ นี่ขอเรื่องเดียว ทำไมล่ะ เรื่องอื่นผมฟังหมดน่ะ แต่เรื่องอย่างนี้ไม่ได้ มาขัดขวางการทำงาน มันไม่ใช่ ไม่ใช่เวลานะ ไม่ใช่เวลา แล้วเวลาเกิดเหตุช่วงที่ผ่านมา ท่านคิดเอาละกันนะว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้าง" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ปธ.กสม. ชี้ น.ศ.ชู 3 นิ้ว เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทำได้ ยันไม่เห็นด้วยกับ รปห.-อัยการศึก


‘อมรา พงศาพิชญ์’ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ชี้ นักศึกษากลุ่มดาวดิน 5 คน ที่ชู 3 นิ้ว ต่อต้านรัฐประหาร เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สามารถกระทำได้ ยันไม่เห็นด้วยกับการประกาศกฎอัยการศึก หรือการปฏิวัติใดๆ
21 พ.ย. 2557 ที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและรองประธานมูลนิธิสตรีเพื่อสันติภาพ กล่าว กรณีการประกาศใช้กฎอัยการศึกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า ในฐานะที่ดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชนว่า เคยชี้แจงและแจ้งไปแล้วว่าจุดยืนนั้นไม่เห็นด้วยกับการประกาศกฎอัยการศึก หรือการปฏิวัติใดๆ ก็แล้วแต่ ซึ่งหากรัฐบาล หรือ คสช. ยืนยันว่ามีความจำเป็นต้องใช้กฎอัยการศึก ต้องอธิบายต่อสังคม และประชาชนให้ได้
ต่อกรณีนักศึกษากลุ่มดาวดิน 5 คน ที่ชู 3 นิ้ว ต่อต้านรัฐประหารและถูกควบคุมตัวไปนั้น  ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ เห็นว่าการแสดงออกของกลุ่มนักศึกษาถือเป็นสิทธิในการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สามารถกระทำได้ แต่ถ้าหากรัฐบาล หรือ คสช.เห็นว่าการแสดงออกนั้นขัดกับกฎอัยการศึก ก็จะต้องอธิบายให้สังคมเข้าใจชัดเจนเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ตนเชื่อว่า จะเกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวอีกหลายครั้ง เนื่องจากมีกลุ่มคนที่ต้องการแสดงออก และต้องการเรียกร้องสิทธิ ถือเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องต่อสู้กันไป ซึ่งเป็นการสู้กันทางวาทกรรม ทางความคิด และถือเป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้
นอกจากนี้ยังมองว่าประเทศไทยยังมีปัญหาในเรื่องความรุนแรงต้องสร้างความตระหนักรู้การที่ผู้หญิงไม่ทราบว่าถูกกระทำเป็นปัญหาใหญ่และเป็นปัญหาที่สังคมมองข้ามทั้งนี้ยังเห็นว่า การที่ประเทศไทยถูกจัดอันดับการใช้ความรุนแรงอยู่ในอันดับต้นๆ ส่วนหนึ่งมาจากสื่อมวลชนที่พยายามขยายความ รวมทั้งปัญหาของการกระบวนการเก็บข้อมูลขององค์กรระหว่างประเทศ เพราะบางทีการรวบรวมข้อมูลยังไม่ลึกพอและบางประเทศไม่ได้ส่งข้อมูลสถิติให้องค์กรที่เก็บข้อมูล
อย่างไรก็ตามปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อสังคมผู้หญิงยังมีกระบวนการอีกหลายขั้นตอนอาจรวมไปถึงการแก้จิตสำนึกกฎหมาย หลักปฏิบัติ โดยส่วนตัวกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสตรีได้ภายในเวลา 1 ปี ซึ่งเป็นกระบวนการต้องดำเนินการต่อเนื่องทำให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอาจจะต้องยืดเวลาในการปฏิบัติหน้าที่

'คำนูณ' เผยยกร่าง รธน.เสร็จ 17 เม.ย. 58


"คำนูณ สิทธิสมาน" โฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่จะมีเนื้อหากระชับ ส่วนรายละเอียดจะอยู่ในกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 17 เม.ย. 58 กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จัดทำร่าง รธน.เสร็จ เพื่อเสนอร่าง รธน.ต่อ สปช. ครม. และ คสช.
 
21 พ.ย. 2557 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงผลความคืบหน้าในการทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ว่าที่ประชุมเห็นตรงกันว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญจะมีเนื้อหาไม่ยาวจนเกินไป ซึ่งจะบัญญัติไว้แต่หลักการ ส่วนเนื้อหาจะอยู่ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของคณะรัฐมนตรี (ครม.) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่เห็นว่ารัฐธรรมนูญ ไม่ควรมีรายละเอียด ที่ยาวมากเกินไป
 
โฆษกคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า กรรมาธิการฯ ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ควบคู่กับ อนุกรรมาธิการด้านเนื้อหา เพื่อให้เสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนด และในฐานะที่เป็นประธานอนุกรรมาธิการบันทึกเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ และการจัดทำจดหมายเหตุ การยกร่างรัฐธรรมนูญจะให้มีการบันทึกอย่างละเอียด ควบคู่กับการร่างร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นประโยชน์ในการตีความในอนาคต
 
นายคำนูณ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้กำหนดกรอบระยะเวลาการยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นรูปธรรม โดยสัปดาห์หน้าคณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะประชุมในวันอังคาร 25 พ.ย. 57 ส่วนวันอื่น ๆ จะให้อนุกรรมาธิการทั้ง 10 คณะ ได้ทำงานเพื่อส่งกรอบเบื้องต้น ของการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะเริ่ม ตั้งแต่วันที่1 ธันวาคม ถึงวันที่10 ธันวาคม จากนั้นวันที่15-17 ธันวาคม  จะเข้าร่วมประชุมกับ สปช.เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่าง ๆ เสนอต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ภายในวันที่19 ธันวาคม จากนั้นตั้งแต่19-26 ธันวาคม ทางกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะพิจารณาเพื่อให้ได้ข้อสรุปหลักการตามกรอบรัฐธรรมนูญ ภายในสิ้นปี 2557 จะมีความชัดเจนถึงโครงสร้าง ที่มาของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ และหลังปีใหม่ กรรมาธิการยกร่างฯ จะเริ่มพิจารณารัฐธรรมนูญลงรายมาตรา
 
โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างฯ กล่าวว่า วันที่ 5 มกราคม 2558 จะนำหลักการให้กฏษฎีกายกร่างเบื้องต้นตามกรอบกฎหมายเป็นรายมาตรา ก่อนจะส่งกลับมาที่กรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อเรียงลำดับ ตามความยากง่าย  วันที่ 17 เมษายน 2558 จะเป็นวันสุดท้าย ที่กรรมาธิการยกร่างต้องจัดทำร่างให้แล้วเสร็จ เพื่อเสนอต่อ ประธาน สปช. ครม. และ คสช.
 
นายคำนูณ กล่าวว่า ส่วนการรับฟัง ความเห็นจากพรรคการเมืองนั้น จะมีเพียงกลุ่ม กปปส.ที่เข้าร่วมในวันที่ 25 พ.ย.นี้  ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ขอเลื่อนออกไปก่อนเนื่องจากอยู่ระหว่างขออนุญาตจัดประชุมพรรค จาก คสช. สำหรับพรรคเพื่อไทย ได้ประสานเป็นการภายใน  อาจมาในนามส่วนตัว และเป็นที่ชัดเจนว่า กลุ่ม นปช. และกลุ่มพันธมิตร จะไม่เข้าร่วมแสดงความเห็นในครั้งนี้
 
เมื่อถามว่า หากเป็นนายอำนวย คลังผา สมาชิกพรรคเพื่อไทย จะขอมาแสดงความคิดเห็นในนามส่วนตัว นายคำนูณ ยืนยันว่า ไม่สามารถมาในนามส่วนตัวได้ แต่หากเป็นตัวแทนของพรรคการเมือง จึงจะสามารถร่วมแสดงความเห็นได้

ทูตสหราชอาณาจักรขอ พล.อ.ประยุทธ์ คืนประชาธิปไตยภายในปี 2558



มาร์ค แอนดรูว์ เจฟฟรี เคนต์ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 (ที่มา:เว็บไซต์รัฐบาลไทย)
           มาร์ค เคนท์ ทูตสหราชอาณาจักรเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยขอให้รักษาสัญญาที่จะคืนประชาธิปไตยภายในปี 2558 และเคารพสิทธิมนุษยชน พร้อมหารือเรื่องความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวและรักษาบรรยากาศการทำธุรกิจ และขอความเชื่อมั่นว่าการลงทุนของต่างประเทศจะไม่ได้รับผลเสียหายจากกฎหมายใหม่บางฉบับ
         21 พ.ย. 2557 - เมื่อวานนี้ (20 พ.ย.) เพจ UK in Thailand เผยแพร่ข่าว มาร์ค แอนดรูว์ เจฟฟรี เคนต์ หรือ มาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. มีรายละเอียดดังนี้
"วันนี้ มร. มาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยเข้าพบ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือในประเด็นต่างๆ เอกอัครราชทูตอังกฤษได้ขอให้พลเอกประยุทธ์รักษาสัญญาที่จะคืนประชาธิปไตยสู่ประเทศไทยภายในปี 2558 และที่จะคงไว้ซึ่งการเคารพในสิทธิมนุษยชน
มร. มาร์ค เคนท์ ยังได้ยกประเด็นเรื่องความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวและความสำคัญของการรักษาบรรยากาศในการทำธุรกิจที่เปิดกว้าง เป็นธรรม และโปร่งใสสำหรับนักลงทุน และยังได้ขอความเชื่อมั่นว่าการลงทุนในประเทศไทยทั้งจากสหราชอาณาจักรและจากประเทศอื่นๆ จะไม่ได้รับผลเสียหายจากกฎหมายใหม่บางฉบับ
มร. มาร์ค เคนท์ ยังได้ย้ำว่า สหราชอาณาจักรพร้อมที่จะทำงานร่วมกับกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ของไทย ตลอดจนภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในด้านต่างๆ ในข้างต้นและในด้านอื่นๆ ที่สหราชอาณาจักรและประเทศไทยมีความสนใจร่วมกัน"
ดูรูปภาพบนทวิตเตอร์