วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

สุรภัดิ์ คดี เราจะครองxxx


31 ต.ค. นัดพิพากษา ‘สุรภักดิ์’ โปรแกรมเมอร์โดนข้อหาหมิ่นฯ


สืบพยานโจทก์-จำเลยเสร็จสิ้น ศาลนัดพิพากษาวันที่ 31 ต.ค.55 เวลา 9.00 น. คดี ‘สุรภักดิ์’ โปรแกรมเมอร์วัย 41 ปีถูกกล่าวหาเป็นเจ้าของเฟซบุ๊คเราจะครองxxxx โพสต์ข้อความหมิ่น ผิด ม. 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ‘ประชาไท’ รวบรวมรายงานในประเด็นสำคัญ
20 ก.ย.55 ห้องพิจารณาคดี 804 ศาลอาญารัชดา มีการสืบพยานคดีที่นายสุรภักดิ์ (สงวนนามสกุล) โปรแกรมเมอร์วัย 41 ปี เป็นจำเลยในความผิดตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของเพจเราจะครอง xxxx ในเฟซบุ๊คและโพสต์ข้อความเข้าข่ายความผิด 5 ข้อความ โดยวันนี้เป็นวันสืบพยานนัดสุดท้าย และศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 31 ต.ค.นี้
ทั้งนี้ คำฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของอีเมล์  dorkao@hotmail.com ซึ่งจัดทำเพจในเฟซบุ๊คชื่อว่า “เราจะครองxxxx” และกระทำการโพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิดในวันที่ 4 พ.ค.54, 18 มิ.ย.54, 22 มิ.ย.54, 16 ส.ค.54  ในเฟซบุ๊ค และในวันที่ 2 ก.ย.54 เจ้าหน้าที่ได้จับกุมตัวจำเลย จำเลยถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ถูกจับจนถึงปัจจุบัน รวม 1 ปี 22 วันโดยศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวเพราะเกรงจะหลบหนี

การสืบพยานแบ่งเป็นการสืบพยานโจทก์ ในวันที่ 18, 19, 20 ส่วนวันนี้ (21 ก.ย.) เป็นการสืบพยานจำเลย 2 ปาก คือ ตัวจำเลยและพยานผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าศาลอนุญาตให้ทนายจำเลยนำคอมพิวเตอร์มาประกอบการเบิกความโดยฉายแสดงผ่านโปรเจ็กเตอร์ จำเลยขึ้นเบิกความว่า มีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์ และเป็นเจ้าของบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งรับทำระบบให้กับหลายหน่วยงานทั้งราชการและเอกชน เจ้าหน้าที่เข้าจับกุมตัวจำเลยในวันที่ 2 ก.ย.54 ที่ลานจอดรถอพาร์ตเม้นท์ โดยแสดงหมายค้น จำเลยจึงนำตรวจค้นห้อง อย่างไรก็ตาม จำเลยปฏิเสธข้อกล่าวหาในชั้นสอบสวน ส่วนในชั้นจับกุมในที่เกิดเหตุมีการเซ็นเอกสารยอมรับว่าเป็นเจ้าของเฟซบุ๊คเราจะครองxxxx เพราะคิดว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหมายค้น

จำเลยโต้หลักฐานตำรวจ เชื่อสร้างขึ้นใหม่-เครื่องต่อเน็ตหลังโดนจับ
จำเลยเบิกความต่อในประเด็นหลักฐานเอกสารที่พนักงานสอบสวนนำส่งในคดีนี้ ซึ่งเป็น internet temporary file ที่บ่งบอกว่าจำเลยเป็นเจ้าของเฟซบุ๊คเราจะครองxxxx และเป็นเจ้าของอีเมล์ dorkao@hotmail.com  ซึ่งถูกระบุว่าเป็น user name ของบัญชีเฟซบุ๊คดังกล่าว อย่างละ 1 ไฟล์ ในประเด็นนี้จำเลยยืนยันว่า การใช้เฟซบุ๊คและฮอตเมล์นั้น จะไม่มีการเก็บ temporary file ในเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างแน่นอน เพราะเว็บทั้งสองมีนโยบายไม่ให้เก็บร่องรอยการเข้าใช้ไว้ใน temporary fileด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับการป้องกันไวรัสต่างๆ และมีนโยบายเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน
นอกจากนี้จำเลยยังอธิบายอีกว่า การเกิด cache หรือ temporary file ก็จะต้องเกิดใน partition ที่ตั้งของระบบปฏิบัติการ คือ ไดร์ฟ C แต่หลักฐานระบุว่าเกิดใน ไดร์ฟ E  ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้ และยังปรากฏหลักฐานว่าเครื่องของกลางมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในวันที่ 2 ก.ย.54 เวลาประมาณ 20.00 น. และวันที่ 7 ก.ย.54 เวลาประมาณ 21.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่จำเลยถูกควบคุมตัวแล้วด้วย
จำเลยสรุปว่าเอกสาร source code ที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าได้จากการกู้ temporary file ในเครื่องนั้นน่าจะเป็นสิ่งที่ทำขึ้นมาภายหลัง โดยการเซฟเองจากหน้าเพจที่ต้องการ ทำการแก้ไขดัดแปลงตามต้องการแล้วนำกลับเข้าไปใส่เป็น temporary file ในเครื่อง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์สามารถทำได้โดยง่าย จากนั้นจำเลยได้ทดสอบให้ศาลเห็นตามกล่าวอ้าง และยังแก้ไข source code ให้แสดงผลเป็นวันเวลาย้อนหลังตามที่ต้องการได้ด้วย
ทนายถามถึงทัศนคติทางการเมือง จำเลยเบิกความว่าจำเลยเป็นผู้มีความจงรักภักดี และตระหนักดีว่าสถาบันกษัตริย์อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน พระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจเพื่อพสกนิกรมากมาย ส่วนข้อความที่ปรากฏตามฟ้องนั้นอ่านแล้วรู้สึกแย่มาก และเห็นว่าวิญญูชนย่อมไม่กระทำการดังกล่าว จำเลยยืนยันว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องและเหตุที่มีการดำเนินคดีอาจเป็นเพราะกลุ่มล่าแม่มดมีความเข้าใจผิดแล้วแจ้งเบาะแสให้กับเจ้าหน้าที่ว่าตนเองเป็นผู้กระทำ

ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยชี้กระบวนการตรวจไม่ได้มาตรฐาน
ต่อมาผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลย (ไม่ประสงค์ออกชื่อกับผู้สื่อข่าว-ประชาไท) ซึ่งเป็นอาจารย์สอนด้านวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและการเขียนโปรแกรมให้กับโรงเรียนนายเรือ เบิกความว่าทั้งเฟซบุ๊คและฮอตเมล์มีระบบป้องกันเรื่องความเป็นส่วนตัวของของผู้ใช้ และข้อมูลการใช้งานทั้งหมดจะไปถูกเก็บอยู่ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ของเฟซบุ๊คและฮอตเมล์ จากนั้นผู้เชี่ยวชาญได้ใช้คอมพิวเตอร์แสดงให้ศาลเห็นว่าสามารถตรวจสอบพบคำสั่งดังกล่าวได้ใน source code ส่วน header ของเฟซบุ๊คซึ่งผู้ใช้ทั่วไปมองไม่เห็น
นอกจากนี้ source code ที่ใช้เป็นหลักฐานยังมีลักษณะถูกตัดทอน เลือกแสดงผลบางส่วนเพราะมีลักษณะสั้นมากและพบการดัดแปลงโดยเฉพาะในส่วนที่ทำตัวหนา เพราะ source code จะแสดงผลเป็นตัวอักษรแบบเดียวกันทั้งหมด ในส่วนเอกสารประวัติการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น พบว่ามีความพยามต่ออินเทอร์เน็ต 2 ครั้งในวันที่  2 ก.ย.54 และ 7 ก.ย.54โดยในครั้งที่สองนั้นล้มเหลว แสดงว่ามีการเปิดเครื่องเพื่อเชื่อมต่อ

พยานผู้เชี่ยวชาญขยายความว่า ตามหลักสากลและของไอซีทีเองจะต้องขั้นตอนการก็อปปี้ไฟล์จากฮาร์ดดิสก์ของกลางที่เข้มงวดมาก แล้วเจ้าหน้าที่จะตรวจจากส่วนที่ก็อปปี้ทั้งหมดมาโดยไม่เปิดเครื่องของกลางแต่อย่างใด เพื่อประกันว่าจะไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงต้นฉบับ แต่จากหลักฐานที่ตำรวจนำส่งไม่พบว่ามีกระบวนการดังกล่าวแต่อย่างใด

ตำรวจ ปอท.ระบุได้เบาะแสพร้อมจากประชาชนแจ้ง
ส่วนการสืบพยานโจทก์นั้น วันที่ 20 ก.ย.55 มี 2 ปาก ปากแรกคือ พ.ต.อ.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (ปอท.) เบิกความว่า การกระทำนี้ส่วนหนึ่งเกิดนอกราชอาณาจักรซึ่งอัยการสูงสุดได้มีหนังสือมอบหมายให้ผู้รักษาราชการแทนเป็นพนักงานสอบสวนคดีนี้ ก่อนจับกุมมีการสืบสวนมาตั้งแต่ปลายปี 2553 จนถึงต้นปี 2554 พบว่ามีบุคคลใช้นามแฝง เราจะครองxxxx โพสต์ข้อความหมิ่นฯ ในเฟซบุ๊ค โดยเบื้องต้นนั้นได้รับการแจ้งจากพลเมืองดี ผ่านทางเว็บบอร์ดแจ้งเบาะแสของ ปอท. โดยผู้แจ้งใช้ชื่อว่า มานะชัย แสงสวัสดิ์ แจ้งว่าผู้ใช้เฟซบุ๊คดังกล่าวนี้คือ นายสุรภักดิ์ พร้อมให้ที่อยู่ด้วย หลังจากนั้น นายเฉลิมชัย นักศึกษาราชภัฏจันทเกษมจึงมาร้องทุกข์กล่าวโทษระบุว่า ผู้ใช้นามแฝงเราจะครอง xxxx ในเฟซบุ๊คโพสต์หมิ่น และพิมพ์ข้อความต่างๆ ออกมาเป็นหลักฐาน จึงได้เฝ้าดูพฤติกรรมทางออนไลน์ กระทั่งเข้าตรวจค้นห้องจำเลยในวันที่ 2 ก.ย.54 ซึ่งในขณะจับกุมจำเลยก็ได้เซ็นเขียนลายมือยอมรับว่าเป็นเจ้าของชื่อบัญชีดังกล่าวในเฟซบุ๊คจริง
พ.ต.อ.พิสิษฐ์กล่าวด้วยว่า เมื่อสอบถามถึงมูลเหตุจูงใจ จำเลยรับว่า เชื่อว่าการรัฐประหารเมื่อปี 2549 นั้นสถาบันอยู่เบื้องหลัง จึงทำให้จำเลยโกรธแค้นและโพสต์ข้อความระบายความรู้สึก ซึ่งในเฟซบุ๊คแม้จะเป็นบัญชีส่วนตัวของจำเลยแต่ก็มีเพื่อนอยู่เป็นจำนวนมาก
ส่วนนายโกเมน พิบูลย์โรจน์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เบิกความว่า เหตุที่เจ้าพนักงานกองพิสูจน์หลักฐานตรวจสอบไม่เจอร่องรอยข้อความตามฟ้อง เพราะข้อความที่โพสต์ขึ้นเฟซบุ๊คแล้วจะไม่หลงเหลือในเครื่องผู้ใช้ จากข้อมูลที่กู้ได้และนำส่งสามารถตามเอกสารนั้น สามารถยืนยันได้ว่ามีการใช้อีเมล์ dorkao@hotmail.com ในเครื่องนี้ แต่ไม่ทราบว่าใช้งานอย่างไร มีเนื้อหาอะไร และยืนยันว่าการใช้ฮอตเมล์จะเกิด cache ใน temporary file ของเครื่องได้

กองพิสูจน์หลักฐานยันคอมของกลางเกี่ยวข้องการกระทำผิด
ส่วนวันที่ 19 ก.ย.55 ว่าที่พ.ต.ต.นิติ อิทุลักษณ์ จากงานตรวจพิสูจน์อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง เบิกความว่า ได้รับหนังสือจาก ปอท. ให้ตรวจสอบคอมพิวเตอร์ของกลางที่ทำการยึดมาทั้งโน้ตบุ๊กและแบบตั้งโต๊ะ เพื่อให้ค้นหาว่า มีการใช้งานต่ออินเทอร์เน็ตหรือไม่, มีการใช้อีเมล์dorkao@hotmail.com หรือไม่, มีการใช้งานเฟซบุ๊คชื่อ เราจะครองxxxxหรือไม่, เข้าใช้งานบัญชีชื่อ เราจะครองxxxx ในฐานะเจ้าของหรือไม่ รวมถึงตรวจหาข้อความตามรายการที่ส่งมาซึ่งระบุวันที่และเวลามาด้วยว่ามีหรือไม่ในคอมพิวเตอร์ของกลาง
พนักงานจากกองพิสูจน์หลักฐานเบิกความต่อว่า ได้ตรวจทุกประเด็น โดยตรวจพบประเด็นที่1-4 แต่ตรวจไม่พบในประเด็นสุดท้ายในการค้นหาข้อความตามฟ้อง ซึ่งอาจเป็นเกิดจากตัวระบบของคอมพิวเตอร์เอง หรือการโพสต์ข้อความดังกล่าวไม่ได้กระทำโดยเครื่องของกลาง
พยานอธิบายเพิ่มเติมว่า เจ้าพนักงานได้ทำการกู้ข้อมูลที่ลบไปและตรวจพบ temporary file ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ของเฟซบุ๊คด้วยชื่อดังกล่าว ซึ่งโดยปกติระบบจะเก็บโดยอัตโนมัติ บ่งบอกการเข้าใช้งานจำนวน 1 ครั้ง และไฟล์ที่บ่งบอกว่าเข้าใช้งานฮอตเมล์ในชื่อเมล์ดังกล่าวอีก 1 ครั้งโดยเข้าใช้งานเพียง 3 วินาทีซึ่งถือว่าปกติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทนายจำเลยได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับเครื่องของกลางให้พยานทดลองเข้าเฟซบุ๊คเพื่อดูว่าจะเกิดการเก็บ temporary file โดยระบบได้จริงหรือไม่ ปรากฏผลว่าไม่เกิด temporary file ตามที่เบิกความมา พยานอธิบายว่าอาจเป็นเพราะเพิ่งเข้าใช้งานครั้งเดียว ระบบจึงยังไม่เก็บก็ได้ และการเกิดไฟล์ดังกล่าวสามารถเกิดจากการก็อปปี้มาใส่ไว้ในเครื่องก็ได้ แต่เฉพาะผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่สามารถทำได้

อ่านรายละเอียดคดีสุรภักดิ์ เพิ่มเติมได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/th/case/176#detail

"ธาริต" แถลงข่าวระบุเหตุรุนแรงปี 53 ต่างคนต่างผิดคนละบริบท


"ธาริต" แถลงข่าวระบุเหตุรุนแรงปี 53 ต่างคนต่างผิดคนละบริบท


"ธาริต" แถลงข่าวชี้ความรุนแรงสลายชุมนุมปี 53 เหตุที่เกิดขึ้นมันต่างคนต่างผิดคนละบริบท พ้อถูกด่าทั้งขึ้นทั้งล่อง แฉกลับ "มาร์ค" สั่งให้เคลียร์บิ๊กทหาร หลังผลสอบเสื้อแดงถูกทหารยิง
เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 55 ที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์แนวหน้ารายงานว่าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) เมื่อเวลา 13.00 น. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ แถลงข่าวตอบโต้กรณี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯในฐานะผอ.ศอฉ. ระบุว่าดีเอสไอตั้งธงมุ่งเล่นงาน โดยนายธาริต จะแจ้งข้อหาความผิดฐานก่อให้บุคคลอื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผลนั้น อยากบอกว่า ไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ขณะนี้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอถูกโจมตีมากจนขวัญเสีย เพราะทำงานตรงไปตรงมา เลยถูกกลุ่มคนเกลียดชัง ทั้งฝ่ายเชียร์ นปช.และฝ่ายเชียร์ นายอภิสิทธิ์ กับนายสุเทพ ตลอดจนสื่อมวลชนหลายฉบับ ซึ่งสาธารณชนอาจเข้าใจผิดว่า กระบวนยุติธรรมผิดเพี้ยนเชื่อถือไม่ได้
“ตอนนี้ นายธาริต เดินไปไหนก็ถูกคนเกลียดหมดไม่ว่าฝ่ายไหน วันนี้ต่างคนต่างผิดแล้วกองเชียร์จะเอายังไง จะให้ดีเอสไอบอกว่าเสื้อแดงผิดหมด ฝ่ายบริหารไม่ผิดเลย ส่วนกองเชียร์ ฝ่ายบริหารก็บอกว่า แดงผิดหมด ฝ่ายบริหารไม่ผิด ส่วนฝ่ายแดงบอกว่าฝ่ายบริหารที่มี นายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ ผิดหมด แดงไม่ผิด มันไม่ใช่ บ้านเมืองไม่ใช่อย่างนั้น เหตุที่เกิดขึ้นมันต่างคนต่างผิดคนละบริบท ซึ่งเวลา 2 ปี เมื่อทำให้ข้อเท็จจริงนิ่งก่อน ศาลไต่สวนกรณีนายพัน คำกอง เสียชีวิตออกมาแล้ว คดีนายสุเทพ และนายอภิสิทธิ์ กำลังจะเป็นคดีที่หนึ่ง” นายธาริต กล่าว
อธิบดีดีเอสไอ กล่าวย้อนหลังเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างรุนแรง เมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค. 2553 ทำให้สูญเสียอย่างมากทั้งชีวิตและร่างกาย ทั้งฝ่ายทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งอาจเกิดจากต้นเหตุความผิดของทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่าย นปช.และฝ่ายรัฐ ได้ถูกยกระดับให้เป็นคดีพิเศษ ดังนั้น ดีเอสไอ มีหน้าที่ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดทุกคนและทุกฝ่าย ทั้งนี้ ดีเอสไอ ยืนยันว่า ทำงานตรงไปตรงมา ตั้งแต่ต้น และเข้าทำคดีโดยเสมอภาคทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย นปช. หรือ ศอฉ. ดังจะเห็นได้ว่า ในช่วงรัฐบาลนายกฯอภิสิทธิ์ ทางดีเอสไอ มีบทบาททำให้เหตุการณ์ยุติลงได้ด้วยการจับกุมผู้กระทำผิดกลุ่มฮาร์ดคอร์ของ นปช.จำนวนกว่า 259 คน ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 100 คน ถูกดำเนินคดีอย่างเฉียบขาดและจริงจังในฐานความผิดก่อการร้าย ฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ ฐานกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของราชการทหารอย่างไม่มีละเว้น จนอัยการสั่งฟ้องคดีและศาลก็รับฟ้องคดีไว้พิจารณา
ส่วนคดีฝ่ายรัฐหรือผู้บริหารของศอฉ.นั้น ดีเอสไอก็ได้ทำสำนวนคดีว่ามีการตายของพลเรือนเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐมากน้อยเพียงใดและเพราะเหตุใด แต่เนื่องจากมีขั้นตอนที่เนิ่นนานกว่า เพราะต้องส่งศาลไต่สวนเหตุการตายก่อนว่าเกิดจากฝ่ายรัฐหรือไม่ จึงดูเหมือนว่าที่ผ่านมาดีเอสไอมุ่งเล่นงานแต่พวกฮาร์ดคอร์ของ นปช.
“ตอนนี้ฝ่าย ศอฉ.คนแรกกำลังจะโดนบ้าง ดีเอสไอก็ถูกด่าเสียหายว่า ตั้งธงในการทำคดี รับใบสั่งใครมา หลังจากสัปดาห์ที่แล้วศาลได้มีคำสั่งเป็นศพแรกว่า การตายของนายพัน คำกอง แท็กซี่เสื้อแดง เกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติการตามคำสั่ง ศอฉ.ก็เป็นผลที่ข้อเท็จจริงยุติแล้ว ดีเอสไอ ก็ต้องเดินหน้าต่อตามข้อกฎหมาย ต้นตอก็ต้องมุ่งไปที่ผู้รับผิดชอบออกคำสั่ง ศอฉ. นี่คือการดำเนินคดีแบบเสมอภาค ไม่มีใครอยากฆ่าใครหรอก เมื่อผู้รับผิดชอบฝ่ายรัฐในขณะนั้นคือ ฝ่ายบริหาร ศอฉ.ออกคำสั่งไม่รอบคอบจนอาจเข้าข่ายก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ก็ต้องถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกันกับกลุ่มฮาร์ดคอร์ของ นปช.ทำผิดกฎหมาย” นายธาริตกล่าว
นายธาริต กล่าวอีกว่า ตนขอเปิดเผยความลับว่า ในสมัยท่านอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ดีเอสไอได้ทำสำนวนคดีว่า มีการตายของพลเรือนเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐมากน้อยเพียงใด และเพราะเหตุใด โดยผมได้เข้าไปพบรายงานท่านเองว่า เบื้องต้นพบ 11 ศพแล้วที่เกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐทำให้ตายจะต้องส่งศาลไต่สวน ท่านก็บอกเห็นด้วย และสั่งให้ผมชี้แจงกับฝ่ายทหารด้วย ผมก็ดำเนินการให้สอบสวนก็พบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนขณะนี้ 36 ศพแล้ว
อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า รายงานของ คอป.หน้า193 และหน้า243 ก็ระบุว่า การออกคำสั่ง ศอฉ.บกพร่อง ไม่มีการทบทวนแผนปฎิบัติการ ซึ่งจะต้องมีผู้รับผิดทางอาญา พร้อมกันนี้ อยากถามว่า ทำไมไม่ดูย้อนหลังตั้งแต่ 2 ปี เรื่องมันเกิดขึ้นกลางบ้านกลางเมืองใหญ่โตขนาดนี้ มันโกหกไม่ได้ แต่วันนั้น เรายังชี้ว่าฝ่ายบริหารของ ศอฉ.ผิดไม่ได้ เพราะต้องรอให้ศาลตัดสินเสร็จก่อน ยืนยันตนไม่ได้เปลี่ยนสี ดีเอสไอ ตำรวจ อัยการ ไม่ได้เปลี่ยนสี เราเป็นสีเดียวอยู่แล้วเราคือสีราชการ ขอความเป็นธรรมให้คนของเราที่ทำงานด้วย ขอเน้นย้ำว่า จะแจ้งข้อหาใคร ฐานอะไร ต้องมีมติ 3 ฝ่ายร่วมกันทุกคดี ทั้ง นปช.ท่านอภิสิทธิ์ และท่านสุเทพ เสมอภาคกันแล้ว ทำไมมาผูกกับนายธาริต คนเดียว

คนดีของใคร รัฐประหารของใคร


‘คนดี’ ตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมกับความรับผิดชอบต่อ ‘รัฐประหาร’


"คนดีก็มีที่ยืนเยอะ คนไม่ดีก็ยังมีที่ยืนอยู่ หน้า​ที่ของเราก็คือสร้างคนดี
เบียดคนไม่ดีให้ไม่มีที่ยืน ในชาติบ้านเมืองของเรา"
นี่คือ “วรรคทอง” ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวให้โอวาทในพิธีมอบทุน "มูลนิธิเปรม ติณสูลานนท์” เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า “..สาเหตุที่กระผมต้องนำเรื่องนี้มาพูด เนื่องจากต้องการให้ผู้ที่เป็นแบบอย่างแก่เยาวชนของชาติ ได้ตระหนักและหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างคนดี หากเราที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองช่วยกันพยายามสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ บังเกิดความเข้าใจคุณธรรมจริยธรรมอย่างถ่องแท้ ชาติบ้านเมืองของเราจะไม่มีคนโกง...” (คม ชัด ลึก 16 ก.ย.55)
แม้จะเป็นไปได้ว่าผู้พูดมีเจตนาดีต่อชาติบ้านเมือง (ไม่มีวาระทางการเมืองแอบแฝง?) แต่ในทางข้อเท็จจริงและเหตุผล เราก็ควรตั้งคำถามกับ “วาทกรรมสร้างคนดี-ขจัดคนเลว” อย่างยิ่งว่า ในที่สุดแล้วมันเป็นวาทกรรมที่สร้างปัญหา หรือแก้ปัญหาของระบบสังคมการเมืองตามที่เป็นอยู่กันแน่
ประการแรก พลเอกเปรมถูกยกย่องว่าเป็น “เสาหลักทางจริยธรรม” ของชาติ แต่ “จริยธรรมของชาติ” ตามนิยามของเขาเป็นจริยธรรมตาม “อุดมการณ์ราชาชาตินิยม” ที่ถือว่า “ความดี/การเป็นคนดี หมายถึงการซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ชาติตามนิยามนี้ คือภาวะนามธรรมบางอย่างที่เป็นของศักดิ์สิทธิ์ (ดังที่พลเอกเปรมมักพูดเสมอๆ ว่า “ชาติบ้านเมืองเป็นของศักดิ์สิทธิ์”) ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์นั้นอิงอยู่กับความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์ที่อยู่เหนือการตรวจสอบ ไม่ใช่ชาติตามนิยามของรัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่ถือว่า “ชาติคือประชาชน” ที่มาร่วมกันทำข้อตกลงแบ่งปันสิทธิประโยชน์ต่างๆ ภายใต้กติกาที่สร้างขึ้นบน “หลักความยุติธรรม” ที่ถือว่าทุกคนมีเสรีภาพและมีความเป็นคนเท่ากัน
ฉะนั้น “จริยธรรมของชาติ” ตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมจึงเรียกร้อง “ความจงรักภักดี” ต่อชนชั้นปกครองที่อยู่เหนือการตรวจสอบ ซึ่งตรงกันข้ามกับจริยธรรมของชาติตาม “อุดมการณ์ประชาธิปไตย” ที่เรียกร้อง “การตรวจสอบ” บุคคลที่มีบทบาทสาธารณะทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ตามหลักเสรีภาพ ความเสมอภาค จริยธรรมแห่งสังคมประชาธิปไตยจึงหมายถึงการมีจิตสำนึกและความกล้าหาญในการปกป้องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ ซึ่งเป็นจริยธรรมที่ “เสาหลักทางจริยธรรม” ของประเทศนี้ไม่เคยพูดถึงเลย
ประการที่สอง  ฉะนั้นเมื่อพลเอกเปรมพูดถึง “ความซื่อสัตย์ ไม่โกง”  เขาจึงเน้นไปที่ความซื่อสัตย์ต่ออุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่ใช่ซื่อสัตย์ต่อ “อำนาจของประชาชน” และ “คนโกง” ก็มักจะหมายเฉพาะนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นหลัก ไม่ใช่เครือข่ายอำมาตย์ที่เป็นคนดีมีคุณธรรมตามมาตรฐานจริยธรรมที่ยึดอุดมการณ์ราชาชาตินิยม
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่มีการตั้งคำถามว่า พลเอกเปรมและบรรดาเครือข่ายอำมาตย์ที่เป็นคนดีมีคุณธรรมตามมาตรฐานดังกล่าวซื่อสัตย์ต่อประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อรัฐธรรมนูญห้ามทหารเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ผู้นำกองทัพกลับให้สัมภาษณ์แสดงความเห็นทางการเมืองผ่านสื่อมวลชนอย่างเป็นปกติ เมื่อรัฐธรรมนูญห้ามองคมนตรีเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ประธานองคมนตรีกลับสนับสนุนให้องคมนตรีมาเป็นนายกฯ ของคณะรัฐประหาร 19 กันยา 49 (สุรยุทธ์เป็นคนดีที่สุด) และกล่าวสนับสนุนหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นนายกฯ ของรัฐบาลที่ตั้งในค่ายทหาร (ประเทศไทยโชคดีที่ได้อภิสิทธิ์เป็นนายกฯ) เหล่านี้เป็นต้น ล้วนแสดงให้เห็น ปัญหา “ความไม่ซื่อสัตย์” ต่อ “รัฐธรรมนูญ” และ “ประชาธิปไตย”
จริงอยู่ การที่นักการเมืองโกงงบประมาณแผ่นดินหรือโกงอะไรต่างๆ นั้น ก็เป็นการกระทำที่ผิดหลักจริยธรรมทางการเมือง ผิดหลักการประชาธิปไตย และผิดกฎหมาย แต่การกระทำผิดกฎหมายดังกล่าวนี้ก็เหมือนกับการทำผิดกฎหมายในกรณีอื่นๆ เช่น ทำผิดกฎจราจร ปล้นทรัพย์ ฆ่าคน ฯลฯ ซึ่งด้องแก้ไขด้วยการเอาผิดทางกฎหมายตามกระบวนการยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตย
ไม่ใช่เรื่องที่บรรดาคนดีมีคุณธรรมตามมาตรฐานอุดมการณ์ราชาชาตินิยมจะถืออภิสิทธิ์เข้ามาทำรัฐประหารเพื่อปราบคนโกง เพราะ 1) ประชาชนไม่ได้มีฉันทามติให้ทำเช่นนั้น 2) รัฐประหารเป็นการปล้นอำนาจประชาชน เป็นความไม่ซื่อสัตย์ คดโกงฉ้อฉลอำนาจ สิทธิ เสรีภาพของประชาชน เท่ากับอกตัญญูต่อชาติคือ “ประชาชน” และ 3) ไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าบรรดาคนดีมีคุณธรรมที่รวมหัวกันทำรัฐประหารจะไม่โกง เพราะตรวจสอบไม่ได้
ประการสุดท้าย เมื่อมาตรฐานจริยธรรมแห่งชาติตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมขัดแย้งกับมาตรฐานจริยธรรมประชาธิปไตยใน “ระดับรากฐาน” จึงทำให้บรรดาคนดีมีคุณธรรมตามมาตรฐานดังกล่าวอ้างคุณธรรมความดีละเมิดหลักการประชาธิปไตย เช่น รัฐธรรมนูญห้ามยุ่งการเมือง ก็แสดงความเห็นทางการเมือง สนับสนุนฝ่ายการเมืองอย่างเปิดเผย (และไม่เปิดเผย?) กระทั่งทำรัฐประหารในนามของการอ้าง “คุณธรรมความดี” เพื่อชาติบ้านเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ จึงทำให้ “ที่ยืน” ของ “บรรดาคนดี” อยู่ตรงข้ามกับประชาธิปไตยเสมอ เช่น
- ที่ยืนในตำแหน่งนายกฯ แห่งคณะรัฐประหาร 19 กันยา และบนเขายายเที่ยง (ตามวาทะว่า “สุรยุทธ์เป็นคนดีที่สุด”)
- ที่ยืนในตำแหน่งนายกฯ อำมาตย์อุ้ม และบนกองศพประชาชน (ตามวาทะว่า “ประเทศไทยโชคดีที่ได้อภิสิทธิ์เป็นนายกฯ”)
ฯลฯ
แน่นอนว่า ความเสียหายของชาติบ้านเมืองส่วนหนึ่งเกิดจากนักการเมืองโกงงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นจะต้องถูกตรวจสอบ และถูกดำเนินการตามกฎหมายด้วยกระบวนการยุติธรรมภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
แต่คำถามที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ แล้วบรรดาคนดีมีคุณธรรมที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อรัฐธรรมนูญ ปล้นอำนาจของประชาชน ทำรัฐประหารล้มล้างประชาธิปไตยครั้งแล้วครั้งเล่าล่ะ จะต้องรับผิดชอบทางกฎหมายอย่างไร? สังคมควรยอมรับการอ้างความเป็นคนดีมีคุณธรรมเพื่ออยู่เหนือ/ละเมิดรัฐธรรมนูญ และฉีกรัฐธรรม ล้มประชาธิปไตยซ้ำซากเช่นนี้ ตลอดไปหรือ?

ชายชุดเขียว กะชายชุดดำ


เฉลยแล้ว!!! ภาพ "ชายชุดดำ" ที่ "น้องเดียร์" โพสต์ว่อนเน็ต เป็นอย่างไรไปชมกัน...

เผยภาพชุด "เจ้าหน้าที่" ยืนคู่ "ชายชุดดำ" ว่อนเน็ท ที่น้องเดียร์-ขัตติยา สวัสดิผล โพสต์ลิงค์ล่าสุด เป็นอย่างไรไปชมกัน...















ข้อมูลเพิ่มเติม
Mthai News - ชายชุดดำคือทหารดี ๆนี้เอง
http://talk.mthai.com/topic/351804
ชายชุดดำพวกนี้อาแดงกูไม่รู้จักโว้ย!!!! 
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=427751683928027&set=a.114703855232813.7702.100000795977928&type=1&theater
ภาพ "เจ้าหน้าที่" ยืนคู่กับ "ชายชุดดำ" คอป.เห็นหรือยัง?
http://www.thaifreenews.net/2012/09/blog-post_3801.html

การ์ดพันธมิตรฯ นั่งคุมบอร์ด คอป.


ชาวเน็ท รุมสวด คอป. หลังภาพหลุดยืนยัน การ์ดพันธมิตรฯ นั่งคุมบอร์ด

20 กันยายน 2555 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจำนวนมากต่างแสดงความไม่พอใจการทำงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. และต่างโพสต์ลิงค์ แชร์ และส่งต่อเว็บไซท์สยามลิีกส์ ที่ระบุว่า ตะลึง !!! “การ์ดพันธมิตรฯ – น้องรักสุริยะใส” นั่ง “อนุฯ คอป.” คุม สอบ “สลายการชุมนุม” http://www.siamleaks.com/top-news/2012/497.html ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจในโลกออนไลน์ขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง


ทั้งนี้ในเว็บไซท์ดังกล่าว ยังอ้างอิง คำสั่ง คอป.ที่ 7/2553 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตรวจสอบและค้นหาความจริงเฉพาะกรณี โดยระบุชื่อของ นายเมธา มาสขาว และ นายชัยวัฒน์ ตรีวิทยา ซึ่งระบุว่าเป็นผู้ที่มีความสนิทและเป็นบุคคลใกล้ชิดกับ นายสุริยะใส กตะศิลา แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยแสดงภาพถ่ายหลักฐานยืนยันว่า เว็บไซท์ ASTV-ผู้จัดการ ได้เคยเผยแพร่ภาพข่าวของการ์ดพันธมิตรฯที่เป็นชื่อและรูปของบุคคลดังกล่าว

นอกจากนี้ ในเว็บไซท์สยามลิีกส์ ยังระบุว่า นายสมชาย หอมลออ กรรมการ คอป. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง ก็มีความใกล้ชิดกับ พลตรีจำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เช่นกัน

ทั้งนี้ เว็บไซท์ "สยามลีกส์" ได้โพสต์ภาพถ่ายเพิ่มเติมดังนี้


 หลักฐานยืนยัน นายชัยวัฒน์ ตรีวิทยา เป็นหนึ่งในบอร์ด คอป.

หลักฐานยืนยัน นายชัยวัฒน์ ตรีวิทยา หนึ่งในบอร์ด คอป. เป็นการ์ดพันธมิตรฯ

ที่มา สยามลีกส์
http://www.siamleaks.com/top-news/2012/497.html

"สยามสแควร์" จม! หลังฝนกระหน่ำแค่ 1 ชั่วโมง


"สยามสแควร์" จม! หลังฝนกระหน่ำแค่ 1 ชั่วโมง

ดินแดง

หน้านึกทิปโก้

รัชดาภิเษก

รัชดา ห้วยขวาง
หน้ามาบุญครอง

สยามสแควร์

สยามสแควร์

ใต้โรงหนังลิโด้

แยกดินแดง ประชาอุทิศ


ฟ้าฝนหน้าสยามพารากอน
go6TV (20 กันยายน 2555) หลังจากฝนตกทั่วกรุงเทพมหานครในช่วงหัวค่ำที่ผ่านมา ล่าสุดแหล่งท่องเที่ยววัยรุ่นกลางกรุงเทพฯนาม "สยามสแควร์" ก็จมน้ำอย่างสมบูรณ์ แม่ค้าตามร้านค้าต่างๆ ขนย้ายเสื้อผ้า สินค้าหนีน้ำอย่างอลม่าน โดยระดับน้ำ มีตั้งแต่ระดับ 15 ซม. ถึง 30 ซม. โดยแม่ค้าจำนวนมากต่างบ่นถึงระบบการระบายน้ำของกรุงเทพมหานครว่าไม่มีประสิทธิภาพเหมือนที่เคยพูดเอาไว้

ขอขอบคุณภาพ

@HOLLATUANG  @GAPPHARD  @KHEKAZEJIN  NEWSMANIA

2 แสนนัดฆ่าเสื้อแดงกลางเมือง


เอกสารทหารรั่ว! ศอฉ.ใช้กระสุนจริงเกือบ 2 แสนนัดฆ่าเสื้อแดงกลางเมือง

ข้อความของวาสนา นาน่วม

go6TV (21 กันยายน 2555)  เอกสารลับล่าสุด แฉ  ศอฉ. ใช้ "กระสุนจริงกว่า 2 แสนนัด" ยิงเสื้อแดงกลางเมือง  โดยนักข่าวสายทหาร  วาสนา นาน่วม เจ้าของผลงาน "ลับลวงเลือด"  ชี้จำนวนกระสุนที่ ศอฉ. ใช้ปราบเสื้อแดงน้ั้น  คลาดเคลื่อนจากที่เคยสำรวจเมื่อปีก่อน ซึ่งนับได้แค่แสนนัดเศษ   

ไอดีทวิตเตอร์ของวาสนา นาน่วม  @Wassana Nanuam: ได้ระบุข้อความ ไว้ในทวิตเตอร์ส่วนตัวดังนี้

"กระสุนศอฉ.53....รายงานที่คอป.อาจยังไม่เคยเห็น...ทบ.สรุปรายงานยอดกระสุนที่ใช้สลายม็อบแดง 191,949 นัด แม้จะพยายามหามาคืนให้มากที่สุดแล้วก็ตาม   เผย พล.อ.ประยุทธ์เร่งสรุป ให้ตัวเลขน่าพอใจ และยอมรับได้ แต่อ้างใช้กระสุนซุ่มยิง sniper หลายแบบ แต่ที่เป็น sniperจริงๆของหน่วยรบพิเศษ รวมใช้500 นัด /แต่ปืนซุ่มยิงดัดแปลง M1 ใช้ไป 4,842นัด....ทบ.เพิ่งสรุปยอดกระสุนที่ใช้ไปในตอน ศอฉ.สลายเสื้อแดง 2553 ได้ เมื่อไม่กี่วันมานี้ ทั้งๆที่ผ่านมา ปีทบ.แจ้งให้หน่วยที่เบิกจ่ายไปส่งคืน ครั้งแรก ตัวเลขกระสุนสูงปริ๊ด จนไม่กล้าสรุป ทบ.ให้เวลาหน่วยไปหากระสุนมาคืนคลังให้ได้มากที่สุด จนมีการส่งคืนครั้งที่ แล้วสรุปออกมาว่า มีการเบิกจ่ายกระสุนไป ชนิด รวม778,750 นัด และมีการส่งยอดคืน จำนวน586,801 นัด สรุปใช้ไปจำนวน 191,949นัด แม้ตัวเลขรวมจะมากกว่ารายงานของ คอป. แต่ยอดกระสุนสไนเปอร์จริงๆรวม 500 นัด ..โดยรายงานนี้จะนำเสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์ ผบ.ทบ. หลังกลับจากเยือนอินโดนีเซียศุกร์นี้ (21กย.)" 

เอกสารลับหน้าแรก 

เอกสารลับหน้าที่สอง
แฉบอร์ดคอป. “เมธา-ชัยวัฒน์” การ์ดพันธมิตรฯฉาว 
ร่วมหิ้วหางแกนนำเหลือง บินทัวร์นอก
go6TV (22 กันยายน 2555) - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังมีข้อมูลเปิดเผยในเว็บไซด์ http://www.siamleaks.com ระบุว่า “นายเมธา มาสขาว” และ “นายชัยวัฒน์ ตรีวิทยา” ที่เป็นคณะอนุกรรมการของ คอป. เป็นนักเคลื่อนไหวที่มีความใกล้ชิดกับ “นายสุริยะใส กตะศิลา” แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และถูกผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจำนวนมากวิพากษ์วิจารณ์ความไม่เหมาะสมอย่างเผ็ดร้อน โดยเฉพาะในรายของ “นายชัยวัฒน์ ตรีวิทยา” นั้นเป็นถึง "หัวหน้าการ์ด" หลังเวทีการชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งต่อมา “นายเมธา” ออกมาแก้ตัวโดยแถว่ามีความใกล้ชิดกับทั้ง “แกนนำพันธมิตรฯ” และ “แกนนำคนเสื้อแดง” นั้น

ล่าสุด ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจำนวนมกาตรวจสอบพบว่า “นายเมธา” และ “นายชัยวัฒน์” ไม่เพียงแค่สนิทสนมกับนายสุริยะใส เท่านั้น แต่ยังสนิทสนมกับ “แกนนำพันธมิตรฯ” และ “เครือข่ายพันธมิตรฯ”  อีกหลายคน

โดย “นายกะเต” คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เคยเขียนลงในคอลัมน์ “โฟกัสนักเคลื่อนไหว” ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ข้อความว่า

"เมธา" หิ้วหาง "แกนนำพันธมิตรฯ" ทัวร์นอก
ออก​เดินทาง​ไปทัวร์อียิปต์  10  วัน  ตั้ง​แต่วัน​เสาร์ สำหรับพันธมิตรประชาชน​เพื่อประชาธิป​ไตย สาย​เอ็นจี​โอ  นำทีม​โดย  พิภพ ธง​ไชย, สมศักดิ์ ​โกศัยสุข, สุริยะ​ใส กตะศิลา, นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์, สุริยันต์  ทองหนู​เอียด  ​และ บรรจง  นะ​แส  กลับมา​ก็​โน่น  9  กุมภาพันธ์  ​ไป​เจอะ​เจออะ​ไรกันมาบ้าง คง​ได้​เล่าสู่กันฟังทาง​เอ​เอสทีวี​แหละ  ​แม่ยกพันธมิตรฯ อด​ใจรอสักหน่อย...๐  งานนี้มีนักธุรกิจประชาธิป​ไตยอย่าง  ปรีดา  ​เตียสุวรรณ​เจ้าของธุรกิจจิว​เวลรี่ส่งออก  ​เป็น​โต้​โผ​ใน​การจัดหาสถานที่พัก-ท่อง​เที่ยว  ว่ากันว่า  "พี่ปรีดา"  จะพา​เพื่อนพ้องน้องพี่​เหล่านี้​ไป​เปิดหู​เปิดตาศึกษางาน​การ​เคลื่อน​ ไหวของต่างประ​เทศปีละครั้ง ​จึง​เป็นอะ​ไรที่ตื่น​เต้นน่าดู  ​โดย​เฉพาะ  "หมี"  สุริยันต์  ทองหนู​เอียด นานทีปีหนจะ​ได้​ไปนอกกับ​เขาสักที  ​เพราะ​เวลาส่วน​ใหญ่ต้องดู​แล  "น้ำพริก-ภูชิช์"  ลูกชายวัยกำลังซนที่​เชียง​ใหม่...๐  ​แต่ที่​เกินหน้า​เกินตาพรรคพวก​ไปหน่อย  ​เห็นจะหนี​ไม่พ้น  ​เมธา มาสขาว ​และหวาน​ใจ  กชวรรณ  ชัยบุตร  ​เพราะ​ทั้งสองควงคู่บิน​ไปนอก​เป็นว่า​เล่น  จนพรรคพวกชอบ​แย่​เป็นประจำว่า  บิน​ไป  "ดูงาน"  ​หรือ  "ฮันนีมูน"  กัน​แน่  ล่าสุด​ทั้งสอง​ก็ควงกัน​ไปที่  "​เม็กซิ​โก" ​โดยมี  "ต่อ"  ชัยวัฒน์  ต่อวิทยา  ร่วมบิน​ไปด้วย  กลับมา​เมื่อ​ไหร่นายกะ​เตจะกระซิบถาม  "ต่อ" ​ให้​เพื่อ​ความกระจ่าง​เสียทีว่า ตกลงหวาน​ใจ​ทั้งสอง​ไปดูงาน​หรือ​ไปฮันนีมูน  ฮะฮ่า...๐”

ซึ่งชัดเจนว่า “นายเมธา” ขณะนั้นคือ “หวานใจ” ของ “กชวรรณ ชัยบุตร” อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ที่ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ บ่อยครั้ง ช่วงปี 

ค.อ.ป-รวย


 โถ ค.อ.ป-รวย

     ใบตองแห้ง จาก VoiceTV

            อ่านรายงานฉบับเต็มของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)  แล้วผมก็อุทานออกมาอย่างช่วยไม่ได้ว่า “โถ ค.อ.ป-รวย” (ก็ใช้เงินไปตั้ง 65 ล้านบาท เหลือ 11 ล้านบาท ฮิฮิ)
 
             ที่โวยอย่างนี้ไม่ได้บอกว่ารายงานฉบับนี้เป็นเท็จ หรือบิดเบือนเสียทั้งหมด ตรงข้าม รายงานบางส่วนสรุปความจริงได้ค่อนข้างกระจ่างแจ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อ 2.3 ข้อค้นพบเฉพาะกรณีในการตรวจสอบเหตุการณ์ความรุนแรงในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้ชุมนุมเกือบทั้งหมดเสียชีวิตเพราะกระสุนที่ยิงมาจากทางฝ่ายทหาร
 
              แต่ปัญหาอยู่ที่การนำเอาความจริงดังกล่าวมาตีความ โดยละเลยความรับผิดชอบของรัฐบาล และ ศอฉ.ผู้ออกคำสั่ง “ขอคืนพื้นที่” และ “กระชับพื้นที่”
 
              รายงานบางส่วนเหมือนจะ “ดูดี” เช่น กล่าวถึงสาเหตุของปัญหา โดยวิพากษ์วิจารณ์หลักนิติธรรมตั้งแต่คดีซุกหุ้นมาจนถึงรัฐประหารตุลาการภิวัตน์ แต่มีคำถามว่าเหตุใด จึงให้น้ำหนักกับคดีซุกหุ้น คดีฆ่าตัดตอน มากกว่ารัฐประหาร และการตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน ซึ่งตามมาด้วยการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร ทำให้มวลชนเสื้อแดงโกรธแค้นเพราะถูกปล้นอำนาจ จึงลุกฮือ
 
               ยิ่งกว่านั้น ส่วนที่ชวนให้ร้อง “ป-รวย” ที่สุดคือ เหตุใด อ.คณิต ณ นคร จึงหันมาเรียกร้องให้ทักษิณ “วางมือ” แต่ผู้เดียว เหตุใด อ.คณิตจึงไม่เรียกร้อง “ชนชั้นนำ” อีกฝ่าย ตุลาการ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ ตลอดจนพรรคประชาธิปัตย์ และพันธมิตรฯ ให้ “วางมือ” หรือ “ลดราวาศอก” ลงบ้าง
 
               ย้ำว่านี่เป็นความเห็นส่วนตัว อ.คณิตนะครับ ไม่อยู่ในรายงาน แถมยังขัดกับรายงานที่พยายามชี้ว่า “ผิดทั้งคู่” แต่ประธาน คอป.เอามาแถลงขโมยซีน มันจึงเป็นอะไรที่ “ป-รวย” มาก
 
1.ความจริงเรื่องชายชุดดำ
 
               ผมไม่เคยตะแบงเรื่องชายชุดดำ เพราะเขียนมาตั้งแต่หลังเหตุการณ์แล้วว่าชายชุดดำมีจริงในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน ส่วนช่วงระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม ก็มี “กองกำลัง” คุ้มกันเส้นทางขนส่งเสบียงเข้าสู่ม็อบที่บ่อนไก่ ผมเคยระบุด้วยซ้ำไปว่า นอกจากกลุ่มมือยิงเอ็ม 79 ที่ถูกมองว่าเป็นลูกน้องเสธแดง รอบๆ ม็อบยังมีมาเฟียทหารนอกราชการ นักเลงในสังกัดเจ้าพ่อย่านประตูน้ำ ซึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องคละกันไปแต่ละเหตุการณ์ (แต่ใครจะเป็นชายชุดดำในเหตุการณ์ไหนก็ไม่สามารถยืนยันได้)
 
            ฉะนั้นผมจึงเห็นว่า รายงานของ คอป.ข้อ 2.3 ที่สื่อเอาไปตีปี๊บว่า “ชายชุดดำมีจริง” นั้นกลับเป็นตรงกันข้าม เพราะรายงาน คอป.ส่วนที่มาจากการพิสูจน์หลักฐานและงานนิติวิทยาศาสตร์ ระบุชัดเจนว่า “ชายชุดดำ” ไม่ได้ยิงใส่มวลชนเสื้อแดง แม้แต่ในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน ที่พรรคประชาธิปัตย์และ ศอฉ.กล่าวหาว่า “ชายชุดดำ” เป็นผู้ยิงใส่ทั้งสองฝ่าย คอป.ก็ชี้ว่าผู้ชุมนุมเสียชีวิตจากกระสุนที่ยิงมาจากฝ่ายทหารต่างหาก ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นก็ถูกทหารยิง
 
             เหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผู้สื่อข่าวอิตาลีเสียชีวิต คอป.ก็ระบุว่ายิงมาจากทางทหาร เช่นเดียวกับการลอบสังหารเสธแดงประเดิมปฏิบัติการ “กระชับพื้นที่” ก็ยิงมาจากตึกสูงที่ทหารควบคุม หรือพลทหารที่ถูกยิงเสียชีวิตที่อนุสรณ์สถาน คอป.ก็ชี้ว่าฝ่ายเดียวกันเข้าใจผิด
 
              คอป.ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจาก “ชายชุดดำ”  9 คนเท่านั้นคือ ทหาร 6 คน ตำรวจ 2 คน และประชาชนกลุ่มคนรักสีลม 1 คน เกือบทั้งหมดมาจากการยิงเอ็ม 79 ยกเว้นกลุ่ม พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม 4 คนที่ระบุว่าเสียชีวิตเพราะระเบิดมือเอ็ม 67
 
              แม้อันที่จริงจะรู้สึกว่า คอป.รวบรัดไปหน่อยในการสรุปว่าผู้ขว้าง เอ็ม 67 คือ “ชายชุดดำ” (ซึ่งเห็นอยู่คนละด้าน) แต่ถ้าถือข้อสรุปอันนี้ก็แปลว่าผู้ชุมนุมเกือบทั้งหมดจากที่เหลือ 83 ศพ เสียชีวิตจากการยิงของทหาร (คอป.ระบุว่ามีบางศพเสียชีวิตจากกระสุน .22 แม็กนั่มที่ทหารไม่มีใช้ แต่ก็สงสัยว่าอาจเป็นชาวชุมชนบ่อนไก่ที่ไม่พอใจผู้ชุมนุม)
 
              ฉะนั้นที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่าทหารไม่ได้ยิงใคร หรือที่พรรคประชาธิปัตย์พยายามกล่าวอ้างว่า ผู้ชุมนุมเสียชีวิตเพราะชายชุดดำ “ยิงกันเอง” จึงถูกจับเท็จด้วยรายงาน คอป.ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ตั้งมานี่เอง
 
             รายงาน คอป.ชี้ชัดว่า ผู้เสียชีวิต 8 รายที่เสียชีวิตที่สี่แยกคอกวัว 5 รายที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา และช่างภาพญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 10 เมษายน ผู้เสียชีวิต 22 รายที่บริเวณศาลาแดง สีลม บ่อนไก่ 20 รายที่ถนนราชปรารภ ดินแดง อนุสาวรีย์ชัย ระหว่างวันที่ 13 ถึง 18 พฤษภาคม และผู้เสียชีวิต  4 ศพบนเส้นทางกระชับพื้นที่ถนนราชดำริ พร้อมช่างภาพอิตาลี และ 6 ศพที่วัดปทุม เกือบทั้งหมดถูกยิงโดยกระสุนสงครามที่วิถีกระสุนมาจากฝ่ายทหาร
 
              แม้กรณี 6 ศพที่วัดปทุมจะอ้างว่ามีการต่อสู้ ตั้งข้อสงสัยว่า 2 ใน 6 เป็นผู้ใช้อาวุธยิงต่อสู้ทหาร (ซึ่งรายละเอียดคงมีผู้ถกเถียงต่อไป) แต่รายงาน คอป.ก็ชี้ว่า 3 ใน 6 คือ “น้องเกด” นายอัครเดช ขันแก้ว นายมงคล เข็มทอง ถูกยิงระหว่างจะเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บ
 
              นอกจากนี้ คอป.ยังวิเคราะห์ภาพถ่ายทหารยิงปืนที่บ่อนไก่ โดยผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศชี้ชัดว่าไม่ใช่กระสุนยาง แต่เป็นกระสุนจริง
 
              ผมจึงเห็นว่ารายงาน คอป.ข้อ 2.3 สรุปความจริงในภาพรวมได้ชัดเจนว่า ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ถูกทหารยิง แม้อาจมีข้อโต้แย้งเฉพาะกรณี แต่ปัญหาอยู่ที่ คอป.เอาข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ต่ออย่างไร
 
2.ยอมรับการตัดสินใจของ ศอฉ.?
 
               ปัญหาคือ จากข้อเท็จจริงในข้อ 2.3 คอป.จงใจตอกย้ำข้อ 2.4 “พฤติการณ์ของคนชุดดำที่ใช้ความรุนแรงและอาวุธสงคราม โดยปรากฏตัวอยู่ในพื้นที่ชุมนุม” ทั้งที่เนื้อความก็มีอยู่ในข้อ 2.3 แล้ว เมื่ออ่านทั้งสองข้อเชื่อมกัน รู้สึกได้ว่า คอป.พยายามบอกว่าถ้าไม่มี “ชายชุดดำ” เข้ามาช่วย ผู้ชุมนุมก็คงไม่ตายมากขนาดนี้
 
             เช่น กรณีที่สี่แยกคอกวัว หรือหน้า ร.ร.สตรีวิทยา ถ้าชายชุดดำไม่ยิงใส่ทหาร ทหารก็คงไม่ยิงใส่ผู้ชุมนุม ถ้า พล.ต.วลิต โรจนภักดี ไม่บาดเจ็บ พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ไม่เสียชีวิต ทหารก็คงไม่สับสนจนยิงประชาชนตาย
 
             สรุปว่าชายชุดดำไม่ได้ยิงเสื้อแดงหรอก แต่เข้ามาปะปนทำให้ทหารยิงเสื้อแดง (เป็นงั้นไป)
 
             ที่จริงผมก็เข้าใจได้นะ ทหารก็ปุถุชน มีความกลัว มีความตกใจ โดนยิงใส่ก็ยิงตอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเพื่อนตาย นายตาย แต่การยิงใส่บริเวณที่มีผู้ชุมนุมหนาแน่น เพียงเพราะเห็น “ชายชุดดำ” ถืออาวุธอยู่ไม่กี่คน คอป.จะโทษว่าเพราะเมริงนั่นแหละ ชายชุดดำ เมริงผิด อย่างนั้นหรือ
 
              หรือในการกระชับพื้นที่ราชประสงค์ คอป.ก็พยายามบ่งบอกว่า เพราะชายชุดดำทำให้ทหารชุลมุน สับสน หวาดกลัว จนยิงคนชุดแดงตายเป็นเบือ (ที่บ่อนไก่ถ้าไม่เผายางรถยนต์จนทัศนวิสัยมืดมัว ทหารก็คงไม่ยิงผิด)
 
              ถามว่าเหตุการณ์ระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม มีคนเห็นชายชุดดำชัดเจนที่ไหนบ้าง โอเค ที่บ่อนไก่ นั่นออกมาดวลกับทหารซึ่งหน้าเลย (พื้นที่ตรงนี้เชื่อกันว่าเป็นมาเฟียทหารนอกราชการ) นอกนั้นก็มีผู้ที่ซุ่มยิงเอ็ม 79 ออกมาจากสวนลุมพินี และผู้ที่ยิงเอ็ม 79 ประปรายทางราชปรารภ ดินแดง
 
              แต่ถ้าดูรายงานข้อ 2.3.9 การเสียชีวิตที่ศาลาแดง สวนลุม บ่อนไก่ และ 2.3.10 การเสียชีวิตที่ราชปรารภ ดินแดง แม้อ้างคำบอกเล่ามีคนเห็นชายชุดดำ แต่ตอนที่ผู้ชุมนุมถูกยิงเสียชีวิต ก็ไม่ได้มีชายชุดดำอยู่ใกล้ๆ เลยนี่ครับ เช่น รายงานการเสียชีวิตของนายชาติชาย ซาเหลา, การเสียชีวิตของนายกิตติพันธ์ ขันทอง, นายบุญทิ้ง ปานศิลา, นายสมาพันธุ์ ศรีเทพ, นายอำพล ชื่นศรี, นายชาญณรงค์ พลศรีลา, นายอุทัย อรอินทร์ บนถนนราชปรารภ คอป.ก็ชี้ว่าทิศทางยิงมาจากทหาร โดยไม่ได้บอกว่ามีชายชุดดำอยู่ในหมู่ผู้ชุมนุมเหมือนวันที่ 10 เมษายน
 
              เช่นเดียวกับการเสียชีวิตของนายธันวา วงศ์ศิริ, น.ส.สัญธนา สรรพศรี, นายมนูญ ท่าลาด, นายชาญณรงค์ พลศรีลา และช่างภาพเนชั่นถูกยิงบาดเจ็บ ก็ยืนยันว่าทหารยิง โดยไม่ได้มีชายชุดดำอยู่แถวนั้น
 
              หรือท่านจะโทษว่าเป็นความผิดของชายชุดดำที่ทำให้ทหารประสาทแดกซ์ เห็นอะไรไหวๆ ยิงหมด
 
              โอเค ผมเห็นด้วยว่าถ้าทหารเข้าขอคืนพื้นที่ หรือกระชับพื้นที่ แล้ว นปช.ไม่ต่อต้าน นั่งพับเพียบให้จับ ก็คงไม่มีใครตาย แต่ไม่แน่ใจว่าถ้า นปช.ต่อต้าน โดยไม่มีชายชุดดำ มีแต่บั้งไฟ ระเบิดปิงปอง หรือปืนสั้น แล้วจะไม่มีใครตายจริงหรือ
 
               อย่าลืมว่าก่อนชายชุดดำโผล่มาในตอนค่ำวันที่ 10 เมษายน มีผู้ชุมนุมตายไปแล้ว 1 ราย คือนายเกรียงไกร คำน้อย ทหารใช้รถสายพานหุ้มเกราะปิดล้อมถนนราชดำเนิน ใช้ ฮ.ทิ้งแก๊สน้ำตา
 
              เหตุใดจึงไม่ย้อนคิดบ้างว่าถึงไม่มีชายชุดดำ การตัดสินใจใช้กำลังทหารขอคืนพื้นที่ หรือกระชับพื้นที่ มันก็นำมาซึ่งความรุนแรงอยู่แล้ว อย่าสรุปง่ายๆ เพียงว่าเพราะปี 2552 ไม่มีชายชุดดำจึงไม่รุนแรง การปะทะกันของทั้งสองฝ่ายในปี 2553 ต่างยกระดับขึ้น อาทิเช่น มวลชนเสื้อแดงมีการจัดตั้งกันล้อมปลดอาวุธทหาร ทำให้ทหารเองก็หันมาใช้ทั้งโล่ กระบอง อาวุธกระสุนจริง
 
               คอป.ไม่ได้วิเคราะห์วิจารณ์ตรงนี้เลย ว่าการตัดสินใจเข้าสลายการชุมนุมที่ผ่านฟ้า ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ การตัดสินใจกระชับพื้นที่ราชประสงค์ สมควรแก่เหตุหรือไม่
 
               คอป.ตกประเด็นใหญ่ จึงเขียนรายงานเสมือนยอมรับว่าการตัดสินใจของ ศอฉ.ถูกต้องชอบธรรมแล้ว
 
              ถ้าเราย้อนลำดับเหตุการณ์ นปช.ชุมนุมที่ผ่านฟ้าตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม แล้วแยกไปยึดราชประสงค์วันที่ 3 เมษายน รัฐบาลซึ่งยอมให้ชุมนุมที่ผ่านฟ้ามาตลอดประกาศว่าการชุมนุมที่ราชประสงค์ผิดกฎหมาย ถัดมาวันที่ 7 เมษายน อริสมันต์นำม็อบปิดล้อมรัฐสภา มีบางส่วนบุกเข้าไปข้างใน รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทันที แม้การกระทำของอริสมันต์และแกนนำไร้สติชุดนี้ ถูกคัดค้านและประณามจากแกนนำอื่นๆ รวมทั้ง พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาในขณะนั้น
 
              ศอฉ.ประกาศปิดพิเพิลแชนเนล ซึ่ง คอป.ระบุว่า สมาคมนักข่าวฯ เองก็ยังคัดค้าน (จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ฮิฮิ) วันที่ 9 เมษายน นปช.หมื่นกว่าคนบุกไทยคม ปลดอาวุธทหารด้วยสองมือเปล่า แต่มอบอาวุธคืนทั้งหมด (ซึ่งต่างจากเหตุการณ์วันรุ่งขึ้น ที่ นปช.ไม่ยอมมอบอาวุธคืน จะเพราะอะไร ก็ไม่มีใครวิเคราะห์ อาจเป็นได้ว่า เป็น นปช.กลุ่มที่คุมไม่อยู่ หรือเป็นเพราะมวลชนตระหนักว่าจะถูกล้อมปราบแล้วก็คิดเอาอาวุธไว้ต่อสู้)
 
              นั่นเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของ นปช.ซึ่งทำให้รัฐบาล “เสียหน้า” จำได้ไหมคืนนั้น อภิสิทธิ์ออกทีวี แสดงท่าทีแข็งกร้าว ทำนองว่าจะ “เอาคืน” แล้ววันรุ่งขึ้น ศอฉ.ก็ส่งทหารออกมาจากกองทัพภาคที่ 1 ขอคืนพื้นที่ผ่านฟ้า ทั้งที่ปัญหาอยู่ที่ราชประสงค์
 
             ข้ามมาที่การกระชับพื้นที่ วันที่ 13-19 พฤษภาคม ก่อนหน้านั้นวันที่ 4 พฤษภาคม ภายหลังการเจรจา แกนนำ นปช. ยอมรับแผนปรองดองของรัฐบาล ซึ่งตกลงจะยุบสภาเลือกตั้งใหม่วันที่ 15 พฤศจิกายน แต่แกนนำ นปช.แตกกันเอง วีระ มุสิกพงศ์ ถอนตัว  วันที่ 10 พฤษภาคม แกนนำที่เหลือตั้งแง่ ให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ มอบตัวด้วย วันที่ 11 นายสุเทพไปมอบตัวที่ดีเอสไอ แต่ นปช.ไม่ยอม ให้ไปมอบตัวที่กองปราบ แล้วก็แถลงในช่วงเย็นพาลไม่ยอมรับเงื่อนไข
 
              วันรุ่งขึ้น ศอฉ.ประกาศตัดน้ำตัดไฟ ปิดเส้นทางเข้าออกทันที แล้ววันที่ 13 ก็ประกาศปิดล้อมพื้นที่อย่างสมบูรณ์ แล้วค่ำวันเดียวกันเวลา 19.00 น.เสธแดงก็ถูกสังหารเป็นประเดิม
 
              ถามว่าการเจรจาสามารถดำเนินต่อไปได้หรือไม่ การแก้ปัญหาการเมืองด้วยการเมือง ยังทำได้หรือไม่ ผมไม่ได้บอกว่า นปช.ถูก เพราะตอนนั้นผมก็เรียกร้องว่าควรยุติการชุมนุม นักวิชาการนักประชาธิปไตยที่เคยสนับสนุน ก็เรียกร้องให้ยุติการชุมนุม กระแสการเมืองในขณะนั้น หลังจากบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ หลังพลิกกลับไม่ยอมรับแผนปรองดองของรัฐบาล นปช.ซึ่งเหลือกำลังเพียงไม่กี่พันคน ก็ “พ่ายแพ้ทางการเมือง” โดยสิ้นเชิงแล้ว หากรัฐบาลขึงพืดต่อไปอีกไม่เกิน 7 วัน นปช.ก็ต้องยอมยุติม็อบ
 
              แต่เหตุใด ศอฉ.จึงตัดสินใจใช้กำลัง (และอย่าลืมว่าระหว่างที่เจรจา ศอฉ.ก็ประดังทั้งผังล้มเจ้า ข้อหาก่อการร้าย โดยไปขอหมายจับแกนนำฐานก่อการร้าย วันเดียวกับที่ นปช.ยอมรับแผนปรองดอง)
 
              การสังหารเสธแดงเป็นดาบสองคม ในทางยุทธวิธีทหาร อาจมองว่าไม่มีเสธแดงเสียคน การกระชับพื้นที่คงง่ายขึ้นเยอะ แต่ในทางการเมือง เสธแดงเป็นที่รักของมวลชน จึงทำให้เกิดความโกรธแค้น ตอบโต้ และมองว่ารัฐบาลกำลังจะใช้ความรุนแรงเข่นฆ่าพวกเขา
 
3.ศอฉ.ไม่ผิด ทหารผิด
 
             ในข้อ 2.6 “การใช้กำลังและอาวุธในการควบคุมฝูงชนและการสลายการชุมนุม” คอป.อุตส่าห์ตีตารางเปรียบเทียบคำสั่ง ศอฉ. กับการปฏิบัติที่แตกต่างจากมาตรฐาน ซึ่งสรุปได้ว่า ทหารไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้ใช้กำลังเพียงเพื่อระงับยับยั้งเหตุเท่านั้น ศอฉ.ให้แยกแยะผู้กระทำความผิด แต่ทหารกลับใช้กระสุนจริงยิงในแนวระนาบที่มีผู้ชุมนุมอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุมเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนานมาก โดยผลการชันสูตรศพ ไม่พบว่าผู้เสียชีวิตมีอาวุธหรือเป็นภัยร้ายแรง
 
             นี่รวมทั้งกรณีใช้ปืนยิงรถตู้ ทำให้นายพัน คำกอง เสียชีวิต ซึ่งศาลชี้แล้วว่าเสียชีวิตจากปฏิบัติการของทหาร
 
             แต่ คอป.สรุปเพียงว่าเมื่อ ศอฉ.มอบหมายภารกิจให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการแล้ว ไม่มีการติดตามตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติ นอกจากการรายงานตามลำดับชั้น ทั้งที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานเกือบสองเดือน ระบบข่าวกรองทหารไม่มีส่วนสนับสนุนการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ ต้องหาข่าวเอง ซึ่งบางครั้งก็ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
 
             บลาๆๆ ฟังเหมือนดีแต่แปลว่า ศอฉ.แค่บกพร่องฐานประมาทเลินเล่อเท่านั้น (ขับรถประมาททำให้คนตาย 92 ศพ รอลงอาญา)  ซึ่งผมเห็นว่าไม่ใช่ การที่ ศอฉ.อนุญาตให้ใช้กระสุนจริง ให้มีพลแม่นปืนซุ่มยิง (ไม่ใช่สไนเปอร์) ให้ยิงได้เมื่อเห็น “ชายชุดดำ” ให้ใช้ปืนลูกซองยิงต่ำ เมื่อมวลชนบุกเข้าหา ฯลฯ แล้วสั่งให้ทหารเข้าไปสลายการชุมนุม เป็นคำสั่งที่เล็งเห็นผลได้ว่า ในสถานการณ์ตึงเครียด สับสน ในช่วงเวลากลางคืน ในภาวะอารมณ์ที่อาจโกรธแค้น หวาดกลัว ฯลฯ ทหารก็อาจเห็นผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธ หรือมีแต่ไม่ใช่อาวุธร้ายแรง กลายเป็น “ชายชุดดำ” ไปได้
 
               เช่นกรณีนายชาติชาย ซาเหลา ที่ถูกยิงระหว่างถ่ายกล้องวีดิโอในเวลากลางคืน หรือแม้แต่กรณีที่ทหารยิงกันเองตรงอนุสรณ์สถาน (จำได้ไหมตอนนั้นสื่อโจมตีกระหน่ำว่า นปช.ยิง)
 
              การออกคำสั่งเช่นนี้ผู้รับผิดชอบ ศอฉ.ทั้งฝ่ายทหาร ฝ่ายการเมือง จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะคุณเล็งเห็นผลอยู่แล้วว่าจะทำให้มีคนตาย แต่กลับเลือกใช้กำลังโดยออกคำสั่งปลายเปิด ให้อำนาจตัดสินใจกว้างเมื่อเห็นว่าตัวเองจะมีอันตรายจากชายชุดดำ ผลก็คือ ไม่มีชายชุดดำตายซักคน มีแต่ชาวบ้านตาย
 
4.ลืมบริบท 2 มาตรฐาน
 
              ข้อ 2.5 “ข้อค้นพบเกี่ยวกับพฤติการณ์การชุมนุมฯ” คอป.พยายามชี้ว่าการชุมนุม นปช.ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ตำหนิตั้งแต่การเทเลือดว่ามีผลทางจิตวิทยาให้ผู้คนหวาดกลัว เป็นสัญลักษณ์ความรุนแรง และสร้างความกังวลต่อการจัดการด้านสาธารณสุขที่ต้องป้องกันไม่ให้เลือดไหลเข้าสู่ระบบน้ำสาธารณะ (เลือดสกปรก!)
 
               คอป.ตำหนิการชุมนุมที่ตั้งการ์ดของตัวเอง ตรวจค้นอาวุธ ควบคุมตัวและทำร้ายเจ้าหน้าที่ ตำหนิการปราศรัยของแกนนำที่มีเนื้อหาส่งเสริมความรุนแรง (ให้พื้นที่ยืดยาว และชี้ว่าผิดกฎหมายอาญาด้วย) จากนั้นก็ระบุว่า นปช.ใช้ความรุนแรงในการบุกไปสถานที่ต่างๆ เช่น บุกรัฐสภา บุกไทยคม (คอป.ชี้ว่าแสดงพฤติกรรมเหยียดหยามศักดิ์ศรีเจ้าหน้าที่ทหาร คือให้คุกเข่า ปลดอาวธ ยกมือไหว้ราษฎร) กรณีวันที่ 10 เมษายน คอป.ก็ชี้ว่า มีพฤติการณ์ใช้ความรุนแรง ต่อสู้ขัดขวาง และประทุษร้ายเจ้าหน้าที่
 
              “เมื่อเจ้าหน้าที่ทหารพร้อมโล่ กระบอง แก๊สน้ำตา อาวุธปืนลูกซอง และปืนเล็กกล เข้ามาสลายการชุมนุม... มีผู้ชุมนุมจำนวนมากได้เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ โดยใช้สิ่งเทียมอาวุธและอาวุธประดิษฐ์ เช่น ระเบิดเพลิง เข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหาร บางคนใช้อาวุธมีดและปืนไม่ทราบชนิด” (รายงานหน้า 168)
 
              เมื่อมีผู้เสียชีวิตแล้ว เวทีปราศรัยยังยั่วยุให้ผู้ชุมนุมระดมเข้าไปช่วยผู้ชุมนุมในจุดปะทะ โดยแกนนำไม่ได้ห้ามไม่ได้บอกให้ผู้ชุมนุมถอย
 
              พี่น้องเอ๊ย แบบนี้แปลว่าถ้าทหารตำรวจจะเข้ามาสลายการชุมนุม เราก็ไม่ควรต่อสู้ขัดขวาง ปล่อยให้เขายึดทำเนียบยึดสนามบินคืนแต่โดยดี
 
              ใช่-พี่น้องเอ๊ย ผมกำลังจะบอกว่า รายงาน คอป.ไม่ได้กล่าวถึงพฤติการณ์ของพันธมิตรเลย พฤติการณ์ที่ใช้ความรุนแรงบุกยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน ปิดล้อมหน้ารัฐสภา ครั้นถูกตำรวจสลายการชุมนุมโดยปืนยิงแก๊สน้ำตาซึ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บสาหัสและมีผู้เสียชีวิต (ที่จนบัดนี้ก็ยังถกเถียงกันว่าใช่แก๊สน้ำตาหรือเปล่า) พันธมิตรก็ขับรถชนตำรวจ (รอลงอาญา) ผู้ติดบัตรการ์ดพันธมิตรใช้ปืนยิงตำรวจ (บอกว่าเป็นบัตรหมดอายุ ไม่ใช่การ์ดตัวจริง)
 
              เปล่า ผมไม่ได้บอกว่าพันธมิตรทำได้ นปช.ก็ทำได้ หรือ นปช.ทำถูกแล้ว ผมเห็นด้วยว่านี่ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบ นี่เป็นการชุมนุมที่มีผู้ยั่วยุให้เกิดความรุนแรง แต่ถ้าไม่กล่าวถึงการชุมนุมของพันธมิตรเป็นบริบท ก็เท่ากับตัดตอนประวัติศาสตร์ เพราะการก่อตัวเป็นเสื้อแดง เกิดหลังพันธมิตรปิดล้อมรัฐสภา คนเสื้อแดงล้นหลามไปร่วมรายการความจริงวันนี้ที่เมืองทองธานี ด้วยความคับแค้นโกรธเกรี้ยวต่อกระแสสังคม 2 มาตรฐาน ชนชั้นนำ สื่อ นักวิชาการ บุคคลสาธารณะ (รวมทั้งบางคนที่เข้ามาเป็นกรรมการ คอป.) ให้การปกป้องพันธมิตร การชุมนุมของ นปช.จึงเป็นปฏิกิริยาเลียนแบบสะท้อนกลับ มาตั้งแต่ปี 2552 แล้ว
 
              คอป.ต้องถามตัวเองด้วยว่า ถ้าเห็นว่าคำสั่งสลายการชุมนุมของ ศอฉ.ถูกต้อง ชอบธรรม เหมาะสม ย้อนอดีตไปแป๊บๆ คอป.จะสนับสนุนให้รัฐบาลสมัคร สมชาย ใช้ทหารสลายม็อบยึดหน้ารัฐสภา ยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน หรือไม่ (ขี้เกียจขุดแถลงการณ์เก่าๆ ขึ้นมาประจาน ใครมั่งที่โวยวายจะเป็นจะตายทั้งที่ปี 51 ตำรวจใช้ปืนยิงแก๊สน้ำตา แต่ปี 53 ทหารใช้กระสุนจริง)
 
              ย้ำว่าผมไม่ได้บอกว่าการเคลื่อนไหวของ นปช.เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญตามวิถีประชาธิปไตย แต่หาก คอป.จะสรุปเช่นนั้นก็ควรย้อนวิพากษ์การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ควบคู่เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน เพื่อเตือนสติสังคมไปพร้อมกัน
 
              นอกจากนี้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ปรากฏว่าพันธมิตรลอยนวล แต่มวลชนเสื้อแดงติดคุกระนาว แค่เข้าร่วมการชุมนุมก็ติดคุก 6 เดือนฐานฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน บางคนถูกยิงบาดเจ็บนอนโรงพยาบาลยังถูกล่ามตรวน
 
              คอป.ไม่ได้กล่าวถึงความอยุติธรรมในแง่นี้ให้ชัดเจน มีสรุปสั้นๆ แต่ไม่ชี้ให้เห็นภาพการกวาดจับมวลชนหลายร้อยคน ตั้งข้อกล่าวหาเกินเลยไม่ให้ความยุติธรรม ไม่ให้ประกันตัว ถูกเลือกปฏิบัติ อยู่ในฐานะผู้ด้อยโอกาสในการสู้คดี เพราะสถานการณ์หลังวันที่ 19 พฤษภาคม แกนนำถูกจับ หรือหนี เครือข่ายแตกกระสานซ่านเซ็น ศอฉ.ใช้อำนาจกึ่งเผด็จการ ปิดกั้นสื่อ กาง “ผังล้มเจ้า” กวาดจับผู้คนไปทั่ว สร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว แม้แต่เด็กชูป้ายเห็นคนตายที่ราชประสงค์ ก็ยังถูกจับ
 
5.ข้อเสนอเนียนๆ
 
               ในส่วนรากเหง้าของปัญหาและข้อเสนอแนะ คอป.แถลงออกมา “ดูดี” คือโทษทั้งสองฝ่าย ทั้งการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐบาลทักษิณ และรัฐประหารตุลาการภิวัตน์ แถมใช้คำใหญ่อย่าง “กลุ่มทุนใหม่” “กลุ่มทุนเก่า” “แนวคิดแบบเสรีนิยมและแนวคิดความเป็นพลเมือง” ตรงข้ามกับ “วัฒนธรรมแบบไพร่ฟ้า” “ประชาชนระดับรากหญ้า” ขัดแย้งกับ “ชนชั้นนำ”
 
              โอ้ ท่านยังเสนอให้แก้มาตรา 112 ด้วยนะครับ ก้าวหน้าสุดๆ
 
              แต่อ่านไปอ่านมาก็ไม่แน่ใจว่า คอป.สรุปดี หรือทำให้ตัวเอง “ดูดี” กันแน่ เพราะพูดแบบ “เพลย์เซฟ” บางเรื่องก็ใจไม่ถึงจริง แถมทัศนะยังเป๋ไปเป๋มา
 
              คอป.พูดถึงรากเหง้าของปัญหา ย้อนตั้งแต่คดีซุกหุ้นทักษิณว่า “หักดิบกฎหมาย” ไม่ผิดหรอกครับ ผมก็เห็นว่าคดีซุกหุ้นมีการช่วยเหลือกัน (โดยชนชั้นนำเองนั่นแหละช่วยทักษิณ) แต่อ่านทั้งหมดแล้วผมรู้สึกว่า คอป.ให้น้ำหนักกับเรื่องนี้มากกว่าการวิพากษ์รัฐประหาร ซึ่งเป็นการล้มล้างอำนาจอธิปไตย ล้มกฎหมายสูงสุด ล้มระบอบ ไม่ใช่แค่หักดิบ คอป.ให้น้ำหนักกับคดีซุกหุ้นมากกว่าการใช้อำนาจตุลาการเข้ามาจัดการความขัดแย้งทางการเมือง ใช้องค์กรอิสระเปลี่ยนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
 
               ถ้าบอกว่าทักษิณผิด เพราะใช้ระบอบประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือ ในการใช้อำนาจโดยมิชอบ แสวงผลประโยชน์ รัฐประหารตุลาการภิวัตน์ก็ผิดยิ่งกว่า เพราะไปล้มล้างระบอบ และบิดเบือนอำนาจจนไม่ยึดโยงกับประชาชน ปัญหามันจึงยุ่งเหยิง แก้ไขไม่ได้ จนเกิดความขัดแย้งรุนแรง นองเลือด อย่างที่เห็น
 
               คอป.ให้พื้นที่อย่างมากเพื่อวิพากษ์คดีซุกหุ้น ขณะที่พูดถึงรัฐประหารตุลาการภิวัตน์เพียงผ่านๆ พูดถึงคดียุบพรรคไทยรักไทย คดีสมัครทำกับข้าว คดียุบพรรคพลังประชาชน ในเชิงอรรถ พูดถึงการตั้ง คตส.มาเอาผิดทักษิณ แต่ไม่ยักพูดถึงคำพิพากษา “ไม่ทุจริตแต่ติดคุก” ไม่ยักพูดถึงคำพิพากษา “ได้ประโยชน์ไม่สมควรต้องยึดทรัพย์” ทั้งที่เป็นคดีสำคัญกระทบความเชื่อมั่นในหลักนิติธรรม
 
               ลองไปอ่านกันดูในข้อ 3.3 จะเห็นว่า คอป.เอาปัญหาในยุคทักษิณและยุครัฐประหารมาปนกันมั่วหมด แทนที่จะชี้ชัดเป็นขั้นตอนว่าฝ่ายหนึ่งได้อำนาจมาตามระบอบประชาธิปไตยแล้วเหลิงอำนาจ อีกฝ่ายหนึ่งก็ล้มประชาธิปไตยเสียเลย ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ถ่ายโอนอำนาจไปให้ตุลาการกุมอำนาจอธิปไตยเหนือประชาชน
 
               เช่น 3.3.3.4 ความเคลือบแคลงในหลักนิติธรรม ท่านพูดถึงคดีซุกหุ้น แล้วข้ามมารัฐประหารออกประกาศ คปค.เพิ่มโทษกรรมการบริหารพรรคย้อนหลัง ตั้ง คตส. และมาตรา 309 จากนั้นก็วกไปฆ่าตัดตอน การแทรกแซงองค์กรอิสระ ผลประโยชน์ทับซ้อน พรก.ฉุกเฉินที่ออกในยุคทักษิณ แล้วก็การที่นักกฎหมายยอมรับประกาศคณะปฏิวัติเป็นกฎหมาย
 
               3.3.3.5 เป็นเรื่องตุลาการภิวัตน์ 3.3.3.6 เป็นเรื่องแทรกแซงองค์กรอิสระ (ยุคทักษิณ) โดยไม่แยกแยะว่าการแทรกแซงองค์กรอิสระเป็นปัญหาโครงสร้างในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่รัดกุมพอ แต่ตุลาการภิวัตน์ขัดหลักประชาธิปไตยไปเลย
 
               อ่านแล้วรู้สึกยังกะท่านจับฉ่าย เอาบทวิพากษ์ทั้งสองฝ่าย ที่น่าจะหยิบยืมมาจากที่โน่นที่นี่ใส่ๆ เข้าไป แต่มี agenda อยากด่าคดีซุกหุ้นเป็นพิเศษ (ย้ำว่าผมเห็นด้วย คดีซุกหุ้นเป็นการหักดิบกฎหมาย แต่หักดิบกฎหมายเพื่อเอาใจกระแสสังคม ที่ตอนนั้นใครๆ ก็อยากให้ทักษิณเป็นนายกฯ ตั้งแต่หมอเสมมาถึงสนธิ ลิ้ม ขณะที่คดียุบพรรค เป็นการหักดิบอำนาจประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การเมืองขัดแย้งแบ่ง 2 ฝ่ายแล้วเอาตุลาการมาหักดิบ คดีซุกหุ้นจึงไม่ส่งผลเสียทันที เพราะกระแสสังคมเฮโล แต่คดียุบพรรคเกิดปฏิกิริยาตอบโต้รวดเร็ว รุนแรง)
 
              บางข้อแทนที่จะชี้ชัดก็พูดกำกวม เช่น 3.3.3.8 “การสร้างการรับรู้ว่ากระบวนการยุติธรรมมีสองมาตรฐาน” ตกลงมันสองมาตรฐานจริงหรือเปล่า หรือเป็นเพราะการสร้างการรับรู้ จึงทำให้เกิดความรุนแรง
 
              3.3.3.14 “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และประเด็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ” ท่านพูดแต่ว่าคนบางส่วนมีทัศนคติทางลบ แล้วก็บอกว่าทั้งตัวรัฐธรรมนูญและความพยายามแก้ไขทำให้เกิดปัญหา เออ แล้วจะเอาไง
 
              ครั้นมาถึงข้อเสนอแนะ จากที่พยายามให้ “ดูดี” วิพากษ์ทั้งสองฝ่าย ข้อเสนอกลับคลุมเครือ ไม่ชัดเจน และชิ่ง
 
              โดยเฉพาะข้อ 5.6 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ท่านบอกว่าปัญหาขัดแย้งเป็นผลจากรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มาจากรัฐประหาร แต่ก็ห่วงว่าการแก้ไขอาจทำให้เกิดความขัดแย้งบานปลาย จากนั้นก็เรียกร้อง 1,2,3 ว่าอย่าเพิ่งแก้ เรียกร้องรัฐบาล รัฐสภา พรรคการเมือง ว่าการแก้รัฐธรรมนูญต้องสอดคล้องหลักนิติธรรม หลักความเป็นกฎหมายสูงสุด ฯลฯ
 
               อ้าว แล้วรัฐธรรมนูญ 2550 สอดคล้องกับหลักนิติธรรมหรือเปล่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญสอดคล้องกับหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดหรือเปล่า
 
               ถ้า คอป.มีความกล้าหาญสักหน่อย ทำไมไม่เรียกร้องอีกฝ่ายด้วยละครับ เรียกร้องประชาธิปัตย์ พันธมิตร สื่อ สลิ่ม ตุลาการ ฯลฯ ว่าอย่าขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน ช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยได้มากที่สุด
 
               อย่างนั้นสิ จะเป็นพระเอกตัวจริง
 
               ส่วนเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์และมาตรา 112 เป็นข้อเสนอที่เกือบจะปรบมือให้ (ถือว่าดีที่สุดภายใต้ข้อจำกัดทางสถานะของ คอป.) แต่ก็ขาดอีกนิดคือ ท่านควรจะเรียกร้องประชาธิปัตย์ พันธมิตร สื่อ สลิ่ม ให้มาก ว่าอย่าปลุกกระแสคลั่งเจ้ามาขัดขวาง ให้ร้ายป้ายสี รวมทั้งท่านน่าจะประณาม ศอฉ.ด้วยว่าการออก “ผังล้มเจ้า” เล่เก๊ในยามหน้าสิ่วหน้าขวาน คือชนวนเหตุหนึ่งที่ทำให้ยิ่งรุนแรง
 
               อ้อ อุตส่าห์แถลงซะขนาดนี้แล้ว หวังว่าคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายที่ อ.คณิตเป็นประธาน จะรับเป็นเจ้าภาพ ระดมทุกฝ่ายมาช่วยกันแก้ไขมาตรา 112 เสียเลยนะครับ
 
6. พระเอกผิดคิว
 
              ผมก็ไม่เข้าใจว่า อ.คณิตโผล่มาแย่งซีนคณะกรรมการด้วยการเปิดความในใจ เรียกร้องให้ทักษิณเสียสละ วางมือ ฯลฯ เพื่ออะไร เพราะนอกจากชิงพื้นที่สื่อ ท่านยังทำลายประเด็นที่ คอป.พยามสรุปให้ “ดูดี” มาทั้งหมด
 
              เห็นด้วยไม่เห็นด้วยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เห็นชัดๆ ว่าไม่ใช่กาลเทศะ เพราะ คอป.พยายามวิพากษ์ทั้งระบอบทักษิณและรัฐประหารตุลาการภิวัตน์ แต่ตัวประธานเป็นผู้หลักผู้ใหญ่กลับมาเรียกร้องให้ทักษิณวางมือ แล้วก็กลายเป็นพาดหัวสื่อที่จ้องอยู่แล้ว
 
              อ้าว! ทักษิณผิดข้างเดียวงั้นหรือ ไหนบอกว่าการตั้ง คตส.มาตรวจสอบทักษิณทำให้เกิดความเคลือบแคลงหลักนิติธรรม
 
               ท่านอาจบอกว่าเป็นการเรียกร้องให้เสียสละ เลียนแบบรัฐบุรุษ อย่าง อ.ปรีดี อ้าว ถ้าอย่างนั้นทำไมท่านไม่เรียกร้องให้อภิสิทธิ์เสียสละ ยุติบทบาทบ้างล่ะ เพราะอภิสิทธิ์ก็ถูกเกลียดชังเหมือนกัน ในฐานะผู้ใช้อำนาจปราบปรามการชุมนุมเมื่อปี 53 ทำไมท่านไม่เรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์เสียสละบ้างล่ะ ให้ทหารเป็นกลาง ไม่มีประวัติพัวพันรัฐประหาร ไม่เอียงข้างทักษิณ มาเป็นผู้บัญชาการทหารบก
 
                คือถ้าจะเรียกร้องให้กันเสียสละ มันก็เรียกร้องได้ทั้งนั้นละครับ สมมติเช่น เรียกร้องพลเอกเปรมเสียสละ ท่านถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังรัฐประหาร เพื่อรักษาสถาบัน ท่านควรยุติบทบาท ลาออก ย้ายจากบ้านสี่เสาไปอยู่กระต๊อบที่สงขลา ฯลฯ เรียกร้องพลเอกสุรยุทธ์เสียสละ เพราะท่านเคยเป็นไปนายกฯ ให้ คมช.ท่านควรลาออกจากองคมนตรี ไปบวชเป็นพระธุดงค์ตามความใฝ่ฝัน ฯลฯ
 
               ถามว่าให้ทักษิณยุติบทบาทคืออะไร ก็ยังไม่ชัดเจน ให้กล้ำกลืนความรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม เลิกต่อสู้ ยอมแพ้ อยู่เมืองนอกตลอดชีวิต ให้น้องสาวเป็นนายกฯ อีก 7 ปี หรือให้ถอนตัวออกจากการเมืองทั้งตระกูลชินวัตร ให้ยุบพรรคเพื่อไทย ให้เลิกโฟนอินอาจพอไหว แต่จะให้เลิกเกี่ยวข้องกับมวลชน ให้คนเสื้อแดงตัดทักษิณออกจากสารบบ ฯลฯ เอาขนาดนั้นไหม
 
               มันคือความเกี่ยวพันที่แยกออกจากกันไม่ได้ ทักษิณคิดว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม มวลชนรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม ถูกปล้นอำนาจ จึงต่อสู้ร่วมกัน แล้วท่านจะบอกทักษิณเสียสละ ยอมแพ้เสีย ให้อีกฝ่ายชนะ แล้วจะได้ค่อยๆ คืนสู่ความสงบอย่างนั้นหรือ มวลชนยอมหรือ
 
               ผมก็อยากให้ทักษิณยุติบทบาทนะครับ แต่ถ้าผมเรียกร้องก็จะบอกว่าคืนประชาธิปไตยให้ประชาชน คืนความยุติธรรมให้ประชาชนและทักษิณ เคลียร์ทุกสิ่งด้วยการลบล้างผลพวงรัฐประหาร คดีความทั้งหลายนับหนึ่งใหม่ จากนั้นจึงให้ทักษิณวางมือ ทั้งครอบครัวเลิกเกี่ยวข้องการเมือง ยกพรรคเพื่อไทยให้เป็นของมวลชนไป โดย “ชนชั้นนำ” อีกฝ่ายก็ต้องวางมือเลิกเกี่ยวข้องแทรกแซงการเมืองการปกครองเหมือนกัน
 
                ส่วนข้อเรียกร้องที่สองของ อ.คณิต ยิ่งเลอะเทอะไปใหญ่ ที่บอกให้รัฐบาลทำเรื่องหักดิบกฎหมายให้กระจ่างชัด ทั้งคดีซุกหุ้น ฆ่าตัดตอน กรือเซะ ตากใบ โดยเนื้อหาไม่ได้เลอะเทอะ เพราะเป็นเรื่อง “หักดิบกฎหมาย” จริง แต่ฟังแล้วงงงวยว่าทำไมท่านเรียกร้องฝ่ายเดียว ทำไมท่านไม่เรียกร้องตุลาการ ทหาร ชนชั้นนำอีกฝ่าย ให้ทำเรื่องหักดิบระบอบประชาธิปไตยให้กระจ่างชัดด้วย
 
               ผมก็ไม่รู้ว่า อ.คณิตมีปมอะไรหรือเปล่า อยากลบปมที่ตัวเองเคยเข้าไปร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย อย่างนั้นหรือ แต่การเรียกร้อง “อะไรๆ ก็ทักษิณ” ได้ทำลายส่วนที่มีสาระมีคุณค่าของรายงาน คอป.ที่พยายามจะ “เป็นกาง” อย่างสุดชีวิต จนผู้คนมองข้าม ไม่สนใจ และเอาไปเป็นประเด็นการเมืองเพื่อเข่นฆ่ากันเช่นเคย
 
                                                                                                ใบตองแห้ง
                                                                                                19 กันยายน 2555