ยินดียิ่ง ยิ่งลักษณ์ กับบันไดขั้นแรก | |
พาดหัวเวบไซต์ ALJAZEERA:Thaksin sister to run for Thai PM (รายละเอียด) โดย ปาแด งา มูกอ 16 พฤษภาคม 2554 พรรคเพื่อไทยลงมติวันนี้ตามคาดให้น้องสาวอดีตนายกฯทักษิณลงส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นอันดับที่ 1 เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย เป็นอันที่แน่นอนแล้วว่าคุณยิ่งลักษณ์ฯ เธอได้ตัดสินใจลงสู่เส้นทางการเมืองอย่างเต็มตัว ก็ไม่ว่ากัน ขอแสดงความยินดี และขอชื่นชมในความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ที่จะมาเผชิญกับสิ่งที่คุณยิ่งลักษณ์ไม่เคยประสบพบเห็น มาก่อนตั้งแต่เกิด ขอให้อดทน รอบคอบ อย่าประมาท และอย่าประมาท ในโอกาสต้อนรับน้องใหม่ตามประเพณีทางการเมืองอันดี ผมก็ขอนำภาพตลกๆแต่แฝงในความเป็นจริงให้คุณยิ่งลักษณ์ฯและท่านผู้อ่านได้ทัศนาดูครับ ปิดท้ายสำหรับพรรคการเมืองที่น่าสงสารและน่าเวทนา ที่สุด สุกอยู่ดิน กากินบ่ได้ ******** เรื่องเกี่ยวเนื่อง:ยิ่งลักษณ์ดีพอสำหรับตำแหน่งนายกฯแล้วหรือ? | |
http://redusala.blogspot.com |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ดิฉัน ถนัดทำ มากกว่าพูด | |
ปู-ยิ่งลักษณ์เปิดตัวได้สวย เมื่อปฏิเสธคำท้าทายดีเบตของมาร์ค-อภิสิทธิ์ว่า "เป็นคนถนัดทำมากกว่าพูด" โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์ นางสาวยิ่งลักษณ๋ ชินวัตร กล่าวในโอกาสได้รับเลือกให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งอันดับ 1 ในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ซึ่งจะกลายเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี คู่แข่งขันของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยชี้แจงถึงประสบการณ์ของเธอว่าเหมาะสมที่จะก้าวขึ้นมาบริหารประเทศ เธอตอบข้อซักถามที่นายอภิสิทธิ์ท้าทายให้เปิดดีเบต โดยกล่าวปฏิเสธ ว่า "เป็นคนถนัดทำมากกว่าพูด"...ซึ่งนั่นทำให้คนหวนนึกไปถึงป้ายในมือผู้นำกรรมกรหญิงที่เคยยกขึ้นประณามนายอภิสิทธิ์ว่า"ดีแต่พูด" ข่าวพาดหัวALJAZEERA:Thaksin sister to run for Thai PM ********* ปูVSมาร์ค:โปรดสังเกตดี ๆ ดูแววตา ใครพูดโกหก ใครพูดจริง คุณเป็นผู้ตัดสิน | |
http://redusala.blogspot.com |
ฟ้าหญิงฯมีอุบัติเหตุรถยนต์ที่เยรูซาเลมเจ็บเล็กน้อย | |
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงได้รับอุบัติเหตุเล็กน้อยเมื่อวันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม ระหว่างเสด็จเยือนเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกี่ยวข้องหลายคัน (ภาพข่าว:AP) โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์ 17 พฤษาคม 2554 สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ และทรงได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย วันนี้ (16) ระหว่างเสด็จเยือนกรุงเยรูซาเลม อิสราเอล รัฐบาลและโฆษกโรงพยาบาลในอิสราเอลเปิดเผยต่อเอเอฟพี ยาเอล บอสเซม-เลวี โฆษกประจำโรงพยาบาลฮัดดาซาห์ เปิดเผยกับสำนักข่าวต่างประเทศว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปยังโรงพยาบาลโดยที่ทรงมี “พระอาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย” อย่างไรก็ตาม ทางโรงพยาบาลฮัดดาซาห์ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติม ด้าน มิคดี โรเซนเฟลด์ โฆษกตำรวจอิสราเอล กล่าวว่าพระองค์กำลังเสด็จไปทรงพบหารือกับประธานาธิบดีชิมอน เปเรส ของอิสราเอล ขณะรถพระที่นั่งประสบอุบัติเหตุระหว่างทาง ขณะที่ อาเยเลต ฟริช โฆษกหญิงประจำตัวประธานาธิบดีเปเรซ แถลงว่า ภายหลังเกิดอุบัติเหตุ พระองค์ยังคงเสด็จต่อไปพบหารือกับประธานาธิบดี และหลังจากนั้นจึงประทานอนุญาตให้นำพระองค์ไปยังโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการตรวจพระวรกาย “ขบวนเสด็จของพระองค์ ประสบอุบัติเหตุที่มีรถเกี่ยวข้องหลายคัน แต่เป็นอุบัติเหตุที่เล็กน้อยมาก” ฟริชกล่าว “พระองค์ทรงมีรอยฟกช้ำจากอุบัติเหตุ ทว่าพระองค์มิได้เสด็จไปโรงพยาบาล (ในทันที) พระองค์มีรับสั่งว่า ไม่ว่าอย่างไร พระองค์ประสงค์จะพบกับชิมอน เปเรส” สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทั้งนี้ พระองค์เสด็จเยือนอิสราเอล เพื่อทรงงานในโครงการทางด้านวิทยาศาสตร์ระหว่างทั้งสองประเทศ และร่วมลงนามในความร่วมมือ ช่างภาพจากสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ฟ้าหญิงจุฬาภรณฯ เสด็จออกจากโรงพยาบาลฮัดดาซาห์ หลังจากทรงเข้ารับการตรวจพระวรกายเป็นเวลา 90 นาที | |
http://redusala.blogspot.com |
ไทยเป็นตัวปัญหาในอาเซียน | |
สมาชิกของอาเซียนและประชาคมโลกรู้สึกเบื่อหน่าย และมองไปว่า ประเทศไทยไม่มีเจตนาที่จะแก้ปัญหาชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาอย่างจริงจังตามกระบวนการของอาเซียนและข้อมติของสหประชาชาติ แม้กระทั่งรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศของมาเลเซียก็หมดความอดทนต่อไทย และได้ออกมากล่าวหาว่าไทยละเมิดข้อตกลงเรื่องการส่งผู้สังเกตการณ์ไปยังพื้นที่ข้อพิพาทฯ โดย ดร.พิทยา พุกกะมาน อดีตเอกอัครราชทูต ไม่มีใครจะปฏิเสธได้ว่า ท่าทีของรัฐบาลไทย เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งตามแนวชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ทำให้ประเทศไทยถูกมองไปในทางลบในสายตาของสมาชิกอาเซียนและประชาคมโลก ในขณะที่กัมพูชาสามารถสร้างภาพให้ต่างประเทศเห็นว่า เป็นฝ่ายที่รักสันติและปฏิบัติตามพันธกรณีและกฏหมายระหว่างประเทศ ความล้มเหลวของการทูตไทยดังกล่าวนี้นับได้ว่า เป็นผลงานของรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ฯ และรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยที่วางตัวเป็นศัตรูกับทุกประเทศ นับตั้งแต่สหประชาชาติได้มอบหมายให้อินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียน เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามแนวชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาเพื่อให้บรรลุถึงการคลี่คลายปัญหาการขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ประเทศไทยได้แสดงท่าทีที่บ่ายเบี่ยงอย่างเห็นได้ชัด ในลักษณะทีเล่นทีจริง หรือไม่ยอมให้ความร่วมมือกับอินโดนีเซียอย่างดื้อ ๆ และไม่ยอมให้ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้ามาทำหน้าที่ในพื้นที่ของไทยตามแนวชายแดนฯ โดยตั้งแง่นานาประการเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงฯ ในทางตรงกันข้าม ฝ่ายกัมพูชาได้แสดงท่าทีผ่อนปรนและยินยอมให้ความร่วมมือกับอินโดนีเซียในการไกล่เกลี่ยกรณีข้อพิพาทฯ โดยอ้างว่า ตนต้องการให้มีการแก้ไขข้อพิพาทฯ อย่างสันติบนพื้นฐานของกฏหมายระหว่างประเทศและตามเจตนารมย์ของกฏบัตรอาเซียน รวมถึงสนธิสัญญาและความตกลงที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่ไทยยังไม่มีท่าทีที่ชัดเจนเกี่ยวกับการยอมรับการไกล่เกลี่ยของอินโดนีเซีย กัมพูชาได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนในการยอมให้ความร่วมมือแก่อินโดนีเซียที่จะส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามาในบริเวณปราสาทพระวิหารตามมติของสหประชาชาติ เมื่ออินโดนีเซียได้จัดทำข้อตกลงเพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้สังเกตการณ์เสร็จแล้ว กัมพูชาได้ทำหนังสือยินยอมเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคมเพื่อให้ข้อตกลงฯ มีผลใช้บังคับ ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ยอมรับข้อตกลงฯ และยังตั้งเงื่อนไขอยู่ตลอดเวลา ทำให้สมาชิกของอาเซียนและประชาคมโลกรู้สึกเบื่อหน่ายและมองไปว่าประเทศไทยไม่มีเจตนาที่จะแก้ปัญหาชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาอย่างจริงจังตามกระบวนการของอาเซียนและข้อมติของสหประชาชาติ แม้กระทั่งรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศของมาเลเซียก็หมดความอดทนต่อไทย และได้ออกมากล่าวหาว่าไทยละเมิดข้อตกลงเรื่องการส่งผู้สังเกตการณ์ไปยังพื้นที่ข้อพิพาทฯ การเจรจาในระดับทวิภาคีน่าจะเป็นวิธีแก้ปัญหาระหว่างประเทศที่ได้ผลที่สุด แต่จนถึงปัจจุบัน การเจรจาแบบทวิภาคียังไม่มีผลคืบหน้าแต่ประการใด ในขณะที่ทหารไทยและคนไทยต้องสังเวยชีวิตจากการปะทะกับกองกำลังฝ่ายเขมรตามแนวชายแดนฯ นอกจากนี้ รายงานการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาชายแดนไทยกัมพูชาทั้ง ๓ ฉบับก็ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายไทย เนื่องจากปัญหาภายในของไทยเอง และข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญของปี ๒๕๕๐ ซึ่งระบุว่ารัฐสภาต้องให้ความเห็นชอบในหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ เมื่อการเจรจาในระดับทิวภาคีไม่ได้ผลหรือไม่คืบหน้า ไทยก็ควรจะใช้ช่องทางอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงการไกล่เกลี่ยโดยประเทศที่สาม หรือการเจรจาในระดับพหุภาคีในขอบเขตที่จำกัด เพื่อมิให้ข้อพิพาทบานปลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ จนศาลโลกต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง อาเซียนเองก็มีกลไกสำหรับการแก้ไขข้อพิพาทในระดับภูมิภาค เช่น สนธิสัญญา Amity and Cooperation, ASEAN Regional Forum, สถาบันเพื่อสันติและความสมานฉันท์ และการประชุมสุดยอดของอาเซียน ซึ่งประเทศไทยอาจจะใช้ให้เป็นประโยชน์ได้เพื่อส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ *****เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ**** Respect for ASEAN Process No one would deny that the most recent Thai-Cambodian border conflict has put Thailand in a bad light in the eyes of ASEAN and the world community, whilst Cambodia has managed to portray itself as a respectable and law abiding member. It would be all too easy to point accusing fingers at the Abhisit Government and the abrasive Thai Foreign Minister for the failure of Thai foreign policy vis-?-vis the Cambodia issue in the context of ASEAN and the international community. Since the United Nations had mandated Indonesia, as ASEAN Chairman, to mediate the settlement of the border conflict between Thailand and Cambodia, the Thai government has not been very forthcoming in accepting the Indonesian mediation, let alone the stationing of Indonesia observers on its soil by citing technicalities. On the other hand, Cambodia has shown its willingness (at least in words) to accept mediation by ASEAN Chairman by declaring that it seeks peaceful settlement of this border dispute based on the principles of international law and the spirit of the ASEAN Charter and treaties as well as other related agreements. So, while Thailand is still struggling on how to come to terms with ASEAN mediation, Cambodia has scored points. Cambodia has lost no time in commending the efforts by Indonesia to dispatch observers to the area of the Pra Viharn (Preah Vihea) Temple in order to monitor the ceasefire in accordance with the UN mandate. Meanwhile, the Thai Foreign Ministry and the Thai Defence Ministry are still at loggerheads on the issue of deployment of observers and the GBC. When Indonesia finalized the Terms of References (TORs) for deploying the observers, Cambodia signed the Acceptance Letter on May 3rd to put the TORs into effect. Thailand has not yet accepted the TORs and still continues to put up conditions and technicalities. For ASEAN and the international community, the Thai Government’s procrastination and dubious moves could be interpreted by ASEAN members as the lack of willingness to settle the border dispute with Cambodia in accordance with ASEAN process and UN mandate. Using bilateral mechanism may be a preferred method of resolving the border dispute but it has not hitherto made any significant progress. Moreover, the adoption of the 3 records of the meetings of the Thai-Cambodian Joint Border Committee (JBC) have not yet been approved by Thailand. The Thai government is still at a loss as to which government agency has the authority over the matter. It is still hamstrung by the 2007 Constitution that requires Parliamentary approval. Therefore, the Thai government should use all avenues available, whether they be bilateral or multilateral, to achieve a settlement of the border dispute before the issue takes on an international dimension which will be too much for Thailand to handle. The Thai-Cambodian conflict presents a great challenge to ASEAN. It can act as an obstacle to ASEAN Community to be realized in 2015. ASEAN has many mechanisms to resolve regional conflicts: The Treaty of Amity and Cooperation, the ASEAN Regional Forum (ARF), ASEAN Institute for Peace and Reconciliation, and ASEAN Summit. Thailand should engage them as much as possible to enhance peace, security, and stability in the region. | |
http://redusala.blogspot.com |
แฉซื้อเสียงล่วงหน้าเพื่อไทยพบโอนเข้าบัญชีรายละ300-500บาท | |||||||||||||
| |||||||||||||
http://redusala.blogspot.com |
ปูด ‘ธาริต’คุยโอ่หลังถอนประกัน‘จตุพร’ | |||||||||||||
| |||||||||||||
http://redusala.blogspot.com |
ยิ่งลักษณ์’ชิงนายกฯประกาศไม่แก้แค้นมุ่งแก้ไขปัญหาสร้างปรองดอง | |||||||||||||
| |||||||||||||
http://redusala.blogspot.com |
สูตรการเมืองจบฉบับทักษิณ โพสต์ทูเดย์ สัมภาษณ์ นายกทักษิณ 16 พค.54 | |
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษ เปิดใจครั้งแรกกับ“โพสต์ทูเดย์”หลังการยุบสภา ถึง ความมั่นใจในการเลือกตั้ง รวมถึงทิศทางการเมืองในอนาคตและทุกข้อครหา ทั้งนี้โพสต์ทูเดย์ได้แบ่งคลิปวีดีโอการสัมภาษณ์ครั้งนี้ออกเป็น 4 ตอนดังนี้ ตอน1 ประเด็นเรื่องสุขภาพส่วนตัวและการสู้ศึกเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย ตอน2 ประเด็นความคลางแคลงใจเกี่ยวกับสถาบันหลักของประเทศและความเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย ตอน3 ประเด็นการซื้อเสียงและการกลับประเทศไทย ตอน4 ประเด็นเสื้อแดง-การเผาเมืองและทิศทางหลังเลือกตั้ง | |
http://redusala.blogspot.com |
งบประมาณแผ่นดินที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ | |
งบประมาณแผ่นดินที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์http://www.internetfreedom.us/thread-24121.htmlhttp://www.prachatai.com/journal/2011/05/34508 Thu, 2011-05-12 01:21 พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล สำรวจตาม พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 * มีงบประมาณที่ใช้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนี้ สำนักราชเลขาธิการ มาตรา 25 ข้อ 1 : 474,124,500 บาท สำนักพระราชวัง มาตรา 25 ข้อ 2 : 2,606,293,900 บาท สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มาตรา 25 ข้อ 4 (1) แผนงานเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : 225,162,400 บาท ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มาตรา 4 (1) ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : 2,300,000,000 บาท มาตรา 4 (2) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ : 600,000,000 บาท มาตรา 4 (3) ค่าใช้จ่ายการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องใน โอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 : 300,000,000 บาท สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มาตรา 5 ข้อ 1 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 51,426,200 บาท มาตรา 5 ข้อ 1 (2) แผนงานเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : 3,308,070,000 บาท สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มาตรา 5 ข้อ 8 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 25,573,000 บาท สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มาตรา 6 ข้อ 1 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 10,422,800 บาท กรมราชองครักษ์ มาตรา 6 ข้อ 2 : 541,205,000 บาท กองทัพบก มาตรา 6 ข้อ 4 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 30,000,000 บาท กองทัพเรือ มาตรา 6 ข้อ 5 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 10,000,000 บาท กองทัพอากาศ มาตรา 6 ข้อ 6 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 600,000 บาท สำนักงานพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาตรา 11 ข้อ 16 (1) : 188,495,400 บาท สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย มาตรา 17 ข้อ 1 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 11,250,000 บาท กรมการปกครอง มาตรา 17 ข้อ 2 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 40,330,000 บาท สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม มาตรา 18 ข้อ 1 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 4,500,000 บาท สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาตรา 25 ข้อ 7 (1) แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ : 53,896,800 บาท รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 10,781,350,000 บาท หรือ หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยแปดสิบเอ็ดล้านสามแสนห้าหมื่นบาท ทั้งนี้ ยอดเงิน 10,781,350,000 บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยแปดสิบเอ็ดล้านสามแสนห้าหมื่นบาท) ยังไม่รวม ค่าเสียหาย/ราคาที่ต้องจ่ายซึ่งไม่สามารถนับไม่ได้เป็นตัวเงิน (ชีวิต , สิทธิเสรีภาพ , ความกลัว , ความทุกข์(ถ้ามี) ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ) คลอดจน รายได้ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ครองหุ้นในบริษัทต่าง ๆ และเงินที่ประชาชนบางส่วนถวายให้ใช้ตามพระราชอัธยาศัยในโอกาสต่าง ๆ เงินจำนวนหมื่นกว่าล้านบาท ที่ ส.ศิวรักษ์ เคยเขียนเมื่อหลายปีก่อนว่า สถาบันกษัตริย์ถูกกว่าประธานาธิบดี ส.ศิวรักษ์ อาจต้องทบทวนบทสรุปตาม "ราคา" ในแต่ละปีที่ต้องจ่ายตามจริงไว้บ้างนะครับ นอกจากนี้ ขอให้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ จะต้องทบทวนว่า การ “ทำแต้ม” คดีหมิ่นกษัตริย์ มันไม่สัมฤทธิ์ผล (ที่มุ่งให้คดีลดลง?) แต่อย่างใด ยิ่งจับยิ่งดำเนินคดี ผลก็คือ คนที่หมิ่นสถาบันกษัตริย์ก็ยิ่งมีมากขึ้นๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา คดีหมิ่นสถาบันกษัตริย์ถูกเทกระจาดเข้าสู่กระบวนการจับขังฟ้องร้องเป็นร้อย คดี ตามกราฟที่ผมได้ค้นข้อมูล รายงานสถิติคดีทั่วราชอาณาจักร (ตั้งแต่ปี 2548 – 2553 ) จัดทำโดยกระทรวงยุติธรรม ผมวานให้คุณอติเทพ ไชยสิทธิ์ ใช้ความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและทำกราฟไว้ดังนี้ : หากพิจารณาอย่างพิศดารยิ่งขึ้น การพิจารณาคดีความผิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ตามศาลแต่ละภาค ขอให้ท่านดูแผนที่ประเทศไทยชิ้นนี้ เพื่อดูกราฟการรับคดีในภาพถัด ๆ ไปจะได้มองภาพชัดขึ้น (ศาลภาคที่ 1 – 9) เหล่านี้เป็นตัวเลขในปี 2548 – 2553 ซึ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงในการบังคับใช้กฎหมาย มีผู้กระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ตามกราฟ) หน่วยงานของรัฐทั้งหลายโดยเฉพาะทหาร ซึ่งปัจจุบันพยายามสถาปนาตนเอง เป็น “หัวโจก” ของกระบวนการล้มล้างสิทธิเสรีภาพของราษฎร คุณคิดว่าสถาบันกษัตริย์ที่ดำรงอยู่ได้ด้วยการ “ทำแต้ม” แบบนี้ ความผิดต่อสถาบันกษัตริย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คดีดองอยู่ที่ศาลชั้นต้น แล้วคุณยังแข็งขันใช้ทุกวิถีทางกวาดจับ ข่มขู่บังคับทั้งในและนอกระบบ คุณคิดว่า ตัวเลขเหล่านี้ มัน “ไม่น่าอาย” แม้แต่น้อยบ้างเลยหรือ? เชิงอรรถ
| |
http://redusala.blogspot.com |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)