วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554


ธาริต เล่นไม่เลิก "ออกหมายเรียก 18 นปช.รับทราบข้อหาคดีล้มเจ้า"




http://www.thairedsweden.com/2011/04/thailands-war-of-convenience-with.html#more

Thailand’s War of Convenience with Cambodia

The Wall Street Journal shows a good understanding as to why the government of Thailand has been so reluctant to resolve the border dispute with Cambodia. While certainly both countries share the blame for making these violent clashes worse for their own political needs, the Thai Army currently has no interest in solving the crisis, and appears perfectly willing to sacrifice the lives of innocent soldiers to extend their political control over the country.

The military, palace and business elite all fear that supporters of deposed Prime Minister Thaksin Shinawatra will win their fourth straight general election. The last three results were annulled by a coup and court rulings, and the red shirt supporters of Mr. Thaksin have become increasingly restive as a result of their disenfranchisement. Even if their Puea Thai Party wins, there is a strong chance they will not be allowed to form a government. So further unrest later this year seems likely.

In this context, a fight with Cambodia might seem an appealing way out of the deadlock. A limited war with a much smaller neighbor could unify Thais, as the red shirts would feel pressure to get behind the military in a time of national crisis. Mr. Abhisit, who has never won an election and is widely regarded as a figurehead within Thailand, could be dispensed with, and elections pushed off until the glow of victory and massive public spending restore the Bangkok elite’s popularity. (…) 

Thailand’s friends have a responsibility to dissuade the military from military adventures. It’s also time they addressed the root cause of the problem. This conflict is a sign that the nation’s internal political crisis is beginning to generate external costs, showing once again that Asean’s credo of noninterference in domestic politics needs to be tempered with an awareness that promotion of democracy is part and parcel of regional stability.
http://redusala.blogspot.com

หมิ่นเจ้า?ดาบนี้..มีสองคม


http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=10471

         จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข
         ปีที่ 6 ฉบับที่ 307 ประจำวัน จันทร์ ที่ 25 เมษายน 2011
         โดย ทีมข่าวรายวัน
         “ความเป็นทหารรักษาพระองค์ คือขอยอมตายเพื่อรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจะจงรักภักดีถวายความปลอดภัยต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยชีวิต พวกเราไม่ต้องสงสัยใดๆในคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ขอให้เชื่อผู้บังคับบัญชาว่าทุกคนคิดเหมือนกัน ผบ.ทบ. คิดอย่างไร ผบ.พล.1 รอ. คิดอย่างนั้น ฉะนั้นขอให้เชื่อมั่นต่อผู้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามคำสั่ง อย่าลังเล ขอให้ยึดมั่นอย่างนั้น”

เสียงที่หนักแน่นและดุดันของ พล.ต.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) เมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา ระหว่างตรวจเยี่ยมความพร้อมรบของกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) โดย พ.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ร.11 รอ. ได้จัดกำลังทหารจำนวน 1 กองพัน เพื่อแสดงความพร้อมรบ และสามารถนำกำลังรบหลักปฏิบัติการตามคำสั่งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้ภายใน 30 นาทีนั้นจะถือว่าเป็นการออกมาปรามหรือขู่ก็ตาม แต่แสดงให้เห็นชัดเจนว่ากองทัพพร้อมจะทำทุกอย่างหากยังมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพาดพิงหรือจาบจ้วงสถาบัน
กระแสกองทัพ!


ส่วนที่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่าทำไมกองทัพเพิ่งออกมาแสดงพลังในเรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ให้เหตุผลว่า เนื่องจากที่ผ่านมาได้ให้โอกาสมาโดยตลอด ซึ่งทหารในกองทัพรู้สึกอึดอัดใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ แต่ยังมีการกระทำอยู่จึงจำเป็นต้องดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษ 3 แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) คือนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย นายวิเชียร ขาวขำ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย และนายสุพร อัตถาวงศ์ ส่วนคดีจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาในชั้นศาล


พล.อ.ประยุทธ์ยืนยันว่า การออกมาป้องปรามเรื่องสถาบันนั้นไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายการเมืองใด แต่เห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ จึงขอให้ทุกฝ่ายอย่านำสถาบันมาเกี่ยวโยงกับการเมือง และขอให้ทุกพรรคการเมืองนำนโยบายมาหาเสียงต่อสู้กัน โดยประชาชนต้องหนักแน่นด้วยเช่นกัน


อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครปฏิเสธว่าการฟ้องข้อหาหมิ่นสถาบันกับแกนนำ นปช. ครั้งนี้เกิดผลกระทบกับคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยไม่น้อย เพราะมีการเสนอข่าวในลักษณะโจมตี นปช. และพรรคเพื่อไทย นอกจากสร้างกระแสให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา นปช. และพรรคเพื่อไทยแล้ว กลุ่มการเมืองในพรรคเพื่อไทยก็เกิดความกลัวว่าอาจทำให้ถูกยุบพรรคได้หากมีฝ่ายตรงข้ามอ้างว่าพรรคเพื่อไทยอยู่เบื้องหลังหรือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนของ นปช.


โดยเฉพาะกรณี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย ที่ลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย โดยอ้างเหตุผลกระแสหมิ่นสถาบัน ทั้งที่มีการพูดคุยกันในระดับสูงของพรรคแล้ว และยังมีรายงานว่าอาจมีสมาชิกบางส่วนลาออกตาม รวมถึงการไม่ร่วมงานการเมืองของนายเสนาะ เทียนทอง เจ้าพ่อวังน้ำเย็น ที่ก่อนหน้านี้รับปากแล้วก็ตาม


แต่มีกระแสข่าวอีกด้านหนึ่งระบุว่าเพราะพรรคเพื่อไทยไม่เสนอชื่อ พล.อ.ชวลิตเป็นลำดับที่ 1 ในบัญชีปาร์ตี้ลิสต์ในการเลือกตั้งที่จะถึง แต่กลับมีข่าวว่าจะเสนอ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดังนั้น เมื่อมีกระแสหมิ่นสถาบันเข้ามา พล.อ.ชวลิตจึงถือโอกาสลาออก


ดีเอสไอรวบหัวรวบหาง


อย่างไรก็ตาม การดำเนินนโยบายหรือเปิดเกมรุกของกองทัพอย่างแข็งกร้าวในประเด็นสถาบันครั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นเพราะแกนนำ นปช. กลับมาพุ่งเป้าไปที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ รวมทั้งการเคลื่อนไหวให้ยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งการปราศรัยของคนเสื้อแดงต้องพาดพิงถึงสถาบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะไม่ได้หมิ่น จาบจ้วง หรือล้มสถาบันอย่างที่ถูกกล่าวหาก็ตาม


อย่างการฟ้องร้องที่ พล.อ.ประยุทธ์สั่งให้ฝ่ายกฎหมายของสำนักงานพระธรรมนูญ กองทัพบก แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.สำราญราษฎร์ กับ 3 แกนนำ นปช. ซึ่งนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษนายจตุพรและพวกรวม 18 คนที่ยืนรุมล้อมนายจตุพรขณะใช้ถ้อยคำปราศรัยล่วงละเมิดสถาบัน โดยแสดงออกทั้งภาษากาย กระทำ หรือสนับสนุน เช่น การปรบมือ การโห่ร้องส่งเสียงเชียร์ให้กำลังใจในการปราศรัยในการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการล่วงละเมิดสถาบัน ในความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐว่าด้วยการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116 โดยได้ออกหมายเรียกมารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 2-4 พฤษภาคมนี้


สำหรับรายชื่อชุดแรกที่กำหนดให้มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 2 พฤษภาคม ประกอบด้วย นพ.เหวง โตจิราการ, นางธิดา ถาวรเศรษฐ์, นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์, นายสุพร อัตถาวงศ์ หรือแรมโบ้อีสาน, นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ และ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ


ชุดที่ 2 ในวันที่ 3 พฤษภาคม ประกอบด้วย นายสมชาย ไพบูลย์, นายขวัญชัย ไพรพนา, นายวิเชียร ขาวขำ, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย, นายการุณ โหสกุล และนายก่อแก้ว พิกุลทอง ชุดที่ 3 ในวันที่ 4 พฤษภาคม ประกอบด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นายชินวัฒน์ หาบุญพาด, นายนิสิต สินธุไพร, นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก และนายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ


ทั้งนี้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”


ส่วนมาตรา 116 ระบุว่า “ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต 
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย 
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ 
(3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี”

“จตุพร” แจ้งความ “บิ๊กตู่”


ด้านนายจตุพรกล่าวถึงการแจ้งความในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยยืนยันว่าคนเสื้อแดงไม่เคยมีความคิดจะล้มล้างสถาบัน ซึ่งก่อนหน้านี้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ยอมรับเองว่าผังล้มเจ้าที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) นำมาแสดงนั้นเป็นความเท็จ ที่ผ่านมาคนเสื้อแดงแสดงความจงรักภักดีและปกป้องสถาบันมาโดยตลอด ตั้งแต่แจ้งความดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ไม่นำทหารเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ แต่กลับไปปาฐกถาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือการยื่นเรื่องให้ดำเนินการกับเว็บไซต์วิกิลีกส์และบุคคลระดับสูง 3 คนที่เกี่ยวข้องคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี ที่พูดจามีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นสถาบันชัดเจน


นอกจากนี้นายจตุพรยังแจ้งความดำเนินคดีกับ พล.อ.ประยุทธ์ในข้อหาหมิ่นประมาท กรณีกองทัพแจ้งความดำเนินคดีกับนายจตุพรในข้อหาหมิ่นสถาบัน
“ขอฝากไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ที่บอกให้ผมระวังตัวไว้ อยากถามว่านี่คือคำขู่ใช่หรือไม่ ผมเป็น ส.ส. เป็นประชาชน คุณเป็นเจ้าหน้าที่แล้วมาขู่ผมอย่างนั้นเหรอ หมายความว่าจะฆ่าผมใช่ไหม ถ้าจะฆ่ากันก็บอกมาตรงๆ จะเดินไปให้ฆ่าเอง และอยากเตือนสติ พล.อ.ประยุทธ์ว่าพวกที่หมิ่นสถาบันนั้นก็คือพวกนักการเมืองที่เอาชื่อสถาบันไปแอบอ้าง ไม่ใช่คนเสื้อแดง”


“ณัฐวุฒิ” ชี้เกมล้มเลือกตั้ง


ส่วนนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. ได้ฝากให้เตือนสติ พล.อ.ประยุทธ์ นายธาริต และนายอภิสิทธิ์ว่า ความพยายามหยิบฉวยเรื่องสถาบันมาเป็นประเด็นเคลื่อนไหวเพื่อทำลายคู่ต่อสู้ทางการเมืองและประชาชนนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ผ่านมาคนเสื้อแดงเป็นฝ่ายถูกกระทำมาตลอด ทั้งบาดเจ็บ ล้มตาย และถูกคุมขังจำนวนมาก ด้วยการยัดเยียดข้อกล่าวหาก่อการร้าย ป้ายสีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และล่าสุดกำลังถูกป้ายว่าเป็นพวกโค่นล้มสถาบัน


นายณัฐวุฒิยืนยันว่า คนเสื้อแดงไม่เป็นพิษภัยต่อบ้านเมืองและสถาบัน แต่เป็นพิษกับอำมาตย์และผู้ที่คอยบงการบ้านเมืองที่สื่อเรียกว่ามีอำนาจพิเศษ แต่ไม่เห็นมีใครไปแจ้งจับสื่อ แสดงให้เห็นว่ามีอำนาจพิเศษในประเทศนี้จริงๆ จึงมองได้อย่างเดียวว่าเป็นเกมล้มเลือกตั้งและสร้างเงื่อนไขที่จะฆ่าประชาชนอีกรอบ โดยพร้อมจะพิสูจน์ทุกกรณีที่มีการกล่าวหาตามกระบวนการยุติธรรม และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้กระบวนการยุติธรรมดำเนินการกรณีที่มีการกล่าวหาว่ามีการจาบจ้วง ล่วงเกินสถาบัน ด้วยความเสมอภาคเท่าเทียม และไม่มีความเคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆมาเกี่ยวข้อง ทั้งจะไม่ตอบโต้ด้วยวาทกรรมไปมาอีกต่อไป แต่หากมีการกล่าวหา ใส่ร้ายป้ายสี จะให้ฝ่ายกฎหมายติดตามรวบรวมหลักฐานและดำเนินการตามกฎหมายกับทุกคน ทุกองค์กร


คุมข่าว-ยึดประชาชน!


แต่ที่ต้องจับตามองอีกด้านคือ พล.อ.ประยุทธ์ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (รอง ผอ.กอ.รมน.) ได้มีคำสั่งให้ กอ.รมน. ภาคและจังหวัดตรวจสอบการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงทางสถานีวิทยุชุมชน เว็บไซต์ และอินเทอร์เน็ต เพื่อให้แจ้งเบาะแสและข้อมูลการละเมิดสถาบันไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และตำรวจ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป


ดังนั้น การออกมาแสดงท่าทีและตบเท้าของกองทัพต่อประเด็นสถาบันจึงไม่ใช่แค่ถูกตั้งคำถามจากคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลังทางการเมืองหรือไม่เท่านั้น แต่นักวิชาการและประชาชนจำนวนไม่น้อยก็สงสัยเช่นกัน เพราะไม่ใช่แค่ ผบ.พล.1 รอ. จะประกาศพร้อมใช้กำลังทุกรูปแบบตามคำสั่งของ ผบ.ทบ. เท่านั้น ก่อนหน้านี้ พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 ก็ออกมาสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ที่ไม่พอใจการปราศรัยของแกนนำ นปช. ว่ามีคำพูดที่หมิ่นเหม่ต่อสถาบันและกระทบต่อความรู้สึกของคนไทยส่วนใหญ่ที่รักและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะทหารต้องออกมาแสดงบทบาท เพราะทหารทุกคนคือประชาชนที่เป็นลูกหลานของประชาชน


นักการเมืองหนาว!


การแสดงพลังของกองทัพจึงไม่ได้มีผลแค่กับ นปช. และพรรคเพื่อไทย แต่ยังทำให้นักการเมืองทุกพรรควิตกด้วยว่าหากมีกลุ่มบุคคลหรือฝ่ายใดถือโอกาสปลุกกระแสเรื่องสถาบันให้ลุกลามเหมือนครั้งปรากฏการณ์สนธิและกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอาจจะไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งวันนี้กลุ่มพันธมิตรฯประกาศชัดเจนว่าไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม


ขณะที่ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวการปฏิวัติรัฐประหารอย่างหนาหู โดยกลุ่มอำนาจเดิมและนายทหารบางคนที่ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการเลือกตั้งขณะนี้ เพราะกลัวพรรคเพื่อไทยจะกลับมามีอำนาจและทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางกลับ จน พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) พร้อมผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพต้องออกมาแถลงยืนยันด้วยเกียรติของทหารว่าจะไม่มีการทำปฏิวัติรัฐประหารอย่างเด็ดขาด รวมทั้งไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือการจัดตั้งรัฐบาล จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดเอากองทัพมาอ้าง หยุดเอากองทัพมาแนบ และหยุดผลักกองทัพออกจากประชาชน


นักวิชาการมองกองทัพ!


ขณะที่นายเกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นที่กองทัพตบเท้าออกมาและฟ้องร้อง นปช. ว่าหมิ่นสถาบันว่า แสดงให้เห็นว่ากองทัพกำลังจะกลับมามีบทบาทและมีอิทธิพลทางการเมืองเหมือนเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ซึ่งบทบาทของกองทัพเช่นนี้ไม่ได้เป็นผลดีต่อบ้านเมืองหรือใครเลย ถ้ากองทัพไม่หยิบเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นประเด็นทางการเมืองปัญหาจะไม่เกิด แต่กองทัพหยิบขึ้นมาจึงอีนุงตุงนัง และไม่เป็นผลดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เลย ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความผุกร่อนภายในสนิมเนื้อในที่มีการนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาใช้เป็นเกราะป้องกันเกียรติยศเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง


นายเกษมชี้ว่าบทบาทของกองทัพไม่เป็นผลดีต่อ ระบอบประชาธิปไตยโดยพื้นฐานและกองทัพ เพราะอาจทำให้คนมองว่าเป็นการปกป้องระบอบอำมาตยาธิปไตยที่ต้องการทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง เพราะการฟ้อง นปช. ก็เหมือนการดิสเครดิตพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นช่วงใกล้จะยุบสภาและมีการเลือกตั้งใหม่
ที่สำคัญไม่เป็นผลดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และทำให้สถาบันแปดเปื้อนไปด้วย เพราะโดยหลักการแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องอยู่เหนือการเมือง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและไม่ให้การเมืองเข้าไปยุ่งเกี่ยวทั้งสิ้น


“ผมเป็นห่วงว่าการเคลื่อนไหวของกองทัพจะกลายเป็นดาบสองคมที่จะย้อนกลับไปทำลายกองทัพและสถาบันพระมหากษัตริย์เอง และสุดท้ายคือคำ ถามที่มีต่อปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือมาตรา 112 รวมทั้งการที่ภาคประชาชนเสนอให้มีการยกเลิกหรือปฏิรูปกฎหมายฉบับนี้มีน้ำหนักมากขึ้น ประเด็นที่น่าสนใจคือขณะนี้มีความพยายามเคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปหรือยกเลิก ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มมีเป้าประสงค์ต่างกัน แต่การทำผิดหน้าที่ของกองทัพจะทำให้คนเห็นว่ากฎหมายมาตรา 112 มีปัญหาในตัวเองมากขึ้น”


ต้องแก้มาตรา 112


ด้านนายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ ติงว่า การดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเมืองสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่ง หลังจากถูกดึงมาใช้ทางการเมืองตั้งแต่เกิดการรัฐประหาร และสืบทอดมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ซึ่งเห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์สูญเสียความชอบธรรมไปไม่น้อยทีเดียว เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่ประกาศความจงรักภักดี กลับไปคิดดีๆว่าคุณใช้สถาบันพระมหากษัตริย์แบบนี้ คุณทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่


ส่วนการฟ้องร้องทั้งฝ่ายกองทัพและนายจตุพรนั้น นายนิธิชี้ให้เห็นว่าปัญหามาตรา 112 วันนี้ถูกเอามาใช้ในทางการเมืองจึงต้องแก้ไข ไม่ใช่ใครก็ฟ้องได้ แต่ต้องผ่านองค์กรใดองค์กรหนึ่งชัดเจน เช่น อาจเป็นสำนักพระราชวังหรือนายกรัฐมนตรีเท่านั้นที่มีสิทธิฟ้อง หรือจะตั้งกระทรวงพระราชวังแบบญี่ปุ่นขึ้นมาทำหน้าที่ก็ได้


นายนิธิยังชี้ว่าการฟ้องร้องในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นยิ่งจะเป็นการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์มากขึ้น “ผมถึงบอกว่าคุณต้องจำกัดการใช้มาตรานี้ให้ดี อย่าปล่อยให้มันถูกใช้พร่ำเพรื่อแบบนี้ เพราะมันจะทำลาย ถ้าคุณเชื่อว่าคุณจงรักภักดี คุณต้องอย่าปล่อยให้ใครใช้กฎหมายเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการทำลายสถาบัน”


ดาบนี้...มีสองคม?


ดังนั้น ภาพของกองทัพที่ออกมาในช่วงไม่ถึง 1 เดือน จึงถือว่าเป็นสถานการณ์ไม่ปรกติ แม้กองทัพจะให้เหตุผลว่าอึดอัดกับการพาดพิงหรือนำสถาบันเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองจนนำมาสู่การตบเท้าแสดงพลังและฟ้องร้องดำเนินคดีกับกลุ่ม นปช.


แต่มีการตั้งคำถามว่าทำไมกองทัพจึงแข็งกร้าวอย่างร้อนรนเรื่องสถาบันเอาตอนนี้ หรือว่ากองทัพตระหนักดีว่ากำลังจะมีการยุบสภาและเลือกตั้ง ขณะที่ประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าจะไม่มีการเลือกตั้ง รวมถึงการปฏิวัติรัฐประหาร ทั้งที่ผู้นำเหล่าทัพออกมายืนยันด้วยเกียรติยศแล้วว่าจะให้ทุกอย่างเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ไม่เกี่ยวข้องทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง
อีกด้านหนึ่งกองทัพบกกลับยอมรับว่ามีแนวทางสนับสนุนการเลือกตั้งเหมือนที่เคยทำในปี 2550 โดยใช้กำลังทหารลงพื้นที่ต่างๆ เป็นชุดทำความเข้าใจ เผยแพร่การเทิดทูนสถาบัน สร้างความรักความสามัคคี แม้ยืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองใดๆทั้งสิ้น แต่ก็มีคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่


โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่การเมืองเองก็พยายามใช้กลยุทธ์ทุกอย่างเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง ขณะที่หลายฝ่ายยังไม่ไว้วางใจว่ากองทัพจะเป็นกลางและไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองจริง แม้แต่ประเด็นสถาบันที่กองทัพระบุว่ามีการพาดพิงและหมิ่นสถาบันนั้น หากมีการนำไปใช้เป็นเงื่อนไขเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ไม่ว่าจะโดยคนในกองทัพ การเมือง หรือกลุ่มที่ต้องทำลายประชาธิปไตย
ข้อหาหมิ่นสถาบัน หมิ่นเจ้า หรือล้มเจ้านั้น จึงอาจเป็น “ดาบสองคม” ที่กลับมาทิ่มแทงเข้าเนื้อกองทัพเองก็ได้!


ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 307 

วันที่ 23-29 เมษายน พ.ศ. 2554 หน้า 16-17 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน
http://redusala.blogspot.com

‘จตุพร’โต้เตรียมเผ่นหนียัน4พ.ค.ไปดีเอสไอมอบตัวสู้คดีหมิ่นสถาบัน

จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
         ปีที่ 12 ฉบับที่ 3040 ประจำวัน อังคาร ที่ 26 เมษายน 2011

         เกิดข่าวลือ “จตุพร” เตรียมเผ่นหนีออกนอกประเทศ หลังประเมินไม่รอดคดีหมิ่นเบื้องสูงและจะไม่ได้รับการประกันตัว เจ้าตัวโต้ไม่เป็นความจริง ยืนยันวันที่ 4 พ.ค. ไปมอบตัวกับดีเอสไอตามหมายเรียกแน่ ย้ำพร้อมต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม และขอต่อสู้ในประเทศ อัยการฝ่ายคดีพิเศษรุดหารืออัยการสูงสุดยังไม่ได้ข้อสรุปจะยื่นถอนประกัน 9 แกนนำทั้งหมดหรือเฉพาะบางราย ด้าน “สุพร-พายัพ-ชินวัฒน์” ได้ประกันตัวในชั้นอัยการหลังถูกถอนประกันชั้นสอบสวน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดวันที่ 25 เม.ย. ที่ผ่านมามีความพยายามปล่อยข่าวผ่านทางโซเซียลเน็ตเวิร์คว่านายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน กำลังเตรียมเดินทางหนีไปอยู่ต่างประเทศ เนื่องจากมีการประเมินว่าจะไม่พ้นความผิดคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูงที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 4 พ.ค. นี้ คาดกันว่าหลังเข้ารับทราบข้อกล่าวหาแล้วจะไม่ได้รับการประกันตัวในชั้นสอบสวน


“จตุพร” ยันสู้คดีไม่หนี


เกี่ยวกับเรื่องนี้ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อสอบถามไปยังนายจตุพรได้รับคำยืนยันว่ากระแสข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง ยืนยันว่าวันที่ 4 พ.ค. จะไปรายงานตัวกับดีเอสไอตามหมายเรียกแน่นอน
“ผมไม่เคยคิดหนีไปไหน เพราะว่าผมพูดได้ภาษาเดียวคือภาษาไทย จึงจะขอต่อสู้อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น”


ดีเอสไอส่งฟ้อง 3 แกนนำ นปช.


ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 พ.ต.ท.ถวัลย์ มั่งคั่ง ผู้อำนวยการสำนักคดีอาญาพิเศษ 2 ดีเอสไอ นำสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นสมควรสั่งฟ้องนายสุพร อัตถาวงศ์ นายพายัพ ปั้นเกตุ และนายชินวัฒน์ หาบุญพาด แกนนำ นปช. ผู้ต้องหาคดีร่วมกันก่อการร้าย ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก ร่วมกันชุมนุมหรือมั่วสุม ณ ที่ใดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปในท้องที่ผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ส่งให้พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษเพื่อพิจารณาสั่งคดี


ให้ประกันตัวในชั้นอัยการ


ทั้งนี้ นายประกัน ทนายความ และผู้ต้องหาทั้ง 3 คนเดินทางไปที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 ด้วย เนื่องจากถูกดีเอสไอถอนประกันตัวในชั้นสอบสวนจากกรณีร่วมชุมนุมและปราศรัยเมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการผิดเงื่อนไขประกันตัวที่ดีเอสไอกำหนด นอกจากนี้นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. และแนวร่วมอีกจำนวนหนึ่งได้เดินทางมาให้กำลังใจด้วย โดยทนายความของทั้ง 3 คนยื่นหลักทรัพย์เดิมที่ใช้ประกันตัวในชั้นสอบสวนขอประกันตัวจากอัยการ เมื่ออัยการพิจารณาแล้วอนุญาตให้ประกันตัว โดยกำหนดเงื่อนไขห้ามร่วมชุมนุมโดยผิดกฎหมาย ห้ามยุยงปลุกปั่นประชาชนให้กระทำผิดกฎหมาย ห้ามยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ห้ามออกนอกราชอาณาจักรก่อนได้รับอนุญาต และนัดฟังคำสั่งว่าจะฟ้องหรือไม่ในวันที่ 19 พ.ค. นี้ เวลา 10.00 น.


“สุพร” ยืนยันไม่ได้ทำผิดเงื่อนไข


นายสุพรให้สัมภาษณ์ว่า นปช. ทุกคนพร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ยืนยันว่าการร่วมชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมาไม่ได้ผิดเงื่อนไขการประกันตัว เพราะเป็นการชุมนุมโดยสงบ มีเวลาเริ่มและเลิกชัดเจน ต่างจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ชุมนุมปิดถนนมายาวนานแต่ไม่มีใครไปทำอะไร
“เรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันไม่ต้องมาถามพวกผม เพราะในหัวใจไม่เคยมีใครไม่จงรักภักดี อยากขอร้องรัฐบาลและทหารว่าอย่าเอาเรื่องสถาบันมาเป็นประเด็นโจมตีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล”


“ธิดา” ย้ำ นปช. แค่เตือนสิ่งที่ไม่ถูกต้อง


นางธิดากล่าวว่า แกนนำทั้ง 18 ได้รับหมายเรียกคดีหมิ่นเบื้องสูงจากดีเอสไอแล้ว ทุกคนจะเดินทางไปตามหมายเรียกแน่นอน แม้มั่นใจว่าไม่ได้ทำความผิดตามข้อกล่าวหา


“การชุมนุมของ นปช. เปรียบเสมือน Warning mob เป็นการส่งสัญญาณเตือนว่ากำลังมีสิ่งไม่ถูกต้องเกิดขึ้นในสังคม โดยเอาสถาบันเบื้องสูงมาเป็นข้ออ้าง”


อัยการหารือถอนประกัน 9 แกนนำ


นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ นายภาณุพงษ์ โชติสิน รองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ และนายรุจ เขื่อนสุวรรณ อัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 เข้าพบนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อหารือเกี่ยวกับคำร้องขอประกันตัวแกนนำ นปช. 9 คนของดีเอสไอ


ยังไม่สรุปยื่นถอนประกันทั้งหมด


หลังการหารือนายธนพิชญ์เปิดเผยว่า การพิจารณายังไม่ได้ข้อยุติ จะต้องตรวจสอบพยานหลักฐานเพิ่มอีก จึงบอกไม่ได้ว่าจะยื่นศาลถอนประกันทั้งหมด 9 คน หรือยื่นเฉพาะบางราย


“ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือผู้ที่ไม่ได้ปราศรัยหมิ่นเบื้องสูง แค่อยู่ร่วมบนเวทีต้องยื่นถอนประกันด้วยหรือไม่ และข้อหาหมิ่นเบื้องสูงนั้นเกี่ยวข้องกับคดีก่อการร้ายหรือไม่ อยู่ในเงื่อนไขการประกันตัวหรือไม่ หรือว่าต้องแยกดำเนินคดี”


*******************************
http://redusala.blogspot.com

จี้ทหารคิดใหม่เลิกยุ่งการเมืองมุ่งพิทักษ์รธน.

http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=10476



จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
         ปีที่ 12 ฉบับที่ 3040 ประจำวัน อังคาร ที่ 26 เมษายน 2011
         นักวิชาการ นายทหาร นักศึกษา เห็นตรงกันกองทัพควรปฏิรูปโครงสร้างและแนวคิดใหม่ ควรถอยออกจากการแทรกแซงทางการเมืองเพื่อไม่ให้ความขัดแย้งขยายตัว แนะปรับอุดมการณ์เป็นมุ่งพิทักษ์รัฐธรรมนูญเพื่อรักษาชาติ ศาสน์ กษัตริย์ให้อยู่รอด

การอภิปรายสาธารณะ “คอร์รัปชันอำนาจ : บทบาทนัก (เลือกตั้ง) การเมืองไทยภายใต้อ้อมกอดทหาร” (แนวทางปฏิรูปกองทัพ บทบาทกองทัพต่อการเมืองและความขัดแย้งภายใน) ที่จัดโดยคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ มีการนำเสนอความเห็นที่หลากหลาย


นายสมชาย หอมลออ กรรมการอิสระค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) กล่าวว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่าเราจะสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแบบไหนกันแน่ เพราะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันหลายกลุ่ม สิ่งที่ต้องทำให้เกิดความชัดเจนคือบทบาทของทหารและนักการเมืองว่ามีควรมีแค่ไหน อย่างไร


“หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ทหารเข้ามามีบทบาทหลายด้าน ทั้งการพัฒนาและการควบคุมการเมือง จึงเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี 35 หลังจากนั้นทหารก็กลับเข้ากรมกอง แต่ในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทหารก็ออกมามีบทบาทอีก จนนำมาสู่การยึดอำนาจ ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาเหมือนหนีเสือปะจระเข้ คือหนีจากนักการเมืองแย่ๆมาเจอทหารยึดอำนาจ ซึ่งไม่ได้มีอะไรดีไปกว่ากัน ที่ผ่านมาทหารได้บทเรียนมามากแล้ว จึงไม่ควรยุ่งกับการเมืองอีก เพราะบริบทของทหารไม่สอดคล้องกับสังคมและการเมืองปัจจุบัน หากออกมาอีกจะถูกต่อต้านมากขึ้น”


นายสมชายกล่าวว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเกิดจากการปิดกั้นทางการเมือง ทั้งที่กลุ่มการเมืองในบ้านเรามีความหลากหลายมาก จึงควรเปิดพื้นที่ให้กลุ่มต่างๆเหล่านี้ได้แสดงออกถึงแนวความคิด จะนิยมเจ้า ชื่นชอบทหาร หรืออะไรก็ได้ แต่ต้องอยู่ในกระบวนการเลือกตั้ง ไม่อย่างนั้นกระบวนการของสภาจะไม่สามารถตอบสนองและแก้ไขปัญหาของประชาชนได้


พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ อนุกรรมาธิการในกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ประชาธิปไตยของไทยเป็นแค่รูปแบบ ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยในเนื้อหาสาระ เพราะยังมีอำนาจจาก 3 ขั้วครอบงำสังคมไทยอยู่ ประกอบด้วย 1.bureaucrat คือกลุ่มอำนาจเก่า ข้าราชการ นักวิชาการ พวกนี้ไม่ได้รับเลือกตั้งแต่อยากเข้ามามีตำแหน่งทางการเมือง 2.Military คือทหาร และ 3.Capital คือกลุ่มทุน


“ยุค พ.ต.ท.ทักษิณคือกลุ่มทุนใหม่เข้ามาครอบครองประเทศ กลุ่มทุนเก่าสู้ไม่ได้จึงจับมือกับชนชั้นนำของประเทศนำมาสู่การยึดอำนาจ เมื่อได้อำนาจมาแล้วก็ไม่ได้แก้ไขโครงสร้างอะไร ทำให้การเลือกตั้งหลังการยึดอำนาจแสดงผลออกมาว่ากลุ่มทุนเก่าไม่มีทางชนะ”


พล.ท.พีระพงษ์เสนอว่า ถึงเวลาที่จะต้องปฏิรูปกองทัพใหม่ทั้งในเรื่องอุดมการณ์และโครงสร้างของกองทัพ ปัจจุบันหน่วยงานทหารเป็นเอกเทศเกินไป ทำให้มีปัญหาเรื่องงบประมาณที่แย่งกันซื้อแย่งกันใช้ ให้เท่าไรก็ไม่พอ จึงมีความจำเป็นต้องยุบรวมให้เล็กลง ในเรื่องอุดมการณ์ทหารต้องเปลี่ยนความคิดมาเป็นการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพราะถ้ารักษารัฐธรรมนูญได้ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ก็จะรอดด้วย เพราะทั้งหมดถูกกำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ


“คำถามคือเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 49 ทหารออกมาพิทักษ์อะไร ทหารคิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่มากในประเทศนี้ อะไรก็เห็นว่ากระทบต่อความมั่นคงไปหมด ตีความคำว่าอริราชศัตรูกว้างมากเกินไป แม้แต่คนที่มาชุมนุมก็ถูกมองว่าเป็นผู้ก่อการร้าย หากยังเป็นอย่างนี้มีแต่จะเสียหาย”


นายอติเทพ ไชยสิทธิ์ กรรมการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) กล่าวว่า ทหารต้องเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ ต้องมองตัวเองเป็นพลเมืองคนหนึ่งที่อยู่ในเครื่องแบบมีอาชีพเป็นทหาร ไม่ได้มีอำนาจพิเศษหรือเหนือไปกว่านักการเมืองหรือประชาชน ทหารต้องเป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ต้องเป็นกลางและไม่อ้างสถาบัน แต่สิ่งที่แสดงออกในขณะนี้คือความไม่เป็นกลาง


นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา กล่าวว่า ยุคนี้เป็นยุคทหารนำการเมือง และพยายามเข้ามาครอบงำการเมืองโดยการสร้างกองทัพให้เป็นพรรคทหารที่ไม่ต้องลงเลือกตั้ง แต่สามารถเป็นรัฐบาลเงาได้
“วันนี้ทหารแสดงให้เห็นว่าเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว ดูได้จากการถืออาวุธออกมาตบเท้าให้ใจกับผู้บัญชาการทหารบก เพราะดูยังไงก็เป็นการกระทำเพื่อข่มขู่ประชาชนที่เห็นแตกต่าง ทั้งที่การใช้กองทัพเข้ามาจัดการปัญหาขัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างทางความคิดเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะยิ่งเข้ามายิ่งทำให้เกิดความขัดแย้ง จึงอยากให้ยุติบทบาททางการเมืองแล้วหันไปแสดงบทบาทในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติต่างๆที่ถือเป็นหน้าที่ของทหารในยุคปัจจุบันจะดีกว่า”


***********************************
http://redusala.blogspot.com

กกต.กลับลำไม่ห้ามอ้างสถาบันหาเสียง


จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ปีที่ 12 ฉบับที่ 3040 ประจำวัน อังคาร ที่ 26 เมษายน 2011
         วุฒิสภาให้ความเห็นชอบกฎหมายลูกเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้ง 3 ฉบับแล้ว โฆษก “มาร์ค” คาดยุบสภาก่อนวันที่ 6 พ.ค. ประชาธิปัตย์เร่งเปิดตัวผู้สมัครทุกเขตภายในสัปดาห์นี้ กกต. ไม่ออกระเบียบห้ามอ้างสถาบันหาเสียง แต่กำหนดเป็นข้อควรปฏิบัติเพื่อขอความร่วมมือเท่านั้น เตือน “ทักษิณ” อย่าทำอะไรหมิ่นเหม่ต่อการถูกร้องยุบพรรคเพื่อไทย ประธาน ส.ส.ภูมิใจไทยฟุ้งอาจได้ ส.ส. ถึง 74 เสียง ชูนโยบายแก้ปัญหาปากท้องเป็นหลัก “มิ่งขวัญ” ยังไม่ชัวร์ตีจากเพื่อไทย

วุฒิสภาให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้ง 3 ฉบับแล้ว โดยร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. ให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 115 ต่อ 3 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยกรรมการการเลือกตั้งให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 114 ต่อ 4 เสียง และร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 114 ต่อ 5 เสียง ขั้นตอนต่อไปเมื่อผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วจะส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา หากไม่มีความเห็นแย้งจะส่งร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่ามีกำหนดใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากไม่มีปัญหาจะนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป


กกต. ย้ำข้าราชการต้องเป็นกลาง


นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า กกต. มีความพร้อมจัดการเลือกตั้ง สิ่งที่ต้องการตอนนี้คือให้ข้าราชการทุกสังกัดวางตัวเป็นกลาง เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้มีความสำคัญ หากข้าราชการไม่เป็นกลางจะมีปัญหาเรื่องการยอมรับผลเลือกตั้ง และจะทำให้เกิดเรื่องยุ่งยากตามมา
ไม่ห้ามอ้างสถาบันหาเสียง
ส่วนความคืบหน้าเรื่องการออกระเบียบห้ามนำสถาบันมาหาเสียงนั้น นายประพันธ์กล่าวว่า จะพิจารณาในสัปดาห์นี้ เมื่อพิจารณาแล้วคิดว่าจะปรับจากการออกเป็นข้อห้ามเป็นข้อควรปฏิบัติแทน ซึ่งเป็นการขอความร่วมมือ ไม่มีบทลงโทษ เชื่อว่าจะได้รับความร่วมมือจากพรรคการเมือง เพราะใช้เฉพาะช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งเท่านั้น


เตือน “ทักษิณ” อย่าทำอะไรหมิ่นเหม่


ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อสงเรื่องการร่วมเปิดตัวนโยบายพรรคเพื่อไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองจะทำให้พรรคเพื่อไทยถูกยุบหรือไม่ นายประพันธ์กล่าวว่า หากว่ากันตามกฎหมายมีข้อกำหนดแค่ผู้ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองห้ามเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง กรณีนี้จึงต้องไปดูว่า พ.ต.ท.ทักษิณทำในฐานะอะไร หากเป็นการแสดงความคิดเห็นคงไปห้ามไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งมีข้อห้ามชัดเจนอยู่แล้วว่าผู้ถูกตัดสิทธิห้ามทำอะไรบ้าง จึงควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่หมิ่นเหม่ ส่วนกรณีเรื่องถือสัญชาติมอนเตเนโกร หากมีการนำประเด็นนี้มายื่นร้องยุบพรรคเพื่อไทยก็ต้องสอบสวนให้ได้ข้อเท็จจริงว่า พ.ต.ท.ทักษิณถือสัญชาติมอนเตเนโกรจริงหรือไม่


ภูมิใจไทยมั่นใจได้ ส.ส. เพิ่ม


นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ประธาน ส.ส.พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า พรรคพร้อมสำหรับการเลือกตั้งแล้ว โดยจะส่งผู้สมัครในภาคอีสานครบทุกเขต ส่วนภาคอื่นๆจะพิจารณาตามความพร้อม เรื่องตัวผู้สมัครจะมีความชัดเจนในสัปดาห์หน้า ขณะนี้พิจารณาแล้ว 90%
“พรรคมั่นใจว่า ส.ส. เดิม 58 คนจะได้กลับมาทั้งหมด และหากโชคดีอาจได้เพิ่มอีก 16 คน หรือถ้าเลวร้ายที่สุดคือไม่น่าจะต่ำกว่า 38 คน” นายประจักษ์กล่าวและว่า นโยบายหาเสียงนั้นพรรคยังเน้นการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนเป็นหลัก


“ประชา” เปิดตัวเข้าพรรคเพื่อไทย


ที่พรรคเพื่อไทยมีการเปิดตัวเข้าร่วมงานของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน และนายถิรชัย วุฒิธรรม ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน อย่างเป็นทางการ โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ หัวหน้าพรรค และแกนนำพรรคหลายคนให้การต้อนรับ


นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าวว่า หลังเปิดตัวนโยบายพรรคเพื่อไทยประชาชนตอบรับค่อนข้างดี และเป็นเรื่องแปลกที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมากล่าวหาว่าลอกนโยบาย


ยันไม่ได้ลอกนโยบายประชาธิปัตย์


“จะไปลอกทำไมในเมื่อต้นตำรับที่เคยทำสำเร็จมาแล้วอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนคิด ไม่เหมือนประชาธิปัตย์ที่ประชาชนบอกว่าลอกแล้วยังทำไม่เป็น” นายนพดลกล่าวและว่า วันที่ 30 เม.ย. นี้พรรคจะเปิดเวทีปราศรัยที่จังหวัดเชียงใหม่และขอนแก่น โดย พ.ต.ท.ทักษิณจะโฟนอินเข้ามาด้วย
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.สัดส่วน จะไม่ลาออกจากพรรคอย่างแน่นอน เพราะนายมิ่งขวัญเป็นนักการตลาดที่เก่ง เมื่อพิจารณาผลการเลือกตั้งที่จะออกมาแล้วคงไม่ออกไปทำงานกับพรรคอื่น อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าหากนายมิ่งขวัญลาออกจะมีผลกระทบต่อพรรคบ้าง


“มิ่งขวัญ” ยังไม่ตัดสินใจทางการเมือง


นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงหลังการประชุมพรรคว่า ในที่ประชุมได้สอบถามเรื่องนายมิ่งขวัญ ซึ่ง ส.ส. ที่เป็นคนสนิทยืนยันว่านายมิ่งขวัญยังไม่ได้ตัดสินใจใดๆ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่านายมิ่งขวัญยังไม่ได้แจ้งความจำนงขอลงสมัคร ส.ส. ในนามพรรค


นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลังจาก กกต. แบ่งเขตเลือกตั้งเสร็จแล้วพรรคจะทยอยเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.เขตให้ครบภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งมี 4 จังหวัดคือ ชลบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และสงขลาที่ต้องหาผู้สมัครใหม่ เพราะ ส.ส. เดิมแจ้งไม่ขอลงสมัครในนามพรรค ทราบว่าบางคนจะย้ายไปพรรคอื่น บางคนจะวางมือ ส่วนจังหวัดอื่นไม่มีปัญหา ส่ง ส.ส. เดิมลงสมัครทั้งหมด ส่วนกำหนดยุบสภานั้นคาดว่าจะมีก่อนวันที่ 6 พ.ค. ที่นายกฯจะต้องเดินทางไปประชุมอาเซียน


***************************
http://redusala.blogspot.com
ภาพบรรยากาศงานแถลงข่าว อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


[Image: img_4432.jpg]


[Image: img_4451.jpg]

[Image: img_4454-1.jpg]

[Image: img_4458-1.jpg]

[Image: img_4475.jpg]

[Image: img_4523.jpg]

[Image: img_4551.jpg]

[Image: img_4633.jpg]

[Image: img_4559.jpg]

ภาพทั้งหมด
https://picasaweb.google.com/10831350761...uOtjq-bPA#



คลิ๊ป Youtube ทั้งงานติดตามรับชมได้ที่
http://sewanaietv.blogspot.com/2011/04/10-2553.html

ไฟล์เสียง mp3 ทั้งงานโหลดได้ที่นี่
http://www.mediafire.com/?hbb1g5bck3sad
http://redusala.blogspot.com
ดร.สุนัย จุลพงศธร "การประชุมสมัชชาไทยในอเมริกา" 25-04-54


เปิดประตู สู่ความจริง สำหรับ “การประชุมสมัชชาไทยในอเมริกา” ครั้งที่ 1 กับ Dr. Sunai Chulpongsatorn, Dr. Tanet Charoenmuang และนักกิจกรรมประชาธิปไตย เพื่อสิทธิเสรีชน..จากรัฐต่าง ๆ. จะ.. มาร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นเป็นกรณีพิเศษ 25-04-54

ภาพ  :http://www.mediafire.com/?1gpcsnf3r62xj1x
เสียง :http://www.mediafire.com/?zs7dp8gvdjyi2p4





Find all posts by this user

http://redusala.blogspot.com
จี้อำนาจรัฐหยุดคุกคามคนเห็นแตกต่างเรื่องสถานะสถาบันกษัตริย์

จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
     ปีที่ 12 ฉบับที่ 3039 ประจำวัน จันทร์ ที่ 25 เมษายน 2011

         นักวิชาการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่ติดตามสถานการณ์ในไทยออกแถลงและจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ถือครองอำนาจรัฐให้ยุติการคุกคามนักวิชาการหรือประชาชนที่มีความเห็นแตกต่างเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ระบุใช้วิธีบีบบังคับ ปิดกั้นจะยิ่งขยายปมความขัดแย้งให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีก แนะควรเปิดพื้นที่ให้อภิปรายทางวิชาการและแสดงความเห็นได้ตามหลักการประชาธิปไตย “สมศักดิ์” แฉมีนายทหารกดดันรัฐบาลให้เอาผิดตามมาตรา 112 ส่งคนติดตามคุกคามข่มขู่ ยืนยันไม่เคยคิดล้มล้างหรือให้ยกเลิก แค่ให้ปรับปรุงสถานะเพื่อการดำรงอยู่อย่างมั่นคงในระยะยาว เผยมีคนแนะให้หนีแต่ไม่ทำ พร้อมต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมแค่ขออย่าใช้วิธีนอกกฎหมาย


วันที่ 24 เม.ย. 2554 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการแถลงข่าวของ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ถูกดำเนินคดีหมิ่นสถาบันตามมาตรา 112 จากการร่วมเวทีอภิปรายเรื่อง “สถาบันกษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ” เมื่อเดือน ธ.ค. 2553 จัดโดยคณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร

“วรเจตน์” ยันเป็นประเด็นสาธารณะ


ก่อนการแถลงข่าวนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในคณะนิติราษฎร์ กล่าวว่า การจัดอภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์กับรัฐธรรมนูญปีที่แล้วเป็นเรื่องที่คณะนิติราษฎร์ทำขึ้น โดยมีความมุ่งหมายที่จะแสดงทรรศนะทางกฎหมายในประเด็นที่เป็นสาธารณะ เริ่มจากเรื่องตุลาการ มโนธรรมสำนึก, สถาบันกษัตริย์ รัฐธรรมนูญ ถัดจากนั้นคือกองทัพกับประชาธิปไตย และล่าสุดคือกฎหมายว่าด้วยหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ โดยเป็นการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและตั้งใจจะทำต่อไปอีก


หลังจากจัดงานในวันที่ 10 ธ.ค. 53 ก็เกิดผลพวง โดยบุคคลกลุ่มหนึ่งร้องเรียนไปยังมหาวิทยาลัยให้ดำเนินการกับกลุ่มอาจารย์ที่จัดงานและให้ดำเนินการทางวินัยกับอาจารย์สมศักดิ์ด้วย แต่ประเด็นเหล่านี้ยังไม่มีน้ำหนักมากเพียงพอ และเห็นว่าทำกิจกรรมทั้งหมดด้วยความสุจริตใจ


ย้ำเสนออยู่ในกรอบประชาธิปไตย


ในตอนท้ายของการอภิปรายวันนั้นได้ย้ำแล้วว่าไม่มีใครบอกให้เปลี่ยนรูปการปกครองเป็นสาธารณรัฐ การเสนอวันนั้นอยู่ในกรอบประชาธิปไตย ราชอาณาจักร อยู่ในกรอบกฎหมาย เมื่อเกิดสภาพแบบนี้เราจึงต้องคิดว่าแล้วจะเดินต่อไปข้างหน้า ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้แล้วทุกคนเงียบหมด กิจกรรมแบบนี้จะเกิดขึ้นอีกไม่ได้


คณะนิติราษฎร์เห็นว่าเป็นภาระหน้าที่ทางวิชาการที่ต้องทำเรื่องเหล่านี้เพื่อให้เป็นประเด็นสาธารณะ อภิปรายกันได้อย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ ไม่ต้องหลบๆซ่อนๆอภิปรายกัน สิ่งที่เกิดขึ้นถ้าเราไม่ทำอะไรเลย ยังคงนิ่งเฉย ที่สุดแล้วพื้นที่น้อยนิดที่มีในสังคมไทยก็จะหดหายไป


ถ้าหยุดจะไม่มีใครกล้าพูดอีก


“หลายคนอาจจะแปลกใจว่าคนที่ถูกดำเนินคดี 112 มีหลายคนทำไมไม่ออกมาแถลงข่าว ผมเรียนว่าการอภิปรายทั้งหมดทางวิชาการที่เราทำมาแล้วและจะทำต่อไปคือ การช่วยเหลือบุคคลทั้งหลายทั้งปวงที่ถูกดำเนินคดีเหล่านี้อยู่ เราเรียกร้องให้ดำเนินกระบวนการตามกฎหมายอย่างเป็นธรรม แต่กรณีอาจารย์สมศักดิ์เป็นพื้นที่ทางวิชาการ เนื้อหาทางวิชาการทำอย่างเปิดเผย เปิดโอกาสให้โต้แย้งกันด้วยเหตุด้วยผล แล้วยังเกิดสิ่งที่เล่าให้ฟังไป ปัญหาคือเราไม่สามารถขยับเขยื้อนต่อไปได้อีก สังคมไทยจะตกอยู่ในภาวะเงียบงัน ไม่มีใครกล้าพูดในประเด็นเหล่านี้ ซึ่งทุกคนมีความชอบธรรมที่จะพูดได้ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัวของอาจารย์สมศักดิ์แล้วปล่อยให้ไปเผชิญปัญหาไปโดยลำพัง คณะนิติราษฎร์ในฐานะผู้จัดงานต้องร่วมรับผิดชอบ และยืนยันว่าเราทำในกรอบของกฎหมาย สิ่งที่ทำในวันนี้เป็นการยืนยันความบริสุทธิ์ใจของเราทั้งหมด และการกระทำทางวิชาการของเราเป็นเรื่องที่จะมาข่มขู่กันไม่ได้”


ขอบคุณเพื่อนนักวิชาการให้กำลังใจ


นายวรเจตน์กล่าวอีกว่า เราไม่ได้มีกำลังทรัพย์สิน ไม่มีอาวุธ เรามีเพียงกำลังสติปัญญาตอบแทนสังคม การที่บุคคลที่ไม่มีอะไรเลยอย่างพวกเราถูกกระทำในลักษณะที่ล่วงละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพอย่างนี้ เราต้องทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย เราได้รับกำลังใจจากนักวิชาการหลายท่านที่มาร่วมกับเรา กลุ่มสันติประชาธรรมที่ให้การสนับสนุนอย่างดี นักวิชาการอื่นๆและอีกหลายท่านที่ไม่สามารถมาได้ ทำให้ยังอุ่นใจว่าเพื่อนนักวิชาการอื่นๆยังร่วมกันเดินต่อไปบนหนทางวิชาการที่จะทำให้ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นสาธารณะ


“ไม่ว่าเราจะมีแรงกดดัน แรงเสียดทานอย่างไรเราจะพยายามทำต่อไปอีก” นายวรเจตน์กล่าว


“สมศักดิ์” ไม่เคยคิดล้มล้างสถาบัน


จากนั้น ดร.สมศักดิ์แถลงว่า บรรยากาศทางการเมืองช่วงที่ผ่านมาชวนให้อึมครึมและเซ็ง ขอขอบคุณคณะนิติราษฎร์และนักวิชาการ รวมถึงผู้ให้การสนับสนุนและให้กำลังใจ รู้สึกว่าถ้าเป็นอะไรไปหลังจากนี้ก็คุ้มกับชีวิต
ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาได้เขียนบทความทางวิชาการ ข้อเขียนอื่นๆ และพูดอภิปรายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ โดยที่ไม่เคยเสนอให้ล้มเจ้าหรือล้มเลิกสถาบันกษัตริย์ สิ่งที่เสนอยู่ในกรอบของการมีสถาบันกษัตริย์ทั้งสิ้น ขณะเดียวกันก็ไม่ปิดบังความคิดที่ว่า สถาบันต้องปรับปรุง ซึ่งไม่ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญและอาญา จึงเขียนโดยใช้ชื่อจริงและเปิดเผยโดยตลอด เมื่อปีกลาย 2553 ได้รวบรวมข้อเสนอ 8 ข้อ นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ยังเอาไปเผยแพร่มาแล้ว


อัดรัฐสร้างบรรยากาศกดดัน


อย่างไรก็ตาม หากเจ้าหน้าที่รัฐเห็นว่าเป็นความผิดก็ยินดีจะชี้แจงและไม่เคยคิดหลบเลี่ยง แต่ระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ของรัฐได้สร้างบรรยากาศความเครียดกดดัน มีการให้สัมภาษณ์พาดพิง เช่น นักวิชาการโรคจิตที่จ้องทำลายสถาบัน หลังจากนั้นการออกมาให้สัมภาษณ์และการตบเท้าของทหาร แม้ไม่เกี่ยวข้องหรือพาดพิงถึงตัวเองโดยตรง แต่ก็ได้สร้างความหวาดกลัวกับสังคมไทย


แฉมีทหารบี้รัฐบาลให้จัดการ


“เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาบุคคลระดับนำของรัฐบาลแจ้งให้ผมทราบว่า ทหารได้กดดันให้ดำเนินการกับผมเป็นการเฉพาะ แต่ในเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมาได้เกิดปรากฏการณ์แปลกๆขึ้นกับผมโดยตรง เช่น ชาย 2 คนขี่มอเตอร์ไซค์เข้าไปเวียนในหมู่บ้านผม โดยบอกกับยามว่ามารับอาจารย์ มีโทรศัพท์ไปที่บ้านผมว่ามีกำลังเจ้าหน้าที่หลายสิบนายติดตามอย่างใกล้ชิด ผมขอยืนยันว่าผมทำการวิพากษ์วิจารณ์ภายใต้กรอบกฎหมายเสมอมา ภายใต้บรรยากาศแปลกๆผมต้องชี้แจงต่อสื่อมวลชนและสาธารณชน สิ่งที่ผมทำเป็นสิทธิที่ชอบธรรม ตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลและตามกฎหมาย หากจะดำเนินการกับผมควรดำเนินการไปตามแนวทางกฎหมายปรกติ หยุดสร้างบรรยากาศหวาดกลัวที่เอื้อกับอำนาจนอกระบบไม่ว่ากับผมหรือผู้ต้องหาอื่นๆ การออกมาแสดงพลังของทหารในหลายวันที่ผ่านมาไม่ใช่ครรลองของกฎหมาย ผมขอย้ำว่าผมมีความบริสุทธิ์ใจและเปิดเผยในสิ่งที่ผมทำมาโดยตลอด หากเจ้าหน้าที่เห็นว่าผมมีปัญหาก็สามารถขอพบเพื่อชี้แจง หากมีการตั้งข้อหาดำเนินคดีผมพร้อมจะสู้คดีตามครรลองของกฎหมาย”


มีโทรศัพท์ไปข่มขู่ที่บ้าน


“เรื่องที่ผ่านมาไม่ได้กระทบกันผมมากเท่ากับภรรยา หลังจากนั้นมีข่าวกระซิบเขียนด่า แต่สัปดาห์ที่ผ่านมามีการพูดชัดเจน มีตัวตนชัดเจน เช่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก มีโทรศัพท์ไปถึงบ้าน ภรรยาก็ตกใจ เพื่อนฝูงบอกให้ผมเผ่นไป ผมก็คิดอยู่ บางคนกลัวว่าผมจะโดนดักตีหัว ในที่สุดผมคิดว่าไม่ เพราะสิ่งที่ผมพยายามจะทำคือการพยายามเปิดพื้นที่พิสูจน์ให้เห็นว่าสังคมไทยไม่ใช่ทุกคนมีความเห็นเหมือนกันหมดเกี่ยวกับสถานะของสถาบันกษัตริย์ มีคนที่เห็นต่างจากการโฆษณาชวนเชื่อ เผลอๆเกือบจะเหยียบล้านคนด้วย บรรดาผู้พิทักษ์สถาบันทั้งหลายควรจะตั้งสติให้ดีว่า คนเป็นหมื่น เป็นแสน เป็นล้านที่เขาไม่ได้คิดเหมือนกัน คุณจะทำอย่างไร จะไล่ออกไปนอกประเทศหรือ ปัญหาคือไม่ใช่อย่างนั้น มีคนจำนวนมากที่เห็นว่าสถานะปัจจุบันของสถาบันกษัตริย์เป็นเรื่องที่...อย่างน้อยที่สุดคือการอภิปรายกันอย่างตรงไปตรงมา และผมยอมรับว่าการอภิปรายเมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ส่งผลที่ผมคาดไม่ถึง แม้แต่พาหมาไปหาหมอหรือขึ้นลิฟท์ในมหาวิทยาลัยก็มีเด็กมาจ้องหน้าผมว่านี่คือคนที่อยู่ในวิดีโอใช่ไหม นี่คือความเป็นจริงที่ว่ามีคนเห็นอย่างหลากหลายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ สิ่งที่ผมทำไม่มีอะไรมากไปกว่าการเปิดพื้นที่และบอกว่าเราสามารถอภิปรายเรื่องสถาบันได้ และพิสูจน์ได้ว่าผมไม่เคยบอกให้เลิก


วอนให้มองความเป็นจริงในสังคม


“ผมไม่คิดจะหนีไปไหน ผมอยากจะสื่อสารไปถึงคนเหล่านี้ว่าให้มองความเป็นจริงของสังคมไทยบ้าง ความเป็นจริงของโลกบ้าง ถึงคุณจะไม่เห็นด้วย โกรธหรือเกลียดมากอย่างไรก็ตาม แต่ความเป็นจริงคือคนเหยียบล้านที่คิดไม่ตรงกัน แล้วการพยายามจะปิดโน่นปิดนี่ เอากฎหมายมาตรา 112 มาเล่นงานคนเป็นร้อยๆ แล้วตอนนี้จะแก้ไขอย่างไร มันไม่มีที่สิ้นสุด ที่จะสิ้นสุดได้คือการมาพูดกันอย่างตรงไปตรงมาภายใต้หลักการประชาธิปไตย ต่อให้ความเห็นไม่ตรงกันอย่างไรก็มานั่งเถียงกัน การจับคนนั้นคนนี้เข้าคุก แม้แต่อากง (ชายที่ถูกกล่าวหาว่าส่ง SMS หมิ่นเบื้องสูงไปยังโทรศัพท์มือถือของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ก็ไม่ปล่อย หรือคุณสุรชัย (แซ่ด่าน) ถึงปล่อยมาแกก็คงไม่ไปไหนหรอก เพราะถ้าจะไปแกคงไปก่อนหน้านี้แล้ว นั่นไม่มีเหตุมีผล และที่สุดแล้วก็จะนำไปสู่การปะทะใหม่ นำไปสู่ความรุนแรง นำไปสู่การเสียชีวิตอีก”


อย่าพยายามปิดปากประชาชน


“บรรดาพวกที่ออกมาตบเท้าลองถามตัวเองดีๆว่าคุณต้องการให้เป็นอย่างไร คุณปิดปากเขา เขาพูดตรงๆไม่ได้เขาก็ใช้สัญลักษณ์พูด นี่คือความจริง พล.อ.ประยุทธ์เองก็ตาม ไม่มีประโยชน์นะครับ ท่าทีแบบนี้ไม่มีทางที่จะทำให้คนไม่คิด ไม่พูด ไม่อภิปรายกัน ประเทศไทยไม่มีทางกลับถึงยุคที่คนพูดเป็นเสียงเดียวกันหมด ซึ่งมียุคนั้นจริงหรือเปล่าไม่รู้ นี่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ และวิธีแก้ปัญหาแทนที่จะใช้กำลังกดดัน จับคนแก่ไม่ให้ประกัน ผู้หญิง ศาลยกเลิกคำตัดสินไปแล้วก็ยังไม่ให้ประกัน วิธีแบบนี้มีแต่ทำให้คนไม่พอใจอยู่แล้วไม่พอใจยิ่งขึ้น คนที่สงสัยก็ยิ่งสงสัยมากขึ้นและนำไปสู่การปะทะ”


ย้ำเสนอเพื่อให้สถาบันมั่นคง


“ใครที่เคยอ่านเคยฟังผมผมก็พูดแบบนี้มาตลอด แต่ขณะเดียวกันสิ่งที่ผมพยายามยืนยันคือการเสนอให้แก้ให้ปรับปรุงสถาบันกษัตริย์ และถ้าทำตามที่ผมว่าสถาบันกษัตริย์จะมั่นคงมาก ประเด็นคือในระยะยาวเป็นแบบนี้ต่อไปไม่ได้ ที่คุณให้ข้อมูลด้านเดียวตลอดเวลา ตบเท้าทำให้ทุกคนต้องเงียบมันทำไม่ได้หรอก และทำให้ประเทศนี้ไม่น่าอยู่มากๆ”


ต้องให้ทุกอย่างเป็นเรื่องปรกติ


“ผมรักประเทศนี้ แต่เราต้องการประเทศหรือบ้านที่มีสภาพแวดล้อมที่น่ารักกว่านี้ คนมีเสรีภาพของความเป็นมนุษย์ ถ้ามีเรื่องไม่เห็นด้วยก็แสดงความไม่เห็นด้วยออกมา ไม่ใช่ว่าพอเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์แล้วต้องเงียบ ฐานคิดของผมคือทำให้เราทุกคนมีความเป็นคนปรกติในเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เหมือนเรื่องอื่นๆ องค์กรสาธารณะอื่นๆ เมื่อไม่เห็นด้วยก็เถียงกันออกมา นี่คือความเป็นคนปรกติธรรมดา แต่สถานะของสถาบันกษัตริย์มาถึงจุดที่ว่า เมื่อคุณจงรักภักดีมาก แล้วพอมีคนไม่เห็นด้วยคุณต้องการให้คนที่ไม่เห็นด้วยเป็นอะไรล่ะ สังคมแบบนี้ ประเทศแบบนี้ไม่น่าอยู่เอามากๆ” ดร.สมศักดิ์กล่าวในที่สุด (ขอบคุณข่าวจากเว็บไซต์ประชาไท)


นักวิชาการออกแถลงการณ์หนุน


ทั้งนี้ ได้มีนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศออกแถลงการณ์กรณีการคุกคาม ดร.สมศักดิ์ โดยแถลงการณ์ของนักวิชาการในประเทศที่มีผู้ลงนาม 50 คน ระบุว่า ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นนับตั้งแต่การรัฐประหารปี 2549 ประชาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างจากผู้ยึดกุมอำนาจรัฐต้องเผชิญกับการคุกคามสิทธิและเสรีภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนี้เงาทะมึนของการคุกคามได้ลุกลามเข้าสู่ผู้คนในวงวิชาการด้วยเช่นกัน ล่าสุดคือการคุกคามที่เกิดขึ้นกับอาจารย์ ดร.สมศักดิ์ ด้วยสาเหตุที่อาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและสถานะของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทยในเวทีวิชาการต่างๆหลายครั้งหลายครา


หวั่นถูกใช้เป็นข้ออ้างรัฐประหาร


พวกเราในฐานะนักวิชาการเครือข่ายสันติประชาธรรมและประชาชนที่เห็นด้วยกับแถลงการณ์นี้ เชื่อว่าการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผยของอาจารย์สมศักดิ์วางอยู่บนเจตจำนงที่ต้องการเห็นสถาบันกษัตริย์ดำรงควบคู่อย่างสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของทั้งสถาบันกษัตริย์และสังคมไทยโดยรวม แต่เป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งที่การแสดงความคิดเห็นของอาจารย์สมศักดิ์ที่มุ่งเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจได้ตระหนักถึงปัญหาที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่นี้ได้ถูกโจมตีว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มุ่งล้มล้างสถาบันกษัตริย์ และอาจถึงขั้นถูกนำไปเป็นข้ออ้างสำหรับการรัฐประหารครั้งต่อไปก็ได้ นอกจากนี้อาจารย์สมศักดิ์ไม่ใช่คนแรกและคนสุดท้ายที่จะแสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าวอย่างแน่นอน คำถามคืออำนาจรัฐจะติดตามคุกคามประชาชนด้วยประเด็นปัญหานี้อีกกว้างขวางแค่ไหน


จี้เลิกคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ


พวกเราจึงขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยุติการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการของอาจารย์สมศักดิ์และประชาชนกลุ่มอื่นๆที่มีความคิดทางการเมืองที่แตกต่าง โปรดตระหนักว่าในสังคมประชาธิปไตยทุกสถาบันควรได้รับการตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นประโยชน์กับสังคมประการสำคัญ การเปิดกว้างยินยอมให้มีการแสดงความคิดที่แตกต่างได้อย่างเปิดเผย โดยปราศจากภัยคุกคามและความกลัวต่างหากที่จะช่วยนำสังคมไทยฝ่าออกไปจากวิกฤตในขณะนี้ได้


อาจารย์หลายมหาวิทยาลัยร่วมลงชื่อ


สำหรับผู้ร่วมลงชื่อ เช่น กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศรีประภา เพชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ธงชัย วินิจจะกูล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภูมิอินทร์ สิงห์ชวาลา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสาวนีย์ อเล็กซานเดอร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จีรพล เกตุจุมพล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


นักวิชาการต่างประเทศเป็นห่วงไทย


ขณะที่เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึกของนักวิชาการด้านไทยศึกษาในต่างประเทศระบุว่า ในนามของนักวิชาการด้านไทยศึกษาซึ่งพำนักอยู่นอกประเทศไทย เราได้เฝ้าสังเกตการลิดรอนพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนทางความคิดที่เกิดขึ้นเรื่อยมานับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 และมีความกังวลใจอย่างถึงที่สุด ทั้งนี้ การคุกคามเสรีภาพของการคิดและการแสดงออกนี้ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นนับตั้งแต่เหตุการณ์ความรุนแรงเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 ดังตัวอย่างที่สำคัญ เช่น การจับกุมกักขัง ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉินในเดือน เม.ย. 2553 การตั้งข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อนายใจ อึ๊งภากรณ์ และการดำเนินคดีต่อนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท


ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดร.สมศักดิ์เป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งถูกคุกคามอันเนื่องมาจากการวิพากษ์วิจารณ์รัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ และความสัมพันธ์ระหว่าง 2 สถาบันนี้ เราจึงต้องการที่จะแสดงออกซึ่งความห่วงใยอย่างที่สุดต่อกรณีนี้
ไม่หยุดคุกคามขัดแย้งไม่เลิก


การคุกคามที่มีต่อ ดร.สุธาชัย นายใจ นางสาวจีรนุช และ ดร.สมศักดิ์ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นต่อประชาชนชาวไทยอีกจำนวนนับไม่ถ้วนนั้น เป็นลักษณะบ่งชี้ถึงการปฏิบัติอย่างกว้างขวางและหลายรูปแบบของรัฐ ซึ่งการกระทำเหล่านี้คุกคามต่อสิทธิเสรีภาพและอนาคตของประชาธิปไตยไทยอย่างรุนแรง สิ่งที่ชัดเจนในขณะนี้คือ ความขัดแย้งจะไม่มีทางหมดไปจากระบบการปกครองของไทย ไม่ว่ารัฐไทยจะเลือกใช้มาตรการจัดการที่รุนแรงเพียงใด ผู้ซึ่งอยู่ในอำนาจควรจะตระหนักได้แล้วว่าการอภิปรายและการวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อกระบวนการทางประชาธิปไตย ไม่ใช่ความจงรักภักดีอย่างไม่ลืมหูลืมตา
เราซึ่งมีชื่อด้านล่างนี้ขอแสดงจุดยืนเคียงข้างเพื่อนร่วมวิชาชีพจากเครือข่ายสันติประชาธรรม ขอเรียกร้องให้หยุดการข่มขู่คุกคามต่อ ดร.สมศักดิ์ และหยุดการปฏิบัติใดๆอันเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น


นักวิชาการหลายชาติร่วมลงชื่อหนุน


สำหรับผู้ร่วมลงชื่อทั้งหมดประกอบด้วย 1.Dr.Michael K. Connors, La Trobe University 2.Dr.Nancy Eberhardt, Knox College 3.Dr.Nicholas Farrelly, Australian National University 4.Dr.Arnika Fuhrmann, Hong Kong University 5.Dr.Jim Glassman, University of British Columbia 6.Dr.Tyrell Haberkorn, Australian National University 7.Dr.Kevin Hewison, University of North Carolina-Chapel Hill 8.Dr.CJ Hinke, Freedom Against Censorship Thailand 9.Dr.Soren Ivarsson, University of Copenhagen 10.Dr.Andrew Johnson, Sogang University 11.Dr.Tomas Larsson, Cambridge University 12.Dr.Charles Keyes, University of Washington 13.Mr.Samson Lim, Cornell University 14.Dr.Tamara Loos, Cornell University 15.Dr.Mary Beth Mills, Colby College 16.Ms.Nattakant Akarapongpisak, Australian National University 17.Dr.Craig Reynolds, Australian National University 18.Mr.Andrew Spooner, Nottingham Trent University 19.Mr.Sing Suwannakij, University of Copenhagen 20.Dr.Michelle Tan, Independent Scholar, USA 21.Mr.Giles Ji Ungpakorn, Independent Scholar, UK 22.Dr.Andrew Walker, Australian National University 23.Dr.Thongchai Winichakul, University of Wisconsin-Madison 24.Mr.Kritdikorn Wongswangpanich, Aberystwyth University 25.Dr.Adadol Ingawanij, University of Wesminster, UK. 26.Dr.Rachel V Harrison, University of London


******************************************

http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=10425



http://redusala.blogspot.com
การเมืองไทยยังเป็นเผด็จการทหาร!
ฟังจากปาก
         จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข
         ปีที่ 6 ฉบับที่ 307 ประจำวัน จันทร์ ที่ 25 เมษายน 2011
         โดย กิตติพิชญ์ ยิ่งวรการสุข
http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=10467

         “เก่งกิจ กิติเรียงลาภ” อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการรุ่นใหม่ที่มีมุมมองวิกฤตการเมืองไทยว่าการเมืองไทยไม่ได้แตกต่างจากในอดีตที่กลุ่มอำมาตย์และทหารพยายามจะรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของตนไว้ การเมืองไทยจึงยังเป็นเผด็จการทหาร ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย ขณะที่คนเสื้อแดงก็ต้องฉวยโอกาสในขณะนี้เพื่อแสดงพลังให้เกิดประชาธิปไตยและความยุติธรรมให้ได้
มองวิกฤตการณ์การเมืองไทยอย่างไร


ปัญหาหลักของการเมืองไทยวันนี้จะเห็นได้ว่ามีรูปแบบเหมือนปัญหาการเมืองในอดีต อย่างยุคหนึ่งเรามีนายกรัฐมนตรี เช่น นายปรีดี พนมยงค์ หรือจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็โดนทหารทำปฏิวัติรัฐประหาร โดยเฉพาะนายปรีดีโดนใส่ร้ายว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคตของ ร.8 ส่วนจอมพล ป. ก็ถูกรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐเมื่อปี 2500 นายปรีดีเรียกกลุ่มนี้ว่า “ฝ่ายอำมาตย์” ซึ่งกลุ่มนี้สร้างเผด็จการทหารของจอมพลสฤษดิ์ขึ้นมาคือ จอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคนั้น และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี


คนกลุ่มที่เรียกว่า “อำมาตย์” พูดง่ายๆว่าอาจเป็นกองทัพที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ เป็นองคมนตรีที่รู้สึกว่าระบอบการเมืองที่เหมาะสมกับอำนาจหรือผลประโยชน์ของตัวเองไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย การมีระบอบรัฐสภา มีระบบการเมืองที่เข้มแข็ง มีพรรคการเมืองแข่งขันกันในเชิงนโยบาย เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับผลประโยชน์หรือโครงสร้างอำนาจของตัวเอง


ตรงนี้เป็นปัญหาหลักของการเมืองไทยในหลายยุคหลายสมัยที่ผ่านมา คือกลุ่มพลังที่เป็นอนุรักษ์นิยมไม่ต้องการระบอบประชาธิปไตย ผมคิดว่ากรณีของอดีตนายกฯทักษิณ ถ้าดูจากในอดีตการทำรัฐประหารโดยกลุ่มฝ่ายขวา โดยทหารหรือกลุ่มอำมาตย์ก็วางอยู่บนข้อเรียกร้องที่คล้ายคลึงกันทั้งสิ้น
แม้กระทั่งสมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ก็เหมือนกัน เช่น การยกข้ออ้างว่าเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์ มีปัญหาคอร์รัปชัน ความไม่ปรองดอง ทำให้ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ล้วนแต่เป็นข้ออ้างแบบเดียวกันที่ต้องการทำลายระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยเฉพาะการเมืองยุค พ.ต.ท.ทักษิณเป็นการเมืองที่ทำให้ระบบรัฐสภามีความเข้มแข็งและระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ดี แต่ฝ่ายอำมาตย์กลับมองว่าเป็นปัญหา ระบอบการปกครองที่ดีควรเป็นระบอบที่มีหลายพรรคแล้วอ่อนแอ ผมคิดว่าไม่ใช่แค่ประเด็น แต่เป็นปัญหาหลักเลย


ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ออกมาเคลื่อนไหวในปี 2548-2549 เป็นต้นมา เป็นความขัดแย้งที่วางอยู่บนความไม่เห็นพ้องต้องกันในเรื่องระบอบการเมือง ต่างฝ่ายต่างมองระบอบการเมืองที่สนับสนุนผลประโยชน์ของตัวเองไม่เหมือนกัน
กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็บอกว่าระบอบการปกครองที่ดีที่สุดคือระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง ประชาชนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และทหารไม่ยุ่งกับการเมือง แต่ฝ่ายคนชั้นกลาง ฝ่ายเสื้อเหลืองหรืออำมาตย์มองว่าระบอบที่ดีที่สุดคือระบอบที่มีทหารควบคุมการเมืองและสนับสนุนพรรคการเมืองที่เข้ากับฝ่ายตนได้


โมเดลที่เห็นชัดเจนที่สุดคือรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่มีการเลือกตั้ง มีรัฐสภา แต่ทหารเป็นนายกรัฐมนตรี ผมคิดว่านี่เป็นโมเดลที่เขาต้องการ หรือการเมืองยุคนี้ที่ทหารสนับสนุนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เช่น การจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหารหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมองดูอาจเป็นปัญหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองขนาดใหญ่ แต่ความจริงแล้วเราไม่สามารถตกลงกันได้ว่าควรมีรูปแบบการปกครองอะไรผ่านกลไกรัฐธรรมนูญ เพราะปรกติรัฐธรรมนูญเป็นสถาบันการเมืองที่ทำหน้าที่ปรองดอง แต่ความขัดแย้งตอนนี้กลับไม่ได้โฟกัสไปที่ตัวรัฐธรรมนูญ


เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นตัวอธิบาย หรือเป็นตัวสะท้อนดุลอำนาจของชนชั้นต่างๆในสังคมไทยได้จริง ทำให้ปัญหาการเมืองไทยออกจากรัฐธรรมนูญ เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่ได้ถูกทำให้มีอำนาจจริง การเมืองไทยทุกวันนี้ที่มีคนบอกว่าล้มเจ้าหรือมีการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาจึงเป็นภาพสะท้อนชัดเจนว่าความขัดแย้งทางการเมืองไทยจริงๆปัญหาที่สำคัญที่สุดคือสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ได้อยู่ที่ตัวรัฐธรรมนูญ จากเดิมที่ระบอบการเมืองในประเทศที่เจริญแล้วจะเถียงกันผ่านกรอบ คือกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆที่รายล้อมรอบรัฐธรรมนูญ นโยบายก็ถูกกำหนดโดยรัฐสภา แต่กลายเป็นว่าการเมืองไทยไม่ได้ถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญหรือรัฐสภา แต่ถูกกำหนดโดยคนที่อยู่นอกรัฐธรรมนูญ


ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นจึงไม่สามารถตกลงกันได้ว่าอะไรคือระบอบการเมืองที่ดีที่สุด และไม่ได้จบลงบนกรอบของรัฐธรรมนูญ เพราะความขัดแย้งจริงอยู่นอกรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือแม้แต่ในปัจจุบันต้องไปแตะต้องสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากสังคมไม่เคยแคร์ว่ารัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร เพราะเราฉีกรัฐธรรมนูญเป็นว่าเล่น สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาความขัดแย้งของการเมืองไทยยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่กลายเป็นประเด็นที่คนจะตั้งคำถามมากที่สุด


ตกลงเราเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ


ผมคิดว่ามีหลายวาทกรรม บางคนบอกว่าประเทศไทยตอนนี้เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ หรืออย่างยุคหนึ่งมีการถกเถียงกันว่าระบอบเปรมเป็นประชาธิปไตย หรือเผด็จการ หรือประชาธิปไตยครึ่งใบ นักวิชาการฝ่ายที่สนับสนุนระบอบทหารก็บอกว่าเราเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ เพื่อทำให้ภาพของ พล.อ.เปรมที่เป็นเผด็จการดูดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงไม่ว่าจะเอาอะไรเป็นเกณฑ์ก็ตาม แต่เกณฑ์สากลที่ชี้วัดความเป็นประชาธิปไตยนั้นประเทศไทยไม่มีความเป็นประชาธิปไตยเลย
เรามี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือมาตรา 112 เรามีการจับกุมคนที่เห็นต่างทางการเมือง มีการคุกคาม มีการฆ่าเกิดขึ้นโดยที่หาคนผิดไม่ได้ ล่าสุดมีความพยายามของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ด้วยการออก พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะ ซึ่งเป็น พ.ร.บ. ที่อันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยมากที่สุด เพราะสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนคือการชุมนุมในที่สาธารณะนั้นเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ทั่วโลกต้องรับรอง ผมคิดว่าปัญหาของหลายๆคนในกลุ่มคนเสื้อแดงก็คือไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นปัญหามากที่สุด


ถ้าเรามองการเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายอำมาตย์ที่ผ่านมาจะพบว่ามักเล่นอยู่นอกกติกา แต่ขณะที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์อยู่ในอำนาจมาระยะหนึ่ง ฝ่ายอำมาตย์ก็พยายามเอาเครื่องมือที่อยู่นอกกติกามาเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นจะเห็นว่ามีการใช้ พ.ร.บ.ชุมนุมฯเพื่อต้องการควบคุมการชุมนุม จากเดิมที่ใช้การปราบปราม ต่อไปก็จะมีการอ้างกฎหมาย กลุ่มคนเสื้อแดงก็พูดไม่ได้ว่านี่เป็น 2 มาตรฐาน เพราะทุกอย่างทำตามกฎหมาย ผมคิดว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างนี้ และจะมากขึ้นเรื่อยๆ จะมีคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งที่บอกว่าการต่อต้าน พ.ร.บ.ชุมนุมฯเป็นเรื่องไร้สาระ จริงๆตอนนี้ต้องพูดเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์


แต่คำถามคือสถาบันพระมหากษัตริย์หรือระบอบอำมาตย์ไม่สามารถทำงานได้โดยไม่มีกลไกจำนวนมากมาช่วย เรื่อง พ.ร.บ.ชุมนุมฯจึงเป็นเรื่องเฉพาะหน้าที่คนเสื้อแดงต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง รวมถึงการปล่อยนักโทษที่ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ด้วย


นี่คือความพยายามของเผด็จการทหารที่ต้องการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือปัญหามาตรา 112 ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดในแวดวงวิชาการมากขึ้นก็จะพบว่าการที่กลุ่มนิติราษฎร์ นำโดย รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ผมเห็นด้วยกับกลุ่มนิติราษฎร์ที่พูดว่าประเทศที่เจริญไม่ใช้กฎหมายแบบนี้แล้ว จะมีแต่ก็ประเทศที่ปกครองโดยระบอบเผด็จการแบบในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะประเทศไทยอ้างว่าเป็นประชาธิปไตย จึงต้องไม่ให้นำกฎหมายนี้มาเล่นงานคนอื่นทางการเมือง
ผมขอย้ำว่าประเทศไทยไม่ได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และไม่มีมิติไหนที่เป็นประชาธิปไตยเลย มิหนำซ้ำยังเป็นเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ อย่างล่าสุดดูจากบทสัมภาษณ์ของคุณสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ออกมาเปิดเผยว่าจะมีการทำรัฐประหาร อันนี้น่าสนใจว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะมีคนจำนวนหนึ่งที่คิดจะทำรัฐประหารอยู่ตลอดเวลา หรือกรณีที่คุณสดศรีจะลาออกก็คาดเดามานานแล้วว่ามีการพูดคุยกันในกลุ่มพันธมิตรฯว่าจะไม่มีการเลือกตั้ง ถามว่าข้อมูลของคุณสดศรีมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ตรงนี้เป็นสิ่งที่น่าคิด เพราะเชื่อว่าคุณสดศรีน่าจะมีข้อมูลอะไรลึกๆอยู่


แสดงว่าอาจยังมีการพยายามทำรัฐประหารอีก


ผมคิดว่า...ในช่วงหนึ่งก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์รัฐประหารรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ตอนนั้นมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ในหมู่นักวิชาการก็ถกเถียงกันว่าจะเกิดรัฐประหารหรือไม่ คนบางกลุ่มบอกว่าไม่มีวันเกิดรัฐประหารอีกเพราะประเทศผ่านจุดนั้นมาแล้ว แต่สุดท้ายการทำรัฐประหารก็เกิดขึ้นจริงๆ ถ้าตอบแบบกว้างๆก็คือ ขณะนี้ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดรัฐประหารอีก แต่คนที่คิดจะทำรัฐประหารในอนาคตอันใกล้นี้ ผมต้องถือว่าคนคนนั้นเป็นคนโง่ เพราะสถานการณ์ตอนนี้ไม่เหมาะสมที่จะทำรัฐประหารอย่างยิ่ง แม้กระทั่งคนที่เป็นแฟนคลับของพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องการให้มีการเลือกตั้ง


อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ไม่มีใครอยากทำรัฐประหารเพื่อให้การเมืองกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ เพราะจะทำให้ปัญหาบ้านเมืองวุ่นวายไปหมด และอีกอย่างหนึ่งคือกลุ่มคนเสื้อแดงตอนนี้ผมเห็นว่ามีความเข้มแข็งมากขึ้น มีการจัดตั้ง มีการรวมกลุ่ม มีการเรียนรู้ และมีประสบการณ์ในการต่อสู้กับระบอบอำมาตย์มากขึ้น โอกาสที่จะทำรัฐประหารแล้วไม่มีการต่อต้านจากประชาชนคงเป็นไปได้ยาก จึงขอฟันธงเลยว่าจะไม่เหมือนกับเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่มีภาพประชาชนมอบดอกไม้ให้ทหารเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน


การเลือกตั้งเป็นทางออกที่ดีใช่หรือไม่


ฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตยต้องยอมให้มีการเลือกตั้งอยู่แล้ว และโมเดลที่คิดว่าจะประนีประนอมได้มากที่สุดในปัจจุบันคือให้มีการเลือกตั้ง แต่ต้องดูทหารที่เป็นคนคุมและใช้กลไกจำนวนมากในการปราบปราม ฆ่าและจับกุมคนที่เป็นฝ่ายเสื้อแดง อีกกลไกหนึ่งที่น่าสนใจที่ผมและหลายๆคนรอดูอยู่คือจะเป็นอย่างไรหากมีความพยายามเกี๊ยะเซียะกับพรรคเพื่อไทย เป็นสิ่งที่รอดูว่าความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เพราะผมยังคิดว่าคนเสื้อแดงกับเพื่อไทยเป็นคนละส่วนกัน ถ้าดูนโยบายการหาเสียงของเพื่อไทย ไม่ได้พูดประเด็นเรื่องคนตายหรือเรื่องประชาธิปไตย แต่พูดนโยบายการเสียงตามปรกติ เช่น การขึ้นรายได้ประชาชน


การต่อสู้ของคนเสื้อแดงมาถึงจุดที่มีการสูญเสียชีวิต โดนจับกุม คุกคาม ใส่ร้ายจำนวนมาก มันเลยจุดที่การเลือกตั้งจะแก้ปัญหาหรือตอบสนองข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงไปแล้ว


ตอนนี้จึงอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างคนเสื้อแดงกับพรรคเพื่อไทย นปช. จะลดระดับตัวเองมาพูดเท่ากับพรรคเพื่อไทย หรือพรรคเพื่อไทยจะยกระดับมาพูดให้เท่ากับ นปช. แต่สิ่งที่ดีที่สุดตอนนี้คือ นปช. ต้องกดดันให้พรรคเพื่อไทยพูดในสิ่งที่ตัวเองอยากจะพูด และไม่ควรลดระดับไปพูดในสิ่งที่พรรคเพื่อไทยพูด ผมคิดว่าตรงนี้เป็นเรื่องหลักการของนักการเมืองอยู่แล้ว คือการเลือกตั้งที่ต้องการเป็นรัฐบาล เป็น ส.ส. และเป็นรัฐมนตรี ซึ่งเป็นรูปแบบของพรรคการเมืองในระบบรัฐสภา


กลุ่มพลังที่อยู่นอกรัฐสภาจะกดดันพรรคการเมืองได้อย่างไร ผมมั่นใจว่าฝ่ายอำมาตย์ก็พยายามประนีประนอมกับพรรคเพื่อไทยในหลายๆรูปแบบ เช่น การปล่อยตัวแกนนำเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทยที่จะดึงแกนนำคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งไปลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบปาร์ตี้ลิสต์ จึงมองว่ามีกลไกที่พยายามจะต่อสู้แย่งชิงอะไรกันบางอย่าง อยู่ที่ว่าคนที่เป็นแกนนำของ นปช. จะมีจุดยืนอย่างไร ตรงนี้เป็นจุดที่สำคัญมากกว่า


การแสดงจุดยืนของคนเสื้อแดงที่ก้าวหน้ากว่าพรรคเพื่อไทยเป็นสิ่งที่สำคัญมากในสถานการณ์ขณะนี้ ถ้าแกนนำพูดแบบเดียวกับที่พรรคเพื่อไทยพูดจะไม่มีความหมายเลยกับขบวนการขนาดใหญ่แต่ไม่มีอำนาจในการกดดันพรรคการเมือง


ถ้าจะดูการเลือกตั้งในปัจจุบัน พรรคการเมืองเริ่มมีการหาเสียงแล้ว นโยบายต่างๆที่ออกมาส่วนใหญ่เน้นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่ผมคิดว่าหัวใจสำคัญของความขัดแย้งทางการเมือง ถ้าเราวิเคราะห์ให้ลึกเป็นปัญหาการเมืองที่ไม่ลงรอยกัน พรรคเพื่อไทยจำเป็นต้องหาเสียงโดยวางอยู่บนนโยบายเรื่องการปรับระบอบการเมือง ไม่ใช่วางอยู่แค่ในกรอบเรื่องปากท้องอย่างเดียว แต่ต้องผูกโยงเรื่องปากท้องมาเป็นส่วนหนึ่งกับเรื่องการเมือง เพราะจริงๆแล้วทุกวันนี้ผมคิดว่ามวลชนเสื้อแดงจำนวนมากรู้ว่าการเมืองเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การกินดีอยู่ดี ถ้าเราไม่หยิบกุญแจดอกนี้ขึ้นมาชู ผมคิดว่าพรรคเพื่อไทยก็คงไม่ต่างอะไรกับพรรคประชาธิปัตย์


แต่สิ่งที่ระบอบการเมืองแบบเผด็จการทหารยอมไม่ได้คือการพูดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมือง เป็นสิ่งที่แกนนำคนเสื้อแดงที่เข้าไปสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทยจะต้องกดดันพรรคเพื่อไทย อาจไม่พูดถึงเรื่องการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอะไรของประชาชนในตอนนี้ก็ได้ แต่พูดแค่เรื่องการปล่อยตัวนักโทษจำนวนมากที่ไม่ใช่แกนนำ หรือคนที่โดนข้อหามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์กว่า 200 คน หรือการแก้ไขมาตรา 112 อย่างที่กลุ่มนิติราษฎร์เสนอก็อาจต้องมีการพูดกันมากขึ้น


ตรงนี้เป็นหน้าที่ของพรรคเพื่อไทยที่นำจะเสนอในทางการเมือง ไม่ใช่นำเสนอแค่เรื่องปากท้อง ที่สำคัญต้องนำเสนอในการคลี่คลายคดี 91 ศพ รวมทั้งเรื่องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงโดยรวมด้วย


ไม่เช่นนั้นพรรคเพื่อไทยก็จะไม่ต่างอะไรกับการหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์หรือฝ่ายอำมาตย์ที่ต้องการเปิดให้มีการเลือกตั้งอยู่แล้ว เพราะการเลือกตั้งทำให้ความขัดแย้งอ่อนตัวลง แทนที่มวลชนเสื้อแดงจะสามารถช่วงชิงให้การเลือกตั้งกลายเป็นโอกาสที่จะพูดถึงการเมืองได้อย่างชอบธรรม จึงอยู่ที่ว่ามวลชนเสื้อแดงจะช่วงชิงได้มากน้อยแค่ไหน


การที่ผมและเพื่อนนักวิชาการหลายคนเป็นห่วงเรื่องการเกี๊ยะเซียะระหว่างฝ่ายอำมาตย์กับพรรคเพื่อไทยนั้นเป็นการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในแง่ที่เลวร้ายที่สุด โอเค พรรคประชาธิปัตย์ยังไงก็ต้องการเป็นหัวหน้าผู้นำรัฐบาลแน่ๆ ถ้าดึงพรรคเพื่อไทยเข้าไปเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ปัญหาทุกอย่างก็จบ ถ้าเราคิดในเรื่องที่เลวร้ายที่สุดจะได้ทำให้เกิดการระวังตัว


สิ่งที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดขณะนี้คืออะไร?


ที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดคือ ถ้าพรรคเพื่อไทยไปจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลจริง และพรรคเพื่อไทยไม่ได้ช่วยสะสางคดี 91 ศพ พรรคเพื่อไทยจะอยู่อย่างไรท่ามกลางความคาดหวังของคนเสื้อแดง เป็นสิ่งที่พรรคเพื่อไทยต้องคิดให้หนักถ้ามีข้อเสนอแบบนี้จากฝ่ายอำมาตย์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ ทั้งหมดอยู่ที่ความเข้มแข็งของแกนนำ นปช. ขอย้ำอีกครั้งว่าถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจริงจะเกิดความขัดแย้งขึ้นทันทีระหว่างพรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดง อาจส่งผลให้พลังคนเสื้อแดงลดลงระดับหนึ่ง แต่อาจเป็นเรื่องดีที่คนเสื้อแดงจะต้องกลับมาคิดเรื่องการตั้งพรรคการเมืองของตัวเองที่ไม่ใช่พรรคเพื่อไทยที่อยู่ภายใต้โครงข่ายการเมืองแบบเก่าๆ


ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 307 วันที่ 23-29 เมษายน พ.ศ. 2554 หน้า 18-19 คอลัมน์ ฟังจากปาก โดย กิตติพิชญ์ ยิ่งวรการสุข


http://redusala.blogspot.com