อ๊อกซฟอร์ด’ สอนให้ใช้ ‘หัวคิด’ บ้างไหม!?
http://www.internetfreedom.us/thread-12428.html
วาทตะวัน สุพรรณเภษัช
เมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวนักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) ซึ่งเรียนอยู่ในคณะดนตรี ออกมาร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยบอกว่า มหาวิทยาจัดการเรียนการสอนที่ไม่มีคุณภาพให้พวกเขา อีกทั้งอาจารย์ไม่มีความรู้ ไม่มีประสิทธิภาพในการสอน หลักสูตรก็มีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน โดยตัดวิชาสำคัญออกไปถึง 40 วิชา
ฟังแล้วให้เวทนา และสงสารเด็กๆนัก!
มหาวิทยาลัยดังกล่าวแห่งนี้ แต่ดั้งเดิมเคยมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นโรงเรียนพาณิชย์ ที่รู้จักกันในชื่อ “อัสสัมคอมเมิร์ซ” ซึ่งผลิตบุคลากรระดับเสมียนพนักงาน ป้อนบริษัทห้างร้านที่ประกอบธุรกิจการค้ามาหลายปีติดต่อกัน
ครั้นเมื่อไต่เต้าขึ้นมาอยู่ในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็ทำท่าจะดูดีในตอนต้น แต่มาระยะหลังดูเหมือนจะทำธุรกิจหนักข้อมากขึ้น จึงมีการเปิดสอนคณะต่างๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยเองก็ไม่สันทัด จนเกิดบกพร่องในเรื่องการเรียนการสอน และเป็นข่าวน่าขายขี้หน้า ตามที่ได้เล่ามาข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เหตุการณ์ประท้วง การร้องร้องเรียนของนักศึกษา จึงเกิดขึ้น!
ครั้งนี้เอแบคคงเสียชื่อไม่น้อย และคงจะไม่เป็นที่น่าไว้วางใจของผู้ปกครอง ที่จะส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาอีกต่อไป หรือหากจำต้องส่ง ก็ขอให้ท่านผู้ปกครอง ติดตามผลการศึกษาของบุตรหลานโดยใกล้ชิด หากเกิดกรณีอย่างคณะดนตรีขึ้นมาอีก ก็ขอให้ผู้ปกครองเข้าร่วมประท้วงด้วย
อย่าปล่อยให้เด็กๆดำเนินการเอง!
ในทัศนะส่วนตัวของผมแล้ว ยังเห็นว่า หากลูกหลานของท่านสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐไม่ได้ ทางที่ปลอดภัยและประหยัดสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ก็น่าจะให้ศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดของรัฐอย่างเช่น รามคำแหง สุโขทัยธรรมาธิราช ฯลฯ
น่าจะเป็นทางเลือก ที่ดีกว่ากระมัง!
การร้องเรียนของนักศึกษา ทำให้ผมนึกถึงตัวเองเคยวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องการทำโพลของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ที่รู้จักกันในชื่อ “เอแบคโพล” เพราะผมไม่เชื่อถือผลโพลของเขา เนื่องจากตัวเองทำงานเกี่ยวข้องกับด้านสถิติ และงานวิจัยมานานนับสิบปี จนมองออกชัดเจนว่า เป็นโพลของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ‘ชะเลียร์’ รัฐบาลของนายมาร์ค มุกควาย โจ่งแจ้งเกินเหตุ และขัดแย้งกับโพลของมหาวิทยาลัยอื่น อย่างน่าประหลาด
ฉะนั้น ความไม่ได้มาตรฐานในการเรียน การสอนของเอแบค จนนักศึกษาต้องออกมาโวยวายในครั้งนี้ น่าจะเป็นเครื่องลดทอนความเชื่อถือ ของโพลมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ให้ทรุดหนักลงไปอีกด้วย เพราะตอนนี้ผู้คนก็จะออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า ขนาดการศึกษาภาคปกติ นักศึกษาของตัวเองยังออกมาโวยวายให้ขายขี้หน้า...
“...แล้วผลโพลของมหาวิทยาลัยนี้ เราจะไปเชื่อถือได้อย่างไรกัน!?”
ขณะนี้ นอกจากเรื่องการร้องเรียนของนักศึกษาเอแบคแล้ว บ้านเรายังมีเรื่องความมาตรไม่มีฐานในการศึกษา แพร่ออกมาจนน่าห่วงใย สื่อมวลชนระดมกันแพร่ข่าวเรื่องการขยายหลักสูตรที่ไม่ได้มาตรฐาน ไปสู่จังหวัดอื่น ซึ่งไม่ใช่ที่ตั้งหลักของมหาวิทยาลัย และเป็นการศึกษาในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ซึ่งสื่อเขาลงชัดเจนว่า ไปสอนกันในวัดบ้าง โรงเรียนอนุบาลบ้าง แม้กระทั่งตามปั๊มน้ำมัน ก็ยังมีให้เห็น ฯลฯ
พวกอาจารย์มหาวิทยาลัยในกรุง พากันรับจ๊อบบินไปสอนกันวันเสาร์อาทิตย์ มีรายงานว่า ส่วนใหญ่ก็แค่ไปนั่งคุยๆ ไม่ได้สอนอะไรจริงจัง แต่ที่ยอมไปสอนกัน ก็เพราะค่าตอบแทนหรือค่าสอนดี
การเซ็งลี้ทางการศึกษาบ้านเรา มีการทำเป็นล่ำเป็นสัน แล้วก็แจกปริญญากันให้เกร่อไป จนวุฒิสภาเขาได้มีรายงานออกมาในเรื่องนี้ออกมา ก็สร้างความตื่นตระหนกกันไม่น้อย
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลของ นายมาร์ค มุกควาย ยังได้ออกข่าวว่า สนใจในเรื่องการโฆษณาขายปริญญาทางเว็บไซด์ต่างๆ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ทำการตรวจสอบ แต่ก็มีการยืนยันว่าทั้งหมดยืนยันว่า
ไม่มีกระบวนการที่จะซื้อขายปริญญาในระบบการศึกษาไทย แต่ผู้คนเขารู้ความจริงว่า การเซ็งลี้ทางการศึกษาเป็นอย่างไร ตัวผมเองก็เคยได้ยิน อ.เสรี แมนเต็มขั้น พูดโฆษณาหลักสูตรปริญญา โท,เอก ของมหาวิทยาลัยที่เติบโตมาจากวิทยาลัยครู ว่า
“จ่ายเงินครบ...จบแน่ๆ!”
ฟังแล้วใจมัน ‘เหี่ยวแห้ง’ น่าขยะแขยงเหลือกำลัง!!
ตั้งแต่พรรคประชาธิเปรตเข้ามาบริหารประเทศ ก็มีโครงการแปลกๆในด้านการศึกษา ซึ่งต้องใช้จ่ายเงินจำนวนไม่น้อยเลย แต่ผลสัมฤทธิ์นั้น ยังเป็นเรื่องคลุมเครือเอามากๆ เช่น
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า มีโครงการที่จะทำให้...
“ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่ 2 ในการเรียนการสอน”
ฟังดูเก๋ไก๋ดี!
ปรากฏว่าถูก สนธิ ลิ้มทองกุล บอสใหญ่ค่ายผู้จัดการ ASTV ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ แบบด่าหนักหน่วงป่นปี้เช็ดเม็ด ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
...เท่านั้นเอง
...กระทรวงศึกษาก็ ‘ขี้หด-ตดแตก’ ตาลีตาลานรีบออกมาบอกยกเลิกโครงการไปเลย!
ผู้คนงงงวยเหลือกำลัง เพราะเพิ่งแถลงจะประกาศโครงการวันที่ 7 ต.ค.2553 แต่แล้วแถลงยกเลิก 26 ต.ค.ปีเดียวกัน
...ทุเรศมาก!!
ทีแรกผมนึกว่าโครงการนี้ จะไม่มีการดำเนินการต่อไปแล้ว แต่ที่ไหนได้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีข่าวว่า
จะมีโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยจะมีการจ้างอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมาจากต่างประเทศ งบประมาณอยู่ราย 500-600 ล้านบาท ผมเลยมานั่งนึกว่า
“เอ๊ะ! นี่มันโครงการที่ประกาศยกเลิกไป แล้วเอามาแต่งหน้าทาแป้งใหม่ ใช่หรือเปล่า!!?”
ไม่รู้จักเข็ดกันหรือไง?....
เดี๋ยวก็โดน สนธิ ลิ้มทองกุล ตวาดเข้าให้อีกหรอก!
เรื่องการหาเรื่องใช้งบประมาณนี่ พรรคประชาธิเปรตเขาเก่งจริงๆ หาเรื่องมันได้ตลอดเวลา สำหรับโครงการสอนภาษาอังกฤษ ไม่น่าจะใช้เงินมากมายขนาดนั้น ที่พูดอย่างนี้เพราะผมเคยสอนภาษาอังกฤษมาก่อน รัฐมนตรีชินวรณ์ฯกับทีมงาน จะมาถกเรื่องนี้กับผมและคณะก็ได้ ว่า
“กระทรวงศึกษาควรจะละเลงเงินงบประมาณก้นอย่างนี้ หรือจะใช้มันอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร?”
สำหรับอย่างคุณชินวรณ์ฯเอง ซึ่งแสดงท่าทีราวกับว่า เป็นรัฐมนตรีที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกลทางด้านภาษาศาสตร์ แต่ผมก็ขอให้ครูบาอาจารย์ในกระทรวง ช่วยแนะนำให้ท่านรัฐมนตรีพูดภาษาไทยให้ชัดเจนเสียก่อน เวลามีประชุมของกระทรวงศึกษาฯ ก็ขอให้ท่าน พูด ง.งู ให้เป็น “งอ งู”เอาให้ชัดเจน อย่าพูดเป็น
“ฮอ... ฮู”
“เงินงบประมาณ” ก็อย่าพูดเป็น
“เฮิน...ฮบประมาณ”
ท่านรัฐมนตรียังไม่ถึงต้องพูดเป็นภาษาอังกฤษ ให้ผมฟังหรอกครับ ไม่อยากจับผิดท่าน เพราะผมจับผิดเก่งด้วย เดี๋ยวท่านจะอายเสียเปล่าๆ เอาภาษาไทยง่ายๆนี่แหละ ขอให้ท่านฝึกพูดให้ชัดๆหน่อย พวกครูบาอาจารย์เขาจะได้ชมว่า ท่านพูดภาษาไทยได้ชัดเจนดีกว่าเถ้าแก่ ชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีมหาดไทย...
...พยายามหน่อยนะ...ท่านรัฐมนตรีศึกษา!!!
เรื่องการใช้เงินของพรรคประชาธิเปรต ยังไม่หมดแล้ว หันกลับไปดูทาง กทม. ซึ่งคนของพรรคนี้เขาควบคุมอยู่เช่นกัน ก็มีการประกาศโครงการมหานครแห่งการเรียนรู้ พร้อมสนองนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้ ‘การอ่าน’ เป็นวาระแห่งชาติ และเตรียมเสนอชื่อกรุงเทพมหานครเข้าแข่งขันเพื่อคัดเลือกเป็นเมืองหนังสือโลกในปี 2556 (World Book Capital 2013) พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการภาคีขับเคลื่อนให้ กทม.หรือกรุงเทพมหานครของเรา เป็น
"มหานครแห่งการอ่าน"
ผมตกตะลึงพรึงเพริด เมื่อได้ยินโครงการนี้ เพราะรู้ว่าคนไทยเราไม่ชอบอ่านหนังสือ เพราะเมื่อปี 2548 ก็มีรายงานว่า คนไทยอ่านหนังสือปีละ 7 บรรทัด ต่อมาเมื่อเร็วๆนี้ ก็มีรายงานว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละ 2 เล่ม ขณะที่คนญี่ปุ่นอ่านปีละ 300 เล่ม
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ฯ จะเอาโครงการมหัศจรรย์อะไร มาเสกเป่าเพี้ยงเดียว ทำให้กทม.กลายเป็นมหานครแห่งการอ่าน ได้อย่างไรกัน?
กทม.เองก็น่าจะรู้ว่า แม้แต่ห้องสมุดของกรุงเทพมหานครเอง ก็มีเพียง 30 กว่าเขต
ยังไม่ครบทุกเขต (52 เขต) ด้วยซ้ำไป!
อยากจะเรียนให้ท่านผู้อ่านทราบว่า มีเมืองที่ได้รับการคัดเลือกเป็น World Book Capital มีมาแล้ว 9 เมืองคือ Madrid (2001), Alexandria (2002), New Delhi (2003), Antwerp (2004), Montreal (2005), Turin (2006), Bogotá (2007) and Amsterdam (2008) และ ปี 2009 ได้แก่ นครเบรุต (Beirut)
พลเมืองของเบรุตเขารักการอ่านจริงๆ แม้ประเทศนี้จะมีสงครามกลางเมืองมาเป็นเวลายาวนาน แต่เวลาที่ประชาชนหลบไปอยู่ภายในหลุมหลบภัยขนาดใหญ่นั้น พวกเขาไม่ต้องนั่งกอดเข่าเจ่าจุก ฟังเสียงปืนและระเบิดให้ประสาทเสีย เพราะทางผู้บริหารนครเบรุต จัดหนังสือมากมายเอาไว้ในหลุม สำหรับผู้คนที่เขาไปอาศัยหลบภัย ได้ใช้อ่านหนังสือกัน จนอาจกล่าวได้ว่า...
...ข้างบนดินเอ็งจะรบก็รบกันไป พวกข้าที่หลบอยู่ในหลุมใต้ดินก็อ่านหนังสือกันไป...น่าทึ่งจริงๆ!
อาจกล่าวได้ว่านี่เป็นสาเหตุสำคัญ นครเบรุตจึงเอาชนะใจกรรมการ และกลายเป็น World Book Capital 2009 ในที่สุด
ผมได้ยินคุณ มกุฎ อรดี แห่งสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ กทม.ในเรื่องนี้ ผ่านวิทยุ FM 96.5 MHz รายการ “เช้าทันโลก” กับคุณสังกมา สารวัตร และ คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า
ประเทศที่เขาเข้าร่วมโครงการของยูเนสโก ก็มีการเตรียมการล่วงหน้ากันทั้งนั้น อย่างเมืองออกซฟอร์ดของอังกฤษ ที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน World Book Capital ในปีนี้ ก็มีการเตรียมการล่วงหน้า 2-3 ปี ทีเดียว
ทีแรกผมก็แปลกใจ ทำไม ทางผู้บริหาร กทม.จึงหาญกล้า จะนำให้กรุงเทพของเรา เข้าแข่งขันกับเขาด้วย ทั้งๆที่การอ่านหนังสือของคนไทยเป็นอย่างไรนั้น ท่านผู้ว่าฯสุขุมพันธ์และผู้บริหาร กทม.ทั้งหลาย น่าจะทราบดี แต่...
พอผมเห็นโครงการนี้ มีงบประมาณตั้งไว้ในการทำให้ กทม.เป็นมหานครแห่งการอ่าน สูงถึง 280,000,000.00 บาท (สองร้อยแปดสิบล้านบาทถ้วน) นี่สำหรับ ปีงบประมาณ 2254-2556 เท่านั้น จึงพอจะเข้าใจได้ว่า
ทำไม กทม. จึงตัดสินใจ เข้าร่วมโครงการเมืองหนังสือโลก!
โครงการต่างๆ ของพรรคประชาธิเปรต ที่เป็นขี้ปากของชาวบ้านอย่างหนักในตอนนี้ ก็คือ“โครงการประชาวิวัฒน” ที่ไปจ้างบริษัทแมคเคนซี่ ตอนแรกก็บอกว่า เป็นการมาทำงานด้านประชาสัมพันธ์ให้โครงการของรัฐบาลเท่านั้น แต่ต่อมาภายหลัง รัฐมนตรีคลัง คือนายกรณ์ จาติกวณิชย์ ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า
จ้างมาร่วมวางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีทาง เลือกที่หลากหลาย
ฟังดูดีจังแฮะ...แต่
บริษัทนี้เองที่คิดโครงการ ‘ไข่ชั่งกิโล’ ออกมา จนชาวบ้านและสื่อใหญ่ของประชาชนอย่าง “ไทยรัฐ” ก็ด่ายับเยิน
ยิ่งด่าหนักเข้าไปอีก เมื่อรู้ว่าค่าจ้างในการคิดโครงการตะหวักตะบวยบริษัทนี้ สูงถึง 69,000,000.00 บาท (หกสิบเก้าล้านบาท) จนผู้คนเขาพูดกันอื้ออึงว่า
“มันจะแดกบ้าน...ผลาญเมือง กันไปถึงไหน (วะ)!?”
ผมเห็นการจ้างบริษัทและบุคคลภายนอก มาช่วยคิดโครงการแทนรัฐบาล ซึ่งต้องจ่ายค่าจ้างด้วยภาษีอากรของพวกเรา เป็นเงินจำนวนมหาศาล แถมโครงการที่จ้างเขาคิดออกมานั้น ก็ไม่เห็นจะดีเด่ หรือโดนใจประชาชนแต่อย่างใดเลย
นายมาร์ค มุกควาย พลเมืองของประเทศอังกฤษ ที่ได้รับรัฐสวัสดิการจากประเทศดังกล่าว ตั้งแต่ยังเป็นทารก และต่อมาก็จบการศึกษา ทั้งมัธยมและมหาวิทยาลัย จากอังกฤษแผ่นดินเกิด เช่นเดียวกับ นายกรณ์ จาติกวณิช ซึ่งเกิดที่ Princess Beatrice Hospital กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และจบการศึกษามหาวิทยาลัยเดียวกับ นายมาร์ค มุกควาย ด้วย คือ
University of Oxford
แต่...ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ
กะอีแค่โครงการแสนจะธรรมดาอย่างนี้ ยังคิดเองไม่ได้ ต้องเสียเงินเสียทองของชาติ ไปจ้างบริษัทต่างประเทศอย่างแมคเคนซี่ มาช่วยคิดให้ ทำราวกับว่า ทั้งสองเกลอนี้...
...ไม่มี ‘กึ๋น’ เอาซะเลย
...สงสัยเหลือเกินว่า ที่ ‘อ๊อซฟอร์ด’ น่ะ เขาสอนให้ใช้ ‘หัวคิด’ ตัวเองบ้างไหม!?
...ใครก็ได้ ช่วยไปถามสองเกลอแทนผมทีเถอะครับ!!!
................
ท้ายบท ตอนนี้ใครอยากฟังการด่ารัฐบาลโลซก ของนายมาร์ค
มุกควาย ลองไปฟังที่สะพานมัฆวานดู จะได้ข้อมูลเรื่องการทุจริตและความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลนี้ แบบเต็มสองรูหู
นอกจากนั้น ท่านยังจะได้รับฟังเพลง “ไอ้หน้าหล่อ” ที่มิสเตอร์มุกควาย น่าจะชวนบิดามารดาญาติพี่น้อง รวมทั้งสมาชิกพรรคประชาธิเปรต ซึ่งเคยร่วมหัวจมท้ายกับฝั่งพันธมารที่สะพานแห่งนี้ ไปร่วมฟังด้วยกัน
ขำขนาด ‘เยี่ยวแตก-เยี่ยวแตน’ เลยนะ จะบอกให้!!!
(คอลัมน์ ‘อ๊อกซฟอร์ด’ สอนให้ใช้ ‘หัวคิด’ บ้างไหม!? ออนไลน์วันเสาร์ ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554)