วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555


ศรีธนนชัยแห่งสานรัดทะทำมะนวยฉบับหัวคูณ
ดูกันชัดๆว่า ตลก.คาเฟ่ ทำเกินหน้าที่ชัดเจน/เปิดบันทึกการประชุมสสร.50

         ค้นหามาวันกว่าๆเจอแล้วจาก มติชน.....เปิดบันทึกประชุม ส.ส.ร.50 เจตนารมณ์"มาตรา 68" ชัดเจน ผมอ่านแล้ว มีแต่บอกให้ยืน"อัยการสูงสุด" และก็มีการพูดถึง บทลงโทษ หรือไม่ อย่างไร

ไม่มีบอกเลยว่าให้ยื่น ศาล รธน.ได้ หรือก็ได้

ดังนั้น การที่ ศาล รธน.รับเรื่องโดยตรงโดยไม่ผ่าน"อัยการสูงสุด" จึง ขัด รธน.และทำผิดต่อบทบัญญัติเจตนารมณ์ของ รธน.และผู้ร่างรัฐธรรมนูญ อย่างชัดเจน...

เอาแล้ว เราเจอ ตลก."ศรีธนนชัย"ในยุคคอมพิวเตอร์แล้ว
................................................................................​.................

http://www.matichon.co.th/news_detail.ph...&subcatid=

หมายเหตุ - ส่วนหนึ่งของรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ครั้งที่ 27/2550 วันที่ 18 มิถุนายน 2550 หน้า 6 ที่กล่าวถึงมาตรา 67 (คือมาตรา 68 รัฐธรรมนูญ 2550) โดยระบุว่า ผู้ร้องต้องร้องผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น

          นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย : ขอบคุณครับท่านประธานครับ ผม สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้แปรญัตติ มาตรา 67 ครับ กราบเรียนท่านประธานสภา และท่านกรรมาธิการยกร่างอย่างนี้ครับว่า มาตรา 67 นี้ อยู่ในส่วนที่ 13 คือ สิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในหมวด 3 ซึ่งว่าด้วยเรื่องของสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย บทบัญญัติในมาตรา 67 นี้ได้บัญญัติให้เป็นสิทธิของบุคคลที่จะใช้สิทธิในการนำเรื่องเสนอต่ออัยการสูงสุด ในกรณีที่ทราบว่ามีบุคคลหรือมีพรรคการเมืองที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

นอกจากนี้ ในมาตรา 67 ยังกำหนดผลของการกระทำว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการกระทำที่มีผู้ร้องเรียนนั้น เป็นการกระทำที่มีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง และวรรคสอง คือ มีการกระทำที่มีลักษณะเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย​์ทรงเป็นประมุขนั้น จะมีผลที่ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองได้ ในกรณีที่ผู้กระทำเป็นพรรคการเมือง

นอกจากนั้น ในวรรคท้ายของมาตรานี้ที่ท่านกรรมาธิการยกร่างได้มีบทบัญญัติเพิ่มเติมมามีผลให้เพิก​ถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุ​บพรรคด้วย

นอกจากนี้ ถ้าเราย้อนไปดูในวรรคสองของมาตรานี้ จะพูดได้เลยว่า การดำเนินการของอัยการสูงสุดในกรณีที่ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยการกระทำของบุคคลหรือพรรคการเมืองว่า มีลักษณะของการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่นั้น ไม่ตัดสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำการดังกล่าว

ทั้งหมดที่ผมนำเรียนมานี้ จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติของมาตรา 67 นั้น มีลักษณะของการที่จะลงโทษ ทั้งในเชิงของการเป็นโทษในทางอาญา ตามที่ปรากฏอยู่ในข้อความในวรรคที่ 2 รวมถึงโทษที่ไม่มีลักษณะเป็นโทษทางอาญา แต่เป็นการลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องของการเลือกตั้งหรือการเมือง นั่นคือโทษของการยุบพรรครวมถึงโทษของการตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่มีการก​ระทำดังกล่าว

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วนี่กระผมจึงมีความเห็นว่า สิทธิของบุคคลที่จะนำเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดในกรณีที่เขาทราบว่า หรือพบว่า มีการกระทำที่เข้าข่ายในลักษณะที่จะเป็นการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบป​ระชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น จึงไม่จำเป็นว่า จะต้องเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์นั้นเสียก่อน ถ้าเราใช้คำว่า ผู้รู้เห็น ดังที่บัญญัติอยู่ในมาตรา 67 วรรคแรกนะครับ ก็จะทำให้เหตุการณ์นั้นมันเกิดขึ้นเสียก่อน แล้วผู้รู้เห็นเหตุการณ์นั้นจึงจะมีสิทธิที่จะนำเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุด

ผมเปรียบเทียบอย่างนี้ครับ ท่านประธานครับ ว่าในทางอาญานั้นนี่ถ้าเราทราบว่ามีการกระทำความผิดกฎหมายอาญาเกิดขึ้น แม้ไม่รู้ตัวว่า ผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ยังเปิดช่องว่า สามารถไปกล่าวโทษกับเจ้าพนักงานได้ เพื่อให้เจ้าพนักงานทำการสอบสวนว่า มีการกระทำความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นจริงไหมเพียงแค่ทราบเท่านั้นก็สามารถที่จะใช้สิทธ​ิในการที่จะไปกล่าวโทษต่อเจ้าพนักงานของรัฐได้

เมื่อนำบทบัญญัติในเรื่องของการกล่าวโทษในทางอาญามาเปรียบเทียบกับมาตรา 67 เราจะเห็นว่า ระดับของความผิด ความร้ายแรง และผลเสียหายสูงกว่าการกระทำความผิดในทางอาญามาก เพราะเป็นเรื่องของการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็​นประมุข แล้วเช่นนี้ ทำไมเราถึงต้องเขียนเป็นเงื่อนไขว่า ผู้ที่จะมีสิทธินำเรื่องเสนอต่ออัยการสูงสุดนั้น ต้องเป็นผู้ที่รู้ถึงการกระทำนั้น ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเราพิจารณาประกอบว่ามาตรา 67 เป็นเรื่องของสิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งผมถือว่า เป็นสิทธิของปวงชนชาวไทยทุกคนที่เขามีหน้าที่ ที่เขามีสิทธิในการที่จะพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ พิทักษ์รักษาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เพราะฉะนั้น เพียงแค่ทราบว่า มีบุคคลหรือมีพรรคการเมืองใด กำลังจะดำเนินการไปในวิถีทางเพื่อให้ได้อำนาจรัฐมา นอกเหนือจากวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ผู้ทราบเหตุการณ์นั้นควรที่จะต้องมีสิทธิมาร้องเรียนต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้ทำการตรวจสอบได้แล้ว ขั้นตอนที่มาร้องเรียนนั้น ก็เป็นหน้าที่ของอัยการสูงสุดครับ 

ท่านประธานครับที่จะต้องตรวจสอบเรื่องราวว่ามีมูลหรือไม่มีมูล ก่อนที่ท่านจะนำเรื่องเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป เพราะฉะนั้นผู้ที่จะมาช่วยกันพิทักษ์รัฐธรรมนูญ พิทักษ์การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น จึงไม่ควรที่จะกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเป็นผู้รู้ในเหตุการณ์ที่จะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ด้วยเหตุผลที่ได้กราบเรียนท่านประธานมา กระผมจึงได้ใช้สิทธิขอแปรญัตติข้อความในวรรคที่ 1 ครับ ท่านประธานครับ ว่าในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำ ขอแก้ไขคำว่าผู้รู้ เป็นผู้ทราบการกระทำดังกล่าว มีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ กราบเรียนท่านประธานครับ

นายนรนิติ เศรษฐบุตร (ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ) : ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์คมสันครับ สั้นๆ นะอาจารย์ครับ




(ที่มา:มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2555)
เปิดบันทึกประชุม ส.ส.ร.50 เจตนารมณ์"มาตรา 68"
http://redusala.blogspot.com