ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555
รัฐสภา กับ ศาล โปรด “ถอยคนละก้าว”
รัฐสภา กับ ศาล โปรด “ถอยคนละก้าว” | |
รัฐสภา กับ ศาล โปรด “ถอยคนละก้าว” Posted: 08 Jun 2012 04:36 AM PDT (อ้างอิงจาก เวบไซท์ประชาไท) บทความโดย “วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ” เสนอแนะ "ทางออก" ของปัญหาความขัดแย้งระหว่าง รัฐสภา และ ศาล รธน. ทำได้ไม่ง่าย แต่หากเราจะช่วยกันทำจริง และจริงใจ ผู้เขียนขอย้ำ “หลักกฎหมาย” ว่า สิ่งที่ “ศาลรัฐธรรมนูญ” เรียกชื่อว่า “คำสั่ง” ให้ “รัฐสภา” รอการพิจารณาการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในวาระที่ 3 นั้น เป็นสิ่งที่ “ขัดต่อรัฐธรรมนูญ” และ “ไม่อาจมีผลผูกพันต่อรัฐสภา” ได้ (คำอธิบายดูที่http://on.fb.me/NkNvdE ) ซึ่งบัดนี้สมาชิกเสียงข้ ประเด็นที่สำคัญกว่านั้น คือ เราจะยึด “หลักกฎหมาย” ที่ว่านี้อย่างไรให้นำไปสู่ “ผลทางการเมือง” ที่น่าปรารถนา ? “รัฐสภา” พึงระวังว่า หากเสียงข้างมากเร่งเดินหน้า “ปฏิเสธ” ศาลทันทีทันใดอย่างย่ามใจ ก็อาจทำให้ “ผู้ไม่หวังดี” ฉกฉวยโอกาสทางการเมื “ศาล” ก็พึงระวังว่า ฐานแห่งอำนาจตุลาการ คือ ความชอบธรรมและเหตุผลแห่งการใช้ เมื่อเป้าหมายสูงสุดของกฎหมาย คือ ความสงบเรียบร้อยในบ้านเมื ขั้นที่ 1. รัฐสภาไม่ควรเร่งเดินหน้าลงมติ ขั้นที่ 2. สมาชิกรัฐสภาควรร่วมประกาศคำสั ขั้นที่ 3. “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” ควรสำนึกในบทบาทหน้าที่ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน เห็นว่า สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญเรียกว่า “คำสั่ง” นั้น แท้จริงแล้วก็คือ “คำขอ” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ซึ่งย่อมไม่มีข้อกำหนดหรือวิธี ขั้นที่ 4. หาก “รัฐสภา” มีความเห็นไปในทางเดียวกันกับ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” ว่า สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญเรียกว่า “คำสั่ง” นั้น ก็คือ “คำขอ” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 และเมื่อพิจารณาความเห็นของ “อัยการสูงสุด” ที่พบว่าคำร้องที่เกี่ยวข้องนั้ ขั้นที่ 5. หาก “การถ่วงดุลอำนาจโดยสภาพระหว่ ขั้นที่ 6. ทันทีที่ “รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม” มีผลบังคับใช้ สมาชิกรัฐสภาต้องรักษาคำสัตย์ โดยดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ ขั้นที่ 7. จากนั้นทุกฝ่ายควรร่วมกันเดิ -------------------------------------------------------------- ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำแถลงโดยอัยการสูงสุด วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ http://www.facebook.com/verapat เมื่อผมได้ฟังคำแถลงของอัยการสูงสุดเสร็จแล้ว รู้สึกเสียดายว่า แทนที่จะสามารถชมเชยอัยการฯได้เต็มปาก กลับต้องบอกว่าอัยการฯ อาจกำลังใช้อำนาจหน้าที่เกินกรอบตามรัฐธรรมนูญ จนคำแถลงของอัยการฯ ฟังประหนึ่งคล้ายคำวินิจฉัยของศาล จริงอยู่ว่าอัยการฯ ท่านอ้างกฎหมายได้น่าคล้อยตามหลายข้อ และพยายามแถลงรายละเอียดเพื่อไม่ให้สังคมเคลือบแคลง โดยแม้อัยการฯ จะบอกว่าดูเรื่อง "มูล" ของการกระทำเท่านั้น และไม่ได้วินิจฉัยแทนศาลก็ตาม แต่ท้ายที่สุด สิ่งที่เกิดขึ้นจากการแถลงดังกล่าว ก็คือ อัยการฯได้ใช้อำนาจเกินเลยถ้อยคำของรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรค 1 โดยอัยการฯ กำลังสร้างบรรทัดฐานว่า ต่อไปนี้ "การใช้อำนาจหน้าที่" ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา สามารถถูกตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริงโดย "อัยการสูงสุด" ตาม มาตรา 68 ได้ ซึ่งผมต้องย้ำให้ชัดว่า ผมไม่เห็นด้วย และก็สังหรณ์ไว้แล้วว่า อัยการฯอาจพลาดท่า ผมเขียนไว้ในบทความฉบับนี้ตั้งแต่เรื่องนี้ยังไม่เป็นประเด็น ( http://on.fb.me/LpqdCF ) สิ่งที่ถูกต้องคือ อัยการฯท่านต้องแถลงให้ชัดว่า คำร้องทั้งหลายเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอมานั้น ล้วนเป็นเรื่อง "การใช้อำนาจหน้าที่" จึงย่อมไม่ใช่ "การใช้สิทธิเสรีภาพ" ตาม มาตรา 68 วรรค 1 ดังนั้น อัยการฯ จึงไม่สามารถไปดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ว่า เป็นการล้มล้างการปกครองฯ หรือไม่ (หากพบว่ามีมูลเป็น "การใช้สิทธิเสรีภาพ" ก็ค่อยตรวจสอบมูลในส่วนอื่นต่อไป) หากอัยการฯไม่ "กรอง" คดีโดยแยกแยะการกระทำที่เป็นหรือไม่เป็น "การใช้สิทธิเสรีภาพ" เสียก่อน แต่กลับเข้าไปดูรายละเอียดทั้งหมดของเรื่องที่เสนอมา อัยการฯก็กำลังสร้างบรรทัดฐานที่เพิ่มภาระให้อัยการฯต้องทำการตรวจสอบเรื่องทุกเรื่องที่มีใครเสนอมา ซึ่งสิ้นเปลืองทั้งเวลา งบประมาณแผ่นดิน และอาจไปสร้างภาระให้แก่บุคคลอื่นๆ ที่ต้องมาชี้แจงให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้วย หากคำแถลงเป็นเช่นนี้ ต่อไปหากอัยการสูงสุดท่านไหนใจใหญ่ ก็อาจยื่นคำร้องอีกสารพัดเรื่องต่อศาลได้ เพราะไม่ว่าจะเป็น “การใช้สิทธิเสรีภาพ” หรือ “การใช้อำนาจหน้าที่” ก็ดูประหนึ่งจะตรวจสอบได้ทั้งหมด ข้อมูลที่มา เวบไซท์ประชาไท http://www.prachatai.com | |
http://redusala.blogspot.com |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)