วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ลูก"ลาเดน"แฉนาที สหรัฐฆ่า จับยิงทั้งไร้อาวุธ

หัวทะลุ!-ลากศพขึ้น"ฮ." โลกชี้ละเมิดกม.รุนแรง อิหม่ามประกาศล้างแค้น จับโอบามา-บุชแขวนคอ เริ่มโต้แล้วบึ้มแบกแดด

เผาธง - ชาวปากีสถานที่เมืองมุลตันจุดไฟเผาธงชาติสหรัฐ ประณามการจับตายนายโอซามา บิน ลาเดน ผู้นำอัล ไคด้า ขณะที่ผู้นำมุสลิมในกรุงเยรูซาเลมประกาศล้างแค้นให้บิน ลาเดน เมื่อวันที่ 4 พ.ค.
สื่อดังโลกอาหรับเผย ลูกสาว "บิน ลาเดน"ให้การจนท.ปากีฯ ยืนยัน ทหารสหรัฐจับเป็นพ่อได้โดยไร้ทางสู้ แต่จู่ๆ ก็ยิงทิ้งต่อหน้าต่อตาคนทั้งครอบครัว แล้วลากศพไปขึ้นเฮลิคอป เตอร์ ขณะที่ทำเนียบขาวยอมรับขณะหน่วย "ซีล" ลุยเข้าเซฟเฮาส์นั้น บิน ลาเดน ไม่มีอาวุธติดตัวจริง แต่ขัดขืนจับกุม อดีตนายกฯ เยอรมันกับนักสิทธิฯ ชี้ปฏิบัติการเด็ดหัวบิ๊กอัล ไคด้า ครั้งนี้ของสหรัฐละเมิดกฎหมายสากลร้ายแรง อิหม่ามมัสยิดศักสิทธิ์แห่งเยรูซาเลมขู่จับ "โอบามา" ผู้นำสหรัฐแขวนคอพร้อม "บุชจูเนียร์" ผู้เชี่ยวชาญต้านก่อการร้ายชี้จากนี้สถานที่ "ซอฟต์ ทาร์เก็ต" ในสหรัฐเลี่ยงไม่พ้นตกเป็นเป้าวินาศ กรรมล้างแค้นแน่นอน

สหรัฐรับ"ลาเดน"ไม่มีอาวุธ

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. เว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์เดลี่เมล์ สิ่งพิมพ์ชื่อดังของโลกตะวันตก รายงานว่า นายเจย์ คาร์นีย์ โฆษกทำเนียบขาว หรือคณะบริหารรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เปิดแถลงรายละเอียดเพิ่มเติมในเหตุการณ์ที่ทหารหน่วยซีลของสหรัฐบุกสังหารนายโอซามา บิน ลาเดน ผู้นำกลุ่มก่อการร้ายสากลอัลไคด้า ในเซฟเฮาส์ เมืองอับบอตตาบัด ประเทศปากีสถาน ว่า ช่วงที่หน่วยซีลบุกเข้าไปในเซฟเฮาส์นั้น บิน ลาเดน ขัดขืนการจับกุม แต่ไม่มีอาวุธอยู่ที่ตัว จากนั้นจึงถูกทหารยิงที่ศีรษะและหน้าอกเสียชีวิต ระหว่างนาทีปลิดชีพ มีภรรยาของบิน ลาเดน ถูกยิงที่ขา แต่ไม่เสียชีวิต ส่วนหญิงที่เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ไม่ใช่ภรรยา

"อย่างไรก็ตาม หน่วยซีลที่บุกเข้าไปในที่หลบซ่อนตัวของบิน ลาเดนนั้น เตรียมแผนสำหรับการจับเป็นไว้ด้วย แต่สถานการณ์เฉพาะหน้าทำให้รูปการณ์ออกมาอย่างที่ทั่วโลกได้รับทราบ และนำไปซึ่งการจบชีวิตบิน ลาเดน" นายคาร์นีย์ ระบุ

ไม่แจ้งปากีฯ-หวั่นข่าวรั่ว

ส่วนสาเหตุที่รัฐบาลสหรัฐไม่แจ้งต่อรัฐ บาลปากีสถาน ถึงแผนบุกฆ่าบิน ลาเดน ทางการสหรัฐชี้แจงว่า เพราะกลัวว่าข้อมูลอาจรั่วไหล โดยนายลีออน ปาเน็ตตา ผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองกลาง สหรัฐ หรือ "ซีไอเอ" ระบุเพิ่มเติมว่า สหรัฐตัดสินใจช่วงก่อนปฏิบัติการแล้วว่า การแจ้งข่าวใดๆ ให้กับรัฐ บาลปากีสถาน อาจทำให้บิน ลาเดน รู้ตัวก่อน และอันตรายจะตกอยู่กับทีมปฏิบัติการ

สำหรับสถานการณ์ล่าสุดในเมืองอับบอตตาบัด ตำรวจปากีสถานต้องระดมกำลังกว่า 300 นายเข้ารักษาการณ์เซฟเฮาส์ดังกล่าวของนายโอบามา เพื่อความปลอดภัย และกันไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่ 

ฆ่าต่อหน้า"ลูกสาว"

สำนักข่าวบีบีซีแจ้งว่า เจ้าหน้าที่ไอเอสไอ หน่วยข่าวกรองปากีสถาน เปิดเผยว่า ขณะเกิดเหตุ มีคนอยู่ในเซฟเฮาส์ ประมาณ 17-18 คน และในจุดสังหารบิน ลาเดน เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมานั้น มีลูกสาววัย 12 ปีของบิน ลาเดน อยู่ด้วย จึงเห็นภาพวินาทีพ่อถูกยิงตายต่อหน้าต่อตา โดยลูกสาวคนนี้เกิดกับนางอามาล อัล-ซาดาห์ วัย 27 ปี หญิงชาวเยเมนซึ่งแต่งงานกับบิน ลาเดน สมัยมีอายุเพียง 17 ปี และขณะเกิดเหตุนางอามาลบาดเจ็บถูกยิงที่ขา


ว่อนเน็ต - ภาพตัดต่อศพบิน ลาเดน ถูกเผยแพร่ว่อนเน็ตไปทั่วโลก ส่วนรูปเล็ก นางอามาล อัล-ซาดาห์ ภรรยาบิน ลาเดน ซึ่งอยู่ในเหตุ การณ์จับตาย โดยตนเองถูกยิงที่ขาบาดเจ็บด้วย ตามข่าว


บุตรสาวบิน ลาเดน ระบุด้วยว่า บุตรชายอีกคนของบิน ลาเดน ซึ่งถูกสังหารในเซฟเฮาส์ก็ถูกทางเจ้าหน้าที่สหรัฐห่อศพนำขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปด้วย พร้อมกับศพพ่อ

รายงานข่าวจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐ หรือ "เพนตากอน" เผยกับบีบีซีว่า ตอนแรกทีมจู่โจมมีแผนนำคนในครอบครัวบิน ลาเดน ออกมาทั้งหมด แต่ต้องล้มเลิกเพราะเฮลิคอป เตอร์ตก 1 ลำ จึงต้องเปลี่ยนแผน และว่า เจ้าหน้าที่ภาคสนามได้นำเอาข้อมูลทั้งหมดจากที่หลบซ่อนดังกล่าว เช่น ฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ สมุดบันทึกต่างๆ กลับไปวิเคราะห์ โดยสหรัฐใช้ทีมงานพิเศษกว่า 100 คน เพื่อจัดการกับข้อมูลที่ได้มาครั้งนี้

"ลาเดน"มอบกระต่ายให้เด็ก

บีบีซีรายงานด้วยว่า รัฐบาลและกองทัพปากีสถานถูกตั้งคำถามหนักขึ้นว่า เหตุใดถึงไม่รู้ว่า บิน ลาเดน อาศัยอยู่ในบ้านใกล้ๆ กับเขตฐานทัพในเมืองอับบอตตาบัดนานถึง 6 ปี โดยไม่มีใครรับรู้ ถึงขนาดที่ว่าเด็กชายซาราร์ อาห์เหม็ด วัย 12 ปี ชาวบ้านในเมืองนี้เคยเข้าไปพบบิน ลาเดนได้ 

เด็กชายอาห์เหม็ด อ้างว่า บิน ลาเดน มีภรรยา 2 คน คนหนึ่งพูดภาษาอารบิก อีกคนพูดภาษาอูรดู ครอบครัวนี้มีลูกเป็นเด็ก 3 คน ผู้หญิงหนึ่งคน ผู้ชายสองคน ซึ่งบิน ลาเดน ยังเคยให้กระต่ายสองตัวกับตนด้วย

สำหรับบ้านหลังดังกล่าวของบิน ลาเดน ติดตั้งกล้องวงจรปิดเอาไว้ตรวจดูความเคลื่อน ไหวคนด้านนอก ชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง ระบุว่า หากมีเด็กๆ ไปเล่นคริกเก็ตแถวนั้น แล้วลูกโด่งข้ามเข้าไปในรั้วบ้าน คนในบ้านจะไม่อนุญาตให้เข้าไปเก็บ แต่จะให้เงินค่าลูกคริกเก็ตแทน ลูกละ 60-90 บาท

รอทำเนียบขาวโชว์ภาพ"ศพ"

ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า นายลีออน ปาเน็ตตา ผอ.ซีไอเอ ระบุว่า อำนาจเปิดเผยภาพถ่ายศพบิน ลาเดน ขึ้นอยู่กับทำเนียบขาว และว่า นายอัยมาน อัล-ซาวาฮีรี แกนนำหมายเลข 2 อัลไคด้า กลายเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของสหรัฐ แทนที่บิน ลาเดน แล้ว และจะเป็นเป้าหมายการไล่ล่าต่อไป

ด้านนายเจย์ คาร์นีย์ โฆษกทำเนียบขาว เปิดเผยว่า ภาพหลังการเสียชีวิตของบิน ลาเดน เป็นภาพน่าสยดสยองยิ่ง และอาจเป็นชนวนความรุนแรงขยายวงกว้างในหมู่ผู้ที่ไม่พอใจรัฐบาลสหรัฐ 

"เรากำลังทบทวนสถานการณ์จัดการเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ และเสาะหาวิธีที่ดีที่สุด" คาร์ นีย์ กล่าวและว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังหารือถึงแนวทางในการเปิดเผยภาพถ่ายวาระสุดท้ายของบิน ลาเดน 

มะกันคิดต่าง-ทรมานนักโทษ

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ สิ่งพิมพ์ชั้นนำของสหรัฐ รายงานว่า แม้ปฏิบัติการเด็ดชีพบิน ลาเดน จะประสบความสำเร็จ แต่ขณะเดียวกันก็มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงการใช้วิธีทรมานนักโทษ หรือผู้ต้องสงสัยในคดีก่อการร้ายว่าเหมาะสมถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ถึงแม้ในที่สุดการใช้วิธี "วอเทอร์บอร์ด" เค้นข้อมูลจากนายคาลิด ชีก โมฮัมเหม็ด แกนนำอัลไคด้าและนักโทษคดีก่อการร้ายในคุกกวนตานาโม จะทำให้ทางการสหรัฐรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสถานะบางประการของบุคคลที่เป็นคนนำสารของบิน ลาเดน กระทั่งนำมาสู่ภารกิจลอบสังหาร 


เริ่มแล้ว - ชาวอิรักจับกลุ่มยืนดูซาก"คาร์บอมบ์"ที่ใช้วางระเบิดสังหารชาวเมืองแบกแดด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 25 คน นับเป็นการก่อร้ายที่เริ่มขึ้นหลังบิน ลาเดน ถูกสหรัฐสังหาร


ทั้งนี้ วิธีวอเทอร์บอร์ด ทำโดยการจับตัวนักโทษนอนลงบนแผ่นกระดาน แล้วปรับส่วนหัวทิ่มลงมาที่พื้น ยกส่วนขาขึ้น จากนั้นเอาน้ำเทราดใส่หน้านักโทษเพื่อทำให้รู้สึกเหมือนกับกำลังถูกกดน้ำตาย และมีรายงานว่านายโมฮัมเหม็ดต้องผ่านการเค้นข้อมูลด้วยวิธีนี้ถึง 183 ครั้ง และไม่ได้ให้ข้อมูลคนนำสารบิน ลาเดน ที่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การควานหาตัวคนนำสารจนเจอนั้นเป็นเพราะปฏิบัติการของหน่วยซีไอเอในพื้นที่


ชี้ฆ่า"ลาเดน"ละเมิดกฎหมาย

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดอะซัน ประเทศอังกฤษ ตั้งข้อสังเกตว่า บิน ลาเดน ไม่มีอาวุธขณะถูกสังหาร เหมือนกับประชาชนผู้เสียชีวิตที่ตึกแฝดเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ในสหรัฐ ซึ่งไม่มีใครมีอาวุธเหมือนกัน 

นายเฮลมุต ชมิดต์ อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมันตะวันตก ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์เยอรมัน ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการละเมิดกฎหมายสากลอย่างร้ายแรง 

ด้านนายจอฟฟรีย์ โรเบิร์ตสัน นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนประจำกรุงลอนดอน ประ เทศอังกฤษ กล่าวว่า ภารกิจครั้งนี้เปรียบได้กับการลอบสังหารเลือดเย็น

อิหม่ามขู่แขวนคอ"โอบามา"

อิสราเอล นิวส์ รายงานว่า อิหม่ามแห่งมัสยิด อัล อักซา หรือ อัล อักซอ ในกรุงเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล ออกมาประณามรัฐบาลสหรัฐอย่างรุนแรง ถึงขั้นเรียกว่า "พวกสุนัขตะวันตก" และเรียกร้องให้โลกมุสลิมแก้แค้นให้กับการตายของนายบิน ลาเดน โดยกล่าวว่า "สุนัขตะวันตกกำลังยินดีปรีดาขนาดใหญ่ที่สังหารหนึ่งในราชสีห์มุสลิมได้สำเร็จ แต่สุนัขก็ยังเป็นสุนัขวันยังค่ำ ส่วนราชสีห์ แม้ตายแล้วก็ยังคงเป็นราชสีห์" และว่า "บารัก โอบามาสังหารชาวมุสลิม จงรู้ไว้ว่าไม่ช้าก็เร็ว จะต้องถูกจับแขวนคอไว้เคียงข้างกับจอร์จ บุช จูเนียร์"

"ซอฟต์ทาร์เก็ต"เป้าล้างแค้น

สำนักข่าวซีบีเอส รายงานว่า นายจูวัล อาวีฟ ผู้เชี่ยวชาญยุทธศาสตร์ต่อต้านก่อการร้าย ให้สัมภาษณ์ว่า มีความเป็นไปได้สูงมากที่กลุ่มก่อการร้ายจะลงมือแก้แค้นแทนบิน ลาเดน อย่างไรก็ตาม เป้าหมายการวินาศกรรมจะไม่ซับซ้อนหรือใหญ่โตเช่นเดียวกับเหตุ 11 กันยาฯ 2544 แต่สถานที่ประเภท "ซอฟต์ทาร์เก็ต" จะตกเป็นเป้าถูกโจมตีเพิ่มมากขึ้น อาทิ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สนามกีฬา พิพิธภัณฑ์ ศาสนสถาน หรือระบบขนส่งมวลชนที่มีคนใช้บริการหนาแน่น เพราะสถานที่เหล่านี้วางแผนก่อ วินาศกรรมได้ง่าย คนร้ายเพียงแค่ต้องการสังหารประชาชนให้มากที่สุดเท่านั้น

"ในอนาคตการตั้งจุดตรวจความปลอดภัยตามซอฟต์ทาร์เก็ตดังกล่าว จะกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นโดยทั่วไป" อาวีฟ กล่าว

ปากีฯยังอาลัยผู้นำอัลไคด้า

เอพีรายงานเพิ่มเติมว่า ผู้ประท้วงชาวปากีสถานนับร้อยคน รวมตัวกันที่เมืองมุลตัน ประเทศปากีสถาน เผาธงชาติสหรัฐเพื่อประณามการสังหารผู้นำกลุ่มอัลไคด้า หลังจากที่เมื่อวาน ชาวปากีสถานในเมืองเควตตาเพิ่งรวมตัวไว้อาลัยแก่บิน ลาเดน ด้วยเช่นเดียวกัน

ขณะที่ประเทศอิรัก เกิดเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ขึ้นกลางกรุงแบกแดด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 16 ราย บาดเจ็บนับสิบ โดยสถานที่เกิดเหตุเป็นร้านกาแฟที่มีคนอยู่ภายในจำนวนมาก ทั้งหมดกำลังรับชมถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอล ถือเป็นเหตุการณ์ก่อการร้ายรุนแรงครั้งแรกในอิรัก นับจากการเสียชีวิตของบิน ลาเดน

ลูกแฉจับ"ลาเดน"ได้แล้วแต่ยิงทิ้ง

สำนักข่าวอัล อาราบิยา สื่ออาหรับ อ้างข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ความมั่นคงระดับสูงของปากีสถาน รายงานว่า คนที่อยู่ในบ้านของบิน ลาเดน ไม่ได้ยิงตอบโต้ใส่ฝ่ายทหารสหรัฐแม้แต่นัดเดียว และเหตุที่เฮลิคอปเตอร์สหรัฐตก เพราะเครื่องยนต์เกิดขัดข้องเอง ภายหลังปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐดังกล่าว ญาติบิน ลาเดน ที่รอดมาได้ รวมถึงเด็ก 6 คน และภรรยา 1 คน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในเมืองรวัลพินดี

นอกจากนั้น ลูกสาววัย 12 ปี ที่เห็นนาทีสังหารบิน ลาเดน ให้การกับเจ้าหน้าที่ปากีสถานด้วยว่า ในตอนแรกบิดาถูกจับเป็น แต่ต่อมาก็ถูกทหารสหรัฐยิงตายต่อหน้าต่อตาคนในครอบครัว โดยกระสุนนัดหนึ่งเจาะเข้าเหนือตาซ้ายอย่างแม่นยำ

อัล อาราบิยา ชี้ว่า ที่ผ่านมา ทำเนียบขาวหรือรัฐบาลสหรัฐให้ข้อมูลการเสียชีวิตของบิน ลาเดน กลับไปกลับมาหลายประเด็น อาทิ ครั้งแรกแถลงว่า นายบิน ลาเดน มีอาวุธปืนอาก้าและยิงต่อสู้กับทหารสหรัฐ แต่ต่อมาแถลงแก้ว่านายบิน ลาเดน ไม่มีอาวุธ แต่ขัดขืนจึงต้องยิง 

ตร.เชียงใหม่คุมเข้ม"กงสุลสหรัฐ"

การเตรียมพร้อมรับมือเหตุก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย พล.ต.ต.สมศักดิ์ จันทะ พิงค์ ผบก.ภ.จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในส่วนของเชียงใหม่ วันนี้ตนเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับ ผู้กำกับทุกโรงพักในจังหวัดเชียงใหม่เข้าประชุม เพื่อสั่งการให้แต่ละโรงพักป้องกันดูแลรักษาความปลอดภัยสถานที่สำคัญ เช่น สถานที่กงสุล, แหล่งธุรกิจที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก และสถานที่รับซื้อของเก่า สถานที่เชื่อมตบแต่งเหล็ก อะไรต่างๆ รวมทั้งโรงงานพลุ-ดินปืนในจังหวัดเชียงใหม่ 

พล.ต.ต.สมศักดิ์ ระบุว่า มีนโยบายเน้นให้ตำรวจท้องที่ดูแลสถานกงสุลต่างๆ ในเชียงใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกงสุลสหรัฐอเมริกา รวมทั้งบ้านพักเจ้าหน้าที่กงสุลสหรัฐ ด้วย และให้ตำรวจผลัดเปลี่ยนเวรยามดูแลจุดสำคัญแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก รวมทั้งสนามบินเชียงใหม่ ประสานกับรปภ.จุดนั้นๆ และให้ตรวจเข้มร้านขายของเก่าว่ามีการทำ หรือ ดัดแปลงวัตถุต้องสงสัยอะไรบ้าง 

"สำหรับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ เราฝึกซ้อมรอง รับการจี้ตัวประกัน การเข้าเผชิญก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆ การเผชิญฝูงชนไว้ก่อนหน้าแล้ว คิดว่าจังหวัดเชียงใหม่คงไม่มีปัญหาอะไรในเรื่องของการก่อการร้าย" พล.ต.ต.สมศักดิ์ กล่าว


http://redusala.blogspot.com
ข่าวเกี่ยวข้องกับการจับกุม สมยศ พฤกษาเกษมสุข บก. เรด พาวเวอร์

ผมไม่ใช่เหยื่อรายสุดท้ายตราบเ่ท่าที่เราขังอยู่ภายใต้การปกครองที่เนื้อแท้เป็นเผด็จการ แต่เปลือกนอกฉาบด้วยคำว่าประชาธิปไตยไว้หลอกลวงชาวโลก
ผมจะต่อสู้ให้ได้รับเสรีภาพตราบจนลมหายใจสุดท้าย
ผมยอมเสียอิสรภาพ แต่จะไม่ยอมเสียความเป็นคนอย่างแน่นอน

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
ณ ห้องขังกองปราบฯ
8.30 2 พฤษภาคม 2554




โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
2 พฤษภาคม 2554

สมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และบรรณาธิการวารสารเรด พาวเวอร์ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองปอยเปต อรัญประเทศ ปราจีนบุรี เมื่อสายวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ขณะนำลูกทัวร์ ซึ่งเป็นคนเสื้อแดงเป็นส่วนใหญ่ไปเที่ยวเขมร






กาหลิบ เขียนถึงการจับคุณสมยศ
ท้องฟ้ามืดลงทุกขณะสำหรับเมืองไทย คราวนี้นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่มีสไตล์เฉพาะตัวอย่าง คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกจับกุมอีกครั้ง เที่ยวนี้ด่านตรวจคนเข้าเมืองไทย-กัมพูชาเล่นบทผู้กักตัว แล้วแจ้งตำรวจกองปราบฯ บวกเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษมารับตัวไปดำเนินคดี เชื่อว่ากรณีนี้สัมพันธ์กับหมายเรียกและหมายจับเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ อันเป็น ความผิด” ตามมาตรา ๑๑๒ ของนิตยสารฝ่ายประชาธิปไตยที่คุณสมยศฯ เป็นบรรณาธิการบริหารอยู่ในขณะนั้นคือVoice of Taksin
งาน นี้คงมีคนหวังเอาหน้ากับเหล่าไดโนเสาร์โบราณกันเต็มที่ ข่าวที่ออกผ่านเว็ปไซต์ของสื่อสายพันธุ์เดียวกันอย่างเนชั่น จึงเขียนข่าวว่า
“30 เมษา. 2554 14:32 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชุดสอบสวนสะกดรอยดีเอสไอ พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.ส่วนสืบสวนสะกดรอย ดีเอสไอ ได้นำกำลังเข้าจับกุมจับนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการบริหารนิตยสาร วอยซ์ ออฟ ทักษิณ ในคดีล้มเจ้า ได้ที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ซึ่งขณะนี้ได้นำตัวไปสอบสวนที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ
ความจริงคุณสมยศฯ ไม่ได้หนีหรืออำพรางตัวใดๆ เลยก่อนถูกจับกุม ขณะนั้นคุณสมยศฯ กำลังยื่นเอกสารให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองตรวจสอบอย่างเปิดเผย เพราะกำลังนำคณะนักท่องเที่ยวไทยข้ามไปยังฝั่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำมาแล้วหลายครั้ง ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองขอกักตัวไว้เพียงคนเดียว โดยอ้างว่ามีหมายเรียก/หมายจับ ส่วนคนอื่นๆ ก็เดินทางข้ามแดนไป
การประโคมข่าวว่าคุณสมยศฯ หลบหนี” “กบดาน” (ต้อง) สะกดรอย” (เพื่อจับกุม) ช่วยชี้ว่าคนที่มีหน้าเกี่ยวข้องคงกำลังแข่งขันสร้างผลงานในคดี ล้มเจ้า” จนต้องเร้าอารมณ์และสร้างความตื่นเต้นเพื่อเอาใจบุคคลระดับสูงที่ส่งสัญญาณมาให้ลุยเต็มที่ในคดีประเภทเดียวกันนี้
และนั่นก็คือตัวบ่งชี้ว่าสัญญาณนั้นได้ส่งลงมาแล้วจริงๆ
ภาพที่ปรากฏก็ชัดแจ้ง หน่วยคอมมานโดของกองปราบฯ และทหารได้เข้าปฏิบัติการปิดและยึดสถานีวิทยุชุมชนด้วยท่วงท่าราวกับหนัง ประเภทบู๊ล้างผลาญทั้งที่ไม่มีใครเขาต่อต้านหรือสกัดขัดขวางอะไรเลยเมื่อไม่ กี่วันที่ผ่านมา แถม เวทีราษฎร” ที่อนุสรณ์สถานดอนเมืองวันนี้ (วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔) ก็ถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงขัดขวางจนแทบไม่อาจตั้งได้
การจับกุมคุณสมยศฯ และเหตุการณ์อื่นๆ ที่อ้างถึงนี้ บอกกับพวกเราในฝ่ายประชาธิปไตยอย่างถนัดชัดเจนว่าการปรองดองที่หลงใหลกัน นั้นหามีไม่
ความ จริงคนที่ฝ่ายเขาพูดคำว่าปรองดองด้วยก็มีอยู่ แต่คนเหล่านั้นต้องแสดงตัวหมอบราบคาบแก้วกับฝ่ายผู้ถืออำนาจเก่าแก่โบราณ เสียก่อน การออกมาสรรเสริญเกียรติคุณเหนือหัวใดๆ อย่างที่คนบางชนิดในฝ่ายประชาธิปไตยที่อุตส่าห์ไปเป็น นักเรียนนอก” มา เกือบปียังกลับมาแสดงละครอย่างน่าคลื่นเหียนผ่านช่องแดง โดยอวดอ้างว่าตนมีกิจกรรมจงรักภักดียิ่งกว่าใครๆ จึงเกิดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
อะไรจะน่าสะอิดสะเอียนกว่ากันคงบอกยาก เมื่อเทียบกับตัวอะไรที่มันไปรับงานฝ่ายเขามา ฆ่า” เพื่อนร่วมอุดมการณ์และร่วมต่อสู้มาด้วยกันอย่างโชกโชน
มาบัดนี้จึงไม่ใช่สองแนวทางประชาธิปไตยอย่างที่เคยเข้าใจเสียแล้ว หากเป็นการ ว่าจ้าง” และ ติดสินบน” พวกเดียวกันมาไล่ล่าฆ่ากันเองในทางการเมือง เพียงเพื่อตัวจะได้กลับไปหมอบคลานแล้วเลียฝ่าเท้าของเขา” ได้อย่างที่เคยทำ
สถานการณ์เช่นนี้นักประชาธิปไตยแท้จริงจึงตกอยู่ในอันตราย เพราะต้องผจญศึกสองทาง
การจับกุมคุณสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ก่อนหน้านี้ และคุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขซึ่งยังไม่รู้ว่าจะได้ประกันตัวหรือไม่ เป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายแนวปฏิวัติโดยใช้พวกเดียวกันแต่เดิมเป็นเครื่อง มือ
งานนี้เพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น
แต่หัวใจคือมวลชนที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะตาสว่าง คลื่นมหาประชาชนเหล่านี้จะรวมตัวกันเพื่อโถมทับความเน่าเหม็นทั้งหลายของ บ้านเมืองในเวลาไม่ช้านานนี้แน่ เพราะบ้านเมืองได้ครบวงจรของความเลวร้ายจนไร้ทางออกอย่างอื่นเสียแล้ว
ระหว่างนี้ขอให้คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุขและเพื่อนร่วมขบวนประชาธิปไตยทุกคนจงปลอดภัยและทำจิตใจให้มั่นคงไว้ก่อน.

* * * * * * * * * 
ประชาไทเกาะติดสถานการณ์การจับสมยศ และลงข่าวต่อเนื่องนับตั้งแต่ข่าวการจับกุมคุณสมยศ "ฝากขังผลัดแรก ศาลไม่ให้ประกัน ‘สมยศ’ คดีร้ายแรง เกรงหลบหนี"


2 พ.ค.54 เวลาประมาณ 10.00 น.ที่ศาลอาญา ถนนรัชดา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอฝากขัง นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย เป็นผลัดแรก และผู้ต้องหาได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ต่อมาในเวลาประมาณ 13.30 น. ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง
คำสั่งศาลโดยระบุว่า พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีมีอัตราโทษสูง ตามข้อหาเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชาอาณาจักร และความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พฤติการณ์แห่งคดีและลักษณะการกระทำ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เทิดทูนและเคารพสักการะ กระทบกระเทือนจิตใจของประชาชนโดยรวม ประกอบกับผู้ต้องหาถูกจับกุมขณะกำลังจะเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ถือว่ามีพฤติกรรมหลบหนี หากให้ปล่อยชั่วคราวเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา ยกคำร้อง
นายสุวิทย์ ทองนวล ทนายความของสมยศ กล่าวว่า การยื่นประกันชั้นศาลยังคงใช้หลักทรัพย์เดิมคือเงินสด 1.6 ล้านบาท และเมื่อศาลยกคำร้อง คงต้องหารือทีมทนายในการดำเนินการต่อไป คาดว่าจะมีการทำคำโต้แย้งว่าไม่ใช่พฤติการณ์หลบหนี แต่ผู้ต้องหามีความจำเป็นต้องเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพราะจัดทัวร์ และเป็นการไปทุกเดือน ไม่ใช่ครั้งแรก อีกทั้งการไปครั้งนี้ยังมีการโฆษณาในนิตยสารเรด พาวเวอร์ มีกำหนดการไป 30 เม.ย.-3 พ.ค. วันนี้ (2 พ.ค.)ทีมงานต้องนำลูกทัวร์ไปก็ยังไม่กลับ

"ฝ่ายรัฐพยายามกว้านจับคดีนี้เยอะมาก ทั้งแกนนำนปช. หรือแม้แต่ประชาชนคนเล็กคนน้อย ที่เป็นข่าวก็เยอะ ที่ไม่เป็นข่าวก็เยอะ กรณีของคุณสมยศ หมายจับออกนานแล้ว ถ้าจะจับจริง เขาก็อยู่สำนักงานที่อิมพิเรียลตลอด แถลงข่าวก็หลายครั้ง ทำไมต้องไปจับที่ด่าน" ทนายความกล่าว
ทั้งนี้สมยศ ถูกเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) จับกุมและแจ้งข้อหาความผิดหมิ่นเบื้องสูง ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ เมื่อวันที่ 30 เม.ย.และนำไปควบคุมตัวที่กองปราบฯ 48 ชั่วโมง ก่อนเจ้าหน้าที่จะนำตัวมายื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาลในวันนี้
ข่าวในประชาไทในเรื่องการจับกุมคุณสมยศ

สมบัติ บุญงามอนงศ์ หรือหนูหริ่งเขียนถึงสมยศ พฤกษาเกษมสุข

พี่สมยศ ในทัศนะ NGOs รุ่นน้อง

by บก.ลายจุด on Monday, 02 May 2011 at 14:38
ผมรู้จักพี่สมยศมาประมาณ 20 ปีที่แล้ว พี่เขาเป็น NGOs สายแรงงาน ผมได้รับการติดต่อให้ไปช่วยอบรมการละครให้กับคนงานย่านรังสิต เนื่องในโอกาสวันแรงงานซึ่งกลุ่มผู้ใช้แรงงานจะมีกิจกรรมทุกปี
การไปช่วยงานพี่สมยศทำให้ผมได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตช่วงสั้น ๆ กับคนงานที่ได้ค่าแรงต่ำสุดในระบบแรงงาน เวลาพวกเขาพูดถึงค่าแรงที่ควรจะได้เพิ่มสัก 3-5 บาทต่อวัน เป็นความรู้สึกที่สุดบรรยาย เพราะดูมันจะสำคัญกับคนงานเหล่านั้นมาก
ผมได้เรียนรู้ว่า นายจ้างต้องการเพียงแค่ให้คนพอมีเงินประทังชีวิตไม่ตายแล้วยังมาเป็นแรงงานให้พวกเขา
คนงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ทำงานไปหลายปีไม่สามารถตัดเย็บเสื้อผ้าทั้งตัวได้ เพราะถูกใช้ให้ทำหน้าที่เฉพาะส่วน ใครติดกระดุมก็ทำไป ใครใส่ปกก็เย็บตรงนั้น ดังนั้นแรงงานเหล่านี้แทบไม่มีโอกาสพัฒนาฝีมือจนกลายเป็นแรงงานมีฝีมือ
เงินที่จะทำให้เขาพอมีใช้จ่ายมากขึ้นก็ต้องแลกด้วยการทำงานล่วงเวลา กินเวลาพักผ่อน กินเวลาที่จะมีชีวิตส่วนตัว
การต่อสู้ของคนงานขับเคลื่อนด้วยตนเองได้ยาก การมี NGOs เข้าไปเป็นพี่เลี้ยง ค่อยสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อศึกษาปัญหาและการพัฒนากลุ่มในลักษณะสหภาพจึง จำเป็น
ไม่ต้องแปลกใจที่พี่สมยศทุ่มเทเวลาให้กับการจัดการศึกษา การสัมมนา และออกแบบกิจกรรมในการสร้างแรงกดดันต่าง ๆ ในบางจังหวะอาจดูท่วงทำนองมุทะลุบ้าง นั่นก็เพราะบทเรียนในการทำงานด้านแรงงานเขาพบว่า ถ้าไม่ท้าทายสักหน่อยนายจ้างก็จะไม่ให้ความสนใจและปล่อยให้คนงานประท้วงกัน จนหมดแรงไป
พี่สมยศเป็น NGOs ที่ประสานงานเชื่อมโยงกับเครือข่ายแรงงานระหว่างประเทศ โดยที่ตนเองไม่มีแม้แต่ปริญญาตรี เทคนิคการเรียนรู้ของแกคือ การบังคับตนเองอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษทุกวันเป็นปี ๆ จนสามารถอ่านเขียนภาษาอังกฤษได้ดี
ในแวดวง NGOs เวลาเรามีการประชุมสัมมนากัน พี่สมยศจะได้รับการ้องขอให้เป็นคนช่วยจับประเด็น เพราะเป็นคนฉลาด มอง และ วิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ได้แตกฉาน เป็นที่พึ่งพาของน้อง ๆ และเพื่อน ๆ เวลาต้องหาใครมาช่วย
พี่สมยศเคยร่วมต่อสู้กับ พธม อยู่ช่วงหนึ่งเหมือนกับนักกิจกรรมทั่วไป หลังจาก พธม เสนอ ม.7 และมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนอำนาจนอกระบบ เขาก็ถอนตัวออกจากขบวน ผมเจอพี่เขาอีกครั้งหลังเหตุการณ์รัฐประหาร ผมเดินไปคุยกับพี่สมยศในงานศพของรุ่นพี่คนหนึ่ง เราคุยกันและเขาถามผมบอกกับผมว่า การที่ผมออกไปต่อต้านการรัฐประหาร 19 กย นั้นถูกต้องแล้ว เป็นสิ่งที่พวกเราต้องออกไปต้าน
ต่อจากนั้น ไม่นาน เราก็ได้เห็นพี่สมยศมาปรากฎตัวที่สนามหลวงและเข้าร่วมการต่อสู้่ในนามของ นปก และยังเป็นคนสำคัญที่ดึงขบวนการแรงงานอีกส่วนหนึ่งออกมาจากขบวนแรงงานที่สม ศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำ พธม ในตอนนั้นครอบงำ เรียกได้ว่าในขบวนการแรงงานก็มีพี่สมยศนี่แหละที่ขึ้นปะทะทางความคิดอย่าง แข็งขันเขาต่อสู้ในจังหวะที่แหลมคมเสมอ ดังเช่นการถูกจับหลังการแถลงข่าวว่าจะจัดชุมนุมในพื้นที่นอกเขต พรก ฉุกเฉิน แต่ก็ถูกควบคุมตัวไปอยู่ค่ายทหารอยู่หลายวัน
ในปีกเสื้อแดงมี NGOs อยู่ไม่กีคนที่ออกตัวแรงและแหลมคม เพราะขบวนส่วนใหญ่เล่นบทรักษาตัวเงียบ เอาตัวรอดไม่เจ็บตัว หรือไม่งั้นก็เทใจให้กับฝ่ายเสื้อเหลืองอันมีผลมาจากผู้ใหญ่ในแวดวงหลายคน อยู่ทางนั้นและเคยร่วมไล่ทักษิณมาในช่วง พธม และเขินอายที่จะมาใส่เสื้อสีแดง
พวกเราเชื่อว่า การติดคุกเป็นวิธีการหนึ่งของการต่อสู้ และเป็นต้นทุนที่อาจต้องจ่าย การจับกุมพี่สมยศในครั้งนี้และไม่อนุญาตให้ประกันตัว เพราะเกรงว่าจะหลบหนีนั้น คนที่อยู่ข้างนอกต้องตั้งหลักและก้าวเดินต่อไป ประสานรับกัน คนที่อยู่ข้างในก็สู้กันแบบคนถูกจองจำ คนที่อยู่้ข้างนอกก็ต้องสู้กันต่อไป อย่าให้การจับกุมพี่สมยศ กลายเป็นการยุติการต่อสู้ หรือ ทำให้เสียขบวน เพราะศัทรูจะบรรลุวัตถุประสงค์
คาราวะ หนูหริ่ง (บก.ลายจุด)
* * * * * * * * *

กลุ่มคนมารอให้กำลังใจคุณสมยศ วันที่ 2 พฤษภาคม 2554



วันที่ 1 พฤษภาคม 2554 "กลุ่มมาตรา 112: รณรงค์เพื่อการตื่นรู้" ออกแถลงการณ์พร้อมผุ้ลงชื่อ 112 คน)

ที่มา ประชาไท
แถลงการณ์: คัดค้านการคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชนด้วย “กฎหมายหมิ่นฯ” (กรณีล่าสุด สมยศ พฤกษาเกษมสุข )


นับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา มีผู้ได้รับผลกระทบจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นจำนวนมาก เฉพาะในช่วงตั้งแต่ปี 2548 - 2552 สถิติของคดีเหล่านี้มีมากถึง 547 คดี โดยศาลมีคำตัดสินว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจำนวน 247 คดี และล่าสุดในเดือนเมษายน 2554 เพียงเดือนเดียว ได้มีการใช้กฎหมายนี้กับประชาชนในหลายกรณี โดยเท่าที่ปรากฏเป็นรายงานข่าวคือ

การคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความ คิดเห็นของ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จากกรณีการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย ซึ่งได้มีการแถลงข่าวเปิดเผยเรื่องนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา

27 เมษายน ตำรวจกองปราบฯ ได้เรียกธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการนิตยสารฟ้าเดียวกัน เข้าให้ปากคำในฐานะพยาน กรณีมีผู้ฟ้องว่าข้อความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน (ปัจจุบันปิดไปแล้ว) อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยระบุนามแฝงของผู้โพสต์ เจ้าของกระทู้ และผู้แสดงความเห็นในกระทู้ที่มีข้อความเข้าข่ายดังกล่าว จำนวน 54 รายชื่อ จาก 46 ยูอาร์แอล (URL)
วันเดียวกัน ได้มีรายงานข่าวการพิจารณาคดีลับที่ศาลทหาร กรุงเทพฯ กับนายทหารอากาศยศนาวาอากาศตรีซึ่งถูกกองทัพอากาศแจ้งความดำเนินคดี จากกรณีที่มีการร้องเรียนว่าทหารอากาศนายนี้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก (Facebook) ของตนที่อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ล่าสุด วันที่ 30 เมษายน ได้มีการจับกุมตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมด้านแรงงาน แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และบรรณาธิการบริหารนิตยสาร วอยซ์ ออฟ ทักษิณ ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยกรมสืบสวนคดีพิเศษ (DSI) บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ โดยไม่ให้ประกันตัวใดๆ
นอกจากความกังวลต่อการเพิ่มขึ้นของคดี ตามมาตรานี้ ที่มีอัตราโทษสูงแต่ขาดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ให้อำนาจการฟ้องร้องอย่างกว้างขวาง ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มอำนาจบางกลุ่ม และสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวซึ่งกระทบต่อการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดง ความเห็นตามระบอบประชาธิปไตยแล้ว กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้" ยังมีความกังวลต่อวิธีการบังคับใช้กฎหมายทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการไต่สวนคดีอีกด้วย
อาทิ การพิจารณาคดีลับ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นอย่างเข้มงวดตามกฎหมายสูงสุดที่มีอยู่ โดยก่อนหน้ากรณีนาย ทหารอากาศ ก็ได้มีการใช้ในคดีที่ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ "ดา ตอร์ปิโด" เป็นจำเลย จนต่อมาศาลอุทธรณ์ก็ได้ยกคำสั่งลงโทษและให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาว่าขัดต่อข้อบัญญัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนกรณีของดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล รวมถึงผู้โพสต์ข้อความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกันนั้น ซึ่งเข้าข่ายคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น และล่าสุด กรณีการจับกุมสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งถูกคัดค้านการให้ประกันตัว โดยอ้างว่าเกรงจำเลยจะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ทั้งที่หมายจับในคดีนี้ออกมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่เคยแสดงท่าทีว่าจะหลบหนีแต่อย่างใด
กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้" จึงมีความเห็นและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. หยุดใช้มาตรา 112 คุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการดำเนินชีวิตตามปรกติ สร้างบรรยากาศความหวาดกลัวเพื่อควบคุมประชาชน ซึ่งขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพในสังคมประชาธิปไตย นอกจากนี้การบังคับใช้กฎหมาย พิเศษ เช่น กฎหมายความมั่นคง เพื่อปราบปรามความเห็นต่าง นอกจากจะหมิ่นเหม่ที่จะขัดต่อข้อบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 29 ที่ห้ามการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ โดยให้ทำได้ "เท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้" แล้ว ยังขัดกับหลักกฎหมายสากล เช่น ข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ที่คุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นด้วย
ทั้งนี้ รัฐพึงมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ที่จะส่งเสริมสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น มิใช่ใช้ช่องว่างของกฎหมายในการดำเนินคดีมาสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวแก่ประชาชน อย่างที่เป็นอยู่

2. ในภาวะที่ยังคงกฎหมายนี้โดยไม่มีการปรับปรุงแก้ไข ควรเปิดเผยกระบวนการสืบสวนสอบสวนและพิจารณาคดีที่เกี่ยวเนื่องให้สาธารณชน รับทราบ และควรมีการออกหมายเรียกก่อนตามกระบวนการดำเนินคดีปรกติ แทนการออกหมายจับหรือเข้าจับกุมทันที

3. การพิจารณาคดีลับพึงเป็นข้อยกเว้นอย่างเข้มงวด ไม่ควรอ้างเหตุจำเป็นต้องใช้อย่างพร่ำเพรื่อ อย่างที่มักอ้างว่า “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี” ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน
4. การปฏิบัติตามกระบวนการอันควรตามกฎหมาย (due process) เป็นพื้นฐานนำไปสู่ความรู้สึกที่เป็นธรรมทั้งของผู้ถูกกล่าวหาและสังคม ทั่วไป แต่ที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นฯ มักถูกหน่วยงานรัฐคัดค้านการประกันตัวหรือปล่อยตัวชั่วคราว โดยมักอ้างว่าเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง ผู้ถูกกล่าวหาจะหลบหนีและ/หรือยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ดังนั้น ทางกลุ่มฯ จึงขอเรียกร้องให้ศาลพิจารณากรณีเหล่านี้อย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงหลักการขั้นต้นเป็นสำคัญ

1 พฤษภาคม 2554

กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้"(Article 112 Awareness Campaign) และผู้ที่เห็นด้วยกับแถลงการณ์ข้างต้น ดังรายชื่อต่อไปนี้:

1. ขวัญระวี วังอุดม 2. พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์ 3. วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ 4. กานต์ทัศนภักดิ์ 5. นภัทร สาเศียร 6. พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ 7. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ 8. จีรนุช เปรมชัยพร 9. อธิคม จีระไพโรจน์กุล 10. พรเทพ สงวนถ้อย 11. ภัควดี วีระภาสพงษ์ 12. อนุสรณ์ อุณโณ 13. ‎ชลิตา บัณฑุวงศ์ 14. สุลักษณ์ หลำอุบล 15. อัญชลี มณีโรจน์ 16. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร 17. อดิศร เกิดมงคล 18. นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ 19. พัชรี แซ่เอี้ยว 20. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ 21. นิพาดา ทองคำแท้ 22. ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ 23. ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ 24. วิจักขณ์ พานิช 25. ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ 26. พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ 27. ชัยธวัช ตุลาธน 28. วันรัก สุวรรณวัฒนา 29. ไชยันต์ รัชชกูล 30. เตือนสิริ ศรีนอก 31. ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์ 32. ‎ดวงฤทัย เอสะนาชาต้ง 33. ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ 34. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ 35. ศราวุฒิ ประทุมราช 36. สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ 37. ประวิตร โรจนพฤกษ์ 38. สุภิตา เจริญวัฒนมงคล 39. รวินทร์ คำโพธิ์ทอง 40. อังคณา นีละไพจิตร 41. สุธารี วรรณศิริ 42. ลักขณา ปันวิชัย 43. สุขุม ชีวาเกียรติยิ่งยง 44. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ 45. รจเรข วัฒนพาณิชย์ 46. เอกฤทธิ์ พนเจริญสวัสดิ์ 47. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว 48. จิตรา คชเดช 49. วิภา มัจฉาชาติ 50. เนติ วิเชียรแสน 51. ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข 52. ธนาพล อิ๋วสกุล 53. มานา ชุณห์สุทธิวัฒน์ 54. วธู ชุณห์สุทธิวัฒน์ 55. กฤตวิทย์ หริมเทพาธิป 56. ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ 57. วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง 58. ปนิธิตา เกียรติ์สุพิมล 59. สุวิทย์ เลิศไกรเมธี 60. จิราพร กิจประยูร 61. สุริยะ ครุฑพันธุ์ 62. อภิณัฐ ภู่ก๋ง 63. ดิน บัวแดง 64. อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู 65. ณัฐนพ พลาหาญ 66. อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา 67. เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ 68. อุเชนทร์ เชียงเสน 69. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช 70. ชุมาพร แต่งเกลี้ยง 71. เทวฤทธิ์ มณีฉาย 72. ดวงใจ พวงแก้ว 73. ธีระพล คุ้มทรัพย์ 74. ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ 75. ตากวาง สุขเกษม 76. สุดา รังกุพันธุ์ 77. เทพฤทธิ์ ภาษี 78. คมลักษณ์ ไชยยะ 79. เกียรติศักดิ์ ม่วงมิตร 80. ธีรวรรณ บุญญวรรณ 81. ปรัชญา สุรกำจรโรจน์ 82. ปุณณวิชญ์ เทศนา 83. ธัญสก พันสิทธิวรกุล 84. อาทิตย์ ศิวะหรรษาพันธ์ 85. วิภาวดี พันธุ์ยางน้อย 86. อาทิชา วงเวียน 87. ดวงทิพย์ ฆารฤทธิ์ 88. พวงทอง ภวัครพันธุ์ 89. จอน อึ๊งภากรณ์ 90. สมฤดี วินิจจะกูล 91. ตฤณ ไอยะรา 92. นิรมล ยุวนบุณย์ 93. ธนศักดิ์ สายจำปา 94. นันทา เบญจศิลารักษ์ 95. สุรชัย เพชรแสงโรจน์ 96. ศราวุธ ดรุณวัติ 97. สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์ 98. แดนทอง บรีน 99. ประทับจิต นีละไพจิตร 100. สุชา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 101. ทองธัช เทพารักษ์ 102. กิตติเดช บัวศรี 103. ธิติ มีแต้ม 104. หทัยกานต์ สังขชาติ 105. ธีรมล บัวงาม 106. นาถรพี วงศ์แสงจันทร์ 107. วิทยา พันธ์พานิชย์ 108. Tyrell Haberkorn 109. นพพร พรหมขัติแก้ว 110. ศรวิษฐ์ โตวิวิชญ์ 111. ‎ จรินพร เรืองสมบูรณ์ 112. ศรายุธ ตั้งประเสริฐ
http://redusala.blogspot.com
สมยศเขียนจดหมายจากเรือนจำ: เหยื่ออธรรม


ถอดความโดย เสรีชน ผู้รักประชาธิปไตย
2 พฤษภาคม 2554




ผมนั่งอยู่ในห้องกรงขังเหล็กแน่นหนา ที่เรียกกันว่าคุก ผมสูญเสียอิสรภาพ ถูกกักขังโดดเดี่ยว ตัดขาดจากโลกภายนอก เป็นความทุกข์ทรมาน ทั้งร่างกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาก่อนในชีวิต

ถ้าหากผมเป็นอาชญากรหรือฆาตกรกระทำความผิดให้ผู้อื่นตายหรือ ปล้นทรัพย์ หรือกระทำผิดศีลธรรมร้ายแรง ผมสมควรรับโทษทัณฑ์ สมควรทุกข์ทรมาน ฬนฐานะกระทำความผิดหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

แต่ผมได้ทำหน้าที่สื่อสารมวลชน แสดงความคิดเห็นอิสระ นำเสนอความจริง วิพากษ์วิจารณ์สังคม-การเมือง อันเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ผมได้ใช้วิชาชีพสื่อมวลชน อย่างเป็นอิสระ เพื่อให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาก้าวหน้า หรือมีความเสมอภาคเท่าเทียม ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี


ผมได้ทำหนังสือพิมพ์ เป็นสื่อกลางให้ผู้คนได้แสดงความคิดเห็น เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองโดยปราศจากความกลัวหรือต้องถูกจำกัดความคิด

ผลของการทำหน้าที่ตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ และทำงานตามจิตวิญญาณอิสระของศักดิ์ศรี ความเป็นคน ผมจึงถูกกล่าวหา และถูกจองจำ ให้ได้รับความทุกข์ทรมาน

มีอีกหลายคนที่ต้องกลายเป็นเหยื่อ ของอำนาจป่าเถื่อน ของความคิดคับแคบเห็นแก่ตัวเพียงเพื่อรักษาอำนาจและความเป็นอภิสิทธิชน

ความทุกข์ทรมานและความเจ็บปวดรวดร้าวของชีวิตครั้งนี้ ไม่ใช่แค่ถูกจองจำเท่านั้น แต่ที่เจ็บปวดและคับแค้นใจก็คือ ไม่ใช่แค่การใช้กฏหมายไม่เป็นธรรมรังแกผมเท่านั้น ยังบิดเบือนความจริงอย่างน่าเกลียดอีกด้วย เช่น การไม่ให้ประกันตัว อ้างว่า ผมกำลังหลบหนีเดินทางไปต่างประเทศ

ผมไม่ทราบมาก่อนเลยว่ามีหมายจับ ในข้อหา ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตามมาตรา 112 ประมวลกฏหมายอาญา ผมจึงใช้ชีวิตตามปกติ หาเช้ากินค่ำ ทำงานตั้งแต่เช้าจรดเย็น และเข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมือง


ผมมีอาชีพสื่อสารมวลชนและทำธุรกิจท่องเที่ยว ในวันที่ 30 เมษายน 2554 ผมพาคณะนักท่องเที่ยวชาวไทย 30 คน ไปเที่วนครวัต ประเทศกัมพูชา ซึ่งจัดไปทุกเดือน ผมเข้าช่องตรวจเอกสารเดินทางตามปกติ ไม่ได้เป็นการหลบหนี

ผมเคยถูกกล่าวหาในคดีการเมืองหลายคดีแต่ไม่เคยหลบหนี ผมต่อสู้ทุกคดี เพราะผมมั่นใจในความบริสุทธิ์ใจ และเชื่อว่ายังมีความยุติธรรมหลงเหลืออยู่บ้าง

ผมไม่คิดหลบหนี แม้ว่าจำต้องถูกจองจำ ก็เพื่อจะต่อสู้กับอำนาจฉ้อฉล ต่อสู้กับการบิดเบือน และต่อสู้กับอำนาจเผด็จการของชนชั้นปกครอง

ผมอาจถูกจองจำถูกทรมานถูกลงโทษแต่ผมได้ทำหน้าที่ของชีวิตอิสระได้ ทำหน้าที่ยังประโยชน์ให้กับสังคม ผมจึงพร้อมต่อสู้กับอำนาจฉ้อฉลแม้ว่าจะต้องถูกจับเข้าคุก


ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ประชาชน ซึ่งต้องการความเสมอภาคเท่าเทียม ความเป็นธรรม และประชาธิปไตย โดยได้แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งกับผู้ปกครองที่อ้างตนเองมี คุณธรรมสูงสุดในสังคม แต่เป็นปัญหาของกฏหมายเผด็จการ นั่นคือ มาตรา 112 นั้น เป็นกฏหมายไม่เป็นธรรม เป็นเครื่องมือทำลายบุคคลอื่นทางการเมืองและจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

มีหลายคน กลายเป็นเหยื่อของมาตรา112 ต้องสูญเสียอิสรภาพ ต้องถูกจับกุมคุมขัง ถูกกล่าวหา ถูกทำลายกระทั่งถูกฆ่าตายอย่างโหดเหี้ยม

ผมจึงออกมาต่อสู้ เรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา112นี้ไปเสีย ด้วยการจัดตั้ง เครือข่ายประชาธิปไตย รวบรวมประชาชนเข้าชื่อกัน 10,000 ชื่อขึ้นไป เพื่อขอให้รัฐสภา แก้ไขมาตรา 112 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2550


ดังที่กล่าวมาแล้วมาตรา112 มีความคลุมเครือ มีช่องว่างให้พวกอำนาจฉ้อฉล นำมาใช้เล่นงาน และปราบปรามประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมไทยขณะนี้ มีความขัดแย้งกันมาก การจับกุมครั้งนี้ เป็นการดึง สถาบันกษัตริย์ มาเผชิญหน้ากับประชาชน

ก่อนหน้านี้ มีการกล่าวหาแกนนำ เสื้อแดง ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาด้วยปิดวิทยุชุมชน ปิดเวปไซต์ ปิดกั้นการรับรู้ของประชาชน จนในที่สุด จับกุมผม ทำเป็นคดีอย่างไม่เป็นธรรม

ผมเป็นเพียงเหยือ ของกฏหมาย ไม่เป็นธรรม เป็นเหยื่อของเกมการเมืองที่กำลังห้ำหั่นแย่งชิงอำนาจรัฐระหว่างผ่าย ประชาธิปไตยกับฝ่ายเผด็จการ ผ่านรูปแบบการเลือกตั้งผมเป็นบุคคล ที่พวกมีอำนาจฉ้อฉลที่ชอบแอบอ้างศีลธรรมและบุญบารมี ต้องการให้ผมอยู่ในความผิด เพื่อรักษาอำนาจฉ้อฉลให้ยาวนาน ต่อไป

ผมไม่ใช่เหยื่อรายสุดท้าย ตราบเท่าที่เรายังอยู่ภายใต้การปกครอง ที่เนื้อแท้เป็นเผด็จการ แต่เปลือกนอกฉาบด้วย คำว่าประชาธิปไตย ไว้หลอกลวงชาวโลก

ผมจะต่อสู้ให้ได้รับเสรีภาพตราบจนลมหายใจสุดท้าย ผมยอมเสียอิสรภาพ แต่จะไม่ยอมเสียความเป็นคนอย่างแน่นอน

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
ห้องขัง กองปราบ
2 พ.ค.2554 8.30 น.


http://redusala.blogspot.com
เวบไซต์ชุมชนคนเหมือนกันออกแถลงการณ์กรณีกองปราบเตรียมดำเนินคดีหมิ่นฯต่อ50สมาชิก

หมายเหตุไทยอีนิวส์:คณะกรรมการบริหารเว็บไซต์ชุมชนคนเหมือนกัน ( http://weareallhuman2.info )ได้ออกแถลงการณ์ชุมชนคนเหมือนกันกรณีกองปราบปรามเตรียมดำเนินคดีกับสมาชิกของชุมชน :พวกเรายืนยันจุดยืนปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้เป็นประชาธิปไตย - การวิพากษ์วิจารณ์และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ย่อมต้องได้รับความคุ้มครอง ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 “เว็บไซต์ฟ้าเดียวกัน”(sameskyboard)เป็นชุมชนออนไลน์อยู่ภายใต้ความดูแลของ”สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน”ที่มีคุณธนาพล อิ๋วสกุล เป็นบรรณาธิการ และได้เปลี่ยนมาอยู่ภายใต้ความดูแลของคณะกรรมการบริหารชุมชนเวลาต่อมามีคุณศรัทธา หุ่นพะยนต์เป็นเว็บมาสเตอร์ มีความรับผิดชอบเป็นอิสระแยกออกจากสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

ภายหลังสมาชิกได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็น‘ชุมชนคนเหมือนกัน(weareallhuman)เมื่อ พ.ศ. 2553เพื่อยืนยันถึงหลักความเสมอภาค และหลักเสรีภาพ ซึ่งเป็นจุดยืนที่พวกเรามุ่งมั่นปกป้องมาโดยตลอดนับจนถึงบัดนี้ ‘ชุมชนคนเหมือนกัน’ยังคงเป็นเว็บไซต์ทางการเมืองที่เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างกว้างขวางที่สุด

พวกเราเชื่อว่าไม่ใช่เพียงแต่นักวิชาการเท่านั้นที่ควรได้รับโอกาสในการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ หรือใช้หลัก ‘เสรีภาพทางวิชาการ’ ในการเป็นเกราะป้องกันความปลอดภัย แต่ประชาชนทุกคนในประเทศนี้, เสรีชนผู้เป็นสมาชิกของชุมชนนี้ย่อมต้องได้รับการพิทักษ์เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเช่นเดียวกันเราเชื่อว่า การวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสรีเท่านั้น ที่จะทำให้ประเทศนี้ดำเนินไปในแนวทางที่เป็นประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ยังคงเป็นดัชนีชี้วัดความเป็นมนุษย์ของประชาชนในประเทศ- ตราบใดที่กลไกทั้งปวงของรัฐ และกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ ม. 112ยังคงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายล้าง- ปราบปรามประชาชนที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์เมื่อนั้นหลักประกันคุณค่าความเป็นมนุษย์ของพลเมืองจะยังไม่มีประชาชนทั้งหลายคงเป็นเพียงแค่ข้ารองพระบาท หรือฝุ่นละอองธุลีที่ปราศจากเจตจำนงแห่งตน- เมื่อใดที่ประชาชนของประเทศนี้มีความเป็น ‘คนเหมือนกัน’เมื่อนั้นเว็บไซต์ชุมชนคนเหมือนกันย่อมหมดหน้าที่ในตัวมันเอง

ด้วยเหตุที่กองปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศมีความพยายามในขั้นสอบสวน ที่จะใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550ดำเนินคดีกับสมาชิกของเว็บไซต์ชุมชนคนเหมือนกัน จำนวนมากกว่า 50 คนซึ่งโพสต์ข้อความในกระดานสนทนามาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2550 จนถึง พ.ศ. 2552 ผู้บริสุทธิ์เหล่านี้ไม่ว่าจะโพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์หรือไม่ก็ตามก็ไม่สมควรถูกยัดเยียดความเป็นอาชญากรทางความคิดมนุษย์ทุกคนต้องมีโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนสนทนากันโดยอิสระเสรี ไม่ต้องกังวลภยันตรายจากอำนาจรัฐ

ความคิดใดๆ ไม่ควร "สำเนา" ให้เป็นฉบับทางการเหมือนกันทั้งประเทศ หากเป็นเช่นนั้นความคิดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทยย่อมไม่ต่างไปจากกระดาษชำระที่ไร้คุณค่าในแต่ละแผ่นแต่ละใบในตัวของมัน

ด้วยเหตุที่ชุมชนคนเหมือนกันเปิดโอกาสให้สมาชิกที่มีความคิดแตกต่างกันสามารถเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีจึงทำให้รายชื่อจำนวนหนึ่งที่ปรากฎในหลักฐานของตำรวจประกอบไปด้วยสมาชิผู้ประกาศตนเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ หลายครั้งที่สมาชิกผู้จงรักภักดีเหล่านี้มีวิวาทะกับสมาชิกอื่นๆ เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์

คำถามมีเพียงว่าหรือแค่ประชาชนในประเทศนี้ มีคำอธิบายต่อสถาบันกษัตริย์ที่แตกต่างไปจากการประชาสัมพันธ์ของรัฐหรือมีท่าทีที่วิพากษ์วิจารณ์ในบางด้าน ก็อาจกลายเป็นผู้ไม่จงรักภักดี จาบจ้วงสถาบันกษัตริย์ไปเสียแล้ว

การขยายอำนาจเผด็จการอย่างใหญ่โต และการครอบงำทางความคิดของอุดมการณ์กษัตริย์นิยมทำให้กลไกของรัฐทำลายล้างคนที่มีความคิดแตกต่างจากแบบฉบับอย่างรุนแรง หารู้ไม่ว่าการกระทำเช่นนี้มีแต่จะนำความเสื่อมมาสู่ระบอบเผด็จการ และสถาบันกษัตริย์เอง

พวกเรายืนยันว่าสมาชิกของชุมชนคนเหมือนกันทุกคน ไม่ว่าจะมีความคิดที่แตกต่างกันอย่างไรต่างก็เป็นผู้ที่สมควรได้รับการพิทักษ์เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น – จุดยืนเช่นนี้ของพวกเรามีขึ้นเพื่อยืนยันหมุดหมายของการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้เป็นประชาธิปไตย

สิ่งที่แนบท้ายแถลงการณ์นี้ คือรายชื่อประชาชน ผู้สนับสนุนเว็บไซต์ชุมชนคนเหมือนกันสนับสนุนการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์และการปฏิรูปให้เป็นประชาธิปไตยความพยายามดำเนินคดีกับสมาชิก และ การปิดกั้นเว็บไซต์ของเราจะต้องยุติลงทัน

ทีนี่อาจเป็นคำเตือนของประชาชนผู้ไม่มีอำนาจ และไม่มีกลไกรัฐใดที่จะใช้ต่อรองกับอำนาจเผด็จการได้เรามีแต่เจตจำนงอันเสรีที่จะมั่นคงแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป จนกว่าจะได้มาซึ่งประชาธิปไตยคำเตือนนี้ อาจจะไม่มีผลบังคับทางปฏิบัติในระยะเวลาอันใกล้นี้ แต่ผู้มีอำนาจทั้งหลายพึงระลึกไว้เถิดว่าการใช้อำนาจเผด็จการอย่างรุนแรงนี่เองที่จะนำมาสู่ความล่มสลายของระบอบอำนาจนิยมที่พวกท่านหวงแหนรักษาไว้ เมื่อถึงวันนั้น วันที่ระบอบใหม่สถิตสถาพร ‘ประชาชนจะเป็นเจ้าของคุก’

คณะกรรมการบริหารเว็บไซต์ชุมชนคนเหมือนกัน
www.WeAreAllHuman.info

*******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

-ประชาไท: เผยรายชื่อกว่า 50 ชื่อผู้เล่นเวบฟ้าเดียวกันที่ถูกกองปราบตามสอย

-ธนาพล อิ๋วสกุล:ชี้แจงกรณีข่าวกองปราบฯแกะรอยกว่า 50 รายชื่อผู้เล่นเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน

http://redusala.blogspot.com
องค์กรจัดลำดับเสรีภาพโลก "Freedom House"
จัดประเทศไทยในปี 2011 อยู่ในกลุ่มประเทศ "ไม่เสรี"
การพัฒนาต้องมาพร้อมกับเสรีภาพ เราจะพัฒนาได้อย่างไรถ้าเสรีภาพของไทยตกต่ำลงเรื่อยๆ จนอยู่ในกลุ่ม "ไม่เสรี" ประชาไท นำเสนอเปรียบเทียบรายงานขององค์กรจัดระดับโลกด้านเสรีภาพ Freedom House โดยเปรียบเทียบเสรีภาพประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2523 ถึงปัจจุบัน พร้อมกับการลดเกรดประเทศไทยลงมาจากการถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศ "กึ่งเสรี" มาสู่กลุ่มประเทศ "ไม่เสรี"


“ฟรีดอมเฮาส์” ลดอันดับเสรีภาพสื่อไทยเข้ากลุ่มประเทศ “ไม่เสรี”

โดย ประชาไท
3 พฤษภาคม 2554

"ฟรีดอมเฮาส์" เผยผลสำรวจปี 2011 จำนวนประชากรโลกที่เข้าถึงสื่อ เสรีได้ลดลงถึงจุดต่ำสุดในรอบสิบปี ด้านไทยถูกลดชั้นจากกลุ่ม “กึ่งเสรี” เข้ากลุ่ม “ไม่เสรี” เทียบชั้นเกาหลีเหนือ พม่า จีน คิวบา โซมาเลีย อัฟกานิสถาน อิหร่านและอีก 63 ประเทศทั่วโลก เผยเหตุลดชั้นมาจากการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.112 และความรุนแรงทางการเมือง
แผนที่แสดง เสรีภาพสื่อ สำรวจโดย “Freedom House” ในปี 2011 ประเทศไทย ลดอันดับลงจากกลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” เมื่อปีที่แล้ว (แสดงเป็นสีเหลือง) เป็นกลุ่ม “ไม่เสรี” (แสดงเป็นสีม่วง) (ดูภาพขนาดใหญ่คลิกที่นี่)
แผนที่แสดง เสรีภาพสื่อเปรียบเทียบ ตั้งแต่ปี 1980 ปี 1990 ปี 2000 ปี 2010 และล่าสุด ปี 2011 โดยกลุ่มประเทศ “เสรี” แสดงเป็นสีเขียว กลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” แสดงเป็นสีเหลือง และกลุ่มประเทศ “ไม่เสรี” แสดงเป็นสีม่วง
แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อปี 1980 (ที่มา: Freedom House) (ดูภาพขนาดใหญ่ คลิกที่นี่)
โดยในปี 1980 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ “ไม่เสรี” เช่นเดียวกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีเพียงญี่ปุ่นที่เป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่ม “เสรี” ขณะที่ไต้หวัน และเกาหลีใต้อยู่ในกลุ่ม “กึ่งเสรี”
แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อปี 1990 (ที่มา: Freedom House) (ดูภาพขนาดใหญ่ คลิกที่นี่)
แผนที่แสดง เสรีภาพสื่อในปี 1990 ประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” เช่นเดียวกับมาเลเซีย ขณะที่ฟิลิปปินส์ได้รับการเลื่อนอันดับมาเป็นประเทศ “เสรี” ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในกลุ่ม “ไม่เสรี” ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีเพียงญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ซึ่งเพิ่งเลื่อนอันดับอยู่ในกลุ่มประเทศ “เสรี” ขณะที่ไต้หวันอยู่ในกลุ่ม “กึ่งเสรี”
แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อปี 2000 (ที่มา: Freedom House) (ดูภาพขนาดใหญ่ คลิกที่นี่)
แผนที่แสดง เสรีภาพสื่อในปี 2000 ประเทศไทย ได้รับการเลื่อนอันดับมาอยู่ในกลุ่มประเทศ “เสรี” เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ ขณะที่อินโดนีเซียเลื่อนอันดับมาอยู่ในกลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคยังอยู่ในกลุ่ม “ไม่เสรี” ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน และมองโกเลียอยู่ในกลุ่ม “เสรี” ขณะที่จีนและเกาหลีเหนืออยู่ในกลุ่ม “ไม่เสรี”
แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อปี 2010 (ที่มา: Freedom House) (ดูภาพขนาดใหญ่ คลิกที่นี่)
แผนที่แสดง เสรีภาพสื่อในปี 2010 ประเทศไทย ลดอันดับมาอยู่ในกลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์ตะวันออก ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในกลุ่ม “ไม่เสรี” ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน อยู่ในกลุ่ม “เสรี” ประเทศมองโกเลียอยู่ในกลุ่ม “กึ่งเสรี” ขณะที่จีนและเกาหลีเหนืออยู่ในกลุ่ม “ไม่เสรี”
แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อปี 2011 (ที่มา: Freedom House) (ดูภาพขนาดใหญ่ คลิกที่นี่)
ขณะที่แผนที่แสดงเสรีภาพสื่อในปี 2011 ประเทศไทย ลดอันดับลงจากกลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” เป็นกลุ่ม “ไม่เสรี” เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเพียงฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์ตะวันออกอยู่ในกลุ่มประเทศ “กึ่งเสรี” ขณะที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีประเทศญี่ปุ่น และไต้หวันอยู่ในกลุ่ม “เสรี” โดยเกาหลีใต้ และมองโกเลียอยู่ในกลุ่ม “กึ่งเสรี” ขณะที่จีนและเกาหลีเหนืออยู่ในกลุ่ม “ไม่เสรี” (ที่มา: เรียบเรียงจากข้อมูลและแผ่นที่ของ Freedom House [1] , [2])
ตะวันออกกลางเสื่อมถอยในขณะที่เสรีภาพสื่อโลกถึงจุดต่ำสุด
วอชิงตัน – 2 พฤษภาคม 2011
รายงานของฟรีดอมเฮาส์เปิดเผยวันนี้ว่า จำนวนประชากรโลกที่สามารถเข้าถึงสื่อที่เสรีและอิสระได้ลดลงถึงจุดต่ำสุดใน รอบสิบปี รายงานFreedom of the Press 2011: A Global Survey of Media Independence พบว่าประเทศที่สำคัญอย่างเช่น อียิปต์ ฮอนดูรัส ฮังการี เม็กซิโก เกาหลีใต้ ไทย ตุรกี และยูเครน เผชิญกับเสรีภาพสื่อที่เสื่อมถอยลงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ภาพรวมสากลนั้นมีประชากรเพียงหนึ่งในหกเท่านั้นที่อยู่ในประเทศที่มี สื่อเสรี จากรายงานนี้ยังพบว่า
  • ในปี 2010 ประเทศที่สำคัญอย่าง เม็กซิโก ถูกจัดให้ไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่ “ไม่เสรี” อันเป็นผลมาจากความรุนแรงที่เกี่ยวเนื่องกับการลักลอบค้ายาเสพติด ซึ่งนำไปสู่การโจมตีและการใช้ความรุนแรงต่อนักข่าว การเซ็นเซอร์ตนเองที่สูงขึ้น การละเว้นโทษต่อเจ้าหน้าที่รัฐ และความพยายามจากฝ่ายนอกรัฐที่ควบคุมและบงการกระแสข่าว
  • ในแถบภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ เสรีภาพสื่อยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากในอียิปต์มีการปราบปราบประชาชนช่วงก่อนการเลือกตั้งในเดือน พฤศจิกายน 2010 สถานะของอียิปต์จึงลดไปเป็น “ไม่เสรี” ส่วนประเทศอื่นๆเช่น อิหร่าน อิรัก โมร็อกโก และเยเมน เสรีภาพสื่อยังคงลดลงเล็กน้อย การถดถอยลงของเสรีภาพสื่อในภูมิภาคนี้ซึ่งก็มีอยู่อย่างจำกัดอยู่แล้วใน เบื้องต้น เมื่อประกอบกับเสรีภาพการแสดงออกที่ยังคงมีอยู่ปานกลาง และสิทธิทางประชาธิปไตยที่ดำรงอยู่ค่อนข้างกว้าง อาจกล่าวได้ว่าช่วยก่อให้เกิดการลุกฮือเรียกร้องการปฏิรูปที่เกิดเป็นลูก คลื่นในหลายประเทศช่วงต้นปี 2011
  • อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเสรีภาพสื่อจะตกต่ำไปเสียทั้งหมด ในบางประเทศก็มีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน เช่น ในแถบซับซาฮาราของทวีปแอฟริกา และบางส่วนของประเทศที่เป็นอดีตสหภาพโซเวียต ในหลายประเทศนั้นเป็นผลมาจากการปฏิรูปกฎหมายและบทบัญญัติต่างๆ ส่วนประเทศที่มีการเปิดกว้างขึ้นของระบบการเมืองที่เห็นได้ชัดเจนก็อย่าง เช่น ในกินี ไนเจอร์ และมอลโดวา ในขณะที่ประเทศเช่นโคลัมเบีย จอร์เจีย เคนยา เคอร์กิสถาน ไลบีเรีย เซเนกัล และซิมบับเวมีระดับเสรีภาพสื่อที่สูงขึ้นเล็กน้อย
“ประเทศที่นักข่าวไม่สามารถรายงานข่าวได้ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกแทรกแซงจากรัฐบาลหรือกลุ่มใดๆ ย่อมมีความหวังที่ริบหรี่ในการดำรงไว้ซึ่งประชาธิปไตย” เดวิด เจ เครเมอร์ ผู้อำนวยการของฟรีดอม เฮาส์กล่าว “เราไม่แปลกใจมากนักในการเจอกับบรรยากาศที่อันตรายและคับแคบต่อนักข่าวใน ประเทศที่ระบอบการปกครองไม่เป็นประชาธิปไตย เช่นในแถบตะวันออกกลางและประเทศอดีตสหภาพโซเวียต แต่เรารู้สึกเป็นปัญหาอย่างมากที่ต้องพบกับการถดถอยของเสรีภาพสื่อในประเทศ ที่ประชาธิปไตยยังไม่มั่นคงนัก เช่นในเม็กซิโก ฮังการี และไทย”
จากทั้งหมด 196 ประเทศที่ได้ทำการสำรวจในปี 2010 พบว่า มี 68 ประเทศ (ร้อยละ 35) ถูกจัดว่าเป็นประเทศที่มีเสรีภาพสื่อเสรี อีก 65 ประเทศ (ร้อยละ 33) ถูกจัดให้ว่าเป็นกึ่งเสรี และอีก 63 ประเทศ (ร้อยละ 32) จัดว่าไม่เสรี จากรายงาน ยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อเสรีภาพสื่อด้วย
  • การที่รัฐจงใจใช้ข้อกฎหมายและข้อบังคับต่างๆไปในทางที่ผิด กลายเป็นวิธีการหลักที่รัฐใช้ในการจัดการควบคุมสื่อ ผู้ปกครองในระบอบอำนาจนิยมได้ใช้วิธีการทางกฎหมายเพื่อบีบให้พื้นที่ข่าวสาร มีอิสระลดลง ถือว่าเป็นความพยายามของรัฐในการโต้กลับการเติบโตของช่องข่าวอิสระทางวิทยุ และโทรทัศน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • รัฐบาลที่กดขี่เหล่านี้พยายามใช้มาตรการที่รุนแรงขึ้นเพื่อควบคุมการ สื่อสารรูปแบบใหม่ๆ เช่นโทรทัศน์ดาวเทียม อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ รวมถึงที่มาของแหล่งข้อมูลข่าวสารนั้นด้วย รัฐประชาธิปไตยและกึ่งประชาธิปไตยบางรัฐยังได้พยายามจำกัดช่องทางต่างๆทาง อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นด้วย รวมถึงเกาหลีใต้และไทย ซึ่งรัฐบาลจงใจควบคุมเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น
  • ความรุนแรงที่มากขึ้นต่อสื่อมวลชน รวมถึงการละเว้นโทษต่อเจ้าหน้าที่รัฐ บีบให้นักข่าวต้องเซ็นเซอร์ตนเองหรือลี้ภัยไปต่างประเทศ ความรุนแรงและการทำร้ายร่างกายที่มุ่งเป้าไปยังนักข่าวจากฝ่ายรัฐและไม่ใช่ รัฐเป็นประเด็นที่น่าจับตามองอย่างมาก ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลกระทบที่น่าหวาดหวั่นต่อวิชาชีพนักข่าว นอกจากนี้ การไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิด หรือไม่สามารถสืบสวนหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นต่อนักข่าวนั้นยังสูงขึ้นอย่าง ผิดปรกติ
แนวโน้มในรอบ 5 ปี
จากการสำรวจพบว่าเสรีภาพสื่อได้ลดลงอย่างต่อเนื่องระหว่างปี 2005 ถึง 2010 และแนวโน้มดังกล่าวก็ยังปรากฏในทุกภูมิภาคของโลก อย่างไรก็ตาม การเสื่อมถอยที่ชัดเจนที่สุดนั้นเกิดขึ้นในแถบอเมริกาใต้ ซึ่งการจำกัดพื้นที่สื่อเป็นไปในหลายประเทศ ภาวการณ์นี้ยังเกิดขึ้นด้วยในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยและเผด็จการอำนาจนิยม ในแถบยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก รวมถึงประเทศอดีตประเทศสหภาพโซเวียตด้วย
ในรอบห้าปีที่ผ่านมา จำนวนประเทศที่เสรีภาพสื่อลดน้อยลงนั้นสูงกว่าประเทศที่มีเสรีภาพสื่อมาก ขึ้นถึงสองเท่า ปรากฏการณ์ที่เสรีภาพสื่อเสื่อมถอยนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศที่ ประชาธิปไตยกำลังจะหยั่งรากแต่ก็ถูกท้าทายโดยการลุกฮือทางการเมือง การแบ่งขั้วจากความขัดแย้ง การรัฐประหาร หรือสงครามกลางเมือง เช่นในโบลิเวีย เอกวาดอร์ ฟิจิ ศรีลังกา และไทย นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆ ที่รัฐบาลมีความโน้มเอียงไปทางเผด็จการอำนาจนิยมมากขึ้น เช่นในอิหร่าน รัสเซีย และเวเนซุเอลา
ความจริงแนวโน้มเสรีภาพสื่อโลกที่เสื่อมถอยนี้ ดูเหมือนว่าจะลดน้อยลงในช่วงปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แนวโน้มดังกล่าวก็ถูกตีกลับอย่างรวดเร็วในช่วงต้นปี 2011 อันเป็นผลมา จากการประท้วงระลอกใหญ่ในหลายประเทศโดยเฉพาะในทวีปตะวันออกกลางและแอฟริกา เหนือ ณ จุดนี้ ก็ยังไม่ชัดเจนนักว่าจุดสมดุลระหว่างส่วนที่เพิ่มขึ้นและส่วนที่ลดลงนั้น อยู่ที่ใดและจะช่วยให้ภาพรวมของโลกมีส่วนพัฒนาในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ในปี 2011
“ในปี 2010 เราได้เห็นแล้วว่ารัฐบาลในตะวันออกกลางได้ทำการปิดกั้น สื่อต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมาก” คาริน ดุช คาร์เลคาร์ บรรณาธิการของรายงานฉบับนี้กล่าว “การปฏิรูปสื่อที่กว้างขวางและยั่งยืนจึงจำเป็นต้องกระทำให้เร็วที่สุดเพื่อ รักษาบรรยากาศทางการเมืองที่เปิดกว้างขึ้นให้ดำรงอยู่ มิเช่นนั้น โอกาสนี้ก็อาจจะสูญหายไปได้”
สิ่งที่น่าสนใจจากภูมิภาคต่างๆ
อเมริกา
ในภูมิภาคนี้มีสองประเทศที่เปลี่ยนสถานะไปในทางลบ คือฮอนดูรัสและเม็กซิโกที่มีสื่อที่“ไม่เสรี” เช่นเดียวกันในอาร์เจนติน่า โบลิเวีย และเอกวาดอร์ ก็ประสบกับสภาวะเสรีภาพสื่อที่ลดลง นับว่าเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2006 ที่จำนวนประเทศแถบทวีบอเมริกาถูก จัดให้เป็นประเทศ “ไม่เสรี” มากที่สุด และเมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในปี 2009 คะแนนเฉลี่ยของภูมิภาคในปี 2010นับว่าแย่ลง อันเป็นผลมาจากการถดถอยทางด้านทางการเมืองและเศรษฐกิจ โคลัมเบียเป็นประเทศที่ดูมีความหวังมากที่สุดเนื่องจากมีการปรับปรุงใน ประเด็นการงดเว้นโทษของเจ้าหน้าที่รัฐ
เอเชียแปซิฟิก
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีคะแนนเฉลี่ยลดลง อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสถานะของประเทศสองประเทศคือ เกาหลีใต้ จาก “เสรี” เป็น “กึ่งเสรี” และไทยจาก “กึ่งเสรี” เป็น ไม่เสรี” นอกจากนี้ ในกัมพูชา ฟีจิ อินเดีย และวานูตูเสรีภาพสื่อก็ยังถดถอยลงด้วย ในขณะที่ในฟิลิปปินส์และบังคลาเทศนั้นมีอัตราดีขึ้นเล็กน้อย ภูมิภาคนี้ยังประกอบไปด้วยรัฐที่มีสถานะสื่อแย่ที่สุดคือพม่าและเกาหลีเหนือ รวมถึงจีนซึ่งจัดเป็นรัฐที่มีสถานะเสรีภาพสื่อที่ตกต่ำและขนาดใหญ่ที่สุด ด้วย ในจีน การปราบปรามการเสรีภาพการแสดงออกยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องในปี 2010
ยุโรปกลางและตะวันออก/ประเทศอดีตสหภาพโซเวียต
คะแนนเฉลี่ยของภูมิภาคนี้ยังเท่าเดิมในปี 2010 อย่างไรก็ตาม ความคงที่ดังกล่าวเป็นผลมาจากความเคลื่อนไหวที่ปรากฏในแถบภูมิภาคสองแห่ง กล่าวคือ ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกที่เคยมีแนวโน้มเสรีภาพสื่อที่ดีกลับลดลงในภาพ รวม ในขณะที่ประเทศอดีตสหภาพโซเวียตที่สื่อเป็นไปอย่างปิดกั้นได้พัฒนาขึ้นจาก การเปิดเสรีทางการเมืองโดยเฉพาะในมอลโดวา รวมทั้งในจอร์เจียและเคอร์กิสถานก็ดีขึ้นเล็กน้อย ในสองภูมิภาคย่อยนี้ ความเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจัดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอาเซ อร์ไบจาน คาซัคสถาน และรัสเซีย ยังคงเป็นประเทศที่น่าเป็นห่วง ในขณะที่แนวโน้มเสรีภาพสื่อทางลบก็ปรากฏขึ้นในฮังการีและยูเครน
ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
ภูมิภาคนี้ประสบกับภาวะถดถอยมากที่สุดในภูมิภาคอื่นๆ อียิปต์ถูกลดสถานะจาก “กึ่งเสรี” เป็น “ไม่เสรี” และคะแนนของอิรัก อิหร่าน คูเวต โมร็อกโก และเยเมนก็ยังลดลงอีกด้วย ลิเบีย ซาอุดิอาระเบีย ซีเรีย และตูนิเซียยังคงติดลำดับประเทศที่แย่ที่สุดด้านความอิสระและเสรีภาพสื่อ
แถบซับซาฮาราในทวีปอัฟริกา
ในปีนี้แถบซับซาฮาราแอฟริกาจัดว่าเป็นแถบที่มีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับทวีปอื่นๆ เนื่องจากในปี 2009 คะแนน เฉลี่ยในภูมิภาคนี้เสื่อมถอยลงอย่างมากแต่กลับกระเตื้องขึ้นมาได้ใหม่ในปี 2010 กินี ไลบีเรีย และไนเจอได้ปรับเปลี่ยนสถานะจาก “ไม่เสรี” มาเป็น “กึ่งเสรี” คะแนนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดปรากฏในเคนยา มอริทาเนีย เซเนกัล แซมเบีย และซิมบับเว อย่างไรก็ตามก็มีการถดถอยในแองโกลา โกตดิวัวร์ กีเนียบิสเซา มาดากัสการ์ และซูดาน
ยุโรปตะวันตก
ในภูมิภาคนี้คะแนนค่าเฉลี่ยลดลงอย่างกว้างขวางที่สุดเป็นอันดับสอง โดยเฉพาะการเสื่อมถอยลงในเดนมาร์ก ไอซแลนด์ และตุรกี นอกจากนี้สหราชอาณาจักรยังเป็นประเทศที่น่าเป็นห่วงเนื่องจากกฎหมายกบฏที่ ใช้กันอย่างกว้างขวาง ในขณะที่การแทรกแซงจากทางภาครัฐในสื่อที่รัฐบาลเป็นเจ้าของส่งผลให้อิตาลี ถูกจัดอยู่ในประเภท “กึ่งเสรี”
(ตกต่ำ) ที่สุดของที่สุด
ประเทศที่ติดอันดับสิบที่แย่ที่สุดคือ เบลารุส พม่า คิวบา เอควาทอเรียล (Equatorial) กินี (Guinea) เอริเทรีย (Eritrea) อิหร่าน ลิเบีย เกาหลีเหนือ เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน ประเทศเหล่านี้ ไม่ปรากฏว่ามีสื่ออิสระ หรือถ้ามีก็ไม่สามารถทำงานได้ สื่อจึงกลายเป็นเครื่องมือของผู้ปกครองในระบอบไปโดยระเบียบ นอกจากนี้ ความสามารถของพลเมืองในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ก็ถูกจำกัด อย่างร้ายแรง และผู้ที่เห็นต่างในสังคมก็ถูกกำจัดโดยวิธีการเช่นการจำคุก การซ้อมทรมาน และมาตรการอื่นๆ
จากตารางแสดงให้เห็นว่าสถิติของเสรีภาพสื่อในเอเชียแปซิฟิกได้ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2007 และตกต่ำที่สุดในระยะห้าปีที่ผ่านมา โดยจากรายงาน ฟรีดอมเฮาส์ได้ระบุว่าในปี 2010 ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย แรงกดดันต่อสื่อมวลชนส่งผลให้คะแนนของประเทศไทยลดลงสี่จุดคือจาก 58 เป็น 62 (หมายเหตุ: ตัวเลขยิ่งมาก แปลว่ายิ่งไม่เสรี) และเปลี่ยนสถานะจากประเทศที่เสรีภาพสื่อเป็น “กึ่งเสรี” มาเป็น “ไม่เสรี” ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลดังกล่าวคือการใช้กฎหมายพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่จงใจปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น ออนไลน์ รวมไปถึงการดำเนินคดีกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นอกจากนี้ ความรุนแรงระหว่างกลุ่มต่างๆ ทางการเมืองยังทำให้นักข่าวได้รับผลกระทบจากความรุนแรง และนำไปสู่การเซ็นเซอร์แหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ด้วย
http://redusala.blogspot.com