วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศาสวัต บุญศรี: เสี้ยมคนฆ่ากันคือพันธกิจหลักของฉัน


ศาสวัต บุญศรี: เสี้ยมคนฆ่ากันคือพันธกิจหลักของฉัน
ศาสวัต บุญศรี: เสี้ยมคนฆ่ากันคือพันธกิจหลักของฉัน
Posted: 10 Dec 2012 07:19 AM PST(อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท)


ศาสวัต บุญศรี           สื่อมวลชนไทยหลายแขนง ณ เวลานี้ ดูแล้วรู้สึกว่าว่างมากเป็นพิเศษ วัน ๆ ก็คอยสอดส่องดูว่าศัตรูฝ่ายตรงข้ามอุดมการณ์ทำอะไรไม่เข้าตาบ้าง จ้องจับผิดไปเสียทุกเรื่องตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ ระดับ “ภาพคัฟเวอร์โฟโต้” หรือเรื่องใหญ่อย่างทักษิณออกทีวี

           ต้นสัปดาห์ เพจของหนังสือพิมพ์แนวหน้าจัดการ ครอปภาพหน้าจอ เพจเฟซบุ๊คของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมวางเปรียบเทียบกัน คำบรรยายใต้ภาพสรุปใจความได้ว่า เนื่องจากวันคล้ายวันพระราชสมภพ ทำไมเพจนางสาวยิ่งลักษณ์ถึงไม่ยอมเปลี่ยนภาพคัฟเวอร์โฟโต้เป็นการถวายพระพรในหลวง ต่างจากของนายอภิสิทธิ์ที่รู้งาน นี่ย่อมแสดงลึก ๆ ว่านางสาวยิ่งลักษณ์ไม่จงรักภักดีหรือเปล่า

           เหตุการณ์ที่สองเกิดขึ้นกับเพจเนชั่น ชาแนล สืบเนื่องจากบทกลอนอาเศียรวาทของมติชนที่มีการตีความว่าส่อไปในทางแง่ลบ เนชั่น ชาแนลจัดการนำคำพูดของ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล มาเสนอพร้อมภาพบทกลอนชวนให้เข้าใจได้ว่า ดร.สมเกียรติออกมาวิจารณ์กลอนบทนี้

            แต่แล้วเกิดมีผู้จับผิดได้ว่าข้อความที่เนชั่น ชาแนลใช้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์เมื่อเดือนตุลาคมโดยผู้จัดการออนไลน์ แถมที่สำคัญ ตัว ดร.สมเกียรติเองก็แทบไม่ได้กล่าวถึงกลอนบทนี้โดยตรงในแฟซบุ๊คของตน สรุปความได้ว่า เนชั่น ชาแนลจัดการก๊อปปี้ข้อความจากผู้จัดการแล้วตัดแปะประหนึ่ง ดร.สมเกียรติพูดอีกที โดยที่เจ้าตัวไม่ได้รู้แม้แต่น้อย เหตุการณ์นี้สร้างความไม่พอใจให้กับนักข่าวอาวุโสในเนชั่นเอง จนท้ายที่สุดทางเพจต้องทำการลบและแสดงความขอโทษต่อการกระทำ

            และล่าสุด หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ฉบับเช้าวันรัฐธรรมนูญจัดการพาดหัวรับการออกทีวีของ พตท.ทักษิณ ทางช่อง 11 เมื่อคืนวันที่ 9 ธันวาคม ด้วยประโยคที่ว่า “อัปรีย์ถ่ายสดแม้ว” สร้างความสะใจและฟินให้แก่แฟนคลับของไทยโพสต์เป็นอันมาก

           เพียงอาทิตย์เดียวเกิดเหตุการณ์ชวนตะลึงถึงสามเรื่อง น่าสนใจว่าเดี๋ยวนี้จรรยาบรรณสื่ออยู่ที่ไหนกัน คนเป็นสื่อทุกคนต่างล้วนถูกพร่ำสอนมาตั้งแต่เป็นนักเรียน หรือถึงไม่จบตรงสาย เจ้านายและรุ่นพี่ก็น่าจะสอน  ครูบาอาจารย์มักหยิบเอาตำราของเดนิส แมคเควลมาสาธยายให้ฟังว่าหน้าที่ของสื่อมีอะไรบ้าง จรรยาบรรณควรเป็นอย่างไร และหนึ่งในข้อที่ต้องจำคือ สื่อจะต้องเป็นผู้ประสานรอยร้าวที่เกิดขึ้นในสังคม

           แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองไทยช่วงปีสองปีที่ผ่านมา รอยร้าวนั้นดูไม่ค่อยได้รับความสนใจทำหน้าที่ประสานกันสักเท่าไหร่ เห็นมีแต่จะยิ่งทำให้รอยร้าวแตกทลายมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ที่เราพบเจอได้บ่อยคือการจ้องจับผิดเรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่น่าจะเป็นเรื่อง แต่เล็งเห็นผลได้ว่าถ้านำมาเสนอย่อมเพิ่มความไม่พอใจและความจงเกลียดจงชัง แฟนคลับที่เข้ามาอ่านก็ยิ่งพากันกระหน่ำด่าโดยไร้เหตุผลและหยาบคาย พร้อมกับเชิดชูว่านี่คือสิ่งที่ “สื่อตัวจริง” ต้องทำ

           การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล หน่วยงานรัฐ ฯลฯ โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ตรงข้ามตนไม่ใช่เรื่องผิด แถมเป็นเรื่องที่ต้องกระทำด้วย ทว่าการตรวจสอบไม่ได้แปลว่าต้องมานั่งจับผิดเรื่องเล็กกระจิ๋วหลิวที่คนค่อนประเทศเขาก็งงว่ามันผิดตรงไหน แต่ว่า ๆ ไปแท้ที่จริงแล้ว สื่อเหล่านี้ไม่ได้ต้องการตรวจสอบการทำงานใด ๆ ของฝ่ายตรงข้ามหรอก พวกเขาเพียงแต่อยากขย้ำและกระทืบเสียให้จมดิน จะมีอะไรดีกว่าการเอะอะหาเรื่องด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วก็คอยนำเสนออยู่เรื่อย ๆ ผลิตซ้ำเข้าไปให้แฟนคลับได้เสพ พวกเขารู้อยู่แล้วว่าแฟนคลับส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และไม่ต้องการเหตุผลใด ๆ พวกเขาเล็งเห็นผลแต่แรกว่ายิ่งเสี้ยมคนให้เกลียดฝ่ายตรงข้ามเท่าไหร่ ยิ่งทำให้มีแฟนคลับเหนียวแน่นและพร้อมจะกระทืบผู้เห็นต่างในโลกไซเบอร์ได้ทุกเมื่อ

            สิ่งที่น่าหวั่นใจคือสื่อเหล่านี้จะรู้ตัวเองหรือเปล่าว่าสิ่งที่ตนทำไม่ใช่เรื่องที่สมควรและถูกต้อง บทเรียนในอดีตทั้งในและนอกประเทศต่างล้วนเป็นอุธาหรณ์สอนใจให้ดูว่าการที่สื่อมวลชนเสี้ยมให้คนเกลียดกันมากยิ่งขึ้น ๆ ผลมันจะเป็นอย่างไร ดูท่าคงไม่ได้เรียนรู้จากอดีตเลยแม้แต่น้อย อยากรู้เหมือนกันว่าเวลาพูดถึงวิทยุยานเกราะหรือหนังสือพิมพ์ดาวสยาม พวกเขาจะรู้สึกในแง่ไหน คงสมาทานแนวคิดและเชิดชูให้เป็นสื่อมวลชนต้นแบบก็เป็นได้

           ท้ายที่สุดไม่ว่าสื่อมวลชนค่ายนั้นจะถืออุดมการณ์การเมืองฝ่ายไหนอย่างไร  อยากขอวิงวอน เลิกเสี้ยมมวลชนตนเองให้ยิ่งเกลียดฝ่ายตรงข้ามกันมากยิ่งขึ้น ๆ คิดให้มาก คิดให้ถี่ถ้วนก่อนจะเสนอะไรออกไป ตัวสื่อเดิมอาจจะไม่ค่อยมีปัญหาเพราะต้องผ่านการกลั่นก รองหลายชั้น (แต่ก็ไม่แน่ ไทยโพสต์แสดงให้เห็นแล้ว) แต่สื่อใหม่ โดยเฉพาะเพจเฟซบุ๊คที่แอดมินฯ สามารถโพสต์อะไรก็ได้ จนดูเหมือนไม่มีการควบคุมจากตัว บก.ใหญ่ ตรงนี้อาจหลุดเรื่องเสี้ยมออกมาโดยไม่ผ่านการกรองก่อน
           มิฉะนั้นแล้ว ถ้ายังเสี้ยมกันหนักเข้า ๆ ทั้งสองฝ่าย ประเทศเราคงลงเอยด้วยการฆ่ากันแบบ Battle Royale เป็นแน่ 

http://narater2010.blogspot.com/

แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
copyleft
แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
 
เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2555
ข้อเสนอกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550
           
ปมปัญหาของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มิใช่เพียงที่มาอันสืบเนื่องจากการรัฐประหารเท่านั้น หากยังรวมไปถึงการกำหนดโครงสร้างของสถาบันทางการเมืองที่ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย การกล่าวอ้างว่าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วจะนำไปสู่ความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับที่ทั้งไม่ชอบธรรม/ไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตยเอาไว้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว 3 ประการ ดังต่อไปนี้
ประการแรก ปมปัญหา
การแก้ไขเพื่อให้เกิดการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องไม่จำกัดขอบเขตเอาไว้เฉพาะเพียงความขัดแย้ง “ทางการเมือง/เฉพาะหน้า/ระหว่างสี” เท่านั้น เพราะจะทำให้การพิจารณา รัฐธรรมนูญวางอยู่บนปมขัดแย้งทางการเมืองและอาจนำไปสู่การต่อต้านโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือหลายฝ่าย และอาจจะได้รัฐธรรมนูญที่ ไม่ช่วยในการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เอื้อต่อการบรรลุเป้าหมายที่ดีงามอื่นๆ ในบริบทของสังคมไทยและสังคมโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเท่าที่ควร
ในด้านหนึ่ง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาอย่างสำคัญทั้งในแง่ของความชอบธรรมของการกำเนิดขึ้น และทั้งในด้านโครงสร้างขององค์กรและสถาบันต่างๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุง ขณะเดียวกันสังคมไทยก็มีปัญหาเชิงโครงสร้างอีกหลายประการที่เป็นปัจจัยสำคัญของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำของรายได้และทรัพย์สิน การรวมศูนย์อำนาจรัฐ วัฒนธรรมแห่งชาติที่เป็นรากฐานของความไม่เสมอภาคทางสังคม ฯลฯ ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงควรเป็นกรอบกติกาในการต่อรองระหว่างคนกลุ่มต่างๆ และการค้ำประกันตลอดจนการวางขอบเขตแห่งสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคล ไม่ใช่จำกัดอยู่แต่เฉพาะการกำหนดโครงสร้างสถาบันการเมืองเท่านั้น  ทั้งนี้ จะต้องพิจารณารัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการวางกฎเกณฑ์ที่บุคคลและกลุ่มสังคมแต่ละฝ่ายสามารถต่อรองและแข่งขันกันได้อย่างกว้างขวางและเป็นธรรมที่สุด
ประการที่สอง ประเด็นในการพิจารณาแก้ไข
ประเด็นแรก โครงสร้างสถาบันทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ จะต้องถูกปรับให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย โดยมีหลักการสำคัญคือต้องยอมรับอำนาจนำของสถาบันการเมืองจากระบบเลือกตั้ง แต่จะต้องมีกระบวนการตรวจสอบและควบคุมการใช้อำนาจทางการเมืองจากประชาชนและองค์กรอิสระ ทั้งนี้ องค์กรอิสระจะต้องปรับโครงสร้างให้มีความเชื่อมโยงและมีความรับผิดชอบ (accountability) ต่อประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน เพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจไปในทางที่ไม่เป็นธรรมและเอื้อประโยชน์ให้เฉพาะคนบางกลุ่ม
ประเด็นที่สอง การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและชุมชน ต้องยอมรับสิทธิในการปกครองของท้องถิ่นและชุมชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายในแต่ละพื้นที่ โดยต้องยอมรับสิทธิของชุมชนและอำนาจในการจัดการท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งอำนาจในการจัดการทรัพยากร และการเลือกตั้งองค์กรทางการเมืองการปกครองในทุกระดับ  ซึ่งย่อมหมายถึงการยกเลิกระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ให้เหลือเพียงราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
ประเด็นที่สาม สร้างความเท่าเทียมและลดความเลื่อมล้ำในสังคม ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มต่างๆ เป็นปัญหาที่หยั่งรากลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน  และมีผลกระทบอย่างมากต่อคนตัวเล็กๆ ในสังคม  ซึ่งนับวันจะสร้างความขัดแย้งให้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการรับรองสิทธิในปัจจัยและความจำเป็นพื้นฐานของบุคคล  การใช้มาตรการต่างๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้เหลือน้อยที่สุดและสร้างความเป็นธรรมในด้านต่างๆ โดยเร็ว และการสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของภาครัฐและภาคเอกชนที่เอื้อต่อการกำกับตรวจสอบ และการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
ประเด็นที่สี่ สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนต้องได้รับการปกป้องโดยกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิจากการถูกละเมิดโดยอำนาจรัฐอย่างฉ้อฉล รวมทั้งต้องสร้างกระบวนการในการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐอย่างเข้มงวด
ทั้งนี้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต้องได้รับการปกป้องอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสรีภาพในการแสดงความเห็นของประชาชนต่อสถาบันการเมืองจะต้องถือเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน  ปราศจากกฎหมายเฉพาะที่ส่งผลต่อการใช้เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์อย่างชอบธรรม
ประการที่สาม กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นอำนาจของรัฐสภาที่สามารถจะกระทำได้ทั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและจารีตประเพณีที่ปฏิบัติกันสืบเนื่องต่อมา แต่ทั้งนี้ควรเพิ่มหลักการมีส่วนร่วมและอำนาจตัดสินใจของปวงชนเข้าไปในกระบวนการดังกล่าวนี้ด้วย
อนึ่ง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งรวมถึงการโต้แย้ง ต่อรอง อย่างเปิดกว้างและเสรี จะทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถเดินหน้าไปได้ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำหรือเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลบางคนหรือบางกลุ่มเท่านั้น มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเรียกร้องให้แต่ละฝ่ายใช้เหตุผล สติปัญญา และการตระหนักถึงอนาคตของสังคมไทยเป็นสำคัญ  ไม่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้าของบุคคลหรือกลุ่มสังคมใดๆ แล้วสร้างเป็นข้ออ้างต่างๆ ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือฝ่ายที่ต้องการหยุดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ตาม 
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
10 ธันวาคม 2555
http://narater2010.blogspot.com/

สหภาพรัฐสภาโลกชี้ การถอนสภาพสส. ของ ''จตุพร'' ขัดหลักสิทธิฯสากล


สหภาพรัฐสภาโลกชี้ การถอนสภาพสส. ของ ''จตุพร'' ขัดหลักสิทธิฯสากล
สหภาพรัฐสภาโลกชี้ การถอนสภาพสส. ของ ''จตุพร'' ขัดหลักสิทธิฯสากล
Posted: 13 Dec 2012 04:47 AM PST (อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท) 



          สืบเนื่องจากการถอดถอนสถานะของสมาชิกรัฐสภา ของนายจตุพร พรหมพันธ์ุ อดีตส.ส. พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มนปช. เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 55 จากคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ โดยอ้างเหตุผลว่านายจตุพรมิได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค. 54 เนื่องจากถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ด้วยข้อหาก่อการร้ายจากการมีส่วนร่วมในการชุมนุมที่ผิดกฎหมายระหว่างเดือนเม.ย. -พ.ค. 53 ซึ่งเป็นช่วงการประกาศพ.ร.ก. ฉุกเฉินภายใต้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

         มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 55 สภาบริหารแห่งสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ (The Governing Council of the Inter-Parliamentary Union) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นรัฐสภา 162 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้มีมติเอกฉันท์เห็นควรให้ประเทศไทยทบทวนมติการถอดถอนสถานะสมาชิกผู้แทนรัฐสภาและสมาชิกภาพของพรรคการเมืองของจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตสภาผู้แทนราษฎรและแกนนำกลุ่มนปช. เนื่องจากมองว่าขัดกับหลักการในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี โดยมติดังกล่าวระบุว่า 
          "ข้อบทใน ICCPR ที่ประกันให้บุคคลที่ตกเป็นจำเลยในคดีอาญามีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ (ข้อบทที่ 14) และ "ได้รับการจำแนกออกจากผู้ต้องโทษ และต้องได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างออกไปให้เหมาะสมกับสถานะที่ไม่ใช่ผู้ต้องโทษ” (มาตรา 10(2)(a)) และยังชี้ให้เห็นว่าการวินิจฉัยว่านายจตุพรขาดคุณสมบัติขัดกับเจตนารมณ์ของมาตรา 102(4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกำหนดให้เพียงผู้ที่ต้องโทษตามคำสั่งศาลแล้วเท่านั้นที่จะสูญเสียสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อมีการยื่นเรื่องเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ยังเป็นแค่จำเลย"
           สหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศจึงแสดงความกังวลต่อประเทศไทยว่า นายจตุพรได้ "ถูกพิจารณาว่าขาดคุณสมบัติด้วยเหตุผลที่ขัดแย้งโดยตรงกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย" และเรียกร้องให้ทบทวนคำตัดสินดังกล่าว และระบุว่าจะติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป 
0000
ประเทศไทย
คดีเลขที่ TH/183 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ 
มติที่มีการรับรองเป็นเอกฉันท์ในที่ประชุมสภาบริหาร IPU (IPU Governing Council) สมัยประชุมที่ 191
(ควีเบก 24 ตุลาคม 2555)
สภาบริหารสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ
ได้พิจารณากรณีของนายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งประเทศไทย โดยเป็นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภา (Committee on the Human Rights of Parliamentarians) และเป็นไปตามขั้นตอนปฏิบัติการรับข้อร้องเรียนกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภาของสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ
ได้พิจารณาข้อมูลจากผู้ร้องที่ให้มาแล้วว่า
นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และในขณะนั้นดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีบทบาทสำคัญในระหว่างการชุมนุมของ คนเสื้อแดงกลางกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม - 19 พฤษภาคม 2553 ช่วงหลังการชุมนุม นายจตุพรและแกนนำนปช.คนอื่น ๆ ได้ถูกตั้งข้อหาว่ามีส่วนร่วมในการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย เป็นการละเมิดต่อกฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ประกาศใช้ ในเวลาต่อมา มีการสั่งฟ้องคดีต่อนายจตุพรและแกนนำคนอื่น ๆ ในข้อหาก่อการร้าย ทั้งในส่วนของการวางเพลิงเผาทำลายอาคารหลายแห่งซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 หลังจากแกนนำนปช.ได้ถูกตำรวจควบคุมตัวไว้แล้ว ต่างจากแกนนำนปช.คนอื่น ๆ เนื่องจากนายจตุพรมีตำแหน่งเป็นสส. เขาจึงได้รับการประกันตัวอย่างรวดเร็ว
ในวันที่ 10 เมษายน 2554 นายจตุพรเข้าร่วมการชุมนุมรำลึกซึ่งจัดขึ้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในกรุงเทพฯ เพื่อรำลึกการครบรอบปีการปราบปรามผู้ชุมนุมเสื้อแดงของรัฐบาล ในการกล่าวปราศรัย เขาได้วิจารณ์รัฐบาลและกองทัพไทยที่ได้อ้าง “การปกป้องราชบัลลังก์” เพื่อหาทางเอาผิดกับขบวนการคนเสื้อแดง และยังมีการสังหารคนเสื้อแดงเมื่อปีก่อนหน้านี้ นายจตุพรยังได้วิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำวินิจฉัยไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยอ้างถึงคลิปวีดิโอที่หลุดรอดออกมาและเผยให้เห็นการสมคบคิดกันระหว่างผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญบางท่านกับเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง หลังจากนั้นเป็นเหตุให้กองทัพบกได้ส่งตัวแทนแจ้งความดำเนินคดีกับนายจตุพรในข้อหากล่าวปราศรัยในลักษณะที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และแม้จะมีการสอบสวนอีกหนึ่งปีต่อมาและพบว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่มีมูลความจริง แต่กรมสอบสวนคดีพิเศษก็ยังร้องขอศาลอาญาให้ยกเลิกเงื่อนไขการประกันตัวของเขา และศาลก็มีคำสั่งเช่นนั้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 เป็นเหตุให้นายจตุพรถูกควบคุมตัวที่เรือนจําพิเศษกรุงเทพจนกระทั่งวันที่ 2 สิงหาคม 2554
หนึ่งสัปดาห์หลังยกเลิกการประกันตัว มีการใส่ชื่อนายจตุพรไว้ในบัญชีรายชื่อสมาชิกรัฐสภาของพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 และทางคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เห็นชอบต่อบัญชีรายชื่อนั้นหลังจากตรวจพบว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการตรวจสอบล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้ง ในช่วงเวลาดังกล่าว ทนายความของนายจตุพรได้ร้องขอต่อศาลอาญาหลายครั้งให้มีการปล่อยตัวชั่วคราว หรืออนุญาตให้ออกจากเรือนจำชั่วคราวเพื่อลงคะแนนเสียง แต่ศาลปฏิเสธคำขอ เป็นเหตุให้นายจตุพรไม่สามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้งได้ ทั้งนี้ตามข้อมูลจากผู้ร้อง การที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงได้ถูกฝ่ายตรงข้ามใช้ประโยชน์ โดยอ้างเป็นหลักฐานว่าเขาขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภา ในเบื้องต้น กลต.รับรองผลการเลือกตั้งเช่นนั้น และอนุญาตให้นายจตุพรสาบานตนเข้าเป็นสมาชิกรัฐสภาคนใหม่ ซึ่งมีการประชุมในวันที่เขาได้รับการปล่อยตัว แต่ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2554 กกต.มีมติ 4-1 ว่านายจตุพรขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภา และขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องนี้เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งว่าเหตุที่นายจตุพรถูกควบคุมตัวในวันเลือกตั้ง และเป็นเหตุให้ไม่สามารถไปลงคะแนนเสียงได้ เป็นเงื่อนไขทำให้เขาขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภา โดยศาลให้เหตุผลว่านายจตุพรถูกห้ามไม่ให้ไปลงคะแนนเสียงตามมาตรา 100(3) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งกำหนดไว้ว่า “ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย” ในวันเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อห้ามและเป็นเหตุให้มีการจำกัดสิทธิการเลือกตั้งของเขา และหมายถึงว่าเขาต้องสูญเสียสมาชิกภาพของพรรคการเมืองไปโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 และการสูญเสียสมาชิกภาพพรรคการเมือง (ตามมาตรา 101(3) และ 106(4) ของรัฐธรรมนูญ) เป็นเหตุให้เขาขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกรัฐสภา
พิจารณาว่า ผู้ร้องยืนยันว่า การแจ้งข้อหาอาญาต่อนายจตุพรเนื่องจากบทบาทของเขาในการชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 ขาดความเหมาะสมอย่างยิ่ง โดยอ้างว่าข้อหาการเข้าร่วมการชุมนุมที่ผิดกฎหมายเป็นผลมาจากการใช้อำนาจในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา และการตั้งข้อหาก่อการร้ายต่อนายจตุพรและแกนนำคนเสื้อแดงคนอื่น ๆ ซึ่งมีการสั่งฟ้องเมื่อเดือนสิงหาคม 2553 มีสาเหตุมาจากแรงจูงใจทางการเมือง โดยตามความเห็นของผู้ร้อง ในขณะที่คนเสื้อแดงถูกรัฐบาลกล่าวหาว่าก่อความรุนแรงหลายครั้ง แต่ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าบรรดาแกนนำได้วางแผนให้กระทำความรุนแรงเหล่านั้น หรือทราบล่วงหน้าว่าจะมีการกระทำเช่นนั้น และพิจารณาอีกว่า จะมีการไต่สวนคดีนี้ขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555
พิจารณาต่อไปว่า นายจตุพรได้ถูกศาลตัดสินลงโทษในวันที่ 10 กรกฎาคม และ 27 กันยายน 2555 ในความอาญาสองคดีให้ได้รับโทษจำคุกเป็นเวลาหกเดือนทั้งสอง คดี (ให้รอลงอาญาไว้สองปี) และโทษปรับเป็นเงินจำนวน 50,000 บาทในข้อหาหมิ่นประมาทนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่คดียังอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ทั้งสองคดี ระลึกไว้ว่า ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออกเน้นย้ำในรายงาน (A/HRC/17/27 วันที่ 16 พฤษภาคม 2554) เรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ ลดการเอาผิดทางอาญาจากการหมิ่นประมาท
ระลึกว่า ไทยเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) เป็นเหตุให้มีพันธกรณีต้องคุ้มครองสิทธิตามที่กำหนดไว้ในกติกา
- กังวลอย่างมากว่า นายจตุพรได้ถูกพิจารณาว่าขาดคุณสมบัติด้วยเหตุผลที่ขัดแย้งโดยตรงกับพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย
- พิจารณาว่า แม้ว่ารัฐธรรมนูญไทยกำหนดให้มีการจำกัดสิทธิของบุคคลที่ “ต้องคุมขังอยู่โดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย” ในวันเลือกตั้ง เป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดในข้อบทที่ 25 ของ ICCPR ที่ประกันสิทธิที่จะ “มีส่วนร่วมในการปฏิบัติรัฐกิจ” และ “ออกเสียงหรือได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งอันแท้จริงตามวาระ” ทั้งนี้โดยไม่มี “ข้อจำกัดอันไม่สมควร”
- พิจารณาว่า ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีความเห็นว่าการไม่อนุญาตให้สมาชิกรัฐสภาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากเรือนจำเพื่อใช้สิทธิในการเลือกตั้ง เป็น “ข้อจำกัดอันไม่สมควร” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาประกอบข้อบทใน ICCPR ที่ประกันให้บุคคลที่ตกเป็นจำเลยในคดีอาญามีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ (ข้อบทที่ 14) และ "ได้รับการจำแนกออกจากผู้ต้องโทษ และต้องได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างออกไปให้เหมาะสมกับสถานะที่ไม่ใช่ผู้ต้องโทษ” (มาตรา 10(2)(a)) และยังชี้ให้เห็นว่าการวินิจฉัยว่านายจตุพรขาดคุณสมบัติขัดกับเจตนารมณ์ของมาตรา 102(4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกำหนดให้เพียงผู้ที่ต้องโทษตามคำสั่งศาลแล้วเท่านั้นที่จะสูญเสียสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อมีการยื่นเรื่องเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง แต่ไม่รวมถึงผู้ที่ยังเป็นแค่จำเลย
- จึงมีความกังวลกับการวินิจฉัยให้สมาชิกภาพพรรคการเมืองของนายจตุพรสิ้นสุดลง ในขณะที่ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าเขาได้กระทำความผิดใด ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำปราศรัยของเขา ซึ่งอันที่จริงเป็นเพียงการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกของเขาอย่างชัดเจน และได้รับการยืนยันจากการสั่งไม่ฟ้องคดีในเวลาต่อมา และยังกังวลกับการที่ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นสมาชิกภาพพรรคการเมืองของเขา ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างนายจตุพรกับพรรคของเขาเอง และไม่ปรากฏว่ามีข้อพิพาทระหว่างเขากับพรรคของเขาให้เป็นประเด็นที่ศาลต้องพิจารณาเลย
- หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตามข้อมูลข้างต้น หน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่ของไทยจะกระทำทุกวิถีทางเพื่อทบทวนการตัดสมาชิกภาพของนายจตุพร และประกันว่าข้อบัญญัติทางกฎหมายที่เป็นอยู่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และต้องการยืนยันความเห็นอย่างเป็นทางการในประเด็นนี้
- กังวลเกี่ยวกับเหตุผลและข้อเท็จจริงทางกฎหมายที่นำมาใช้เพื่อตั้งข้อกล่าวหาต่อนายจตุพร และความเป็นไปได้ที่ศาลอาจมีคำสั่งให้ควบคุมตัวเขาอีกครั้งหนึ่ง ต้องการได้รับสำเนาคำฟ้องที่เกี่ยวข้อง และได้รับทราบผลของการพิจารณาในครั้งต่อไป พิจารณาว่าจากข้อกังวลในกรณีนี้ อาจเป็นประโยชน์ที่จะเสนอให้มีการส่งตัวแทนเข้าร่วมสังเกตการณ์คดี และร้องขอให้เลขาธิการพิจารณากรณีนี้
- และกังวลเกี่ยวกับ การที่นายจตุพรได้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ถูกตัดสินและลงโทษในข้อหาหมิ่นประมาท ซึ่งเป็นความกังวลที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่า การหมิ่นประมาทไม่ควรถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องการยืนยันว่า ทางการไทยจะพิจารณาทบทวนกฎหมายที่มีอยู่หรือไม่ ต้องการได้รับสำเนาคำตัดสินของศาลชั้นต้น และได้รับแจ้งถึงขั้นตอนในชั้นอุทธรณ์คดี
- ร้องขอให้เลขาธิการส่งมอบมติฉบับนี้ให้กับหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่และผู้ร้อง
- ร้องขอให้คณะกรรมการตรวจสอบกรณีนี้ต่อไป และให้รายงานกลับมาในเวลาอันเหมาะสม
http://narater2010.blogspot.com/

''สสส.'' แถลงร่วมองค์สิทธิระหว่างประเทศ ต้องปล่อยตัว ''สมยศ'' ทันที



 ''สสส.'' แถลงร่วมองค์สิทธิระหว่างประเทศ ต้องปล่อยตัว ''สมยศ'' ทันที
 ''สสส.'' แถลงร่วมองค์สิทธิระหว่างประเทศ ต้องปล่อยตัว ''สมยศ'' ทันที

 
           สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน แถลงร่วมกับองค์กรสิทธิระหว่างประเทศ ย้ำการควบคุมตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุขขัดกับมาตรฐานสากล ชี้การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งที่ทำได้ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ 


The Observatory for the Protection of Human Rights Defenders
Union for Civil Liberty (UCL)
แถลงการณ์ร่วม
           ประเทศไทย: คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติแถลงว่าการควบคุมตัวนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
           ปารีส เจนีวา และกรุงเทพ, วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555  FIDH และ OMCT ในการทำงานร่วมกันเพื่อคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ร่วมด้วยสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน ในประเทศไทย ยินดีคณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD)  ที่ระบุว่าการควบคุมตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศและมาตรฐานสากล รวมทั้งเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ
            นายสมยศ ถูกควบคุมตัวมากว่า 20 เดือนแล้วตั้งแต่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 30 เมษายน ปีพ.ศ. 2554 หลังจากที่เขาเริ่มการรณรงค์ที่จะรวบรวมรายชื่อ 10,000 รายชื่อเพื่อเรียกร้องให้รัฐสภาแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ   คำขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้รับการปฎิเสธมาโดยตลอดโดยศาลยุติธรรม  นายสมยศถูกต้องข้อหาอาญาเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 เพียงเพราะว่าเขาอนุญาตให้มีบทความสองบทความของผู้เขียนอีกคนหนึ่งที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ในวารสารชื่อ “เสียงทักษิณ”  ซึ่งโดยปกติการพิจารณาคดีในศาลจะเป็นการพิจารณาคดีลับกรณีเกี่ยวกับข้อความที่ระบุว่าเป็นความผิดอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ไม่โปร่งใส
            นายแดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน ประเทศไทย ได้กล่าวว่า นายสมยศเป็นสมาชิกขององค์กรสิทธิมนุษยชนและเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกในทางการพูดได้รับผลกระทบจากกฎหมายเข้มงวดที่เป็นการละเมิดสิทธิฯ
            นอกจากเสียงสะท้อนจากประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน อดีตเพื่อนร่วมงาน นายโคทม อารยา ปัจจุบันเป็นอาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวว่า“ผมรู้จักสมยศตั้งแต่ตอนที่เราทำงานที่ สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน เขามีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อพัฒนาสภาพของผู้แรงงาน ต่อมาได้ทำงานในด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพทางการเมืองให้กับแรงงงานไทยด้วย   เขามีประวัติการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมประชาธิปไตย แรงจูงใจทางการเมืองใดใดไม่ควรนำเขาต้องถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับคดีหมิ่นฯ “
           รวมทั้งอดีตประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชนอีกท่านหนึ่ง นายจตุรงค์ บุญญรัตนสมบูรณ์ ได้กล่าวว่า “นายสมยศมักจะทำงานร่วมกับคนงานทั้งในเวลาที่สุขและทุกข์  เขาทำงานอุทิศตนเพื่อต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน เขายืนหยัดในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย  เชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตย และไม่เห็นด้วยกับเผด็จการและรัฐประหาร นายสมยศเป็นที่ยอมรับในกลุ่มคนงานในขณะที่เขาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ด้านสิทธิแรงงานให้กับสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน”
           วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555 คณะทำงานขององค์กรสหประชาติว่าด้วยการควบคุมตัวไม่ชอบ ได้ส่งจดเหมายอย่างเป็นทางการถึงประเทศไทยเพื่อเรียกร้องและตั้งคำถามเกี่ยวกับการควบคุมตัวนายสมยศ   รัฐบาลได้ตอบจดหมายเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน กล่าวว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นเป็นกฎหมายที่มีความชอบธรรมและและเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐ และอธิบายด้วยว่า การกระทำความผิดข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นการคุกคามความมั่นคงและบูรณาการแห่งรัฐ เสี่ยงต่อการดำรงอยู่ของรัฐไทย  แต่ก็ไม่ได้ให้หลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นจริงตามข้ออ้างถึงความชอบธรรมในการกล่าวหานายสมยศ
            ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD)  พร้อมด้วยผู้แทนพิเศษว่าด้วยเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้ระบุว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศไทย ทำให้การถกเถียงกันเรื่องสำคัญที่เป็นความสนใจของสาธารณะกลายเป็นสิ่งต้องห้าม  ดังนั้นจึงเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก”  สิทธิเหล่านี้ได้รับการคุ้มครองภายใต้มาตรา 19 ขออนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
            “ประเทศไทยใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและการคุกคามทางกฎหมาย     รวมทั้งการควบคุมตัวนายสมยศ และบุคคลอื่นๆ ที่ใช้สิทธิในการแสดงออกทางความคิดเห็นของพวกเขา  ทั้งๆ ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและมีภาระหน้าที่ในการเคารพและคุ้มครองเสรีภาพในการพูดและแสดงความคิดเห็น”  ประธาน FIDH กล่าวเสริม
            คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD)  ระบุว่า การรณรงค์ให้มีการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและการตีพิมพ์บทความที่วิพากษณ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์นั้น เป็นการกระทำที่ต้องได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศตามข้อบทมาตรา 19 ขออนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  คณะทำงานฯ เรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ และให้ชดเชยค่าเสียหายแก่นายสมยศด้วย
            คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD) ได้ส่งจดหมายจากองค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับกรณีคดีอาญาข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในหลายครั้ง รวมถึงเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ผู้แทนพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน นาง Margaret Sekaggya และผู้รายงานพิเศษว่าด้วยเรื่องสิทธิในการแสดงออกทางความคิดเห็น นาย Frank La Rue ได้ส่งหนังสือร้องเรียนเร่งด่วน มายังประเทศไทย เพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ถูกดำเนินคดีอาญา รวมทั้งกรณีนายสมยศด้วย    ในเดือนตุลาคม พ.ศ.           2554 นาย Frank La Rue เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแก้ไขกฎหมายพรบ.ความผิดอาญาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และมาตรา 112 ในกฎหมายอาญาของไทย โดยระบุว่า “กฎหมายดังกล่าวเป็นข้อหาที่กว้างและไม่ชัดเจน รวมทั้งมีบทลงโทษที่หนัก ไม่ได้สัดส่วนกับความจำเป็นในการปกป้องสถาบันกษัตริย์และความมั่นคงแห่งรัฐ”
            ในเดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2554  สำนักงานข้าหลวงใหญ่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้แสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาควบคุมตัวผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD) และผู้แทนพิเศษทั้งสามประเด็นได้ส่งข้อร้องเรียนเร่งด่วนอีกครั้งเมื่อเดือนธันวาคม 2554 เพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับการปฎิบัติต่อนายสมยศระหว่างการควบคุมตัวและ ความสอดคล้องของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
            เดือนตุลาคม  ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำตัดสินว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปีพ.ศ. 2550 นายสมยศจะต้องขึ้นศาลอาญาอีกครั้งในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำสั่งนี้
             เลขาธิการของ OMCT นาย Gerald Staberock กล่าวว่า “ เราขอยืนยันอีกครั้งว่าเราเรี
ยกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ โดยทันที จากการถูกควบคุมตัวและจากการใช้กระบวนการทางศาลในการคุกคามเขา   เราขอให้ผู้แทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติ องค์กรพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งสถานทูตประเทศต่าง ๆ ประจำประเทศไทยได้เรียกร้องต่อเจ้าหน้าที่ไทยเกี่ยวกับการควบคุมตัวนายสมยศ  และจัดให้มีผู้สังเกตการณ์คดีในการพิจารณาคดีของนายสมยศที่จะถึงนี้ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 “
http://narater2010.blogspot.com/

เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าหุ่นเชิด

 

                พฤติกรรมการกระทำผิดในข้อหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็น ผล ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59, 83, 84 และ 288”

         นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ชี้แจงการแจ้งข้อ หานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม กรณีคดีการเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม ปี 2553 จำนวน 99 ศพ ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม หลังจากศาลมีคำสั่งแล้ว 2 คดีคือ นายพัน คำกอง และนายชาญณรงค์ พลศรีลา เสียชีวิตจากกระสุนปืนของเจ้าหน้าที่ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง ศอฉ. ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารได้รับการคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 70 ไม่ต้องรับโทษจากการกระทำที่ทำตามคำสั่งโดยชอบ

Posted Image

       ผู้ที่รับผิดชอบจึงเป็น ศอฉ. คือผู้บริหารของ ศอฉ. ซึ่งขณะนั้นนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด และผู้อำนวยการ ศอฉ. ที่รับผิดชอบการออกคำสั่งต่างๆ การดำเนินคดีจึงเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ที่ให้ศาลสถิตยุติธรรมเป็นผู้ไต่สวนสาเหตุการตายเพื่อให้เกิดความชอบธรรม

หลักฐานมัด “อภิสิทธิ์”

        ส่วนกรณีที่นายอภิสิทธิ์ระบุว่าไม่เคยเป็นกรรมการ ศอฉ. และไม่เคยเซ็นคำสั่งใดๆใน ศอฉ. นั้น รายงานจากดีเอสไอยืนยันว่ามีเอกสารหลักฐานเป็นบันทึกการสั่งการทางวิทยุสื่อ สารของเจ้าหน้าที่ทหารหลายคำสั่ง ต่างช่วงเวลากัน บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับประเด็นข้อสั่งการภายหลังการแจ้งผ่าน วิทยุสื่อสาร ซึ่งเป็นการยืนยันว่ามีการสั่งจาก ศอฉ. จริง และในบันทึกคำสั่งที่ดีเอสไอได้มานั้นมีข้อความระบุถึงอำนาจ ศอฉ. และข้อสั่งการของนายอภิสิทธิ์ในฐานะนายกรัฐมนตรี จากนั้นเป็นรายละเอียดเรื่องการใช้กำลังเข้าดำเนินการและอนุมัติการเบิก อาวุธของฝ่ายปฏิบัติการ และท้ายคำสั่งอนุมัติลงชื่อโดยนายสุเทพในฐานะผู้อำนวยการ ศอฉ.
 
        ดังนั้น พนักงานสอบสวนจึงเชื่อได้ว่านายอภิสิทธิ์มีส่วนรับรู้ รับทราบ ทั้งยังมีพยานบุคคลหลายปากยืนยันว่านายอภิสิทธิ์ร่วมประชุมวอร์รูมฝ่าย ยุทธการเป็นประจำ ซึ่งนายธาริตให้ความเห็นว่า เรื่องนี้ชัดเจนและมีข้อยุติแล้วในระดับหนึ่ง โดยศาลบอกชัดว่าเจ้าหน้าที่ทำให้คนตายภายใต้คำสั่งของ ศอฉ. หากพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือเป็นการตายจากการฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติ งานตามคำสั่ง ศอฉ. ไม่ใช่ตายโดยธรรมชาติ เป็นลม หรือโรคระบาดตาย เมื่อเป็นลักษณะคดีฆาตกรรมก็ต้องมีคนรับผิดชอบ

       “จะให้ฟ้าดินรับผิดชอบหรืออย่างไร ผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่าพูดทำไมว่าไม่ได้เซ็น ไม่ได้ให้ใครไปฆ่าใคร โดยตำแหน่งหน้าที่ขณะนั้นคุณต้องรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”
อย่างไรก็ตาม นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงนายธา ริตว่าต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนกัน เพราะถ้านายธาริตได้รับการคุ้มครอง นายสุเทพก็ต้องได้รับการคุ้มครองด้วย จึงรู้สึกแปลกใจที่นายธาริต

        บอกว่ามีกรรมการ ศอฉ. ที่แต่งตั้งโดยนายอภิสิทธิ์ 2 ชุด ทำไมถึงไม่พูดให้ครบด้วยว่าตนไม่ได้ร่วมเป็น กรรมการทั้ง 2 ชุด และตรงไหนที่เป็นคำสั่งที่ออก โดยนายอภิสิทธิ์ ไม่รู้สึกแปลกใจที่ก่อนหน้านี้ถูกเรียกไปให้ปากคำในฐานะพยาน แต่ตอนนี้กลับถูกดำเนินการในฐานะจำเลย เพราะมีธงไว้อยู่แล้ว

สู้ตามกระบวนการยุติธรรม

        “หากดีเอสไอปล่อยเวลาเนิ่นนาน ไม่แจ้งข้อหากับใคร ทั้งๆที่ศาลมีคำสั่งไต่สวนการเสียชีวิตออกมาชัดเจนว่าเป็นการกระทำของเจ้า หน้าที่รัฐภายใต้คำสั่งของ ศอฉ. อีกทั้งคดีดังกล่าวเป็นคดีที่สังคมสนใจ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ผมคิดว่าอาจทำให้ภาพลักษณ์การสอบสวนของดีเอสไอไม่เป็นมืออาชีพ และคดีที่พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อกล่าวหา ศาลได้มีคำสั่งมาแล้วกว่า 1 เดือน ดังนั้น ทุกอย่างต้องดำเนินไปตามขั้นตอน”

         นายธาริตชี้แจงและกล่าวว่า คดีนายพัน คำกอง เป็นคดีแรกที่จะแจ้งข้อกล่าวหา ยังมีคดีอื่นๆที่ศาลกำลังสั่งอีกกว่า 30 คดี ซึ่งหากศาลมีคำสั่งในทิศทางเดียวกัน ดีเอสไอจะแจ้งข้อกล่าวหาเป็นรายคดี ดังนั้น ผู้ถูกกล่าวหาต้องเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาเป็นรายคดีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้ ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงข้อหาพยายามฆ่าด้วย เมื่อท่านบอกว่าบริสุทธิ์ ไม่ได้ทำผิด ก็มาพิสูจน์กัน ไม่ใช่การตามหา “ชายชุดดำ” ที่เป็นสิ่งนอกกระบวน การยุติธรรมทั้งนั้น ซึ่งไม่มีประโยชน์และไม่ได้ช่วยพิสูจน์ความถูกผิด

       “ถ้าเราไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมแล้วจะเชื่อใคร จะไปอาศัยศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ไหน เราก็ต้องอาศัยศาลสถิตยุติธรรมในการดำเนินการเรื่องนี้ ยืนยันอีกครั้งว่าเราทำตามพยานหลักฐาน โดยเฉพาะพยานหลักฐานเรื่องนี้ล้วนมาจากการพิสูจน์โดยศาล ไม่ใช่พยานที่สร้างขึ้นเอง น่าจะเป็นเรื่องดี จะได้เปิดโอกาสให้ทั้ง 2 ท่านเข้ามาให้การในคดี”

สื่อเทศประโคมข่าว “อภิสิทธิ์-สุเทพ”

        ขณะที่สื่อต่างประเทศหลายสำนักรายงานข่าวในลักษณะเจาะลึกและบทวิเคราะห์ ถึงการตั้งข้อหานายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ โดยสำนักข่าวเอพีรายงานคำแถลงของนายธาริตที่ยืนยันว่าไม่ใช่ใบสั่งการเมือง ส่วนเว็บไซต์ข่าวเอบีซีนิวส์ ชี้ว่าเป็นคดีที่มีนักข่าวต่างประเทศเสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม 2 ราย และคนเสื้อแดงรู้สึกว่ากระบวนการยุติธรรม “สองมาตร ฐาน” เพราะแกนนำ 24 คน ถูกดำเนินคดีข้อหาก่อการร้ายทันทีหลังการชุมนุมสิ้นสุดลง

         ด้านหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนได้สัม ภาษณ์นายกานต์ ยืนยง ผู้อำนวยการ Siam Intelligence ซึ่งเป็นองค์กรวิเคราะห์การเมืองในประเทศไทยว่า นายสุเทพและนายอภิสิทธิ์หนีไม่พ้นการขึ้นศาลอยู่แล้ว เพราะมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งสองจะต้องรับผิดชอบบ้าง เพราะประ เทศไทยไม่เคยมีนักการเมืองคนใดถูกจำคุกจากคำสั่งการให้กองทัพใช้ความรุนแรง จนมีประชาชนเสียชีวิต หากศาลตัดสินว่าทั้งสองผิดจริงก็จะเป็นกรณีแรกของประเทศไทย แต่นายกานต์วิตกว่าการแจ้งข้อหาของดีเอสไออาจเป็นเพียงยุทธวิธีของพรรคเพื่อ ไทยที่ต้องการกดดันให้พรรคประชาธิปัตย์ยอมรับข้อเสนอการนิรโทษกรรมเพื่อปู ทางให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศไทยก็ได้

        ขณะที่นายสุนัย ผาสุก ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอทช์ประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กับเดอะการ์เดียนว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยควรเป็นกลาง และทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับความรับผิดชอบที่มีส่วนในความรุนแรงเมื่อปี 2553 ประเทศไทยจึงจะหลุดพ้นจากวงจรของความรุนแรงได้อย่างแท้จริง

        ด้านหนังสือพิมพ์เทเลกราฟรายงานว่า แม้มีหลักฐานชัดเจนว่านายอภิสิทธิ์และนายสุเทพมีคำสั่งให้ใช้กระสุนจริงใน การสลายการชุมนุม แต่ยังมีคำถามว่านายอภิสิทธิ์จะต้องรับโทษในคดีฆาตกรรมนี้จริงหรือไม่ โดยนายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ นักวิชาการคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิท ยาลัย ให้ความเห็นว่า นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานมาก และไม่มีหลักประกันด้วยว่านายอภิสิทธิ์จะถูกลงโทษในอนาคต ทั้งยังเกรงว่าทั้งหมดอาจเป็นเพียงเกมการเมืองที่ทั้งสองฝ่ายเจรจากันหลัง ฉากเท่านั้นเอง

        ส่วนหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สรายงานภูมิหลังความขัดแย้งที่นำไปสู่ เหตุการณ์สลายการชุม นุมปี 2553 ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจำนวนมากเป็นผู้สนับสนุนอดีตนายกฯทักษิณ ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ชนบททางภาคเหนือและภาคอีสาน มีชนชั้นกลางบ้างบางส่วน ขณะที่ผู้สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ส่วนใหญ่เป็นคนกรุงและชนชั้นนำที่มีอำนาจ

        หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ระบุว่า คดีนี้อาจทำให้การเมืองไทยกลับมาร้อนระอุอีกครั้ง โดยสัมภาษณ์นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ตั้งคำถามดีเอสไอในเรื่องความโปร่งใสและความเป็นธรรมอย่างมาก แม้จะเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม แต่เชื่อว่าจะมีผลกระทบตามมาอย่างแน่นอน

เอาผิด “คนสั่ง” ไม่ได้?

       พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เชื่อว่าดีเอสไอต้องมีหลักฐานภาพและพยานบุคคลจึงได้ตั้งข้อหากับนาย อภิสิทธิ์และนายสุเทพ ซึ่งต้องไปสู้กันในชั้นศาลด้วยข้อมูลและเอกสารหลักฐาน ศอฉ. ต้องชี้แจงให้ได้ว่าไม่ได้สั่ง เป็นผู้ปฏิบัติเอง หรือไม่ได้ทำ ฝ่ายผู้ปฏิบัติก็ต้องให้เหตุผล เช่น เป็นเรื่องฉุกเฉิน โดยทหารต้องมีหลักฐานว่าคำสั่งให้กระทำอะไร ขนาดไหน เพราะปรกติคำสั่งต้องออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะเป็นเอกสารพยานว่าได้รับคำสั่งมาอย่างไร

        “ส่วนตัวผมเชื่อมั่นว่าศาลสถิตยุติธรรมจะตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม และจะทำให้เรื่องจบได้ จึงไม่เชื่อว่าเรื่องนี้จะเพิ่มความแตกแยกขัดแย้งในสังคม สถานการณ์ไม่น่าจะร้อนแรง”

        พล.อ.เอกชัยกล่าวว่า แม้ตอนนี้กระบวนการยุติธรรมส่วนกลางคือ อัยการ ดีเอสไอ องค์กรอิสระ จะขาดความน่าเชื่อถือไปมากก็ตาม แต่ยังเชื่อมั่นในขั้นตอนสุดท้ายคือศาลสถิตยุติธรรม สิ่งที่กลัวคือสุดท้ายแล้วจะเอาผิดระดับสั่งการหรือหัวหน้าไม่ได้ แต่เชื่อว่าหากมีการฟ้องกว่า 50 คดี อย่างน้อยต้องมีสัก 2 คดีที่เอาผิดได้ เพราะเรื่องคดีหากปล่อยเลยตามเลยบ้านเมืองก็จบไม่ได้

ความรับผิดชอบทางการเมือง

        การตั้งข้อหาของดีเอสไอไม่ใช่คำพิพากษาของศาล ชะตากรรมของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพจึงออกมาได้ทุกรูปแบบ แต่อย่างน้อยประวัติ ศาสตร์การเมืองไทยก็ต้องบันทึกว่านายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ถูก ตั้งข้อหา “ฆาต กรรม” และเป็นนายกรัฐมนตรีที่ปราบปรามผู้ชุมนุมจนมีคนตายมากที่สุดถึง 99 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน
ขณะที่นายอภิสิทธิ์เคยใช้วาทกรรมเรียกร้อง “จริยธรรมทางการเมือง” ให้นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พิจารณาตัวเอง กรณี ใช้แก๊สน้ำตากับผู้ชุมนุมและมีผู้เสียชีวิต 1 คน โดย อ้างความรับผิดชอบทางการเมืองต้องมาก่อนกฎหมาย

        แต่กรณีฆ่าโหดกลางบ้านกลางเมืองที่มีคนตายถึง 99 ศพ นายอภิสิทธิ์กลับยืนยันมาตลอดว่าไม่ผิดและไม่มีแม้แต่คำขอโทษ จึงไม่แปลกที่นายอภิสิทธิ์จะไม่แสดงความรับผิดชอบทางการเมืองใดๆ เหมือนคนความจำเสื่อมที่ใช้วาทกรรมทิ่มแทงฝ่ายตรงข้ามโดยตั้ง “มาตรฐานสูง” แต่ตัวเองกลับไม่มีแม้แต่ “มาตรฐานที่ต่ำที่สุด” ทั้งที่ใช้ความรุนแรงมากกว่าหลายเท่า และยังพยายามตะแบงว่าการถูกตั้งข้อหา “ฆาตกรรม” เป็นเกมการเมืองเพื่อกดดันให้ยอมรับ พ.ร.บ.ปรองดองและการนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณพ้นผิด แม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคประชาธิปัตย์ก็พยายามทำให้คนเชื่อว่าเพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งที่นักวิชาการและนักกฎหมายส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เพื่อให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการหมกเม็ดอำนาจรัฐประหาร

เสร็จนาฆ่าโคถึก?

       ที่สำคัญหากเปรียบเทียบความผิดระหว่างนายอภิสิทธิ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณเกิดจากอำนาจรัฐประหารที่ตั้ง คตส. ที่ล้วนแล้วแต่เป็นคู่ปฏิปักษ์ เป็นกลุ่มคนเกลียดทักษิณ ขึ้นมาเอาผิด ซึ่งทั่วโลกรู้ดีว่าเป็นการทำลายกันทางการเมือง แต่ข้อหาของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพเป็นข้อเท็จจริงที่มีการ “ยิงจริง-ตายจริง ด้วยกระสุนจริง” เป็นข้อเท็จจริงจากศาลจากกระบวนการยุติธรรมปรกติ ไม่ใช่ศาลเตี้ย
แม้ที่ผ่านมานายอภิสิทธิ์จะเดินสายเพื่อโยนความผิดให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และโยนความรุนแรงทั้งหมดว่าเกิดจาก “ชายชุดดำ” หรืออ้างว่าการให้ใช้ “กระสุนจริง” เป็นความจำเป็นและมีกฎหมายคุ้มครอง แต่นายอภิสิทธิ์ก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบทางการเมืองได้ ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจสูงสุด แม้ในแง่กฎหมายจะไม่สามารถเอาผิดได้ก็ตาม
อย่างที่นายอภิสิทธิ์อภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าในฐานะนายกรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบกับการกระทำของคณะ รัฐมนตรีและการบริหารประเทศทั้งหมดได้ เพราะนายกรัฐมนตรีต้องรับรู้และรับทราบ จึงต้องรับผิดชอบ

        ดังนั้น การที่นายอภิสิทธิ์ยังยืนยันว่าไม่ผิด และไม่แสดงความรับผิดชอบทางการเมืองใดๆกับความรุนแรงในเหตุการณ์เมษา-พฤษภา อำมหิต จึงสะท้อนให้เห็นถึง “วุฒิภาวะ” ทั้งในฐานะอดีตผู้นำประเทศและผู้นำพรรคการเมือง แม้แต่คำว่า “ลูกผู้ชาย” ก็ไม่ต้องถามนายอภิสิทธิ์

        บทบาททางการเมืองของนายอภิสิทธิ์จึงไม่มีใครทำลาย นอกจากนายอภิสิทธิ์ทำลายตัวเอง ซึ่งอาจไม่ต่างกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เมื่อหมดบทบาทก็เกือบตายเพราะถูกลอบสังหาร หรือ เสธ.อ้าย-พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) ที่มาเร็วไปเร็วเพราะ ถูกหักหลังตั้งแต่ยังไม่หัววัน

        คนอื่นอาจไม่รู้..แต่เชื่อว่านายอภิสิทธิ์รู้ว่า “อะไร” กำลังเกิดขึ้นกับตนเอง
ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนา “เล็งเห็นผล”..มีหรือคนอย่างนายอภิสิทธิ์จะไม่รู้ชะตากรรม 

        หรือว่า..นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เป็นแค่เพียง “หุ่นเชิด” ตัวหนึ่งของระบอบพิสดารในแผ่นดินนี้เท่านั้น

“เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล” สุภาษิตคำพังเพยนี้จะยังคงทันสมัยอยู่เสมอร่ำไป!