Without Mubarak, Egypt state TV switches sides
เมื่อปราศจากนายมูบารัค, โทรทัศน์ของรัฐบาลอียิปต์ก็ตัดสินใจเปลี่ยนข้าง
Source: (อ้างอิง)
http://news.yahoo.com/s/ap/20110212/ap_o...tate_media
AP –
Protestors stand on a tank in front of the Egyptian television headquarters in Cairo, Egypt, Friday,
ผู้ประท้วงได้ยืนอยู่บนรถถัง หน้าสำนักงานใหญ่ของสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
By MAGGIE HYDE, Associated Press – Sat Feb 12, 1:53 pm ET
เขียนโดย: แม็กกี้ ไฮด์ จากสำนักข่าว AP วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์, เวลา 13:53 นาฬิกา Eastern Time
CAIRO – Egypt's state and pro-government media have abruptly changed their tune.
Faithful mouthpieces of Hosni Mubarak's regime until the end, they now celebrate the ouster of the longtime Egyptian president — and pledge to be more attentive to ordinary Egyptians. State TV even promised to be more truthful in its reporting.
During the 18-day uprising, state TV and pro-Mubarak newspapers portrayed the hundreds of thousands of protesters as a minority of troublemakers. While raucous protests raged in downtown Cairo, state-run Al-Nil TV showed serene videos of the Nile River.
But on Saturday, a day after Mubarak's resignation, the message had been turned upside down.
"The people ousted the regime," proclaimed the once pro-Mubarak Al-Ahram on its front page.
A state TV journalist, reporting from outside Mubarak's Cairo palace where thousands had gathered after Mubarak's ouster, said that "at these moments, Egyptians are breathing freedom."
And an editorial by the state-run daily Al-Gomhouria called for greater transparency, complaining that "the sharks of the old regime sucked the life from Egypt."
The Armed Forces Supreme Council, which assumed control of the country from Mubarak, has made clear it would continue to use the government-funded outlets as a platform, with a series of appearances by a uniformed spokesman announcing plans.
But Hisham Qassam, who publishes several independent Egyptian papers, said state media could even fade away if a new government cuts off funding. "It's a slow demise, it could take over a year," he said. "But it's over, it's finished."
During the uprising, some pro-government media were targeted by the protesters.
Some of the largest and most violent protests took place in front of the Ministry of Information, from which state TV broadcasts. At some point, riot police clashed with protesters trying to take over the building. Many accused Information Minister Anas al-Fiqqi of orchestrating a heavy media campaign against protesters by accusing them of sabotaging Egypt.
On Friday, just hours before Mubarak resigned, thousands chanted in front of the heavily guarded building, preventing employees from entering. "The liars are here, where is Al-Jazeera?" some chanted, showing their preference for the Qatar-based satellite TV channel. Al-Jazeera was repeatedly targeted by the Egyptian government for what it viewed as coverage sympathetic to the protesters.
Many said Al-Jazeera's live coverage of protesters was responsible for the large turnout in early days when the government blacked Internet and mobile phone communications.
But there were also challenges from within.
A day before Mubarak's ouster, reporters and editors at Al-Ahram demanded that the editor-in-chief be fired over the negative coverage of the protests. They demanded the newspaper run a front-page apology for what Hanan Haggag, a senior editor, called the "very unethical coverage."
It remains unclear at what point editorial policy changed, but the dramatic shift was apparent.
On Saturday, state TV issued a statement carried by Egypt's Middle East News Agency, "congratulating the Egyptian people for their pure great revolution, lead by the best of the Egyptian youth."
"Egyptian TV will be honest in carrying its message," the statement said. "Egyptian TV is owned by the people of Egypt and will be in their service."
-------------------------------------------
แปลโดย:
Doungchampa
กรุงไคโร – สื่อมวลชนของรัฐบาลอียิปต์ รวมไปถึงบรรดาสื่อสมุนที่ฝักใฝ่กับฝ่ายรัฐบาล ได้ทำการเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองอย่างกระทันหัน
ปากกระบอกเสียงที่ทำงานมาอย่างซื่อสัตย์ให้กับระบอบการปกครองของนาย ฮอสนี่ มูบารัค จนกระทั่งถึงวันสุดท้าย, ในตอนนี้ พวกเขาก็ทำการเฉลิมฉลองการสิ้นสุดยุคสมัยของประธานาธิบดีประเทศอียิปต์ซึ่งถูกขับออกไป – และปฎิญาณว่า จะให้ความสนใจดูแลเอาใจใส่กับประชาชนรากหญ้าชาวอียิปต์ให้มากขึ้น. สถานีโทรทัศน์ของทางรัฐบาล ถึงกับสัญญาว่า จะเสนอรายงานข่าวสาร แบบมีเนื้อหา ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงให้มากยิ่งขึ้น.
ระหว่างการจลาจลในระยะเวลา 18 วัน, สถานีโทรทัศน์ของทางฝ่ายรัฐบาลและหนังสือพิมพ์ซึ่งฝักใฝ่อยู่กับประธานาธิบดี มูบารัคนั้น ได้สร้างภาพกับกลุ่มผู้ ประท้วงที่มีมากมายเป็นแสนๆ คนนั้นว่า เป็นตัวแทนของชนกลุ่มน้อยที่เอาแต่สร้างความวุ่นวายให้กับบ้านเมือง. ในขณะที่การประท้วงที่เพิ่งผ่านพ้นมาอย่างเดือดดาลในใจกลางกรุงไคโร, สถานีโทรทัศน์ของฝ่ายรัฐบาล อัล-นิล กลับไปตัดภาพการออกอากาศเป็นภาพวิดีโอของแม่น้ำไนล์ ซึ่งดูเหมือนมีแต่ความสงบเยือกเย็นแทน.
แต่เมื่อวันเสาร์, เพียงวันเดียวหลังจากที่นายมูบารัคได้ประกาศขอลาออกจากตำแหน่ง, ข่าวที่นำเสนอต่อสาธารณะนั้น กลับกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าพลิกดินเลยทีเดียว.
“ประชาชนของพวกเราได้ขับไล่ระบอบชั่วๆ นี้ออกไปแล้ว,” หนังสือพิมพ์ อัล-อารัม ซึ่งก่อนหน้านี้ เป็นพวกที่เสนอข่าวเชียร์และฝักใฝ่กับ ทางฝ่ายนายมูบารัคมาตลอด ก็ ได้ประกาศตีพิมพ์เรื่องนี้อยู่ในการพาดหัวข่าว.
ผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์ฝ่ายรัฐบาลผู้หนึ่ง, ซึ่งรายงานข่าวจากข้างนอกทำเนียบประธานาธิบดีมูบารัค ซึ่งประชาชนนับเป็นพันๆ คน ยังได้รวมตัวกันอยู่ หลังจากขับไล่นายมูบารัคออกไป, ได้กล่าวขึ้นว่า “ในขณะนี้, ประชาชนชาวอียิปต์ของเรา กำลังสูดลมหายใจสัมผัสรสชาติของความเป็นอิสระภาพอยู่.”
และในบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ อัล-กอมฮูเรีย ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายวันของฝ่ายรัฐบาล ก็ได้เรียกร้องว่า ขอให้มีการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลอย่างบริสุทธิ์โปร่งใส, และยังได้วิจารณ์ว่า “ฝูงฉลามของระบอบเก่านั้น ได้สูบเอาเลือดเนื้อชีวิตของประชาชนชาวอียิปต์มาอย่างช้านานแล้ว”
สภากองบัญชาการทหารสูงสุด, ซึ่งรับการควบคุมอำนาจหน้าที่ของประเทศจากประธานาธิบดีมูบารัค, ก็ได้กล่าวไว้อย่างชัดแจงว่า ทางสภาจะดำเนินการใช้สถานนีโทรทัศน์เหล่านั้น ที่ได้รับเงินจากรัฐบาลเป็นพื้นฐานแรกก่อน, และยังมีการปรากฎตัวแถลงข่าวในเรื่องแผนการนี้ อยู่หลายครั้งจากโฆษกฝ่ายการทหาร.
แต่นายฮิชัม คาซซัม, ซึ่งเป็นผู้ตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อียิปต์เอกชนอิสระหลายฉบับ, ได้กล่าวว่า สื่อของรัฐบาลนั้น อาจจะถึงกับเลือนหายสาบสูญไปได้เลย ถ้ารัฐบาลใหม่ตัดสินใจที่จะตัดเงินอุดหนุนช่วยเหลือทั้งหมด. “มันเป็นเรื่องที่ กำลังจะตายหายไปอย่างช้าๆ, และอาจจะเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี กว่ามันจะหมดไป,” เขากล่าวขึ้น. “แต่เมื่อมันสิ้นสุดแล้ว, มันก็คือ จุดจบนั่นเอง.” ในระหว่างการจลาจลนั้น, สื่อมวลชนบางแห่งที่ฝักใฝ่อยู่กับรัฐบาล ก็ได้ถูกเล็งเป็นเป้าหมายหลักของฝ่ายผู้ประท้วง.
การประท้วงบางแห่งที่ใหญ่และมีความรุนแรงมากที่สุด ได้เกิดขึ้นที่หน้ากระทรวงข่าวสาร, (เทียบเท่ากับ กระทรวง ICT – ผู้แปล), ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ทำการออกอากาศของทางฝ่ายรัฐบาล. ในบางครั้ง, เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปราบการจลาจลได้ปะทะกับผู้ประท้วง ซึ่งพยายามจะเข้าไปยึดตึกทำการแห่งนั้น. หลายคนได้ตั้งข้อหากับตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงข่าวสาร คือ นาย อานัส อัล-ฟิคคี่ ว่า ได้อยู่เบื้องหลังยุทธวิธีการสร้างและบิดเบือนข่าว รวมไปถึงการใส่ร้ายให้กับตัวผู้ประท้วง โดยการกล่าวหาว่า พวกเขาเหล่านั้น ได้ทำการก่อวินาศกรรมให้กับประเทศอียิปต์.
ในวันศุกร์, เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่นายมูบารัค จะลาออกจากตำแหน่ง, ประชาชนหลายพันคนได้ กร่นด่า อยู่หน้าตึก ซึ่งถูกล้อมอย่างหนาแน่นโดยเจ้าหน้าที่ปราบการจลาจล, ก็เลยทำให้ลูกจ้างของรัฐเหล่านั้น ไม่สามารถที่จะเดินเข้าผ่านไปทำงานได้. “ไอ้พวกโกหกตอแหลหลอกลวง มันอยู่กันที่นี่, อัล-จาซีร่า (สื่อ) อยู่ที่ไหน ในตอนนี้?” บางคนก็ ตะโกนขึ้น, แสดงให้เห็นถึงสื่อที่พวกเขา ได้ชื่นชอบ นั่นก็คือ ช่องของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งของประเทศการ์ต้า ซึ่งออกอากาศโดยใช้สัญญาณดาวเทียม. อัล-จาซีร่านั้น เป็นเป้าหมายที่ถูกโจมตีอย่างต่อเนื่อง โดยทางฝ่ายรัฐบาลประเทศอียิปต์ เพราะว่า การออกอากาศของ อัล-จาซีร่า นั้น ครอบคลุมรวมไปในเรื่องของความเห็นอกเห็นใจต่อฝ่ายผู้ประท้วง.
หลายคนได้กล่าวว่า การออกอากาศสดของ สื่อ อัล-จาซีร่าที่มีต่อทางฝ่ายผู้ประท้วงนั้น กลับกลายเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งทำให้ชาวบ้านธรรมดานั้น ออกเสริมช่วยเหลือผู้ประท้วงอย่างมืดฟ้ามัวดิน โดยเฉพาะในวันแรกๆ เมื่อตอนที่ฝ่ายรัฐบาล ได้ตัดสัญญาณ อินเตอร์เนทและสัญญาณการสื่อสารทางโทรศัพท์มือถือออกทั้งประเทศ
แต่มันก็ยังมีเรื่องที่ท้าทาย ตามออกมาจากข้างในเหมือนกัน.
เพียงวันเดียวก่อนที่นายมูบารักจะถูกไล่ออกไป, ผู้สื่อข่าวและผู้ตรวจแก้ไขของ หนังสือพิมพ์ อัล-อารัม ได้เรียกร้องขับไล่ ตัวหัวหน้าของฝ่ายบรรณาธิการ ให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากว่า มีการเสนอข่าวในทางลบกับผู้ประท้วง. พวกเขาเหล่านั้น เรียกร้องให้ ทางหนังสือพิมพ์นั้น ได้ทำการพาดหัวข่าวขอขมา ซึ่งนาย ฮานัน แฮกแก๊ก ซึ่งเป็นบรรณาธิการอาวุโส, ได้ล่าวว่า “มันเป็นเรื่องการรายงานข่าวที่ผิดจรรยาบรรณเป็นอย่างยิ่ง.”
ตอนนี้ ก็ยังไม่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า นโยบายของฝ่ายบรรณาธิการนั้น ได้เปลี่ยนไปถึงจุดไหนแล้ว, แต่การเปลี่ยนสลับข้างของทางฝ่ายหนังสือพิมพ์อย่างรวดเร็วนั้น ได้ปรากฎให้เห็นอย่างแจ่มแจ้ง.
เมื่อวันเสาร์, สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ ซึ่งประกาศโดย สำนักข่าวตะวันออกกลางของอียิปต์ว่า, “ขอแสดงความยินดีกับประชาชนชาวอียิปต์ทั้งมวล ที่ทำการปฎิวัติอย่างบริสุทธิ์ใจ, นำโดยกลุ่มหนุ่มสาวที่ดียอดเยี่ยมที่สุดของประเทศอียิปต์.”
“สถานีโทรทัศน์ของประเทศอียิปต์จะให้ความซื่อสัตย์และเที่ยงตรงต่อการเสนอข่าวสาร,” แถลงการณ์ได้ประกาศไว้. “สถานีโทรทัศน์ของประเทศอียิปต์นั้น เป็นของปวงชนชาวอียิปต์และจะเป็นผู้ให้บริการต่อพวกเขา.”
--------------------
....Rise and rise until lambs become lions...