1 ก.ย. 2558 ศาลจังหวัดภูเก็ต มีคำสั่งยกฟ้องคดีหมายเลขดำที่ 2161/2557 ที่กองทัพเรือดำเนินคดีกับสำนักข่าวภูเก็ตหวาน ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 จากการเผยแพร่รายงานพิเศษของสำนักข่าวรอยเตอร์ ซึ่งระบุว่าทหารไทยได้รับผลประโยชน์จากการค้ามนุษย์ผู้อพยพทางเรือ
ศาลพิพากษาว่า Alan Morison บรรณาธิการ และชุติมา สีดาเสถียร นักข่าวของสำนักข่าวออนไลน์ภูเก็ตหวาน ไม่มีความผิดตามข้อหาหมิ่นประมาทและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นมาตรการที่ใช้ลงโทษการนำเข้าข้อมูลดิจิตัลอันเป็นเท็จในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลที่สามหรือสาธารณะ
สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ระบุว่า นี่เป็นชัยชนะของเสรีภาพสื่อ และที่สำคัญกว่านั้น ศาลยังระบุว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้ในความผิดหมิ่นประมาทได้ ซึ่งพัฒนาการนี้จะมีนัยสำคัญต่อคดีจำนวนมากที่ถูกฟ้องด้วยกฎหมายนี้
สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ระบุว่า นี่เป็นชัยชนะของเสรีภาพสื่อ และที่สำคัญกว่านั้น ศาลยังระบุว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ไม่สามารถใช้ในความผิดหมิ่นประมาทได้ ซึ่งพัฒนาการนี้จะมีนัยสำคัญต่อคดีจำนวนมากที่ถูกฟ้องด้วยกฎหมายนี้
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ในหัวข้อ "การยกฟ้องคดีต่อนักข่าวภูเก็ตหวานเป็นก้าวย่างเล็กๆ ในทิศทางที่ถูกต้อง" โดยระบุว่า การยกฟ้องคดีต่อนักข่าวสองท่านในไทยในการพิจารณาคดีที่มีการนำบางส่วนของบทความเกี่ยวกับการค้ามนุษย์มาตีพิมพ์ซ้ำ นับเป็นแนวโน้มที่น่ายินดีสำหรับเสรีภาพด้านการแสดงออก แต่อันที่จริงบุคคลทั้งสองไม่ควรต้องเข้ารับการไต่สวนตั้งแต่แรก
Josef Benedict ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า การยกฟ้องคดีต่อผู้สื่อข่าวทั้งสองท่านเป็นคำวินิจฉัยในเชิงบวก แต่อันที่จริงพวกเขาไม่ควรต้องเข้ารับการไต่สวนตั้งแต่แรกหรือเผชิญความเสี่ยงที่อาจถูกจำคุกหลายปี โดยการดำเนินคดีนี้แสดงให้เห็นอีกครั้งถึงการเพิกเฉยต่อเสรีภาพในการแสดงออกทางการไทย
“ข้อบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีลักษณะกำกวม และได้ถูกใช้อย่างมิชอบเพื่อเป็นเครื่องมือปิดปากและคุกคามสื่ออิสระ กฎหมายดังกล่าวประกอบด้วยข้อบัญญัติซึ่งละเมิดสิทธิมนุษยชน และควรได้รับการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยทันที เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ”
“การฟ้องร้องนี้ถือเป็นปฏิบัติการครั้งล่าสุดที่มีมาอย่างยาวนานในการโจมตีเสรีภาพในการแสดงออกและสำนักข่าว นับแต่กองทัพยึดอำนาจเมื่อปี 2557 ทางการไทยต้องยุติการแสดงความสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชนที่ปราศจากความจริงใจ ต้องยกเลิกมาตรการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างมิชอบด้วยกฎหมายโดยทันที รวมทั้งยกเลิกข้อกล่าวหาทางอาญาและบทลงโทษจำคุกต่อนักโทษทางความคิดที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น”
Josef Benedict ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า การยกฟ้องคดีต่อผู้สื่อข่าวทั้งสองท่านเป็นคำวินิจฉัยในเชิงบวก แต่อันที่จริงพวกเขาไม่ควรต้องเข้ารับการไต่สวนตั้งแต่แรกหรือเผชิญความเสี่ยงที่อาจถูกจำคุกหลายปี โดยการดำเนินคดีนี้แสดงให้เห็นอีกครั้งถึงการเพิกเฉยต่อเสรีภาพในการแสดงออกทางการไทย
“ข้อบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีลักษณะกำกวม และได้ถูกใช้อย่างมิชอบเพื่อเป็นเครื่องมือปิดปากและคุกคามสื่ออิสระ กฎหมายดังกล่าวประกอบด้วยข้อบัญญัติซึ่งละเมิดสิทธิมนุษยชน และควรได้รับการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยทันที เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ”
“การฟ้องร้องนี้ถือเป็นปฏิบัติการครั้งล่าสุดที่มีมาอย่างยาวนานในการโจมตีเสรีภาพในการแสดงออกและสำนักข่าว นับแต่กองทัพยึดอำนาจเมื่อปี 2557 ทางการไทยต้องยุติการแสดงความสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชนที่ปราศจากความจริงใจ ต้องยกเลิกมาตรการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างมิชอบด้วยกฎหมายโดยทันที รวมทั้งยกเลิกข้อกล่าวหาทางอาญาและบทลงโทษจำคุกต่อนักโทษทางความคิดที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น”
สำหรับรายงานของรอยเตอร์ที่ภูเก็ตหวานนำมาอ้างอิงนั้น เป็นรายงานพิเศษเรื่องการกดขี่ชาวโรฮิงญา ที่เผยแพร่เมื่อปี 2556 และต่อมา ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ปี 2557