วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554


ดร. สมศักดิ์ เจียมฯ รับทราบข้อกล่าวหาพร้อมกำลังใจ
และกองทัพนักข่าว - ปฏิเสธข้อกล่าวหา พร้อมสู้คดี

ขอบคุณภาพจากมติชน

ที่มา ประชาไท

11 พฤษภาคม 2554


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล รับทราบข้อกล่าวหา 112 ที่ สน.นางเลิ้ง ท่ามกลางประชาชน-สื่อไทย-เทศรอทำข่าว เบื้องต้นปฏิเสธข้อกล่าวหา พร้อมสู้คดี ฝากติดตามผู้ต้องหาที่ไม่ได้สิทธิประกันตัวด้วย ด้านทหารอากาศที่โดนข้อหาโพสต์หมิ่นในเฟซบุ๊ก ดอดให้กำลังใจ
(11 พ.ค.54) เวลาประมาณ 09.30น. ที่ สน.นางเลิ้ง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหามาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ตามที่ได้รับหมายเรียก โดยมีอาจารย์จากกลุ่มนิติราษฎร์ คือ สาวตรี สุขศรี และปิยบุตร แสงกนกกุล ร่วมเป็นพยานในการรับทราบข้อกล่าวหา นอกจากนี้ มีประชาชนซึ่งส่วนใหญ่สวมเสื้อสีแดงมาร่วมให้กำลังใจราว 50-60 คน พร้อมทั้งนักข่าวไทยและต่างประเทศที่มารอทำข่าวจำนวนมาก
สำหรับกิจกรรมในบริเวณ สน. มีการชูป้ายให้กำลังใจนายสมศักดิ์ รวมทั้งตะโกน "No Lese Majeste Law" ด้วย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการร้องเพลงหมู่ ที่นำโดย จิ้น กรรมาชน
จากนั้น เวลาประมาณ 11.00น. สมศักดิ์ได้เดินออกมาจากห้องพนักงานสอบสวนพร้อมทั้งชี้แจงต่อผู้สื่อข่าวว่า วันนี้เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา มาตรา 112 ซึ่งกองทัพบกเป็นผู้รองทุกข์กล่าวโทษ จากกรณีที่ตนได้เขียนบทความภาษาไทยเกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์ของเจ้าฟ้าหญิง จุฬาภรณ์ 2 ชิ้น ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ต่างๆ ราวปลายเดือนมีนาคม-เมษายน โดยในชั้นนี้ยังไม่ต้องมีการประกันตัว เบื้องต้นได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาและพร้อมต่อสู้ในชั้นต่อไป โดยจะทำคำให้การอย่างเป็นทางการส่งให้เจ้าหน้าที่ภายในสองสัปดาห์นี้ เบื้องต้นมีศรัทธา หุ่นพยนต์ เป็นทนายความเฉพาะหน้า
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความมั่นใจในการสู้คดีมากน้อยเพียงใด สมศักดิ์ตอบว่า ค่อนข้างมั่นใจมากในต่อสู้คดี เพราะมาตรา 112 ไม่ได้ครอบคลุมถึงกรณีบทความของตน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่กองทัพบกเป้นผู้ฟ้องคดีเอง ไม่ใช่ประชาชนทั่วไป สะท้อนสภาวะการเมืองอย่างไรหรือไม่ สมศักดิ์กล่าวว่า อยากให้ตั้งข้อสังเกตเช่นกันว่ากองทัพมีหน้าที่ปกป้องประเทศตามนโยบายรัฐบาล แล้วการฟ้องคดีนี้เป็นหน้าที่ของกองทัพหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า การถูกดำเนินคดีนี้จะทำให้ลดบทบาทตนเองในการแสดงความเห็นหรือบรรยายสาธารณะ เกี่ยวกับบทบาทสถาบันฯ หรือไม่ สมศักดิ์บอกว่า การฟ้องคดีนี้อย่างครอบจักรวาลในหลายกรณีทำให้ผู้คนหวาดกลัวที่จะพูด ในกรณีของตนนั้น ต้องทบทวนดูก่อน ทั้งนี้ ตั้งข้อสังเกตว่ามีแนวโน้มในระยะหลังว่ารัฐใช้กฎหมายนี้อย่างพร่ำเพรื่อ ทั้งที่บางทีก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่พูดหรือแสดงความเห็น
ต่อคำถามว่า คิดว่าจะได้รับความเป็นธรรมในการดำเนินคดีหรือไม่ สมศักดิ์กล่าวว่า ยังไม่ค่อยแน่ใจ อย่างการเอ็กเซอร์ไซส์ของกองทัพทุกวันในระยะนี้ก็เป็นเรื่องที่นอกเหนือ กฎหมาย
ทั้งนี้ สมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า "อยากฝากให้ช่วยกันติดตามคดีของหลายๆ ท่าน อย่างคุณสมยศ อากง หรือใครก็ตามที่ไม่ได้รับการประกันตัวเลย ทั้งที่เป็นกระบวนการเริ่มแรก สิทธิในการประกันตัวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในทางสากล อยากให้ทุกท่านช่วยกันติดตามกรณีเหล่านี้ด้วย"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่สมศักดิ์เดินทางกลับ ประชาชนที่มาให้กำลังใจได้มอบดอกกุหลาบสีแดงให้กำลังใจพร้อมทั้งตะโกนว่า "อาจารย์เป็นตัวแทนของพวกเรา เป็นสัญลักษณ์ของพวกเรา ที่จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย" "พวกเราจะอยู่เคียงข้างอาจารย์สมศักดิ์ๆ" ซึ่งสมศักดิ์ได้กล่าวขอบคุณผู้มาให้กำลังใจพร้อมย้ำอีกครั้งว่าให้ช่วย ติดตามกรณีของคนอื่นๆ ที่ไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวด้วยเช่นกัน

ทหารอากาศที่โดนข้อหาโพสต์หมิ่นในเฟซบุ๊ก ร่วมให้กำลังใจด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายทหารอากาศนายหนึ่ง ยศนาวาอากาศตรี ซึ่งถูกกองทัพอากาศแจ้งความดำเนินคดีเมื่อวันที่ 4 พ.ย.53 กรณีที่มีการร้องเรียนจากนายทหารเรือนายหนึ่งว่าทหารอากาศผู้นี้โพสต์ข้อ ความในเฟซบุ๊กที่อาจเข้าข่ายหมิ่นสถาบัน ได้เดินทางมาให้กำลังใจสมศักดิ์ด้วย โดยผู้สื่อข่าวต่างประเทศให้ความสนใจกับคดีของเขาอย่างมาก
เขาให้สัมภาษณ์ว่า คดีของตนเอง ศาลทหารได้ให้พิจารณาเป็นการลับ และจะมีการสืบพยานโจทก์นัดแรก 14 ก.ค. ขณะนี้ ตนเองถูกสั่งพักราชการแล้วตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. หลังจากถูกสำรองราชการกว่า 6 เดือน
เขาแสดงความเห็นว่า มาตรา 112 เป็นการนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการนำมาจัดการกับผู้ที่มีความ เห็นต่างจากผู้มีอำนาจ เขายอมรับว่ากรณีของเขามีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในเฟซบุ๊กจริง แม้ว่าในแง่ของทหารแล้ว การวิจารณ์รัฐบาลเป็นการผิดระเบียบเพราะเป็นการวิจารณ์ผู้บังคับบัญชา แต่เขาวิจารณ์ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ส่วนการเชื่อมโยงไปถึงมาตรา 112 ค่อนข้างมั่นใจว่าจะสู้คดีได้ โดยยกตัวอย่างว่าเพราะเพียงแต่โพสต์เพลงถั่งโถมโหมแรงไฟ ก็ถูกนำไปเชื่อมโยงเป็นความผิดแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เคยเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองก่อนหน้านี้หรือไม่ เขาตอบว่าไม่เคยเข้าร่วม เมื่อถูกถามว่า อะไรเป็นจุดเปลี่ยนให้หันมาคานผู้มีอำนาจ เป็นเพราะรัฐประหารหรือไม่ เขาตอบว่า รู้สึกเฉยๆ กับการรัฐประหาร เพราะรู้อยู่แล้วว่าต้องเกิดขึ้น ส่วนจุดเปลี่ยนที่ทำให้ทนไม่ได้ คือการฆ่าประชาชนของรัฐบาลเมื่อเม.ย.ปีที่แล้ว เพราะตนเป็นทหารประชาธิปไตย
ขอบคุณภาพจาก By Ple Roses Are Red
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ด่วน: ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แถลงข่าวคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 
ด่วน: โปรดช่วยกันปกป้องนักวิชาการที่ทำงานอย่างซื่อตรงเช่น อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
สมศักดิ์ เจียมฯ:บันทึกเปิดผนึก เรียน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ว่าด้วย "ความยุติธรรม"
สมศักดิ์ เจียมฯ:เรียนถามฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ ; ตาย 91 เจ็บ 2 พัน ไม่น่าสะเทือนใจกว่าการ"เผาบ้านเผาเมือง"หรือครับ? และเหตุใดไม่ทรงวิจารณ์พันธมิตรครับ?

http://redusala.blogspot.com

แสดงความยินดีกับ คุณ จีรนุช   เปรมชัยพร

http://thaienews.blogspot.com/2011/05/2554.html

ทีมข่าวไทยอีนิวส์ขอร่วมแสดงความยินดีกับคุณจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการประชาไทที่ได้รับการยกย่องจากมูลนิธิสื่อสตรีนานาชาติที่มอบรางวัลสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่อย่างกล้าหาญให้กับคุณจีรนุช


ที่มา ประชาไท
11 พฤษภาคม 2554

จีรนุช เปรมชัยพร ได้รับรางวัล The Courage in Journalism Award (ความกล้าหาญในการทำหน้าที่สื่อมวลชน) จาก International Women Media Foundation (IWMF-มูลนิธิสื่อสตรีนานาชาติ) ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่สื่อมวลชนผู้หญิง ผู้มีความกล้าหาญและมุ่งมั่นในการประกอบวิชาชีพ
Adela Navarro Bello
Adela Navarro Bello
โดยผู้ได้รับรางวัลสื่อมวลชนสตรีที่มีความกล้าหาญประจำปี 2011 มีทั้งสิ้น 3 คนได้แก่ อเดลา นาวาโร เบลโล วัย 42 ปี เป็นผู้อำนวยการทั่วไปและคอลัมนิสต์ของนิตยสาร ซีต้านิวส์ ประเทศแมกซิโก ซึ่งเปิดโปงเรื่องความรุนแรงและคอร์รัปชั่นในบริวเณชายแดนของเมืองติฮวนนา (Tijuana) ซึ่งการนำเสนอรายงานดังกล่าวทำให้เธอกลายเป็นเป้าหมายของเครือข่ายค้ายาเสพ ติด
Parisa Hafezi
Parisa Hafezi
ปาริสา เฮเฟซี (Parisa Hafezi) วัย 41 ปี หัวหน้าฝ่ายข่าวรอยเตอร์ สาขาอิหร่าน ซึ่งถูกทำร้าย ล่วงละเมิดและคุกคาม รวมถึงถูกจับกุมคุมขังโดยเจ้าหน้าที่รัฐเนื่องจากการติดตามนำเสนอข่าวการค ลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล
Chiranuch Premchaiporn
Chiranuch Premchaiporn
จีรนุช เปรมชัยพร วัย 43 ปี ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท, ประเทศไทย เผชิญกับโทษจำคุกสูงถึง 70 ปี เนื่องจากมีการโพสต์ข้อความต่อต้านรัฐบาลลงในเว็บไซต์ประชาไท จีรนุชถูกจับกุม และออฟฟิศถูกตำรวเข้าบุกค้น รวมถึงเว็บไซต์ประชาไทถูกบล็อกโดยรัฐบาลไทยหลายครั้ง
Kate Adie
Kate Adie
ในปีนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัล Lifetime Achievement Award ได้แก่ เคท เอดี(Kate Adie) ผู้จัดรายการ “From Our Own Correspondent” ของ วิทยุประจำสถานีบีบีซี 4 อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 40 ปี เคยผ่านการรายงานข่าวเหตุการณ์จากเทียนอันเหมิน เซียรา ลีโอน และเบลเกรด เป็นต้น
รางวัล The Courage in Journalism Awards เป็นรางวัลที่มอบแก่สื่อมวลชนสตรีที่มีความกล้าหาญในการทำหน้าที่สื่อมวลชน ภายใต้สถานการณ์ที่อันตราย และรางวัล Lifetime Achievement Award เป็นรางวัลสำหรับสื่อมวลชนที่เป็นผู้บุกเบิกทั้งด้านจิตสำนึกและการทำงาน ด้านสื่อสารมวลชน โดยที่ผ่านมาจนถึงปีล่าสุดนี้ มีสื่อมวลชนสตรีที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 72 คน
พิธีมอบรางวัลแก่สื่อมวลชนสตรีทั้ง 4 รายจะจัดขึ้นในลอสแองเจลิส ในวันที่ 24 ตุลาคม และที่นิวยอร์กในวันที่ 27 ตุลาคมที่จะถึงนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
http://redusala.blogspot.com
บทสัมภาษณ์ผู้ลี้ภัยทางการเมืองชาวไทยในประเทศสหราชอาณาจักร


http://thailandsolidarity.blogspot.com/2010/10/2.html

ช่วงต้นเดือนนี้ ผมมีโอกาสได้พบกับสตรีชาวไทยท่านหนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานในประเทศสหราชอาณาจักรเพราะได้รับการรับรองสถานะผู้ลี้ภัย เธอพำนักอยู่ในบ้านซึ่งตั้งอยู่ในเมืองแบบอังกฤษอันเรียบง่าน  ตาล (นามสมมุติ เนื่องจากเหตุผลของความปลอดภัย) พยายามอดทนกับคำข่มขู่จากคนที่เธอแน่ใจว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรงฝ่ายขวาอย่างพันธมิตร และทำให้เธอรู้สึกจำเป็นที่จะต้องหลบหนีออกจากประเทศไทยและแสวงหาสถานภาพผู้ลี้ภัยจากประเทศอื่น เจ้าหน้าที่รัฐอังกฤษได้รับรองสถานภาพของเธอ (เจ้าหน้าที่รัฐอังกฤษจะรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัยก็ต่อเมื่อมีหลักฐานชัดเจนเท่านั้น) ในปัจจุบันเธอได้รับสิทธิให้อาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ 5 ปี (หลังจากนั้นสามารถยื่นขอสถานภาพพลเมืองได้)

ผู้อ่านจะต้องไม่ลืมว่า ในขณะที่รัฐบาลไทยพยายามกำจัดคนเสื้อแดงอย่างอำมหิต แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยกลับไม่ลงโทษกลุ่มฝ่ายขวาหัวรุนแรงกลุ่มพันธมิตรและผู้สนับสนุนจากการกระทำของกลุ่มคนเหล่านี้เลย ดูราวกับว่ากลุ่มพันธมิตรและผู้สนับสนุนสามารถก่อความรนแรงหรือขู่กรรโชกผู้คนได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น ซึ่งทำให้เกิดคำถามตามมาว่า กลุ่มหัวรุนแรงพันธมิตรกระทำการดังกล่าวในนามของกลุ่มผู้นำที่มีอำนาจหรือไม่หากเป็นเช่นนั้นจริง ประชาชนชาวไทยสามารถคาดหวังความคุ้มครองภายใต้หลักนิติรัฐจากรัฐบาลเมื่อถูกข่มขู่จากกลุ่มพันธมิตรได้หรือไม่คำตอบเดียวในตอนนี้คือ เจ้าหน้าที่รัฐอังกฤษดูเหมือนจะเห็นด้วยที่ว่ารัฐบาลไทยไม่สามารถทำได้

ดิฉันเป็นคนไทยและจบปริญญาโทจากมหาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในปี 2549หลังจากที่จบการศึกษา ดิฉันได้ทำงานในตำแหน่งนักวิจัยให้กับองค์กรระหว่างประเทศเอ็นจีโอ ดิฉันเดินทางออกจากประเทศไทยในต้นปี 2552 เพราะมีคนโทรศัพท์มาขู่ฆ่าดิฉันทางโทรศัพท์มือถือส่วนตัว สามีดิฉันได้รับจดหมายคุกคามที่ถูกส่งไปยังที่ทำงาน และถูกข่มขู่หลายครั้งจากผู้สนับสนุนการทำรัฐประหารในปี 2549 สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยแย่ลงอย่างต่อเนื่อง และมีความกังวลถึงเรื่องสภาวะที่ไร้ความยุติธรรมและระบบนิติรัฐ กลุ่มพันธมิตรกระทำการอันรุนแรงทางการเมืองทุกวัน และกฎหมายที่กดขี่ถูกใช้เป็นเครื่องมือคุกคามผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ดิฉันทิ้งทรัพย์สินส่วนตัวทั้งหมดไว้ที่บ้านพักในกรุงเทพ และเดินทางมาที่พร้อมกับกระเป๋าเดินทางใบเล็กเพียงหนึ่งใบ ดิฉันต้องลาออกจากงาน ทิ้งเพื่อนและครอบครัวไว้ข้างหลัง และในเวลานั้นดิฉันไม่เคยใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศมาก่อน

ดิฉันยื่นขอสถานภาพลี้ภัยทางการเมืองในประเทศสหราชอาณาจักรด้วยเหตุผลง่ายๆที่ว่า หากดิฉันเดินทางกลับไปยังประเทศไทย ดิฉันอาจจะเสี่ยงต่อการถูกคุกคามจากกลุ่มคนและเจ้าหน้าที่รัฐเพราะกิจกรรมทางการเมืองของดิฉัน และความสัมพันธ์ใกล้ชิดของดิฉันกับสามี ตั้งแต่ปี 2543 เราได้เขียนหนังสือบทความ และดำเนินโครงการเกี่ยวกับสิืทธิมนุษยชนร่วมกันหลายโครงการ เราทั้งสองคนไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำอันรุนแรงใดๆ เราเพียงแค่สนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ต่อต้านการทำรัฐประหารในปี 2549  และการทำลายระบอบประชาธิปไตยในภายหลังเท่านั้น

กลุ่มคนที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐที่ดิฉันกล่าวถึงคือกลุ่มผู้สนับสนุนกลุ่มเผด็จการฟาสซิสต์พันธมิตรที่ยึดและทำลายทำเนียบรัฐบาล ใช้ความรุนแรงและอาวุธนอกรัฐสภา และยังยึดสนามบินนานาชาติถึงสองแห่งในปี 2551 ในฐานะที่ดิฉันเป็นนักกิจกรรมเอ็นจีโอ ดิฉันจึงรู้จักผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรเป็นการส่วนตัว และพวกเขารู้จักดิฉันดีพอที่จะข่มขู่เอาชีวิตดิฉันทางโทรศัพท์มือถือ และยังด่าทอดิฉันต่อหน้าในขณะที่ดิฉันทำงาน
   
เวลาที่คนเหล่านั้นโทรมาข่มขู่ดิฉัน พวกเขาจะพูดว่า ระวังตัวให้ดี  แกจะถูกอุ้มฆ่า .. แกจะถูกยิง.. “ระวังตัวไว้ให้ดีเวลาไปไหนมาไหน เพราะแกจะถูกอุ้มฆ่า ในเวลานั้น ดิฉันพยายามไม่ใส่ใจคำข่มขู่เหล่านี้ เพื่อที่จะสามารถดำเนินชีวิตให้เป็นปกติสุขในระดับหนึ่ง

เวปไซต์กลุ่มพันธมิตร อย่างเช่น ASTV ได้เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวและปลุกระดมให้มีการใช้ความรุนแรงกับนักกิจกรรมผู้เรียกร้องประชาธิปไตยคนเสื้อแดง การคุกคามโดยกลุ่มคนและเจ้าหน้าที่รัฐนั้นรวมไปถึงประชาทัณฑ์ ซึ่งนำไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิต และการลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของฝ่ายตรงข้ามด้วย

ดิฉันต้องแสดงหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่รัฐอังกฤษว่าดิฉันเสี่ยงต่อการถูกคุกคามจากกลุ่มคนและเจ้าหน้าที่รัฐเพราะระบบนิติรัฐถูกทำลายและความรุนแรงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่รัฐประหารปี2549 ความรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2549 โดยการกระทำของเจ้าหน้ารัฐไทยและรวมไปถึงกลุ่มผู้สนับสนุนพันธมิตรอีกด้วย ซึ่งการกระทำนั้นรวมถึงการที่ทหารยิงผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธ จำนวนนักโทษทางการเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดิฉันต้องพิสูจน์ให้เจ้าหน้าที่รัฐอังกฤษเห็นว่าสิทธิมนุษยชนและระบบนิติรัฐในประเทศได้เสื่อมโทรมลงอย่างรุนแรง โดยดิฉันสามารถพิสูจน์ให้เจ้าหน้าที่รัฐที่นี่เห็นว่าคณะรัฐบาลไทยเต็มไปด้วยสมาชิกลุ่มพันธมิตรและมีกองทัพหนุนหลัง นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวกิจกรรมทางสิทธิมนุษยชนผู้มีชื่อเสียงชาวอังกฤษได้เขียนจดหมายรับรองดิฉันในการยื่นขอสถานภาพผู้ลี้ภัย ดิฉันยังได้ยกรายงานขององค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และบทความในหนังสือพิมพ์ที่น่าเชื่อถือประกอบการยื่นขอนี้ด้วย

ในปัจจุบันดิฉันได้รับการรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัยและมีสิทธิพำนักในประเทศสหราชอาณาจักได้ 5ปีและขณะนี้ดิฉันกำลังศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ

ข้อมูลเพิ่มเติม 

ติดต่อ อีเมลล์ thailandsolidarity@gmail.com 
http://redusala.blogspot.com

An account of Thai army brutality.


An account of Thai army brutality.

Before being arrested by the Thai Army for violating Thailand’s draconian State of Emergency (SOE) Surachai Petploy (29), a father of two small children (6 and 3 yrs old) was a resident of Bangkok’s Soi Wataphaitayaran (Soi Rajvithi 14) and worked as fruit seller.

Surachai stated that his brother-in-law was a hardcore Red Shirts supporter who often went to demonstrate at Ratchaprasong area and always came back with stories of what was happening there. Surachai also stated he occasional joined the demonstration but never stayed overnight. He completely agreed with the issue of “double-standards” vis-a-vis the treatment of people from different political backgrounds an issue which was being raised by the Red Shirts.

Witsanu Kamonman (19), whose parents both passed away when he was young, lives with his uncle also in Soi Wataphaitayaran (Soi Rajvithi 14). Wisanu stated that even though they lived on the same street Surachai and he didn't know each other until they were arrested.

Witsanu was arrested around 4-5pm on May 15th 2010. On the day he was arrested, he heard shots and the sound of bombs exploding sometime before 1pm. As he was curious he left his house to find out the cause of the noise. Witsanu stated he wasn't sure if he can say that he is a Red Shirt or not because he went to join the Red Shirts demonstration with his neighbours more out of curiosity than political interest.

Surachai stated he was arrested by the army around 4-5pm May 15th 2010. Before he was arrested, at about noon, he heard loud shots and bomb explosions from his house and so went with his other Red Shirt friend to the Din Deang triangle. He saw an army truck on fire and there were 200-300 protesters around that area; none of them wore red shirts. They were discussing and finding a way to rescue the wounded soldiers who were lying down on Ratchapralop Rd. near Soi Rangnum.

Surachai states from where he stood, he didn't see any injured people or soldiers as it was too far away.

A group of protesters who were gathering near the Police Box at Din Deang triangle area then used tyres to form a barricade to shield them from the army bullets. Then they moved forward in an attempt to get the injuired out. Surachai, Witsanu and 40-50 protesters began moving the barricade towards the direction of Soi Rangnum - a kind of moving shield. Other protesters were also driving a yellow-coloured BMA truck. Surachai states the army didn't shoot at the protesters at all at that time.

It took them about 15 minutes to move the barricade about 100m forward. But when they arrived level with a petrol station, the solders who were positioned at bridge suddenly started shooting at them. Surachai stated he can’t remember exactly which petrol station it was - probably ESSO or Shell. The bridge where the soldiers were positioned was 100m away from them and Surachai couldn't see how many soldiers were there since the bridge was covered with green and black coloured nets.

When the soldiers began shooting the protesters scattered and looked for safe places to hide. Surachai and Witsanu stated that the protesters were unarmed and only looking for safe places to hide. Some of them were hiding in gas station and some were hiding behind the BMA truck which was parked in the middle of the road.

Witsanu stated the soldiers were shooting at the barricade. He can’t remember exactly how he ran into the petrol station but he soon found himself hiding in petrol station's toilets; while he was hiding he heard continual shooting and explosions.

Surachai stated he was attempting to get out of the barricade while the soldiers were shooting and he also remembered there was one Thai-speaking foreigner taking a lot of photographs.

Surachai couldn’t remember how long he was hiding behind the barricade, all he knows was it seemed like forever. Surachai waited until he could find a way to run and hide in the petrol station or behind the yellow BMA truck.

He then saw the foreign journalist ran into petrol station and Surachai decided to follow him.

Surachai was hiding behind the wall when he reached the petrol station which was 3m away from the barricade. He witnessed two men who had been shot, one of whom was a man who had tried to stack up the tyres on the barricade who fell on the ground after he was shot into his arm and stomach. The other man was shot in his legs - all the bullets came from the army's position.

Roughly 7-8 people were hiding in the petrol station and they were shouting to those who were hiding behind the barricade to join them.

Surachai stated after witnessing people being shot, he called and asked his brother-in-law who was at Din Deang triangle to send someone/ambulance to help the injured people. His brother-in-law told him no one could get in there because the army were continuously shooting at anything that moved.

After he finished talking with his brother-in-law, Surachai saw the man who was shot in his leg staggering into petrol station. Surachai and some others took the shot-man to hide in the toilet.

Surachai then left the toilet and shouted to the man who had been shot in the stomach and who was stuck behind the barricade "how he was". This man wasn't able to move but he kept saying that he couldn't bear the pain anymore.

Surachai didn’t have any idea how to save this man’s life because he feared for his own life because the soldiers were pouring continual heavy fire in the barricade and nobody could move very far.

The foreign journalist told him and the injured man not to worry because he had phoned and asked the army to stop shooting at the unarmed protesters and he was convinced that the shooting would soon stop. Surachai turned around and told the foreign journalist that they wouldn't stop because they wanted to kill everyone.

Surachai stated while he was hiding in the petrol station that he saw the protester who hid behind the BMA truck trying to help the injured people but that the soldiers on the bridge were shooting heavily at them in order to prevent them from helping the injured people.

A while after that he saw the man who was stuck behind the barricade who had been shot in stomach rolling his body along the street and into the petrol station. Surachai and the other people then carried the wounded man to the petrol station toilet.

Surachai stated there was a 1m high wall behind the petrol station. He once again telephoned his brother-in-law to ask if there was any help coming but his brother-in-law stated no one could reach that area since the soldiers were shooting at anyone who tried to get in there. After Surachai hang up the phone, he began figuring out ways to evacuate the injured.

Surachai saw one injured man losing a lot of blood so he tore his shirt and tied it around theinjured man's arm in order to stop the bleeding. Surachai noticed that one of the other injured men and the foreign journalist were not there anymore.

By about 3-4pm, Surachai believed that besides the injured people, there were about 4-5people, including Witsanu, in the petrol station.

They made a plan to move the injured people out of the petrol station by carrying them over the 1m high wall at the back of the petrol station. Some people jumped over the wall while the rest of the people passed over the injured.

Surachai volunteered to pass over the injured but since he couldn't do it by himself he asked Witsanu to stay and help him.

Surachai stated he didn't expect the army would be coming into the petrol station and he only thought about helping the injured people first. That was why he stayed in the petrol station - in order to help carry the injured over the wall.

After finishing this task, Surachai and Witsanu were just about to jump over the wall when suddenly someone shouted for them to stop. They both stopped, put their hands on their heads and then turned around. They then saw 5-6 soldiers pointing guns at them. As the soldiers moved closer they pointed the guns directly at their heads. At this point Surchai and Witsanu thought they would definitely be killed. Two soldiers went into petrol station's toilet and the remaining soldiers ordered them to kneel down and put their arms behind their backs. Shortly after that their arms were tied behind their back.

Without any warning, the soldiers inflicted a brutal beating on both men. Surachai stated he was kicked in his stomach, ribs and face. When he fell over onto the ground the soldiers continued beating him. Surachai adds there was one moment that he saw Witsanu being kicked in his face because he had dared to look at the soldiers. Both of them can't remember how long they were beaten for. What they can remember is the terrible severity of the beating and they thought they would be unlikely to survive.

After that, they were dragged away from the wall and the vicinity of the toilet. The soldiers then started to brutally beat them up again while some shouted at them that "you killed many of my friends". Both Surachai and Witsanu said they would find it difficult to recognise the soldiers again or know who they were since there was no name tag on the soldiers uniforms.

Surachai stated one soldier pulled a golden-coloured necklace from his neck because they thought it was real gold. After that, soldiers started to body search both him and Witsanu.

During the search, Witsanu stated that his new 12,050THB (£245) Blackberry phone, which he’d bought 3weeks previously, was taken by the soldiers. After finishing the search, the soldiers began pointing their guns to Surachai’s and Witsanu’s heads and ordered them to run even though their hands were still tied behind their backs. Both Surachai and Witsanu decided not to run because they were afraid that they would be killed for trying to escape. After they refused to run one solider was going to beat them again but he was stopped by other soldiers. Surachai then spat a lot of blood out from his mouth and at that moment he realized that one of his teeth had been knocked out.

At this point they were both put into an army truck and taken to Payathai police station.

When they arrived, the soldiers told them to sit and wait. They were both offered cups of water to drink by the police but instead they used it to wash their faces. They then noticed that their shirts were covered with blood and they had bruises all over their faces.

They both were brought to 4th floor for questioning. In the office, there were two soldiers armed with guns and another two men with cameras who took pictures of them. The police asked how they got into that area because even the police wouldn't be allowed there. They both said they had no idea - the journalists also asked what they were doing there - they replied that they were there to help the injured.

When Surachai and Witsanu arrived at the police station they noticed a table filled with weapons including fireworks, Molotov cocktails and catapults. The journalists who had taken photographs of Surachai and Witsanu also took photographs of the weapons.

Shortly after having their photos taken with the weapons, the police explained to them that they were had been charged with violating the State of Emergency and asked them to sign the document. They both signed the document but neither had the chance to read it as the police quickly took it away. After the police took their picture and recorded their details, they both were placed in police cell.

While in the cells Surachai and Witsanu stated that on the night of May 15th, 2010 4 Red Shirts, who were arrested for trying to deliver food to protesters at Ratchaprasong, arrived at Payathai police station. Surachai and Witsanu didn't find out these persons’ names but all were prosecuted and sentenced to 6months in jail.

The next morning on May 16, two more red Shirts were detained at Payathai police station and Surachai's mother came to visit him. She brought with her the May 16th copy of the Khaosod newspaper. Inside this newspaper was a photograph of Surachai and Witsanu - the text next to this photograph stated that Surachai and Witsanu had spoke in Khmer [Cambodian] to each other.

Surachai and Witsanu were taken to court on May 17th 2010 with 6 other Red Shirts. In court, the young judge read the indictment and asked how they would plead. When they were waiting to go inside the court the police had told both men that if they didn’t plead guilty they could be detained at a military camp. As they were afraid to go to a military camp both decided to plead guilty. The same police also told them if they put in guilty plea they would only receive a prison sentenced of between 2-6months.

After the court sentenced them [for full verdict see below], Surachai asked to be released on bail but his request was turned down. Witsanu didn't make a request for bail because he didn't have any money. Surachai added that when his request was turned down he knew exactly how it felt like to be discriminated against because of his political belief. It is normal in a Thai court for serious criminal like murderers to be allowed bail.

Surachai was found guilty of violating the SOE/participating in a demonstration on May 15th and for possession of weapons (see list below) - he received a one year prison sentence.
1. One catapult
2. Three firecrackers
3. Two sharp materials.
4. 8 glass marbles
5. One gas mask
6. One mobile phone
7. One bag
8. One black cap

Witsanu was sentenced to jail for 6months for violating the SOE/participating in a demonstration on May 15th.

Even though the men both entered a guilty plea they both insist they were there to help injured people.

Both of them didn't appeal therefore the verdict was final. Witsanu will be released on November 16 and Surachai will be released on May 16 2011, on the first anniversary of Bangkok Massacre. Surachai has now adjusted himself to life in prison. He has heard of the campaign called "write to political prisoners" and wants anyone who believes in justice to please write to him at Klong Prem (Section 8) 33/2 Ngamwongwan Rd. Ladyao, Chatuchak district, Bangkok 10900
http://redusala.blogspot.com

ปชป.กับการส่อแววเสียเอกราช!


       รายงาน(วันสุข)
         จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข
         ปีที่ 6 ฉบับที่ 309 ประจำวัน จันทร์ ที่ 9 พฤษภาคม 2011
         โดย ชายชาติ ชื่นประชา
         ยิ่งนานวันที่พรรคประชาธิปัตย์นั่งเป็นรัฐบาลอยู่ประเทศชาติยิ่งเสียหายจากปรากฏการณ์ที่บุคลากรในพรรค รวมถึงตัวหัวหน้าพรรคไร้ขีดความสามารถในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะประเด็นความมั่นคง ปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคใต้ และการแสดงออกของฝ่ายบริหารคือพรรคประชาธิปัตย์

เป็นการตอกย้ำความล้มเหลวของพรรคนี้ ซึ่งจะลามไปถามกลุ่มคนที่สนับสนุนให้เลือกพรรคนี้เป็นรัฐบาล โดยเฉพาะที่เลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องตอบสังคมให้ดีว่าควรหรือยังที่จะหยุดการแทรกแซงทางการเมืองเสียที เพราะมีแต่ความเสียหาย


ผู้เขียนเห็นว่าความรุนแรงที่เกิดในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนายกรัฐมนตรีของไทยเดินทางเข้าพื้นที่ และจุดเกิดเหตุก็ห่างจากพิธีที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นไม่ใช่เรื่องปรกติ ถือเป็นการแสดงออกที่ต้องยอมรับ และเป็นการดิสเครดิตรัฐไทยทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการว่าไม่มีขีดความสามารถในการวิเคราะห์ วางนโยบาย และดำเนินการแก้ไขปัญหา


คำตอบที่เรามักจะชินชาจนน่ารำคาญเมื่อเวลาเกิดเหตุในยามปรกติแทบจะรายวันนั้น รัฐมักจะบอกว่า “เรามาถูกทางแล้ว” หรือ “ฝ่ายโจรกำลังเพลี่ยงพล้ำจึงต้องออกมาตอบโต้” และล่าสุดเมื่อจนปัญญาเข้าจริงๆก็มักจะอ้างว่า “เราไปเหยียบตาปลาของโจรเข้า” หรือปัญหาของเถื่อนและผลประโยชน์ในพื้นที่ทำให้เกิดผลกระทบวงกว้างกับผู้ร่วมขบวนการที่รับผลประโยชน์ ซึ่งเป็นไปได้ว่าเมื่อปราบของเถื่อนรุนแรงกลุ่มเหล่านี้จึงพากันหาทางออกหรือจ้างวานกลุ่มโจรก่อการร้ายให้เพิ่มความรุนแรงในการปฏิบัติการ


เหตุผลอันหลังสุดนี่แหละเป็นเหตุผลที่ไม่ควรหลุดมาจากปากของมนุษย์ที่ใช้สมองพูด เผอิญขบวนการของรัฐไทยมีพวกที่พูดโดยไม่ผ่านสมองเยอะไปหน่อย เราจึงได้ยินคำพูดเช่นนี้ในปัจจุบัน
อันที่จริงแล้วขบวนการค้าของเถื่อน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเถื่อน บุหรี่ และอื่นๆ มีกระจายอยู่หลากหลายทั่วพื้นที่ในประเทศ จะต่างกันก็ตรงประเภทของสินค้า แหล่งที่มา หรือความถี่เท่านั้นเอง ซึ่งเรื่องจริงๆของวงการค้าของเถื่อนเป็นลักษณะปัญหาอาชญากรรมที่มีการสมยอมกันระหว่างนายทุนและเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นเอง ไม่ได้เป็นปัญหาของสงครามเชิงอุดมการณ์เช่นที่เกิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้


การกล่าวหาว่าปัญหาผลประโยชน์ในพื้นที่คือแหล่งเงินทุนสำคัญของการก่อการร้าย ที่จริงแล้วถือว่าเป็นการดูถูกขบวนการที่เคลื่อนไหวใน 3 จังหวัด ซึ่งมีอุดมการณ์มากกว่าจะเป็นอาชญากร หรือแก๊งผลประโยชน์เหมือนพื้นที่อื่นๆ ความสัมพันธ์ของเงินก่อการร้ายกับของเถื่อนยังห่างไกลกัน ถ้าจะบอกว่าเป็นส่วนของยาเสพติดอาจจะมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง เพราะจริงๆแล้วขบวนการต้องการใช้ยาเสพติดเป็นเครื่องมือในการขยายแนวร่วมให้ง่ายขึ้นและช่วยในการปฏิบัติการ เป้าหมายของกลุ่มก่อการร้ายนั้นไม่ใช่ต้องการขายยาเพื่อเอาเงินมาปฏิบัติการอย่างตรงไปตรงมาแค่ชั้นเดียว


พวกที่ไปโทษว่าการไปจัดการกับของเถื่อน ทำให้กลุ่มก่อการร้ายเคลื่อนไหวนั้น คงมีฐานความคิดจากยุคปลายสงครามเย็น ซึ่งตรงกันข้ามกับปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะถ้าไม่อย่างนั้นความรุนแรงในพื้นที่ที่อยู่ติดกับชายแดนและมีของเถื่อนทะลักเข้ามาจะต้องมีทิศทางและปริมาณในระนาบเดียวกัน


แต่ผู้เขียนเห็นว่าการก่อการร้ายในภาคใต้ กลุ่มนำหรือผู้ที่ดำเนินการเบื้องหลังที่วางนโยบายและยุทธศาสตร์นั้นต้องการที่จะแสวงประโยชน์จากเงื่อนไขต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ให้เป็นประโยชน์กับการปฏิบัติการ ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนพุ่งเป้าไปยังเงื่อนไขประวัติศาสตร์เรื่องการปลุกระดมให้คนรู้สึกว่าไม่ใช่คนไทย โดยปลุกความเป็นชาตินิยมว่าคนในพื้นที่เป็นคนมลายูปัตตานี ซึ่งถูกรัฐไทยทำลายลงหรือยึดกุมพื้นที่ จึงต้องไปเรียกร้องเอาเอกราชคืนมา แล้วใช้เครื่องมือที่เรียกว่าศาสนาแนวตีความเข้มข้น (ญีฮัด)


ดังนั้น เจ้าหน้าที่รัฐจะแก้ปัญหาจึงต้องไปหาว่าเงื่อนไขในพื้นที่คืออะไร และทำอย่างไรจึงจะทำลายความชอบธรรมในข้อกล่าวหาเหล่านั้นได้อย่างเป็นระบบ ถ้าแนวคิดของผู้เขียนเป็นจริง แปลว่าศูนย์ดุลของความรุนแรงครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องการยึดพื้นที่ทางกายภาพ หรือการส่งกำลังลงไปเดินเพื่อควบคุมกายภาพของเมือง หากแต่เป็นการต่อสู้เรื่องความชอบธรรม ซึ่งเบื้องลึกสุดเป็นความชอบธรรมของสิทธิชนกลุ่มน้อยที่รัฐมีหน้าที่จะต้องสร้างความชอบธรรมว่าจะทำอย่างไรให้ชนกลุ่มน้อยชาวมลายูเหล่านี้รู้สึกว่ารัฐไทยให้เสรีภาพ ความเท่าเทียม ความเสมอภาคแก่คนเหล่านี้อย่างเท่าเทียมกัน หรือเท่ากับคนไทยพุทธ
แต่รัฐภายใต้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ทำอะไรเลย เช่น กรณีรูปธรรมเรื่องที่คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการคำตอบว่าพวกเขายืนชุมนุมประท้วงหน้าศูนย์ราชการที่ตากใบยังไม่ถึง 24 ชั่วโมงก็ถูกสลาย แล้วมีคนเสียชีวิตเป็นผลพวงตามมาอีกร่วม 90 ศพ จนถึงวันนี้พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นคนใต้ที่เขาหวังเอาไว้ว่าจะเข้าใจก็ไม่ตอบอะไร


นี่คือรูปธรรมง่ายๆที่ฝ่ายตรงข้ามใช้แสวงประโยชน์จากเงื่อนไขนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับพวกเขาได้โดยไม่ต้องทำอะไร


ความโลภและสิ้นปัญญาของพรรคประชาธิปัตย์คือยัดเยียดแนวคิดที่ว่าพื้นที่ดังกล่าวยากจน ซึ่งยิ่งจะเกิดปัญหาความรุนแรงหรือก่อการร้าย เป็นคำอธิบายของนักทฤษฎีแนวอาชญากรรมว่าคนจนจึงต้องปล้นเขากิน แต่ความจริงในพื้นที่ลักษณะความรุนแรงไม่ใช่เกิดจากโจร แต่มีฐานในอุดมการณ์ การก่อการร้ายทั่วโลกก็พิสูจน์แล้วว่าหัวหน้าขบวนการมักจะเป็นคนที่ร่ำรวย เนื่องจากมีปัจจัยสี่ครบ จึงขยับไปเรียกร้องเรื่องนามธรรม เช่น เอกราชและอัตลักษณ์ เป็นต้น
การที่พรรคประชาธิปัตย์ขะมักเขม้นแยกงานพัฒนาออกไปได้สำเร็จ ลงทุนตั้งองค์กรและเลือกพวกของตนมาบริหาร แล้วนึกว่าจะได้ความชอบธรรม ปรากฏการณ์กลับส่อให้เห็นว่าความรุนแรงไม่ลด เพราะพรรคประชาธิปัตย์นอกจากจะตีโจทย์ไม่แตกแล้ว ยังละโมบเหมือนโจรปากห้อยทั่วไป


ดังนั้น ยิ่งพรรคนี้อยู่เป็นรัฐบาลนานเท่าไรประเทศชาติอาจจะเสียเอกราช เพราะแก้ปัญหาความรุนแรงทางใต้ไม่ได้ แถมยัง “ติดกับ” ปัญหากัมพูชาที่ยังรุนแรงอีก อย่างนี้ต้องถามไปถึงมนุษย์ที่อุ้มสมพวกนี้ขึ้นมาว่ายังสติดีอยู่หรือเปล่า?



ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 309 
วันที่ 7 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 หน้า 10 
คอลัมน์ ทหารใหม่วันนี้ โดย ชายชาติ  ชื่นประชา
http://redusala.blogspot.com
ประสบการณ์รัฐประหารไทยการแย่งชิงสงครามทางสื่อ

        รายงาน(วันสุข)
         จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข
         ปีที่ 6 ฉบับที่ 309 ประจำวัน จันทร์ ที่ 9 พฤษภาคม 2011
         โดย ปราบ-ริปู โบกทิวธวัช
         ประสบการณ์ในอดีตเมื่อ พ.ศ. 2524 ครั้งเกิด “กบฏยังเติร์ก” หรือ “กบฏเมษาฮาวาย” ระหว่าง 1-3 เมษายน พ.ศ. 2524 ขณะที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การกบฏคราวนั้นมีความน่าสนใจที่จะกล่าวถึงบางแง่มุมที่กลายเป็น “ปัจจัยชี้ขาดในผลของการแพ้และชนะ”

คราวนั้นบรรดาผู้ก่อการประกอบด้วยนายทหารที่เรียกว่า “จปร.7” บ้างก็เรียกเป็น “ทหารยังเติร์ก” มีหัวขบวนระดับดาวดังหลายคน โดยมี พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา รองผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เวลานั้นถูกชูให้เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ โดยคณะผู้ก่อการที่เป็นทหารหนุ่มได้เริ่มต้นด้วยการจับตัว พล.อ.เสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ. สูงสุด) พล.ท.หาญ ลีนานนท์ พล.ต.ชวลิต ยงใจยุทธ และ พล.ต.วิชาติ ลายถมยา เป็นตัวประกัน แล้วนำไปไว้รวมกัน ณ หอประชุมกองทัพบก จากนั้นก็ออกแถลงการณ์คณะปฏิวัติ


เหตุผลน่าสนใจที่เป็นข้ออ้างการรัฐประหารคือ สถานการณ์ของประเทศเต็มไปด้วยความระส่ำระสาย ความอ่อนแอของผู้บริหารประเทศ พรรคการเมืองแตกแยกและขัดแย้ง เสถียรภาพของรัฐบาลสั่นคลอน เป็นเหตุให้มีกลุ่มบุคคลไม่หวังดีเคลื่อนไหวจะใช้กำลังเข้ายึดอำนาจการปกครองเพื่อเปลี่ยนเป็นระบบเผด็จการถาวร...ดังนั้น คณะก่อการจึงชิงลงมือปฏิบัติการเสียก่อน?


ครั้งนั้นถือเป็นการเคลื่อนกำลังเพื่อปฏิวัติรัฐประหารที่มีการตอบโต้จากฝ่าย พล.อ.เปรม แต่สถานการณ์ช่วงแรกเต็มไปด้วยความสับสน กระทั่งมีการบอกเล่าเป็นข่าวสารเชิงตลกแบบที่ฝรั่งถือเอา “วันที่ 1 เมษายนเป็นวัน April Fool” ที่ให้โกหกหลอกกันเล่นได้ ซึ่งเป็นที่นิยมปฏิบัติทั้งในสหรัฐและยุโรป หรืออีกเหตุผลที่เรียกเช่นนั้นเพราะเป็นการปฏิบัติการช่วงกลางฤดูร้อนพอดี ผู้คนกำลังไปตากอากาศ ทำให้นึกถึงบรรยากาศชายทะเล ซึ่งมีเกาะและต้นมะพร้าวแบบ “ฮาวาย” การปฏิวัติรัฐประหารครั้งนั้นสื่อต่างประเทศเลยเรียกว่า “April Fools’Coup d’tat”
การพยายามรัฐประหารครั้งนั้นในช่วงต้นเหมือนกลุ่มยังเติร์กจะได้รับชัยชนะ เพราะมีกองกำลังมากถึง 28 กองพัน ทุกอย่างจึงน่าจะแบเบอร์ แต่พลาดนับตั้งแต่การเข้าจับตัว พล.อ.เปรมไม่สำเร็จ ปล่อยให้กระโดดหน้าต่างหนีไปได้ แล้วไปตั้งหลักที่โคราช หลังจากนั้นจึงแก้เกมปฏิบัติการตอบโต้กลุ่มยังเติร์กอย่างเป็นกระบวนยุทธ์ ทำให้กลุ่มยังเติร์กกลายเป็นกบฏในท้ายที่สุด?


ชัยชนะสิ่งแรกที่เห็นคือความชอบธรรมของฝ่าย พล.อ.เปรม เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯไปโคราชและอยู่ในการถวายอารักขา ณ กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 2.เพียงเท่านี้คนไทยก็ตัดสินใจได้แล้วว่าควรจะเข้าข้างฝ่ายใด?


ความชอบธรรมของ พล.อ.เปรมที่เกิดขึ้นจึงส่งผลให้กลุ่มยังเติร์กเริ่มประสบความพ่ายแพ้ พล.อ.เปรมสามารถพลิกสถานการณ์จากสภาวะที่แทบไม่มีแต้มเลยจนเป็นต่ออยู่หลายขุม กองกำลังของกองทัพบกที่แทบไม่เหลืออยู่ข้างรัฐบาลต้องหยุดชะงักการปฏิบัติการ


พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร อดีตนักรบตาพระยา ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว เคยเปิดเผยครั้งหนึ่งว่า ถ้าจะเอาชนะด้วยกำลังสามารถกระทำได้ไม่ยาก แต่กลุ่มยังเติร์กล้วนเป็นผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ พวกเราจะเคลื่อนต่อไปคงจะไม่ได้ เราไม่ต้องการล้มล้างสถาบันแต่อย่างใด?


นอกจากนั้นแล้วยังมีอีกบทเรียนสำคัญ ได้แก่ ฝ่าย พล.อ.เปรมสามารถแก้เกมในสงครามสื่อได้สำเร็จ ถือเป็นการรัฐประหารที่รบกันบนคลื่นวิทยุ เริ่มจากยกแรกต่างฝ่ายต่างทำการปลดกันกลางอากาศ ติดตามมาด้วยการเรียกให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปรายงานตัว กลุ่มยังเติร์กให้ไปรายงานที่สนามเสือป่า ฝ่าย พล.อ.เปรมให้ไปรายงานที่โคราช กระทั่งหลายคนต้องใช้วิธีเฝ้ารอดูให้สถานการณ์ชัดเจนเสียก่อนว่าใครเป็นผู้แพ้ผู้ชนะแล้วค่อยรายงานตัวภายหลัง?
สงครามแย่งสื่อของฝ่าย พล.อ.เปรมเริ่มต้นด้วยการแก้เกมโดยใช้บุคลากรที่มีสายสัมพันธ์เป็นพิเศษในกรมไปรษณีย์โทรเลข (ขณะนั้น) เพราะสายโทรศัพท์ยังไม่ถูกตัด จึงต่อสัญญาณจากโคราชเชื่อมเข้าสู่สถานีวิทยุ 1 ปณ. จากนั้นก็ใช้เครือข่ายถ่ายทอดออกไปทั่วประเทศไทย สนามรบด้านสื่อวิทยุทำให้ฝ่าย พล.อ.เปรมสามารถรุกคืบกลับได้จนเป็นผลสำเร็จ ส่งผลให้การกบฏสิ้นสุดลงโดยไม่ได้มีการปะทะใดๆให้เกิดการสูญเสีย?


เมษาฮาวายจึงเป็นอีกความทรงจำในประวัติศาสตร์ของการรัฐประหารที่จบลงไปด้วยดีและมีข้อคิดอยู่หลายแง่มุม ตั้งแต่ความสำคัญของสงครามสื่อ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที้ชี้ผลแพ้ชนะ ตลอดจนถึงความสำเร็จของ พล.อ.เปรมในการถวายการอารักขาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและราชวงศ์ น้ำหนักแห่งความจงรักภักดีจึงเป็นการถ่วงตราชั่งสำคัญอีกเงื่อนไข?


จากประสบการณ์ในครั้งนั้นเมื่อเชื่อมโยงมาปัจจุบัน หากจะเกิดการปฏิวัติรัฐประหารอาจนำบางอย่างมาเป็นประสบการณ์ที่เปรียบเทียบได้ โดยเฉพาะ “สงครามแย่งชิงพื้นที่สื่อ” จะเป็นสมรภูมิที่ทุกคนไม่ยอมพลาดในปฏิบัติการ (ถ้าหากจะมีขึ้น) แต่สนามรบของสื่อในปัจจุบันนี้เป็นไปอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง รวมทั้งมีความเชื่อมโยงในขอบเขตของโลก จึงทำให้เกิดคำถามอยู่เหมือนกันสำหรับปฏิบัติการที่จะเกิดขึ้นว่ามีโอกาสเปิดสงครามถึงขั้น “ยึดสัญญาณถ่ายทอด” ไม่ว่าจะเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์และสื่ออินเทอร์เน็ตก็ตาม
เข้าใจว่าในด้านกำลังพล รวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ กองกำลังรัฐประหารต่างมีความพร้อม เพียงแต่ไม่แน่ใจในประสิทธิภาพที่จะทำสงครามยึดครองสื่อ สัญญาณการถ่ายทอดต่างๆจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่แน่ใจที่จะมีการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นมาหรือไม่?


ปรากฏการณ์โทรทัศน์จอดำเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาน่าจะมีความเป็นไปได้สำหรับการทดลองหรือทดสอบเพื่อหาคำตอบ ทั้งที่เกี่ยวกับการยึดครองสัญญาณถ่ายทอดทางดาวเทียม ตลอดจนการทดสอบเพื่อหาคำตอบถึงปฏิกิริยาในหมู่มวลชนที่จะต้านการทำรัฐประหาร?


ข้อเท็จจริงที่ควรคำนึงสำหรับประจุไฟฟ้าจากอวกาศที่รบกวนการทำงานของดาวเทียมจึงถูกตั้งคำถามว่าหากเป็นปรากฏการณ์เช่นนั้นแล้ว เหตุใดดาวเทียมดวงอื่นๆที่โคจรอยู่จึงไม่ประสบปัญหาเหมือนกับ “ดาวเทียมไทยคม 5” เรื่องดังกล่าวมาจึงน่าจะมีเบื้องหลังที่ซ่อนวาระพิกลบางภารกิจไว้


เป็นไปได้หรือไม่ที่มีความพยายามจะเข้าไปส่งรายการอะไรบางอย่าง เพื่อหวังทำการถ่ายทอดสดผ่านสถานีควบคุมดาวเทียมไทยคมไปสู่โทรทัศน์ช่องต่างๆ แต่บังเอิญเป็นการพลาดและรู้ไม่เท่าทันเทคโนโลยีปัจจุบันที่สถานีโทรทัศน์แต่ละช่องนั้นยังมีการล็อกสัญญาณของตัวเองเอาไว้ บางช่องเปลี่ยนไปใช้การส่งสัญญาณโดยใช้ใยแก้วนำแสง บางช่องก็ใช้ทั้งดาวเทียมผสมใยแก้วนำแสง
เหตุผลปฏิบัติการโทรทัศน์จอมืดถูกรบกวนจากประจุไฟฟ้าในอวกาศจึงต้องหาคำตอบและอธิบายกันใหม่ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นต้องกระทบดาวเทียมหลายดวง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับบรรดาผู้ชำนาญการด้านอาวุธและจัดกำลังตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ส่วนเรื่องจะควบคุมสัญญาณดาวเทียมคงจะอาศัยเฉพาะ “พล.ต.” ผู้เชี่ยวชาญคนนั้นคนเดียวเห็นจะไม่เพียงพอแล้ว เพราะเทคโนโลยีดาวเทียมซับซ้อนมากกว่าเดิม ต้องถอยหลังตั้งหลักกันใหม่ พร้อมทั้งเตรียมคำอธิบายที่ไม่โมเมเกี่ยวกับจุดดับบนดวงอาทิตย์อีกครั้ง หากจะเกิดพลาดพลั้งขึ้น อย่าคิดว่าคนไทยทุกวันนี้หลอกยังไงก็หลอกได้?



ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 309 
วันที่ 7 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 หน้า 11 
คอลัมน์ คิดทวนเข็มนาฬิกา โดย ปราบ-ริปู  โบกทิวธวัช
http://redusala.blogspot.com
‘ตบเท้า’การข่มขู่จากคนโง่

       ฟังจากปาก
         จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข
         ปีที่ 6 ฉบับที่ 309 ประจำวัน จันทร์ ที่ 9 พฤษภาคม 2011
         โดย ถนอมศรี จันทร์ทอง
         “ตบเท้า” เป็นการแสดงการข่มขู่ของคนโง่ เพราะถือเป็นการคุกคามและเป็นภัยต่อระบอบประชาธิปไตยที่ต้องการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง โดยการงัดข้ออ้างที่เป็นอมตะคือล้มล้างสถาบันตามมาตรา 112 พร้อมกับเป็นการสกัดกั้นนักวิชาการไม่ให้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้เพิ่มความขัดแย้งและแตกแยกในสังคม นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ ผศ.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะศิลปศาสตร์ ปรัชญากฎหมาย มหาวิทยาลัยศิลปากร นักวิชาการกลุ่มเครือข่ายสันติประชาธรรม

การเมืองไทยถึงขั้นวิกฤตหรือยัง


ขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤต แม้จะมีเลือกตั้งก็ยังมีปัญหาอยู่ดี ปัญหาการแตกแยกทางความคิดไม่สามารถแก้ได้ด้วยการกอดคอรักใคร่กันแบบเด็กๆแล้วจบ แต่ต้องดูว่าปัญหาความขัดแย้งในเชิงผลประโยชน์คืออะไร และอย่ามองว่าชนชั้นนำบางส่วนทะเลาะกัน มีฐานเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่ทั่วถึง การไม่เคารพสิทธิในการกำหนดสิทธิสังคมและการเมืองของคนในระดับต่างๆ อันนี้เป็นตัวปัญหาหลัก การจัดการจริงๆคือการกระจายผลประโยชน์ให้ทั่วถึง และมีโครงสร้างทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยให้มากกว่านี้


ถ้าเลือกตั้งไม่เกิดขึ้นความไม่พอใจจะสูง ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำให้การเลือกตั้งชะงัก ซึ่งวันนี้ไม่ว่าฝ่ายใดก็ตามหากไม่คิดถึงเหตุผลก็เสี่ยง ต้องมีการอ้างข้ออ้างบางอย่างที่รู้สึกว่ามีน้ำหนักมากพอจะสร้างกระแส แต่ตอนนี้ไม่เห็น อย่างกระแสล้มสถาบันตอนนี้ไม่ได้เข้มขนาดนั้น


การเลือกตั้งจะแก้ปัญหาได้


แก้ปัญหาได้ชั่วคราว เพราะอาจทำให้บรรยากาศสงบ แต่ถ้าผลออกมาเป็นที่น่าพอใจหรือไม่พอใจของอีกฝ่ายหนึ่งจะมีปฏิกิริยาออกมา แต่คิดว่าหลังเลือกตั้งแม้พรรคเพื่อไทยจะได้เสียงข้างมากเขาคงไม่ให้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล คงมีการคิดหาวิธีสกัดขา แม้แต่การยุบพรรคอีกครั้งหนึ่ง หรือการกดดันเป็นคนคนไปเพื่อให้เปลี่ยนฟาก


มีการนำเรื่องหมิ่นสถาบันมาเป็นเครื่องมือ


เรื่องกระบวนการล้มเจ้าเป็นการปั้นแต่งขึ้นตั้งแต่ต้นแล้ว และการโยงใครต่อใครนั้นไม่ได้เกี่ยวกันเลย เรื่องนี้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ผมมองจากหลายฝ่ายด้วยกัน ฝ่ายหนึ่งคือทหารที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ามาจัดระเบียบทางการเมืองตามแนวคิดของตัวเอง และอีกอย่างคือต้องการไม่ให้มีการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง ถ้าจะมีรัฐประหารครั้งต่อไปคงใช้เหตุผลนี้เป็นหลัก


ภาพทหารตบเท้าเป็นการส่งสัญญาณอะไรหรือไม่


การออกมาตบเท้าของทหารครั้งนี้เป็นการคุกคามคนเสื้อแดง และเป็นการคุกคามระบอบประชาธิปไตยโดยตรงด้วย เพราะลักษณะของทหารที่คุมกองกำลัง ตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. หรือระดับคุมแม่ทัพลงมา หากเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วลักษณะอย่างนี้ผู้บัญชาการเหล่านี้ต้องถูกปลด เขารู้อยู่แล้วว่ามีเจตนาคุกคามและสร้างกระแสเพื่อเป็นข้ออ้าง


กกต. ห้ามพรรคการเมืองนำสถาบันมาหาเสียง


การที่ กกต. (คณะกรรมการการเลือกตั้ง) ออกระเบียบห้ามนำสถาบันไปหาเสียงนั้นเป็นการรับลูกที่เกินกว่าเหตุ แต่มีข้อดีบ้างในส่วนที่ กกต. หยิบยกมาคือ ถ้านำไปใช้จริงๆแล้วไม่ใช้ 2 มาตรฐานอย่างพรรคการเมืองที่เอาสถาบันมาอ้าง ไม่ว่าจะอ้างแบบไหนก็ตามในการหาเสียงก็ต้องห้าม ความจริงแล้วกองทัพก็มี พวกหน่วยงานความมั่นคง หรือรัฐบาลก็ใช้สถาบันเป็นข้ออ้างมาดิสเครดิตและกดดันคู่แข่งทางการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรนำมาใช้


ถ้าปฏิวัติเกิดเลือกตั้งจะไม่มี


เป็นเรื่องของการค่อยๆเพิ่มระดับสถานการณ์ หากมีรัฐประหารเหตุผลล้มสถาบันจะเป็นเหตุผลหนึ่ง แต่รัฐประหารขณะนี้จะยังไม่เกิด เพราะการอ้างยังไม่เพียงพอ อาจจะดูปฏิกิริยาของฝ่ายที่ถูกโจมตีว่าจะตอบโต้ด้วยวิธีการอย่างไร เขาจะใช้ประโยชน์ในการเพิ่มระดับการกล่าวหามากขึ้นหรือไม่ แต่ถ้าหลังเลือกตั้งผลปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยชนะขาดลอย หรือคู่คี่กับพรรคประชาธิปัตย์ และการจัดตั้งรัฐบาลมีแนวโน้มจะย้ายฟากมาทางพรรคเพื่อไทยก็มีสิทธิจะเกิดปฏิวัติ แม้พรรคเพื่อไทยจะชนะก็ยากจะได้เป็นรัฐบาล


อาจแตกหักนำไปสู่ 14 ตุลา อีกครั้ง


เราอาจหลีกเลี่ยงตรงนั้นไม่พ้น เพียงแต่จะออกมาอย่างไร จะออกอย่างตูนีเซียหรือลิเบีย ที่ไม่พูดถึงอียิปต์เพราะอียิปต์ให้ทหารรับช่วง คิดว่าอะไรจะเป็นตัวเร่งให้ประเทศตกอยู่ในภาวะความรุนแรงขึ้นอีก ก็คือความโง่ของทหารที่ทำอย่างนั้น ยิ่งแสดงท่าทีว่าตัวเองเป็นคีย์เฟคเตอร์ในการกดดันทางการเมืองหลักและแสดงอย่างเต็มที่จะยิ่งเป็นตัวสร้างกระแสเร็ว และอีกตัวเร่งหนึ่งคือการใช้มาตรา 112 ว่าด้วยการหมิ่นสถาบันกษัตริย์มาเป็นตัวเล่นนักวิชาการ อันนี้จะเป็นตัวกระตุ้น เพราะเมื่อนำเรื่องนี้มาจัดการกับนักวิชาการจะเกิดกระแสนักวิชาการที่เป็นบล็อกพันธมิตรกันทันที ทะเลาะกันก็จะเลิกทะเลาะ และจะหันมาร่วมมือกัน เพราะถูกคุกคามทางเสรีภาพด้านวิชาการและความคิดเห็น พวกนี้เป็นตัวเร่งทางนั้น


อย่างไรก็ตาม มาตรา 112 คิดว่าเป็นปัญหาอย่างยิ่ง ต้องแก้ไขและรณรงค์ให้มีการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ เพราะจะทำให้สถาบันอยู่อย่างมั่นคงในระบอบประชาธิปไตยในอนาคต รวมถึงทำให้การใช้ข้ออ้างเรื่องนี้ลดระดับความสำคัญลงไป และลดเงื่อนไขการเกิดวิกฤตของความขัดแย้งรุนแรงที่นำไปสู่การเสียเลือดเนื้อ การเคลื่อนไหวเรื่องนี้สำคัญมาก และเป็นคนละเรื่องกับเรื่องล้มสถาบันอย่างชัดเจน ยกเว้นพวกพยายามปั้นผีขบวนการล้มเจ้าเอาแบบมั่วๆโดยไม่ดูเหตุผล


เรื่องสถาบันอาจนำไปสู่ความรุนแรง


อีกฝ่ายหนึ่งจะปั่นเรื่องนี้และนำไปเป็นข้ออ้าง แต่ว่าไม่เหมือน 6 ตุลา เพราะสมัยนั้นคนถูกปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร สื่อเป็นลักษณะกรอกหูฝ่ายเดียว ไม่เหมือนสมัยนี้ที่เห็นข้อมูลต่างๆ ฉะนั้นกระแสเรื่องนี้ปั่นมากๆกลับทำให้สถาบันเสื่อมเสีย พวกนี้จะเป็นตัวทำลายสถาบันเสียเอง ส่วนการที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ใช้ข้อหาหมิ่นสถาบันจัดการกับแกนนำคนเสื้อแดงเพื่อถอนประกันนั้นไม่อยู่ในบรรยากาศที่ฟังขึ้นและใช้ได้ผลเหมือนเมื่อก่อน สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว และดีเอสไอไม่ได้มีภาพที่ดีเท่าไร โดยเฉพาะอธิบดีดีเอสไอ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เหมือนกับเป็นคนรับใช้รัฐบาล การเคลื่อนไหวของเขาไม่ได้ถูกมองว่าโปร่งใสหรือทำโดยหน้าที่โดยชอบ


ทำอย่างไรจะไม่ให้มีการนำสถาบันมาใช้ทางการเมือง


จริงๆเป็นปัญหาเรื่องการแกล้งไม่เข้าใจหลักการของระบอบประชาธิปไตย คืออย่างผมดูข้ออ้างของทหารที่บอกว่าทหารมีหน้าที่ปกป้องสถาบัน พูดอย่างนี้ผิด เพราะทหารในระบอบประชาธิปไตยมีหน้าที่ปกป้องประชาชน ซึ่งเป็นองค์รัฐาธิปัตย์ของระบอบการปกครองและรักษาระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น ไม่มีหน้าที่ปกป้องสถาบันหนึ่งใดโดยเฉพาะเจาะจง พูดถึงหลักการในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะมีเป็นประมุขแบบใดก็ตาม การที่ทหารยกเรื่องนี้มาเป็นประเด็นหลักสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เข้าใจหลักการการปกครอง ซึ่งความจริงเข้าใจ แต่คงแกล้งไม่เข้าใจมากกว่า


มีการมองว่าปัจจุบันทหารเข้ามาครอบงำทางการเมืองมาก


สถานการณ์การเมืองขณะนี้ทหารเป็นคีย์เฟคเตอร์ที่สำคัญ ต้องยอมรับว่าทหารคุมกองกำลัง ระบบของเขาเขากันคนนอกที่จะไปตรวจสอบ และการพูดความจริงต่อสาธารณะไม่มีอะไรประกันความไม่มีผลเสีย ยกตัวอย่างกองทัพมีการปฏิบัติการลับหลายเรื่อง แต่เวลาที่ผู้บัญชาการทหารให้สัมภาษณ์เขาจะบอกว่าไม่มี ดังนั้น การโกหกสาธารณะจึงเป็นเรื่องปรกติที่ผู้บัญชาการกองทัพทำอยู่แล้ว และเรื่องสัญญาว่าจะไม่ทำรัฐประหาร สมัย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีต ผบ.ทบ. ก็สัญญาเอง แต่ท้ายที่สุดตัวเองก็ทำ ดังนั้น ไม่มีอะไรรับประกันว่าทหารจะไม่ทำเรื่องพวกนี้ ที่สำคัญการจัดการโครงสร้างกองทัพในปัจจุบันรวมศูนย์ลดหลั่นไปยังผู้บัญชาการ ตรงส่วนนี้ทำให้ผู้บัญชาการอ้างกองทัพมาแทรกแซงการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของพวกตัวเองได้ตลอดเวลา ที่เห็นชัดเจนคือในกองทัพเรื่องการดูแลทหารระดับล่างกลับไม่เพียงพอ เช่น ทหารชายแดน เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม หากทหารทำการปฏิวัติครั้งนี้ ตามมุมมองของผมนั้นทหารต้องคิดให้ดี คือคงไม่เหมือน 19 กันยา 2549 ที่มีการทำรัฐประหาร เขาต้องประเมินการต่อต้านรัฐประหาร เพราะครั้งนี้ไม่เหมือนเก่า แต่ถ้ามองในส่วนของกระบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตย หากทหารทำรัฐประหารจะเป็นจุดจบของทหาร เพราะต่อไปนี้คงไม่ยอมกันง่ายๆ และภาพอาจออกมาหลายโมเดล เช่น โมเดลเปลี่ยนผ่านไปเป็นแบบตูนีเซียหรือไม่ หรือสุดท้ายแล้วจะเป็นแบบลิเบียหรือไม่ ขึ้นอยู่กับทหารจะใช้ความเหี้ยมโหดในการปราบปรามแค่ไหนถ้าคนออกมาต่อต้าน แต่สุดท้ายผมคิดว่าทหารไม่รอด สุดท้ายโครงสร้างกองทัพก็ต้องโดนรื้อ แต่จังหวะที่เขาทำรัฐประหารและทำไม่สำเร็จเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะรื้อโครงสร้างทหารให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย โดยที่อนาคตกองทัพไม่สามารถมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง


แต่ยักษ์ไม่ยอมกลับเข้าตะเกียง


เดี๋ยวนี้เราไม่ต้องกลัวยักษ์แล้ว สมัยก่อนเราเป็นหญ้าแพรกเรากลัวแต่ว่าช้างมันชนกันอย่าให้มาเหยียบเราให้เดือดร้อน ผมเคยคุยกับแท็กซี่เขาบอกว่าเราเหมือนมด ช้างมามดก็กัดตรงนั้นตรงนี้ มดบางส่วนถูกเหยียบตายไป มดก็กัดไปเรื่อยๆ กัดบางส่วนช้างก็ล้ม ผมคิดว่าปัจจุบันนี้เป็นอย่างนั้น แต่เราไม่ได้สู้โดดเดี่ยว การสู้กับอำนาจแบบนี้มีแนวร่วมทั่วโลก ดังนั้น จึงยาก เขาอาจยึดอำนาจได้ แต่จะอยู่ได้นานแค่ไหนเท่านั้น คิดว่าไม่ต้องถึงทศวรรษหนึ่ง ภายใน 4-5 ปีนี้เมืองไทยน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในระดับสำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้าง


มีการคุกคามกับนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์


เรื่องนี้ทางนักวิชาการได้ออกมาปกป้อง อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ตรงนี้ทหารน่าจะคิดว่าดัชนีตรงนี้ชี้ชัด ในสมัยก่อนนี้ 14 ตุลา ก็มีปฏิกิริยาแบบนี้ที่เริ่มจุดประกายและขยายตัวออกไป เขาไม่สามารถดูหมิ่นพลังนักวิชาการได้ แม้นักวิชาการจะมีแต่ปากกา มีแต่เสียงก็ตาม แต่สามารถสร้างกระแสได้ ที่สำคัญคือการที่เขาหักล้างเหตุผลของทหารทุกกรณี ทำให้ทหารอ้างเหตุผลและฟังไม่ขึ้นเหลืออยู่เพียงอย่างเดียว คือการแสดงความกร่างของการมีอำนาจ แต่หากเป็นอย่างนั้นทหารเองก็ยากจะอยู่ได้


หาก พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาทิศทางของเสื้อแดงจะออกมาในรูปแบบใด


การกลับมามีเงื่อนไขบางอย่าง คือไม่ควรรับเรื่องนิรโทษกรรมทุกฝ่าย เพราะถ้านิรโทษกรรมเท่ากับ พ.ต.ท.ทักษิณ (ชินวัตร) ไม่สนใจคนที่เสียชีวิต อย่างนั้นไม่ได้อยู่แล้ว และกระแสคนเสื้อแดงไปไกลกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ หมายความว่าถ้า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ขับเคลื่อนประชาธิปไตยกระแสนี้จะกลับมาเป็นหอกทิ่ม พ.ต.ท.ทักษิณอีกทีหนึ่ง คือการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปแล้ว แม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณก็หยุดมันไม่ได้ที่จะให้อยู่ในความพอใจเฉพาะของตัวเอง
การเรียกร้องความเป็นธรรมให้ผู้เสียชีวิต 91 ศพ


รัฐบาลนี้ไม่ได้ รัฐบาลหน้าถ้ายังอยู่ในการจัดบล็อกมาจนได้ตามที่มือที่มองไม่เห็นต้องการก็ไม่มีทาง แต่ถ้ารัฐบาลเพื่อไทยไม่ทำก็จะเจอปัญหาเอง การเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมของคนเสื้อแดง ผมคิดว่าแกนนำ นักวิชาการ เขาคงคิดว่าเป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้ จะให้แบบว่างเปล่าไม่ได้ เรื่องนี้ควรทำต่อ ต้องทวงให้ถึงที่สุด ยอมไม่ได้ แกนนำผู้ชุมนุมควรรับผิดชอบชีวิตที่หายไปด้วยหรือไม่ ผมคิดว่าทางแกนนำควรทบทวนตัวเอง การเคลื่อนไหวรอบคอบพอหรือไม่ การคำนึงถึงชีวิตของคนร่วมชุมนุม อันนี้ไม่ทบทวนไม่ได้อยู่แล้ว คือเป็นเรื่องซีเรียส แกนนำแต่ละคนต้องคิดและทำ


พ.ต.ท.ทักษิณทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงในสังคม


เป็นความจริงส่วนหนึ่งในแง่บทบาทในช่วงที่เป็นนายกรัฐมนตรีที่ลักษณะปฏิบัติที่ทำให้เกิดการตื่นตัวในการอธิบายว่าประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือ ปัจจุบันในฐานะที่ พ.ต.ท.ทักษิณเลือกข้างอยู่แล้ว ในส่วนคนเสื้อแดงแน่นอนเป้าพุ่งตรงนี้และใช้ดิสเครดิสไปยัง พ.ต.ท.ทักษิณเพื่อให้กระบวนการเสื้อแดงเป็นแค่ลูกน้อง พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ลึกไปกว่านั้น พ.ต.ท.ทักษิณไม่ใช่ตัวหลัก เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นที่สะท้อนผ่านคนเสื้อแดงคือ การที่คนระดับล่าง คนในหลายกลุ่ม เขามองว่าตัวเองถูกตัดออกจากการที่จะมีส่วนในการกำหนดโครงสร้างของประเทศ กำหนดนโยบายของประเทศที่สามารถสนองตอบความต้องการของเขา ผมว่าตรงนี้ชัดเจน ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่ พ.ต.ท.ทักษิณ


หากไม่มี พ.ต.ท.ทักษิณจะปรองดองได้หรือไม่


คงไม่ได้ กระแสเสื้อแดงคงเคลื่อนต่อไป คราวนี้จะโจมตีเรื่องเป็นลูกน้อง พ.ต.ท.ทักษิณก็คงยาก ยังมีคนคิดเลยว่าอยากให้ พ.ต.ท.ทักษิณพักบทบาทด้วยซ้ำ เพื่อให้คนเสื้อแดงเคลื่อนเอง ฉะนั้นการมีหรือไม่มี พ.ต.ท.ทักษิณความขัดแย้งในสังคมไทยจะยังมีต่อไปเรื่อยๆ เพราะมันอยู่ในจุดไฮไลท์ อย่างไรโครงสร้างนี้ก็จะต้องปิด ส่วนจะเป็นไปโดยสันติหรือความรุนแรงเสียเลือดเนื้อเท่านั้นเอง



ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 309 
วันที่ 7 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 หน้า 18-19 
คอลัมน์ ฟังจากปาก โดย ถนอมศรี จันทร์ทอง
http://redusala.blogspot.com