วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Thailand: A Democracy at Risk


Thailand: A Democracy at Risk
http://bcove.me/59lkjbob
http://www.state.gov/p/eap/rls/rm/2014/06/228368.htm


Testimony

Scot Marciel

            Principal Deputy Assistant Secretary, Bureau of East Asian and Pacific Affairs

Testimony Before the House Committee on Foreign Affairs Subcommittee on Asia and the Pacific


Washington, DC

June 24, 2014

             Chairman Chabot and Members of the Subcommittee, thank you for the opportunity to appear before you today to discuss the recent coup in Thailand.

The U.S.-Thai Relationship

           Mr. Chairman, last year, we commemorated 180 years of friendly relations with Thailand, one of our five treaty allies in Asia. We have enjoyed very close relations, and U.S.-Thai cooperation on regional and global law enforcement, non-proliferation, and security has been extremely good. Our militaries engage in a wide range of important bilateral and multilateral joint exercises. Thailand is host to the largest such event in the Asia-Pacific region, the annual Cobra Gold joint exercise, which brings together the armed forces of 27 countries, including the United States, Thailand, Indonesia, Japan, South Korea, Malaysia, Singapore, and a number of observer countries. These exercises provide invaluable opportunities for our militaries to develop important relationships and increase coordination and cooperation, including on responding to humanitarian disasters.

            For many years, Thailand also has been an important partner on humanitarian goals and priorities. It hosted hundreds of thousands of refugees after the Vietnam War, and even today hosts 140,000 refugees, including politically-sensitive minority groups which face problems or persecution elsewhere in the region. Thailand has long played a constructive role in the Asia-Pacific region, including as a member of ASEAN and APEC. In recent years, we have worked closely with the Thais to respond to natural disasters in the region, including when neighboring Burma was hit by a devastating cyclone in 2008. We also work closely together on health issues, one of our major cornerstones for successful bilateral cooperation with the presence of the Centers for Disease Control and Prevention and the Armed Forces Research Institute of Medical Science (AFRIMS), where they have helped develop the only vaccine for HIV/AIDS ever proven efficacious in human trials.

            Commercially, the United States is both Thailand’s third-largest bilateral trading partner with more than $37 billion in two-way trade, and its third-largest investor with more than $13 billion in cumulative foreign direct investment. Thailand has the second-largest economy in Southeast Asia, after Indonesia, and our American Chamber of Commerce in Bangkok represents a diverse body of more than 800 companies doing business across nearly all sectors of the Thai economy.

Our Embassy in Bangkok is a regional hub for the U.S. government and remains one of our largest missions in Asia, with over 3,000 Thai and American employees representing over 60 departments and agencies. We enjoy close people-to-people ties, and more than 5,000 Peace Corps Volunteers have served successfully in Thailand over the past 52 years.

So for all these reasons, we care deeply about our relationship and about the people of Thailand. For many years, we were pleased to see Thailand build prosperity and democracy, becoming in many ways a regional success story as well as a close partner on shared priorities such as counterterrorism, wildlife trafficking, transnational crime, energy security, and conservation of the environment.

Thailand’s Political Situation and Coup

Over the past decade, however, Thailand has grappled with an internal political debate that has increasingly divided not only the political class but society as a whole. Describing this complex debate would take more time than we have today, but in the simplest terms it is between supporters and opponents of former Prime Minister Thaksin Shinawatra, whose approach to politics and governance gave him significant influence but also made him a polarizing figure. The debate also reflects deeper conflicts between different segments of society based both on socio-economic status and on geography. For the past ten years, Thai politics has been dominated by debate, protests, and even occasional violence between these groups competing for political influence. These divisions led to a coup in 2006 and again, unfortunately, last month.

This latest coup came at the end of six months of renewed, intense political struggle between rival groups that included months-long demonstrations in the streets of Bangkok and occupations of government buildings. Efforts to forge a compromise failed, and on May 22 the armed forces staged a coup. Military leaders argued that the coup was necessary to prevent violence, end political paralysis, and create the conditions for a stronger democracy.

Our position during the past decade of turbulence, and specifically during the recent six months of turmoil, has been to avoid taking sides in Thailand’s internal political competition, while consistently stressing our support for democratic principles and commitment to our relationship with the Thai nation. On numerous occasions, we publicly and privately stated our opposition to a coup or other extra-constitutional actions, stressing that the only solution in a democracy is to let the people select the leaders and policies they prefer through elections. We consistently communicated that message directly to Thai officials, at high levels, through our Ambassador in Bangkok and during the visits of senior State Department officials to Thailand, as well as through both high-level and working-level military channels.

When the coup nonetheless took place, we immediately reiterated our principled opposition to military intervention. Beginning with Secretary Kerry’s statement on May 22, we have consistently criticized the military coup and called for the restoration of civilian rule, a return to democracy, and full respect for human rights and fundamental freedoms, including the freedoms of expression and peaceful assembly. We have told Thai officials that we understood their frustration with their long-standing political problems, but also stressed that coups not only do not solve these problems, but are themselves a step backwards.

Initially, we held out hope that – as happened with the 2006 coup – the military would move relatively quickly to transfer power to a civilian government and move towards free and fair elections. However, recent events have shown that the current military coup is both more repressive and likely to last longer than the last one. The ruling military council has continuously summoned, detained, and intimidated hundreds of political figures, academics, journalists, online commentators, and peaceful protesters. It continues to censor local media sources and the internet, and has in the past weeks blocked international media as well. Actions by military authorities have raised anxiety among minority groups and migrant workers living within Thailand. For example, recent reports indicate that close to 200,000 Cambodian workers have fled Thailand out of fear that the military council will crack down on undocumented workers.

The military government has said that it will appoint an interim government by September, and has laid out a vague timeline for elections within approximately 15 months. Its stated intention, during the period of military rule, is to reduce conflict and partisanship within society, thereby paving the way for a more harmonious political environment when civilians return to control. Meanwhile, the military government has begun a campaign to remove officials perceived to be loyal to the previous government. Many board members including chairs (mostly appointed by former Prime Minister Yingluck Shinawatra and former Prime Minister Thaksin Shinawatra) of Thailand’s 56 state owned enterprises have been strongly encouraged to resign their positions in favor of military-selected replacements. Rapid, sweeping changes are being proposed in the energy and labor sectors, and greater foreign investment restrictions are being considered in industries like telecommunications.

We do not see, however, how the coup and subsequent repressive actions will produce the political compromise and reconciliation that Thailand so desperately needs. We do not believe that true reconciliation can come about through fear of repression. The deep-rooted underlying issues and differences of opinion that fuel this division can only be resolved by the people of Thailand through democratic processes. Like most Thai, we want Thailand to live up to its democratic ideals, strengthen its democratic institutions, and return peacefully to democratic governance through elections.

Protecting Our Interests and Preserving Democracy

Our interests include the preservation of peace and democracy in Thailand, as well as the continuation of our important partnership with Thailand over the long-term. We remain committed to the betterment of the lives of the Thai people and to Thailand regaining its position of regional leadership, and we believe the best way to achieve that is through a return to a democratically elected government.

The coup and post-coup repression have made it impossible for our relationship with Thailand to go on with “business as usual.” As required by law, we have suspended more than $4.7 million of security-related assistance. In addition, we have cancelled high-level engagements, exercises, and a number of training programs with the military and police. For example, in coordination with the Department of Defense, we halted bilateral naval exercise CARAT (Cooperation Afloat Readiness and Training), which was underway during the coup, and canceled the planned bilateral Hanuman Guardian army exercise. We continue to review other programs and engagements, and will consider further measures as circumstances warrant. Many other nations have expressed similar views. Our hope is that this strong international message, plus pressure from within Thailand, will lead to an easing of repression and an early return to democracy.

At the same time, mindful of our long-term strategic interests, we remain committed to maintaining our enduring friendship with the Thai people and nation, including the military. The challenge facing the United States is to make clear our support for a rapid return to democracy and fundamental freedoms, while also working to ensure we are able to maintain and strengthen this important friendship and our security alliance over the long term.

Moving forward, it is important that the transition to civilian rule be inclusive, transparent, timely, and result in a return to democracy through free and fair elections that reflect the will of the Thai people. After democracy is restored, we fully hope and intend that Thailand, our longtime friend, will continue to be a crucial partner in Asia for many decades to come.

Conclusion

In closing, let me make one final point. Strong, enduring, bipartisan Congressional support for our efforts to move Thailand back towards its democratic tradition and to preserve our long-term friendship and interests are essential for a successful outcome.

Thank you for inviting me to testify on this important topic. I am happy to answer any questions you might have.
   

ชู 3 นิ้วสนับสนุนอุดมการณ์เสรีไทย



            จากวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2475 นับถึงปัจจุบัน วันเวลาผ่านเลยมาแล้ว 82 ปี การอภิวัฒน์สยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้ผ่านเลยมาแล้วใกล้ครบศตวรรษ

            เกือบ 100 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยหาได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยไม่ ประเทศไทย  ยังอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชค้ำยันด้วยเผด็จการทหาร แต่ประกาศหลอกลวง ชาวโลกว่าประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่ความจริงประเทศไทย  ปกครองด้วยระบอบเผด็จการโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ฉาบหน้าด้วยการ เลือกตั้ง ลับหลังกดขี่ขูดรีดประชาชนด้วยเล่ห์กลสารพัด

แปดสิบสองปีต่อมา

             เวลาย่ำรุ่งของวันอังคารที่ 24 มิถุนายน 2557 ณ นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
องค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย หรือที่มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า  Organization Of Free Thais for Human Right and Democracy ได้ประกาศแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ประนามคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช) และปฏิเสธอำนาจและผลพวงที่เกิดจากการรัฐประหารของ คสช. ทุกเรื่องทุกคำสั่ง  เพื่อทวงคืนอำนาจธิปไตยให้ปวงชน เฉกเช่นคณะราษฎร์ที่ประกาศว่าประชาชน เป็นเจ้าของประเทศเมื่อ 82 ปีที่ผ่านมา


จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

            ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการขององค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย
เป็นผู้ประกาศแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ตอนย่ำรุ่งของวันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557
คำประกาศที่กินเวลา 8 นาที 26 วินาที ได้วางวัตถุประสงค์เบื้องต้นไว้ 6 ประการ
เพื่อปูทางไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย ความผาสุกของประชาชนและความเจริญของประเทศ


            RED USA ตั้งความหวังไว้ว่าประกาศฉบับต่อๆ ไปขององค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน  และประชาธิปไตยจะให้ความชัดเจนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเรื่องนโยบาย องค์ประกอบขององค์กร แนวทางการดำเนินงาน เครือข่ายและแนวร่วมขององค์กร ตลอดจนแผนปฏิบัติงาน เป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้ประชาชนเห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าวัตถุประสงค์ 6 ประการ
ที่ประกาศไว้ในแถลงการณ์ฉบับที่ 1 จะได้รับการปฏิบัติและสืบสานจนบรรลุเป้าประสงค์


          องค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยจะดำเนินการสำเร็จตามเป้าประสงค์หรือไม่  การสนับสนุนของมวลชนและแนวร่วมจากฝ่ายประชาธิปไตยทั่วทุกมุมโลกมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง

           RED USA ขอร่วมเป็นหนึ่งในผู้ให้การสนับสนุนองค์การเสรีไทยยุคใหม่องค์กรนี้
ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าองค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยจะมีบทบาท
ในการประสานงานระหว่างรัฐบาลประชาธิปไตยจากนานาประเทศกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ยังคงเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่ โดยมีนิวัฒน์ธำรง ดำรงไพศาล ทำหน้าที่รักษาการนายกฯ


         ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สามารถกลับมาบริหารประเทศได้อีกครั้งเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย
และนานาประเทศให้การรับรองและเรียกร้องให้กลับมาทำหน้าที่บริหารประเทศต่อไป
จนกว่าการเลือกตั้งทั่วไปจะเรียบร้อยและมีรัฐบาลชุดใหม่



  • ประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะ ไม่ใช่องค์รัฏฐาธิปัตย์
  • ประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะ เป็นกบฎที่ใช้อำนาจปืนเข้ายึดครองอำนาจรัฐ
  • โดยไม่มีกฎหมายรองรับ
  • ประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะ ไม่ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร
  • ประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะ ไม่ได้รับการนิรโทษกรรมจากข้อหากบฎในการยึดอำนาจรัฐ
  • ประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะ ตั้งคณะรัฐมนตรีไม่ได้เนื่องจากไม่มีการนำทูลเกล้า
  • และไม่มีการรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
  • ประยุทธ์จันทร์โอชา ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายในการบริหารประเทศ
  • และไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายในการแต่งตั้งผู้หนึ่งผู้ใดให้ทำหน้าที่ใดๆ ทั้งสิ้น


           ประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะ เป็นกบฎที่ต้องอาญาแผ่นดิน แต่ผู้รักษากฎหมายและขบวนการยุติธรรมกลัวอำนาจปืนกันจนหัวหด ไม่กล้าตัดสินเอาผิดประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะ ทั้งๆ ที่ทำการเปลี่ยนแปลง การปกครองที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิต

         ประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะ กร่างมาเป็นเดือนทั้งๆ ที่คำประกาศและคำสั่ง ของประยุทธ์ จันทร์โอชาและคณะ เป็นคำสั่งและคำประกาศที่ผิดกฎหมาย และเป็นโมฆะทั้งสิ้น

          ประชาชนจงเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด ว่ากฎหมายและนานาประเทศ ควรยืนอยู่ข้างใครระหว่าง คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช) ที่ใช้อำนาจปืนเข้าครองอำนาจ
และองค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยที่ประนามและไม่ยอมรับ คสช.



  • ผู้ปกครองมาแล้วสาปสูญ
  • ประชาชนอยู่ยงคงมั่นนิรันดร์ไป
  • ประชาชนไทย....จงเจริญ



RED USA
June 24, 2014


หมายเหตุ : อ่านและชมรายละเอียดเพิ่มเติม
1. https://www.facebook.com/FreeThaiOfficial
2. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1403569354
3. http://www.prachatai.com journal/2014/06 /54204
4. https://www.youtube.com/watch?v=RzpAzOKkGvg

ธีรภัทร์-พลเดช-จรัส แนะแนวปฏิรูปประเทศ คสช.



ธีรภัทร์ ชี้ 'ประยุทธ์' ไม่จำเป็นต้องเป็นนายกฯ แต่ควรเป็น เสนอเอาการศึกษาออกจากการเมือง-ชงตั้งสภาพลเมือง พลเดช เสนอเลือกนายกฯ ทางตรง ไม่สังกัดพรรคการเมือง จรัส หนุนกระจายอำนาจ ตั้งจังหวัดปกครองตนเอง และปฏิรูปตำรวจ

25 มิ.ย. 2557 มูลนิธิ Insight Foundation โดยศูนย์วิจัยข้อมูลการเมืองไทย ร่วมกับ มูลนิธิฟรีดริช เนามัน จัดเสวนาหาทางออกประเทศไทยจากความขัดแย้ง ภายใต้หัวข้อ  “ยกเครื่องประเทศไทย โจทย์ใหญ่ปฏิรูปประเทศ”  โดยมีผู้ร่วมเสวนาดังนี้  นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง และ จรัส สุวรรณมาลา อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย เสถียร วิริยะพรรณพงศา ผู้สื่อข่าวเนชั่น ทีวี
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวว่า การปฏิรูปประเทศคงไม่ใช่แต่เพียงเป็นการปฏิรูปการเมืองเท่านั้น แต่ต้องปฏิรูปด้านอื่นพร้อมไปด้วย ทั้งด้าน สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และหากมองย้อนกลับไปมองประสบการณ์การปฏิรูปประเทศที่ผ่านมา เราจะพบว่าประเทศไทยเคยมีการปฏิรูปมาแล้วในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยในครั้งนั้นเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก แต่หลังจากนั้นมาประเทศไทยไม่มีการปฏิรูปอีกเลย ซึ่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองครบ 82 ปี ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหา ทั้งทางด้านการเมือง สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจมาโดยตลอด และรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ล้วนแล้วแต่ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ เพราะฉะนั้นตอนนี้ คสช. มีอำนาจเป็นองค์อธิปัตย์ ที่สามารถจะออกกฎหมายหรือยกเลิกกฎหมายก็ได้ แต่หากไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหา ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะยึดอำนาจไว้  เพราะฉะนั้นเมื่อมีอำนาจแล้วก็ควรแก้ไขปัญหาให้ได้ 
ธีรภัทร์ ระบุว่า สิ่งที่สมควรปฏิรูปอย่างแรก คือ สิ่งที่เป็นปัญหาสะสมมานาน เช่น การคอร์รัปชั่น และระบบการศึกษา โดยควรนำระบบการศึกษาออกจากระบบการเมือง เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนรัฐมนตรีบ่อยทำให้การพัฒนาการศึกษาขาดความต่อเนื่อง โดยอาจจะให้กลุ่มเทคโนแครตหรือผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแล  เพื่อให้ระบบศึกษามีความต่อเนื่องขึ้น
เขากล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องที่สภาพัฒนาการเมืองกำลังผลักดันและนำเสนอต่อ คสช. ก็คือ การจัดตั้ง "สภาพลเมือง" ซึ่งก็คือ เวทีของตัวแทนจากส่วนภูมิภาคของทุกจังหวัด เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจและเสนอแนวทางปฏิรูปประเทศ โดยมีการนำมาตรการปรองดองของ คสช.เข้ามาบูรณาการกับสภาพลเมือง ซึ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ในระยะยาว
ธีรภัทร์ ระบุว่า ส่วนหน้าที่ของ คสช.ตอนนี้เข้ามาเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้ปกครองต้องทำให้ชัดเจน และต้องทำหน้าที่ให้จบกระบวนการจนไปถึงขั้นตอนของการคืนอำนาจให้กับประชาชน สำหรับเรื่องท่าทีของต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น EU หรือ สหรัฐอเมริกา คสช.ควรใช้การรับมือแบบเชิงรุก ซึ่งควรให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาดูแล
ส่วนเรื่องที่สำคัญที่สุดในการปฏิรูปคือ การเมือง เราต้องมานั่งคิดว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในระบอบรัฐสภาที่เราเอาแบบมาจากอังกฤษนั้นเหมาะสมกับคนไทยหรือไม่ เพราะคนไทยนั้นไม่มีระเบียบวินัย เรื่องสิทธิเสรีภาพนั้นเอา แต่ความรับผิดชอบไม่มี เพราะฉะนั้น คสช.ต้องเข้ามาดูแลเรื่องระเบียบวินัยของคนไทย 
ธีรภัทร์ กล่าวด้วยว่า ถ้าถามว่าพลเอกประยุทธ์จำเป็นต้องเป็นนายกฯ ไหม ก็ต้องตอบว่าไม่จำเป็นแต่ควรจะเป็นนายกฯ
ด้านมุมมองและแนวทางการปฏิรูปประเทศ นายแพทย์ พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา กล่าวว่า สำหรับวงจรการปฏิรูปนั้นเป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้น สำหรับประเทศอื่นนั้นจะต้องมีการปฏิรูปในทุกๆ 20 – 30 ปี  ซึ่งต้องขอชื่นชม คสช.ในเรื่องการดำเนินงานปฏิรูปประเทศที่มีการทำอย่างจริงจัง และมีการทำงานที่เป็นระบบ ซึ่งกรอบการปฏิรูปมีด้วยกันทั้งหมด 4 กรอบ คือ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และกระบวนการยุติธรรม ซึ่งใน 4 กรอบนี้จะแบ่งย่อยออกเป็น 11 ประเด็น 
พลเดชเห็นว่าการปฏิรูปประเทศไม่ควรมุ่งเน้นไปที่กฎหมายหรือปล่อยให้เป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งรับผิดชอบ แต่ภาคประชาชนเองควรเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
พลเดช ระบุว่า สำหรับการปฏิรูปการเมือง หรือการแยกอำนาจทางการเมือง เสนอให้มีการเลือกตั้งนายกฯ ทางตรง โดยผู้ที่ลงเลือกตั้งนายกฯ ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง แต่ผู้ชนะสามารถที่จะจัดตั้ง ครม.ได้ โดยที่เขาต้องอยู่ได้ด้วยความดีและสามารถตรวจสอบได้  ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีหลากหลายความคิดเห็นจากหลากหลายสำนักคิดก็ตาม แต่เชื่อว่า ภายในอีก 1 ปีข้างหน้า คงสามารถหาจุดลงตัวของการปฏิรูปร่วมกันได้
สุดท้ายเป็นมุมมองการปฏิรูปประเทศของ จรัส สุวรรณมาลา รองศาสตราจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขากล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้ว สนใจการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน เพราะจะเป็นการปฏิรูปที่ช่วยตอบโจทย์ได้หลายอย่าง ทั้งเรื่องของการ คอร์รัปชั่นนโยบาย นโยบายการคลังแบบขาดดุล ซึ่งการปฏิรูปในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก จนทำให้ไม่มีใครกล้าเปลี่ยนแปลงเพราะเชื่อว่าการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางนั้นดีที่สุดแล้ว  ซึ่งจรัสได้เสนอต่อไปว่า เราควรมีการกระจายอำนาจ และปฏิรูปให้เกิดจังหวัดปกครองตนเอง เท่าที่ผ่านมาก็มีการพยายามที่จะเสนอเรื่องนี้อยู่หลายครั้ง แต่ก็ต้องตกไป เพราะฉะนั้นในสถานการณ์ปัจจุบันที่ไม่มีนักการเมืองมาบริหารประเทศ อาจจะเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เกิดจังหวัดปกตรองตนเอง 
สำหรับการปฏิรูปเรื่องที่สองที่จรัสเสนอคือ การปฏิรูปตำรวจ เพราะตำรวจเป็นต้นตอของปัญหากระบวนการยุติธรรม และยังโดนแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองได้ง่าย เพราะฉะนั้นนี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ คสช.ควรหยิบยกขึ้นมาจัดการ  สุดท้ายจรัสกล่าวว่า การเปิดเวทีปฏิรูปนี้จะช่วยสลายสีได้ เพราะทุกคนต่างตกอยู่ในความทุกข์เดียวกัน และที่สำคัญคือ กระบวนการจัดเวทีต้องทำให้ประชาชนรู้สึกว่าไม่ได้เป็นเวทีของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ก็จะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งลงได้ และอยากให้สื่อ ช่วยกันนำเสนอสาระและความสำคัญของการปฏิรูปที่จะตามมาเพื่อให้เกิดบรรยากาศของการปฏิรูปมากขึ้น 

2 อาจารย์สิงห์ดำแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ไม่เข้าร่วมพิธีรับปริญญากับ “น้องตั๊น”


อาจารย์-นิสิต คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ โพสต์ข้อความแสดงความไม่พอใจกรณีน้องตั๊นได้รับหน้าที่นำกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณ ด้านอธิการบดีแจงไม่มีส่วนรู้เห็นในกระบวนการคัดเลือก
25 มิถุนายน 2557 จักรกริช สังขมณี อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา และณัฐนันท์ คุณมาศ อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊กส่วนตัวขออนุญาตไม่เข้าร่วมห้องประชุมในพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตรของคณะรัฐศาสตร์ ที่จะมีขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 3 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้
อาจารย์ทั้งสองให้เหตุผลว่าไม่เห็นด้วยกับกระบวนการคัดเลือกนิสิตผู้เป็นตัวแทนกล่าวนำคำสัตย์ปฏิญาณในพิธีการ ซึ่งนางสาวจิตภัสร์ กฤษดากร หรือน้องตั๊น กปปส. เป็นผู้ทำหน้าที่ดังกล่าว เนื่องจากนางสาวจิตภัสร์เป็นผู้ต้องหาคดีทางการเมืองซึ่งยังอยู่ระหว่างกระบวนการดำเนินคดี อีกทั้งยังมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม กล่าววาจาดูถูกชนบท ไม่เคารพสิทธิความเป็นมนุษย์ ด้านอาจารย์จักกริชถึงกับใช้คำว่า เป็นการ “ทรยศต่อวิชา” หากตนเข้าร่วมในพิธีการดังกล่าว อย่างไรก็ตามเนื่องจากอาจารย์สองท่านเป็นผู้ดูแลการฝึกซ้อมบันฑิตขึ้นรับพระราชทานปริญญาบัตรในปี จึงจะทำหน้าที่จัดแถวบัณฑิตเข้าสู่ห้องประชุมตามปกติ แต่จะไม่เข้าไปในห้องประชุมในช่วงพระราชทานปริญญาบัตร

(ข้อความจากเฟสบุ๊กส่วนตัวของอาจารย์จักกริช สังขมณี)


(ข้อความจากเฟสบุ๊กส่วนตัวของอาจารย์ณัฐนันท์ คุณมาศ)

เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่า ทางด้าน นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุลอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ชี้แจงกรณีที่นางสาวจิตภัสร์ได้รับหน้าที่กล่าวคำปฏิญาณว่ากระบวนการคัดเลือกเป็นการดำเนินการของกรรมการบัณฑิตปีการศึกษา 2556 ที่จะไปพิจารณาคัดเลือกกัน ไม่ได้เป็นการตัดสินใจหรือการเลือกของอธิการบดีเอง ส่วนหลักเกณฑ์การคัดเลือกตนไม่ทราบ สำหรับกระแสคัดค้านนั้นส่วนตัวเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีความเห็นได้
นอกจากตัวคณาจารย์แล้ว นิสิตบางส่วนก็มีปฏิกิริยาไม่พึงพอใจต่อกรณีดังกล่าวด้วยเช่นกันโดย บัณฑิตจุฬาท่านหนึ่งซึ่งใช้ชื่อเฟสบุ๊คว่า Artie Suptar เจ้าของคลิป “สภากาชาดไม่รับเลือดตุ๊ด” ได้โพสต์ข้อความลงในเฟสบุ๊ส่วนตัวเมื่อ 2 วันที่แล้วถึง 7 เหตุผลที่นางสาวจิตภัสร์ควรได้เป็นผู้นำกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณ
“วันนี้เห็นพี่ตั๊น จิตภัสต์ @Shitpasได้รับเลือกตั้งให้เป็นตัวแทนนิสิตในพิธีรับปริญญาแล้วรู้สึกปลาบปลื้มยินดีมากๆค่ะ
ก็ไม่รู้สินะคะ พวกที่ออกมาต่อต้านการที่พี่ตั๊นได้เป็นตัวแทนนิสิต นำกล่าวคำสัตย์ในครั้งนี้ คิดอะไรกันอยู่เหรอคะ หยุดใช้อคติ และความเกลียดชังตัดสินอะไรผิวเผินสักทีเถอะค่ะคุณจะมาบอกว่าพี่ตั๊นไม่เหมาะสมกับตำแหน่งนี้ได้อย่างไรก็ในเมื่ออาจารย์ที่เลือกพี่ตั๊นมาก็บอกเองว่าพี่ตั๊นเหมาะสม เพราะพี่ตั๊น เป็นผู้ที่"ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ"คนที่ไม่เห็นด้วยกับการที่พี่ตั๊นได้รับตำแหน่งก็คงจะมีแต่พวกที่ไม่รักชาติเท่านั้นแหละค่ะ
ฉันขอยืนยันค่ะ ว่าพี่ตั๊น นั้นเหมาะสมกับตำแหน่งนี้อย่างแท้จริง แจงเหตุผลให้พวกคุณ
เข้าใจอย่างง่ายๆเลยนะคะ
1. พี่ตั๊นเป็นคนสวยและรวยมาก
2. ตัวแทนนิสิตต้องรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์พี่ตั๊นเป็นแกนนำ กปปส. นี่คือบทพิสูจน์ที่เพียงพอว่าพี่ตั๊นรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์โดยแท้จริงคิดดูนะ ถ้าเลือกนิสิตคนอื่นซึ่งไม่ได้ฝักใฝ่ในทางการเมืองและเลือกข้างชัดเจนไม่เท่าพี่ตั๊นนี่เราอาจได้คนเลวเข้ามาเป็นตัวแทนก็ได้นะคะ
3. พวกที่บอกว่าพี่ตั๊นไม่เหมาะเป็นผู้แทนนิสิต เพราะไม่ได้เป็นคนที่มีผลงานโดดเด่นทางวิชาการนั้น ใช้สมองส่วนไหนคิดว่าพี่ตั๊นไม่เหมาะคะ รู้ไหมคะว่าพี่ตั๊นเข้าใจประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และมีผลงานวิชาการในการสร้างทฤษฎีรัฐศาสตร์ที่โดดเด่นสั่นสะเทือนวงการรัฐศาสตร์มาแล้ว พิสูจน์ได้จากคำให้สัมภาษณ์ที่ทำให้คนไทยและต่างชาติตาสว่างที่ว่า "คนชนบถไม่มีความรู้ความเข้าใจประชาธิปไตย"
4. พี่ตั๊นเป็นนักการเมืองฝ่ายดี ออกมาต่อสู้กับคนโกง ต่อต้านไอ้เหลี่ยม และนักการเมืองฝ่ายชั่ว พี่ตั๊นตั้งใจทำงานเพื่อประชาชนมาตลอด
5. เหตุผลที่สำคัญที่สุด พี่ตั๊นมีเชื้อเจ้าครึ่งหนึ่ง ดังนั้นพี่ตั๊นจึงเหมาะสมและดีกว่านิสิตคนอื่นๆซึ่งสามัญชนคนอื่นๆอย่างไม่มีข้อกังขาค่ะ
6. มีการกล่าวหาว่าพี่ตั๊นทำผิดระเบียบในวันนี้'มาสายก็มีการเว้นที่ให้' และ 'ใส่รองเท้ามันๆเงาๆก็ได้' คืออยากชี้แจงว่าอาจารย์ผู้คุมท่านมีเหตุผลค่ะ อาจารย์ให้พี่ตั๊นได้อยู่เหนือกฎเกณฑ์การซ้อมทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้นิสิตคนอื่นๆได้รู้อย่างแท้จริงว่าพี่ตั๊นนั้นเป็นอภิสิทธิ์ชนและมีคุณสมบัติที่เหนือกว่านิสิตธรรมดาอย่างแน่นอน
7. พี่ตั๊นเป็นคนดัง พี่คนกดไลค์เพจเฟซบุ๊คมากกว่า 5 แสนคน ถามว่าจะมีนิสิตคนไหนในรุ่นนี้มียอดไลค์มากกว่าพี่ตั๊นได้อีกไหมคะ
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น การเลือกให้พี่ตั๊นเป็นตัวแทนนิสิตจุฬาทั้งผอง จะยิ่งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีงาม ว่าจุฬาของเราอยู่ข้างกปปส.มาตั้งแต่แรกเริ่ม บัณฑิตของเราล้วนเป็นอภิสิทธิ์ชนที่สูงส่ง เป็นเสาหลักแห่งผู้ลากมากดี และเข้าใจประชาธิปไตยจริงๆค่ะ
ดังนั้นพี่ตั๊นนี้ คือผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการสืบทอดอุดมการณ์และเกียรติภูมิของจุฬาอย่างแท้จริงค่ะ
พี่ตั๊นคะ ใครจะต่อต้านพี่ พี่อย่าไปสนนะคะคนที่ไม่ชอบพี่เขาต้องเป็นเสื้อแดงหรือเป็นคนที่ไม่เข้าใจประชาธิปไตยแน่ๆค่ะหนูและเพื่อนๆซึ่งป็นผู้ที่เข้าใจประชาธิปไตยขอเป็นกำลังใจให้พี่นะคะ @Shitpas
I love you ka
ป.ล. เสียดายพี่ตั๊นเป็นนิสิตปริญญาโท เพราะถ้าพี่ตั๊นเรียน ป.ตรีที่นี่ คงเป็นบุญตาได้เห็นพี่ตั๊นได้รับเลือกตั้งเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยวด้วยแน่ๆ”

ICT ระงับ “คืนความจริง” ตอนแรก ระบุเนื้อหาไม่เหมาะสม


ภาพที่ปรากฏหลังกดเข้าชมวิดีโอคลิป  "คืนความจริง #1 (Resurgent Truth #1)" 
1 วัน หลังปล่อยคลิป “คืนความจริง” ตอนแรก สารคดีสัมภาษณ์บุคคลหลากหลายสาขาวิชาชีพหลังเหตุการณ์รัฐประหาร ล่าสุด  ICT ได้ระงับ URL แล้ว โดยระบุมีเนื้อหาและข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
25 มิ.ย. 2557 23.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วิดีโอคลิปสารคดีที่มีเนื้อหาเป็นการสัมภาษณ์บุคคลหลากหลายสาขาวิชาชีพหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 ตอนแรก ใช่ชื่อว่า "คืนความจริง #1 (Resurgent Truth #1)" ที่ถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ยูทูป ความยาว 20.34 นาที ถูกระงับโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแล้ว รวมทั้ง user “คืนความจริง ประเทศไทย” ซึ่งเป็น user ที่ใช้เผยแพร่วิดีโอคลิปดังกล่าวก็ถูกระงับด้วย โดยระบุว่ามีเนื้อหาและข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
โดยเบื้องต้นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ไม่สามารถเข้าชมคลิปดังกล่าวได้ขณะนี้มีเครือข่าย 3BB ขณะที่เครือข่าย AIS 3G, TOT และทรู ยังสามารถเข้ารับชมคลิปดังกล่าวได้ตามปกติ
ทั้งนี้วิดีโอสารคดีดังกล่าวถูกเผยแพร่โดยเฟซบุ๊คเพจ "คืนความจริง" ไปเมื่อวานนี้(24 มิ.ย.)เวลา 21.00 น. โดยใช้เพลง "คืนความสุขให้ประเทศไทย" ที่แต่งโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นเพลงประกอบสารคดี และใช้บทกวีของกฤช เหลือลมัย เป็นบทเริ่มต้นสารคดี ทิ้งท้ายของสารคดีมีการสัมภาษณ์ชายหนุ่มคนหนึ่ง ซึ่งกำลังอ่านหนังสือเรื่อง "1984" และรับประทานแซนวิซ เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ที่ผ่านมาที่สยามพารากอน ก่อนถูกควบคุมตัว
อย่างไรก็ตามวิดีโอคลิปตัวอย่างสารคดีดังกล่าวที่มีความยาว 2.37 นาที ยังสามารถเข้าชมได้ ซึ่งเป็นเรื่องย่อของสารคดีที่มีเนื้อหาเป็นการสัมภาษณ์บุคคลหลากหลายสาขาวิชาชีพหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 อาทิ กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรมต้านรัฐประหาร ผู้เดินทางไปรายงานตัวและถูกควบคุมตัวตามคำสั่ง คสช. นักสังเกตการณ์สันติวิธีที่เฝ้ารายงานและเก็บข้อมูลกิจกรรมชุมนุมภายหลังการรัฐประหาร ทนายความที่มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการควบคุมตัวตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงทางการเมือง
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าสามารถใช้วิธีการเติม "s" หลัง http ก็สามารถเข้าชมได้ตามปกติ (ดูhttps://www.youtube.com/watch?v=gwHIc_usGHM

กสทช. เสนอ คสช. ปลดล็อกวิทยุชุมชน ล็อตแรก


.

25 มิ.ย. 2557 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 15.30 น. สำนักงาน กสทช. ได้เข้าชี้แจงต่อ พล.อ. ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้นำเสนอ คสช. ออกประกาศในการปลดล็อกให้สถานีวิทยุชุมชนดำเนินการออกอากาศได้ โดยมีเงื่อนไขในการที่จะออกอากาศ ดังนี้
1.เป็นสถานีที่ได้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง 2. จะต้องผ่านการตรวจเครื่องส่ง สายอากาศ ให้เป็นไปตามประกาศ กสทช. กำหนด คือ กำลังส่งไม่เกิน 500 วัตต์ ความสูงเสาไม่เกิน 60 เมตร และเมื่อออกอากาศแล้ว จะต้องมีรัศมีการให้บริการไม่เกิน 20 กิโลเมตร 3. หนึ่งนิติบุคคล ต่อหนึ่งใบอนุญาต 4. เนื้อหาในการออกอากาศจะต้องสอดคล้องกับประกาศของ คสช. 5.จะต้องมาทำ MOU ในการปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งหมดกับทางสำนักงาน กสทช.
นายฐากร กล่าวว่า หากประกาศ คสช. ที่ทางสำนักงานฯ ได้เข้าไปชี้แจงเมื่อวานสามารถประกาศได้ในสัปดาห์นี้ สำนักงาน กสทช. ก็จะสามารถเริ่มที่จะให้ สถานีที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้างต้นทยอยออกอากาศได้ ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถออกอากาศได้ในทันที 377 สถานีก่อน ส่วนสถานีอื่นที่จะต้องเข้ารับการตรวจเครื่องส่ง สายอากาศ สำนักงานฯ ได้ชี้แจงต่อหัวหน้าฝ่ายกฎหมายฯ คสช. แล้วว่าการดำเนินการตรวจสอบดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายใน 30 วัน
ทั้งนี้ ในการดำเนินการตรวจสอบด้านเทคนิค และด้านเนื้อหาที่ไม่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ทางกองทัพภาคที่ 1-4 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) จะร่วมกับสำนักงาน กสทช. ภูมิภาคทั้ง 14 เขต อำนวยความสะดวกให้กับสถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่ด้วย
“หากประกาศ คสช. ได้ประกาศปลดล็อกการออกอากาศของสถานีวิทยุชุมชนแล้ว เรื่องนี้จะกลับมาอยู่ในความรับผิดชอบของ กสทช. ที่จะมีการพิจารณาให้สถานีวิทยุดังกล่าวทยอยออกอากาศต่อไป” นายฐากรกล่าวย้ำ

สมาคมนักข่าวฯ เตรียมประชุมประเด็น คสช.มอนิเตอร์สื่อพรุ่งนี้-เผยมีทหารเข้าไปกอง บก.นสพ.


สมาคมนักข่าวฯนำเรื่อง คสช.ตั้งคณะทำงานติดตามการเผยแพร่ของสื่อต่อสาธารณะเข้าสู่ที่ประชุมด่วน พรุ่งนี้ ระบุไม่สบายใจกับท่าทีการปฏิบัติต่อสื่อ ชี้ต้องมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ย้ำหลักการพื้นฐานสิทธิเสรีภาพในการรายงานข่าวบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อ ประชาชน-ประเทศชาติ
25 มิ.ย.2557 นายมานพ ทิพย์โอสถ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ และโฆษกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวถีงกรณี พล.ต.อ.อดุลย์​ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อติดตามการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ได้ตั้งคณะทำงานออกเป็น 5 ฝ่าย เพื่อติดตามการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ว่า สมาคมนักข่าวฯ รู้สึกเป็นกังวลและไม่สบายใจเป็นอย่างยิ่งกับกับท่าทีดังกล่าว แม้จะเห็นว่าหน่วยงานของรัฐมีสิทธิในการติดตามการรายงานข่าวสารจากสื่อมวลชนก็ตาม แต่ถ้ามีแนวทางปฏิบัตที่ไม่ชัดเจน อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน กระทบ และเป็นอุปสรรคกับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนได้ และขอเรียกร้องให้คณะทำงานดังกล่าวมีท่าทีที่ชัดเจนในการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
โฆษกสมาคมนักข่าวฯ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้สมาคมนักข่าวฯ รู้สึกไม่สบายใจต่อกรณีที่เกิดขึ้นกับกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง  จากกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ทหารเดินทางไปที่กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นในเช้าวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา พร้อมก้บแจ้งให้ทราบว่ากองทัพได้ทำหนังสือเวียนแจ้งมาไม่ให้เสนอข่าวการเคลื่อนไหวของนักการเมืองบางคน และขอให้กองบรรณาธิการไม่เสนอข่าวดังกล่าวอีกต่อไป โดยทหารบอกว่าจะเตือนไปทุกกองบรรณาธิการ เพื่อไม่ให้เสนอข่าวนี้อีกเช่นกัน ทั้งนี้กองบรรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวยัง ไม่เคยได้รับหนังสือเวียนแต่อย่างใด มีเพียงการโทรศัพท์เข้ามาเท่านั้น
นายมานพ กล่าวว่า สมาคมนักข่าวฯ ขอยืนยันในหลักสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนภายใต้กรอบจริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอย่างหนักแน่น และขอให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อทุกท่านได้ตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพที่มีอยู่ และใช้สิทธิและเสรีภาพนั้นอย่างรับผิดชอบต่อประชาชนและประเทศชาติโดยรวม
สมาคมนักข่าวฯ จึงจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมในวันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน เวลา 09.30 น. เพื่อปรึกษาหารือกันว่าควรจะมีท่าทีต่อกรณีนี้อย่างไรต่อไป

ปรส. กับความอัปยศของแผ่นดิน




AREA แถลง ฉบับที่ 83/2557: 24 มิถุนายน 2557
ปรส. กับความอัปยศของแผ่นดิน

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย


              ปรส.หรือ “องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน” ได้สร้างความเสียหายต่อประเทศชาติมหาศาล ดร.โสภณ ให้ข้อมูลจากประสบการณ์ตรง

            ปรส. เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดย พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงินพุทธศักราช 2540 ทำหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการรวม 58 แห่ง เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้สุจริตรวมทั้งการชำระบัญชีของสถาบันการเงิน ข้อที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์จนเป็นคดีความก็คือ ปรส. ไม่ได้แยกหนี้ดีและหนี้เสียออกจากกัน จนทำให้ทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มูลค่า 851,000 ล้านบาท ถูกประมูลขายไปเพียง 190,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นความเสียหายต่อประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้รับการว่าจ้างจาก ปรส. ในฐานะบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินแห่งหนึ่งจากจำนวนสิบกว่าแห่งให้ประเมินทรัพย์สินในส่วนที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ยึดมาโดยสถาบันการเงิน 58 แห่งแล้ว เพื่อนำออกประมูล
ในช่วงแรก ปรส. ดำเนินการได้ดีมาก กล่าวคือ ปรส. ให้บริษัทประเมิน ออกประเมินตามราคาตลาด ไม่ใช่ตั้งราคาประมูลเองเช่นสถาบันการเงินในอดีต และตั้งราคาประมูลเริ่มต้นไว้ที่ 50% เมื่อประเมินค่าเสร็จ ก็ยังจัดแสดงสินค้าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบผ่านการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ชั้นนำเต็มที่ อีกทั้งยังให้บริการ ‘เปิดบ้าน’ ให้ประชาชนได้ไปพิจารณาดูทรัพย์ก่อนการประมูล แม้แต่รายงานประเมินค่าทรัพย์สิน ก็ให้ประชาชนถ่ายสำเนาไปศึกษาดูได้ โดยเสียค่าใช้จ่ายแค่ค่าถ่ายเอกสารเป็นสำคัญ

             เมื่อมีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่เคยมีมาในการประมูลในประเทศไทยแล้ว ปรส. ก็ว่าจ้าง บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส และศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดการประมูลขึ้น ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมประมูลจำนวนมาก ใช้เวลาประมูลถึงประมาณ 1 สัปดาห์ ผลการประมูล ปรากฏว่าขายอสังหาริมทรัพย์ได้เกือบทั้งหมด ณ ราคาสูงถึง 80% ของราคาที่ตั้งประมูล

            กรณีนี้จึงเป็นการสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือแก่ ปรส. เป็นอย่างมาก แต่การประมูลอสังหาริมทรัพย์ในความครอบครองของสถาบันการเงิน 58 แห่งนี้ มีมูลค่ารวมกันไม่ถึง 5,000 ล้านบาท แต่พอมาจัดประมูลทรัพย์มูลค่า 851,000 ล้านบาท กลับดำเนินการมีนัยส่อทุจริต เริ่มตั้งแต่ บริษัทเลแมน บราเดอร์ส (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นที่ปรึกษาของ ปรส. กลับมาประมูลเสียเอง

            ในครั้งนั้นมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทที่ปรึกษากับบริษัทที่มาประมูลเป็นพวกเดียวกัน เพียงแค่เปลี่ยนชื่อ บริษัทเลแมน บราเดอร์ส ก็ชี้แจงว่าบริษัทของตนมีนโยบาย “Chinese Wall” หรือนโยบายกำแพงเมืองจีน แผนกหรือบริษัทในเครือเดียวกัน จะไม่บอกความลับแก่กันและกันอย่างเด็ดขาด ถือเป็นจรรยาบรรณทางวิชาชีพ เหตุผลนี้เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เข้าทำนอง “อมพระมาพูด” แต่ ปรส. ก็กลับเชื่อถือ ยอมให้มาประมูลทรัพย์ได้

             ในการประมูลทรัพย์ของบริษัทเลแมน บราเดอร์ส นั้น ดร.โสภณ พรโชคชัย ในนามของ บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ก็ได้รับการว่าจ้างจากบริษัทนี้ประเมินค่าทรัพย์สินอีกเช่นกัน ในครั้งต่อมานี้ ปรส. ไม่จ้างบริษัทประเมินค่าทรัพย์สินแล้ว ให้แต่ละบริษัทประเมินเองเอง แล้วเสนอราคาที่จะประมูลต่อ ปรส. ข้อน่าสังเกตก็คือ เป็นการประมูลแบบครั้งละนับแสนล้านบาท ทำให้คงเหลือแต่บริษัทต่างชาติที่มีขีดความสามารถมาร่วมการแข่งขัน

             ที่สำคัญที่สุดก็คือ ต่อทรัพย์สินมูลค่าเกือบล้านล้านบาทนี้ นอกจาก ปรส. จะไม่แยกหนี้ดีและหนี้เสียแล้ว ปรส. ยังให้เวลาบริษัทที่เข้าร่วมประมูลศึกษาทรัพย์ในระยะเวลาที่กระชั้นชิดมาก ไม่ดำเนินการอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมาเช่นการประมูลอสังหาริมทรัพย์ในครั้งแรก ข้อมูลมีไม่ครบถ้วน สับสน ซึ่งควรเตรียมการให้ดีก่อน แต่ไม่ดำเนินการ แทบไม่อนุญาตให้ถ่ายสำเนารายละเอียดทรัพย์สินเพื่อไปสำรวจประเมินค่า บางกรณีต้องถึงขนาดจดข้อมูลไปเอง ในระหว่างไปสำรวจทรัพย์สิน ก็ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบภายในทรัพย์สินได้ ต้องประมาณการอยู่ข้างนอก

             ผลก็คือ ราคาที่ประมูลได้ของทรัพย์สินเกือบหนึ่งล้านล้านบาทนี้ เฉลี่ยได้เพียง 22% ของมูลหนี้ บางกองประมูลได้เพียง 16% ของมูลหนี้เดิม ในความเป็นจริง น่าจะประมูลได้สูงกว่านี้มาก จึงนับเป็นความสูญเสียของประเทศชาติเป็นอย่างมากจากการดำเนินการของผู้บริหาร ปรส. ในขณะนั้น อาจกล่าวได้ว่า การจัดประมูลอสังหาริมทรัพย์ชุดแรกที่ดำเนินการได้ดี อาจถือเป็นเพียงการสร้างภาพ เพื่อให้สังคมไว้วางใจ แล้วค่อยดำเนินการในเชิงทุจริตในการประมูลหนี้ของสถาบันการเงินจนเกิดความเสียหายได้เช่นนี้

            การดำเนินการขององค์กรที่ปราศจากการตรวจสอบ โดยเฉพาะองค์กรที่ดูมีภาพพจน์และผู้บริหารที่ดี จึงมักสร้างปัญหาในภายหลังเช่นนี้

ผู้แถลง:

ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

กลุ่มรมต.ต่างประเทศ EU แถลงระงับหมายเจ้าหน้าที่ทั้งหมดมาไทย



            เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. เอเอฟพีรายงานว่า สหภาพยุโรป หรืออียู กลุ่มรัฐมนตรีต่างประเทศอียู ออกแถลงการณ์จากที่ประชุมสภาสหภาพยุโรป (COUN CIL OF THE EUROPEA N U NIO N) ที่ประเทศลักเซมเบิร์ก ถึงปฏิกิริยาล่าสุดที่มีต่อไทย โดยประณามการยึดอำนาจ และให้ระงับหมายเยือนของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่จะมาประเทศไทย และระงับการลงนามในข้อตกลงหุ้นส่วนและความร่วมมือกับประเทศไทย

             รัฐมนตรีต่างประเทศอียูยังแสดงความวิตกกังวลสูงสุดต่อความเคลื่อนไหวต่างๆในไทยและขอให้ฟื้นฟูกระบวนการทางประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญผ่านการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและครอบคลุมโดยด่วนนอกจากนี้ ควรปล่อยผู้ถูกกักกันทางการเมือง เคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ

            ในแถลงการณ์ระบุว่าด้วยว่า อียูจะทบทวนความสัมพันธ์ทางทหารต่อไป และยืนยันว่า ไทยต้องจัดทำโรดแม็ปที่เชื่อถือได้ว่าจะหวนไปใช้การปกครองตามรัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งที่เชื่อถือได้และครอบคลุมเท่านั้น อียูจึงจะปรับระดับความสัมพันธ์ที่เป็นปกติกับไทย

          อย่างไรก็ตาม ผลสรุปการประชุมของคณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปเกี่ยวกับประเทศไทย ณ กรุงลักเซมเบิร์ก วันที่ 23 มิถุนายน 2557 ฉบับเต็ม ระบุ ดังนี้

  • 1. สหภาพยุโรปและประเทศไทยมีความผูกพันแน่นแฟ้นต่อกันมาเป็นเวลานานทั้งในด้านการค้า การท่องเที่ยว การลงทุน วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของทั้งสองฝ่าย
  • 2. ด้วยเหตุนี้ ทางคณะรัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปจึงได้เฝ้าติดตามสถานการณ์ในประเทศไทยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาด้วยความกังวลเป็นอย่างยิ่งคณะรัฐมนตรีฯ ได้เรียกร้องให้ผู้นำทหารดำเนินการเรื่องที่เร่งด่วนที่สุดในการคืนสู่กระบวนการทางด้านประชาธิปไตยที่มีความชอบธรรมและคืนการปกครองตามหลักรัฐธรรมนูญผ่านทางการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและทุกฝ่ายมีส่วนร่วมคณะรัฐมนตรีฯ ยังได้ขอให้ทุกฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจสูงสุด โดยจะต้องให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและยึดมั่นต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีฯ ยังเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ทหารปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวทางการเมืองทั้งหมด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจับกุมที่มีเหตุผลทางการเมืองและยกเลิกการควบคุมสื่อ
  • 3. การประกาศของผู้นำทหารที่ผ่านมาไม่นานนั้น ยังไม่ได้ให้หลักประกันที่น่าเชื่อถือในการกลับคืนสู่การปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ อันเป็นสิ่งจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ จะต้องให้สถาบันทางด้านประชาธิปไตยต่างๆ สามารถกลับมาทำงานได้อย่างเต็มที่เพื่อเป็นหลักประกันการคุ้มครองและสวัสดิภาพของประชาชนทุกคน
  • 4.ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว สหภาพยุโรปมีความจำเป็นที่จะต้องทบทวนการทำงาน โดยให้มีการระงับการเยือนอย่างเป็นทางการระหว่างกัน สหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกจะไม่ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ (Partnership and Cooperation Agreement) กับประเทศไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และความตกลงอื่นๆ จะได้รับผลกระทบตามสมควร โดยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้เริ่มทบทวนความร่วมมือทางทหารกับประเทศไทย
  • 5. การมีแผนดำเนินการที่น่าเชื่อถือในการกลับสู่การปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญโดยเร็ว การมีการเลือกตั้งอันน่าเชื่อถือและทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างจริงจังเท่านั้นที่จะสามารถทำให้สหภาพยุโรปให้การสนับสนุนต่อไปได้คณะรัฐมนตรีฯ จึงได้ตัดสินใจที่จะดำเนินการทบทวนความสัมพันธ์กับประเทศไทยและอาจพิจารณาดำเนินมาตรการอื่นๆ ต่อไปตามสถานการณ์”

ศาลยกคำร้องฝากขังผลัด3 ปล่อยแล้ว 'อภิชาติ' คดีชูป้ายต้านรัฐประหาร-ม.112



อภิชาติ (เสื้อขาว) ได้รับการปล่อยตัวเมื่อค่ำที่ผ่านมา
อัพเดท: เวลา 19.20 น. จ.ส.อ.อภิชาติ พงศ์สวัสดิ์ ผู้ต้องหาคดีชูป้ายค้านรัฐประหาร-ม.112 ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แล้ว โดยเขากล่าวว่า การยกคำร้องฝากขังฯ ครั้งนี้ทำให้คนอื่นๆ ที่ถูกควบคุมตัวอยู่มีความหวังที่จะยื่นคัดค้านคำร้องฝากขังต่อไป
เมื่อเวลา 9.00 น. 24 มิถุนายน 2557 ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 506 ศาลอาญากรุงเทพฯใต้ ศาลได้นัดพิจารณาคดีเรื่อง ไต่สวนคำร้องขอฝากขังผลัดที่3  จ.ส.อ.อภิชาติ พงศ์สวัสดิ์ ผู้ชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และถูกควบคุมตัวตั้งแต่เวลา 19.30 ของวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 และจากการควบคุมตัวครบ 7 วัน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อกล่าวหามาตรา 112, 215, 216 และมาตรา 14 อนุ 3 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และได้ฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยไม่ให้ประกันตัว โดยพนักงานสืบสวนสอบสวนกองปราบปรามฯ เป็นผู้ร้องขอฝากขังผู้ต้องหาซึ่งเป็นขอฝากขังเป็นผลัดที่ 3 ภายหลังจากที่ฝากขังมาก่อน 2 ผลัด เป็นเวลา 24 วัน
สำหรับการไต่สวนในวันนี้ พนักงานสอบสวนในฐานะผู้ร้องได้อ้างเหตุจำเป็นในการร้องฝากขังต่อ โดยอ้างเหตุว่าพนักงานสืบสวนสอบสวน ยังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการสืบสวน โดยเป็นการส่งหนังสือและหลักฐานดังกล่าวให้คณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นฯ ซึ่งต้องได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เพื่อให้ดำเนินการพิจารณาและส่งความเห็นกลับมายังพนักงานสืบสวนปองปราบฯ โดยทางพนักงานสืบสวนกำลังรอให้มีการตั้งคณะกรรมการฯ และจำเป็นต้องทำการตรวจสอบลายนิ้วมือและประวัติการโพสต์ทางอินเทอร์เนตของผู้ต้องหาก จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) รวมถึงต้องการรอความเห็นจากนักวิชาการจาก 4 สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับข้อความที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหา ในการช่วยตีความความหมายในการแสดงข้อความของผู้ต้องหา
ด้านทนายผู้ต้องหาได้คัดค้านเหตุจำเป็นในการฝากขังต่อ สามประเด็นหลัก คือ
  • 1.ผู้ต้องหามีภาระจำเป็นทางด้านการศึกษา ซึ่งผู้ต้องหาอยู่ในขั้นตอนการเขียนสารนิพนธ์ ในโครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตอาสาสมัคร สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายในการสำเร็จการศึกษา ภายหลังจากผู้ต้องหาได้ปฏิบัติงานภาคสนามในพื้นที่เป็นที่เรียบร้อย และผู้ต้องหามีความจำเป็นต้องไปดำเนินการลงทะเบียนเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้วยตัวเอง ในสาขาชนบทศึกษาและการพัฒนา ในสถาบันการศึกษาแห่งเดียวกัน ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย หากไม่สามารถไปดำเนินการได้ก็จะสูญเสียโอกาสในการศึกษาต่อทันทีหลังจากที่ผู้ต้องหาผ่านการสอบคัดเลือกได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  • 2. ยังไม่มีกระบวนการดำเนินการสืบสวนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ต้องหา ทนายผู้ต้องหาคัดค้านว่าทั้งหมดเป็นกระบวนการภายในของพนักงานสืบสวนฯ ซึ่งเป็นกระบวนการของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา ดังนั้นไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องฝากขังผู้ต้องหาต่อไป
  • 3. ปัญหาทางครอบครัวที่ผู้ต้องหาต้องดูแลมารดา และการฝากขังต่อไปจะทำให้ถูกระงับค่าตอบแทนจากการทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายต่อไป เนื่องจากไม่ได้ทำงาน แต่อย่างไรก็ตามทางคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้เคยรับรองผู้ต้องหาว่าหากได้รับการปล่อยตัวจะดูแลความประพฤติผู้ต้องหาให้อยู่ในวินัยของสำนักงาน

ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ อาจารย์จากสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะพยานของผู้ต้องหา ได้เบิกความยืนยันพฤติกรรมของจำเลยว่ามีความประพฤติดีและจะไม่หลบหนี นอกจากนั้นแล้ว ผู้ต้องหายังเคยมีประวัติที่ได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอย่างมากมาย และยาวนาน
จากนั้นเมื่อเวลาประมาณ 15. 00 น. ศาลได้อ่านคำสั่งฯ โดยมีความเห็นว่า จากที่ผู้ร้อง ได้อ้างว่าอยู่ในกระบวนการส่งหลักฐานให้นักวิชาการ รัฐเอกชน ให้ความเห็นนั้น ศาลมีความเห็นว่า ผู้ต้องหา ได้กำลังศึกษาอยู่และมีภาระในการเขียนสารนิพนธ์ให้เสร็จสิ้นกระบวนการประกอบกับทั้งผู้ต้อง และศาลเห็นว่าผู้ต้องหา มีสถานที่ทำงานที่เป็นหลักแหล่งที่ชัดเจนแน่นอน สามารถติดตามได้ ถ้าหากมีการฝากขังต่อไปก็อาจจะทำให้ผู้ต้องหาเกิดผลกระทบหลายอย่าง อาทิ การต้องถูกเลิกจ้างจนไม่สามารถเลี้ยงดูแม่ มีปัญหาต่อการศึกษาต่อ ซึ่งไม่สามารถทดแทนได้หรือชดเชยได้ในภายหลัง
ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาของพนักงานสืบสวน และสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาจากถูกคุมขังในเรือนจำมาแล้ว 2 ผลัด รวม 24 วัน และภายหลังจากถูกควบคุมตัวที่กองปราบโดยเจ้าหน้าที่ทหารมาแล้ว 7 วัน


เพจ "คืนความจริง" เปิดตัวสารคดีตอนแรกสัมภาษณ์บุคคลหลากหลายหลัง รปห.


เพจ "คืนความจริง" เปิดตัวสารคดีตอนแรก "คืนความจริง #1" สัมภาษณ์บุคคลหลายฝ่ายหลังเหตุรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 ตั้งแต่ผู้ทำกิจกรรมหลังรัฐประหาร ผู้ถูกเรียกไปรายงานตัว ทนายผู้ทำคดีหลังรัฐประหาร จนถึงญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงทางการเมือง
ตัวอย่างสารคดี "คืนความจริง #teaser1" ที่มีการเผยแพร่ในเพจ "คืนความจริงประเทศไทย"
24 มิ.ย. 2557 - เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. เฟซบุ๊คเพจ "คืนความจริง" ได้เผยแพร่ตัวอย่างสารคดี "คืนความจริง #teaser1" ความยาว 2.37 นาที เป็นเรื่องย่อของสารคดีที่มีเนื้อหาเป็นการสัมภาษณ์บุคคลหลากหลายสาขาวิชาชีพหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 อาทิ กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรมต้านรัฐประหาร ผู้เดินทางไปรายงานตัวและถูกควบคุมตัวตามคำสั่ง คสช. นักสังเกตการณ์สันติวิธีที่เฝ้ารายงานและเก็บข้อมูลกิจกรรมชุมนุมภายหลังการรัฐประหาร ทนายความที่มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการควบคุมตัวตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงทางการเมือง
ล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. วันที่ 24 มิ.ย. มีการเผยแพร่สารคดีดังกล่าวเป็นตอนแรก ใช่ชื่อว่า "คืนความจริง #1 (Resurgent Truth #1)" ความยาว 20.34 นาที โดยใช้เพลง "คืนความสุขให้ประเทศไทย" แต่งโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นเพลงประกอบสารคดี และใช้บทกวีของกฤช เหลือลมัย เป็นบทเริ่มต้นสารคดี ทิ้งท้ายของสารคดีมีการสัมภาษณ์ชายหนุ่มคนหนึ่ง ซึ่งกำลังอ่านหนังสือเรื่อง "1984" และรับประทานแซนวิซ เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ที่ผ่านมาที่สยามพารากอน ก่อนถูกควบคุมตัว
ก่อนหน้านี้แอดมินเพจมีการประกาศในเพจว่าจะเผยแพร่สารคดีตอนแรกในเวลา 16.30 น. ของวันที่ 24 มิ.ย. โดยมีการระบุในเพจว่าเป็น "ข้อเท็จจริงอีกด้านที่เราไม่อาจพบได้อย่างเสรีในยุครัฐประหาร"  อย่างไรก็ตาม มีการเลื่อนเวลาเผยแพร่มาเป็นเวลาประมาณ 21.00 น. แทน