วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

"ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ประกาศกฏอัยการศึก ฉบับที่ 1 แล้วตอนตี 3







           ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่าเมื่อเวลา 03.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงนามในเอกสารเรื่องการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ฉบับที่ ๑/๒๕๕๗ ความว่า ตามสถานการณ์ที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองหลายกลุ่ม ได้ทำการชุมนุมประท้วงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล ตลอดจนพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ และมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีสร้างสถานการณ์ความรุนแรง ด้วยการใช้อาวุธสงครามต่อประชาชน และสถานที่สำคัญอย่างกว้างขวาง เป็นผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดเหตุการณ์จลาจล และความไม่สงบเรียบร้อยอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ อันกระทบต่อความมั่นคงของชาติและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวมนั้น

         เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำความสงบสุขกลับคืนสู่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายโดยเร็ว จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒ และมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๐๓.๐๐ เป็นต้นไป

         อนึ่ง สำหรับการประกาศกฎอัยการศึก เป็นไปตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล โดยมีการกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้บังคับ และเมื่อจะยกเลิกการบังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ใดจะต้องประกาศออกมาเป็นพระบรมราชโองการ

         ผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการศึกนั้น พ.ร.บ.กฎอัยการศึกฯ มาตรา 4 ระบุว่า "เมื่อมีสงครามหรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใดให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้น ซึ่งมีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน หรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใด ๆ ของทหารมีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก เฉพาะในเขตอำนาจหน้าที่ของกองทหารนั้นได้ แต่จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด"

        อำนาจทหารเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก ตามมาตรา 6 ระบุว่า "ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร"

         เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจ ตามมาตรา 8 "เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด, เมืองใด, มณฑลใด, เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น, ที่จะเกณฑ์, ที่จะห้าม, ที่จะยึด, ที่จะเข้าอาศัย, ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่, และที่จะขับไล่"

การตรวจค้น (มาตรา 9)
          การตรวจค้นนั้น ให้มีอำนาจที่จะตรวจค้น ดังต่อไปนี้
  • (1) ที่จะตรวจ ค้น บรรดาสิ่งซึ่งจะเกณฑ์ หรือต้องห้าม หรือต้องยึด หรือจะต้อง เข้าอาศัย หรือมีไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งมีอำนาจที่จะตรวจค้นได้ไม่ว่าที่ตัวบุคคล ในยานพาหนะ เคหะสถาน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ใด ๆ และไม่ว่าเวลาใด ๆ ทั้งสิ้น
  • (2) ที่จะตรวจข่าวสาร จดหมาย โทรเลข หีบ ห่อ หรือสิ่งอื่นใดที่ส่งหรือมีไปมาถึงกัน ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก
  • (3) ที่จะตรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพโฆษณา บทหรือคำประพันธ์

การเกณฑ์ (มาตรา 10)
       การเกณฑ์นั้นให้มีอำนาจที่จะเกณฑ์ได้ดังนี้
  • (1) ที่จะเกณฑ์พลเมืองให้ช่วยกำลังทหารในกิจการ ซึ่งเนื่องในการป้องกันพระราชอาณาจักร หรือช่วยเหลือเกื้อหนุนราชการทหารทุกอย่างทุกประการ
  • (2) ที่จะเกณฑ์ยวดยาน, สัตว์พาหนะ, เสบียงอาหาร, เครื่องศาตราวุธ, และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ จากบุคคลหรือบริษัทใด ๆ ซึ่งราชการทหารจะต้องใช้เป็นกำลังในเวลานั้นทุกอย่าง

การห้าม(มาตรา 11)

          การห้ามนั้น ให้มีอำนาจที่จะห้ามได้ดังนี้
  • (1) ที่จะห้ามมั่วสุมประชุมกัน
  • (2) ที่จะห้ามออก จำหน่าย จ่ายหรือแจก ซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพบทหรือคำประพันธ์
  • (3) ที่จะห้ามโฆษณา แสดงมหรสพ รับหรือส่งซึ่งวิทยุ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์
  • (4) ที่จะห้ามใช้ทางสาธารณะเพื่อการจราจรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ รวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินด้วย
  • (5) ที่จะห้ามมีหรือใช้เครื่องมือสื่อสารหรืออาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ และเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน หรือที่อาจนำไปใช้ทำเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวได้
  • (6) ที่จะห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถานภายในระหว่างระยะเวลาที่กำหนด
  • (7) ที่จะห้ามบุคคลเข้าไปหรืออาศัยอยู่ในเขตท้องที่ใดซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเมื่อได้ประกาศห้ามเมื่อใดแล้ว ให้ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตนั้นออกไปจากเขตนั้นภายในกำหนดเวลาที่ได้ประกาศกำหนด
  • (8) ที่จะห้ามบุคคลกระทำหรือมีซึ่งกิจการหรือสิ่งอื่นใดได้ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้กำหนดไว้ว่าควรต้องห้ามในเวลาที่ได้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก

การยึด(มาตรา 12)
     
        บรรดาสิ่งซึ่งกล่าวไว้ ในมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ นั้น ถ้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นเป็นการจำเป็น จะยึดไว้ชั่วคราวเพื่อมิให้เป็นประโยชน์แก่ราชศัตรู หรือเพื่อเป็นประโยชน์แก่ราชการทหาร ก็มีอำนาจยึดได้

การเข้าอาศัย(มาตรา 13)
       อำนาจการเข้าพักอาศัยนั้น คือ ที่อาศัยใด ๆ ซึ่งราชการทหารเห็นจำเป็นจะใช้เป็นประโยชน์ในราชการทหารแล้ว มีอำนาจอาศัยได้ทุกแห่ง

การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ (มาตรา 14)

        การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่นั้น ให้มีอำนาจกระทำได้ดังนี้
  • (1) ถ้าแม้การสงครามหรือรบสู้เป็นรองราชศัตรู มีอำนาจที่จะเผาบ้าน และสิ่งซึ่งเห็นว่าจะเป็นกำลังแก่ราชศัตรู เมื่อกรมกองทหารถอยไปแล้ว หรือถ้าแม้ว่าสิ่งใด ๆ อยู่ในที่ซึ่งกีดกับการสู้รบก็ทำลายได้ทั้งสิ้น
  • (2) มีอำนาจที่จะสร้างที่มั่น หรือดัดแปลงภูมิประเทศหรือหมู่บ้าน เมือง สำหรับการต่อสู้ราชศัตรู หรือเตรียมการป้องกันรักษา ตามความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ทุกอย่าง

การขับไล่ (มาตรา 15)
         ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอาศัยเป็นหลักฐาน หรือเป็นผู้มาอาศัยในตำบลนั้นชั่วคราว เมื่อมีความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดหรือจำเป็นแล้ว มีอำนาจที่จะขับไล่ผู้นั้นให้ออกไปจากเมืองหรือตำบลนั้นได้

          มาตรา 15 ทวิ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใดจะเป็นราชศัตรูหรือได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจกักตัวบุคคลนั้นไว้เพื่อการสอบถามหรือตามความจำเป็นของทางราชการทหารได้ แต่ต้องกักไว้ไม่เกินกว่า 7 วัน

การร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้ (มาตรา 16)

        ความเสียหายซึ่งอาจบังเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในมาตรา 8 และมาตรา 15 บุคคลหรือบริษัทใด ๆ จะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย เพราะอำนาจทั้งปวงที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ปฏิบัติและดำเนินการตามกฎอัยการศึกนี้ เป็นการสำหรับป้องกันพระมหากษัตริย์ ชาติ ศาสนา ด้วยกำลังทหารให้ดำรงคงอยู่ในความเจริญรุ่งเรืองเป็นอิสรภาพ และสงบเรียบร้อยปราศจากราชศัตรูภายนอกและภายใน

"เตี้ยหนองเตย" คอนเฟิร์ม! ก้มดูดเลียน้ำลาย "ลุงกำนัน" ไม่เคยพูด "ครั้งสุดท้าย"






           วันนี้ (19 พ.ค.) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. กล่าวระหว่างการเดินเท้ารณรงค์เชิญชวนประชาชนให้ออกมาต่อสู้ครั้งสุดท้ายโดยตั้งต้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยว่า ตลอด 2 ข้างทางได้รับการต้อนรับดีมาก จนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยังหลุดปากกว่า ออกมาขนาดนี้ดูไม่ออกว่าจะแพ้ได้อย่างไร คิดว่าบรรยากาศดีกว่าที่เคยเดินก่อนหน้านี้ เพราะแนวทางที่เราเสนอได้รับการยอมรับ วันนี้ ต้องเร่งดำเนินการให้มีนายกรัฐมนตรี แต่คนมีอำนาจคือ สมาชิกวุฒิสภาไม่ทำ หรือไม่รู้จะทำเสร็จเมื่อไหร่ เขาไม่มีเงื่อนเวลา แต่ประชาชนมี โดยเราจะจบให้ได้ในวันจันทร์หน้า

         สำหรับ รัฐมนตรีที่อ้างว่า ต้องอยู่ในตำแหน่ง ไม่รู้เอาข้อกฎหมายอะไรมาอ้าง เป็นการอ้างข้างๆ คูๆ ตามความรู้สึกตนเอง สภาทนายความ บอกแล้วว่า ไม่มีอำนาจใดที่ระบุให้รัฐมนตรีจะมาประชุมแล้วแจกงานกันเอง

         ด้านนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย แกนนำ กปปส. กล่าวว่า ที่คนเสื้อแดงโจมตีว่า นายสุเทพ พูดว่าคครั้งสุดท้ายมาหลายครั้งแล้ว ขอยืนยันว่า นายสุเทพ พูดเพียงครั้งเดียวเมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมาว่า นี่คือนกหวีดครั้งสุดท้าย

กปปส.ปฏิรูปรถเติ้ง! กรีดรถ ขโมยล้อไปตั้งกันกระสุนในม็อบเกลี้ยง 4 เส้น





              ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2557 เวลา 13.00 น.นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายธีระ วงศ์สมุทร หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประธาน ติดตามความก้าวหน้าโครงการประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำบางกรวย และโครงการประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำคลองบางบัวทอง อ.ปากเกร็ด โดยทั้งหมดเดินทางโดยเรือของกรมชลประทาน และขึ้นเรือที่ท่าเรือชลประทาน โดยในระหว่างการเดินทางเจ้าหน้าที่กรมชลประทานได้รายงานให้นายบรรหารทราบว่า ที่กรมชลประทานสามเสนมีกลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้ามาหาตัวนายบรรหาร พร้อมใช้มีดกรีดยางรถส่วนตัวที่นายบรรหารใช้เดินทางทั้ง 4 เส้น เมื่อเสร็จภาระกิจตรวจประตูระบายน้ำที่ อ.ปากเกร็ด นายบรรหารจึงใช้รถที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ให้เดินทางกลับทันทีโดยไม่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน และไม่กลับกรมชลประทานสามเสน

ศาลเพิกถอนหมายจับ "จตุพร" แล้ว นัดให้มาใหม่ 26 พฤษภาคมนี้





           นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช. พร้อมทนายความ เดินทางเพื่อรายงานตัว หลังจากที่เช้าวันเดียวกันนี้ ศาลมีคำสั่งออกหมายจับให้นำตัวนายจตุพร มาสืบพยานจำเลย ในคดีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายจตุพร ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา

           โดยนายจตุพร ประธานนปช.กล่าวถึงเหตุผลที่ไม่ได้เดินทางมาศาลว่าเนื่องจากเกรงเรื่องความไม่ปลอดภัย และต้องดูแลมวลชน นปช. ที่ถนนอักษะ ขณะเดียวกันทราบว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา หลวงปู่พุทธะอิสระ ได้นำมวลชนเดินทางมาศาลอาญายื่นคำร้องเพิกถอนหมายจับคดีกบฎด้วย จึงเกรงว่าอาจจะเกิดการเผชิญหน้ากันตนยืนยันว่าไม่มีเจตนาถ่วงเวลาหรือประวิงคดี เพราะคดีนี้ฝ่ายจำเลยมีตนเป็นพยานเพียงปากเดียว

           ทั้งนี้ภายหลังนายจตุพร เข้ารายงานตัวและชี้แจงเหตุที่ไม่อาจมาเบิกความคดีในช่วงเช้าให้ศาลทราบแล้ว โดยนายจตุพร แถลงต่อศาลยืนยันว่าไม่มีเจตนาประวิงคดี หรือหลบหนี ศาลจึงให้นายจตุพร สาบานต่อศาลว่าจะเดินทางมาเบิกความในวันที่ 26 พ.ค.นี้ตามนัดเดิม

          ขณะที่ศาลพิจารณาคำแถลงยืนยันของนายจตุพร ประกอบคำสาบานตนแล้วเชื่อว่านายจตุพร ไม่มีเจตนาประวิงคดีหรือหลบหนี จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนหมายจับ พร้อมกำชับให้นายจตุพร มาศาลตามนัด โดยเคร่งครัด หากไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุจำเป็น ศาลจะถือว่านายจตุพร ผิดสัญญาประกัน มีเจตนาประวิงเวลา และหลบหนี

          ภายหลังนายจตุพร ประธาน นปช.กล่าวถึงกรณีที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ประกาศว่าจะเข้ามอบตัววันที่ 27 พ.ค.นี้ หากไม่ได้รับชัยชนะการชุมนุมครั้งสุดท้ายวันที่ 26 พ.ค.ว่า ยังไม่เชื่อว่านายสุเทพ จะทำจริง แต่ก็ขอให้นายสุเทพเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับแกนนำคนอื่นๆด้วย

          ด้านนายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของนายจตุพร กล่าวว่า เมื่อนายจตุพร มาแสดงตัวต่อศาล และชี้แจงเหตุผลให้ศาลรับทราบแล้ว ศาลก็ได้เพิกถอนหมายจับดังกล่าวแล้ว โดยให้นายจตุพร มาศาลตามกำหนดนัดสืบพยานจำเลยเดิมในวันที่ 26 พ.ค.นี้ เวลา 09.00 น.ซึ่งเราจะได้เดินทางมาศาลสืบพยานต่อไป

จับการ์ด กปปส.ในขบวนสุเทพ พบอาก้า-กระสุนเพียบ อ้าง "เพื่อนฝากไว้"





             วันนี้เวลาประมาณ 13.45 น.จนท.สส สน ชนะสงคราม ได้ร่วมกันจับกุมตัว นายสุทธิพร คุ้มม่วง อายุ 21 ปี การ์ด กปปส พร้อมของกลาง
  • 1.ปืนอาก้า - ลูกกระสุนปืนอาก้า จำนวน 30 นัด 
  • 2.แก้สน้ำตาแบบขว้าง จำนวน 1 ลูก 
  • 3.ปลอกกระสุนปืน 11 มม 12 ปลอก ,9 มม 25 ปลอก,.32 2 ปลอก,.38 2 ปลอก และ .223 1 ปลอก 
  • 4.มีดพับปลายแหลม จำนวน 2 เล่ม พร้อมผ้าพันคอและบัตร การ์ด กปปส 
          โดยกล่าวหาว่า มีเครื่องกระสุนปืนสงคราม(อาก้า)ฯ,มีเครื่องยุทธภัณฑ์ฯและพกพาอาวุธมีดฯ อันเป็นการฝ่าฝืน พรบ ความมั่นคงฯ จับกุมได้ที่บริเวณ ถ.ข้าวสารตัดตะนาว เบื้องต้นผู้ต้องหายอมรับว่าเป็นการ์ดชุดปทุมวัน ประจำจุดที่เต็นท์หน้าสภาทนายความ และได้ดูแลความปลอดภัยให้ผู้ชุมนุมที่เดินผ่านมาแยกคอกวัว กระทั่ง ผชน. เดินผ่านไป จึงได้แวะมารับเพื่อนใน ถนนข้าวสารและถูกจับกุมตัว แต่ของกลางที่พบอ้างว่าเป็นของเพื่อนการ์ดที่ฝากไว้