รัฐบาลต้องยุติพ.ร.บ. ปรองดอง | |
''ฮิวแมนไรท์วอทช์'' ร้องรัฐบาลต้องยุติพ.ร.บ. ปรองดอง Tue, 2012-05-15 23:09 (อ้างอิงจาก เวบไซท์ประชาไท) ![]() 15 พ.ค. 55 - ฮิวแมนไรท์วอทช์ องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่มีสำนักงานใหญ่อยู่กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา แถลงเรียกร้องรัฐบาลไทยต้องยุติการผลักดันพ.ร.บ. ปรองดอง เพราะเทียบเท่ากับการนิรโทษกรรมความผิดให้ผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่นักวิชาการมองว่าพ.ร.บ.ดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน แต่ควรดูว่าคอป. สามารถค้นหาความจริงได้เพียงพอหรือไม่ เมื่อเวลา 10.30 น. ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอทช์ฝ่ายเอเชียแปซิฟิก ได้แถลงเกี่ยวกับความคืบหน้าในการค้นหาความจริงและการปรองดองจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเมื่อเดือนเม.ย.- พ.ค. 53 โดยชี้ว่าที่ผ่านมาสองปี รัฐบาลยังไม่สามารถหาผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ และมองว่าความพยายามของรัฐบาลในการผลักดันพ.ร.บ.ปรองดอง เป็นความพยายามนิรโทษกรรมผู้ทำความผิด เพื่อกลบเกลื่อนความผิดที่เกิดขึ้น จึงได้เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการออกพ.ร.บ. ปรองดองโดยทันที "กองทัพไม่ควรอยู่เหนือกฎหมาย รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินคดีกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมดังกล่าว ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายไหน หรือตำแหน่งอะไร เพื่อที่จะบรรลุความยุติธรรมให้แก่เหยื่อและยุติวงจรของการงดเว้นการรับผิด (impunity)" แบรด อดัมส์ระบุ อดัมส์กล่าวว่า เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนเม.ย.- พ.ค. 53 ได้นำมาซึ่งการเสียชีวิตจากทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐ โดยทั้งสองฝ่ายต่างเป็นผู้ที่ใช้ความรุนแรง และอ้างแหล่งข่าวภายในรัฐบาลที่เชื่อถือได้ว่า ล่าสุด ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้เพิ่มขึ้นเป็น 102 คนแล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดเผยรายชื่อที่เพิ่มขึ้นมา ![]() ทั้งนี้ จากข้อมูลตัวเลขการเสียชีวิตของศูนย์ข้อมูลผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมเมือเดือนเม.ย.- พ.ค. 2553 (ศปช.) ชี้ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตล่าสุดจากเหตุการณ์ดังกล่าวคือ 93 คน โดยผู้เสียชีวิตรายล่าสุด คือฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง ซึ่งเสียชีวิตลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากการถูกกระสุนลูกหลงในช่วงการสลายการชุมนุมเดือนพ.ค. 53 ย้ำต้องนำผู้กระทำผิดทุกฝ่ายมาลงโทษ แบรด อดัมส์ยังกล่าวถึงการทำงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)ต่อการทำงานค้นหาความจริงด้วยว่า เป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากทั้งสององค์กรไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเท่าที่ควร ในแง่ของงบประมาณ อำนาจ และความไว้เนื้อเชื่อใจจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในฝ่ายต่างๆ ฮิวแมนไรท์วอทช์ ย้ำว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ จำเป็นต้องค้นหาความจริง และไม่ควรกระทำการใดๆ เพื่อล้มล้างความผิดในอดีตที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะจากฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ หรือจากฝ่ายคนเสื้อแดง ที่มีการใช้ความรุนแรงจากกลุ่มคนติดอาวุธ หรือ "ชายชุดดำ" ซึ่งอดัมส์ระบุว่า มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าแกนนำนปช.มีส่วนรู้เห็น และชี้ว่า หลังจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ขึ้นสู่อำนาจในการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม ความพยายามดำเนินคดีผู้กระทำความผิด กลับมุ่งเป้าไปที่เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น แต่กลับละเลยการสืบสวนความรุนแรงจากฝ่ายคนเสื้อแดง "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ขึ้นสู่อำนาจด้วยการสัญญาเหยื่อจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองว่าจะนำมาซึ่งความยุติธรรม พวกเขาควรจะยับยั้งแรงกดดันต่างๆ ที่จะนำไปสู่การฟอกความผิด" อดัมส์ระบุ ทั้งนี้ ในงานดังกล่าว มีนายณัทพัช อัคฮาด น้องชายของพยาบาลกมนเกด อัคฮาด ซึ่งเสียชีวิตในวัดปทุมเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 53 มาร่วมแถลงข่าวด้วย โดยกล่าวความรู้สึกว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการปรองดอง รัฐบาลต้องหาความจริงและเปิดเผยสิ่งที่เกิดขึ้นก่อน เป็นเรื่องสำคัญที่สุด นักวิชาการชี้ ต้องจับตาคอป. เผยผลกรกฎานี้ ![]() นอกจากนี้ การที่ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า การค้นหาความจริงโดยคอป. มีอุปสรรคในการทำงาน เป็นเพราะไม่ได้รับการสนับสนุนเพียงพอ และกรรมการสิทธิฯ ไม่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั้น พวงทองมองว่า หากคอป. ไม่ได้รับงบประมาณเพียงพอ ก็ควรจะแจ้งให้รัฐบาลได้ทราบตั้งแต่ตอนเริ่มทำงาน และน่าจะนำเงินที่ใช้เชิญผู้นำต่างประเทศอย่างโคฟี อันนันที่มาเยือนไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ไปพูดคุยและเก็บข้อมูลจากผู้ที่ได้รับผลกระทบมากกว่า ต่อการทำงานของคณะกรรมการสิทธิฯ นั้น เธอกล่าวว่า เหตุที่กสม. ไม่สามารถสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อประชาชน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการค้นหาความจริง ต้องกลับไปดูก่อนว่า จุดยืนด้านสิทธิมนุษยชนที่ผ่านมาเป็นอย่างไร จึงทำให้เกิดภาวะเช่นนี้ขึ้น "เบื้องต้น ในส่วนของกสม. และคอป. ถ้าไม่ได้รับความไว้วางใจจากคนเสื้อแดง มันขึ้นอยู่กับท่าทีของทั้งสองฝ่ายเอง คือ ท่าทีของคอป. และกสม. ที่ไม่เคยแสดงท่าทีที่ชัดเจนปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชน ซึ่งเป็นฝ่ายที่สูญเสียชีวิตและต้องบาดเจ็บมากกว่า "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเองไม่ได้มีปัญหาเรื่องงบประมาณ แต่มีปัญหาเรื่องจุดยืนทางสิทธิมนุษยชนที่ไม่ชัดเจน คือคณะกรรมการสิทธิฯ มัวแต่กังวลว่า จุดยืนของตัวเองในกรณีต่างๆ จะทำให้กลุ่มการเมืองบางกลุ่มได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ ซึ่งอันนี้ไม่ใช่หน้าที่ของกรรมการสิทธิที่จะต้องคำนึงถึง หน้าที่ของกรรมการสิทธิคือพิจารณาว่า เมื่อมันเกิดเหตุการณ์หนึ่งๆ ขึ้น ใครที่ละเมิดสิทธิของใครบ้าง และใครบ้างที่สูญเสีย" พวงทองกล่าว | |
http://redusala.blogspot.com |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)