วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ตราบาปของ “จีนไหหลำ” ในไทยกับ 6 ตุลา

ตราบาปของจีนไหหลำในไทยกับ 6 ตุลา ทมิฬ มาถึง 49-53 อำมหิต

        ผมเป็นลูกครึ่ง ครึ่งหนึ่งในตัวมาจาก ไทย ครึ่งหนึ่งมาจากจีน เชื้อสายไหหลำ
ที่มีทั้งความภูมิใจในหลายสิ่งที่บรรพชนเชื้อสายเดียวกัน ซึ่งมาอาศัยบนแผ่นดินนี้ได้ทำเอาไว้ให้กับบ้านเมือง

        ไม่ต้องเอ่ยไปไกล ถึง เจ้าพระยาพระคลังหน ผู้เรียบเรียงสามก๊กซึ่งก่อนจะมาเป็นเจ้าพระยาฯ ได้ทำอะไรลงไปบ้างครั้งเป็นคุณหลวงมาถึงยุค 2548 ปลายปี เรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน

       เจ๊กลิ้ม  “ลูกจีนแท้ๆ ที่ไม่ได้มีสายเลือดไทยเลยแม้แต่หยดเดียว”  ได้ลุกขึ้นชักชวนผู้คนกระทำการปั่นป่วนบ้านเมือง กระทำการต่างๆ จนแผ่นดินจนย่อยยับ  ในนามของ พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย ไม่อาจปฏิเสธได้ ว่า เขาคือ คนจากชั้นล่างธรรมดาๆ ที่ก่อการสะเทือนฟ้าสะเทือนดิน

       ไม่ว่า 10 เมษา ที่แยกคอกวัว หรือ 19 พฤษภาทมิฬ จะเกิดจากน้ำมือใครแต่ปฏิเสธไม่ได้ ว่า มันเป็นผลมาจาก การก่อการปั่นป่วนบ้านเมือง จาก “ลูกจีนแท้ๆ เชื้อสายไหหลำคนหนึ่ง ที่ไม่มีสายเลืิดไทยเลย แม้แต่หยดเดียว”แต่ อ้างว่า เขาคือ คนไทย ทำเพื่อชาติ เพื่อแผ่นดิน



         ย้อนหลัง กลับไปที่ 6 ตุลาคม “ดาวสยาม” สื่อที่เป็นกระบอกเสียงของ ทรราชย์ ช่วยกันปลุกปั่น ระดม ยุยง สร้างเงื่อนไขหลอกลวง มดเท็จต่าง ๆ ทั้งยุแหย่ให้คนไทยจำนวนมากโกรธแค้น “ในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง” จนในที่สุด จากการเรียกร้องประชาธิปไตยที่ถูกต้อง เป็นธรรมกลับเป็นกลียุค ฝ่ายประชาธิปไตยถูกเข่นฆ่าอย่า โหดร้าย ป่าเถื่อน อำมหิต จากคนที่ร่วมแผ่นดินเดียวกัน

        ภาพของ เด็กหนุ่ม ลิ้นจุกปาก ถูกห้อยแขวนคอกลางอากาศ ใต้ต้นมะขาม สนามหลวง เหลวเละไปทั้งตัว จากการถูกฟาดตี ท่ามกลางเสียง โห่ร้อง ชมชื่นฆาตรกร ที่รุมล้อมทารุณกรรมต่อทรากร่างนั้น  นั่นมาจาก ฝีมือของสื่อค่ายที่มีเจ้าของ “ที่มาจากคนจีนไหหลำคนหนึ่ง”  คนจีนไหหลำคนนั้น “ไม่มีเลือดไทยแม้แต่หยดเดียว” เช่นเดียวกับ ลิ้ม แห่ง พันธมิตรในปัจจุบัน

       ไม่ต่างอะไรกันเลย “เจ้าพ่อสื่อ ผู้ยิ่งใหญ่ อหังการณ์” ครั้ง 6 ตุลา
กับ “เจ้าพ่อสื่อผู้ยิ่งใหญ่ แห่งพันธมิตร ในปัจจุบัน”




      ความจดจำที่น่าอับอาย ต่อ “ผู้ซึ่งไม่มีสายเลือดไทยแม้แต่หยดเดียว จีนไหหลำ ในซึกของฝ่ายฆาตรกร” 


หรือ นี่... คือกงกรรมกงกวียน ที่มีมาตั้งแต่สร้างกรุง ?

เงินกู้ปริศนาโผล่ 328 ล้าน

"เงินกู้ปริศนาโผล่ 328 ล้าน" สุเทพเอาเงินนี้ไปใช้ทำอะไร!


ในบรรดา "บัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน" ของรัฐมนตรี กรณีที่ ครม.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี ในวันที่ 9 ส.ค.2555 (ตามกฎหมายว่ารัฐมนตรีจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช.รวม 3 ครั้ง ได้แก่ 1.เข้ารับตำแหน่ง 2.พ้นจากตำแหน่ง และ 3.พ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี) ที่ สำนักงาน ป.ป.ช.นำมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนล่าสุด แน่นอนว่า 1 ในบัญชีทรัพย์สินของบุคคลที่สปอตไลท์จะสาดส่อง นอกจาก “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อดีตนายกรัฐมนตรี
     จะต้องมี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี รวมอยู่ด้วย

     ซึ่งเมื่อพลิกดูข้อมูลทางการเงินดังกล่าวของสุเทพ หลายคนอาจต้องขมวดคิ้วสงสัย เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่นายสุเทพ ยื่นตอนเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ ในวันที่ 9 พ.ย.2553

     ผลปรากฏว่า ผ่านมาเพียงแค่ 1 ปี 8 เดือน นายสุเทพกลับแจ้งต่อ ป.ป.ช.ว่า มีหนี้สินเพิ่มขึ้นกว่า 300 ล้านบาท ทำให้ยอดรวมทรัพย์สิน ติดลบถึง 218,231,189 บาท !

     คำถามก็คือ "หนี้สิน" ก้อนดังกล่าว มีที่มาที่ไปอย่างไร ?

     สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ลองตรวจสอบ โดยนำบัญชีทรัพย์สินที่นายสุเทพยื่นต่อ ป.ป.ช.ทั้ง 3 ครั้ง ได้แก่กรณีเข้ารับตำแหน่ง (19 พ.ย.2553) กรณีพ้นจากตำแหน่ง (10 ส.ค.2554) และกรณีพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี (9 ส.ค.2555) มาเปรียบเทียบ ก่อนจะได้ร่องรอยเบื้องต้น ดังนี้

     (1) กรณีเข้ารับตำแหน่งรองนายกฯ รอบสอง เมื่อปี พ.ศ.2553 (เนื่องจากนายสุเทพลาออกจากตำแหน่งรองนายกฯ รอบแรก ไปลงเลือกตั้ง ส.ส.สุราษฎร์ธานีใหม่ หลังมีปัญหาเรื่องการถือครองหุ้นที่มีสัมปทานกับหน่วยงานของรัฐ) นายสุเทพระบุว่า มีทรัพย์สิน 111,092,190 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 31,609,820 บาท ที่ดิน 77,507,250 บาท และโรงเรือนกับสิ่งปลูกสร้าง 1,975,120 บาท มีหนี้สิน 29,484,994 บาท แบ่งเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 728,850 บาท เงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 28,756,143 บาท

     เวลานั้น นายสุเทพยังแจ้ง ป.ป.ช.ว่า มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 81,607,195 บาท

     (2) กรณีพ้นจากตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2554 นายสุเทพระบุว่า มีทรัพย์สิน 140,378,599 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 16,709,789 บาท ที่ดิน 96,103,650 บาท โรงเรียนกับสิ่งปลูกสร้าง 1,975,120 บาท และยานพาหนะ 25,590,000 บาท มีหนี้สิน 44,735,294 บาท แบ่งเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 521,257 บาท และเงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 44,214,036 บาท

     หลังเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศ ที่พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ยับเยิน นายสุเทพก็ยังแจ้งต่อ ป.ป.ช.ว่า มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน ถึง 95,643,265 บาท มากกว่าเดิมราว 14 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของที่ดินและยานพาหนะ

     (3) กรณีพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี ในปี พ.ศ.2555 นายสุเทพระบุว่า มีทรัพย์สิน 210,954,501 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 6,385,131 บาท ที่ดิน 177,004,250 บาท โรงเรือนกับสิ่งปลูกสร้าง 1,975,120 บาท และยานพาหนะ 25,590,000 บาท มีหนี้สิน 347,578,495 บาท แบ่งเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 247,847 บาท เงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 267,330,647 บาท และหนี้สินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ 80,000,000 บาท

     แปลง่ายๆ ว่า หลังพ้นตำแหน่งครบ 1 ปี แม้ "ทรัพย์สิน" ของนายสุเทพจะเพิ่มขึ้นบ้าง โดยเฉพาะในส่วนของที่ดินกว่า 80 ล้านบาท (ถึงเงินฝากจะลดลงราว 10 ล้านบาท)

     แต่ "หนี้สิน" จากการกู้เงินที่เพิ่มขึ้นมากกว่า แบ่งเป็นเงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ที่เพิ่มขึ้นกว่า 223 ล้านบาท และหนี้สินที่มีหลักฐานเป็นหนังสืออีก 80 ล้านบาท

     ทำให้นายสุเทพแจ้งต่อ ป.ป.ช.ว่ามีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินเป็นครั้งแรก ที่ 136,623,994 บาท !

     เมื่อเจาะลึกลงไปถึงที่มาของ "เงินกู้ปริศนา" ดังกล่าว ก็พบว่ามีที่มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่

     -วันที่ 15 มิ.ย.2554 นายสุเทพทำสัญญากู้เงินจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สำนักอโศก เป็นเงิน 20,202,021 บาท

     -วันที่ 21 ก.ค.2554 นายสุเทพทำหนังสือสัญญากู้เงินจากบริษัท ศรีสุวรรณฟาร์ม จำกัด (ที่มีนายแทน เทือกสุบรรณ บุตรชายคนโตของนายสุเทพเป็นเจ้าของ) เป็นเงิน 80,000,000 บาท

     -วันที่ 19 เม.ย.2555 นายสุเทพทำสัญญากู้เงินจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นเงิน 228,368,706 บาท

     ในขณะที่หนี้สินมีมากขึ้น แต่ทรัพย์สินกลับไม่เพิ่มตามอย่างสมดุล เป็นเหตุให้นายสุเทพแจ้งตัวเลขในบัญชีต่อ ป.ป.ช.แบบ "ติดลบ" จึงน่าสนใจว่า ขุนพลพรรคประชาธิปัตย์รายนี้
 นำ "เงินกู้ปริศนา" ทั้ง 328 ล้านบาทดังกล่าว ไปใช้ทำอะไรกันแน่ !!!

ขอขอบคุณ สำนักข่าวอิศรา

สัมมนาศาลICC ม.ขอนแก่น

สัมมนาศาลICC ม.ขอนแก่น  เสาร์ ที่ 6 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2555 
ดร.จารุพรรณ สัมมนาศาลICC ม.ขอนแก่น



อ.กิตติบดี สัมมนาศาลICC ม.ขอนแก่น



อ.ตุ้ม สัมมนาศาลICC ม.ขอนแก่น



ดร.ปิยบุตร สัมมนาศาลICC ม.ขอนแก่น



ดร.สุนัย สัมมนาศาลICC ม.ขอนแก่น

47 ปี "จตุพร พรหมพันธุ์"

ประชาชนนับพันร่วมงานวันเกิด 47 ปี "จตุพร พรหมพันธุ์" คึกคัก



         (วันที่ 5 ต.ค.2555) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงแรม เค รีสอร์ท เลียบทางด่วนรามอินทรา นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. ได้จัดงานวันเกิดครบรอบ 47 ปี ภายใต้ ชื่องาน 47 ปีหัวใจผูกพัน จตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งบรรยากาศในงาน ได้มีแจกเสื้อยืดคอกลมสีแดง สกรีนภาพนายจตุพร และข้อความ 5 ต.ค.2555 รวมทั้งแจกซีดีเพลงอัลบั้มธรรมชาติไพร่ของ นายจตุพร ให้กับผู้ที่มาร่วมงาน โดยภายในงานมีการจัดงานทั้งด้านในและนอกโรงแรม โดยภายในห้องจัดเลี้ยงจะเป็นโต๊ะจีน สำหรับแขกวีไอพี และผู้ที่มาร่วมงานจำนวนหนึ่ง ส่วนนอกโรงแรม จะมีเต็นท์ พร้อมโต๊ะ เก้าอี้ ซึ่งเลี้ยงอาหารแบบบุฟเฟ่ มีทั้งอาหารไทย-อีสาน-เหนือ-ใต้-ญี่ปุ่น ซีฟู้ด ชา กาแฟ น้ำอัดลม ของหวาน ผลไม้ ตามซุ้มต่างๆ ของหน่วยงานหรือบุคคลต่างๆ คอยบริการให้กับผู้ที่มาร่วมงาน พร้อมกันนี้ยังขับกล่อมด้วยเสียงเพลงตลอดงาน จากวงดนตรีหลายวง ซึ่งบรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างคึกคัก ท่ามกลางคนเสื้อแดงเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก เต็มพื้นที่บริเวณโรงแรม ทั้งนี้มีจอโปรเจ็คเตอร์ถ่ายทอดบรรยากาศงานภายในห้องจัดเลี้ยงให้ผู้ร่วมงาน ด้านนอกรับชมด้วย



          จาก นั้นเมื่อเวลา 17.15 น.นายจตุพร ได้เดินทางมาถึงงาน ซึ่งมีคนเสื้อแดง โห่ร้อง สุขสันข์วันเกิด พร้อมทั้งเดินเข้าไปขอถ่ายภาพและมอบของขวัญให้ ส่วนแขกที่มาร่วมงาน มีทั้ง รัฐมนตรี ส.ส. แกนนำนปช. อาทิ นายวีระกานต์ มุสิกพงษ์ แกนนำนปช. นายประแสง มงคลศิริ รองประธานนปช. นายพิพัฒน์ชัย ไพบูลย์ แกนนำคนเสื้อแดง นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ นายยศวริศ ชูกล่อม(เจ๋ง ดอกจิก) แกนนำคนเสื้อแดง นอกจากนี้ยังมีแขกพิเศษ อย่างนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร มาร่วมงานด้วย  
























(ขอขอบคุณภาพจาก NNA News)

"ภารกิจสืบสานเจตนารมณ์ต่อต้านเผด็จการ 

สร้างสรรค์ประชาธิปไตยยังไม่เสร็จสิ้น"


      ปาฐกถา  36 ปี 6 ตุลา 2519 : ภารกิจสืบสานเจตนารมณ์ต่อต้านเผด็จการ สร้างสรรค์ประชาธิปไตยยังไม่เสร็จสิ้น โดย นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช

เช้ามืดของวันที่ 6 ตุลาคม 2519  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลาดวิชา สัญญลักษณ์แห่งเสรีภาพทางปัญญา ได้แปรเปลี่ยนเป็นทุ่งสังหารอันหฤโหด  ที่เข่นฆ่าทำร้ายผู้ชุมนุมต่อต้านเผด็จการกว่า 3000 คน โดยกองกำลังทหารตำรวจอาวุธครบมือ   ระเบิด กระสุนปืน และแก๊สน้ำตา ได้ถาโถมสาดใส่ผู้ชุมนุมอย่างไม่ปรานี ตั้งแต่ 5.30 น.

         จวบจนแดดเริ่มจะแก่กล้าเมื่อเวลา 9.00น.  ยังผลให้วีรชนผู้กล้าเสียชีวิตจากอาวุธสงครามอย่างโหดร้ายทารุณ บ้างก็ถูกทุบตีและแขวนคอตาย บ้างก็ถูกราดน้ำมันจุดไฟเผาทั้งที่ยังไม่สิ้นใจ บางรายก็ถูกลิ่มตอกอก หรือ อวัยวะส่วนอื่นจนสิ้นใจ เสียชีวิตรวมทั้งสิ้นหลายสิบราย บาดเจ็บอีกหลายร้อยราย
ส่วนที่เหลือก็ถูกจับกุมคุมขัง โดยจับถอดเสื้อผ้าทั้งชาย-หญิง เหลือเพียงกางเกง-เสื้อชั้นใน ถูกต้อนขึ้นรถบรรทุก รถบัส ไปคุมขังเยี่ยงอาชญากรที่มีโทษอุกฉกรรจ์  โดยผู้ชุมนุมถูกใส่ร้ายป้ายสี ด้วยการแต่งเติมภาพกิจกรรมระหว่างการเคลื่อนไหวชุมนุม นำลงตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์บางฉบับ กล่าวหาผู้ชุมนุมว่ามุ่งร้ายต่อองค์รัชทายาท แล้วปฏิบัติการล้อมปราบผู้ร่วมชุมนุมอย่างโหดเหี้ยมด้วยอาวุธสงคราม ติดตามด้วยการทำรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช โดยมีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าในวันเดียวกัน

        หลังจากนั้นก็ติดตามกวาดล้างพวกที่เหลือ ด้วยการยัดข้อหา"ภัยสังคม" ทำให้ฝ่ายประชาธิปไตยต้องหลบซ่อน อำพรางตัว บ้างก็หลบหนีเข้าเขตป่าเขา ต่อสู้กับอำนาจรัฐด้วยกำลังอาวุธร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
 
         ความขัดแย้งแตกแยกในสังคมยังดำรงอยู่อีกหลายปี จนรัฐบาลต่อๆมาต้องประกาศใช้นโยบาย 66/2523 นิรโทษกรรม ให้โอกาสผู้รักชาติรักประชาธิปไตยที่ถูกข้อหา"ขบถ"ทะยอยกลับออกมาดำเนินชีวิตเยี่ยงปกติชน

        ตุลาคม 2519 หลังชัยชนะของการต่อสู้หลั่งเลือดเพื่อประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพฤษภาคม 2535 และบรรยากาศเริ่มเปิดกว้างให้พลังประชาธิปไตย เพื่อนร่วมอุดมการณ์ที่รอดชีวิตจากยุค 6 ตุลาคม 2519 ได้ร่วมจัดงาน"20 ปี 6 ตุลาคม"ขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกครั้ง

         และประสบผลสำเร็จในการกอบกู้พลิกภาพลักษณ์ของ"วีรชนและวีรกรรม 6 ตุลาคม 2519" จาก "ขบถ" เป็น"วีรชนประชาธิปไตย" และเชื่อว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนจะยังไม่จบสิ้น หากแต่พัฒนาต่อเนื่องเหมือนสายธารแห่งประวัติศาสตร์ เริ่มตั้งแต่การอภิวัฒน์ 2475 , การจัดสร้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,การต่อสู้คัดค้านเลือกตั้งสกปรก 2500, เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ,6 ตุลาคม 2519 และพฤษภาคม 2535   จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสร้างอนุสรณ์สถานแห่ง"การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ในรูปงานศิลปะที่สะท้อนการต่อสู้ที่ต่อเนื่องเป็นสายธารดังได้เห็นอยู่นี้

        ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2555 ,80 ปีหลังการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ,39 ปีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ,36 ปีหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ,20 ปีหลังพฤษภาคม 2535  การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อต้านอำนาจเผด็จการที่แลกมาด้วยเลือดเนื้อและชีวิตของประชาชนยังไม่เสร็จสิ้น  ประชาชนที่เชื่อมั่นในพลังประชาธิปไตยได้สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าร่วมต่อสู้ต่อไป

         การยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ด้วยรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 โดยที่ผลพวงของการรัฐประหารยังดำรงอยู่  ได้เร่งเร้าให้ประชาชนที่ยึดมั่นประชาธิปไตยเข้าร่วมเคลื่อนไหวอย่างอาจหาญเมื่อเดือนเมษายน 2552 และเมษายน-พฤษภาคม 2553 จนถูกปราบปรามอย่างเหี้ยมโหดไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าครั้งที่ผ่านๆมา ต่างกันที่ครั้งนี้วีรชนคนกล้าฝ่ายประชาชนแตกต่างออกไปจากในอดีต ผู้เข้าชุมนุมไม่จำกัดเฉพาะปัญญาชนคนหนุ่มสาวเหมือนเมื่อ 36 ปีที่แล้ว แต่ขยายขอบเขตออกไปถึงผู้คนตามท้องไร่ท้องนาที่มีการส่งตัวแทนสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาร่วมชุมนุม ทั้งยังร่วมติดตามการเคลื่อนไหวผ่านสื่อทุกรูปแบบ ในขอบเขตทั่วประเทศและทั่วโลก

         ขณะเดียวกัน คุณภาพของผู้เข้าร่วมชุมนุมก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เยาวชนนักเรียนนักศึกษาไม่ต้องปลุกระดมชาวไร่ชาวนาให้เห็นปัญหาดังเช่นในอดีตอีกแล้ว เพราะพวกเขากลับเป็นผู้รู้คุณค่าจากเสรีภาพและประชาธิปไตยที่เขาเคยลิ้มลองและได้รับความสุขด้วยตนเอง จนเกิดเป็นความหวงแหนเมื่อถูกแย่งชิงไป นักศึกษาปัญญาชนต่างหากที่ต้องไปเรียนรู้จากพวกเขา 

        พวกเขาต้องการเลือกที่จะมีเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสาร เสรีภาพในการตัดสินใจสร้างรายได้เพิ่มจากทุกโอกาสที่อำนวยให้ เสรีภาพที่จะเลือกลงทุนเพื่อสร้างรายได้จากทุนของเขาเอง เลือกโอกาสที่จะได้รับบริกาที่ดีจากรัฐที่เก็บภาษีไปจากเขา จึงตัดสินใจเลือกผู้แทนราษฏรของตนไปแย่งชิงอำนาจรัฐเพื่อทำประโยชน์ให้กลุ่มตนได้อย่างแท้จริง ตามวิถีทางประชาธิปไตย

       นี่ เป็นข้อพิสูจน์ว่าคุณค่าการเสียสละของเหล่าวีรชนประชาธิปไตยที่สั่งสมกันไม่ เคยสูญเปล่า  แต่ฝ่ายนิยมเผด็จการต่างหากที่ไม่อาจเข้าใจการเปลี่ยนแปลงนี้ และยังคงฝืนรักษาอำนาจตามวิถีเดิมๆ เลือกใช้กลไกอำนาจรัฐที่ใช้อาวุธหรือใช้กฎหมายแบบเลือกปฏิบัติ ข่มเหงและปราบปรามประชาชนต่อไป โดยไม่รู้ว่านั่นคือการใส่ปุ๋ยเร่งความเติบโตของพลังประชาธิปไตย ภารกิจสืบสานเจตนารมณ์ต่อต้านเผด็จการ สร้างสรรค์ประชาธิปไตยจึงยังไม่เสร็จสิ้น

        ขอเราจงร่วมกันไว้อาลัย รำลึกวีรกรรมของวีรชน 6 ตุลา และวีรชนประชาธิปไตยอื่นๆที่เสียสละชีวิตหรือพิการจากวีรกรรมต่างๆ ด้วยการสืบสานเจตนารมณ์การต่อสู้กับเผด็จการ เพื่อประชาธิปไตย สร้างสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค ยุติธรรม นิติธรรม ขจัดความเหลื่อมล้ำต่ำสูง สร้างโอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาส ยึดมั่นในประโยชน์สุขของผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศนี้ต่อไป
ด้วยจิตคารวะ
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช

ชุมนุมใหญ่ 20 คน

"องค์การพิทักษ์สยาม" สุดคึกคัก! 

ไล่นักการเมืองและปกป้องสถาบันฯ มาแค่ 20 คน







Go6TV (6 ตุลาคม 2555)  พลเอกบุญเลิศ แก้วประสิทธ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่าย ได้จัดการสัมมนาประกาสปฏิญญา “ร่วมสร้างชาติ ขจัดความขัดแย้ง ต้านคอรับชั่น” โดยในงานดังกล่าวได้ออกประกาศเจตนารมณ์สำคัญ 3 ข้อคือ  
1. การต่อต้านการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ทุกรุปแบบ  
2.การต่อต้านนักการเมืองเลวโกงกิน  
 3.การต่อต้านการคอรัปชั่นทุกรูปแบบ โดยมีโดยมีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 20 คน โดยมีคำประกาศดังต่อไปนี้
ประกาศเจตนารมณ์องค์การพิทักษ์สยาม
นับตั้งแต่รัฐบาลบริหารประเทศมาเป็นเวลาปีเศษ ได้ก่อเกิดวิกฤตใหญ๋ของประเทศอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน องค์การพิทักษษ์สยามได้รับฟังความตชคิดเห็นจากประชาชน นักธุรกิจ ข้าราชการทหารตำรวจ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีบุคคล กลุ่มบุคคลจำนวนไม่น้อย ได้เข้ามาระบายความอึดอัดให้ฟังอย่างต่อเนื่อง
เรื่องหลักใหญ่ๆ 3 เรื่องที่ประชานหลากหลายอาชีพทุกวงการทนไม่ได้คือ
         1. สถาบันหลักของชาติที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ถูกบ่อนทำลายและจาบจ้วงมาอย่างต่อเนื่อง โดยบางฝ่าย และบางส่วนมีความเกี่ยวข้องกับรํฐบาล โดยที่รัฐบาลไม่ดำเนินการจัดการอย่างจริงจัง และมีแนวโน้มทวีมากยิ่งขึ้นทุกวัน
          2. นักการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศ นอกจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาหลักของชาติได้ แล้วยังกลับอาศัยอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติสร้างอำนาจและความร่ำรวยเพิ่มขึ้น บนความเดือกร้อนทุกข์ยากของประชาชน และสร้างวิกฤตให้กับประเทศชาติถึงขั้นใกล้วิบัติล่มจม
         3. เกิดการทุจริตคอรัปชั่นทุกระดับในรัฐบาล โดยเฉพาะรัฐมนตรีและบุคคลที่เป็นเครือญาติของนายกรัฐมนตรีและพี่ชาย โดยเฉพาะอภิมหาโครงการณ์ ในการแก้ปัญหาน้ำท่วม และโครงการรับจำนำข้าวจากนโญบายประชานิยม ที่ใช้งบประมาณหลายแสนล้านบาท
          นอกจากประชนอึดอัด จนถึงขั้นทนไม่ได้แล้ว บรรดาข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ ต่างเอือมระอากับพฤติกรรมการแทรกแซงข้าราชการของนักการเมืองบ้าอำนาจ โดยมีลักษณะเหยีดหยามและหมิ่นศักดิ์ศรีของข้าราชการอย่างหนัก
           จากสภาพดังกล่าว ทางองค์การพิทักษ์สยามในฐานะตัวแทนของประชาชนทุกวงการที่ต้องพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศ โดยเฉพาะการปกป้องรักษาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข จึงต้องออกมาแสดงเจตนารมณ์ให้กับประชนทั่งประเทศให้รับทราบ เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาใหญ่ทั้ง 3 โดยด่วน ทางองการพิทักษ์สยบาม จะเฝ้าติดตามการดำเนินการของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด และจะมีการชุมนุมใหญ่ ในวันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม 2555 เวลา 10.00 น ณ ราชตฤณนามัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) เพื่อแสดงท่าทีที่ชัดเจนต่อไป โดยในระหว่างนี้ ทางองค์การพิทักษ์สยามได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชานวงการต่างๆ พร้อมทั้งและเปลี่ยนความคิดเห็นกัลองค์การและหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ได้เกิดความคิดเห็นที่เป็นเอกภาพ โดยขอมติจากที่ประชุมใหญ่
ทางองค์การพิทักษ์สยามมีความเห็นร่วมกันว่า
1 ภารกิจดังกล่าวเป็นภารกิจร่วมกันของประชาชนผู้รักชาติ ศาสน์กษัตริย์ และ
2. การที่จะแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศชาติได้อย่างแท้จริงนั้น จำเป็นต้งออาศัยพลังสามัคคีของทุกฝ่ายอันกว้างใหญ่ไพศาลที่เป็นเอกภาพ องค์การณ์พิทักษ์สยาม จึงขอประกาศเจตนารมณ์ มาให้ทราบทั่วกัน
ด้วยรักและห่วงใยในแผ่นดิน
พลเอกบุญเลิศ แก้วประสิทธ์
ประธานองค์การพิทักษ์สยาม
วันที่ 6 ตุลาคม 2555

ข้าวนี้นะมีรสให้ชนชิมทุกชั้นชน เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคา

ำนำข้าวเพื่อใคร อจ.นิด้า-มธ.เฉลย ใครได้-ใครเสียประโยชน์ ?

คอลัมน์ การเมือง ในมติชน ออนไลน์ วันอังคารที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 10:20:50 น.


       มาตรการ "จำนำข้าว" ถูกต่อต้านมาตั้งแต่พรรคเพื่อไทย ชูเป็นหนึ่งในนโยบายที่ใช้เป็นประเด็นหาเสียงเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554  ด้วยเหตุผลว่า ในอดีต โครงการนี้เปิดโอกาสให้เกิดการทุจริต เงินในโครงการนี้จะรั่วไหลจำนวนมาก  ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ย้ำว่า ต้อง "ประกันราคาข้าว" เท่านั้นชาวนาถึงจะได้ประโยชน์  แต่พรรคเพื่อไทยยืนยันจะใช้นโยบายนี้มาตลอดเช่นกัน

      ผลคือ พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 อย่างถล่มทลาย  
มาตรการจำนำข้าวจึงเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผลการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 อย่างชัดเจน และมันเป็นความชัดเจนที่พรรคซึ่งไม่ค่อยชนะเลือกตั้งอาจไม่เข้าใจ


       การจำนำข้าว มีจุดเด่นที่ "รัฐ" รับซื้อข้าวทั้งหมด ในราคาที่กำหนดไว้ 1.5-2 หมื่นบาท  ทำให้กลุ่มธุรกิจที่เคยทำกำไรจากราคาข้าวที่ขึ้นๆ ลงๆ เสียประโยชน์มหาศาล ในแง่หนึ่ง มาตรการนี้ เท่ากับเปลี่ยนโครงสร้างการซื้อขายข้าวเกือบทั้งระบบ  ผู้ที่ลืมตาอ้าปาก ล้างหนี้ได้ ย่อมเป็นชาวนา  เป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญในชนบท แหล่งปลูกข้าว ในวิถีชีวิตของชาวนา

       ขณะที่คนเมืองผู้บริโภคข้าว ได้ยินแต่ข่าวร้ายจากนักธุรกิจค้าข้าว ข่าวร้ายจากนักวิชาการบางกลุ่ม  ข่าวร้ายที่ระบุว่า มีการทุจริต โกง ข้าวที่ไปอยู่ในมือรัฐบาลมีจำนวนมาก และราคาสูง ทำให้ไม่สามารถขายหรือระบายออกไปได้  ข่าวที่ระบุว่า ตลาดซื้อขายล่วงหน้าเสียหาย เพราะขายล่วงหน้าเอาไว้ในราคาถูก แต่ต้องซื้อข้าวราคาแพงไปส่งมอบ  ข่าวจาก "เสียงอเมริกา" หรือวอยซ์ออฟอเมริกา ระบุว่า มาตรการนี้ทำให้ไทยสูญเสียตำแหน่งผู้ส่งข้าวมากที่สุดให้เวียดนามไปแล้ว


        แม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตอกย้ำมาตลอดว่า การจำนำข้าวเป็นโครงการโคตรโกง ทุจริตทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทาง  แต่ สุดท้าย กลับเป็นนักวิชาการจากนิด้า หรือสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และธรรมศาสตร์บางส่วน ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุติโครงการนี้  เป็นการเคลื่อนไหวที่เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง  ท่ามกลางคำถามว่า หากจำนำข้าวโคตรโกงจริง ทำไมไม่แก้ไขที่ต้นเหตุคือการทุจริต แทนที่จะล้มทั้งโครงการ

        ความเห็นจาก นายวิโรจน์ อาลี แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็น่าสนใจ  นายวิโรจน์กล่าวว่า หลักคิดเรื่องการไม่เข้าไปแทรกแซงราคาสินค้าในท้องตลาดนั้น เป็นโลกในอุดมคติ ไม่มีประเทศไหนในโลกทำได้  หลายประเทศก็เข้าไปแทรกแซงสินค้าเกษตรเช่นกัน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรของเขา แม้กระทั่งสหภาพยุโรปยังใช้วิธีการนี้เช่นกัน  
 
         ขอตั้งข้อสังเกตว่าเพราะเหตุใดกลุ่มนักวิชาการกลุ่มนี้จึงออกมาคัดค้านเฉพาะ โครงการรับจำนำข้าว ทั้งที่ความเป็นจริงมีอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นที่กลุ่มทุนตามระบบทุนนิยมผูกขาดการค้า แต่กลับไม่ไปคัดค้านกั

กรณีจำนำข้าว ชี้ให้เห็นปัญหาหลายประการ  
 
         ปัญหาของรัฐบาล อาจจะอยู่ที่ความมั่นใจว่า ชาวนาพอใจมาตรการจำนำข้าว จึงไม่มีความพยายามจะสร้างความกระจ่างชี้แจงให้สังคมเห็นภาพ ปัญหาของข่าวสารด้านเศรษฐกิจ ถูกยึดกุมอยู่โดยเครือข่ายธุรกิจและนักการเมือง  ขณะเดียวกัน ไม่มีข่าวจากชาวนาว่า พอใจมาตรการแค่ไหน อยากให้ปรับปรุงแก้ไข มีการรั่วไหลอย่างไร  
การตอบโต้ระหว่างฝ่ายคัดค้าน และเห็นด้วย ยังเปิดโปงให้เห็นสภาพบางประการ

           อาทิ คำถามว่า ทำไมเมื่อธนาคาร สถาบันการเงินล้ม รัฐทุ่มเงินเข้าไปอุดอย่างไม่คิดชีวิต ไม่เคยมีใครว่ากล่าว  ครั้นเมื่อนำเงินมาสนับสนุนการจำนำข้าว กลับกลายเป็น "อาชญากรรม" ที่อาจจะต้องขึ้นโรงขึ้นศาล

           หรือความอาลัยอาวรณ์ตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก  ขณะที่ชาวไร่ชาวนา ผู้ผลิตข้าวเลี้ยงคนทั้งโลก แชมป์ตัวจริง กลับเป็นคนขี้โรคทางการเงิน ล้มละลายเรื้อรัง

          ทำ ให้บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่ว่า 
 
         "ข้าวนี้นะมีรส ให้ชนชิมทุกชั้นชน 
         เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว"  
 
         ที่เขียนไว้หลัง พ.ศ.2500
 
         เวลาผ่านไปหลายสิบปี ยังเป็น "อมตะ" ด้วยฝีมือนักการเมือง นักวิชาการและกลุ่มทุนค้าข้าว

6 ตุลา 2519 อย่าลืมฉัน


 ศาสวัต บุญศรี: 6 ตุลา 2519 อย่าลืมฉัน
Posted: 04 Oct 2012 03:51 AM PDT (อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท)

            ในแวดวงภาพยนตร์ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นกระแสหลัก นอกกระแสหรือสายภาพยนตร์สั้น ประเด็นเหตุการณ์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นั้นก็ไม่ได้ต่างออกไปจากความสนใจของมนุษย์ชาวไทยคนอื่น ๆ  ที่ต่างหลงลืมและไม่เห็นความสำคัญ แถมยังจับไปผสมปนเปกับเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ชนิดแยกไม่ออกว่าวันไหนเป็นอย่างไร มีเหตุการณ์อะไรกันแน่ 

            หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาไม่นานนัก กระแสหนังแนวขวาจัดถูกผลิตขึ้นต่อต้านอุดมการณ์คอมมิวนิสต์อย่างหนักหน่วง อาทิ ภาพยนตร์บู๊ล้างผลาญเรื่อง “3 นัด” ผลงานของเสนีย์ โกมารชุน ที่เผยแพร่ในปี 2520 มีคำโปรยหนังว่า “มันเกิดมาไม่มีชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มันต้องตายด้วยมือกู!”

(ดูโปสเตอร์ได้ที่ http://www.thaifilm.com/imgUpload/reply265101_01.jpg) 
http://www.thaifilm.com/imgUpload/reply265101_01.jpg

        แต่ไม่ถึงสามปีหลังจากนั้น เหตุการณ์ 6 ตุลา ก็กลายเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากพูดถึง ไม่มีใครกล้าออกหน้าเป็นผู้รับผิดชอบสั่งการ ไม่มีใครกล้าแสดงตัวรับความดีความชอบ บรรดาผู้อยู่เบื้องหลังพยายามทำให้เหตุการณ์ 6 ตุลาถูกลืมเลือนเพราะแนวโน้มดูท่าจะออกมาว่าฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะ ตำรวจตระเวนชายแดนเหล่านั้นผิดจริง พวกเขาทำกับว่าเหตุการณ์เหล่านั้นควรลืม ๆ กันได้ไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่ควรมารื้อฝอยหาตะเข็บ เราไม่เคยฆ่ากันที่ธรรมศาสตร์และมีวัดพระแก้วเป็นฉากหลัง คนไทยเรารักกัน

            ไม่นานนักเราก็แทบไม่เห็นหนังที่พูดถึงผลกระทบจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เลย จนปัจจุบันหนังที่พูดถึงประวัติศาสตร์ไทยก็แทบไม่เคยแตะต้อง 6 ตุลาคม 19  อาจจะมีบ้างเรื่องสองเรื่องแต่ก็ทำออกมาแง่ตลกขบขันและไม่ได้ให้รายละเอียด ที่สมจริงเท่าใดนัก

             อย่างไรก็ดีใช่ว่าคนทำหนังไทยจะเพิกเฉยต่อประเด็น 6 ตุลา กันไปเสียหมด หนึ่งในผลงานคลาสสิคสายภาพยนตร์สั้นไทยเรื่อง “อย่าลืมฉัน” ถูกผลิตขึ้นมาด้วยต้องการประกาศก้องต่อชาวโลกว่า เหตุการณ์ 6 ตุลานั้นเคยเกิดขึ้นจริง มันเป็นเหตุการณ์รุนแรงอันแสนน่ากลัว เป็นเหตุการณ์ที่มนุษย์กระทำร้ายต่อกันโดยมีรอยยิ้มอย่างมีความสุขเปรอะ เปื้อนเต็มใบหน้า ทว่ามันกลับเป็นเหตุการณ์ที่มีแต่คนอยากลืม และทำเสมือนว่ามันไม่เคยเกิดขึ้น จงลืม จงลืม จงลืม!!! 

            มานัสศักดิ์ ดอกไม้ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ตะโกนบอกผ่านหนังของเขาว่าอย่าลืมความโหดร้ายนี้ อย่าลืมการกระทำอันป่าเถื่อนนี้ แม้ในเรื่องจะไม่มีการเรียกร้องให้รัฐออกมาชำระความจริงให้ถูกต้อง แต่ก็เชื่อเถอะว่าแท้ที่จริง เขาก็ปรารถนาเฉกเช่นเดียวกันให้ความจริงกระจ่าง

            ผลงานของมานัสศักดิ์เรื่องนี้ผลิตขึ้นด้วยต้นทุนและเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่าง จำกัด (และหนังทุกเรื่องของเขาจะเป็นในเชิงทดลองที่ใช้ต้นทุนในการผลิตน้อยมาก ๆ บางเรื่องอยู่ในระดับหลักสิบ) โชคดีที่มานัสศักดิ์ทำงานที่หอภาพยนตร์ เขาจึงมีโอกาสได้พบเจอกับฟุตเตจในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 จำนวนมากที่ถูกบันทึกไว้ เขาจึงได้นำภาพฟุตเตจเหล่านั้นมารื้อสร้างโครงเรื่องแล้วประกอบสร้างใหม่ โดยใช้เสียงบรรยายในสารคดีการไปเจอผีตองเหลืองของสยามสมาคม

             ใน"อย่าลืมฉัน" เราจึงเห็นภาพตลอดทั้งเรื่องเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในธรรมศาสตร์ แต่เสียงบรรยายและซับไตเติลกลับกลายเป็นเรื่องราวของผีตองเหลืองที่สยาม สมาคมไปพบเจอ ดูเริ่มแรกแล้วย่อมรู้สึกว่ามันคนละเรื่องเดียวกัน ทว่าแท้จริงแล้วมานัสศักดิ์ใช้เทคนิคทางภาพยนตร์ประเภทยั่วล้อ แม้เสียงและภาพทางตรงจะไม่ตรงกัน แต่ความหมายโดยนัยแล้วมันแทบจะหลอมรวมเป็นเรื่องเดียว อาทิ บทคำบรรยายกล่าวถึงความงดงามของป่าเขาลำเนาไพร มานัสศักดิ์ก็จัดเรียงภาพอาคารที่กระจกแตก เก้าอี้พัง ให้ตรงกับคำบรรยายช่วงนั้น หรือคำบรรยาย “ทางสยามสมาคมได้นำสิ่งของที่คิดว่าพวกผีตองเหลืองต้องการได้” เมื่อหันมาดูภาพก็พบตำรวจตระเวนชายแดนกำลังยิงปืนต้านอากาศยานเข้าไปในธรรม ศาสตร์พอดี

              เทคนิคเฉกเช่นนี้มิใช่ของใหม่ในโลกภาพยนตร์ แต่มานัสศักดิ์ใช้และทำได้อย่างทรงประสิทธิภาพ การยั่วล้อนั้นมักส่งผลให้คนดูเกิดการถอยห่างออกมาจากหน้าจอและฉุกคิดต่อ เหตุการณ์ที่เห็นในเฟรมภาพมากขึ้น คนดูย่อมตั้งคำถามเบื้องแรกในเชิงเทคนิคว่าเล่าเรื่องอย่างไรกันแน่ และเมื่อภาพที่เห็นในหนังยังคงวนเวียนในหัว คนดูจะพยายามปะติดปะต่อเรื่อง รวมถึงตั้งคำถามกับสิ่งที่ได้พบเห็นว่านี่คือภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนที่อ้างว่าเป็นเมืองพุทธจริงหรือ และก็มีคนดูไม่น้อยที่ไม่เคยรู้จักเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 มาก่อนได้ออกไปหาคำตอบเพิ่มเติมว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่

              อย่าลืมฉัน ได้รับรางวัลรัตน์ เปสตันยี (รางวัลภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยมสายบุคคลทั่วไป) จากมูลนิธิหนังไทยเมื่อปี 2546 และเป็นหนังที่จริงจัง (น่าจะ) เพียงเรื่องเดียวที่ออกมาเรียกร้องให้ชาวไทยอย่างเรา ๆ อย่าได้ลืมเหตุการณ์โศกนาฎกรรมครั้งนี้ เรียกร้องให้อย่าลืม อย่าลืม อย่าลืม!!! และนับแต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายก็ได้ทำให้คนไทยไม่น้อยไม่เคยลืมเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 อีกเลย