ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554
France 24: เผยรายงานพิเศษ "Red Shirt Killed By Royal Thai Army" | |
รายงานจากสำนักข่าวของฝรั่งเศส ได้สรุปรายงานข่าวการที่ทหารไทย ในรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง โดยใช้หัวข้อว่า "Red Shirt Killed By Royal Thai Army" ทหารได้เข้าสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง และได้ใช้อาวุธสงครามนานาชนิด ที่ใช้กระสุนจริง ภายใต้การสั่งการของรัฐบาลนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ทำให้เกิดการบาดเจ็บกว่า2,000คนและตายกว่าร้อยคน และยังไม่ร่วมนักข่าวกับประชาชนคนเดินถนนที่ต้องตกเป็นเหยื่อกระสุนของฝ่ายรัฐอีกจำน | |
http://redusala.blogspot.com |
คลิป "Joe Gordon" จาก The Guardian UK. | |
A court in Thailand has sentenced a Thai-born American to two-and-a-half years in prison for defaming the country's royal family by translating excerpts of a locally banned biography of the king and posting them online. Joe Gordon, 55, stood calmly with his ankles shackled in an orange prison uniform as the sentence was read out in a Bangkok criminal court. Judge Tawan Rodcharoen said the punishment initially was set at five years behind bars but he reduced it because Gordon pleaded guilty. Gordon posted links to the banned biography of King Bhumibol Adulyadej several years ago while living in Colorado in the US. The case has raised questions about the applicability of Thai law to acts committed by foreigners outside Thailand. Speaking after the verdict, Gordon said: "I am an American citizen and what happened was in America." He said he had no expectation of being let off easy. "This is just the system in Thailand," he said. Speaking later in Thai, he added: "In Thailand they put people in prison even if they don't have proof." Gordon was detained in late May during a visit to Thailand, where he had returned for medical treatment. After being repeatedly denied bail he pleaded guilty in October in hopes of obtaining a lenient sentence. Thailand's lèse-majesté laws are the harshest in the world. People found guilty of insulting the king, queen or heir to the throne face three to 15 years behind bars. The nation's 2007 Computer Crimes Act contains provisions that have enabled prosecutors to increase sentences. Thailand is under pressure both at home and abroad to amend the laws, which critics say are too harsh and have been used for political harassment. The US consul general in Bangkok, Elizabth Pratt, told reporters after the ruling that Washington considered the punishment "severe because he has been sentenced for his right to freedom of expression". New York-based Human Rights Watch has urged authorities to change the laws, saying the penalties being meted out are "shocking". In November, 61-year-old Amphon Tangnoppakul was given a 20-year jail sentence for sending four text messages to a secretary of the former prime minister, Abhisit Vejjajiva. The content of the messages was deemed insulting to the monarchy. The Thai information minister, Anudith Nakornthap, has warned that Facebook users who click the "share" or "like" button on content that insults the Thai monarchy are committing a crime. Anudith said Thai authorities had asked Facebook to remove 86,000 such items between August and November. Gordon, a former car salesman, is accused of having translated excerpts from the unauthorised biography The King Never Smiles, published by Yale University Press, into the Thai language and publishing them in a blog. He provided links to the translation to other two web forums, prosecutors said. In the banned book, author Paul M Handley retraces the king's life, alleging he has been a major stumbling block to the progress of democracy in Thailand by consolidating royal power over his long reign. Bhumibol, the world's longest-reigning monarch, is profoundly revered in Thailand and is widely seen as a stabilising force. Monday was his 84th birthday and he called on the country to unite in response to the worst floods in more than half a century. The king is frail and has stayed at a Bangkok hospital for more than two years. | |
http://redusala.blogspot.com |
สหประชาชาติย้ำ "ไทยใช้ กม.หมิ่นฯรุนแรง-ไม่อาจรับได้" | |
วันที่ 9 ธันวาคม ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ราวินา ชามดาสนี (Ravina Shamdasani) โฆษก ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ออกแถลงการณ์โดยพาดพิง 2 ประเทศ คือประเทศบาห์เรนและไทย ส่วนกรณีประเทศไทยนั้น ทางองค์กรฯมีความเห็นว่าในประเทศไทยนั้นกำลังมีการดำเนินการใช้กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างไม่หยุดยั้งและรุนแรงในคำพิพากษาและมีการละเลยถึงเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) ซึ่งกรณีดังกล่าวนั้นไม่เป็นไปตามหลักที่ประเทศที่ยอมรับสิทธิมนุษยชนพึงกระทำกัน และเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจในประเทศไทยปรับกฏหมายฉบับดังกล่าวให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันขอเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจและโจทก์อย่าให้เกิดการจับกุมหรือการกักขังผู้ต้องหาในกรณีที่คดีมีความคลุมเครือไม่ชัดเจน รวมถึงไม่ควรจะส่งต่อคดีที่ไม่มีมูลหรือขาดความชัดเจนเข้าไปสู่กระบวนการยุติธรรมของศาล ท่าทีครั้งนี้ถือเป็นการ “เสียงแข็ง” จากนานาประเทศครั้งที่ 3 ในรอบไม่ถึงสัปดาห์หลังจากที่ก่อนหน้านี้ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฝ่ายเอเชียตะวันออก แดร์เรจ พาราดิโซ สัปดาห์กดดันเกี่ยวกับกรณีพิพากษา นาย อำพล (สงวนนามสกุล) หรือ “อากง” ต่อคดีการส่ง sms ที่มีข้อความหมิ่นฯและพิพากษาจำคุก 20 ปี ทั้งที่ในคดีมีจุดบกพร่องอยู่หลายจุด และเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม สื่อใหญ่อย่าง CNN ยกให้กรณีการพิพากษา “โจ กอร์ดอน” ลูกครึ่งไทย -อเมริกัน ผู้แปลหนังสือต้องห้าม “The King Never Smiles”ถูกจำคุก 2 ปีครึ่ง เป็นข่าว world headline เหนือข่าวระเบิดพลีชีพในอัฟกานิสถาน ส่วนแถลงการณ์ส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศบาห์เรนนั้นเป็นเรื่องกรณีการสลายการชุมนุมประท้วงภายในประเทศ Acting Spokesperson for the UN High Commissioner for Human Rights: Ravina Shamdasani Location: Geneva Date: 9 December 2011 (1) Bahrain At the request of the Government of Bahrain, the High Commissioner for Human Rights, Navi Pillay, is dispatching a delegation to the country next week, from 13 to 16 December, to discuss how we can support national efforts towards the establishment of an open and democratic society in Bahrain. The four-member delegation will be led by Mr. Bacre Ndiaye, the Director of the Human Rights Council and Special Procedures Division at the UN Human Rights office, and Mr. Frej Fenniche, the Chief of the Middle East and North Africa Section. The delegation looks forward to engaging with the Government, civil society, members of the political opposition and victims of human rights violations in the country. Upon its return, the mission will submit concrete recommendations to the High Commissioner on the way forward. (2) Thailand We are concerned about the ongoing trials and harsh sentencing of people convicted of lèse majesté in Thailand and the chilling effect that this is having on freedom of expression in the country. Such harsh criminal sanctions are neither necessary nor proportionate and violate the country’s international human rights obligations. We urge the Thai authorities to amend the laws on lèse majesté. In the meantime, guidelines should be issued to the police and public prosecutors to stop arresting and charging individuals under these vaguely worded laws. In addition to the disproportionate prison sentences being handed down by the Courts, we are also concerned about the extended periods that accused persons are being held in pre-trial detention. ENDS For more information or media requests, please contact Ravina Shamdasani (+ 41 22 917 9310 / rshamdasani@ohchr.org) or Xabier Celaya (+ 41 22 917 9383 /xcelaya@ohchr.org). ขอขอบคุณ และ | |
http://redusala.blogspot.com |
ม.112 ขัดต่อ *อุดมการณ์ธรรมราชา* | |
http://www.prachatai3.info/journal/2011/12/38183 โดย สุรพศ ทวีศักดิ์ ขอทำความเข้าใจก่อนว่า ผมตระหนักดีว่าการเขียนบทความเชิงตั้งคำถามต่อแนวคิด หรืออุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในบริบทสถานการณ์ปัจจุบันเป็นเรื่องที่ “เสี่ยง” พอสมควร แต่ในฐานะนักวิชาการด้านพุทธศาสนาที่ “กระจอก” คนหนึ่ง ผมถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำเพื่อเป็นส่วนเล็กๆ ของการร่วมต่อสู้ทางความคิดเพื่อให้สังคมเรามีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น คำว่า “อุดมการณ์ธรรมราชา” ในบทความนี้ ผมใช้ในความหมายตามทัศนะของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม (early Buddhism) ที่ถือว่า กษัตริย์เป็น “สมมติราช” ไม่ใช่ “เทวราช” สมมติราชได้อำนาจมาจากฉันทานุมัติของประชาชน ไม่ใช่ได้อำนาจมาจากพระเจ้าเหมือนเทวราช นี่คือแนวคิดของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม แต่กระนั้นก็ตาม กษัตริย์ที่นับถือพุทธศาสนาในอดีตล้วนแต่เป็นกษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตย หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อุดมการณ์สมมติราชหรือธรรมราชาแบบพุทธจึงแทบจะไม่ได้ถูกทำให้เป็นจริง อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบระบอบราชาธิปไตย สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับระบอบประชาธิปไตยที่สถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามอุดมการณ์ประชาธิปไตย 2475 ต้องถือว่า ระบอบหลังมีส่วนเอื้อต่ออุดมการณ์ธรรมราชาแบบกษัตริย์เป็นสมมติราชมากกว่า เพราะสถานะของกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ คือสถานะที่ได้มาจากฉันทานุมัติของประชาชน อุดมการณ์ธรรมราชานั้น ถือว่าพระราชาต้องมีทศพิธราชธรรม จึงจะเป็นพระราชาที่ดี หรือพระราชาผู้ทำหน้าที่ให้ราษฎรมีความยินดี (“ราชา” แปลว่า “ผู้ยังราษฎรให้มีความยินดี”) จะเห็นว่า เงื่อนไขความสัมพันธ์ระหว่างพระราชากับราษฎรไม่ใช่ “สถานะศักดิ์สิทธิ์-ความรัก” แต่เป็น “หน้าที่-ความยินดี” หรือ ความพึงพอใจ ความยินดี (หรือนิยมยินดี) หรือความพึงพอใจกับ “ความรัก” มีระดับความสัมพันธ์กับ “ความมีเหตุผล” ต่างกันอยู่ กล่าวคือ ความมีเหตุผลของราษฎรที่มีความยินดี หรือความพึงพอใจต่อพระราชาย่อมขึ้นอยู่กับการพอใจใน “การทำหน้าที่” ของพระราชาที่ราษฎรสามารถตรวจสอบได้ สามารถที่จะไม่ยินดีหรือไม่พึงพอใจก็ได้ แต่ “ความรัก” ที่สัมพันธ์กับ “สถานะศักดิ์สิทธิ์” มีระดับความเข้มข้นของอารมณ์ความรู้สึกมากกว่า อาจมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้ แม้กระทั้งว่าภายใต้รูปแบบความสัมพันธ์ในนามของ “ความรัก” ระหว่างราษฎรกับพระมหากษัตริย์ ราษฎรอาจไม่มีสิทธิ์ที่จะบอกว่า “ไม่รัก” เป็นต้น หัวใจสำคัญของอุดมการณ์ธรรมราชาอยู่ที่ “ทศพิธราชธรรม” แปลว่า ธรรมของราชา หรือหน้าที่ทางศีลธรรมที่พระราชาพึงยึดถือปฏิบัติ ได้แก่ 1. ทาน (ทานํ)หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย บางคนอาจมองว่าทศพิราชธรรมคือคุณธรรมที่ทำให้คนเป็นคนดีพร้อม บริสุทธิ์ สูงส่งเหนือมนุษย์ หรือเป็นคุณธรรมเกินกว่าคนธรรมดาทั่วไปจะทำตามได้ แต่ที่จริงคือคุณธรรมพื้นฐานของผู้ปกครอง หรือผู้ขันอาสามารับใช้ประชาชนจำเป็นต้องมี หากต้องการเป็นผู้ปกครองที่ประชาชนพึงพอใจหรือให้ความนิยมยินดี ซึ่งคุณสมบัติที่จำเป็นตามทศพิธราชธรรม ก็คือคุณสมบัติพื้นๆ ธรรมดาๆ นี่เอง เช่น มีความเสียสละ ปฏิบัติตามกฎหมาย (อาจตีคความได้ว่า ตามทศพิธราชธรรมข้อ “สีลํ” พระราชาต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย) ซื่อสัตย์ อ่อนน้อม ขยัน ไม่ใช้อารมณ์โกรธในการตัดสินใจ ไม่ใช้อำนาจเบียดเบียนกดขี่ มีความอดทนและมี “ความเที่ยงธรรม” (fairness) เป็นนิสัยจึงจะสามารถอำนวย “ความยุติธรรม” (justice) ตามกฎหมายแก่ราษฎรได้ ซึ่งคุณสมบัติเช่นนี้เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ปกครอง หรือผู้ขันอาสามารับใช้ประชาชน ไม่ว่าจะเรียกตำแหน่งของผู้ปกครองหรือผู้นำนั้นๆ ว่า ราชา นายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดี เป็นต้นก็ตาม จากเนื้อหาของทศพิธราชธรรมดังกล่าว จะเห็นว่าขัดแย้งอย่างมีนัยสำคัญกับกฎหมายหมิ่นฯ ม.112 โดยเฉพาะ ม.112 ขัดต่อทศพิธราชธรรมข้อ 7-10 กล่าวคือ ข้อ 7 “อกฺโกธํ” พระราชาไม่โกรธ แต่ ม.112 ได้สถาปนา “ความโกรธเชิงโครงสร้าง” ทั้งทางกฎหมายและทางวัฒนธรรมขึ้นมา ในทางกฎหมายกำหนดโทษอย่างหนักต่อการกระทำความผิดด้วย “คำพูด” หรือ “ข้อความ” ที่อาจจำคุกตั้ง 10-20 ปี การลงโทษหนักแบบนี้โดยสามัญสำนึกปกติเราจะเรียกว่า “ความยุติธรรม” ไม่ได้ มันคือการลงโทษเพื่อสร้างความกลัวซึ่งมาจากความโกรธ ที่สำคัญแม้พระราชชาอาจไม่ทราบการหมิ่นเอง ไม่ได้โกรธเอง แต่โดยกฎหมายนี้กำหนดให้ใครๆ ก็แจ้งความเอาผิดได้ มันจึงสร้าง “วัฒนธรรมการโกรธแทน” ขึ้นมา จนเกิดปรากฏการณ์ “ล่าแม่มด” และเมื่อลงโทษอย่างหนักแล้วก็ต้องขอพระราชทานอภัยโทษซึ่งเป็นเรื่องที่ย้อนแย้งในตัวเอง (เพราะโทษที่หนักอย่างมากแต่อภัยได้ ฉะนั้น การลงโทษและการอภัยจึงไม่มีความสัมพันธ์อย่างจำเป็นกับ “เหตุผลเรื่องความยุติธรรม”) เราต้องตระหนักตามเป็นจริงว่า รัฐธรรมนูญกำหนดให้ “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ” เมื่อเป็นเช่นนี้ อุดมการณ์หลักของสถาบันกษัตริย์ต้องเป็นอุดมการณ์ “ธรรมราชา” ที่สถานะของพระมหากษัตริย์เป็น “สมมติราช” ไม่ใช่ “เทวราช” สังคมเราจะยอมให้มีกฎหมายที่ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับหลักทศพิธราชธรรมอันเป็นหัวใจของอุดมการณ์ธรรมราชาได้อย่างไร หากเราต้องการ “ปกป้องสถาบัน” อย่างจริงใจ เราควรแก้ไขกฎหมาย หรือสร้างกติกาที่สนับสนุนทศพิธราชธรรมของพระมหากษัตริย์มิใช่หรือ ฉะนั้น ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่อุดมการณ์ธรรมราชาของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นพุทธมามกะ หรือพิจารณาในแง่หลักเสรีภาพ และความเสมอภาคตามระบอบประชาธิปไตย ม.112 สมควรต้องถูกยกเลิก หรือควรปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อปกป้องอุดมการณ์ธรรมราชาและอุดมการณ์สถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ตามเจตนารมณ์แห่งอุดมการณ์ประชาธิปไตย 2475 ให้เป็นจริง! | |
http://redusala.blogspot.com |
สหประชาชาติแถลงข่าวกรุงเจนีวา จี้ทางการไทยแก้ไขกม. หมิ่นฯ | |
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38262 Fri, 2011-12-09 20:51ราวินา แชมดาซานิ รักษาการโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็น (OHCHR) แถลงข่าว ณ กรุงเจนีวา เรียกร้องทางการไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ชี้ บทลงโทษที่ร้ายแรงเป็น "สิ่งที่ไม่จำเป็น" และ "เกินกว่าเหตุ" ระบุส่งผลสะเทือนด้านเสรีภาพในการแสดงออกอย่างร้ายแรง วันนี้ (9 ธ.ค. 54) ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ราวินา แชมดาซานิ (Ravina Shamdasani) รักษาการโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN High Commissioner for Human Rights) ได้แถลงข่าวเรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เนื่องจากมองว่ากฎหมายดังกล่าวส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน Ravina Shamdasani รักษาการโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ที่มาภาพ: เว็บไซต์สหประชาชาติ) การแถลงข่าวครั้งนี้ที่ดำเนินการโดยรักษาการโฆษกของข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มีเนื้อหาว่า ทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ เป็นกังวลต่อการพิจารณาคดีและการลงโทษที่ร้ายแรงด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันในประเทศไทย และผลกระทบของกฎหมายดังกล่าวซึ่งสร้างความหวาดกลัวที่มีต่อเสรีภาพในการแสดงออกภายในประเทศ แชมดาซานิ ระบุว่า บทลงโทษที่ร้ายแรงที่เป็นอยู่ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นและเกินกว่าเหตุ (neither neccessary nor proportionate) อีกทั้งเป็นการละเมิดละเมิดพันธกรณีทางด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี "เราขอเรียกร้องให้ทางการไทยแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และในระหว่างนี้ ควรมีการกำหนดแนวทางการดำเนินการให้แก่ตำรวจและอัยการ เพื่อยุติการจับกุมและดำเนินคดีบุคคลด้วยกฎหมายดังกล่าวที่มีความคลุมเครือ นอกจากนี้ เรายังมีความกังวลต่อการลงโทษที่อย่างเกินกว่าเหตุโดยศาล และการคุมขังผู้ต้องหาซึ่งมีระยะเวลานานต่อเนื่องในช่วงก่อนการไต่สวนคดีด้วย" แชมดาซานิกล่าว ทั้งนี้ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แฟรงค์ ลา รู ผู้ตรวจการพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการแสดงออก ยังได้แถลงข่าวย้ำถึงความจำเป็นของทางการไทยในการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง อนึ่ง ข่าวการตัดสินคดีของนายอำพล หรือ "อากง เอสเอ็มเอส" ที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปีด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจากการถูกกล่าวหาว่าส่งเอสเอ็มเอสหมิ่นเบื้องสูงจำนวน 4 ข้อความไปยังเลขาฯ อดีตนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังถูกรายงานโดยศูนย์ข่าวสหประชาชาติ (UN News Center) ซึ่งอยู่ในข่าวเดียวกับการแถลงข่าวของโฆษกประจำตัวข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติให้แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ด้วย หมายเหตุ: ประชาไทแก้ไขเนื้อข่าวเพิ่มเติมเพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 54 เวลา 23.35 น. | |
http://redusala.blogspot.com |
ยืนหน้าศาล 112 นาที เพื่อ "อากง" และ เหยื่อกฎหมายหมิ่น | |
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38263 เทวฤทธิ์ มณีฉาย นักข่าวพลเมืองสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย นักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม สวมหน้ากาก ส่องไฟฉาย ร่วมยืนไว้อาลัย 112 นาทีต่อกระบวนการยุติธรรม หน้าศาลอาญา ย้ำว่า “เราคืออากง” วันนี้ (9 ธ.ค.54) เวลา 13.00น. ที่บริเวณบาทวิถีหน้าศาลอาญา รัชดา ได้มีกลุ่มคนแต่งชุดดำจำนวนกว่า 112 คน นำโดยเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)และประชาชน ได้ชุมนุม พร้อมทั้งยืนไว้อาลัยต่อกระบวนการยุติธรรม ภายใต้ชื่อกิจกรรม “เราคืออากง” โดยมีจุดเริ่มต้นจากกรณีคดีของนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) วัย 61ปี โดนพิพากษาจำคุก 20 ปี จากการที่ศาลเชื่อว่าได้เป็นผู้ส่ง ข้อความทางโทรศัพท์ที่มีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ‘คดีอากง SMS’ โดยการรณรงค์ยังมีเนื้อหารวมถึงผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือคดีความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้าน นางสาวจิตรา คชเดช ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า “วันนี้ที่เรามาคือเราใช้ชื่อกิจกรรมว่า “เราคืออากง” เราต้องการมายืนโดยสงบเพื่อไว้อาลัยต่อกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเราเริ่มตั้งแต่เห็นว่ามีคนโดนมาตรา 112 (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) เมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้วไม่ว่าจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการจับกุมจนถึงที่สุดแล้วนี่พวกเขาก็ไม่ได้รับการประกันตัว หรือแม้แต่คดีดังที่พวกเราได้ยินกันคือคดีอากงส่ง SMS นี่ถูกศาลลงโทษถึง 20 ปี จากเหตุการณ์เหล่านั้นพวกเราก็เลยคิดว่าควรมายืนไว้อาลัยต่อกระบวนการยุติธรรมเลยเลือกที่นี่เพราะถือว่าเป็นศูนย์กลางของหลายๆอย่าง” ในส่วนของวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมนี้ จิตรา คชเดช กล่าวว่า“กิจกรรมเราในวันนี้คือการยืนไว้อาลัยยืนโดยสงบ 112 นาที ใส่ชุดดำแล้วก็ถือไฟฉายในมือ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าในสังคมที่มืดมิดนี่เราใช้ไฟฉายส่องให้เห็นแสงสว่าง หลังจากนั้นเราจะจบด้วยเพลง “แดนตาราง” เพื่อให้กับทุกๆคนที่ไม่ได้รับความยุติธรรมที่อยู่ในเรือนจำ โดยกิจกรรมนี้ได้นัดแนะกันผ่านทาง facebook” “หลังจากจบกิจกรรมนี้คงมีหลายๆพื้นที่ๆจะทำแบบนี้ ซึงอาจจะมีการจัดเสวนาเกี่ยวกับคำพิพากษา เป้าหมายของกิจกรรมในวันนี้เพื่อต้องการให้สังคมได้ตื่นตัวแล้วได้หันมามองเรื่องกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น” จิตรา กล่าวทิ้งท้าย นายพรชัย ยวนยี เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) ซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้อธิบายเหตุผลของการเข้าร่วมว่า “กรณี อากง มันเป็นเหตุการณ์ที่รับไม่ได้ ซึ่งตัวรูปคดีก็บ่งชี้แล้วว่าศาลไม่สามารถหาความจริงเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งกฎหมายนี่เป็นกฎหมายอาญา ซึ่งถ้าหากเราไม่สามารถหาความจริงได้ต้องปล่อยจำเลย แต่คดีอากงนี่ในด้านแรกคือการตัดสินมันไม่ชอบธรรม ส่วนด้านที่ 2 คือโทษที่ได้รับมันสูงเกินไป คือถ้ามองโทษเหมือนที่นักวิชาการกล่าวคือมันร้ายแรงเท่ากับคดีฆ่าคนตายด้วยซ้ำ ซึ่งทางนักศึกษารู้สึกว่ามันไม่ดีเลยสำหรับการตัดสินของศาล” ทั้งนี้ เลขาธิการ สนนท.ได้เปิดผยว่าได้มีการคุยกันถึงแนวทางการแก้ปัญหาเรื่อง โดยได้มีการเรียกร้องต่อกลุ่มคนทั่วไปแล้วก็กับคนที่มีอำนาจ ว่า “หนึ่งเราต้องมีการปฏิรูปศาล หมายความว่าในด้านที่มาของศาลก็ไม่ได้มีการยึดโยงกับประชาชน ส่วนด้านความชอบธรรมคือ ศาลเลือกที่จะตัดสินโดยที่มองจำเลยว่าเป็นฝ่ายที่ผิดก่อนด้วยซ้ำ ส่วนที่ 2 ในด้านตัวกฎหมายอาญามาตรา 112 มันไม่มีขอบเขตจำกัด อีกทั้งโทษของ 112 มันแรงมาก ไม่มีกฎหมายที่ไหนที่โทษขั้นต่ำ 3 ปี ตนคิดว่าสมควรที่จะต้องยกเลิก โทษขั้นต่ำ 3 ปีคือถ้าทำน้อยกว่านั้นหมายความว่าก็ต้องติด 3 ปีใช่หรือไม่ แล้ว 3 ปีก็ไม่ใช่น้อยๆ ด้านสุดท้ายเราต้องมีการแก้ไข คือ การแก้ไขหมายความว่าเราต้องมีการทำประชามติจากคนทั้งประเทศแล้วเลือกคณะกรรมการมาแก้ไขเหมือนการทำรัฐธรรมนูญ” เลขาธิการ สนนท. ยังได้แสดงท่าทีประณามรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องต่อกรณีดังกล่าวด้วยว่า “อยากประณามในการทำงานของรัฐบาลว่าเมื่อประชาชนเลือกเข้าไปแล้ว แต่ไม่สามารถทำในสิ่งทีประชาชนเรียกร้องไปในการแก้ไขนี้ได้ กลับยิ่งเป็นการเพิ่มโทษขึ้นไปอีก จับคนที่แทบจะไม่ผิดด้วยซ้ำในด้านนี้ เราเลือกท่านไปเพื่อไปทำหน้าที่เพื่อเป็นปากเสียงให้กับประชาชน แต่รัฐบาลไม่สามารถทำได้เลย ท่านเห็นปัญหาของมาตรา 112 อยู่แล้ว ท่านเห็นอะไรทุกๆอย่างของมาตรานี้อยู่แล้ว และ สส.ที่ท่านเลือกไปก็ติดมาตรา 112 หลายคนด้วยซ้ำท่านก็ไม่ทำอะไรด้วยซ้ำ ซึ่งผมคิดว่าผลสุดท้ายก็ไปตกที่ตัวท่านเอง เมื่อท่านเป็นฝ่ายค้านกฎหมายนี้ก็จะไปเล่นงานท่านเหมือนเดิม อย่างที่เล่นงานพวกเราในปัจจุบัน จึงขอแสดงจุดยืนประณามรัฐบาลและเราควรปฏิรูปกฎหมายมาตรา 112 อย่างจริงจังโดยที่ทุกๆฝ่ายมีความเกี่ยวข้องกัน” “ก่อนหน้านี้ทาง สนนท. ได้มีการออกแถลงการณ์ประณามการตัดสินของศาลในกรณีอากง(คลิกเพื่ออ่าน - ฉบับแรกวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 ใน สนนท. แถลงกรณี 'อากง' ชี้รัฐควรยกเลิกมาตรา 112http://prachatai.com/journal/2011/11/38011 ) ส่วนฉบับที่ 2 เป็นการแถลงจุดยืนของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยในการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 (คลิกเพื่ออ่าน - ฉบับที่ 2 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ใน 'สนนท.' ย้ำต้องแก้ไขกม.หมิ่นฯ –ปฏิรูประบบตุลาการ http://prachatai.com/journal/2011/11/38095)โดยต่อจากนี้ทาง สนนท. จะมีการเคลื่อนไหวต่อต้านร่วมกับกลุ่มอื่นๆ ต่อไป” เลขาธิการ สนนท. กล่าวทิ้งท้าย ดร.อนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้ให้เหตุผลในการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ว่า “จริงๆแล้วตนร่วมกิจกรรมรณรงค์คัดค้านมาตรา 112 มานานแล้ว กับอีกกรณีหนึ่งตนรู้สึกว่าตอนนี้มาตรา 112 ถูกเอาไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในลักษณะที่เข้มข้นจนไม่สามารถที่จะปล่อยให้มันผ่านไปง่ายๆได้ เราก็เห็นอย่างกรณี “อากง” ซึ่งยังมีความคลุมเครือในแง่ของการสืบสวนสอบสวน ในแง่ที่ว่าข้อความที่ส่งคือใคร จริงๆแกอาจไม่ได้ส่งด้วยซ้ำ อย่างนี้เป็นต้น ขณะเดียวกันโทษที่มันพวงมา มัน 20 ปี ซึ่งไม่ได้สัดส่วนกับความผิด “แม้กระทั้งกรณีของโจ กอร์ดอน ก็โดน 112 ตอนนี้กลายเป็นว่าด้วยการใช้กฎหมายในลักษณะนี้แล้วก็การตัดสิน คือมันไม่ใช่เฉพาะการใช้กฎหมายอย่างเดียว แต่กระบวนการยุติธรรมในการตัดสินเองมันเดินตามไปอีก คลายๆกับตอบสนองในการเป็นเครื่องมือขงกฎหมายไปแล้ว ที่จริงศาลก็สามารถมีดุลยพินิจได้ใช่มั้ย ไม่ว่าจะอย่างไร แต่ก็เลือกที่จะเดินตามเกมส์นี้ เพราะฉะนั้นมันก็เลยกลายเป็นที่จับตาต่อสาธารณะมาขึ้น ตนคิดว่ามันน่าจะเป็นโอกาสที่ดี ตอนนี้รู้สึกว่าต่างประเทศอย่างเมื่อวานนี้(กรณีโจ กอร์ดอน)ข่าว Top 5 ใน Google นี่ เพราะฉะนั้นกลายเป็นว่า 112 มันกลายเป็นสปอตไลท์แล้ว และผมก็คิดว่าในจังหวะอย่างนี่ล่ะมันน่าจะเป็นคลายๆกับโอกาสทางสังคมการเมืองที่ดีที่ คลายๆกับว่าการเคลื่อนไหวทางสังคมมันจะเป็นที่สนใจของผู้คนด้วย แม้ก่อนหน้านั้นถึงจะไม่มีอันนี้ก็ตั้งใจมาอยู่แล้วเพราะตนคิดว่ากรณีของ อากง ผมคิดว่ามันคลายๆกับความไม่เข้าท่าของกฎหมายฉบับนี้มันมีให้เห็นมากขึ้นแล้ว มันชัดขึ้น ก่อนหน้านั้นมันอาจจะไม่ได้รุนแรงขนาดนี้ ตอนนี้มันชัดขึ้นจึงจำเป็นที่ต้องออกมา” อนุสรณ์ อุณโณ กล่าว เรื่องกระบวนการยุติธรรมและมาตรา 112 อนุสรณ์ อุณโณ ได้เสนอว่า “คงต้องปรับแก้ ในแง่หนึ่งก็ต้องยกเลิกที่มีอยู่ก่อน สองก็คือต้องเสนอกฎหมายใหม่ขึ้นมาว่าจะทำอย่างไร ว่าจะปกป้องสถาบัน ถ้ากฎหมายปกติ กฎหมายหมิ่นประมาทคนทั่วไปปกติมันเอาไม่อยู่ มันจะต้องพัฒนากฎหมายที่เป็นการเฉพาะขึ้นมาอย่างไร ซึ่งจะไม่เป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานที่อารยะประเทศเขาถือกันอยู่ เช่น สิทธิในการแสดงความเห็นอย่างเสรีแล้วก็บริสุทธิใจเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ถ้าเราทำไปในเส้นทางแบบนี้แสดงความคิดเห็นแบบนี้แล้วไปกระทบต่อสถาบันจะมีอย่างไรจะปกป้องกันอย่างไร ผมคิดว่าอาจจะต้องมีการเฉพาะ แต่ถ้าเกิดดฎหมายปกติมันมีอยู่พอแล้วมันก็อาจจะไม่จำเป็นก็ได้ ก็ต้องดูกัน” นายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) หรือ ‘คดีอากง SMS’ อายุ 61 ปี ได้ถูกฟ้องว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยข้อกล่าวหาว่าส่งเอสเอ็มเอสที่มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปยังโทรศัพท์ของเลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และเมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่ผ่านมา ศาลได้พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 14 อนุ 2 และ 3 ลงโทษจำคุก 20 ปี (อ่านรายละเอียดได้ที่ รายงาน: เปิดคำแถลงปิดคดี ‘อากง SMS’ ต่อจิ๊กซอว์จากเบอร์ต้นทางถึงชายแก่ปลายทางhttp://prachatai.com/journal/2011/11/38032) | |
http://redusala.blogspot.com |
ทหารสังคัง VS ทหารโจร!!! | |
ทหารสังคัง VS ทหารโจร!!! วาทตะวัน สุพรรณเภษัช น้ำท่วมคราวนี้ ผมได้เห็นน้ำใจคนไทยที่หลั่งไหลช่วยพี่น้องผองไทยกันเองแล้ว ชื่นใจจริงๆ! ที่ซึ้งใจไม่หายเลย ก็คือ ‘ชาวนครสวรรค์’ ที่ยังเก็บกวาดขยะล้างเมืองจากน้ำที่ท่วมจนมิดหัวยังไม่หมด แต่พวกเขามีน้ำใจล้นเหลือ ได้จัดส่งความช่วยเหลือมาให้พี่น้องชาวจังหวัดอื่น ทั้งที่ยังทุกข์ยากไม่สร่าง เช่น อยุธยา และกรุงเทพฯแล้ว นอกจากนั้น ยังมีพี่น้องจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งชีวิตพวกเขาแม้จะไม่ปกติอยู่แล้ว แต่ยังแสดงออกถึงความงดงามของจิตใจ ว่าเราเป็นคนไทยด้วยกัน อุตส่าห์รวบรวมเงินคนละเล็กละน้อยๆ ส่งมาช่วยคนกรุงเทพฯ น่าสรรเสริญน้ำใจนัก! คนไทยมีเมตตาอย่างนี้ เพราะ ‘พรหมวิหารธรรม’ ของพระพุทธศาสนาโดยแท้ ที่ได้วางรากฐานให้กับสังคมไทย มายาวนานนับพันปี และได้ซึมซับอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยเรา จนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว แม้คนต่างด้าวท้าวต่างแดน หรือศาสนิกอื่น ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ก็ยังรู้สึกได้ถึงเมตตาธรรม ซึ่งมีอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติของเราโดยทั่วกัน ที่ผมเห็นว่าขาดเมตตากำลัง น่าจะเป็นไอ้พวกที่พยายามเขย่าขวัญประชาชน ด้วยการเผยแพร่ข่าวสารอันเป็นเท็จ (อย่างกลุ่ม ‘ไอ้หัวเหม่ง’ สุทธิชัย และกลุ่ม Post to die ที่ฉกฉวยอุทกภัยเป็นโอกาส ในการใช้สื่อกาลีที่อยู่ในอิทธิพลของพวกตน ทั้งทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสังคมออนไลน์ ทั้งตะโกนเขย่าขย่ม และประสานเสียงร้องแรกแหกกระเชอ ให้นายกฯปู ลาออก! แต่...กลุ่มกาลีพวกนี้ดำเนินการไม่ได้โดยง่ายดาย เพราะถูกโต้ตอบฉับพลันทันที ด้วยสื่อของประชาชนผู้รักชาติรักประชาธิปไตย ชนิดแลกกันหมัดต่อหมัด ตีนต่อตีน แต่เวลาผ่านไปก็เป็นที่ประจักษ์ว่า มวลชนที่สนับสนุนรัฐบาลปัจจุบัน ยังหนาแน่น แข็งแกร่ง ที่สำคัญคือ นายกรัฐมนตรีไทยแลนด์ผู้หญิง ที่ชื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้รับเสียงสนับสนุนจากต่างประเทศอย่างล้นหลาม เพราะเป็นรัฐบาลที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่รัฐบาลที่วิ่งราวอำนาจมา เหมือนอย่างไอ้รัฐบาลโลซก จนประชาชนทนไม่ไหว รวมส้นตีนถีบ...จนตกกระป๋องไปแล้ว! หลังการเลือกตั้งเดือน ก.ค.2554 ฝ่ายทหารตระหนักว่า พวกตนนั้นเดินทางผิดมาตลอด เพราะดันโง่เขลาเบาปัญญา หลงไปสนับสนุนพรรคการเมืองดักดาน อันเป็นการสวนทางกับประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ เมื่อพรรคดักดานเข้าครองอำนาจ เรื่องทุจริตคอรัปชั่นของทหารมากมาย ถูกเปิดเผยมาสู่สังคมไทย ไม่ว่าเป็นเรื่อง ‘ไม้ชี้ศพ’ ‘ ‘บอลลูนอัปยศ’ (ที่บินไม่ขึ้น) ‘ยานเกราะยูครวย-กระป๋องทาสี’ ฯลฯ การทุจริตคอรัปชั่นในกองทัพ ล้วนแล้วแต่ทำทหารตัวนายใหญ่ๆ มีภาพพจน์ที่ไม่สู้ดี ในสายตาสื่อพี่น้องประชาชน เพราะพวกเขาวิพากษ์วิจารณ์กัน ว่า “พวกแม่ง ‘แดก’ กันไฟแลบ!” ฟังแล้วน่าสลดใจ!! กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ ชนิดสาหัสสากรรจ์ ทำให้ฝ่ายทหารต้องเสียหายมากเหลือเกิน แต่น่าแปลก ทางฝ่ายการเมืองที่ทหารอุตส่าห์สนับสนุน อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ทั้งยังเป็นผู้ลากไอ้พวกเวรนี้ เข้าไปตั้งรัฐบาลกันในค่ายทหารเอง แต่นักการเมืองกาลีเมื่อได้อำนาจรัฐแล้ว มันกลับไม่ใส่ใจใยดี โดยไม่ได้แสดงการออกมาปกป้องทหารแต่อย่างใด พูดง่ายก็คือ ‘ถีบหัวส่ง’ ทำเหมือนว่า “เรื่องของพวกมึง แก้ไขกันเองแล้วกัน!!” ไม่น่าเชื่อว่า การเลือกตั้งครั้งล่าสุด ทหารยังไม่รู้ตัว ทั้งโง่เขลาและมืดบอด ที่ฟังเสียงความต้องการของประชาชนคนส่วนใหญ่ไม่ออก ยังคงแสดงจุดยืนออกมาชัดเจน ที่จะ สนับสนุนพรรคกาลีต่อไป! แต่... พรรคที่นายทหารผู้บังคับบัญชาสนับสนุน โดยจัดการให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เทคะแนนเสียงให้ นั้น... กลับพ่ายแพ้ย่อยยับไม่เป็นชิ้นดี พรรคที่ทหารไม่สนับสนุน กลับเป็นฝ่ายกำชัยชนะอย่างเด็ดขาดแน่นอน ราษฎรพากัน...ปรบมือให้! ผู้สื่อข่าวสายทหาร ระดับปลาร้า อย่าง วาสนา นาน่วม แห่งบางกอกโพสต์ และ ศิรินรัตน์ บุรินทร์กุล แห่งน.ส.พ.ไทยโพสต์ แสดงความประหลาดใจออกมาชัดเจน แสดงความคิดเห็นออกมาในทำนองว่า การที่พรรคกาลี ที่ทหารสนับสนุน พ่ายแพ้แม้กระทั่งหน่วยเลือกตั้งหน้าค่ายทหารเอง ทำให้ผู้บังคับบัญชาทหารตระหนักกันแล้ว ว่า พวกตนไม่สามารถ สั่งการนายทหารประทวนและทหารเกณฑ์ ลงคะแนนตามที่ “เจ้านาย”สั่งให้เลือก เพราะทหารผู้น้อยเหล่านั้น ล้วนเป็นลูกชาวบ้าน และไม่ได้หวังประโยชน์จากนักการเมือง เหมือนพวกนายทหารใหญ่ทั้งหลาย!! ดังนั้น เมื่อบรรดาผู้บังคับบัญชา รู้ซึ้งถึงความจริงนี้จึงพยายามปลีกตนออกจากพรรคดักดาน ที่ทหารผู้น้อยและชาวบ้านส่วนใหญ่ล้วนปฏิเสธ แต่ก็ดูเหมือนว่าสายเกินไป เพราะผู้คนส่วนใหญ่ เสื่อมความนิยมทหาร พาลเกลียดชังเอาด้วย! การไม่ทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ในการเลือกตั้งนั้น ยังเป็นเรื่องภายในของทหาร แต่การที่ทหารไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นเรื่องที่นานานประเทศ เขาจับจ้องประเทศเราอยู่ เนื่องจากไทยแลนด์แดนสยามนั้น มีชื่อเสียงไม่ดี เรื่องการที่ทหารไทยละเมิดสิทธิมนุษยชน จนเป็นที่รู้กันไปทั่ว ผมเคยเล่าถึงการที่เจ้าหน้าที่ทหารใน ‘ศูนย์วิวัฒน์สันติ’ ของกองทัพภาคที่ 4 ซึ่งทำหน้าที่แบบเดียวกับ “ศูนย์ซักถาม” ของ กอ.รมน.ในอดีตยุคยังมีกฎหมายคอมมิวนิสต์ กระทำต่อราษฎรในพื้นที่ โดยเขียนเอาไว้ว่า ....ได้มีการนำตัวชาวบ้านมารีดเอาข่าว แล้วซ้อมอย่างโหดร้ายด้วยความทารุณผิดมนุษย์ ได้กระจายไปถึงหูขององค์การระหว่างประเทศนี้ จนทำให้เรื่องแดงและแตกออกมาพร้อมพยานหลักฐานชัดเจน ทำให้คนไทยได้รับรู้กัน สื่อในประเทศอย่างหนังสือพิมพ์ ‘โพสต์ทูเดย์’ ถึงกับให้กับฉายาทหารหน่วยนี้ว่า ‘หน่วยทมิฬ’ ส่วนชาวบ้าน ข้าราชการ และคนไทยมุสลิมและตำรวจในพื้นที่ รับรู้เรื่องนี้มาเป็นระยะเวลาพอสมควร และเรียกศูนย์แห่งนี้อย่างตรงไปตรงมา ‘ศูนย์กระทืบสันติ’ ซึ่งเข้าท่าดีจัง เพราะไม่ใช่แต่ชำนาญในการรุมกระทืบชาวบ้าน จนขี้แตกขี้แตนเท่านั้น ยังช่วยกันรุมกระทืบ ความสงบสุขและสันติ จังหวัดชายแดนปักษ์ใต้ ให้พัง...คาตีนไปอีกด้วย! จึงไม่แปลกเลย ถ้าญาติพี่น้องผู้ที่ถูกกระทำ ลุกมาไล่ฆ่าทหาร ล้างแค้นเอาคืนกันบ้าง! พล.ท.วิโรจน์ บัวจรูญ แม่ทัพภาคที่ 4 (ในขณะนั้น) ทนต้องสั่งยุบศูนย์ ‘ศูนย์วิวัฒน์สันติ’ เพราะจำนนต่อหลักฐาน! นอกจากนั้นก็ยังมีอีกหลายกรณี เช่นกรณีตากใบ กรณีอิหม่ามยะผา ฯลฯ ซึ่งรัฐบาลต้องชดใช้ในเรื่องที่ทหารไปละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นจำนวนเงินไม่น้อยเลยทีเดียว ที่สดๆร้อนๆไม่กี่วันนี้ คือกรณี ฮิวแมน ไรต์ส วอทช์ (HRW) องค์กรต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนระดับโลก ซึ่งมีฐานอยู่ที่มหานครนิวยอร์กของสหรัฐฯ ออกโรงเรียกร้องให้รัฐบาลไทย เปิดเผยข้อมูลที่แท้จริง เกี่ยวกับชะตากรรมของผู้อพยพชาวมุสลิมโรฮิงยาจำนวน 92 คน ที่เดินทางมาจากภาคตะวันตกของพม่า หลังมีผู้พบเห็นถูกทหารไทยนำขึ้นรถบรรทุกหายตัวไป ผู้บังคับบัญชาทหาร จะปฏิเสธหรือหาทางแก้ตัวอย่างไรต้องเตรียมการกันให้ดี เพราะตัวเลข 92 นี้ เป็นตัวเลขเดียวกับที่ประชาชนโดนเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือทหาร ฆ่าตายในเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อ ปี พ.ศ.2553 นั่นเอง เรื่องที่กล่าวมา อาจดูเล็กไปทันที เมื่อเทียบกับเรื่องร้ายแรงที่สุด ที่กระทบแวดวงดงทหาร คือ การที่มีหลักฐานชัดเจนว่าทหารไทยจากกองกำลังผาเมือง ร่วมกันปล้นฆ่าลูกเรือชาวจีนในแม่น้ำโขง ไปถึง 13 ศพ นี่แหละ เรื่องใหญ่จริงๆ! มีความพยายามจากกองทัพบก ที่จะบ่ายเบี่ยง จากความรับผิดชอบจากนายทหารตัวดัง แต่ในที่สุด ทางรัฐมนตรีกลาโหม ก็ออกมายอมรับ แต่ไม่ใช่เรื่องที่จบกันง่ายๆ แม้รัฐบาลของนายกฯปูจะพยายามอย่างเต็มที่แล้ว เพื่อไม่ให้กรณีนี้ ต้องกลายเป็นกรณีเพชรซาอุฯ ภาค 2 พูดง่ายๆก็คือ ผู้บังคับบัญชาทหาร ต้องไม่ปกป้องคุ้มครอง “ทหารโจร” หรือ “ทหารชั่ว” เพราะมิฉะนั้น พวกท่านจะกลายเป็น “หัวหน้าโจร” หรือ “ทหารชั่ว” เสียเอง! การที่ทหารไทยมีเรื่องราวที่น่าขายหน้า แพร่หลายไปถึงต่างประเทศ ทำให้เกียรติภูมิทหารไทยตกต่ำลงมาก แต่ที่กระเทือนใจคนไทยมากที่สุดก็คือ การที่ทหารฆ่าฟันประชาชน ชาวไทยด้วยกันเอง เพียงเพื่อต่ออายุให้รัฐบาลกาลี ให้ได้อยู่ต่อไป ท่ามกลางเสียร่ำลือว่า เพื่อแสวงประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น...โง่บรรลัยเลย! เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแล้ว การสอบสวนเพื่อเอาผิดต่อนักการเมือง ผู้สั่งการให้เข่นฆ่าประชาชน นายทหารผู้บังคับบัญชาพึงระลึกว่า ไม่ใช่หน้าที่ของทหารที่จะเข้ามาพูดปกป้องนักการเมืองเหล่านั้น เพราะทหารผู้ฆ่าพี่น้องเพื่อนร่วมชาติด้วยกันเอง ไม่ต้องรับผิดเพราะ พวกเขา...ทำตาม ‘คำสั่ง’ ของนักการเมือง! นอกจากนั้น ผู้บังคับบัญชาทหารไม่ควรเข้าไปแทรกแซงเรื่องการดำเนินคดี ไม่ว่าจะโดยกระบวนการยุติธรรมในบ้านเราเอง หรือจะโดยกระบวนการยุติธรรมระดับโลก เพราะหากผู้เสียหายหาความยุติธรรมในบ้านเราไม่ได้ เขาก็มีสิทธิจะแสวงหาช่องทางอื่น ที่มีความเป็นธรรมมากกว่า เพื่อให้ไขว่คว้าความเป็นธรรม ให้คนที่ฆ่าญาติพี่น้องเขาตาย รับโทษตามกบิลเมืองนั่นเอง (ดูบทความประกอบ ไทยกับกระบวนการ ‘ไม่’ ยุติธรรม อันน่าอับอาย!!! http://www.vattavan.com/detail.php?cont_id=186 “จดหมายฟ้องโลก” http://www.vattavan.com/detail.php?cont_id=187) บ้านเมืองของเรานั้น ‘ความยุติธรรม’ ได้สูญสิ้นไปแล้ว!http://vattavan.com/detail.php?cont_id=205) ท่านผู้อ่าน ที่เคารพครับ เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ นับว่าเป็นคุณกับฝ่ายทหาร เพราะบรรดาทหารผู้น้อย ซึ่งส่วนมากเป็นทหารเกณฑ์ ที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม กลับมาทำให้คะแนนนิยมทหารดีขึ้น เพราะพวกเขาเข้าลุยน้ำกัน วันละหลายชั่วโมง เพื่อช่วยเหลือประชาชน ที่ทุกข์ยากเพราะเหตุน้ำท่วม จนโรคผิวหนังและ ‘สังคัง’ กินแทบจะถ้วนทั่วทุกตัวคน จึงได้รับคำชมเชยว่าบรรดา ‘ทหารสังคัง’ เหล่านี้แหละ...ที่เป็นพระเอกตัวจริง! ทหารตัวนายทั้งหลาย ที่ผัดหน้านวลขาว แต่งเครื่องแบบขัดบราสโซวาววามโก้หรู แต่ไม่เคยรบกับใครเลย นอกจากรบกับประชาชนคนในชาติเดียวกัน หรือทหารที่ทำมาหากิน โดยอาศัยเครื่องแบบ นั้น จงอย่าได้ไปแย่ง ‘ความดีความชอบ’ จากลูกน้อง ไม่เข้าการแน่.... ยืนเฉยๆ ดูลูกน้อง ‘เกาสังคัง’ จะดีกว่านะ!!! ********* (บทความประจำสัปดาห์ ตอน ‘ทหารสังคัง’ VS ‘ทหารโจร’ ออนไลน์วันเสาร์ ที่ 10 ธันวาคม 2554) | |
http://redusala.blogspot.com |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)