วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ชาวเน็ตจับตา "ประชาธิปัตย์" ป่วนสภาวันที่ 2 หลังหารือนอกรอบวิป 3 ฝ่าย




ชาวเน็ตจับตา "ประชาธิปัตย์" ป่วนสภาวันที่ 2 หลังหารือนอกรอบวิป 3 ฝ่าย

          ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก ต่างแสดงความกังวล กรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ดึงเกมส์ป่วนสภา หวังผลการหารือนอกรอบของวิป 3 ฝ่าย ย้ำเดินหน้าประชุมร่วมรัฐสภา




         วันนี้ (21 ส.ค.) ที่รัฐสภา ห้องคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านหรือวิปฝ่ายค้าน ได้มีการหารือนอกรอบ เพื่อกำหนดกรอบการอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มาของ ส.ว.โดยมีวิป 3 ฝ่าย ประกอบด้วย วิปรัฐบาล นำโดย นายอำนวยคลังผา ประธานวิปรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตัวแทนวิปวุฒิสภา และนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ใช้เวลาหารือ 30 นาที

        นายเจริญ เปิดเผยว่า ผู้ขอสงวนคำแปรญัตติจำนวน 57 คน จะได้ใช้สิทธิ์การอภิปราย โดยวิปรัฐบาลจะไปประสานกับนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาและ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล เพื่อให้เดินหน้าการอภิปรายต่อ ด้านวิปวุติสภาก็จะไปประสานงานกับ ส.ว.และวันที่ 21 สิงหาคมนี้ จะสามารถเริ่มอภิปรายในมาตรา 2 เป็นต้นไป คาดว่าเวลา 22.00 น.จะปิดการประชุม แต่หากไม่แล้วเสร็จก็คาดจะต้องมีการเพิ่มวันอภิปราย โดยต้องมีการหารือกัน พร้อมขอความร่วมมือสมาชิกให้การประชุมเป็นไปด้วยความเข้าใจ และเรียบร้อย ให้ลืมเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา




         ทางด้านผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจำนวนมากต่างแสดงความกังวลใจว่าการประชุมสภาของไทยอาจจะถูกมองในทางเสื่อมเสียเนื่องจากพฤติกรรมการป่วนสภาของพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ การตะโกนส่งเสียงดังโวยวาย การส่งเสียงร้องโหยหวนระหว่างการประชุม การขว้างปาเอกสารหรือสิ่งของ รวมทั้งการบีบคอทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ระหว่างการถ่ายทอดสดซึ่งภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก

        ทางด้านสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม MV5 ได้เผยผลโหวตจาก SMS ของประชาชนต่อคำถามที่ว่า "ประชาธิปัตย์ป่วนสภา ได้หรือเสีย?" ปรากฏว่าประชาชนกว่าร้อยละ 92 ระบุว่า ประชาธิปัตย์เสียมากกว่าได้

'ตายซ้ำ 2' สนนท. จี้ กสม.ลาออก ระบุรายงานสลายแดงบิดเบือน



'ตายซ้ำ 2' สนนท. จี้ กสม.ลาออก ระบุรายงานสลายแดงบิดเบือน

         สนนท. ประท้วงรายงานสลายการชุมนุมแดงปี 53 ของคณะกรรมการสิทธิฯ ระบุบิดเบือนไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง จี้รับผิดชอบลาออกทั้งคณะ พร้อมปฏิรูปที่มาโดยให้เป็นการเลือกตั้งจากประชาชน
          15 ส.ค.56 เวลา 12.00 น. ที่อาคารบี ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) นำโดยนายสุพัฒน์ อาษาศรี เลขาธิการ สนนท. เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ลาออกจากตำแหน่ง และปฏิรูปกระบวนการสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยให้เป็นการเลือกตั้งจากประชาชน
       สนนท.ระบุว่า รายงานผลการตรวจสอบเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม เสื้อแดงปี 53 นั้น บิดเบือนไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ตลอดจนการให้สัมภาษณ์ในรายการ คม ชัด ลึก ทางช่องเนชั่นทีวี ศ.อมรา พงศาพิชญ์ ประธาน กสม. ก็ไม่สามารถให้ความกระจ่างต่อการสอบถามได้
       ต่อมา นายขรรค์ชัย คงเสน่ห์ รองเลขาธิการ กสม. เป็นตัวแทนลงมารับหนังสือของ สนนท.
         ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากการอ่านแถลงการณ์ข้อเรียกร้องแล้ว สนนท. มีการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการฉีกรายงานผลสรุปเหตุการณ์การชุมนุม ปี 53 พร้อมแสดงละครล้อเลียน สะท้อนว่า รายงานของ กสม. ฉบับนี้ เป็นการฆ่าผู้ที่เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมให้ตายซ้ำ 2 อีกด้วย รวมทั้งมีการถือป้ายประท้วง เช่น 'ตายซ้ำ 2' 'คณะกรรมการคุ้มครองอภิสิทธิ์ชนแห่งชาติ' เป็นต้น

แถลงการณ์: กรณีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ออกรายงานผลการตรวจสอบเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช.
            ในกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ออกรายงานดังกล่าวในเชิงนโยบาย ซึ่งรายงานนี้เป็นรายงานที่บิดเบือนไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ตลอดจนการให้สัมภาษณ์ในรายการ คม ชัด ลึก ทางช่องเนชั่นทีวี ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ก็ไม่สามารถให้ความกระจ่างต่อการสอบถามได้ซึ่งทั้ง 2 ประการที่เกิดขึ้นทั้งรายงานและการให้สัมภาษณ์พยายามบ่งบอกได้ว่ารัฐสามารถที่จะใช้กำลังทหารและกำลังอาวุธสงครามเข้าทำร้ายและสังหารผู้มาชุมนุมได้
            คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นองค์กรที่มีบทบาทชัดเจนภายหลังการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 และมีอำนาจมากยิ่งขึ้นภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ถือได้ว่าเป็นอีกองค์กรที่เป็นอุปสรรคและขัดขวางต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งคณะกรรมการก็เป็นบุคคลที่สืบทอดอำนาจเผด็จการจากคณะรัฐประหาร
            อุปสรรคต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยเห็นได้จากที่มาของคณะการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมาจากการสรรหาซึ่งไม่สอดคล้องต่อบริบทในสังคมไทยที่เป็นอยู่ในขณะนี้ อีกทั้งคณะกรรมการสรรหาก็ไม่ได้ยึดโยงกับอำนาจประชาชนแต่อย่างใด ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ล้วนย้อนแย้งกับทิศทางที่ประชาชนออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย ในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ผ่านมาไม่ได้เป็นที่ยอมรับของประชาชนและการปฏิบัติงานก็มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือที่รู้จักกันในวลีที่ว่า “2 มาตรฐาน” ทำให้ความเป็นอิสระกลับกลายเป็นองค์กรที่เลือกจะอยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรที่มีรากเง้าเก่าแก่ในสังคมไทย
            ด้วยพฤติการณ์ของ กสม.  สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) จึงเสนอทางออกแก่ กสม.ดังนี้
1.ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติลาออกจากตำแหน่ง
2.ให้ปฏิรูปกระบวนการสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยให้เป็นการเลือกตั้งจากประชาชน
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
                                                                                                       15 สิงหาคม 2556
ภาพบรรยากาศ :

ประชุมสภาเขาดินเดือด แมลงสาบชกหน้าตำรวจ - ชะนี กรี๊ดโหยหวน!



ประชุมสภาเดือด "กุลเดช" ส.ส.ประชาธิปัตย์ชกหน้าตำรวจ - "นริศา อดิเทพวรพันธุ์" กรี๊ดโหยหวน!



         เวลาประมาณ 11.30 น. วันที่ 20 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนญที่มาของสว.ในวาระที่ 2 เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมอย่างเป็นทางการ ภายหลังใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที ในการประท้วงการทำหน้าที่ประธานที่ประชุมของนายนิคม ไวยรัชพานิช


         โดยนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการฯ อ่านรายงานการพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯ ว่า มีผู้เสนอคำแปรญัตติทั้งสิ้น 202 คน ถอนตัว 2 คน จะเหลือผู้แปรญัตติ 200 คน แต่ในจำนวนนี้มีผู้สงวนคำแปรญัติจำนวน 57 คนที่ขอแปรญัตติเพื่อแก้ไขถ้อยคำในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ขัดกับหลักการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อบังคับการประชุมร่างรัฐสภา มาตรา 96 วรรค 3 กำหนดไว้ว่าการเสนอแก้ไขถ้อยคำที่ขัดกับร่างแก้ไขในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านการขั้นตอนการรับหลักการจะกระทำไม่ได้ซึ่งสมาชิกรัฐสภาทั้ง57คนได้เสนอคำแปรญัตติที่หลากหลาย เช่น การเสนอตัดบทบัญญัติทุกมาตรา และให้การได้มาซึ่งส.ว.กลับไปสู่ระบบสรรหาผสมกับการเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าขัดกับหลักการของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาได้รับเอาไว้ โดยในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 ที่รัฐสภารับหลักการไว้ คือ ให้สว.มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น การเสนอคำแปรญัตติเพื่อยกเลิกบทบัญญัติดังกล่าวจะไม่สามารถกระทำ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการฯ ขอเสนอให้ที่ประชุมเป็นผู้ตัดสินว่าจะให้สมาชิกรัฐสภาทั้ง 57 คน สามารถใช้สิทธิ์อภิปรายในที่ประชุมรัฐสภาได้หรือไม่


         ด้านนายนิคม กล่าวว่า การวินิจฉัยในปัญหานี้จะต้องดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 117 ที่กำหนดให้ใช้เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภาที่มีอยู่ดำเนินการวินิจฉัยให้เด็ดขาด ทำให้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายธนา ชีรวินิจ ส.ส.กทม. อภิปรายเรียกร้องให้นายสามารถชี้แจงว่าทำไมถึงไม่บรรจุคำแปรญัตติของนายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ไว้ในรายงานของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อให้นายนิพิฎฐ์มีสิทธิ์อภิปรายในรัฐสภาในฐานะผู้เสนอคำแปรญัตติแก้ไขถ้อยคำในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ


         นายสามารถชี้แจงว่าปัญหาของนายนิพิฎฐ์มาจากการที่นายนิพิฎฐ์ไม่ได้ส่งคำแปรญัตติภายในเวลา15 วัน นับตั้งแต่วันที่ที่ประชุมรัฐสภามีมติรับหลักการเมื่อวันที่ 4 เม.ย.56 ซึ่งครบกำหนดในวันที่19 เม.ย. ดังนั้น ในเมื่อนายนิพิฐฏ์เสนอคำแปรญัตติมาในวันที่ 1 พ.ค. ถือว่าไม่ทันตามกำหนด ทางกรรมาธิการฯก็ไม่สามารถดำเนินการบรรจุคำแปรญัตติของนายนิพิฎฐ์

        จากนั้นนายนิพิฎฐ์ลุกขึ้นตอบโต้ว่าการเสนอคำแปรญัตติของตนเป็นการยึดตามมติของที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่18เม.ย.56 ซึ่งเป็นการประชุมรัฐสภานัดพิเศษหลังจากการประชุมเมื่อวันที่ 4เม.ย.ไม่สามารถดำเนินการกำหนดระยะเวลาแปรญัตติได้เพราะองค์ประชุมไม่ครบ ดังนั้นส่วนตัวจึงยึดถือตามมติของที่ประชุมรัฐสภาในวันที่ 18 เม.ย. เท่ากับว่าวันสิ้นสุดครบกำหนดการเสนอคำแปรญัตติจะครบกำหนดในวันที่ 3 พ.ค.เท่านั้น ซึ่งตนได้ยื่นคำแปรญัตติไปเมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา และที่สำคัญรัฐธรรมนูญมาตรา 291 กำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องดำเนินการเป็น 3 วาระ ในเมื่อวาระที่ 1 ยังไม่เสร็จสิ้นทั้งกระบวนการ คือ ลงมติรับหลักการและการกำหนดวันแปรญัตติ จะทำให้รัฐสภาไม่สามารถพิจารณาในวาระถัดไปได้ ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะเป็นโมฆะ แต่หากรัฐสภายังยืนยันที่จะดำเนินการต่อไปก็เท่ากับว่ากำลังกระทำการที่ขัดกับรัฐธรรมนูญและสามารถเป็นประเด็นส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ซึ่งตนทำนายไว้ล่วงหน้าว่าเมื่อยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประธานรัฐสภาจะไม่รับเพื่อส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญตนได้ถามสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญท่านหนึ่ง บอกว่าทำอย่างไรก็ได้ให้ส่งศาลรัฐรรมนูญตีความให้ได้

          ทั้งนี้ เกิดการถกเถียงกันไปมาเสียเวลาไประยะหนึ่ง จนเวลา 12.35 น. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ขึ้นทำหน้าที่ประธานที่ประชุม และแจ้งต่อที่ประชุมว่า ทุกฝ่ายก็อภิปรายหารือกันมาพอสมควรแล้ว จะเปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายกันอีกฝ่ายละ 2 ท่าน แต่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอม ขอให้ยึดคำวินิจฉัยของนายนิคมว่าให้ส.ส.ที่แปรญัตติขัดหลักการณ์ได้อภิปราย ทำให้นายสมศักดิ์ กล่าวตัดบทว่าที่ผ่านมาให้เกียรติสมาชิกหารือกันพอสมควรแล้ว ถ้าปล่อยให้พูดกันทุกคนก็ไม่ต้องมาแก้ไขรัฐธรรมนูญกันแล้ว จึงขอมติจากที่ประชุมเลยว่าคำแปรญัตติของทั้ง 57 ท่านที่ขัดกับหลักการของร่างและข้อบังคับการประชุม จะเอาอย่างไร โดยระหว่างนั้นนายอำนวย คลังผา ประธานวิปรัฐบาลเดินเข้าไปหารือกับนายจุรินทร์ แต่นายสมศักดิ์ประกาศว่าถ้ายังไม่อภิปรายก็จะขอมติ “เป็นยังไงก็เป็นกัน” ทำให้ส.ส.ประชาธิปัตย์ตะโกนโห่ใส่ดังลั่นห้องประชุม แต่นายสมศักดิ์ยืนยันว่าตามข้อบังคับการประชุมข้อที่ 56 กำหนดให้เป็นอำนาจประธานฯ ที่จะวินิจฉัยกำหนดวันแปรญัตติ ขณะที่คำแปรญัตติใดขัดกับหลักการและข้อบังคับการประชุม จะต้องขอมติจากที่ประชุม ในที่สุดที่ประชุมมีมติว่าคำแปรญัตติของทั้ง 57 คน ขัดกับหลักการร่างด้วยคะแนน 339 ต่อ 15 ไม่ลงคะแนน 16 งดออกเสียง 8


         อย่างไรก็ตาม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ยังคงโวยวายไม่ยอมรับผลการลงคะแนน และเมื่อจะเริ่มประชุมต่อแต่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์พากันลุกจากที่นั่งตะโกนโห่ฮารบกวนไม่ให้นายสามารถกล่าวรายงานผลการพิจารณาได้ซึ่งนายสมศักดิ์กล่าวเตือนว่าขอให้สมาชิกอยู่ในความสงบประชาชนทั้งประเทศเขาดูอยู่ ขณะที่ตำรวจรัฐสภา 4-5 นาย ต้องเข้ามายืนคุมเชิงอยู่ด้านหลังบัลลังก์ แต่ถึงจะกล่าวตักเตือนอย่างไรส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังไม่ยอมหยุด จนนายสมศักดิ์ต้องนำค้อนขึ้นมาชูพร้อมกล่าวว่า “ช่วงหลังมานี้ไม่เคยใช้เลย วันนี้ขอใช้หน่อย” แล้วทุบลงบนบัลลังก์ 3ครั้ง ทำให้ตำรวจรัฐสภากว่า10 คน เดินเรียงแถวเข้ามากลางห้องประชุมเพื่อควบคุมเหตุการณ์ ท่ามกลางความไม่พอใจของส.ส.พรรคประชาธิปัตย์


        โดยมี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จำนวนหนึ่งเดินกรูเข้าไปต่อว่าตำรวจรัฐสภา โดย นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ส.ส. อุทัยธานี พรรคประชาธิปัตย์ เข้าไปผลักที่หน้าและใช้มือค้ำคอตำรวจรัฐสภา จนเกิดความชุลมุนวุ่นวาย ซึ่งตำรวจรัฐสภาพยายามล็อกแขนนาย กุลเดช เพื่อพาตัวออกจากห้องประชุม สร้างความไม่พอใจแก่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่พยายามกรูเข้ามาช่วยนายกุลเดช ระหว่างที่ชุลมุนอยู่นั้น นายกุลเดช ใช้มือค้ำคอพร้อมกับฟาดมือเข้าไปที่บริเวณขมับซ้ายของตำรวจรัฐสภานายหนึ่ง ทำให้ นายธานี เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ วิ่งเข้ามาผลักตำรวจฯที่ล็อกตัวนายกุลเดชอยู่ ทำให้ตำรวจฯเข้ารวบตัวนายธานี เพื่อลากออกจากห้องประชุมไปด้วย แต่ นายธานีขัดขืนต่อสู้ด้วยการใช้มือกดหัวก่อนจะสะบัดตัวออกมายืนอยู่ในวงของส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่พากันต่อว่าเจ้าหน้าที่ว่า “มึง..กล้าทำผู้แทนเหรอ” ตำรวจรัฐสภาจึงหยุดปฏิบัติการ


      ขณะที่ส.ส.หญิงพรรคประชาธิปัตย์พากันกรีดร้อง อาทิ น.ส.นริศา อดิเทพวรพันธ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช แต่นายสมศักดิ์สั่งเสียงเข้มว่าถ้าทำไม่ได้ตนจะตั้งคณะกรรมการสอบฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ขณะที่ส.ส.พรรคเพื่อไทยทำได้เพียงยืนดูและวิพากษ์วิจารณ์



       ส่วนนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย เดินถ่ายคลิปเหตุการณ์และบรรยากาศอย่างละเอียด เมื่อบรรยากาศเริ่มบานปลายนายสมศักดิ์จึงกล่าวว่า ถ้ายังวุ่นวายนักขอให้ไปพักสงบสติอารมณ์ แล้วสั่งพักการประชุม 10 นาที ในเวลา 13.57 น. ทั้งนี้หลังเหตุการณ์เริ่มคลี่คลายตำรวจรัฐสภาได้เข้าไปยกมือไหว้พร้อมขอโทษ ส.ส.ประชาธิปัตย์ด้วยความเกรงใจ


       ต่อมานายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประจำตัวประธานสภาฯ ได้นำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาที่ถูกทำร้ายลงมาให้แพทย์ที่อยู่ประจำรัฐสภาตรวจอาการ โดยพบว่ามีรอยแดงช้ำที่บริเวณขมับด้านซ้าย ทราบชื่อภายหลังคือ นายจิราพันธ์ พรหมศิลา จากนั้นได้เดินทางไปแจ้งความไว้ที่ สน.ดุสิต ไว้เป็นหลักฐาน


      ด้านนายกุลเดช ลุกขึ้นชี้แจงว่า ตนเองโดนตำรวจ 7-8 นายล้อมกรอบก่อน และไม่ได้ทำร้ายตำรวจแต่อย่างใด และจะไปแจ้งความกลับด้วย


ขอขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์


ประธานรัฐสภา สั่งให้รวมหลักฐานจากกล้อง-ภาพนิ่งกรณีทำร้ายตำรวจ ฟ้อง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์



       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “นายวัฒนา เซ่งไพเราะ” โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร เผย “สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์” ประธานรัฐสภา สั่งการให้ “สุวิจักษ์ นาควัชระชัย” เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รวบรวมภาพจากกล้องวงจรปิดขณะเกิดเหตุวุ่นวายและตำรวจรัฐสภาถูกทำร้าย 1 นายระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในห้องประชุมรัฐสภาเมื่อสักครู่ที่ผ่านมาแจ้งความดำเนินคดีให้เร็วที่สุด