วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554


บทบาทกองทัพต่อการเมืองและความขัดแย้งภายใน




โดย เมธา มาสขาว สถาบันสังคมประชาธิปไตย(Social Democracy Think Tank)
เราจะยอมรับกันได้ หากทหารในกองทัพท่านใดจะใช้สิทธิพลเมืองเมื่อเกษียณหรือลาออกมาเล่นการเมืองในระบบรัฐสภา หรือตั้งพรรคการเมือง ซึ่งปัจจุบันก็มีพรรคมาตุภูมิ ที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าพรรค เป็นตัวอย่าง ทหารท่านใดอยากเล่นการเมืองก็สมัครเข้าพรรคนี้ได้ ทหารมีสิทธิในระบอบประชาธิปไตย มีสิทธิเลือกตั้ง และเราได้ทหารจำนวนมากจากจังหวัดลพบุรี, กาญจนบุรี ที่มีกำลังพลจำนวนมากตั้งอยู่ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน กองทัพได้ปรับตัวจากรัฐทหารที่ชัดเจนในอดีต พยายามสร้าง “พรรคทหาร” ขึ้นในปัจจุบันในลักษณะเป็นอำนาจรัฐเงา เพื่อเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยไม่ได้ลงเลือกตั้ง โดยไม่สนใจระบบรัฐสภาและฐานะของ 3 อธิปไตยที่ต้องยึดโยงประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
ในระบอบประชาธิปไตย กองทัพต้องฟังคำสั่งรัฐบาลขึ้นต่อฝ่ายบริหาร ไม่ใช่หน่วยงานเร้นรัฐหรือรัฐบาลเงา แต่ปัจจุบัน กองทัพได้แทรกแซงทางการเมืองอย่างโจ่งแจ้ง
อาณาจักรของกองทัพซึ่งไม่เคยมีองค์กรใดก้าวล่วงหรือถูกตรวจสอบ ที่ผ่านมาอาจมีปัญหาการคอร์รัปชั่นซึ่งเป็นเรื่องภายในเท่านั้น บัดนี้ กลายเป็นการคอร์รัปชั่นครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ และอย่างโจ่งแจ้งต่อสาธารณะ โดยไม่เกรงใจใครหน้าไหน เช่น กรณี เรือเหาะ, จีที200, เครื่องบินกริพเพรน ฯลฯ
ท่านผู้นำทั้งหลาย ได้ใช้กองทัพเป็นพรรคทหาร เล่นการเมืองอย่างเต็มตัว โดยไม่สนใจคำสั่งหรือนโยบายรัฐบาลอย่างเคร่งครัด โดยหลายครั้งเราจะเห็นนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นเป็นฝ่ายตาม, และแสดงความเห็นด้วยกับกองทัพ เช่น กรณีการตรวจแถวตบเท้าให้กำลังใจ ผบ.ทบ. โดยที่พลเมืองส่วนหนึ่งเห็นว่า กองทัพแสดงการข่มขู่ประชาชน นอกจากนี้ ดูเหมือนกองทัพยังใช้ศักยภาพและภาษีของประชาชน โดยใช้กลไกทั้งหมดของกองทัพที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดองค์กรหนึ่งในประเทศไทยในการเชื่อมพรรคร่วมรัฐบาลระหว่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยอย่างชัดเจน ภายใต้แนวทางที่กองทัพต้องการ เหมือนตนเองเป็นพรรคทหาร เป็นพรรคร่วมรัฐบาลไปด้วย นอกจากกองทัพได้รับงบประมาณจำนวนมหาศาลแล้ว ยังเป็นยุคที่มี “ทหารการเมือง” มากที่สุดอีกด้วย
ทางออกของประเทศไทยในขณะนี้ กองทัพต้องยุติบทบาทการทหารนำการเมือง และถอยกลับมาสู่ทหารอาชีพซึ่งเป็นตำแหน่งแห่งที่ที่ทหารควรยืนอยู่ ก่อนบ้านเมืองจะเสียหายมากไปกว่านี้ ปัญหาการเมืองและความขัดแย้งภายในไม่ใช่เรื่องของกองทัพแต่อย่างใด จริงๆ แล้ว การช่วยเหลือประชาชนในเหตุการณ์ที่เราเห็นกรณีเหตุการณ์สึนามิ หรือ “ฟูคุชิมา” ที่ญี่ปุ่น และกรณีน้ำท่วมภาคใต้คือบทบาทที่แท้จริงของกองทัพในยุคโลกาภิวัตน์ และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เมื่อเกิดภัยพิบัติตามธรรมชาติ และตอนนี้ภารกิจของกองทัพอยู่ที่ชายแดน!
การใช้กองทัพเข้ามาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายใน เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และนำมาสู่ความขัดแย้งของพลเมืองในปัจจุบัน จากการที่รัฐบาลใช้กองทัพซึ่งมีบทบาทปกป้องพลเมืองจากศัตรูภายนอกของรัฐมาจัดการกับพลเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ภายใน จริงๆ แล้ว คณะกรรมาธิการการทหาร วุฒิสภา ก็เคยได้สรุปปัญหาและแนวทางปรับโครงสร้างกองทัพมาตั้งแต่ปี 2546 แล้วว่า สาเหตุหลักของการปรับโครงสร้างกองทัพ เพราะว่าการสิ้นสุดของสงครามเย็น การสิ้นสุดของสงครามภายใน และการสิ้นสุดของอำนาจทหารในการเมืองไทย ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่–ระเบียบบริหารราชการใหม่ แต่ดูเหมือนว่ากองทัพบกจะไม่ยอมรับเรื่องดังกล่าว
หมดเวลาของทหารการเมือง, กองทัพจะชักใยอำนาจรัฐแล้ว
ความฝันปิดเทอมประเทศ เป็นไปไม่ได้ในยุคโลกาภิวัตน์ การถอยหลังไปสู่อนารยะธรรมเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ของกองทัพไทยไปแล้วหลังจากเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549
ดังนั้น 2 เรื่อง ที่นักการเมืองบางกลุ่ม กลุ่มคนบางคน และผู้นำกองทัพบางคนพยายามทำอยู่ในขณะนี้ คือ 1)ปลุกกระแสความขัดแย้งเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ 2)สงครามชายแดน  เพื่อเป็นเงื่อนไขในการเว้นวรรค, รัฐประหาร, ปิดเทอมประเทศ หรือกระชับอำนาจอย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ยุทธการที่ดีที่จะสร้างความยั่งยืนให้ประชาธิปไตยและสันติภาพในภูมิภาค ในขณะที่จีนและอเมริกาขนาบข้างประเทศไทยอยู่
ทิศทางประเทศไทยในขณะนี้ คือการเลือกตั้ง และหลังจากนั้นต้องมีการพัฒนาประชาธิปไตย ทั้งในส่วนของรูปแบบและเนื้อหา กลไก, รัฐธรรมนูญและกฎหมาย เพื่อเปิดพื้นที่ของประชาชนทุกกลุ่มอุดมการณ์ทางการเมืองในระบบรัฐสภา
การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น กองทัพไม่ควรมีโครงการใดๆ เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะรูปแบบใด, การเลือกตั้งครั้งที่แล้วสีเทา เพราะมีการประกาศกฎอัยการศึกระหว่างการเลือกตั้งในหลายพื้นที่ ครั้งนี้ อย่าให้เป็นการเลือกตั้งสีดำ!!
http://redusala.blogspot.com

Historian claims Army harassing him


http://www.prachatai.com/english/node/2443



Thammasat University historian Somsak Jiamteerasakul said yesterday he's ready to fight any lese-majeste charges and prove his innocence - but the military must cease what he called harassment that was frightening his family.
Somsak alleged the military was behind a recent spate of threatening phone calls and motorcycle visits to his home.
"I thought Thailand was more civilised than this. Perhaps I was too optimistic," said Somsak during a press conference at Thammasat University.
The historian, who enjoys a large following amongst critics of the monarchy and often gives public speeches critical of the institution, claimed two "threatening" motorcyclists were sent to his home recently and one was identified as a soldier.
Somsak claimed a high-ranking figure in the government told him the Army wanted the government to "handle" him.
One source, whom Somsak admits can't be identified or proven, told him that 80 soldiers have been assigned to keep an eye on him round the clock, prepared to "pick him up within five minutes' notice".
He warned the authorities that critical voices could not be silenced through censorship and lese-majeste law, adding that the clampdown on freedom of expression would eventually lead to clashes and violence.
Some 500 participants, half of them red shirts, attended the press conference but few mainstream Thai journalists were present.
http://redusala.blogspot.com

SOMSAK'S PRESS STATEMENT

http://www.prachatai.com/english/node/2441


During the last decade, I have written several academic and general articles on the monarchy, and have spoken publicly about this issue. I have never used these occasions to propose the so called "lom chao" or "overthrowing the monarchical institution." Each and every one of my public statement and written work is premised on the assumption of the continuation of the monarchy. At the same time, I do not conceal my view concerning the need to transform and adapt the monarchy according to the principles of democratic governance, the rule of law, and the advances of the modern world. The law permits people to express their views or make recommendations concerning the necessity of transforming and adapting the monarchy. Such acts are not illegal; they break neither the constitutional nor criminal law. For this reason, I have always written and spoken about this issue under my real name. At the beginning of 2010, I presented my view concerning the reform of the monarchy as an eight-point proposal, which I subsequently made available to the public. The proposal was widely read. On February 21, 2010, Senator Kamnoon Sitthisamarn, for one, reproduced it, accompanied by his commentary, in Manager newspaper.
The talk I gave on December 10, 2010, and any statement or writing I have produced since then, have all been within the framework of these eight concrete, legally justifiable, proposals concerning reforming the monarchy. 
However, if state officials, whether of the civilian or military variety, are of the opinion that I have broken the law, I would be happy to clarify my position and defend my case according to all due legal process. It has never occurred to me to evade any accusations. It is a well-known fact that I am prepared to openly debate and exchange opinions with fellow citizens who hold opposing views. I have engaged in such public exchanges on many occasions.
Over the past two weeks or so, state officials have been increasing tension with their references to the accusation commonly referred to as "lèse majesté." In an interview dated April 7, the Commander in Chief attacked "a mentally ill academic" who "is intent on overthrowing the institution." Since April 10, the military has been giving interviews and loudly demonstrating its might on a daily basis. Such gestures, though they do not directly target me, have created a climate of fear in Thai society regarding the monarchy. A development that directly concerns me is the comment, made in private, by a leading government figure that the military has been putting pressure on that person to specifically persecute me. Additionally, well-placed officials have revealed that preparations are being made to bring charges against me.
As I stated earlier, none of my actions regarding this issue are illegal. However, a climate of fear has been created by the military's daily display of might. Within this context, there have been unusual occurrences which have directly targeted me.
For instance, earlier this week two men on separate motorbikes were twice spotted surveying the area near my house. When the security guard in my housing estate enquired why they were there, they replied that they had come to "pick up ajarn (professor)." They did not claim to be officials and did not show any official documents. Additionally, an anonymous phone call was made to my house warning me to be careful. The caller claimed that a certain security department has ordered a large number of its officials to closely monitor my movements round the clock, and to be ready to arrest me immediately upon receiving the order.
I would like to emphasise that I have always expressed my opinions, and my proposals, concerning reforming the monarchy in an open manner, always according to the framework permitted by law. However, given these unusual developments of recent days, I feel it is necessary to communicate to the press and the public, and via them to state officials, that the right to express views about and to comment on the institution of the monarchy is legal according to the international human rights principle, and even according to the principle of the Thai constitutional law. As for the usage of the problematic law known as "lèse majesté," if there are plans to bring this accusation upon myself or others, the prosecution should respect due legal process. The fuelling of the climate of fear must stop, as it is this which licenses the usage of extra legal forces in whatever form, whether against myself or others who have been accused. The military's repeated display of force over the past ten days or so under the claim of preventing "lèse majesté" does not subscribe to legal principles. The outcome it encourages is that carried out via extra legal measures.
I maintain that I have always acted publicly and in good faith. If state officials deem it necessary to do so, they are able to call me in for questioning. I am always prepared to clarify myself and answer any questions they may have. The issuing of an arrest warrant is unnecessary, as is the monitoring of my movements or the usage of various measures of questionable legal status to increase the tension. If I am to be prosecuted, I will be prepared to claim my right to legal defense and will apply for bail. I have never considered escaping or evading the accusation as I am an employee of the state with academic teaching and research responsibilities. I believe that my action establishes a correct standard of conduct, both for myself and others, concerning this issue.
Somsak Jeamteerasakul, PhD.
Lecturer,
Department of History
Thammasat University
http://redusala.blogspot.com


มีหลักฐานอะไรว่าเราเสียดินแดน



ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกุล
 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่ห้องประชุมมาลัยหุวนันท์ ตึก 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเสวนาทางวิชาการ "รัฐศาสตร์ภาคประชาชน ครั้งที่ 1" เรื่อง "ฝ่าวิกฤตชายแดนไทยเขมร" โดยมี ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัย วิสคอนซิล-เมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และ รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา ดำเนินรายการโดย ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศษสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.ดร. ธงชัย กล่าวว่า มีด้วยกัน 4 ประเด็นใหญ่ คือ 1. ฐานสาเหตุที่ปะทุขึ้นมาของความสัมพันธ์ระหว่างความคิดและการเสียดินแดน จะเรียกว่าลัทธิความเชื่อก็ได้ "ลัทธิชาตินิยมไทย" แยกไม่ออกตั้งแต่ต้นเรื่องการเสียดินแดน 2. การตีเส้นเขตแดน ความเข้าใจผิดเรื่องเส้นเขตแดน 3. เรื่องกรณีปราสาทเขาพระวิหาร 4. ความขัดแย้งไทย กัมพูชาไม่ใช่เรื่องเส้นเขตแดนทั้งสิ้น แต่เป็นเพราะเรื่องการเมืองไทย

ศ.ดร.ธงชัย กล่าวเปรียบเทียบปัญหามีเรื่องใหญ่มากเหมือนช้างตัวหนึ่งอยู่ในห้องแต่สังคมไทยเรามองไม่เห็น ตราบใดที่เรายังไม่ตระหนักว่ามีช้างอยู่ในห้องก็ไม่รู้ต้องรบกันอีกกี่ร้อยยก เริ่มจากประเด็นเรื่องที่ 1. อุดมการณ์ชาตินิยม เรื่องการเสียดินแดนซึ่งเคยเขียนไปแล้ว แต่ที่คนอ่านไม่รู้เรื่อง อาจจะเพราะว่าขัดกับความเชื่อ 
"เราถูกสอนมาตลอดว่า เราเสียดินแดน แต่ผมมาบอกว่า เราไม่เสียดินแดน แต่เคยมีสักคนถามไหมว่า มีหลักฐานอะไรว่าเราเสียดินแดน เพราะเราเสียดินแดนตั้งแต่ก่อนมีคนไทยอีก ก่อนมีประเทศไทยอีก ความคิดเรื่องการเสียดินแดนมีหลายประเทศในเอเชีย ชาตินิยมหลายประเทศในเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อรูปก่อร่างออกมาโดยมีลัทธิความเชื่อ ที่พูดถึงการถูกทำให้ละอาย อย่างแสนสาหัส เขาต้องประกาศว่าตัวเองถูกรังแกให้น่าละอาย แต่ถูกรังแกบ่อยเหลือเกิน ทั้ง จีน เกาหลี ไม่ใช่เพื่อประจานตัวเอง แต่เพื่อปลุกเร้าชาตินิยม ในการเสียดินแดน ประเทศไทยมีความภาคภูมิใจว่าไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่อีกด้านหนึ่งที่เราบอกว่าตัวเองเสียดินแดน"
ศ.ดร.ธงชัย กล่าวว่า ทั้งหมดเป็นความเชื่อ จึงยากมากที่จะสลัดความเชื่อออกไปได้ ความเป็นไทยและชาตินิยมไทย ถือกำเนิดมาพร้อมกับการถูกคุกคาม แยกกันไม่ออก มา 100 กว่าปี กำเนิดมาด้วยกันกับลัทธิเสียดินแดนค้ำจุ้นความเป็นไทยไว้ ความภูมิใจของการไม่เป็นเมืองขึ้นถูกปลุกมาพร้อมกับความเจ็บปวดเรื่องเสีย ดินแดน ในยุโรปก็ประมาณ 200 ปี เริ่มมีเรื่องความขัดแย้ง เรื่องอธิปไตยเหนือดินแดน มีการเสียดินแดน ที่เสียมาได้ไปอยู่อย่างนี้
"รัฐสมัยโบราณ เป็นรัฐแบบเจ้าพ่อ ไม่ได้ตายตัวแบบอธิปไตยเหนือดินแดน เหมือนเราเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1ที่ 2 ไม่ได้หมายความว่าเราเสียดินแดน หรือการเป็นเมืองขึ้น หรืออย่างกรณีพระนเรศวรประกาศอิสรภาพก็ไม่ได้หมายความอย่างนั้น สมัยที่พระนเรศวรเข้มแข็งเพราะทางพม่าอ่อนแอลง จากเอกสารเก่าพระนเรศวรไม่เคยประกาศอิสรภาพ แต่ประกาศแยกตัวออกมาจากพม่า เพราะการประกาศอิสรภาพหมายถึงเราต้องใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาค"
ศ.ดร.ธงชัย กล่าวอีกว่า ระบบเมืองขึ้นสยามในสมัยนั้นขึ้นต่อเมืองอื่นเกินสองแห่งทั้งนั้น ขอถามว่ามีเมืองขึ้นใดบ้างที่จ่ายเครื่องบรรณาการ ต่อเมืองสยามเพียงแห่งเดียวซึ่งไม่มีเลย เราเชื่อแผนที่สุโขทัย เชื่อแผนที่ว่า ร.1 มีพื้นที่ใหญ่เท่านั้นเท่านี้ การเสียดินแดน 14 ครั้ง อาศัยแผนที่ทางประวัติศาสตร์ ไม่น่าเชื่อถือเลย เพราะถูกสร้างขึ้นมา แม้จะรู้เป็นอย่างดีว่าประเทศเหล่านั้นไม่ได้ขึ้นต่อประเทศสยามแต่เพียงผู้ เดียว
"นอกจากพื้นที่ 4.6 ตร.กม.แล้ว มีพื้นที่ซ้อนทับเต็มไปหมด เพราะเราคิดว่า เป็นที่ของเรา การเสียดินแดน 14 ครั้ง เป็นความเชื่อแบบผิดๆ ร้อยปีก็เปลี่ยนไม่ได้ ถ้าอยากเชื่ออย่างนั้นว่าคนไทยมาจากไหน ถูกจีนไล่มา เราเสียดินแดนมองโกเลียในแถบเขาอัลไต ถูกไล่มาเรื่อย ๆ เราเลอะเทอะเปรอะเปื้อน ไร้สาระ ลัทธิการเสียดินแดน เป็นความเชื่อในประวัติศาสตร์ที่ผิดๆ ลัทธิชาตินิยม สร้างความเจ็บปวด จากการเสียดินแดน ทั้งหมดเป็นลัทธิความเชื่อ ที่ไม่มีมูลทางประวัติศาสตร์ ยากเหลือเกินที่จะทำให้คนเชื่อว่าเป็นลัทธิไร้สาระได้"
ศ.ดร.ธงชัย กล่าวว่า หลักฐานความทรงจำของสงครามอินโดจีนที่ไทยบุกไปยึดดินแดนของกัมพูชา ที่สำคัญ คือ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แต่ในการจัดงานแต่ละครั้งไม่มีการรำลึกถึงทหารที่ไปรบในสงครามอินโดจีน แต่เป็นอนุสาวรีย์ที่ใช้กับอะไรก็ได้ เพราะใช้ในการรำลึกทหารผ่านศึก เพื่อลบความทรงจำในการต่อสู้ที่อินโดจีน

ศ.ดร.ธงชัย กล่าวถึงประเด็นต่อมา เรื่องเส้นเขตแดน คือ มรดกยุคอาณานิคม ใครก็แล้วแต่ ที่บอกว่าอย่าไปเชื่อเส้นเขตแดนยุคอาณานิคม เพราะชาติไทยทั้งชาติเป็นมรดกยุคอาณานิคมที่มีเส้นเขตแดนมากมายรอบประเทศไทย ในปัจจุบัน แล้วทำไมจะไม่ยอมรับแค่เส้นเขตแดนเขาพระวิหาร หากจะรบกันสามารถรบได้ทุกจุดรอบประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทย หากจะรู้ว่ารบตรงไหนจะชี้ให้ว่ารบตรงไหนบ้าง หากจะใช้วิธีอย่างปัจจุบัน รบรอบประเทศไทยเลย เพราะว่าพรมแดนที่ยุคอาณานิคมทิ้งไว้เข้ากันไม่ได้กับรัฐยุคโบราณ และเส้นเขตแดนตัดกลางชุมชนที่เป็นวัฒนธรรมเดียวกัน พวกเขาจึงต้องข้ามไปหากัน เส้นเขตแดนสันปันน้ำ สภาพทางภูมิศาสตร์เปลี่ยนแปลง ร่องน้ำลึกเปลี่ยนไปสันปันน้ำก็เปลี่ยนได้ พรมแดนธรรมชาติเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นสันปันน้ำที่อยู่ในสนธิสัญญาจึงไม่ใช่เส้นเขตแดน

"เขตแดนจึงเป็นเรื่องเทคนิคอยากรบ รบได้รอบประเทศไทย ถ้าหากไม่อยากรบ เป็นเรื่องของเทคนิคปล่อยให้เจ้าหน้าที่เทคนิคจัดการแล้วปล่อยให้รัฐบาลที่ มีความสัมพันธ์ดีต่อกัน จัดการไม่ดีกว่าหรือ เพราะมันตกลงกันไม่ได้ แต่ถ้าใครไปยื้อให้รบกันตาย" ศ.ดร.ธงชัย กล่าว

ศ.ดร.ธงชัย กล่าวต่อว่า เรื่องพรมแดนธรรมชาติมีปัญหาอยู่จริง แต่ยังมีพรมแดนที่มนุษย์สร้างกันเองเป็นปัญหา อย่างเรื่องพรมแดนเขาพระวิหารเป็นหน้าผา และมีคลองบ้าง ส่วนใหญ่เป็นทุ่งโล่ง หมายความว่า การข้ามเขตรู้บ้างไม่รู้บ้างมีเป็นประจำ หลักเขตที่ปักไว้โบราณจริงๆ ยกออกได้ง่ายลักษณะเหมือนหลักกิโล ช่วงอรัญประเทศ เพราะว่ารัฐไทยเคยใช้ให้เป็นทางผ่านที่เขมรแดงใช้รบหลบเข้ามาในประเทศไทย มีอยู่ช่วงหนึ่งที่แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะว่าทุ่นระเบิดเต็มไปหมด เฉพาะทหารเท่านั้นที่ผ่านไปได้ การแก้ปัญหาหลักเขต จะไปแก้ปัญหาเหล่านั้นแก้ได้ยาก กว่าจะไปแก้ได้คงอีกนาน พรมแดนที่มีการวางทุ่นระเบิดประมาณสามล้านลูก ในชายแดนไทยเขมร ซึ่งเป็นทุนระเบิดสารพัดประเทศที่หาคนกู้ได้ยากมาก

"คิดว่าจะเกิดอะไรกับภาษาไทยถ้าคืนคำว่า "ก็" ให้เขมร คงเกิดความโกลาหลกับประเทศไทยเราคงพูดไม่ออกไปอีกเยอะเลย เพราะภาษาไทยไม่มี "ไม้ไต่คู้" หรอก"

ศ.ดร.ธงชัย กล่าวว่า ปัญหาพรมแดนเกิดจากเรื่องมากมายที่น่าสนใจ รากของปัญหา คือ การเมืองไทย หากความสัมพันธ์ไทยกับเพื่อนบ้านก็เกิดความสัมพันธ์ที่ดี เหมือนไทยกับมาเลเซียเป็นพรมแดนที่สั้่นที่สุด แต่ก็แก้ปัญหาไม่ได้ แต่พัฒนาเป็นเป็นพื้นที่พัฒนาร่วม ส่วนรากของปัญหาไทยที่ขัดแย้งกับกัมพูชา คือ การเมืองไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องคิดหนัก
"จึงขอฝากช่วยกันคิดหน่อยว่า ถึงวันนี้ในความเห็นผม คิดว่าเวลาผ่านไปมองย้อนหลัง เราน่าจะเข้าใจวิกฤตได้ดีกว่าเดิม หลังผ่านวิกฤตฝุ่นตลบ ปัญหาชายแดนไทยเขมรเป็นโรคที่เกิดจากอะไร ในความเห็นของผม คือ เป็นโรคที่เกิดจากสอง ปัจจัยเศรษฐกิจ สังคม และชนบทเปลี่ยนไปมากแล้ว แต่ชนชั้นนำไทย ไม่เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงนี้ เมื่อระบบเศรษฐกิจสังคมเปลี่ยน การเมืองก็ต้องเปลี่ยน ต้องปรับให้สอดคล้องกับกล่มชนชั้นเพื่อประโยชน์ร่วมกัน ในการเปลี่ยนแปลงนั้น เขาได้รู้ว่าระบบการเลือกตั้งที่คนกรุงรังเกียจหนักหนา แต่สำหรับเขามีประโยชน์มาก การจะไปแสวงหาการเลือกตั้งที่ใสสะอาดไม่มีทาง หากเรายอมรับว่าระบบการเลือกตั้งไม่ได้สมบูรณ์ที่สุด แต่เอื้อสะท้อนผลประโยชน์ ที่นำมาแลกกันแล้วตกลงด้วยสันติ แค่นั้นเอง เศรษฐกิจสังคมเปลี่ยนไปแล้ว แต่ระบบประชาธิปไตยที่กำลังเคลื่อนไปก็ถูกสกัดอย่างแรง

"ระบบการเมืองถูกทำลายเพราะกลัวว่าฝ่ายการเมืองจะขึ้นมาเป็นผู้มีบทบาทในการคัดเลือกบุคคลขึ้นมาดำรงตำแหน่งสำคัญสูงสุดในช่วงเปลี่ยนผ่านเรื่องนี้มีทางออกทางเดียวเท่านั้น คือ ปรับระบบการเมือง การแก้ปัญหาต้องประนีประนอม ปล่อยตัวแกนนำเสื้อแดง เพื่อเปิดประตูที่จะนำไปสู่เรื่องความอึดอัดให้มาอยู่ในกรอบ และยกเลิกกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมทั้งคณะกรรมการปฏิรูป 600 ล้าน ที่แตะทุกเรื่องยกเว้นเรื่องที่ควรจะแตะ" ที่มา

http://redusala.blogspot.com

การเลือกตั้งถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐทหาร



สำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เพรอฟฟ์ รายงานการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2554 ฉบับที่ 1
 

เมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลไทยสังหารหมู่ประชาชน 91 รายเพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกตั้งก่อนกำาหนดที่กลัวจะว่าพ่ายแพ้ แต่ในที่สุด การเลือกตั้งก่อนกำหนดที่คนเสื้อแดงหลายสิบรายเสียสละชีวิตเพื่อให้ได้มากำลังจะจัดขึ้นขึ้นราวเดือนมิถุนายนหรือ กรกฎาคม ปี 2554 ในขณะที่เราหวังว่า การเลือกตั้งจะปราศจากการโกงอย่างโจ่งแจ้งหรือบัตรผี แต่ศักยภาพการแข่งขันและความเป็นกลางของกระบวนการ [การเลือกตั้ง ] ถูกทำลายลงในหลายรูปแบบ

การเลือกตั้งที่กำลังในครั้งนี้จะถูกจัดขึ้นท่ามกลางการข่มขวัญและกดขี่ ร่วมกับความพยายามที่จะประกันชัยชนะให้กับพรรคประชาธิปัตย์อย่างต่อเนื่องของสถาบันรัฐแทบทุกสถาบันในประเทศไทย นอกจากจะแข่งขันกับพรรคฝ่ายตรงข้ามที่ยังโซซัดโซเซแล้วกฎเกณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้พรรค [ประชาธิปัตย์] ได้รับที่นั่งเพิ่มขึ้นแบบจอมปลอม ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้ใช้

ประโยชน์จากความช่วยเหลือของทหาร ข้าราชการ ตุลาการ และกลุ่มผู้นำาที่นิยมเจ้า โดยสถาบันเหล่านี้ได้เตรียมความพร้อม ไม่ว่าจะเรื่องทุนทรัพย์ ทรัพยากรทางด้านบริหารจัดการ และรายการโทรทัศน์ ซึ่งอาจจำาเป็นในการแต่งตั้งบุคคลที่อาจไม่ได้รับการเลือกตั้ง อย่างนายมาร์ค อภิสิทธิ์ ขึ้นสู่ตำแหน่ง

นี่คือหนึ่งรายในงานหลายฉบับที่สำานักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เพรอฟฟ์ได้อธิบายรายละเอียดถึงความพยายามของกลุ่มอำมาตย์ไทยที่จะเปลี่ยนผลการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้น รายงานฉบับนี้-เป็นรายงานลำาดับที่สองของรายงานทั้งหมด-ซึ่งมุ่งประเด็นไปที่ความพยายามของกองทัพไทยในการปกป้องอำนาจที่ครอบงำชีวิตทางการเมืองของประเทศไทย โดยการผลิตชัยชนะเลือกตั้งให้แก่พรรคประชาธิปัตย์และเหมือนครั้งที่ผ่านมา ความรุนแรงและการข่มขวัญคือเครื่องมือของกลุ่มนายพลกลุ่มนี้

1. คำนำ

ผู้บัญชาการทหารบก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาให้สัญญากับประชาชนไทยว่ากองทัพจะสังเกตการณ์การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2554 ด้วยความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด แต่เมื่อพิจารณาว่า กองทัพไทยมีขนาดใหญ่ขึ้นตั้งแต่ปี 2554 เพื่อใช้ชี้นำผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งคืนผลการเลือกตั้งที่พวกเขาต้องการ และโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จึงกล่าวได้ว่าการสนับสนุนของพวกเขาไม่มีคุณค่าอะไร และการใช้หุ่นเชิดของตนเองในการเลือกตั้งที่ดุเดือด จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เหล่านายพลจะไม่ยุ่งกับเรื่องนี้ ที่จริงแล้ว การเลือกตั้งปี 2550 กองทัพมีผู้เข้าชิงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีของพวกเขาเอง นั้นก็คือ นายมาร์ค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ทว่า ความพยายามที่จะป้องกันไม่ให้พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้การเลือกตั้งในปี 2550 ของพวกเขาล้มเหลว

ครั้งนี้ กองทัพไทยมุ่งมั่นที่จะทำทุกอย่างที่จะผลิตที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ให้นายมาร์ค อภิสิทธิ์ เพราะไม่เพียงแต่บทบาทการครอบงำเหนือระบบการเมืองประเทศไทยของกองทัพจะสั่นคลอนในการเลือกตั้งเหล่านี้เท่านั้น แต่สิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือ การชนะของฝ่ายตรงข้ามอาจส่งผลให้เหล่า
นายพลระดับสูงถูกสอบสวนและดำเนินคดีเรื่องบทบาทการสังหารหมู่ผู้ชุมนุมเสื้อแดงในเดือนเมษายนและพฤษภาคมปี 2553 ของพวกเขา

ดังนั้น การพ่ายแพ้การเลือกตั้งปี 2554 จึงไม่ใช่ตัวเลือกของกองทัพไทย ในการให้สัมภาษณ์เมื่อหลายเดือนก่อน นายมาร์ค อภิสิทธิ์จินตนาการกุเรื่องขึ้นมาว่ากองทัพไทยอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน แต่เมื่อพิจารณาว่า เขาเป็นหนี้บุญคุณเหล่านายพลที่ช่วยอุ้มสมให้ดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านนายกน่าจะรู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร การเลือกเอานายอภิสิทธิ์มาบังหน้า แสดงให้เห็นว่ากองทัพไทยเรียนรู้บทเรียนจากปี 2535 เพราะการที่พลเอกสุจินดา คราประยูรยืนยันจะดำารงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยตนเอง ทำให้เกิดการประท้วงใหญ่ในกรุงเทพมหานคร และลงเอยด้วยการสังหารหมู่ผู้ประท้วงมือเปล่า ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นประจำ และเพื่อจะหลีกเลี่ยงหายนะดังกล่าวอีกครั้ง ภาพลักษณ์ที่สุภาพและความเป็นผู้ดีของนายอภิสิทธิ์จึงเป็นภาพอุดมคติที่นำมาใช้ปกปิดการครอบงำทางการเมืองของกองทัพความจริงคือ กองทัพไทยแทบจะไม่เคยอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือนเลย ที่แย่กว่านั้นคือ ทุกวันนี้ เหล่านายพลมีอำานาจมากขึ้นกว่าเมื่อสิบปีที่แล้วมาก

นอกจากกองทัพไทยจะทำรัฐประหารมากกว่ากองทัพประเทศใดในโลกสมัยใหม่แล้ว กองทัพไทยยังมีอำนาจในทุกซอกทุกมุมของการเมืองไทย ขณะเดียวกัน งบประมาณที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของกองทัพไทยหลังจากรัฐประหารในปี 2549 รวมถึงเหตุการณ์ในเดือนเมษายนและพฤษภาคมยังแสดงให้เห็นว่าหน้าที่และพันธกรณีของกองทัพมีต่อคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นเรื่องที่เกินกว่าจะวิเคราะห์ได้ ต่างจากผู้นำทางทหารคนก่อน พลเอกประยุทธ์ จันโอชา บุคคลที่ดูเหมือนภาพล้อการ์ตูนผู้นำเผด็จการทั่วไปจากประเทศโลกที่สามมากขึ้นทุกวัน รู้สึกยากที่จะต่อต้านสิ่งล่อใจที่กระสันอยากจะย้ำเตือนสาธารณชนว่า เขาเป็นผู้ที่มีอำนาจอย่างแท้จริง โดยเกือบทุกวัน เขาออกมาข่มขู่ประชาชนด้วยการคุยโวโอ้อวดหลายเรื่อง ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจอันน้อยนิดตามรัฐธรรมนูญ และที่ยิ่งกว่านั้นคือสติปัญญาของเขา การจัดการเรื่องความขัดแย้งชายแดนกับประเทศกัมพูชาของกองทัพ ยังแสดงให้เห็นถึงหลักฐานชัดเจนที่เหล่านายพลไม่รับคำาสั่งจากพลเรือน

เมื่อไม่นานมานี้มีเรื่องที่น่าอับอายเกิดขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกประวิตรและพลเอกประยุทธ์ไม่ยอมให้อินโดนีเชียเข้ามาเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหา ทั้งที่รัฐบาลนายอภิสิทธิเห็นชอบกับข้อเสนอทำให้เจ้าหน้ากัมพูชาสงสัยว่าเหล่านายพลหรือพลเรือนกันแน่ที่มีสิทธิ์เจรจาเพราะกองทัพมีอิสระที่จะเพิกเฉยต่อคำสั่งของรัฐบาลพลเรือนปัญญาอ่อนอย่างชัดแจ้ง พลเอกประยุทธ์จึงตั้งใจจะนำกลุ่มรัฐบาลทาสของนายมาร์ค อภิสิทธิ์กลับคืนสู่อำนาจ และถ้าหากเป็นไปได้ ก็จะทำโดยผ่านวิธีการที่ให้อำนาจรัฐบาลในการอ้างความถูกต้องตาม “ประชาธิปไตย”

อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้พิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพลเรือนและทหารในรัฐไทย เน้นเรื่องการครอบงำของกองทัพไทยที่มีเหนือรัฐบาลพลเรือนในประเทศ นอกจากนี้รายงานยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของทหารที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งที่กำาลังจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ ข่าวลือเรื่องรัฐประหารบ่อยครั้ง การใช้ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกล่าวหาผู้ไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ และคำขู่เรื่องอนาคตที่ไร้เสถียรภาพและวุ่นวายเป็นไปเพื่อข่มขวัญให้ทอดทิ้งฝ่ายตรงข้ามในการเลือกตั้ง และนอกจากนี้ กองทัพไทยใช้เงินจำนวนมหาศาล องค์กรและทรัพยากรกำลังทหารไปกับการหาเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครแบบแบ่งเขตระดมผู้ลงคะแนนเสียงให้พรรคประชาธิปัตย์ และกดขี่การลงคะแนนเสียงของฝ่ายตรงข้าม

2 . กองทัพปกครองโดยใช้พลเรือนบังหน้า

หลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความพยายามของกองทัพในการอ้างสิทธิ์ใช้อำานาจในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน นับตั้งแต่เหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ”ในปี 2535 จากวิสัยทัศน์ของกองทัพ รัฐประหารในวันที่ 1 9 กันยายน 2549 คือการกระทำาที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาหมดความสำาคัญจากการเมือง เหล่านายพลมุ่งมั่นอย่างรวดเร็วที่จะกำาจัดภัยที่คุกคามอำานาจนอกรัฐธรรมนูญของพวกเขา นั้นคือ
นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับความนิยม ประวัติศาสตร์ล่าสุดยังคงสอนกองทัพว่าการปกครองโดยตรงของกองทัพเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะหรือเป็นประโยชน์ในโลกสมัยใหม่ ดังนั้นแทนจะพยายามขยายฐานอำานาจของกลุ่มนายทหารที่ร่วมกันยึดอำนาจในปี 2549 เหล่านายพลกลับหาวิธีสร้างความแข็งแกร่งให้กับอำานาจทางการเมืองของพวกเขา และในขณะเดียวกันก็ล่าถอยมาเพื่อกำบังตนเองอยู่หลังระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเพราะการกระทำที่ยุ่งเหยิงและน่าชิงชังอย่างต่อเนื่องของพวกเขา จึงทำให้กองทัพห่างไกลจากความสำาเร็จในความพยายามที่จะเข้าครอบงำระบบการเมือง
ไทยอีกครั้ง

แม้จะมีนโยบายที่ทำลายพรรคไทยรักไทยอย่างไม่หยุดหย่อน สิ่งที่พวกเขาต้องการประการแรกคือ นำรัฐบาลพลเรือนที่อ่อนแอกลับเข้ามาบริหารประเทศเหมือนครั้งที่ประเทศไทยเคยเป็น ก่อนที่ทักษิณจะเข้ามามีอำนาจ นอกจากนี้เมื่อกองทัพล้มเหลวที่จะประกันชัยชนะการเลือกตั้งในปี 2550 ให้แก่พรรคประชาธิปัตย์ กองทัพจึงร่างกลไกที่สร้างความมั่นคงของพวกเขาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้การพ่ายแพ้การเลือกตั้งมีผลกระทบในแง่ลบหรือนานจนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะนี้เหล่านายพลสามารถพึ่งพากลุ่มตุลาการตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง -โดยพวกเขาได้รับอำานาจจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ให้เปลี่ยนผลการเลือกตั้งได้อย่างอิสระและช่วยทำาให้การถอดถอนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากคำาพิพากษาของศาล ที่สั่งยุบพรรคพลังประชาชน และสองพรรคเล็กร่วมรัฐบาลในปี 2551

กองทัพไทยประสบความสำาเร็จในการใช้อิทธิพลของตนแต่งตั้งนายมาร์ค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะให้ดำรงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยการสนับสนุนของพรรคที่เข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในจำนวนนั้นประกอบนักการเมืองที่ไร้หลักการอย่างที่สุดซึ่งเคยสนับสนุนรัฐบาลชุดก่อนก่อนการแต่งตั้งนายมาร์ค อภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี กองทัพไทยได้ตกลงเจรจาเรื่องผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายกับพรรคประชาธิปัตย์

พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีทางได้รับตำาแหน่งอันทรงเกียรติและมีอิทธิพล โดยการอาศัยความแข็งแกร่งทางการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ในทางกลับกัน นักการเมืองประชาธิปัตย์เสนอคณรัฐบาลพลเรือนเพื่อเป็นคราบกำาลังให้เหล่านายพล สามารถใช้บริหารประเทศได้โดยไม่ต้องยึดอำานาจโดยตรง เพราะแนวคิดอนุรักษ์นิยมและต่อต้านประชาธิปไตยของพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงความอ่อนแอของพรรคร่วมรัฐบาล คณะรัฐบาลของนายมาร์ค อภิสิทธิ์จึงไม่เป็นภัยคุกคามต่อการปกครองและอิทธิพลของกองทัพแต่อย่างใด

ขณะที่การเลือกตั้งใหม่กำาลังใกล้เข้ามา ระดับการใช้อำานาจของกองทัพไทยขัดแย้งกับมาตรฐานอย่างต่ำสุดของการควบคุมโดยพลเรือนตามที่ระบุในระบอบประชาธิปไตย ทุกขอบเขตที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วไปใช้ประเมิน ตั้งอยู่บนหลักการของความสัมพันธ์ของพลเรือนและทหาร การควบคุมของกองทัพตามธรรมเนียมปฏิบัติของประเทศ และการนำของพลเรือน ในบทความล่าสุด Croissantetal. ระบุถึงขอบเขตห้าประการซึ่งตั้งอยู่บนหลักการที่การควบคุมของพลเรือนสามารถกำหนดขอบเขตและประเมินได้อย่างเป็นระบบ
  1. การสรรหาผู้นำ อันบ่งบอกถึงกระบวนการที่นำไปสู่การคัดสรรและความชอบทางกฎหมายของผู้ดำรงตำาแหน่งทางการเมือง 
  2. นโยบายสาธารณะ อันประกอบด้วย การจัดตั้งแผนการกำหนดนโยบายและการดำาเนินการตามนโยบาย 
  3. ความมั่นคงภายใน 
  4. การป้องกันประเทศ
  5. องค์กรทหาร จะต้องอยู่ในระดับที่พลเรือนควบคุมขนาดโครงสร้างของกองทัพ หลักการการศึกษา รวมถึงจำานวนและชนิดในการจัดซื้ออาวุธ การสำรวจอย่างคร่าวๆของขอบเขตแต่ละข้อ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยนั้นห่างไกลจากอุดมคติที่ใกล้เคียงของหลักการ “การควบคุมโดยพลเรือน”
ลักษณะชัดเจนที่บ่งบอกถึงการพยายามของกองทัพในการก่อตั้งการครอบงำาเหนือระบบทางการเมืองที่เคยมีขึ้นมาใหม่ นั้นคือการที่กองทัพพยายามสรรหาผู้นำทางการเมืองเอง เริ่มจากการถอดถอนทักษิณชินวัตรในปี 2549 ซึ่งหลังจากนั้นกองทัพพยายามแทรกตัวเข้าไปในกระบวนการคัดสรรและหาผู้นำาพลเรือนคนใหม่อย่างต่อเนื่อง เป็นที่รู้ดีว่า กองทัพมีบทบาทสำคัญช่วยแต่งตั้งนายมาร์ค อภิสิทธิ์เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยการโน้มน้าวอดีตพันธมิตรของทักษิณให้เปลี่ยนข้างไปสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ กระบวนการนี้ไม่ได้มีแค่จัดประชุมกับแกนนำของพรรคการเมืองขนาดเล็กเหล่านี้ที่บ้านของอดีตผู้บังคับบัญชาการทหารบก พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดาเท่านั้น แต่จบด้วยการเรียกร้องของ “ชายที่คำขอของเขาไม่อาจถูกปฏิเสธได้” 

ในเวลานั้น กองทัพทำทุกอย่างเพื่อแสดงว่าพวกเขไม่ยอมรับรัฐบาลตัวเลือกอื่น ด้วยการทำลายรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยเรียกร้องให้อดีตนายกรัฐมนตรีลาออกหลังจากการปะทะกับระหว่างตำรวจและกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดยพลเอกอนุพงษ์ไม่ทำตามคำาสั่งรัฐบาลที่สั่งให้สลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรที่สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง

ส่วนนักการเมืองที่สนใจแต่ตำแหน่งตนเองเหนือสิ่งอื่นใดก็รู้สึกลังเลในข้อเสนอให้เปลี่ยนข้าง หลังจากคำมั่นสัญญาเรื่องเสถียรภาพของตำแหน่งจากกองทัพ โดยกองทัพจะหนุนหลังรัฐบาลนายมาร์คอภิสิทธิ์ และหลังจากนั้นเป็นต้นมา กองทัพได้รักษาสัญญาเป็นอย่างดี โดยมีการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งประกอบด้วยพรรคร่วมรัฐบาลที่อ่อนแอ และสร้างวิกฤติ เรื่องฉาวโฉ่ ร่วมถึงการสังหารหมู่ ซึ่งจากองค์ประกอบเหล่านี้ไม่สามารถทำาให้รัฐบาลพลเรือนในไทยหรือที่ไหนในโลกบริหารประเทศต่อไปได้

บทบาทสำคัญของกองทัพในการสรรหากลุ่มผู้นำยังมีรูปแบบที่เห็นไม่ค่อยชัดเจน เนื่องจากการเพิ่มระดับของการทำงานร่วมกันของกองทัพและองคมนตรี องคมนตรีมีอิทธิพลในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงหลายตำาแหน่งเป็นเวลานาน ข้อเท็จจริงคือ สมาชิกองคมนตรีบางคนที่เคยเป็นอดีตนายพลมีบทบาทสำาคัญ ทำให้สถาบันสองสถาบันมีความใกล้ชิดและมีวัตถุประสงค์ร่วมกันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน องคมนตรีเป็นเครื่องมือใช้ปกป้องรัฐบาลนายมาร์ค อภิสิทธิ์อย่างมาก และยังพยายามหาทางทำทุกทุกอย่างที่จะผลักดันให้คนที่ “เหมาะสม” เข้าไปนั่งในตำแหน่งเจ้าหน้าระดับสูง นายพสิษฐ์ ศักดณรงค์ อดีตเลขานุการประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่วิดีโอนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์พยายามล๊อบบี้ศาลในคดียุบพรรคการเมืองล่าสุด และยังแสดงให้เห็นว่ามีการเพิกเฉยต่อข้อหาของพรรคประชาธิปัตย์ตามคำสั่งของประธานองคมนตรี พลเอกเปรม ติณลสูลานนท์และจากสถานการณ์เดียวกันนี้ นักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล นายชุมพล ศิลปอาชายังบ่นว่าการคัดเลือกวุฒิสภาสรรหา (จำนวนครึ่งหนึ่งของวุฒิสภา) ถูกผูกขาดโดย “ชายนิรนาม” ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นพลเอกเปรม

แม้กองทัพจะใช้อำานาจมหาศาลอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย แต่เหล่านายพลมักพอใจที่จะปล่อยให้การกำหนดนโยบายภายในส่วนใหญ่ตกอยู่ในกำามือของผู้นำกลุ่มอื่น ซึ่งรวมถึงข้าราชการและนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล แท้จริงแล้วสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เคยกล่าวว่าพวกเหล่านายพลต่าง “กลัวหางจุกตูด” ที่จะต้องบริหารประเทศโดยตรง โดยไม่มีรัฐบาลพลเรือนบังหน้าให้ แต่กองทัพสามารถบังคับให้ใช้นโยบายที่พวกเขาต้องการหรือไม่ยอมรับนโยบายที่พวกเขาไม่เห็นด้วยเมื่อไรก็ได้ เช่นเรื่องสำาคัญอย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนในเรื่องของความมั่นคงภายใน การป้องกันประเทศ และองค์กรทหาร กองทัพมีอำานาจควบคุมอย่างชัดเจน

ในกรณีของเรื่องความมั่นคงภายใน กองทัพไทยควบคุมกิจกรรมส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับการปราบปรามในภาคใต้และยังรักษาเสถียรภาพของรัฐด้วยการทำลายภัยคุกคามที่เกิดจากกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตย อำนาจเก่าในกองทัพได้สร้างความเข้มแข็งในการควบคุมเรื่องความมั่นคงภายในประเทศโดยการประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินปี 2548 และพระราชบัญญัติรักษาความมั่นคงภายในปี 2551 กฎหมายทั้งสองฉบับนิยามสถานการณ์ที่สามารถประกาศใช้กฎหมายฉุกเฉินที่กว้างจนเกินสงวนขอบเขต และให้อำานาจที่ปราศจากความรับผิดแก่กองทัพ

ตอนที่กฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้ องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศประณามกฎหมายดังกล่าวว่าเป็นภัยคุกคามระบอบการปกครองประชาธิปไตยในประเทศไทย และก่อนการร่างพระราชบัญญัติความมั่งคงภายในของรัฐบาลทหารจะเสร็จสมบูรณ์ในปลายปี 2550 องค์กรฮิวแมนไรท์ประณามการกระทำดังกล่าวว่า “มุ่งที่จะทำให้ทหารปกครองประเทศตลอดกาล” และเพื่อที่จะปล่อยให้ประเทศไทยตกอยู่ใน “สถานการณ์ที่มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้อำานาจอย่างทารุณและตามอำาเภอใจ”

กว่าสองปีที่ผ่านมา การทารุณอย่างเป็นระบบที่บัญญัติในกฎหมายทั้งสองฉบับซึ่งขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศได้ให้อำานาจกองทัพครั้งลิดรอนสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญแล้วครั้งเล่า ยึดอำานาจรัฐบาล และละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบโดยไม่ต้องรับผิดใดๆ ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ในปี 2553 คนใดถูกดำาเนินคดีอาญา ข้อเท็จจริงคือ เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีส่วนร่างแผนการสลายการชุมนุมได้รับการปูนบำาเหน็จโดยการเลื่อนตำแหน่ง

ส่วนเรื่องการป้องกันประเทศก็ไม่แตกต่างกันนัก เพราะตั้งแต่นายมาร์ค อภิสิทธิ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี กองทัพได้อำนาจผ่านรัฐบาลพลเรือน และใช้อำนาจในการปฏิเสธคำาสั่งรัฐบาลครั้งแล้วครั้งเล่า ในรอบสองปีที่ผ่านมา เช่น กองทัพบังคับใช้ นโยบายผลักเรือที่ไม่มีเครื่องมือนำทางของผู้ลี้ภัยทางการเมืองโรฮิงญาออกสู่น่านน้ำทะเลสากลอย่างต่อเนื่อง แม้นโยบายนี้จะทำให้ผู้ลี้ภัยเสียชีวิตหลายร้อยคน แต่ไม่มีสมาชิกกองทัพรายใดถูกสอบสวนทางอาญาหรือทางวินัย

อย่างไรก็ตาม การจัดการเรื่องความขัดแย้งชายแดนกับประเทศกัมพูชาของกองทัพคือหลักฐานอันเลวร้ายที่สุดที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่ากองทัพมีอำานาจเหนือนโยบายการต่างประเทศ มีรายงานว่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2554 เหล่านายพลสั่งให้ใช้อาวุธหนักอานุภาพทำลายล้างสูงอย่างระเบิดดาวกระจายยิงใส่พื้นที่กัมพูชา โดยไม่หารือกับรัฐบาลพลเรือน เมื่อรัฐบาลเห็นชอบกับการให้อินโดนีเชียเข้ามาเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหาหลักจากการปะทะนองเลือด เหล่านายพลระดับสูงเข้าแทรกแซงและไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว วันรุ่งขึ้น รองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณต้องรีบออกมาไกล่เกลี่ยเรื่องความไม่ลงรอยกันระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ

ในที่สุด ประเทศตกลงจะลงตัวแทนไปประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการร่วมแก้ไขปัญหาชายแดนที่อินโดนีเชีย หลังจากที่อินโดนีเซียตกลงจะไม่เข้าร่วมเจรจา นอกจากจะไม่ทำาตามรัฐบาลพลเรือนที่ไร้อำานาจแล้ว การแทรกแซงของกองทัพยังคงทำาลายการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในเรื่องขององค์กรทหาร กองทัพมีอำานาจควบคุมทั้งนโยบายและงบการจัดซื้อตั้งแต่การทำารัฐประหาร งบการประมาณกองทัพไม่เพียงแต่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตั้งแต่ปี 2549 เท่านั้น แต่เหล่านายพลยังได้รับอนุญาตให้จัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อะไรก็ได้ การฉ้อโกง ความคร่ำครึ และการจัดซื้อเกินราคา สร้างโอกาสทางด้าน
ผลประโยชน์ตอบแทนและสร้างความร่ำรวยมหาศาลให้พวกเขา แม้ว่าจะมีเงินเดือนข้าราชการอันน้อยนิดก็ตาม

เมื่อครั้งที่รัฐบาลยอมรับว่าเครื่องตรวจระเบิด GT-200 เป็นเรื่องต้มตุ๋นในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2010 ทุกกรมกองของกองทัพไทยร่วมกันแถลงข่าวประณามนายมาร์ค อภิสิทธิ์ และยืนยันว่าเครื่องมือดังกล่าว
ทำงานได้จริง แม้ว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จะระบุเป็นอย่างอื่นก็ตาม ต้นปีนี้รัฐบาลสมรู้ร่วมคิดอนุมัติงบประมาณ 2.3 พันล้านดอลล่าสหรัฐ เพื่อตั้งกรมทหารม้าใหม่ที่ภาคอีสาน ซึ่งถูกมองว่าเป็น “ความปรารถนาครั้งสุดท้าย” ของพลเอกเปรม และยังตามมาด้วยการอนุมัติให้ตั้งกรมทหารราบอันไร้ประโยชน์ขึ้นที่เชียงใหม่อย่างรวดเร็ว

3 . ลงคะแนนเสียงให้ทหาร?

ข้อเท็จจริงคือ ประเทศไทยไม่ได้ปกครองโดยรัฐทหารแต่เพียงรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น สิ่งที่แยกประเทศออกจากการปกครองโดยกองทัพอย่างสมบูรณ์อย่างง่ายๆ คือ การที่กองทัพเลือกจะซ่อนตัวอยู่หลังรัฐบาลพลเรือนที่อ่อนแอ และไม่มีความสนใจที่จะสร้างนโยบาย เพราะไม่กระทบต่ออำนาจ ความสำคัญ และการดำเนินกิจการต่างๆของเหล่านายพล แต่ขณะนี้ [อำนาจของพวกเขา] ไม่มีความมั่นคงเพราะพวกเขาก้าวมาถึงจุดนี้ได้ด้วยไม่เคารพกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ และรักษาอำนาจด้วยวิธีการอันเลวร้ายที่สุด นั้นคือการสังหารหมู่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยหลายครั้ง

ด้วยเหตุผลเหล่านั้น การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงจึงเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงของกองทัพ กล่าวคือ ชัยชนะที่ได้รับการยอมรับและ “ขาวสะอาด” ของพรรคประชาธิปัตย์จะทำให้รัฐบาลชุดปัจจุบันอ้างความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่มีในตอนนี้ อีกประการหนึ่งคือ คะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะเพิ่มความแข็งแกร่ง ให้กับสถานการณ์ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ [ อำนาจกองทัพ] เพราะจะเป็นการปิดปากฝ่ายตรงข้ามในการเรียกร้องประชาธิปไตยและอีกอย่างคือ ชัยชนะของฝ่ายตรงข้ามอาจบังคับให้กองทัพต้องเลือกระหว่างสามตัวเลือกที่ไม่พึงประสงค์นี้-ยอมรับบทบาทที่น้อยลง พึ่งกระบวนการตุลาการเพื่อตัดสินให้ผลการเลือกตั้งเป็นโมฆะ หรือทำารัฐประหารอีกครั้ง

ผลที่สุดคือกองทัพไทยเกี่ยวข้องลึกซึ้งกับแผนการช่วยนายมาร์ค อภิสิทธิ์ โดยอย่างน้อยที่สุดคือเอาใบตองมาปกปิดความน่าอายในเรื่องความชอบธรรมจากการเลือกตั้งให้นายมาร์ค นอกจากนี้ ผู้สังเกตการณ์มักจะไม่ได้คาดหวังว่าจะมีการโกงเลือกตั้งอย่างโจ่งแจ้ง จงใจใช้บัตรผี ทำาลายคะแนนเสียงการของฝ่ายตรงข้าม หรือการกดขี้ทางกายต่อผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม มันอาจเป็นเรื่องไร้เดียงสาที่จะมองข้ามความเป็นไปได้ โดยเฉพาะ หากเหล่านายพลเห็นว่าราคาที่ต้องจ่ายในการทำาลายผลการเลือกตั้งอันไม่น่าพึงประสงค์อาจะมากกว่าผลิตผลการเลือกตั้งที่น่าพอใจเสียเอง


จากมุมมองดังกล่าว เราสามารถคาดหวังว่ากองทัพจะพยายามทำาทุกอย่าง ยกเว้นโกงการเลือกตั้งอย่างโจ่งแจ้ง และหลังจากนั้นร่วมกันฉ้อโกงการเลือกตั้งทุกรูปแบบที่ไม่ดึงดูดการประณามจากประชาคมโลกช่วยพรรคประชาธิปัตย์ และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่นำไปสู่การประท้วงครั้งใหญ่ของผู้ลงคะแนนเสียง อาวุธที่ทรงอานุภาพมากที่สุดของกองทัพคือการข่มขวัญ และทรัพยากรขององค์กรที่จ่ายโดยภาษีประชาชนการข่มขวัญผู้ลงคะแนนเสียง ไม่ได้นำโดยใครอื่นนอกจากผู้บังคับบัญชาการกองทัพบก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และจากการส่งสัญญาณหลายครั้งบ่งบอกว่าเขาไม่ลังเลที่จะแทรกแซง หากสถานการณ์ไม่เป็นไปดั่งที่เขาต้องการ

เมื่อไม่นานมานี้ พลเอกประยุทธ์เรียกร้องให้ผู้ลงคะแนนเสียงคนไทยออกมาต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม ผู้บังคับบัญชาการกองทัพบกได้ยกเอาคำเตือนของนายกรัฐมนตรีมากล่าวซ้ำว่า การเลือกตั้งครั้งนี้คือตัวเลือกระหว่างนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ หรือวงจรความรุนแรงและไร้เสถียรภาพอีกครั้งหนึ่ง ความหมายโดยนัยคือ หากคนลงคะแนนเสียงไม่เลือกนายมาร์ค อภิสิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง กองทัพไม่ลังเลที่จะปฏิบัติกัรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเช่นเดียวกับรัฐบาลสามชุดก่อน หากพิจารณาตัวเลือกของพวกเขา การไม่ลงคะแนนเสียงให้อภิสิทธิ์เป็นการย้ำเตือนผู้ลงคะแนนว่า อาจจะมีรัฐประหาร สังคมที่ไร้ขื่อแป และการสังหารหมู่เกิดขึ้นอีกระลอกหนึ่ง

นอกจากจะข่มขวัญผู้ลงคะแนนเสียงด้วยคำาขู่แบบอ้อมๆหยอมแหยมด้วยเรื่องความรุนแรงและวุ่นวายแล้ว ผู้นำกองทัพและพลเรือนยังมีส่วนร่วมกับโครงการคุกคามบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามวิจารณ์สถานการณ์ประเทศแต่พอดี และยังมีระบบกฎหมายของรัฐบาลที่ทำให้การแสดงออกทางความเห็นของตรงข้ามเป็นอาชญากรรมโดยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 และมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาได้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นระบบตามลักษณะของมัน และในระดับที่ไม่เคยมีเคยมีมาก่อนภายในเวลาสองปีที่ผ่านมา

การใช้วิธีการที่กดขี่เหล่านนี้ดีจะทำให้การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงตึงเครียดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ผู้ออกแบบเวปไซต์ของฝ่ายตรงข้าม นายธันย์ฐวุฒิทวีวโรดมกุลถูกตัดสินจำาคุก 13 ปีข้อหาตีพิมพ์ข้อความทาง
อินเตอร์เน็ตที่เขาไม่ได้มีส่วนร่วมในร่างหรือโพสต์เลย ส่วนรายอื่นถูกจับกุมในการชุมนุมคนเสื้อแดงครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากแจกจ่ายเอกสารเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 หรือเผยแพร่รายการสารคดีของสำนักข่าวออสเตรเลียเอบีซี วันที่ 11 เมษายน 2553

พลเอกประยุทธ์จัดตั้งกลุ่มทหารตนเองเพื่อเข้าแจ้งความดำาเนินคดีหมนิ่ พระบรมเดชานุภาพกับสามแกนนำเสื้อแดง (สองรายเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ที่ปราศรัยในงานครบรอบหนึ่งปีการสังหารหมู่ที่กระทำาทหารเมื่อปี 2553 คำพูดข้อพิพาทไม่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์หรือสมาชิกราชวงศ์ แต่เป็นคำพูดที่ประณามการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเรียกร้องให้ทหารหยุดใช้สถาบันกษัตริย์อำพรางตนเอง เพื่อปกป้องอำนาจและสร้างความชอบทำให้กับการกระทำาที่ผิดกฎหมายของพวกเขา

เมื่อพลเอกประยุทธ์อธิบายการการกระทำของตนเองต่อหน้าสื่อมวลชน เขาพูดโอ้อวดโดยบอกว่าการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคือการ “ปกป้องสถาบันกษัตริย์” สามวันหลังจากนั้น กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ประกาศว่า ตอนนี้แกนนำาเสื้อแดง18 คนอยู่ในระหว่างสอบสวนคดีหมิ่นพรบรมเดชานุภาพเนื่องจากคำปราศรัยในวันที่ 10 เมษายน 2554 หลังนั้นจากเปิดเผยว่าแกนนำาส่วนใหญ่ถูกสอบสวน เพราะในวิดีโอ พวกเขาให้ “ภาษากายที่บ่งว่าให้การสนับสนุน เช่น การตะโกน โห่ร้อง และปรบมือ” ในระหว่างการปราศรัยที่มีคำาพูดข้อพิพาทดังกล่าว ดีเอสไอแจ้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและปลุกระดมต่อพวกเขาการออกมาเตือนว่าบุคคลที่ “ทำให้สถาบันขุ่นเคือง” จะถูกตามล่าเหมือนสุนัข ทั้งกองทัพและรัฐบาลพลเรือนจอมปลอม ที่มีเหล่านายพลที่อยู่เบื้องหลังหมายความว่าบุคคลที่ต่อต้านพวกเขาคือศัตรูของ
สถาบันกษัตริย์นั้นเอง

แผนการดังกล่าวนั้นชัดเจนมากเพราะการกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีมักทำต่อนักกิจกรรมฝ่ายตรงข้ามและ
พวกเขาตกยังถูกปฎิบัติอย่างทารุณโดยระบบกฎหมาย ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้ามในสายตาของสาธารณชน และทำให้ผ่ายตรงข้ามรู้สึกท้อแท้ไม่อยากต่อต้านโครงสร้างอำนาจที่แท้จริงของประเทศไทย ในเวลาเดียวกัน การสร้างภาพว่าฝ่ายตรงข้ามคือศัตรูของชาติและสถาบันกษัตริย์เป็นการเตรียมการของกองทัพเพื่อก่อรัฐประหารหากฝ่ายตรงข้ามชนะการเลือกตั้ง

เหตุผลที่ทำเช่นนั้นต่อสาธารณชนก็เพื่อเป็นการบอกผู้ลงคะแนนเสียงอย่างเด็ดขาดว่าหากต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความวุ่นวายที่อาจจะเกิดขึ้นจากรัฐประหาร พวกเขาก็ควรจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากนี้ ขนาดของกองทัพยังขยายใหญ่อย่างไม่สามารถประมาณได้ เป็นที่รู้กันดีว่ากองทัพเข้ามาช่วยจัดการเลือกตั้ง ในปี 2550 และหลายวันก่อนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่แล้ว

องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ออกรายงานประณามคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ล้มเหลวในการคัดค้านความพยายามของกองทัพในการทำลายความเป็นธรรมและเสรีภาพของกระบวนการการเลือกตั้ง องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์อ้างข้อความในบันทึกที่รั่วไหลของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือรัฐบาลทหารหลังจากนั้น ที่ระบุว่าสามเดือนก่อนการเลือกตั้ง กองทัพวางยุทธวิถีการเพื่อทำลายพรรคพลังประชาชนและช่วยให้พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง รวมถึง “ปฏิบัติการหลายอย่างเพื่อข่มขู่ขัดขวาง และทำาลายความน่าเชื่อถือของพรรคพลังประชาชนและผู้สนับสนุนพรรค” และ “ตระเตรียมสถานีโทรทัศน์ทหาร สถานีวิทยุ หน่วยราชการลับ และหน่วยความมั่นคงเพื่อรายงานและปล่อยข่าวลือทำาลายความน่าเชื่อถือของพรรคพลังประชาชนและทักษิณ” และเช่นเดียวกัน องค์กรสังเกตการณ์การเลือกตั้ง  ENFREL พบว่าการกระทำของกองทัพ “สร้างบรรยากาศความน่าสะพึงกลัวขัดเจนเนื่องจากเสรีภาพของการแสดงออกและสมาคมถูกลิดรอน” แต่ในต่อมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะลงมติ 4-1 ตัดสินว่ากองทัพล้มเหลวที่จะวางตัวเป็นกลางระหว่างการเลือกตั้ง และระบุว่าเหล่านายพลเสวยสุขจาก “ความคุ้มกันตามรัฐธรรมนูญ” ในความพยายามที่จะรักษาหน่วยงานรักษาความมั่นคง

เห็นได้ชัดว่าภายใต้เกมของกฎเกณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากรัฐประหาร 2549 การโกงเลือกตั้งกลายเป็นสิ่ง ที่สำคัญที่สุดตามรัฐธรรมนูญ บางทีอาจเป็นเพราะมันไม่ต้องรบกวนให้กองทัพต้องออกมาทำรัฐประหารเพราะความล้มเหลวโครงการรณรงค์ของกองทัพในปี 2550 รวมถึงราคาที่กองทัพต้องเสีย (ในเรื่องของภาพลักษณ์ ความสามัคคีภายใน และชีวิตมนุษย์) ให้กับความพยายามที่จะทำลายผลการเลือกตั้ง กลุ่มนายพลใช้วิธีการที่รุกหนักยิ่งกว่าในโครงการปี 2554 เพราะกองทัพไม่คิดจะยอมรับผลการเลือกตั้งที่ “ผิด” อีกต่อไปเหมือนกับเมื่อสี่ปีที่แล้ว อย่างที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น ความเสี่ยงมีมากขึ้นหลังจากการสังหารหมู่ปี 2553 เพราะเหล่านายพลระดับสูงต้องการการรับประกันว่าตนเองจะไม่ต้องรับผิดต่อการกระทำใดๆอีกต่อไปเรื่อยๆ

เมื่อไม่นานมานี้ ฝ่ายตรงข้ามได้เปิดเผยรายละเอียดของแผนการดังกล่าว ซึ่งแผนการระบุรายละเอียดการเตรียมการปฏิบัติการในการเลือกตงั้ และจะมีการใช้เจ้าหน้าที่ความมั่นคงโน้มน้าวการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนด้วยการข่มขวัญ รวมถึงใช้การซื้อเสียงสนับสนุนจากบุคคลที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น และสร้างบรรยากาศความกลัวด้วยการกุเรื่องที่ฝ่ายตรงข้ามสนับสนุนแผนการลับสมรู้ร่วมคิดล้มล้างสถาบันกษัตริย์ แผนการนี้ยังรวมถึงการสร้างสถานการณ์การเลือกตั้งที่ไม่ปกติ ซึ่งอาจช่วยป้ายสีผู้สมัครฝ่ายตรงข้ามโดยมี “กฎหมาย” เป็นเครื่องมือ เช่น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งตัดสิทธิหรือยุบพรรคการเมือง ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้ผลประโยชน์จากความผิดปกตินี้ในปี 2550 โดยในเวลานนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง เข้าแทรกแซงประกาศให้ชัยชนะการเลือกตั้งที่พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมได้รับเป็นโมฆะตามมาด้วยการสั่งยุบพรรคพลังประชาชนโดยศาลรัฐธรรมนูญด้วยข้อกล่าวหาที่ได้กล่าวมาแล้ว

หากพิจารณาระดับความเสี่ยงและความพยายามของรัฐบาล รวมถึงหน่วยงานความมั่นคงที่จะเปลี่ยนผลการเลือกตั้ง จึงไม่น่าแปลกใจที่รองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณจะปฏิเสธอย่างเกรี้ยวกราดถึงความเป็นได้ที่จะเชิญผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติ [เพื่อเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้ง] ไม่ใช้เพราะว่า “เขาไม่เคารพฝรั่ง” หรือกังวลเรื่องอธิปไตยเหนือประเทศไทยตามที่เขาอ้าง แต่ผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติขู่จะเปิดโปงว่า ทั้งรัฐบาลและทหารจะพยายามเหยียบย่ำอธิปไตยของปวงชนไทยมากเท่าไรต่างหาก

แม้ผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติอาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาสังเกตการณ์ในกระบวนการนี้ เราสามารถยืนยันได้เลยว่ารัฐบาลจะเรียกกองทัพออกมารับประกัน “ความปลอดภัย” ในแต่ละหน่วยการเลือกตั้งทั่วประเทศแน่นอน เพราะเรามักพบว่า เจตนาของกองทัพในเรื่อง “ความปลอดภัย” มักจะเกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของรัฐบาลหุ่นเชิดอย่างต่อเนื่อง และการข่มขู่ทำร้ายผู้ลงคะแนนจัดอยู่ในเรื่อง “ความปลอดภัยของประเทศ” บางทีเรื่องที่น่ากังวลใจมากที่สุดในกรณีนี้คือ ประวัติศาสตร์ความรุนแรงก่อนการเลือกตั้ง (ที่รู้จักกันดีในยุค 70) ความเกี่ยวข้องกับการลอบวางระเบิด และเหตุการณ์ความรุนแรงอื่นในช่วงปี 2553 ของกองทัพ ซึ่งเป็นใน “ยุทธวิถีการสร้างความตึงเครียด” และถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลในการใช้อำานาจฉุกเฉินและออกข้อกำาหนดที่ทารุณเพื่อลิดรอนสิทธิฝ่ายตรงข้าม นายฟิลิปป์ วิลเลนเขียนอ้างถึง “ยุทธวิถีการสร้างความตึงเครียดที่คิดค้นโดยฝ่ายขวาและส่วนหนึ่งของรัฐบาลอิตาลีในปลายยุค 60 ว่า “ความสะพรึงกลัวทำาให้ประชาชนต้องการความปลอดภัยมากกว่าการเปลี่ยนแปลง” เมื่อใดก็ตามที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตย กองทัพไม่เคยลังเลที่ใช้ความรุนแรงและความหวาดผวา เพื่อสร้างความกลัวในหัวใจของคนที่อยากให้เหล่านายพลกลับไปอยู่ในค่ายทหาร

4 . การท้าทายอำนาจกองทัพ

มีการกล่าวถึงบ่อยครั้งว่า กองทัพไทยไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องประเทศจากภัยคุกคามภายนอก แต่ทำหน้าที่เป็นยามรักษาความปลอดภัยส่วนตัวเพื่อปกป้องกลุ่มอำมาตย์ (ซึ่งรวมถึงนายพลระดับสูง) จากความต้องการประชาธิปไตยของประชาชน และกองทัพยังมีอำนาจทางการเมืองล้นฟ้าเพื่อยับยั้งเครือข่ายทางการเมืองอีกด้วย กองทัพไทยไม่เคยรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน การสังหารหมู่และการยึดอำนาจเมื่อระบอบประชาธิปไตยคุกคามกลุ่มอำามาตย์และผลประโยชน์ของกลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งไม่แตกต่างจากเหล่าผู้นำากองทัพในละตินอเมริกา เพราะการช่วยเหลือของสหรัฐรวมถึงการไม่มีภัยคุกคามจากภายนอก ทำให้กองทัพไทยใช้เวลากว่าหลายสิบปีที่ผ่านมาทุ่มเทเพิ่มพูนอำนาจและงบประมาณ โดยการทำลายหลักนิติรัฐ สถาบันพลเรือน สมรรถภาพของรัฐ และเสรีภาพของประชาชนชาวไทย

วันนี้กองทัพไทยยังคงแข็งเกร่งจุ้นจ้าน และโหดร้ายเหมือนเดิม ความขัดแย้งทางการเมืองไทยยากจะแก้ไขอย่างเต็มที่ นอกจากสถาบันที่ดื้อรันไม่ยอมปล่อยให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยไม่ถูกเช็ดถูหรือปฏิรูปไม่ต้องสงสัยเลยว่าการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงนี้จะเสนอตัวเลือกที่ชัดเจนแก่ประชาชนไทยตามที่นายกรัฐมนตรีกล่าว อย่างไรก็ตามการตัดสินใจดังกล่าวมีมากกว่าการสนับสนุนตัวเลือกทางนโยบายหรือผู้ลงสมัครแข่งขัน ตัวเลือกที่พวกเขาต้องเลือกคือการทจี่ ะต้องยอมรับกฎเกณฑ์ของกองทัพและให้ความชอบธรรมกับรัฐบาลที่ใช้บังหน้ากองทัพหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การทำลายกลุ่ม อำมาตย์ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอีกครั้งโดยการเลือกตั้ง แสดงให้เห็นถึงความอดทนและยึดมั่นต่อประชาธิปไตยและความมุ่งมั่นที่จะกำหนดชีวิตตนเองของคนไทย การเลือกประชาธิปไตยมากกว่าจะเลือกเผด็จการจึงมีราคาที่ต้องจ่ายอย่างแน่นอน เพราะกองทัพไทยไม่เคยตอบโต้การท้าทายของประชาชนอย่างมีไมตรีจิตร แต่กระนั้น ก็เป็นเรื่องที่แย่ยิ่งกว่าที่คนไทยผู้มีสิทธเลือกตั้งจะยอมจำนนต่อการข่มขู่และความกลัว ยอมปล่อยให้ลูกหลานในอนาคตต้องเป็นผู้นำพาประเทศออกจากการปกครองโดยกองทัพ การให้โอกาสเหล่านายพลสร้างความมั่นคงทางอำนาจให้กับกลุ่มตนเองถือเป็นสร้างความเสียหายมากขึ้นหลายเท่าตัวเมื่อต้องจัดการกับกองทัพในทีหลัง โศกนาถกรรมเมื่อปี 2553 ได้ย้ำเตือนเราทุกคนว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นคือชีวิตมนุษย์
http://redusala.blogspot.com