ศาลออกหมายเรียกแดงไฮโซ ‘ดารุณี’-‘สุดสงวน’ ไต่สวนกรณีละเมิดอำนาจศาล 9 มิ.ย.
| |
เว็บไซต์มติชน รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 เมษายน นายพิชา วิจิตรศิลป์ ผู้ถูกกล่าวหา เข้าฟังการไต่สวนข้อเท็จจริงในคดีที่ร่วมกับนางดารุณี กฤตบุญญาลัย แนวร่วมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.และนางสุดสงวน สุธีสร ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล กรณีที่นางดารุณีและพวก ได้กระทำการสร้างความวุ่นวายในบริเวณพื้นที่ศาลแพ่ง โดยนำมวลชนอ่านแถลงการณ์ และวางพวงหรีด แสดงความไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลแพ่งในคดีเพิกถอน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
โดยนายพิชา ได้แถลงต่อศาลและขอเลื่อนการเบิกความออกไป เนื่องจากจำเป็นต้องรวบรวมพยานหลักฐานในคดีโดยจะทำคำให้การยื่นต่อศาลเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วัน และยืนยันว่า ในวันเกิดเหตุไม่ได้มีเจตนาในการกระทำการละเมิดอำนาจศาล และในวันดังกล่าวตัวเองได้มาว่าความคดีที่ศาลอาญา และได้มาทำธุระต่อที่ศาลแพ่ง จึงได้พบกับนางสุดสงวน ซึ่งได้ขอให้ช่วยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลแพ่ง กรณีที่นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส.ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พร้อมยืนยันว่า การแสดงความคิดเห็นเป็นไปด้วยความสุจริตในฐานะนักกฏหมาย และไม่มีส่วนรู้เห็นกับการวางพวงหรีดที่หน้าศาลแพ่ง
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในวันนี้ นางดารุณี ติดภารกิจในต่างประเทศ ส่วนนางสุดสงวน ป่วยและมีใบรับรองแพทย์มายืนยัน โดยไม่สามารถมาศาลได้ จึงมีเหตุอันสมควรให้เลื่อนการไต่สวนออกไปเป็นวันที่ 9 มิถุนายน เวลา 9 นาฬิกา และให้ออกหมายเรียก นางดารุณีและนางสุดสงวน มาศาลในวันดังกล่าว
| |
http://www.redusala.blogspot.com/
|
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557
ศาลออกหมายเรียกแดงไฮโซ ‘ดารุณี’-‘สุดสงวน’ ไต่สวนกรณีละเมิดอำนาจศาล 9 มิ.ย.
นพดลปฏิเสธข่าวทักษิณพูดเรื่องรัฐประหารหากศาล รธน.มีคำพิพากษา
นพดลปฏิเสธข่าวทักษิณพูดเรื่องรัฐประหารหากศาล รธน.มีคำพิพากษา
| |
ที่ปรึกษาด้านกฎหมายยืนยัน 'ทักษิณ ชินวัตร' พร้อมเสียสละให้คนตระกูลชินวัตรยุติบทบาทการเมือง โดยเชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นทางออกที่สันติ-ยุติธรรม แต่ไม่เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะ 'บูรพาพยัคฆ์' จะทำรัฐประหารหลังศาล รธน.ตัดสินคดีนายกรัฐมนตรี
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (ที่มา: แฟ้มภาพ/วิกิพีเดีย)
21 เม.ย. 2557 - นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงข่าววันนี้ (21 เม.ย.) ปฏิเสธถึงกระแสข่าวที่อ้างว่าอดีตนายกรัฐมนตรีได้ประเมินว่าจะเกิดการปฏิวัติโดยนายพลสายบูรพาพยัคฆ์ ภายหลังการตัดสินคดีนายกรัฐมนตรีของศาลรัฐธรรมนูญ ว่าอดีตนายกรัฐมนตรียืนยันว่าไม่เคยให้สัมภาษณ์หรือพูดคุยกับบุคคลใดในประเด็นนี้ เพราะส่วนตัวยังเชื่อมั่นว่าทหารจะยึดกติกาและประชาธิปไตย จึงไม่เชื่อว่าจะมีการปฏิวัติเกิดขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาทักษิณ ชินวัตร ตั้งใจจะเก็บตัวอยู่เงียบๆ ไม่ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อไม่ให้มีการบิดเบือนเป็นประเด็นการเมือง จนส่งผลกระทบต่อรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้จากรายงานของสำนักข่าวแห่งชาติ
นายนพดล ปัทมะ กล่าวยอมรับว่า อดีตนายกรัฐมนตรี มีความพร้อมที่จะเสียสละให้คนในตระกูลชินวัตรยุติบทบาททางการเมือง เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ แต่ขณะเดียวกันทุกฝ่ายต้องเสียสละและยึดมั่นในกติกาเช่นกัน ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่การตั้งเงื่อนไข และไม่จำเป็นว่าพรรคประชาธิปัตย์จะต้องลงเลือกตั้งหรือไม่ แต่เห็นว่าปัญหาต่างๆ จะยุติลงได้ต้องเกิดจากความร่วมมือของสองฝ่าย อย่างไรก็ตามยืนยันว่า การเลือกตั้งเป็นทางออกทางเดียวที่สันติและยุติธรรมที่สุด ซึ่งเห็นว่าปัญหาการเมืองต้องแก้ไขกันในสภา ไม่ใช่หน้าที่ขององค์กรอิสระ
อนึ่ง มีรายงานในสื่อมวลชนไทยหลายสำนัก เช่น หนังสือพิมพ์ข่าวสด ระบุว่า ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ทักษิณ ชินวัตร เดินทางมาที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย รัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรี รวมทั้งคนใกล้ชิด เดินทางจากประเทศไทยไปพบและหารือสถานการณ์การเมือง โดย พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้น และคิดว่ามีแนวโน้มเกิดความรุนแรง จึงส่งสัญญาณมายังคนเสื้อแดงให้หลีกเลี่ยงการปะทะ เผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้าม แต่ให้แสดงพลังเต็มที่ เพราะเชื่อว่าสังคมเริ่มเห็นแล้วอะไรเป็นอะไร การตัดสินคดีความต่างๆ ขององค์กรอิสระ หรือศาลรัฐธรรมนูญ หากตั้งธงเอาไว้จะเสื่อมไปเอง คนจะไม่ยอมรับ
ในรายงานข่าวก่อนหน้านี้ระบุว่า ทักษิณประเมินว่ามีโอกาสสูงที่จะเกิดการปฏิวัติภายหลังการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในคดีของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี คดีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่จะไม่ได้ดำเนินการโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. แต่มีความพยายามจากอดีตนายพลผู้ทรงอิทธิพลจากบูรพาพยัคฆ์ และเครือข่ายกำลังหาคนมาปฏิวัติแทน อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.ทักษิณได้แสดงความรู้สึกสงสาร น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่โดนกดดันอย่างหนัก นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณยังพูดกับคนใกล้ชิดที่ไปพบว่า ถ้าทุกฝ่ายคืนความยุติธรรมให้ประเทศ แล้วขอให้จบ ทำให้ประเทศสงบ ขอให้คนตระกูลชินวัตรเลิกเล่นการเมืองก็พร้อม
อย่างไรก็ตามนายนพดล ออกมาแถลงปฏิเสธข่าวเรื่องที่อดีตนายกรัฐมนตรีประเมินถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการรัฐประหารดังกล่าว
| |
http://www.redusala.blogspot.com/
|
"ปานเทพ" แฉ "นิติธร-อุทัย" เปลี่ยนจุดยืนเดินตามก้น "สุเทพ" หลอกมวลชนเดินไป "เกี๊ยะเซียจัดฉาก" กับตำรวจหน้า สตช.
"ปานเทพ" แฉ "นิติธร-อุทัย" เปลี่ยนจุดยืนเดินตามก้น "สุเทพ" หลอกมวลชนเดินไป "เกี๊ยะเซียจัดฉาก" กับตำรวจหน้า สตช.
| |
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตแกนนำรุ่น 2 และโฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สุดทนแฉม็อบ คปท.เปลี่ยนอุดมการณ์ เดินตามลุงกำนัน ไปกอดเกี๊ยะเซี๊ยะกับตำรวจที่หน้า สตช. จากกรณีที่มีการตัดสัญญาณถ่ายทอดสด ASTV ให้กับเวที คปท. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น นายปานเทพ ได้กล่าวถึงสาเหตุว่า การหยุดถ่ายทอดสด คปท.นั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า เอเอสทีวี ถ่ายทอดสดให้ฟรี ตลอดระยะเวลาครึ่งปี โดย คปท. ไม่ได้จ่ายเงินแม้แต่บาทเดียว เพราะเรามองเห็นว่า คปท. มีอุดมการณ์ชัดเจน เพื่อปฏิรูปแผ่นดิน แต่ที่สุดแล้ว ความอดทนของ ASTV ก็จบลงเมื่อวันที่ คปท. คือไปกอดคอกับตำรวจ หน้า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยไปพร้อมกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ สาเหตุนี้ทำให้มวลชนไม่น้อยเปลี่ยนไปชุมนุมที่แจ้งวัฒนะ หลังจากนั้นเป็นต้นมามวลชนลดลงเรื่อยๆ ทำให้ นายนิติธร ล้ำเหลือ และ นายอุทัย ยอดมณี ต้องเดินตามนายสุเทพ เนื่องจากพอคนน้อยแล้วทำให้มีขอบเขตจำกัดในการเคลื่อนตัว ฉะนั้นทิศทาง คปท. จึงไม่ต่างจาก กปปส. เมื่อไม่ต่างกันเราก็เห็นว่าเวลาเนิ่นนานมา 5-6 เดือนแล้ว เลยกลับมาสู่ห้องส่งเพื่อจะได้พูดแสดงความเห็นหลากหลายได้เต็มที่มากกว่า แต่ยืนยันเอเอสทีวีไม่ได้ทอดทิ้ง คปท. กปปส. และหลวงปู่ฯ วันไหนมีข่าวสำคัญ มีเรื่องพิเศษ ต้องไปทำข่าวแน่นอน | |
http://www.redusala.blogspot.com/
|
"พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร" ย้ำ บ้านเมืองกำลังไร้หลักนิติธรรมอย่างรุนแรง ขอให้พี่น้องทุกคน "ต้องอดทน เพื่อรักษาประชาธิปไตย"
"พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร" ย้ำ บ้านเมืองกำลังไร้หลักนิติธรรมอย่างรุนแรง ขอให้พี่น้องทุกคน "ต้องอดทน เพื่อรักษาประชาธิปไตย"
| |
"สวัสดีครับพี่น้องชาวเชียงใหม่ที่เคารพรักและคิดถึงทุกท่าน ก่อนอื่นต้องขอบคุณพี่น้องที่ยังเมตตาผม และคิดถึงผม ห่วงใยผม และคอยช่วยเหลือพรรคเพื่อไทยให้ได้รับเลือกตั้งเพื่อที่จะได้มีโอกาสทำงานเพื่อบ้านเมือง ผลพลอยได้ผมอาจจะได้กลับบ้านมาอยู่กับพี่น้อง วันนี้อ้ายมหวรรณได้แวะมารดน้ำดำหัวตามประเพณีบ้านเราผมจึงถือโอกาสนี้ฝากสวัสดี และคิดถึงพี่น้อง อยากบอกพี่น้องว่า ผมสบายดี ไม่ต้องห่วง แข็งแรงดี และยังเฝ้าติดตามเรื่องราวของประเทศไทยตลอดเวลา และก็ช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนไทยดีขึ้น เพราะขณะนี้เหตุการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยดี เพราะมีการแย่งอำนาจโดยไม่ยึดหลักนิติธรรม และหลักคุณธรรม ก็เลยทำให้เกิดเป็นความวุ่นวายแบบนี้ แต่เราก็ต้องอดทน ถ้าฝ่ายที่ถูกต้องไม่อดทน ฝ่ายที่ถูกต้องยอมแพ้ บ้านเมืองก็ไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น บ้านเมืองต้องยึดอยู่บนความถูกต้อง จึงอยากบอกพี่น้องว่า วันนี้อดทนอีกนิด รักษาความถูกต้อง รักษาความเป็นธรรม รักษาหลักการทางประชาธิปไตยไว้ไม่อย่างนั้นบ้านเมืองก็จะไปไม่ได้ จะถอยหลังเข้าคลอง เพราะวันนี้ต้องคิดถึงอนาคตลูกหลานแล้ว ไม่ใช่จะคิดถึงแต่ตัวเอง ก็อยากฝากบอกพี่น้องชาวเชียงใหม่ว่า คนบ้านเราอดทนนะ ผมก็เห็นน้องสาวผมอดทนสมกับเป็นคนเชียงใหม่ และขอให้พี่น้องชาวเชียงใหม่มีแต่ความสุข ความเจริญนะครับ ขอบคุณอีกครั้งที่คิดถึงผมและห่วงใยผม ขอบคุณครับ ขอให้พี่น้องมีความสุขทุกคนครับ" | |
http://www.redusala.blogspot.com/
|
"ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน" จี้ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ศาลรธน. ยุติปฏิบัติหน้าที่ หลังพบละเลยออกกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ซึ่งเป็นการทำหน้าที่เกินอำนาจ
ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ส่งจดหมายเปิดผนึกศาลรัฐธรรมนูญยุติปฏิบัติหน้าที่
| |
"ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน" จี้ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ศาลรธน. ยุติปฏิบัติหน้าที่ หลังพบละเลยออกกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ซึ่งเป็นการทำหน้าที่เกินอำนาจ นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ได้ส่งจดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ 1 เรื่อง “เมื่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นฝ่ายที่ฝ่าฝืนหลักนิติธรรมเสียเอง ศาลรัฐธรรมนูญก็ควรที่จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่” ต่อผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภา โดยเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ตรวจสอบการใช้อำนาจของตนเอง ก่อนการตีความขยายอำนาจของตนเองไปก้าวก่าย แทรกแซง หรือตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือองค์กรอื่นของรัฐ รวมถึงการออกคำสั่งให้บุคคล หรือคณะบุคคลพ้นจากตำแหน่งหรือหยุดปฏิบัติหน้าที่เพราะกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การใช้อำนาจพิจารณาหรือวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อคดีที่ผ่านมา ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจหรือมีบทบัญญัติรองรับทำให้สังคมมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่อการทำหน้าที่ได้ถูกต้องตามหลักยุติธรรม ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีบทบาทสำคัญในการที่จะคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยเหตุผลสำคัญ คือ ตลอดการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ 7 ปี ยังไม่มีการออกกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อรองรับการพิจารณาคดีต่างๆ และเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 216 วรรคหก ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ โดยบทเฉพาะกาล มาตรา 300 วรรคห้าระบุว่า ระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้ ต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้” คือ วันที่ 24 ส.ค. 2550 และปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 ที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้กำหนดเพียงฝ่ายเดียวมาใช้ในการพิจารณาและทำคำวินิจฉัยเรื่อยมาทั้งที่รัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวกำหนดให้ใช้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เท่านั้น นายอุกฤษ ระบุด้วยว่า การกำหนดวิธีพิจารณาคดีเพื่อควบคุมการใช้อำนาจของศาล ถือมีความสำคัญต่อการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับประชาชน แต่เมื่อไม่มีวิธีพิจารณาคดีกำกับไว้ส่งผลให้คำวินิจฉัยของศาลที่ได้ดำเนินการมากว่า 350 เรื่อง แบ่งเป็นรูปของคำวินิจฉัย 92 เรื่องและรูปคำสั่ง 258 เรื่องนั้นบิดเบี้ยว ขาดความชัดเจนในกระบวนการพิจารณา อาทิ ไม่มีกำหนดระยะเวลาพิจารณาคดีแต่ละประเภทที่ชัดเจน ทำให้กระบวนการพิจารณาและการวินิจฉัยบางคดีทำไปด้วยความเร่งรีบผิดปกติ และไม่มีการรับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง , การทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีความชัดเจนว่าองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ทำความเห็นในการวินิจฉัยส่วนตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ ตามที่รัฐธรรมนูญ 216 วรรคสอง กำหนดไว้ หรือไม่ , ไม่มีกำหนดระยะที่ชัดเจนต่อการเผยแพร่คำวินิฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตน "ระหว่างที่ยังมิได้มีการดำเนินการให้เป็นไปโดยถูกต้องและครบถ้วนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กฎหมาย หรือตามหลักนิติธรรม หรือในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญก็ควรที่จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ของตนไว้ก่อน จนกว่าจะได้ดำเนินการให้เป็นไปโดยถูกต้องและครบถ้วนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กฎหมาย หรือตามหลักนิติธรรม เพราะศาลรัฐธรรมนูญเองก็อยู่ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมอันมีสาระสำคัญประการหนึ่งคือ การยึดมั่นและเคารพกฎหมาย ในเมื่อไม่มีกฎหมาย องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะถ้าดำเนินการไปแล้วอาจจะกระทบกระเทือนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และเมื่อกฎหมายกำหนดขอบเขตไว้เช่นใด องค์กรที่ใช้อำนาจรัฐจะต้องใช้กฎหมายไปตามขอบเขตนั้น จะใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ได้" นายอุกฤษ ระบุ | |
http://www.redusala.blogspot.com/
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)