วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

คสช. ตั้งคณะทำงานประสานต่างชาติ ขอประสบการณ์พัฒนา ปชต. แต่ห้ามวิจารณ์


คสช. ออกคำสั่งที่ 4/2558 จัดตั้งคณะทำงานประสานต่างชาติ ให้ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และการพัฒนา ปชต. แต่ห้ามวิจารณ์ รธน. พร้อมจัดทำการศึกษาข้อบกพร่อง รธน. 40 และ 50 เน้นโปร่งใส่ ไร้อคติ
17 เม.ย. 2558 เมื่อวานนี้ เว็บไซด์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่4/2558 เรื่องการดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่การจัดทำธรรมนูญและการปฏิรูป โดยมีการออกคำสั่งให้มีการแต่งตั้งคณะการทำงานชุดหนึ่ง ซึ่งให้มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานองค์ต่างๆ เช่น กระทรวงต่างประเทศ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันพระปกเกล้า และองค์การตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว หรือแม่น้ำทั้ง 5 สาย เพื่อพิจารณาเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศด้านการเมืองการปกครอง การจัดทำรัฐธรรมนูญ การปฏิรูป การแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ และความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศเหล่านั้นมาให้ประสบการณ์ ความเข้าใจในการพัฒนาประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอันสมบูรณ์ รวมทั้งจัดให้มีการศึกษาวิจัย เปรียบเทียบและระบุปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และ 2550 ด้วย
ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ สถาบันพระปกเกล้า เป็นหน่วยธุรการ โดยคณะทํางานจะมีทั้งหมด 8 คน ประกอบด้วย ประธานคณะทำงาน ซึ่งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งใน คสช.ที่หัวหน้า คสช.มอบหมาย ขณะที่คณะทำงานอีก 7 ราย ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย, รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) รองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะทำงานด้วย
คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2558

       เรื่อง การดําเนินการเพื่อประโยชน์แก่การจัดทํารัฐธรรมนูญและการปฏิรูป
       ตามที่กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ กําลังดําเนินไปตามแผนและขั้นตอนสามระยะของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระยะที่สองนั้น โดยที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์และข้อเสนอแนะที่แตกต่างหลากหลาย หากมิได้สร้างความรับรู้ความเข้าใจเสียแต่แรกก็อาจนําไปสู่ความขัดแย้งใน สังคมจนกระทบต่อความสามัคคี ความสมานฉันท์ และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากระบวนการประชาธิปไตยได้ สมควรสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนเกี่ยวกับมาตรการ ป้องกัน แก้ไข และเยียวยาวิกฤตการณ์ทางการเมือง การปฏิรูปกระบวนการจัดทํารัฐธรรมนูญและหลักการสําคัญของรัฐธรรมนูญที่เหมาะ สมกับความต้องการของประชาชนและประเทศชาติ โดยอาศัยประสบการณ์ในต่างประเทศที่อาจนํามาดัดแปลงหรือประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย
      
       โดยที่มาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 บัญญัติให้ในกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นว่าคณะรัฐมนตรีควรดําเนิน การตามอํานาจหน้าที่ในเรื่องใด ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
       ข้อ 1 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
       ข้อ 2 ให้มีคณะทํางานคณะหนึ่งทําหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐตามที่เห็นสมควร สถาบันพระปกเกล้าและองค์กรทั้งห้าตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ได้แก่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศด้านการเมืองการปกครอง การจัดทํารัฐธรรมนูญ การปฏิรูป การแก้ปัญหาวิกฤตการณ์และความขัดแย้งทางการเมืองที่เคยเกิดขึ้นในประเทศ เหล่านั้น โดยเฉพาะประเทศที่มีประสบการณ์ในการจัดทํารัฐธรรมนูญและการปฏิรูปภายหลัง วิกฤตการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง มาให้ประสบการณ์และความเข้าใจในการพัฒนาประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและการปฏิรูปประเทศเพื่อนําไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอันสมบูรณ์ โดยคํานึงถึงสถานการณ์ในประเทศไทย ซึ่งวิกฤตความขัดแย้งอาจแตกต่างจากต่างประเทศ และคํานึงถึงความต้องการของประชาชน โดยไม่ขัดแย้งกับหลักการอันเป็นสากล ตลอดจนหลักประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามประเพณีการปกครองของประเทศไทย โดยไม่เกี่ยวกับการวิพากษ์หรือพิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญที่กําลังจัดทํา และไม่กระทบต่อความคืบหน้าของกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญที่กําลังดําเนิน การอยู่
      
       ทั้งนี้ ให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นหน่วยธุรการและให้คณะทํางานดังกล่าวดําเนินการตามคําสั่งนี้ โดยเร่งด่วน
       คณะทํางานประกอบด้วย
       (1) ผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย ประธานคณะทํางาน
       (2) รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย คณะทํางาน
       (3) รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติมอบหมาย คณะทํางาน
       (4) รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติมอบหมาย คณะทํางาน
       (5) รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมอบหมาย คณะทํางาน
       (6) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ คณะทํางาน
       (7) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะทํางาน
       (8) เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า คณะทํางานและ เลขานุการ
      
       ข้อ 3 นอกจากการดําเนินการตามข้อ 2 แล้ว ให้คณะทํางานจัดให้มีการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบและระบุปัญหาที่เกิดจากการ บังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 ซึ่งเคยมีข้อท้วงติงว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเมืองของไทย หรือไม่ตอบสนองต่อการแก้วิกฤตการณ์ของประเทศ พร้อมทั้งให้จัดทําข้อเสนอแนะด้วยในการดําเนินการดังกล่าว คณะทํางานจะมอบหมายหรือว่าจ้างให้บุคคล คณะบุคคลหรือองค์กรใด ดําเนินการหรือนําผลการศึกษาที่เคยมีผู้ทําไว้แล้วมาเรียบเรียงและจัดหมวด หมู่ให้เป็นไปตามกรอบที่กําหนดไว้ในวรรคก่อนพร้อมทั้งเสนอความเห็นประกอบก็ ได้ ทั้งนี้ ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดําเนินการโดยไม่มีอคติและตรงต่อสภาพปัญหาที่เป็น จริงให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ได้ทันการจัดทํารัฐธรรมนูญและการพิจารณาของผู้เกี่ยว ข้อง ตลอดจนช่วยสร้างความรับรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน
      
       ข้อ 4 ให้คณะทํางานตามข้อ 2 ดําเนินการต่อไปในลักษณะเดียวกันตามข้อ 3โดยอนุโลม เพื่อใช้เป็นแนวทางเสนอแนะการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ
      
       ข้อ 5 ขั้นตอนและวิธีดําเนินการให้เป็นไปตามที่คณะทํางานกําหนดบนพื้นฐานของความ โปร่งใส ความสอดคล้องกับหลักวิชาอันเป็นที่ยอมรับทั่วไป การปราศจากอคติ และการมุ่งให้ประชาชนได้รับประโยชน์ ในกรณีที่ไม่อาจดําเนินการในเรื่องใดโดยเร่งด่วนได้เพราะไม่สอดคล้องกับ กฎหมาย กฎหรือระเบียบของทางราชการ ให้คณะทํางานขอคําวินิจฉัยจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้วดําเนินการ ไปตามคําวินิจฉัยนั้น ให้สํานักงบประมาณจัดงบประมาณแก่คณะทํางานเพื่อดําเนินการตามคําสั่งนี้ตาม ความจําเป็น เมื่อได้ดําเนินการตามคําสั่งนี้แล้ว ให้ประธานคณะทํางานรายงานหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นระยะ ๆ และเผยแพร่ผลการดําเนินการต่อสาธารณชน ในกรณีที่คณะทํางานเห็นว่าสมควรยุติ หรือไม่จําเป็นต้องดําเนินการต่อไป ให้รายงานหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยจัดทําบัญชี แสดงค่าใช้จ่ายเสนอไปด้วย เมื่อได้รับความเห็นชอบของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้ว คําสั่งนี้เป็นอันสิ้นสุดลง
      
       สั่ง ณ วันที่ 9 เมษายน พุทธศักราช 2558
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

'ประยุทธ์' ยืนยัน 6 เดือนรัฐบาลมีผลงานคืบหน้าทุกด้าน



Fri, 2015-04-17 13:01
'ประยุทธ์' นำทีมแถลงผลงาน 6 เดือนรัฐบาล ยืนยัน การทำงานของรัฐบาลมีความคืบหน้าในทุกด้าน ย้ำบางเรื่องต้องใช้อำนาจตาม ม.44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อแก้ไขปัญหาติดขัดเร่งด่วน วอนอ่านและศึกษาข้อมูลผลงานของรัฐบาล อย่าวิพากษ์วิจารณ์โดยไม่รู้รายละเอียด ใช้แต่วาทะกรรม ย้ำไม่ท้อถอย-ท้อแท้ แม้ถูกกดดัน ระบุจะเข้มงวดในข้อกฎหมายมากขึ้น


17 เม.ย. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงเปิดการแถลงนโยบายของรัฐบาลทั้ง 11 ด้าน ในรอบ 6 เดือน โดยใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที สรุปว่า ขณะนี้ รัฐบาลอยู่ในระยะที่ 3 ของการทำงาน คือการร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ สามารถประกาศใช้ได้โดยไม่มีความขัดแย้ง ก็จะนำไปสู่การเลือกตั้ง

“ยืนยันว่า ขณะนี้เงื่อนไขเรื่องเวลา ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง การทำงานของรัฐบาลทุกด้านมีความคืบหน้า เมื่อแถลงสุรปผลงานแล้ว อยากให้ทุกคนได้อ่านและศึกษาข้อมูล ไม่ใช่วิพากษ์วิจารณ์ในทางเสียหายอย่างเดียว โดยที่ยังไม่เห็นรายละเอียด รวมถึง การทำงานสื่อฯ ที่มีการสร้างวาะกรรมในการพาดหัวข่าว ที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งในหลายเรื่อง” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า จะใช้อำนาจเฉพาะที่จำเป็นในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และไม่ใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้อง และว่า การใช้อำนาจตาม ม.44 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ก็เพื่อแก้ไขปัญหาข้อติดขัดที่จำเป็นเร่งด่วน ไม่สามารถรอการแก้ไขตามกระบวนการตามปกติได้

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า งานด้านความมั่นคงมีความก้าวหน้า การรักษาความสงบเรียบร้อยดีขึ้น ประชาชนพึงพอใจ ขณะที่ ด้านเศรษฐกิจ ตัวเลขการลงุทนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรม ในไตรมสที่ 2และ3 ดีขึ้นตามลำดับ มีแนวโน้มไปในทางทิศทางบวก ไม่เหมือนก่อนที่ตนเข้ามาบริหารประเทศ ที่ GDP ติดลบ 0.6

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ด้านการท่องเที่ยว พบว่า การท่องเที่ยวดีขึ้น 39% ในไตรมาสแรก มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 23% จากปีที่ผ่านมา สะท้อนได้ว่านักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในสถานการณ์ของประเทศไทย ด้านการต่างประเทศ ได้ใช่องทางทางการทูตและการทหาร ไปทำความเข้าใจกับทุกประเทศ ซึ่งหลายประเทศมีความเข้าใจสถานการณ์ของไทยดีขึ้น

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ต้องการให้มองว่า การที่ไทยติดต่อกับจีนและรัสเซียมากขึ้น จะเป็นการคานอำนาจกับสหรัฐฯ และประเทศในยุโรป แต่เรื่องปกติที่แต่ละประเทศจะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ เพื่อขยายการค้าการลงทุน

“ขณะที่ การปฏิรูป รัฐบามีเวลาทำงานเพียง 6 เดือน จะให้เห็นภาพการปฏิรูปชัดเจนตามที่หลายคนเรียกร้องคงไม่ได้ ทุกเรื่องต้องใช้เวลา ก้าวให้ช้า แต่มั่นคง รัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ต้องไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง และเป็นตัวกำหนดทิศทางของประเทศ ว่าจะต้องเดินหน้าอย่างไร อย่างไรก็ตาม ระหว่างการยกร่าง อาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดา” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ได้เร่งรัดการทำงานในทุกด้าน มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาติดตามการทำงานตลอด เพื่อให้กลไกต่างๆ สามารถขับเคลื่อนและเดินหน้าต่อไปได้

“บางเรื่องต้องใช้ ม.44 เพราะถ้าแก้กฎหมายก็ไม่เสร็จ จำเป็นต้องทำด้วยความรวดเร็ว สถานการณ์ปัจจุบันไม่ปกติ จะทำให้เกิดความขัดแย้งเหมือนเดิมไม่ได้ ขออย่าใช้วาทะกรรมกันมากนัก” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แล้วถูกตัดสินว่าผิด ก็ว่าถูกกลั่นแกล้ง ขอถามว่า กระบวนการยุติธรรมมีหลักฐานชัดเจน จะกลั่นแกล้งกันได้หรือ หรือแม้แต่การบอกว่า รัฐบาลต้องยอมขาดทุน ใช้เงินจำนวนมากช่วยเหลือเกษตรกรที่ยากจน ถามว่าประเทศไทยมีแต่เกษตรกรอย่างเดียวหรือ เมื่อช่วยเหลือข้าว ก็ต้องไปยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด ก็จะไม่มีเงินไปลงทุน หรือแก้ปัญหาอย่างอื่น

“รับจำนำข้าวก็มั่ว จำนำหลอกๆ โรงสีก็รับมั่วๆ รัฐบาลก็ต้องมารับภาระจ่ายเงินให้อีก ไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาให้ชาวนาอย่างถูกต้องแบบที่ต่างประเทศทำกัน อย่างกรณีของ บก.ลายจุดที่บอกว่า จะรับซื้อข้าวจากชาวบ้านเกวียนละ 15,000 บาท แล้วมาแพ็คถุงขาย ถามว่าทำได้จริงหรือ เอาเงินมาจากไหน ซื้อได้ที่ละกี่กระสอบ การทำแบบนี้ไม่ให้ความเป็นธรรมกับรัฐบาล มีนัยแอบแฝง และตอนนี้ บก.ลายจุดก็ถูกขึ้นทะเบียนอยู่ หากถูกเรียกมาอีกก็จะมีเรื่อง” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า จะไม่ท้อถอย แม้จะถูกแรงกดดัน เพราะหากยิ่งถูกต่อว่ามาก ก็จะยิ่งสู้และมีกำลังใจมากขึ้น ไม่ท้อแท้ และจะเข้มงวดในการใช้กฎหมายมากขึ้น

ความสำเร็จของ 30 บาท รักษาทุกโรคถูกบดบังจากวิกฤตประชาธิปไตย


Thailand’s current democratic crisis sits in stark contrast with its greatest achievement this century: universal health coverage. This achievement is also a prime example of the ideological disagreements on the value of populism in Thai politics.


In 2001, the government introduced ‘30 baht healthcare’, a comprehensive government funded scheme that provided extended health coverage to all citizens. Compared to other countries with similar levels of development, establishing universal healthcare coverage in Thailand was a serious accomplishment.


In 2001, 30 percent of the total population was uninsured. But in 2014, 99 percent of the total population was covered by three public insurance schemes. Universal health coverage has ensured increased access to healthcare for the poor and a significant decrease in infant and child mortality. Advanced medical treatments such as basic chemotherapy, open-heart surgery and dialysis treatment are also widely available.


How might such an ambitious social project become feasible in a socially divided, politically unstable, lower middle income country like Thailand?


Universal health coverage began with the rise of the populist politician, Thaksin Shinawatra. In 2000, the Thai Rak Thai Party and Thaksin proposed 30 baht (US$0.92) universal health coverage as a major point for their rural platform. After winning the 2001 elections by a landslide margin, they speedily implemented this reform.


The short history of universal health coverage coincides with one of the most unsettling periods of contemporary Thai politics. From 2001–15, there were nine governments, six general elections (including the annulled one) and two coups. This extraordinary political chaos has torn Thai society between pro-Thaksin and anti-Thaksin (or royalist and anti-royalist) groups, putting Thai democracy in crisis again. The general response toward universal health coverage also has been polarised. It received praise as an ideal policy for the poor and dismissed as a populist charade.


After the military takeover in May 2014, the junta stated their mission was to prevent populist policies that could endanger the Thai economy and to mould ‘sustainable democracy’. They stopped former Prime Minister Yingluck’s village development policies, deeming them populist. The future of universal health coverage also seemed in doubt. In the beginning period of its authoritarian rule, the military junta hinted their plan to reform the system by increasing the patient co-payment. In August 2014 Prime Minister Prayut Chan-o-cha announced that universal health coverage would remain in place.


In Prayut’s regular TV show, he made a problematic suggestion. He proposed that the rich should give up their membership in the universal health coverage scheme to give a bigger health budget to the poor. This request is tricky, because it distorts the very meaning of universal access deeply attached to democratic values. The basic philosophy of ‘universal access’ is to entitle all citizens to healthcare regardless of their income level, social status or residency. It is true that the poor are the largest beneficiaries of this public policy, but — in principle — it is for everyone. The reason that this policy has been so appealing for the majority of Thais is that it does not segregate and target the poor but incorporates them into the realm of public good.


Is universal health coverage ‘populist’? Calling a person or a policy ‘populist’ suggests that they are more self-serving than communal, instinctive than rational, and more wasteful than sustainable. Is providing essential healthcare to all like this? No. Branding universal health coverage with the derogatory label ‘populist’ allows a group to benefit from anti-populism discourse.


Since the 2014 coup started, the military junta has been the major beneficiary of the anti-populism frame. Although the general direction and size of public spending of the military government is not very different from Yingluck’s era, their anti-populist stance serves as a political machine to suppress democratic politics. There is a very powerful idea among royalists that Thailand needs ruling by ‘good men’ and liberal democracy is incompetent. It is easy for ill-intended politicians to dupe ignorant electorates. This has paved a way to the establishment of an ‘anti-electoral democracy’.


As ideological battles around populism continue in Thai politics, universal health coverage offers a different political horizon. While this ‘populist’ plan sounds dangerous, unsustainable, or wasteful, it indeed has proved a fundamental value. All citizens have the right to access public healthcare and the state is obliged to ensure these rights.


The very idea of universal access has a constructive function in the formations of democratic values. As ordinary Thais have already experienced such social force and feasibility of making claims of their rights to health as a universal value, then why not their political rights? The anti-populist stance is hindering access to basic democratic procedures.


Thai public health care suffering by association is republished with permission from East Asia Forum


Fri, 2015-04-17 12:58

ภาคภูมิ แสงกนกกุล แปล


วิกฤตประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบันกลับสวนทางกับความสำเร็จของศตวรรษนี้ นั่นคือนโยบาย หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ความสำเร็จนี้ยังเป็นบทเรียนสำคัญของความขัดแย้งทางอุดมการณ์ความคิดเรื่องการต่อต้านประชานิยมซึ่งเป็นค่านิยมของสังคมไทย

ในปี 2001 (พ.ศ. 2544) รัฐบาลได้ออกนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคที่ครอบคลุมประกันสุขภาพให้ประชาชนทุกคน เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มีระดับการพัฒนาใกล้เคียงกัน นโยบาย 30 บาทของไทยเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งยวด

ในปี 2001 ร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมดไร้ประกันสุขภาพ แต่ในปี 2014 (พ.ศ. 2557) ร้อยละ 99 ของประชากรทั้งหมดถูกปกคลุมด้วยประกันสุขภาพชองรัฐบาล 3กลุ่มคือ ประกันสังคม ประกันสุขภาพราชการ และ นโยบาย 30 บาท ผลสำเร็จของนโยบาย 30 บาทส่งผลดีต่อคนจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงการรักษาและการลดอัตราการตายของทารก การรักษาพยาบาลราคาแพงเช่นการรักษาด้วยเคมีบำบัด การผ่าตัดเปิดหัวใจและการฟอกไต ก็ยังรวมอยู่ในสิทธิประโยชน์ด้วยเช่นกัน

ทำไมนโยบายที่มีความทะเยอทะยานสูงเช่นกรณีนี้จึงสามารถสำเร็จได้ในประเทศรายได้ปานกลางอย่างไทย ซ้ำร้ายเป็นสังคมที่แตกแยก มีความไม่แน่นอนทางการเมือง?

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าริเริ่มต้นจากนักการเมืองประชานิยมอย่าง ทักษิณชินวัตร ในปี 2000 (พ.ศ. 2543) พรรคไทยรักไทยและทักษิณเสนอ นโยบาย 30 บาทเป็นจุดขายสำคัญเขตชนบท หลังจากที่ชนะการเลือกตั้งปี 2001 โดยถล่มทลายไทยรักไทยก็ดำเนินการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน

โดยบังเอิญการพัฒนาของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ในช่วงเวลาไร้เสถียรภาพทางการเมืองที่สุดของการเมืองไทยร่วมสมัย ในช่วง 2001-15 (พ.ศ. 2544-2558) , มีรัฐบาลทั้งหมด 9 ชุด การเลือกตั้งทั่วไป 6 ครั้ง (รวมถึงครั้งล่าสุดที่โมฆะ) และรัฐประหารสองครั้ง ความวุ่นวายทางการเมืองนี้พิเศษได้แบ่งแยกสังคมไทยระหว่างกลุ่มทักษิณและกลุ่มต่อต้านทักษิณ (หรืออีกในแง่หนึ่งคือความขัดแย้งระหว่างกลุ่มนิยมกับกลุ่มต่อต้านเจ้า) นอกจากนี้ผลตอบรับต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านอกจากนี้ยังส่งผลต่อการแบ่งขั้วเช่นกัน โดยเป็นที่นิยมในคนยากจน แต่กลับถูกชนชั้นกลางตราว่าเป็นนโยบายประชานิยม

หลังจากการรัฐประหาร พฤษภาคม 2014, รัฐบาลทหารได้อ้างว่าเป้าหมายของพวกเขาคือการป้องกันไม่ให้นโยบายประชานิยมที่อาจเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจไทยและการบั่นทอน 'ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน' พวกเขาหยุดนโยบายต่างๆของอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้านโดยอ้างว่ามันเป็นนโยบายประชานิยม อนาคตของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็อยู่ในอาการหมิ่นเหม่เช่นกัน ในช่วงเริ่มต้นของรัฐบาลทหารได้พูดเป็นนัยถึงแผนการปฏิรูประบบโดยให้ผู้ป่วยรับผิดชอบร่วมจ่ายค่ารักษามากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อสิงหาคม 2014 นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาประกาศว่าหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะยังคงอยู่ในสถานที่

ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ที่ถ่ายทอดประจำทางทีวีช่วงไพรม์ไทม์ ประยุทธ์กลับเสนอวิธีปฏิรูปที่เป็นปัญหา เขาเสนอว่านโยบาย 30 บาทไม่ควรคลอบคลุมพวกคนรวยเพื่อคนจนจะได้มีงบประมาณรักษามากขึ้น แต่ทว่าข้อเสนอดังกล่าวมันบิดเบือนความหมายของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ผูกติดกับค่านิยมประชาธิปไตย ปรัชญาพื้นฐานของการเข้าถึงสากลคือการให้สิทธิประชาชนทุกคนที่จะได้รับการรักษาโดยไม่คำนึงถึงระดับรายได้ของพวกเขาหรือสถานะทางสังคมที่อยู่อาศัย มันเป็นความจริงว่าคนจนเป็นกลุ่มที่ได้ผลประโยชน์ที่ใหญ่ที่สุดของนโยบายสาธารณะนี้ แต่โดยหลักการนโยบายนี้เพื่อประชากรทุกคน และเหตุผลที่นโยบายนี้ประสบความสำเร็จก็เพราะมันไม่ได้แบ่งแยกคนจนแต่รวมพวกเขาไว้ในนโยบายสาธารณะ

จริงหรือที่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็น 'ประชานิยม'? การเรียกนักการเมืองหรือนโยบาย 'ประชานิยม' มันหมายถึงว่า การให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่จำเป็นเช่นนี้ นักการเมืองเห็นแก่ตัวกว่าการรับใช้ชุมชน การบริหารนโยบายด้วยสัญชาตญาณมากกว่าเหตุผลและเป็นนโยบายที่สิ้นเปลืองมากกว่าที่จะยั่งยืน? ไม่ๆๆ เพราะการติดป้ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างเสื่อมเสียว่า 'ประชานิยม' ช่วยให้บางกลุ่มได้รับประโยชน์จากวาทกรรมต่อต้านประชานิยม

ตั้งแต่รัฐประหาร 2014 เริ่มต้นรัฐบาลทหารเป็นกลุ่มได้รับผลประโยชน์จากนโยบายต่อต้านประชานิยม แม้ว่าทิศทางนโยบายและการใช้จ่ายของรัฐบาลทหารก็ไม่ได้แตกต่างกันมากจากยุคยิ่งลักษณ์ มาตรการต่อต้านประชานิยมต่างๆเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อใช้กำจัดกลุ่มการเมืองต่างๆในระบอบประชาธิปไตย โดยแนวคิดเรื่องคนดีปกครองบ้านเมืองและเสรีประชาธิปไตยไม่เหมาะสมกับเมืองไทยนั้นแพร่หลายในกลุ่มชนชั้นนำ และเป็นเรื่องง่ายในการสร้างกระบวนการต่อต้านการเลือกตั้งทั่วไป

ในขณะที่การต่อสู้ทางอุดมการณ์ต่อต้านประชานิยมยังคงอยู่ในการเมืองไทย, หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเสนอมิติการเมืองที่เปลี่ยนไป ในขณะที่นโยบาย'ประชานิยม' นี้อาจไม่ยั่งยืนหรือสิ้นเปลือง แต่มันได้สร้างค่านิยมพื้นฐานขึ้นมาใหม่ว่า ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงการดูแลสุขภาพของและรัฐมีหน้าที่ประกันสิทธิเหล่านี้

แนวคิดของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีพื้นฐานที่นำไปสู่ค่านิยมประชาธิปไตย ในเมื่อคนไทยทั่วไปมีประสบการณ์แล้วในการเรียกร้องสิทธิของตนต่อสุขภาพในฐานะค่านิยมสากลแล้ว ทำไมจะไม่สามารถขยายไปสู่สิทธิทางการเมืองของพวกเขาได้? การต่อต้านประชานิยมจึงเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงวิธีการประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน

'ผู้ตรวจการแผ่นดิน' ค้านควบรวม 'กรรมการสิทธิ์'



Fri, 2015-04-17 17:09

ผู้ตรวจการแผ่นดินแถลงย้ำจุดยืนไม่เห็นด้วยควบรวมกับ กสม. วอน กมธ. ยกร่างฯ และผู้เกี่ยวข้องทบทวน ยืนยันงานไม่ซ้ำซ้อน ชี้ ควบรวมมีผลเสียมากกว่าผลดี จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

17 เม.ย. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมด้วย พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ นายบูรณ์ ฐาปณดุลย์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน และนายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงย้ำจุดยืนไม่เห็นด้วยที่จะให้ควบรวมสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามความเห็นของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

นายศรีราชา กล่าวว่า ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่เพื่อประชาชน การไม่ควบรวมน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด เนื่องจากจะมีแนวโน้มให้ทำงานไม่เป็นอิสระเหมือนเดิมและยากขึ้น และมีสิ่งที่ขัดกัน ทั้งเรื่องอำนาจและการบริหารภายในองค์กร อาจเกิดปัญหา 2 มาตรฐาน และว่า ที่ผ่านมามีกรรมาธิการหลายคณะเชิญผู้ตรวจการฯ ไปชี้แจง ซึ่งได้ยืนยันจุดยืนไปว่า ไม่เห็นด้วยกับการควบรวม

“ไม่ใช่เราไม่ฟังเสียงกรรมาธิการยกร่างฯ แต่เราแสดงเหตุผลที่เราเห็นตรงกับ กสม. ตอนนี้ถือว่าเราลงเรือลำเดียวกัน คือไม่เห็นด้วยให้ควบรวม บทบาทของ 2 องค์กร ไม่มีส่วนไหนซ้ำซ้อน มีเพียงเชื่อมโยงคาบเกี่ยวเล็กน้อย เรากับ ป.ป.ช.และสตง. ยังถือว่าทำงานซ้ำกันมากกว่า แต่การประสานงานกัน ทำให้การทำงานไม่มีปัญหา” นายศรีราชา กล่าว

นายศรีราชา กล่าวว่า การควบรวมจะทำให้ความมีตัวตนหรืออัตลักษณ์ขององค์กรหายไป และทั่วโลกถึงร้อยละ 90 ไม่มีการควบรวม ขณะที่ ในเวทีอาเซียน ไทยได้รับเกียรติเป็นประธานสมาคมผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งเอเชีย หากมีการยุบรวม ไทยจะไม่อยู่ในสมาคม โอกาสที่จะสามารถทำได้ดีในสายตาชาวโลกก็จะเสียไป

“นอกจากนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินยังได้รับการยอมรับจากสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินโลก (IOI) ที่มีสมาชิกกว่า 150 ประเทศ จัดการประชุม World conference ปีหน้า ซึ่งน่าเสียดายงาน ที่ต่างประเทศให้การยอมรับ และชื่อเสียงเกียรติยศจะหายไป ขณะนี้ มีหลายประเทศสอบถาม หลังรับทราบข่าว” นายศรีราชา กล่าว

นายศรีราชา กล่าวว่า เหตุผลหนึ่งของการควบรวม ที่ระบุว่าจะประหยัดงบประมาณ ก็ไม่จริง เพราะทั้ง 2 องค์กรได้รับงบประมาณไม่มากนัก และการที่จะมีองค์กรใหม่ขึ้นมา จะทำให้ต้องเพิ่มงบประมาณมากขึ้น และว่า การเพิ่มบทบาทอำนาจการทำงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน จะทำให้เพิ่มศักยภาพการทำงาน แต่การรวมกันอาจทำให้ศักยภาพลดลง เพราะมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ควรคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนที่จะได้รับมากกว่าสิ่งอื่น

ด้าน นายรักษเกชา กล่าวว่า หากควบรวมกัน ความคล่องตัวในการแก้ปัญหาจะสะดุด และอาจมีการละเมิดสิทธิของเจ้าหน้าที่ด้วยกันเอง และจะส่งผลกระทบหลายด้านชัดเจน จึงต้องการให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและผู้เกี่ยวข้องทบทวนอีกครั้ง ให้คง 2 องค์กรไว้ดังเดิม และไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น

สปช. ทยอยรับรัฐธรรมนูญร่างแรกแล้ว แต่ไม่แจกให้สื่อมวลชน




Fri, 2015-04-17 18:51

           สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทยอยรับรัฐธรรมนูญร่างแรกแล้ว 1 คน ได้ 3 ชุด แต่ไม่แจกสื่อมวลชน ด้าน 'เทียนฉาย' มีหนังสือประกาศปรับแนวทางการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ระยะเวลาอภิปรายทั้งหมด 79 ชั่วโมง

            17 เม.ย. 2558 ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่าที่รัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดให้สมาชิก สปช.รับร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ พิจารณาเสร็จแล้วเป็นร่างแรก ได้ตั้งแต่เวลา 13.00 น. บริเวณห้องโถง ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 1 แต่ปรากฏว่าสมาชิกให้ความสนใจมารอรับร่างรัฐธรรมนูญก่อนเวลาเป็นจำนวนมาก ทำให้บรรยากาศคึกคักตั้งแต่เวลา 12.00 น. และเริ่มแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญก่อนเวลาที่กำหนด โดยนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.ได้แจกร่างรัฐธรรมนูญให้กับสมาชิกด้วยตัวเอง สำหรับสมาชิก สปช.1 คนจะได้รับแจกเอกสาร 3 ชุด ประกอบด้วย 1. ร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 194 หน้า โดยเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ 315 มาตรา จำนวน 130 หน้า รายงานการทำงานของ กมธ.ยกร่างฯ 20 หน้า และภาคผนวก 44 หน้า 2. ตารางสรุปเจตนารมณ์รายมาตราของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน 4 เล่ม และ 3. ตารางร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

          อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 18-19 เม.ย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก็ยังเปิดให้สมาชิก สปช.เข้ามารับเอกสารได้แม้เป็นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ทั้งนี้ บริเวณจุดรับเอกสารยังได้ตั้งจุดลงชื่อแสดงความประสงค์ขออภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ โดยบุคคลแรกที่ลงชื่อ คือ นายอมร วาณิชวิวัฒน์ สมาชิก สปช.

          นายบุญเลิศ คชายุทธเดช รองโฆษกคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. แถลงถึงกรณีที่ไม่มีการแจกร่างรัฐธรรมนูญให้กับสื่อมวลชนโดยมีการอ้างเป็นการทำผิดกฎหมายว่า ตั้งแต่เที่ยงของวันนี้ สมาชิกได้เดินทางมารับร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเตรียมการอภิปรายในวันที่ 20-26 เม.ย.แล้ว ส่วนปัญหาที่เกิดกับสื่อมวลชนที่ไม่ได้เอกสารเช่นเดียวกับที่ สปช.ได้รับนั้น ตนในฐานะเคยเป็นสื่อสารมวลชนประจำรัฐสภากว่า 10 ปี จึงถูกรุมล้อมจากนักข่าวว่าต้องการร่างรัฐธรรมนูญไปศึกษาทำหน้าที่สรุปสาระสำคัญให้สาธารณชนได้รับทราบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นสื่อสารมวลชนที่รับผิดชอบต่อประเทศชาติและคำนึงถึงสิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชน

          “สิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญหรือหมายถึงเสียงประชาชน เมื่อรัฐธรรมนูญยกร่างฯ เสร็จก็ชอบที่ประชาชนทั้งประเทศจะได้มีโอกาสรับรู้ ไม่สมควรที่จะปกปิดร่างรัฐธรรมนูญด้วยข้ออ้างใดๆ ก็ตาม เพราะไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดมาจำกัดสิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชน เช่น ในปี 2540 ร่างเสร็จมีการเผยแพร่ต่อประชาชนอย่างกว้างขวางเพื่อรับฟังความเห็นเรียกว่ากระบวนการประชาพิจารณ์ ในปี 2550 ก็มีการจัดพิมพ์เป็นเล่มแจกประชาชนทำประชามติ ในครั้งนี้จะต้องฟังเสียงประชาชนด้วย และที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ กำหนดจะเผยแพร่ต่อสื่อมวลชนในวันที่ 27 เมษายนนั้น นักข่าวต้องไปตั้งคำถามว่ามีความชอบธรรมที่จะดำเนินการอย่างนั้นหรือไม่ ซึ่งผมไม่กลัวถูกตำหนิเพราะนักข่าวสามารถได้ร่างรัฐธรรมนูญจาก สปช.คนใดก็ได้เพราะมีทั้งหมด 250 คน” นายบุญเลิศกล่าว



ปรับแนวทางการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ให้ระยะเวลาอภิปรายทั้งหมด 79 ชั่วโมง

           ด้านเว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภารายงานว่านายเทียนฉาย กีระนันท์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหนังสือประกาศปรับแนวทางการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ของประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือ สปช. ในระหว่างวันที่ 20เมษายน ถึง วันที่ 26เมษายน ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของสมาชิก เนื่องจากมีสมาชิกหลายคนให้ความเห็นเพิ่มเติมเพื่อให้การอภิปรายและให้ความเห็นไปอย่างกว้างขวาง ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดเวลาการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก โดยจะเริ่มประชุมในเวลา 09.00น ถึง 21.00น. ของทุกวัน ยกเว้นวันพฤหัสบดีที่23เมษายน ที่จะเริ่มในเวลา 14.00น ถึง 21.00น รวมระยะเวลาอภิปรายทั้งหมด 79ชั่วโมง

          สำหรับการแบ่งเวลาอภิปรายนั้น จะให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญใช้เวลา 15ชั่วโมง โดยวันแรกจะใช้เวลานำเสนอร่างรัฐธรรมนูญ 2ชั่วโมง และเวลาชี้แจง 1ชั่วโมง ส่วนวันต่อๆไปจะให้เวลาชี้แจงประมาณ 2ชั่วโมง ส่วนสมาชิกสปช.จะใช้เวลาทั้งหมด 64 ชั่วโมง โดยให้ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทั้ง 18 คณะ คณะละ 30 นาที รวม 9 ชั่วโมง ส่วนสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ประสงค์จะอภิปรายจะได้จัดสรรเวลาคนละประมาณ 15 นาที รวม 55 ชั่วโมง

คสช.มีคำสั่งย้ายปลัดและบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ



Fri, 2015-04-17 19:33

           คสช.มีคำสั่งย้าย "สุทธศรี วงษ์สมาน" จากปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษาให้ "กำจร ตติยกวี" ดำรงตำแหน่งแทน พร้อมย้ายบุคลากรทางการศึกษาอีกหลายตำแหน่ง เพื่อการปฏิรูปการศึกษา และประสิทธิภาพการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการ



           17 เม.ย. 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้ลงนามในคำสั่ง คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖/๒๕๕๘ เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการมีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปประเทศตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

  • ข้อ ๑ ให้ นางสุทธศรี วงษ์สมาน พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา
  • ข้อ ๒ ให้ นายพินิติ รตะนานุกูล พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  • ข้อ ๓ ให้ นายกำจร ตติยกวี พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  • ข้อ ๔ ให้ นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
  • ข้อ ๕ ให้ นายอดินันท์ ปากบารา พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  • ข้อ ๖ ให้ นางรัตนา ศรีเหรัญ พ้นจากตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • ข้อ ๗ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้นปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป
  • ข้อ ๘ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง ตามคำสั่งนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา ๒๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
  • ข้อ ๙ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                      สั่ง ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๘

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ