ใครจะขวางปรองดอง ช่างแม่มัน | |
เมื่อ Let it be "ช่างแม่มัน" เสียวแปลบแทงหัวใจ จับตายุทธการ "แม้ว-ปู" แยกหัว-ตัดแขนขา อำมาตย์ ไขรหัส ไย "ป๋า" ไม่อาจรัก "ปู" ได้หมดใจ รายงานพิเศษ ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 ฉบับที่ 1653 หน้า 16 ต้องยอมรับว่า เสียงเพลง Let it be ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปล่งร้องจากผืนแผ่นดินแห่งกรุงเสียมราฐ กัมพูชา นั้น พุ่งตรงเข้าก้องโสตของฝ่ายอำมาตย์ และผองศัตรูกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะการใส่สีหน้า แววตาพร้อมกับสบถในเนื้อเพลงว่า "ช่างแม่มัน" และตอกย้ำ เน้นคำหลายต่อหลายครั้ง ทั้งเพลงนั้น ยิ่งเสียวแปลบแทงหัวใจอำมาตย์ ด้วยเพราะรู้กันดีว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการจะสื่ออะไร และสื่อถึงใคร เพราะแค่สีหน้าของแกนนำเสื้อแดงที่รายล้อม พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่นั้นก็บ่งบอก หรือแม้แต่การขยายความของ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ว่า "สมัยก่อน ชั่ง แม่ ขายเป็นกิโล" หรือใครจะขวางปรองดอง ช่างแม่มัน พรรคไหนจะขวางแก้รัฐธรรมนูญ ช่างแม่มัน" "จะเป็นจะตาย ก็ช่างแม่มัน ช่างแม่มัน" เสียงร้องของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ไม่ได้เป็นแค่การอ้อนคนรักทักษิณ ด้วยความเจ็บปวดหัวใจเท่านั้น จุดนี้ฝ่ายอำมาตย์ พยายามจับผิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และแกนนำเสื้อแดง พยายามเน้นเสียงที่บางคำนั้น ต้องการสื่ออะไร ทั้งๆ ที่รูปศัพท์จริงๆ คือ ช่างแม่งมัน อันเป็นคำสบถยอดฮิตของคนไทย แต่เพลงนี้ ประโยคเหล่านี้ คำนี้ กลายเป็นประเด็นฮอตในหมู่อำมาตย์ ที่วิพากษ์วิจารณ์ และพยายามจะโยงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ หมายถึงใคร ต้องยอมรับว่า ปฏิบัติการแห่งสงกรานต์ ปี 2555 ของ พ.ต.ท.ทักษิณ นี้ ไม่ใช่แค่การยึดพื้นที่ข่าว แต่ยังเป็นการเดินแผนกดดันอำมาตย์แห่งสยามประเทศ เพื่อสื่อว่า คนไทยรักทักษิณ ต้องการทักษิณ กลับประเทศ ด้วยอารมณ์และความแค้นนานา บางครั้งก็ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลืมตัว โดยเฉพาะการตอกย้ำว่าจะกลับประเทศภายในปีนี้ และถึงขั้นที่ระบุว่า ภายในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงวันเกิด 26 กรกฎาคม ของเขา ทั้งๆ ที่ทีมงานที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยให้ ยังไม่มั่นใจว่าจะดูแลไหวหรือไม่ และไม่เชื่อว่าเขาจะได้กลับภายในวันเกิดหรือแม้แต่ปีนี้ด้วยซ้ำ แม้ปกติพี่ชายจะเป็นคนวางแผน เขียนสคริปต์ และเตือนน้องสาว แต่บางครั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั้นต้องส่งข้อความสะกิด "พี่ชาย ใจเย็นๆ" แผนการให้คนรักทักษิณ ที่ไปรดน้ำสงกรานต์ที่ลาวและกัมพูชา ใส่หน้ากากทักษิณ กลับเข้าประเทศ จึงถูก พ.ต.ท.ทักษิณ สั่งยกเลิก เพราะจะเป็นการกดดันฝ่ายตรงข้ามมากเกินไป และอาจทำให้แผนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พยายามเดินเกมปรองดองอยู่ ไม่สัมฤทธิผล ต้องยอมรับว่า ในเวลานี้ ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พยายามที่จะ "เคลียร์" กับหลายฝ่าย หลายคน ในฝั่งตรงข้าม และในหลายระดับ แม้จะผ่านไปได้หลายระดับแล้ว แต่ก็ยังไปติดอยู่ที่บุคคลบางคน อันเป็นที่มาของวลี "ช่างแม่มัน" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ นั่นเอง จนทำให้ต้องมีหลายบุคคล ที่ต้องระบุว่า เป็นบุคคลชั้นสูง ที่พยายามช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ ฝากข้อความผ่าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปถึงพี่ชายของเธอ ให้ "ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งกดดันมาก ต้องให้เวลาอีกหน่อย" นั่นเอง แม้จะรู้ว่า ยังเป็นการแสดงละครยอมสงบศึกชั่วคราวของฝ่ายอำมาตย์ ทั้งท่าทีที่ดีของผู้นำกองทัพ โดยเฉพาะ บิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ที่มีต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จนกลายเป็นข่าวเม้าธ์ว่าเป็นคู่ขวัญ คู่พระคู่นาง พระเอกนางเอก แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ย่อท้อ ยังพยายามที่จะเข้าใกล้ผู้นำกองทัพ สร้างความคุ้นเคยสนิทสนม และช่วยเหลือดูแล เอาใจในบางเรื่อง โดยเฉพาะการให้เสนอของบประมาณจัดซื้ออาวุธของแต่ละเหล่าทัพแบบแพ็กเกจขึ้นมา แม้จะมีเสียงจากสายอำมาตย์ มองว่า เป็นการโปรยยาหอม พร้อมๆ กับการ "โปรยเสน่ห์" ของนายกฯ หญิงคนสวย แต่ก็มองว่า ทำให้บรรยากาศผ่อนคลายไปมาก เพราะผู้นำเหล่าทัพก็ต้องแสดงความเป็นสุภาพบุรุษชาติทหาร ให้เกียรตินายกฯ หญิง ทั้ง บิ๊กเจี๊ยบ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. ที่ได้ชื่อว่าเป็นทหารสายวัง และโดยเฉพาะ บิ๊กหรุ่น พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผบ.ทร. ที่เป็นที่ประทับใจของนายกฯ ปู ที่รักทหารเรือถึงขั้น ขอตุ๊กตาทหารเรือมาไว้เป็นที่ระลึก จนมีการวิจารณ์กันว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีท่าทีอ่อนลงมาก ไม่ได้ต่อต้านการนิรโทษกรรม นอกเสียจากแนะให้ยึดหลักกฎหมายและให้หยุดทะเลาะกัน ยิ่งเมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ดูแลไม่ให้มีการแทรกแซงกองทัพ บิ๊กตู่ ก็แฮปปี้ ส่วน บิ๊กโอ๋ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม ที่ว่าแรง ก็ต้องเบาลง จึงทำให้บรรยากาศระหว่างกองทัพกับรัฐบาลดีขึ้น รวมแม้แต่ระหว่าง พล.อ.อ.สุกำพล กับ ผบ.เหล่าทัพ ที่มีความคุ้นเคยและเป็นพี่น้องกันมากขึ้น ที่คาดกันว่า หลังจากไปทำ "ศึกเหมาไถ" ในการไปเยือนจีน 25-28 เมษายนนี้เพื่อกระชับสัมพันธ์ทางทหารและคานอำนาจสหรัฐอเมริกา แบบพร้อมหน้าคณะใหญ่ ทั้ง ปลัดกลาโหม ผบ.สส. และ ผบ. 3 เหล่าทัพ แล้ว พวกเขาจะยิ่งใกล้ชิดกันมากขึ้น ส่วนกับ ป๋าเปรม พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ก้าวหน้า ทำให้ป๋าเปรม อ่อนลง และดูแสนจะเอ็นดูเธอ แต่หาใช่เพราะมีข่าวที่ว่า หน้าตาเธอละม้ายน้องสาวของป๋าเปรม ตามที่พระราชปัญญาโมลี แห่งลำพูน ทักทายไม่ แต่ทว่า เป็นเพราะความอ่อนน้อม ใสซื่อ ไม่มีจริตจะก้าน ที่สำคัญดูจริงใจ ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จนทำให้ป๋าลืมไปว่า การเข้าหาป๋านี้ เพราะเป็นไปตามแผนของใคร เพราะความจริงแล้ว ป๋าเปรม ไม่เคยนึกหรือเปรยเรื่องที่ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ หน้าเหมือนน้องสาวซึ่งเสียชีวิตไปนานมากแล้ว เพราะนึกไม่ออกเลยว่า ถ้า ป๋าเปรม คิดว่า ตัวเองหน้าเหลี่ยมคล้ายคนชื่อทักษิณ ด้วยนั้นป๋าจะยอมรับตัวเองได้หรือไม่ มีแต่ป๋าจะพูดเสมอว่า "นายกฯ ยิ่งลักษณ์ นี่ ยิ่งดูๆ ไป หน้ายิ่งเหมือนพี่ชายเค้ามากนะ" ที่ทำให้คนใกล้ชิดตีความว่า กลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้ป๋าเปรม ไม่อาจเผลอใจรักและเอ็นดูนายกฯ หญิงคนเมืองคนนี้ได้หมดหัวใจ มีแต่ความเอ็นดู อย่างลูกหลาน และให้เกียรติในฐานะนายกฯ หญิงเท่านั้น ต่อให้เมื่อช่วงสงกรานต์ พ.ต.ท.ทักษิณ จะอวยพรผ่านสื่อ มาถึงป๋าเปรม ว่า "จริงๆ แล้ว ป๋าเปรมเป็นผู้ใหญ่ที่ผมเคารพรักท่าน ตอนที่อยู่ไปกราบเคารพท่านเป็นประจำ ปีนี้ท่านอายุมากแต่ท่านยังแข็งแรง ยังอิจฉา ถ้าผมอายุน้อยกว่าท่านหน่อย จะแข็งแรงเท่าท่านหรือไม่ สุขภาพดีมาก ก็ฝากกราบความปรารถนาดีให้ท่านสุขภาพท่านดีต่อไป เพราะสุขภาพท่านดีมาก ทั้งสุขภาพกายและจิต เป็นการรักษาสุขภาพที่เราน่าเอาอย่าง" ก็ตาม แต่ ป๋าเปรม ก็ไม่เคยลืมว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เคยทำกับป๋า และพาดพิงป๋าไว้อย่างไร ตั้งแต่เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งคำว่า "ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ" "มือที่มองไม่เห็น" จนถึงหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จนในโลกออนไลน์ โซเชียลมีเดีย มีการขุดเอาคลิป พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวพาดพิงป๋าเปรม กับคนไทยในออสเตรีย และในสำนักข่าวต่างประเทศต่างๆ มาเผยแพร่กันอย่างแพร่หลาย เพื่อตอกย้ำว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คิดอย่างไรกับป๋าเปรม แต่ที่ป๋าเปรม ดูจะพอใจก็คือ คำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ล่าสุดที่ว่า "ผมไม่ใช่คู่กรณีกับป๋าท่าน" ด้วยเพราะก่อนหน้านี้ พล.อ.เปรม เคยตอบคำถามผู้สื่อข่าว ที่ว่า "ป๋าไม่ต้องพบเจรจากับ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะว่าป๋าไม่ใช่คู่กรณี ใช่หรือไม่" ว่า "ผมไม่ได้พูดนะ สื่อพูดเอง" ทั้งหมดนี้ อาจเป็นแผนขั้นเทพของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เดินผ่าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพื่อที่จะแยก "ป๋าเปรม" ออกจากอำมาตย์ กลับลำเพื่อให้เข้าใจว่า ป๋าไม่ได้อยู่เบื้องหลังรัฐประหาร หรือเรื่องร้ายๆ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ประสบพบเจอมา เพื่อให้ป๋ารู้สึกดีและไม่ตกเป็นเป้า หลังจากที่ได้พยายามแยกกองทัพออกจากอำมาตย์ และตัดเขี้ยวเล็บ หากฝ่ายอำมาตย์ไม่มีกองทัพ ก็เสมือนขาดแขนขามือไม้ ก็ไม่อาจ "สั่ง" ให้ทหารปฏิวัติได้ แล้วหากฝ่ายอำมาตย์ ไม่มีป๋าเปรม ให้มาเชิดเป็นหัวขบวน ในการต่อสู้กับระบอบทักษิณ ฝ่ายอำมาตย์ก็จะอ่อนแรงลงไป อย่าลืมว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เคยให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ หลายต่อหลายครั้งเรื่อง "Palace Circle" ซึ่งก็หมายถึง บรรดาอำมาตย์ ที่แวดล้อมสถาบัน ที่สร้างปัญหา ซึ่งเขารู้ดีว่ามีใครบ้าง เมื่อก่อน ป๋าเปรมถูกบรรดาอำมาตย์ เชิดชักใยให้เป็นหัวขบวนอำมาตย์ในการต่อสู้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ มาตลอด ด้วยการป้อนข้อมูลในแง่ลบเข้าหูป๋าตลอด แม้แต่จากบรรดา "ลูกป๋า" ที่เป็นทั้งทหาร และพลเรือน แม้แต่ปัจจุบัน คนเหล่านี้ ที่อาจรวมถึงพวกที่ถูกเรียกว่า "สลิ่ม" ก็คัดค้าน และไม่แฮปปี้ที่ป๋าเปรมไปให้ความใกล้ชิดสนิทสนมและเอ็นดู น.ส.ยิ่งลักษณ์ จนถึงขั้นยอมไปร่วมงาน "รักเมืองไทย เดินหน้าประเทศไทย" ที่ทำเนียบรัฐบาล เกมของ พ.ต.ท.ทักษิณ คือ การแยกป๋าเปรม ออกมาจากอำมาตย์ เพื่อให้ศัตรูอ่อนแรงขาดหัว ด้วยการให้ความสำคัญ และแก้ข่าวว่า ป๋าเปรมไม่เกี่ยวข้องกับการล้มล้างระบอบทักษิณที่ผ่านมา แต่เป็นแค่ หุ่นที่ถูกเชิด เท่านั้น แม้ในช่วงสงกรานต์ จะไม่เห็นภาพหรือข่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปรดน้ำขอพรป๋าเปรม ทั้งๆ ที่ป๋ายกเลิกกำหนดการที่จะเดินทางกลับบ้านที่สงขลา เพื่อที่จะรอท่าอยู่บ้านสี่เสาเทเวศร์ ก็ตามนั้น ไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างป๋ากับนายกฯ ปู ถดถอยลง ด้วยเพราะในวันที่ 18 เมษายน ที่ป๋าเปิดบ้านให้ บิ๊กโอ๋ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม นำ ผบ.เหล่าทัพ เข้ารดน้ำขอพรนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็อยู่ระหว่างการไปเยือนจีน แต่ทว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้อาศัยโอกาสในระหว่างร่วมงานพระราชพิธีพระศพ เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ นั้น เดินข้ามปะรำพิธี ที่อยู่คนละส่วน เข้าไปกราบสวัสดีป๋าเปรม อย่างอ่อนน้อม พร้อมอวยพรสงกรานต์ และออกตัวว่า ไม่ได้ไปหาป๋า เพราะจะต้องไปเยือนจีน ท่ามกลางสายตาอำมาตย์ ที่จ้องมองเธอเป็นตาเดียวกัน แต่ก็ไม่แน่ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ อาจหาโอกาสเข้าหาป๋า หลังจากเทศกาลสงกรานต์ก็เป็นได้ เกมของสองพี่น้องชินวัตร ขั้นเทพ คือการเปลี่ยนศัตรูให้มาเป็นมิตร และหวังที่จะให้ป๋าเปรม ซึ่งเสมือนเป็น "คนเรียนผูก" ก็ต้องเป็น "คนเรียนแก้" ในการช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ให้กลับประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง พอๆ กับที่ เสธ.หนั่น พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ อยากให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้พบป๋า จนเป็นที่มาของข่าวที่ร่ำลือกันว่า นายกฯ ปู เคยกระซิบป๋า ว่า "ขอให้พี่ชายกลับบ้านได้ไหมคะ" นั่นเอง แต่ก็ไม่ใช่งานง่าย สำหรับป๋าเปรมด้วยเช่นกัน ที่จะช่วยเคลียร์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะป๋าย่อมรู้ดีว่า อะไรเป็นอะไร อีกทั้งที่ผ่านมา มีบิ๊กลูกป๋า เคยเอ่ยปากกับป๋าให้ช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ มาแล้ว แต่เจอประโยคที่ว่า "คนคนเดียว กับชาติบ้านเมือง จะเลือกอะไร" จนต้องถอดใจกันไป แต่ที่แน่ๆ มีสายอำมาตย์ ฟันธงว่า เพราะเพลง Let it be และคำว่า ช่างแม่มัน นี่เอง ที่จะทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศได้ช้าลง หรืออาจจะไม่ได้กลับอีกเลย ต้องเร่ร่อน บินโฉบไปโฉบมา เช่นนี้ต่อไป ในเมื่อที่นี่เมืองไทย เมื่อมีทั้งคำว่า ชั่งหัวมัน ช่างหัวมัน ช่างแม่งมัน ช่างแม่มัน ก็ต้องมี "ช่างแม้วมัน" ในสภาวการณ์ที่ "กูไม่กลัวมึง" แล้ว "มึงก็ไม่กลัวกู" ไม่มีใครกลัวใคร ทุกอย่างจึงเป็นเยี่ยงนี้... | |
http://redusala.blogspot.com |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555
สร้างข่าว หาทุนแม่ยก อ้าวเฮ้...... | |
ต้องยอมรับว่า ทันทีที่ "แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" (พธม.) นำโดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พิภพ ธงไชย มาลีรัตน์ แก้วก่า ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตร พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ และ พล.ร.ต.ประทีป ชื่นอารมณ์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวปฏิเสธนัดชุมนุมในวันเสาร์ที่ 21 เมษายน ที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต ทำให้เกิดข้อสงสัยการนัดชุมนุมในวันดังกล่าวเป็น "กลุ่มไหน" และ "ใคร" เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ กลุ่มที่จัดทำกิจกรรมครั้งนี้ ความสำคัญแค่ไหน ถึงกับทำให้ "แกนนำพันธมิตร" ต้องออกมาแถลงข่าวปฏิเสธการชุมนุมครั้งนี้ไม่ใช่การจัดกิจกรรมของ "พันธมิตร" เพราะอย่างน้อยหนึ่งในรายชื่อการจัดทำกิจกรรมครั้งนี้ คือ "บวร ยสินทร" แกนนำกลุ่มราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน ครั้งหนึ่งเคยเป็น "แนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" แต่เมื่อ "แกนนำพันธมิตร" รีบชิงแถลงปฏิเสธการทำกิจกรรมครั้งนี้ นั่นหมายความว่าเป็นการประกาศห้ามบุคคลอื่นใช้ชื่อ "พันธมิตร" ไปทำกิจกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการบอกเป็นนัยๆ ว่า หากอยากเคลื่อนไหวต้อง "สร้างมวลชน" เอาเอง ห้าม "ชุบมือเปิบ" ดึงมวลชนของพันธมิตรไปเป็นเครื่องมือในการทำกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรมทางการเมือง เพราะการเคลื่อนไหว "ทางการเมือง" แต่ละครั้งต้องมี "เงินสนับสนุน" ยิ่งชุมนุมยืดเยื้อเท่าไหร่ นั่นหมายถึงต้องมี "ทุนหนา" ดังนั้นการจัดกิจกรรมที่โยงกับการเมืองแต่ละครั้งย่อมเป็นธรรมดาที่จะถูกมองว่ามี "นักการเมือง" หรือ "พรรคการเมือง" อยู่เบื้องหลัง ที่สำคัญ "แกนนำพันธมิตร" คงบวกลบคูณหารดูแล้วว่า หากออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวในขณะนี้ "จุดไม่ติด" ทั้งประเด็น ไม่อยากให้เข้าทางพรรคการเมืองบางพรรค และ "แกนนำพันธมิตรบางคน" ขณะนี้ "เครดิต" ไม่เหมือนในอดีต ที่สำคัญ "แนวร่วม" ต่างพากันแยกย้ายไปตั้งกลุ่มทำกิจกรรมกันใหม่ เช่น กลุ่มสยามสามัคคี, กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์, กลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ เมื่อ "แกนนำพันธมิตร" แถลงไม่ได้นัดชุมนุมในวันเสาร์ที่ 21 เมษายนนี้ ทำให้ "บวร" ที่เคยเป็นแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาก่อน ต้องทำกิจกรรมในนาม "กลุ่มเรียกคืนอำนาจจากนักการเมืองเนรคุณแผ่นดิน" ซึ่งประกอบด้วย สภาการวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (สวชพ.), สมาพันธ์พลเมืองฐานราก (สพฐ.), องค์การโอนอำนาจทรัพยากรใต้ดิน เพื่อสร้างสรรค์การปรองดองแห่งชาติ (อทพช.), องค์การทรัพยากรทางทะเล เพื่อสร้างสรรค์การปรองดองแห่งชาติ (อททช.) โดยมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาใหญ่ สวชพ. การจัดกิจกรรมครั้งนี้ มี น.ต.ถนิต พรหมสถิต เป็นประธาน, บวร ยสินทร รองประธาน, พายัพ ยังปักษี รองประธาน, พ.ท.รัฐเขต แจ้งจำรัส กรรมการ, พล.ร.ต.พัฒนะ จิรนันท์ กรรมการ และสุขุม วงประสิทธิ เป็นกรรมการและเลขาธิการ หลังจาก "แกนนำพันธมิตร" ชิงประกาศไม่ได้เรียกชุมนุม และ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" ผู้บัญชาการทหารบก ก็สั่งห้ามเข้าไปใช้พื้นที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต จัดกิจกรรมทางการเมือง ทำให้ "กลุ่มเรียกคืนอำนาจจากนักการเมืองเนรคุณแผ่นดิน" แถลงจุดยืนที่รัฐสภาและชี้แจงผ่านทางเฟซบุ๊ก ยืนยันจะใช้พื้นที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต จัดงานประชุมรัฐสภามหาชนต่อไป เพราะการจัดกิจกรรมได้แจ้งประชาชนไปหมดแล้ว หากเปลี่ยนแปลงอาจทำให้ประชาชนสับสน แม้ "กองทัพบก" ประกาศห้ามเข้าไปใช้สถานที่ภายใน แต่ทาง "กลุ่มเรียกคืนอำนาจฯ" ยังยืนยันจะใช้พื้นที่ด้านนอกทำกิจกรรมตั้งแต่ช่วงเช้าจรดค่ำ สำหรับ "กลุ่มเรียกคืนอำนาจจากนักการเมืองเนรคุณแผ่นดิน" มีเพียง "น.ต.ถนิต พรหมสถิต" และ "บวร ยสินทร" ที่อาจเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง โดย "น.ต.ถนิต" หรือ กัปตันถนิต เป็นกัปตันบริษัทการบินไทย เป็นคน อ.หลังสวน จ.ชุมพร ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มขบวนการประชาธิปไตย ปักหลักประท้วงขับไล่รัฐบาล "ทักษิณ ชินวัตร" อยู่หน้าสวนลุมพินี และเป็น 1 ใน 41 คนที่ถูกแจ้งข้อหามั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปกระทำการให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และที่เป็นข่าวโด่งดังคือ การร่วมนำม็อบบุกเข้าทำเนียบรัฐบาล ช่วงรอยต่อคืนวันที่ 13-14 มกราคม 2549 เพื่อขับไล่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ต่อมาได้เข้ามอบตัวสู้คดี พร้อมยอมรับว่า ไปทำเนียบรัฐบาลและเป็นคนสั่งบุกจริง แต่ไม่ได้พังประตูเข้าไป เพราะประตูไม่ได้ล็อก และไม่ได้เข้าไป ไม่ได้พูดจายั่วยุปลุกให้เกิดการจลาจล ขณะที่ "บวร ยสินทร" เกิดที่กรุงเทพฯ เคยมีบทบาทสำคัญในศูนย์กลางนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ยุคแรก เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มราษฎรอาสาปกป้องสถาบันฯ เคยเป็นแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคยทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่ม "นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์" แกนนำเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน หรือกลุ่มคนเสื้อหลากสี เพื่อต่อต้านนิรโทษกรรม "ทักษิณ ชินวัตร" แม้จะเจอ "แกนนำพันธมิตร" เล่นบทเพื่อน(เคย)รักหักเหลี่ยมกลัวถูกชิงมวลชน จับตา "บวร" และคณะ ที่ยังเดินหน้าชุมนุมต่อจะเรียกมวลชนได้หลักแสนตามที่พูดหรือไม่ หรือเพียงแค่ตั้งใจสร้างข่าวหาทุนเท่านั้น ! | |
http://redusala.blogspot.com |
ปรองดองโดยประเด็
| |
นิธิ: ปรองดองโดยประเด็นปรองดองโดยประเด็น โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชน ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 21:30:26 น. ผมไม่ค่อยแปลกใจที่ความพยายามจะ "ปรองดอง" ในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จ ร้ายไปกว่านั้นกลับฟื้นความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ข้างในให้ปรากฏชัดขึ้น ผมไม่ทราบหรอกว่า คณะกรรมการที่ทำหน้าที่ "ปรองดอง" ไม่รู้จะกี่ชุดที่ผ่านมา มี "วาระซ่อนเร้น" ทางการเมืองอะไร ซ้ำยังออกจะเชื่อด้วยว่า ถึงรู้ไปก็ไม่มีประโยชน์ นอกจากทำให้เกิดความระแวงสงสัย และกระตุ้นความขัดแย้งให้แรงขึ้นโดยไม่จำเป็น เมื่อนึกถึงการปรองดอง กรรมการทุกชุดที่ผ่านมา มักนึกถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นคู่ขัดแย้ง และนี่คือเหตุผลที่ทำให้ผมไม่แปลกใจว่าความพยายามของกรรมการมักล้มเหลว เพราะความขัดแย้งที่เกิดในประเทศไทยนั้น ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ไม่ใช่เพราะนาย ก.ไม่ชอบนาย ข. จึงได้เคลื่อนไหวเพื่อล้มล้างอำนาจของกันและกัน แต่ทั้งนาย ก.และนาย ข.ต่างสามารถดึงประชาชนจำนวนมาก ให้เข้ามาร่วมเคลื่อนไหวได้ จนกลายเกิดเหตุร้ายแรงบ่อยครั้ง เรื่องของเรื่องจึงเกินกว่าความบาดหมางส่วนบุคคล และระงับความขัดแย้งด้วยวิธี "จับเข่าคุยกัน" ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องของนาย ก.และนาย ข.เท่านั้น มีเข่าให้จับยุ่บยั่บไปหมด ที่น่าแปลกใจมากกว่า คือคณะกรรมการปรองดองชุดต่างๆ ไม่ค่อยให้ความสนใจกับ "ประเด็น" ที่สังคมไทยขัดแย้งกันเอง "ประเด็น" เหล่านี้ต่างหากที่น่าจะใช้กระบวนการทางสังคมเข้ามาเจรจาต่อรองกัน ผมคิดว่าในกระบวนการเจรจาต่อรองซึ่งออกมาในรูปของการอภิปราย โต้เถียง และข้อเสนอต่างๆ นั้น ประเด็นของความขัดแย้งจะชัดขึ้น ในขณะเดียวกัน หนทางประนีประนอมที่ทุกฝ่ายยอมรับได้จะปรากฏให้เห็นขึ้นมาพร้อมกัน ผมจึงอยากเสนอ (โดยปราศจากการวิจัยรองรับ) ว่า ประเด็นแห่งความขัดแย้งในสังคมไทยเวลานี้มีอะไรบ้าง 1. ดูเหมือนทุกฝ่ายยอมรับ (อย่างน้อยด้วยปาก) ว่า ประเทศของเราต้องก้าวต่อไปในวิถีทางประชาธิปไตย แต่ที่เห็นไม่ตรงกันก็คือ ประชาธิปไตยมีนัยยะในเชิงปฏิบัติอย่างไรกันแน่ ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าเมื่อเป็นประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของปวงชนอย่างเด็ดขาด จะมีอำนาจอื่นที่ไม่ได้มาจากอธิปไตยของปวงชนเข้ามาแทรกหรือถ่วงดุลไม่ได้ และด้วยเหตุดังนั้น อำนาจทางการเมืองจึงต้องถูกจัดสรรไปตามผลของการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าการเมืองที่อาศัยการเลือกตั้งเป็นเกณฑ์เพียงอย่างเดียวนี้อันตราย เพราะการเลือกตั้งย่อมต้องจัดองค์กรและกลไกเพื่อผลสัมฤทธิ์แคบๆ คือได้รับคะแนนเสียง องค์กรและกลไกดังกล่าวไม่ได้มีไว้ตรวจสอบการใช้อำนาจ หรือมีส่วนร่วมในการเมืองอย่างแท้จริง ฉะนั้น ผู้ที่ได้อำนาจไปจากองค์กรและกลไกเช่นนี้จึงมีแนวโน้มจะทุจริตต่อหน้าที่ และ/หรือไม่มีสมรรถภาพในการทำงาน ด้วยเหตุดังนั้นจึงต้องอิงอำนาจที่ไม่ได้มาจากอธิปไตยของปวงชน ไว้คอยถ่วงดุลนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ผมคิดว่าประเด็นของทั้งสองฝ่ายมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน แต่ไม่มีเนื้อที่จะพูดถึงโดยละเอียดในที่นี้ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าหากเน้นความขัดแย้งไว้ที่ประเด็น โดยไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล ทั้งสองฝ่ายก็อาจปรับข้อเสนอเข้าหากันได้ เช่นถึงอย่างไรนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งก็ควรถูกควบคุมตรวจสอบ แต่จะออกแบบกระบวนการควบคุมตรวจสอบอย่างไร จึงจะเชื่อมโยงกับอธิปไตยของปวงชน ไม่ใช่โดยมี ส.ส.และ ส.ว.สรรหา, ไม่ใช่โดย "ตุลาการภิวัฒน์", ไม่ใช่องคมนตรีซึ่งโดยฐานะแล้วไม่ควรแสดงความเห็นทางการเมืองใดๆ ต่อสาธารณชนทั้งสิ้น, ไม่ใช่โดยองค์กรอิสระซึ่งไม่เชื่อมโยงกับอธิปไตยของปวงชน ในขณะเดียวกัน ต้องไม่ลืมการควบคุมตรวจสอบโดยตรงของประชาชนในเขตเลือกตั้งด้วย จะต้องวางเงื่อนไขอย่างไรให้แก่พรรคการเมือง, การจัดองค์กรภาคประชาชนในท้องถิ่น, อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันท้องถิ่น ฯลฯ จึงจะทำให้อำนาจตรวจสอบควบคุมของประชาชนมีผลในทางปฏิบัติได้จริง 2. คนส่วนใหญ่ในคู่ความขัดแย้งยอมรับตรงกันว่า ประเทศไทยควรมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (หรือเป็นราชอาณาจักร) แต่สถานะทางการเมืองของพระมหากษัตริย์พึงเป็นอย่างไร มีความเห็นที่ขัดแย้งกันมาก ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า แม้เป็นที่เคารพสักการะ แต่สถานะของพระมหากษัตริย์ในทางการเมือง ย่อมเป็นประมุขหรือตัวแทนของอำนาจอธิปไตยของปวงชนในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น มีหน้าที่ในทางพิธีกรรม แต่พิธีกรรมเหล่านั้นมีความสำคัญต่อรัฐ เช่น ทรงรับพระราชสาส์นหรือสาส์นตราตั้งทูตต่างประเทศ ก็ทรงรับเอาบุคคลผู้นั้นเป็นตัวแทนของรัฐต่างประเทศแทนประชาชนชาวไทยทั้งหมด ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามที่ประธานรัฐสภากราบบังคมทูล แทนอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยซึ่งได้แสดงให้เห็นแล้วผ่านความยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร พระมหากษัตริย์ย่อมไม่ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่ประธานสภาไม่ได้กราบบังคมทูล อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าพระมหากษัตริย์ไทยทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เชื่อมโยงกับอธิปไตยของปวงชนโดยตรง นั่นก็คือพระราชอำนาจที่มีในสถาบันนี้นับตั้งแต่ก่อน 24 มิถุนายน 2475 และด้วยเหตุดังนั้น การใช้พระราชอำนาจนี้เป็นพระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์เอง ว่าจะใช้เมื่อไรและอย่างไร และเพื่อธำรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจนี้ จึงต้องรักษาความ "ศักดิ์สิทธิ์" ของสถาบันไว้ให้อยู่เหนือการตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ทั้งสิ้น และพระราชอำนาจตรงนี้แหละที่จะเป็นผู้ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจอธิปไตยของปวงชน แน่นอนว่าสถานะทั้งสองนี้ย่อมขัดแย้งกันเอง แต่หากเปิดให้กระบวนการทางสังคมสามารถพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ได้อย่างอิสระ ในที่สุดก็น่าจะหาทางประนีประนอม (reconcile) กันได้ เช่นตัวผมเองเชื่ออย่างฝ่ายแรก แต่ก็ยอมรับว่าขึ้นชื่อว่าสถาบันกษัตริย์ไม่ว่าที่ใด ก็ต้องมีลักษณะ mystique อยู่ด้วย ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะรักษาลักษณะ mystique นี้ไว้อย่างไร โดยไม่ต้องมีพระราชอำนาจที่ขัดกับอธิปไตยของปวงชน 3. ทุกฝ่ายมีความเห็นพ้องกันว่า อำนาจตุลาการนั้นควรเป็นอิสระจากอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ แต่ฝ่ายหนึ่งเน้นความเป็นอิสระของอำนาจตุลาการไว้จนหลุดลอยไปเลย กลายเป็นเทวดาที่จุติจากสวรรค์และรับผิดชอบกับพระอินทร์เพียงผู้เดียว ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง เห็นว่าอำนาจตุลาการก็ยังต้องถูกสังคมตรวจสอบและถ่วงดุลได้อยู่นั่นเอง เพียงแต่ยังไม่ได้พัฒนาวิถีทางที่สังคมจะเข้าไปตรวจสอบถ่วงดุลว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อไม่ให้ตุลาการสามารถพิพากษาอรรถคดีได้ โดยไม่ต้องถูกกดดันจากปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับกฎหมายและความสงบสุขของสังคม หากคณะกรรมการปรองดองชุดต่างๆ นำประเด็นนี้มาสู่การถกเถียงอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ผมเชื่อว่าทุกฝ่ายจะยอมรับตรงกันว่ากระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลตุลาการนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และต้องออกแบบอย่างประณีตกว่าการตรวจสอบถ่วงดุลนักการเมือง แต่ก็ต้องมีประสิทธิภาพด้วย เพียงเท่านี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะถกเถียงกันต่อไปในเชิงสร้างสรรค์ได้แล้ว 4. การปฏิรูปกองทัพ กองทัพไม่เคยเป็นเครื่องมือทางการเมืองของใคร นอกจากของตัวเอง กองทัพจึงทำตัวเป็นรัฐอิสระที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับของใครตลอดมา แม้แต่ที่ทำตัวเหมือนเป็นเครื่องมือของชนชั้นนำบางกลุ่ม ที่จริงแล้วก็เป็นการรักษาผลประโยชน์ของกองทัพไว้ด้วย ในประวัติศาสตร์ก็เห็นอยู่แล้วว่า กองทัพเองก็เคยเป็นปฏิปักษ์กับชนชั้นนำกลุ่มนั้นมาแล้ว ทั้งหมดขึ้นอยู่กับจังหวะ ว่าจังหวะใดกองทัพจะได้ประโยชน์มากกับฝ่ายใด กองทัพไม่เคยตกเป็นเครื่องมือของใคร 100% สภาวะเช่นนี้ไม่น่าจะเป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกันอยู่เวลานี้ แม้บางฝ่ายอาจเรียกร้องให้กองทัพทำรัฐประหาร (เพื่อฝ่ายตัว) แต่ก็เห็นกันอยู่แล้วว่า เมื่อกองทัพทำรัฐประหาร กองทัพก็ไม่ได้ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายที่เรียกร้อง ถึงจะทำรัฐประหารอีก กองทัพก็ไม่สามารถตอบสนองฝ่ายนั้นๆ ได้เพียงฝ่ายเดียวอยู่นั่นเอง อย่าลืมว่าผลประโยชน์ที่กองทัพจะต้องปกป้องดูแลรักษาที่สุด คือผลประโยชน์ของกองทัพเอง ฉะนั้น ทุกฝ่ายคงเห็นด้วยว่ากองทัพไม่ใช่รัฐอิสระหรือรัฐซ้อนรัฐ แต่กองทัพต้องเป็นเครื่องมือของรัฐ ปัญหากลับมาอยู่ที่ว่ารัฐเล่าเป็นของใคร? ถ้าเห็นพ้องต้องกันว่าเราจะก้าวต่อไปในวิถีทางประชาธิปไตย รัฐก็ต้องเป็นของประชาชน และด้วยเหตุดังนั้น กองทัพก็ต้องเป็นเครื่องมือของรัฐซึ่งเป็นของประชาชนจึงจำเป็นต้องปฏิรูปกองทัพให้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพด้วย ส่วนจะปฏิรูปอย่างไร เป็นรายละเอียดซึ่งคงโต้เถียงอภิปรายกันได้อีกมาก ประชาชนอาจตัดสินใจใช้จ๊อกกี้คนนี้ ระหว่างนั้นกองทัพก็ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามจ๊อกกี้คนดังกล่าว เมื่อประชาชนเปลี่ยนจ๊อกกี้ใหม่ กองทัพ ก็ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามจ๊อกกี้คนใหม่ อย่างไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น เพราะเจ้าของคอกคือประชาชน 5. นอกจากความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มเสื้อสีต่างๆ แล้ว ที่จริงมีความขัดแย้งที่คุกรุ่นอยู่ในเมืองไทยมานาน และว่าที่จริงก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของรากฐานความขัดแย้งของเสื้อสีด้วย นั่นคือความขัดแย้งด้านแนวทางการพัฒนาซึ่งรวมศูนย์, เอื้อต่อคนส่วนน้อย, และแย่งชิงทรัพยากรจากมือประชาชนไปใช้ ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นลุกขึ้นต่อต้านและต่อสู้ในหลายรูปแบบ คณะกรรมการปรองดองทุกชุดไม่เคยสนใจความขัดแย้งในรูปนี้เลย ผมคิดว่าหนทางปรองดองจะขาดซึ่งมิตินี้ไม่ได้ ไม่มีฝ่ายใดไม่ต้องการการพัฒนา แต่จะพัฒนาอย่างไรจึงจะเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย รวมทั้งกระจายผลของการพัฒนาให้กว้างขวางไปถึงทุกฝ่ายด้วย เรื่องนี้น่าจะเป็นประเด็นใหญ่อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องผลักให้ลงมาสู่กระบวนการโต้เถียงอภิปรายในสังคม |
|
http://redusala.blogspot.com
|
อย่ากดดัน ให้ญาติเสื้อแดงรับ ''''ปรองดอง'
| |
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โพสต์เฟซบุ๊ก วอน พรรคเพื่อไทย-แกนนำนปช. อย่าสร้างแรงกดดันให้ญาติเสื้อแดง 91ศพ รับ ''''ปรองดอง''''
| |
http://redusala.blogspot.com
|
จดหมายเปิดผนึกถึง ประยุทธ จันทร์โอชา
เมื่อวาน..ประยุทธปรี๊ดแตก แล้วมันอดไม่ได้ ที่จะเขียนอะไรบางอย่างถึงประยุทธ เพื่อเตือนความจำ และเผื่อจะหายจากการการแกล้งโง่
ประยุทธ ออกมาสรุปว่า
ทีทหาร ตำรวจเสียชีวิต ไม่เห็นมีใครเหลียวแล ไม่มีใครเรียกร้อง...
ที่สำคัญใคร ๆ ก็เห็นทั้งบ้านทั้งเมืองว่า ใครเป็นฝ่ายใช้อาวุธ (ฮา)
แถมไล่ให้ประชาชนไปเรียนวิชาหน้าที่และศีลธรรม ของพลเมือง เพราะเสรีภาพของประชาชน ต้องไม่ประท้วงไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น (อันนี้ฮากว่า)
ฟังแล้วก็ขำ ๆ นี่ถ้ามีไมค์ อยู่ข้าง ๆ จะถามว่า ที่บ้านไม่มีกระจก หรือว่าลืมตัวว่ากำลังด่าใคร ? ?
---------------------------------------------------------------------
ขอประทานโทษ....เผอิญผมเรียนทันหวะ ไอ้วิชาหน้าที่และศีลธรรมของพลเมือง เรียนตั้งแต่เล็ก เรียนมาตั้งแต่เด็ก เรียนได้คะแนนดีเสียด้วย
ถามว่าคนเสื้อแดง รู้จักหน้าที่ของตนเองมั้ย
ขอตอบให้เลยว่า คนเสื้อแดง "รู้จักหน้าที่ รวมตลอดถึงกติกาที่อยู่ร่วมกันในสังคมด้วย" คนเสื้อแดงไม่เคยประท้วง ไม่เคยงอแง กับผลการเลือกตั้ง
คนเสื้อแดงยอมรับมติและกติกาของสังคม
ถ้าจะถามว่าการไม่รู้จักหน้าที่ และละเมิดสิทธิ ผู้อื่น ผมอยากจะตบปาก ผบ.ทบ.ให้หายตาเหล่ แล้วบอกว่า "มองไปที่คนข้าง ๆ เมิงนั้นแหละ"
ถามมันว่า "รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่นบ้างมั้ย"
ถ้าไม่ตอบก็ให้ถามไปอีกดอกหนึ่งว่า "เคยเห็นเพื่อนร่วมชาติเป็นมนุษย์เท่าเทียมกับพวกเมิงบ้างมั้ย"
และขอย้อนถามกลับไปที่ กองทัพว่า พวกเมิงหละ รู้จัก บทบาทและหน้าที่บ้างไหม หรือเป็นใหญ่เป็นโต แล้วเป็นชายสามเมีย แถมจดซ้อน (ผิดกฏหมายอย่างไม่น่าให้อภัย) หรือเคยเป็นทหาร แล้ว อยากจะมีบ้านบนภูเขาไว้ประดับบารมี ก็ปลูกแม่มเลย ใครจะทำไม กูมียศนายพลเว้ยยย
ผมอยากจะถามว่า ที่บ้านเมือง วิบัติ อิบอ๋าย แตกแยก และัที่สำคัญ"เสื่อม" ไปแทบจะทุกอย่างเนี่ย
ใครเป็นคนเริ่ม ? ? ?
ก็ไอ้กองทัพกาฝากแห่งประเทศทร้วยนี้ไม่ใช่หรือ ที่เริ่มจุดไฟเผาประเทศร่วมกับขบวนการบ้านพระอาทิตย์ ในการไม่รู้จักเคารพ และปล้นสิทธิของผู้อื่น
ตั้งแต่ยึดอำนาจ ยันจัดตั้งรัฐบาล ทร้วย ๆ อภิสิทธิ
ที่สำคัญเมิงไม่ใช่ละเมิดสิทธิประชาชนที่เห็นต่าง ครั้งเดียวนะเมิง เมิงละเมิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เมิงกระทืบประชาชนที่เห็นต่าง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตั้งแต่ยึดอำนาจ ยันไปจัดตั้งรัฐบาล ส้งตรีนนี้ในเซฟเฮ้าส์ ทหาร
พอประชาชนเขาลุกขึ้นมาต่อยปากเมิงบ้าง หลังจากโดนประทืบอย่างยาวนาน
เสือกถามพวกเขาว่า รู้จักวิชาหน้าที่ศีลธรรมมั้ย
ขอประทานโทษ "พวกกูสิ ต้องถามเมิงว่า รู้จักหน้าที่ของตัวเองบ้างมั้ย"
ขอร้อง ประยุทธ อย่าได้เอะอะก็ทวงบุญคุญ เอะอะก็ทวงบุญคุญ ใครบังคับให้เมิงสมัครเข้าเป็นทหาร ทุกคนมีหน้าที่ ต้องทำตามที่อยากจะทำ
หรือว่าพวกเมิง "รบโดยไม่รับเงินเดือน"
นี่ยังไม่อยากตบปากนะ มาโอดครวญว่าไม่อยากจะรบกับกัมพูชา เพราะทหารกัมพูชาก็มีอาวุธ
พูดออกมาได้ โดยไม่ละอายใจ ไม่กระดากปาก หรือทหารประเทศทร้วยนี้ แม่มเก่งเฉพาะ กับคนในชาติที่ไม่มีอาวุธทัดเทียม ไล่ฆ่าประชาชนผู้เสียภาษี ให้เมิงเอาเงินไปซื้ออาวุธอย่างสนุกมือ
พอเจอ ทหารชาติอื่น ก็ครวญว่า ฝัี่งโน้นเขาก็มีปืนนะ
ฟังแล้วอยากจะตัดผ้าถุงแจกแม่มเรียงตัว...
เมื่อประยุทธถาม คนไทย (เสื้อแดง) มา ผมก็ขอใช้สิทธิพาดพิงตอบประยุทธ ให้หายข้องใจ หากมีคำถามอะไรสงสัยกับคนเสื้อแดง ก็ถามมาใหม่ได้ จะตอบให้ถึงแก่น
ปล. ประยุทธ ว่าง ๆ ไปแหกเนตรดูแฟ้ม ดูคลิ๊ป ดูเหตุการการฆ่ากันเมื่อเดือน เมษายน และพฤษภาคมที่ผ่านมาบ้า่งนะ ประยุทธจะได้เห็นว่า "ใครเริ่ม
ประยุทธ ออกมาสรุปว่า
ทีทหาร ตำรวจเสียชีวิต ไม่เห็นมีใครเหลียวแล ไม่มีใครเรียกร้อง...
ที่สำคัญใคร ๆ ก็เห็นทั้งบ้านทั้งเมืองว่า ใครเป็นฝ่ายใช้อาวุธ (ฮา)
แถมไล่ให้ประชาชนไปเรียนวิชาหน้าที่และศีลธรรม ของพลเมือง เพราะเสรีภาพของประชาชน ต้องไม่ประท้วงไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น (อันนี้ฮากว่า)
ฟังแล้วก็ขำ ๆ นี่ถ้ามีไมค์ อยู่ข้าง ๆ จะถามว่า ที่บ้านไม่มีกระจก หรือว่าลืมตัวว่ากำลังด่าใคร ? ?
---------------------------------------------------------------------
ขอประทานโทษ....เผอิญผมเรียนทันหวะ ไอ้วิชาหน้าที่และศีลธรรมของพลเมือง เรียนตั้งแต่เล็ก เรียนมาตั้งแต่เด็ก เรียนได้คะแนนดีเสียด้วย
ถามว่าคนเสื้อแดง รู้จักหน้าที่ของตนเองมั้ย
ขอตอบให้เลยว่า คนเสื้อแดง "รู้จักหน้าที่ รวมตลอดถึงกติกาที่อยู่ร่วมกันในสังคมด้วย" คนเสื้อแดงไม่เคยประท้วง ไม่เคยงอแง กับผลการเลือกตั้ง
คนเสื้อแดงยอมรับมติและกติกาของสังคม
ถ้าจะถามว่าการไม่รู้จักหน้าที่ และละเมิดสิทธิ ผู้อื่น ผมอยากจะตบปาก ผบ.ทบ.ให้หายตาเหล่ แล้วบอกว่า "มองไปที่คนข้าง ๆ เมิงนั้นแหละ"
ถามมันว่า "รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่นบ้างมั้ย"
ถ้าไม่ตอบก็ให้ถามไปอีกดอกหนึ่งว่า "เคยเห็นเพื่อนร่วมชาติเป็นมนุษย์เท่าเทียมกับพวกเมิงบ้างมั้ย"
และขอย้อนถามกลับไปที่ กองทัพว่า พวกเมิงหละ รู้จัก บทบาทและหน้าที่บ้างไหม หรือเป็นใหญ่เป็นโต แล้วเป็นชายสามเมีย แถมจดซ้อน (ผิดกฏหมายอย่างไม่น่าให้อภัย) หรือเคยเป็นทหาร แล้ว อยากจะมีบ้านบนภูเขาไว้ประดับบารมี ก็ปลูกแม่มเลย ใครจะทำไม กูมียศนายพลเว้ยยย
ผมอยากจะถามว่า ที่บ้านเมือง วิบัติ อิบอ๋าย แตกแยก และัที่สำคัญ"เสื่อม" ไปแทบจะทุกอย่างเนี่ย
ใครเป็นคนเริ่ม ? ? ?
ก็ไอ้กองทัพกาฝากแห่งประเทศทร้วยนี้ไม่ใช่หรือ ที่เริ่มจุดไฟเผาประเทศร่วมกับขบวนการบ้านพระอาทิตย์ ในการไม่รู้จักเคารพ และปล้นสิทธิของผู้อื่น
ตั้งแต่ยึดอำนาจ ยันจัดตั้งรัฐบาล ทร้วย ๆ อภิสิทธิ
ที่สำคัญเมิงไม่ใช่ละเมิดสิทธิประชาชนที่เห็นต่าง ครั้งเดียวนะเมิง เมิงละเมิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เมิงกระทืบประชาชนที่เห็นต่าง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตั้งแต่ยึดอำนาจ ยันไปจัดตั้งรัฐบาล ส้งตรีนนี้ในเซฟเฮ้าส์ ทหาร
พอประชาชนเขาลุกขึ้นมาต่อยปากเมิงบ้าง หลังจากโดนประทืบอย่างยาวนาน
เสือกถามพวกเขาว่า รู้จักวิชาหน้าที่ศีลธรรมมั้ย
ขอประทานโทษ "พวกกูสิ ต้องถามเมิงว่า รู้จักหน้าที่ของตัวเองบ้างมั้ย"
ขอร้อง ประยุทธ อย่าได้เอะอะก็ทวงบุญคุญ เอะอะก็ทวงบุญคุญ ใครบังคับให้เมิงสมัครเข้าเป็นทหาร ทุกคนมีหน้าที่ ต้องทำตามที่อยากจะทำ
หรือว่าพวกเมิง "รบโดยไม่รับเงินเดือน"
นี่ยังไม่อยากตบปากนะ มาโอดครวญว่าไม่อยากจะรบกับกัมพูชา เพราะทหารกัมพูชาก็มีอาวุธ
พูดออกมาได้ โดยไม่ละอายใจ ไม่กระดากปาก หรือทหารประเทศทร้วยนี้ แม่มเก่งเฉพาะ กับคนในชาติที่ไม่มีอาวุธทัดเทียม ไล่ฆ่าประชาชนผู้เสียภาษี ให้เมิงเอาเงินไปซื้ออาวุธอย่างสนุกมือ
พอเจอ ทหารชาติอื่น ก็ครวญว่า ฝัี่งโน้นเขาก็มีปืนนะ
ฟังแล้วอยากจะตัดผ้าถุงแจกแม่มเรียงตัว...
เมื่อประยุทธถาม คนไทย (เสื้อแดง) มา ผมก็ขอใช้สิทธิพาดพิงตอบประยุทธ ให้หายข้องใจ หากมีคำถามอะไรสงสัยกับคนเสื้อแดง ก็ถามมาใหม่ได้ จะตอบให้ถึงแก่น
ปล. ประยุทธ ว่าง ๆ ไปแหกเนตรดูแฟ้ม ดูคลิ๊ป ดูเหตุการการฆ่ากันเมื่อเดือน เมษายน และพฤษภาคมที่ผ่านมาบ้า่งนะ ประยุทธจะได้เห็นว่า "ใครเริ่ม
จิตรา คชเดช:บันทึกชูป้าย"มือเปื้อนเลือด-ดีแต่พูด"http://thaienews.blogspot.com/2011/03/blog-post_5542.htmlโดย จิตรา คชเดช ที่มา เฟซบุ๊คJittra Cotchadet เป็นบันทึกที่เขียนใส่สมุดไว้หลังจากชูป้ายให้นายอภิสิทธิ์ วันนี้ฉันเผชิญหน้า ผู้ชายคนหนึ่ง ฉันโกรธ ฉันตะโกนออกไป ฆาตกร ฆาตกร ไม่มีใครได้ยินเสียงฉัน เพราะบนเวทีเขากำลังหน้าบานกันดีใจ ซึ่งคนละอารมณ์กับฉันมาก ฉันอยากร้องไห้ เมื่อฉันนึกถึงพี่น้องเสื้อแดงที่ถูกฆ่าตาย "ฉันตะโกนอีกครั้ง"มือเปื้อนเลือด" ฉันหยิบปากกาเมจิก เอากระดาษA4 (คือแถลงการณ์ของงานวันนี้)ใช้ด้านที่ว่างเขียนว่า "มือใคร?" ฉันเอามือฉันทาบลงไปแล้วเขียนตาม ฉันค้นหาเมจิกสีแดงเพื่อทาเป็นสีเลือด ฉันถามคนอื่นไม่มีใครมี ฉันรีบตัดสินใจเขียนว่า "เปื้อนเลือด"ไปบนฝ่ามือ ฉันเขียนสองแผ่นประกบกันแล้วพับมุมนั้นมุมนี้ ในขณะนั้นมันกำลังให้นโยบายเกี่ยวกับวันสตรีสากล ฉันชูกระดาษขึ้น มันตอบมาทันที ว่าวันนี้วันสตรีไม่เกี่ยวกับการเมืองให้ฟังว่าใครมือเปื้อนเลือดชี้แจงในสภา ฉันชูป้ายเด็ดสำหรับฉัน"เหรอ...." และตามด้วย "ดีแต่พูด" ฉันถูกกีดกันจากตำรวจ เพื่อแย่งแผ่นป้าย ฉันถาม แผ่นป้ายมีปัญหาอะไรเหรอ...,ดีแต่พูด,มือใคร?เปื้อนเลือด มันมีปัญหาตรงใหน ด่าใคร หยาบคายหรือเปล่า ตำรวจบอก ว่ามือใคร?เปื้อนเลือด ฉันถามว่าแล้วเปื้อนจริงเหรอถึงเดือดร้อน และเพื่อนของฉันก็ชูป้าย "ดีแต่พูด"ขึ้นด้านหน้าฉันขึ้นไปอีกสามแถว จึงกลายเป็นเหตุให้การเตรียมการพูดตั้งแต่11.30น.-13.15น.ต้องยุติลงเลยเที่ยงเล็กน้อย เราไม่ได้สบตากันเลยระหว่างฉันกับผู้ชายคนนั้นเพราะเขาหลบหน้าฉันและหนีฉันด้วยการรีบไปและให้ตำรวจกักตัวฉันไว้กับเพื่อนๆเกือบครึ่งชั่วโมง ฉันไม่มีเรื่องโกรธเกลียดกันเป็นการส่วนตัว แต่ฉันไม่ชอบระบบที่เขาใช้อยู่ ฉันต้องการระบบประชาธิปไตย คนเท่ากันหนึ่งคน หนึ่งสิทธิ์ หนึ่งเสียง ทุกคนมาจากการเลือกตั้ง ทุกสถาบันตรวจสอบได้ ฉันไม่ต้องการคนดี คนหล่อ ฉันต้องการการตรวจสอบเปิดเผย โปร่งใส ******* เรื่องเกี่ยวเนื่อง:งานเปิดตัวเฉลิมฉลอง 100 ปีวันสตรีสากล 8 มีนาคม ดุเดือด: อภิสิทธิ์ ถูกด่า "มือใครเปื้อนเลือด" "ดีแต่พูด" |
ปฏิรูปประเทศไทย:”ความเพ้อเจ้อ”ของนายประเวศ วะสีณ ปัจจุบันนี้ นายประเวศ ก็ยังไม่มีการพูดถึงการล้อมปราบการสังหารประชาชน 91 ศพ ในเหตุการณ์พฤษภาอำมหิต ทั้งที่ปากเขาชอบพร่ำบ่นถึงความยุติธรรม โดย ไกรก้อง กูนอรลัคขณ์ 22 มีนาคม 2554 นายประเวศ วะสี ประธาน คสป. แถลงว่า วันที่ 24-26 มีนาคมนี้ จะมีการจัดสมัชชาปฏิรูปเป็นการประชุมสุดยอดทางสังคมที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อร่วมจัดทำฉันทามติแก้ทุกข์ของชาติซึ่งไม่มีรัฐบาลใดอดีต ปัจจุบัน และอนาคตจะแก้ไขได้ เพราะเกิดจากโครงสร้างที่ทำให้คนส่วนน้อยเอาเปรียบชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นปัญหาหลักของประเทศไทย โดยกล่าวว่า จะมีการขอ ฉันทามติ เรื่องการกระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่น กระจายการที่ดิน พลังศิลป์เยียวยาการชิงชังและทอนกำลังกัน แน่นอนว่า ณ ปัจจุบันนี้ นายประเวศ ก็ยัง ไม่มีการพูดถึง การล้อมปราบการสังหารประชาชน 91 ศพ ในเหตุการณ์พฤษภาอำมหิต ทั้งที่ปากเขาชอบพร่ำบ่นถึงความยุติธรรม นายประเวศ มักกล่าวถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่เป็นแนวคิดหน้าที่ว่าด้วยการสมานฉันท์ การปรองดอง การที่แต่ละส่วนมีหน้าที่ในการผลักดันให้องคาพยพเคลื่อนตัวไป เหมือนดั่งกับว่า สังคมในโลกนี้ไม่มีความขัดแย้ง เป็นทฤษฎีเดียวกับฮิตเลอร์เผด็จการนิยมใช้กล่าวอ้างในการควบคุมประชากรไม่ให้กระด้างกระเดื่องต่ออำนาจผู้ปกครอง แท้จริงแล้ว ปัญหาการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ปัญหากระจายการถือครองที่ดิน และ การปฏิรูประเทศไทยนั้น ย่อมเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมไทย ที่โยงใยกับปัญหาการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยหรือไม่? อย่างไร? ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการจัดตั้งองค์กรในการเคลื่อนไหวแค่ไหน? ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีหรือไม่ ? ปัญหาการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ซึ่งนายประเวศเสนอ ก็ไม่ได้ฟันธงว่า คือการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดหรือไม่? ยังพูดลอยเพ้อๆอยู่ และการเลือกตั้งผู้ว่าที่มีการเสนอมีนาน ก็มักถูกขัดขวางจากระบบราชการส่วนสำคัญของระบอบอำมาตยาธิปไตย นายประเวศ อาจจะพูดถึง การกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการทรัพยากรธรรมชาติ แต่นายประเวศไม่ได้ทบทวนบทเรียนว่า อุปสรรคสำคัญในการกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นก็มักเป็นหน่วยงานระบอบราชการที่มีวิธีคิดแบบรวมศูนย์อำนาจนั่นเอง นายประเวศ พูดถึงการกระจายการถือครองที่ดิน แม้แต่การเปิดเผยข้อมูล ว่าใครถือครองที่ดิน เท่าไร ที่ไหน ก็ยังมิอาจกระทำได้จริง ดูเหมือนนายประเวศ จะเพ้อๆว่า ปัญหาโครงสร้าง ถ้าทุกคนรู้ก็จะประเทืองปัญญา ตรัสรู้ได้ก็สามารถแก้ปัญหาได้ในทันทีทันใด ซึ่งนายประเวศทำประจำมาทุกรัฐบาล นายประเวศ แถลงว่าจะมีประชาชนและหลายองค์กรมาร่วมประชุมในครั้งนี้จำนวนมาก แต่นายประเวศก็ไม่ได้บอกว่า ใครจ่ายงบประมาณ มีเบี้ยเลี้ยงไหม ใช้งบประมาณอย่างพอเพียงไหม? หรือว่า “ กูมาเอง ไม่มีใครจ้างกูมา ” หรือว่า “กูต้องมาเพราะไม่มาสสส. สกว. พอช. จะตัดทุนโครงการกู” นายประเวศก็ควรชี้แจงให้โปร่งใสด้วย มิฉะนั้น “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง” ผู้เขียนเอง มีความคิดว่า มีแต่สังคมประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะนำเปิดทางให้ประชาชนสามารถรวมกลุ่มสร้าง อำนาจอย่างเสรีต่อรอง กดดัน สร้างพลัง เพื่อให้ชนชั้นที่เอาเปรียบ ยอมกระจายการกระจุกตัวของที่ดินที่ตนเองครอบครองอยู่ ยอมที่จะจ่ายภาษีก้าวหน้า เพื่อกระจายความมั่งคั่งที่ตนเองเสพสุขอยู่บนความทุกข์ของคนจำนวนมาก ฯลฯ ปัญหารากเหง้าในเงื่อนไขสภาพทางการเมืองที่สำคัญในช่วงประวัติศาสตร์ ปัจจุบัน คือ ระบอบอำมาตยาธิปไตย มีปรัชญาความเชื่อว่า คนยังโง่อยู่ ไม่มีความรู้ จึงต้องเป็นพลเมืองชั้นสอง จึงต้องมีคนที่เหนือกว่าปกครองดูแล จึงเป็นเพียงไพร่ ที่มูลนายต้องบังคับควบคุมดูแล เหมือนเฉกเช่นสมัยในอดีตสังคมศักดินาไทย ข้อเสนอของนายประเวศ เป็นการบิดเบือนหลอกลวง การแก้ไขปัญหาที่แท้จริง เนื่องเพราะว่า การปฏิรูปประเทศไทย ที่สำคัญคือการปฏิรูปกองทัพและองคมนตรี ซึ่งล้วนเป็นจักรกลของระบอบอำมาตย์ทั้งสิ้นที่คอยขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยให้ก้าวหน้า เช่น การรัฐประหาร การแทรกแซงทางการเมือง เป็นต้น การปฏิรูปประเทศไทย ปฏิเสธไม่ได้ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ด้วยไม่เพียงต้องสร้างนโยบายและกฎหมาย เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่ล้าหลังขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยในหลายมาตรา การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยต้องลดอำนาจนอกระบบ เช่น การให้อำนาจกับกระบวนการตุลาการมากเกินไปโดยไม่ได้เชื่อมโยงกับประชาชนแต่อย่างใด สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งถึง 74 คน ฯลฯ และอื่นๆที่ต้องช่วยคิดช่วยผลักดัน การปฏิรูปประเทศไทยนั้น ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม (เหมือนสูตรที่นายประเวศท่องจำตลอดเวลา แต่กลับไม่นำมาใช้มาปฏิบัติ) ซึ่งต้องมีกระบวนการจากล่างสู่บนเหมือนเช่นกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ 40 ต้องมีการระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนสาขาอาชีพต่างๆ มิใช่เพียงภาคประชาชน ภาคประชาสังคม เพียงน้อยนิดของนายประเวศและเหล่าอำมาตย์เอ็นจีโอทั้งหลายเท่านั้น การปฏิรูปประเทศไทยนั้น ต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายให้มีความยุติธรรมเท่าเทียมกันไม่ใช่ระบบสองมาตรฐานอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ การปฏิรูปประเทศไทยนั้น ต้องปฏิรูปความคิดจิตสำนึกให้คนในสังคมไทยรักประชาธิปไตย เคารพหนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียง เคารพกติกาประชาธิปไตย ฯลฯ และอื่นๆอีกมากมายที่ต้องช่วยคิดช่วยผลักดัน ดังนั้น การปฏิรูปประเทศไทย จึงมิเป็นเพียงของนายประเวศและคณะ เท่านั้น |
By Dan Waites
As Bangkok Pundit blogged earlier today, Tharit Pengdit, the chief of Thailand’s Department of Special Investigation (DSI), is doing everything he can to put red shirt leader and opposition MP Jatuporn Prompan back in jail. Following last week’s censure debate, in which Jatuporn accused the government of colluding to kill people, Tharit and the DSI will file new charges against the Pheu Thai MP, who is already accused of terrorism related to last year’s protests. Bangkok Pundit examines the charges in today’s post, describing at least one as “simply astonishing in its ridiculousness”.
Tharit seems to be pursuing Jatuporn with an almost fanatical zeal, his mission to lock up the outspoken MP going beyond professional duty and into the realms of personal vendetta. While the politicisation of the DSI is a serious subject for another day, I thought I’d draw attention to a story that was scarcely mentioned in the English-language press last year, but that might shed some light on why things have gotten so personal between the DSI chief and Pheu Thai’s chief mudslinger.
In mid-August, Jatuporn made a cryptic remark to the media on the subject of the DSI chief. Tharit was somehow connected to the number “161″, Jatuporn said, adding that he knew “what he was doing on Sri Ayuthaya Road”.
Tharit’s response was quick. Congratulating Jatuporn on his information-gathering skills, the DSI chief admitted that “161″ was the number of his masseuse at “Chavala Massage”, a “bath, steam, massage” (อาบอบนวด) establishment on Bangkok’s Sri Ayuthaya Road. Such establishments are known to provide more than just massage, if you know what I mean.
Tharit admitted to enjoying 161′s services “once or twice a month”, though he insisted she gave him nothing more than a traditional Thai massage. His response, as published by M Thai (my translation):
I see that it’s a funny story, because it’s a personal issue and I don’t care about this sort of thing. I don’t just have a regular traditional Thai masseuse. I have a regular fortune teller too. And I accept that Mr Jatuporn is very good at finding information. I’m addicted to traditional massage, but I’m not into bathing, I just have a massage.
Jatuporn replied:
As Mr Tharit said it was only a Thai traditional massage, let’s have Mr Tharit go and explain the story to his wife. But the person who gave the information to me didn’t explain it in the way Mr Tharit said. I want Mr Tharit to prepare himself, because I’ve been investigating his history and found that there’s a lot of stuff, and I’ll reveal it in a few days.
Thailand’s English-language national papers, which tend to avoid “tabloid” fare, didn’t pick up on the story. But Thai readers got to hear more. Khao Sod newspaper tracked down the masseuse, a 55-year-old woman the paper gave the pseudonym “Oy”, and gleefully printed more details of the services available at the parlour. “Oy” said she had seen Tharit in the newspapers but was too polite to ask who he was. She said many of the parlour’s customers were important people who went there to relieve stress. She thought the news was likely to scare many of them off, however.
The likes of “Chavala Massage” can be found all over Thailand, but stories about public figures being caught going to them seem to be rare. Presumably it’s the kind of mud-slinging fight that nobody wants to start – because everyone would end up dirty. But Jatuporn broke that rule. It can’t have endeared him to the DSI chief.
- 0digg
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)