มีเวลาคิด30วันศาลรธน.ไม่เร่งถกกม.เลือกตั้ง | |||||||||||||
| |||||||||||||
http://redusala.blogspot.com |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
จดหมายจากนักศึกษาธรรมศาสตร์ นี่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยที่ผมรู้จัก! | |
http://prachatai3.info/journal/2011/04/34272Thu, 2011-04-28 13:25นักศึกษาคนหนึ่งในมหาวิทยาลัยแห่งความเพ้อฝันผมมีความใฝ่ฝันมาตลอดว่าผมอยากเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นี้ให้ได้ เนื่องด้วยเป็นมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อที่สุดในด้านสังคมศาสตร์และการเืมือง ในที่สุดผมก็ทำสำเร็จและก็ได้มาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ในฐานะนักศึกษาคนหนึ่ง ภาพแรกที่ยังตราตรึงอยู่ในความทรงจำคือแผ่นป้ายที่เขียนตัวเบ้อเริ่มว่า ขอต้อนรับสู่ดินแดนแห่งเสรีภาพทุกตารางนิ้ว รวมทั้งหลายๆคำขวัญที่ตราตรึงเช่นกันในหัวของพวกเราที่เป็นเพื่อนใหม่ การปลูกฝังอุดมการณ์ประชาธิปไตย รักประชาชน หรือการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพทางด้านความคิด เป็นสิ่งที่หล่อหลอมเพื่อนใหม่ๆหลายคนและจุดประกายความหวังที่อยากจะเปลี่ยนแปลงสังคมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ในช่วงแรกเริ่มของชีวิตนักศึกษา แต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่อย่างที่หวังไว้... คำขวัญรักประชาชน เสรีภาพ สิทธิเท่าเทียม ประชาธิปไตย เป็นแค่คำโฆษณาชวนเชื่อขายฝันที่ไม่เคยเห็นมหาวิทยาลัยคิดจะส่งเสริมอย่าง เป็นจริงเป็นจัง แม้แต่องค์การนักศึกษาที่มีประวัติอันยาวนานของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยใน ปัจจุบันก็เหลือเพียงแต่คนที่ไม่ได้สนใจประเด็นสังคมการเมืองอย่างจริงจัง เท่าไหร่นัก องค์การนักศึกษาหรือสภาในปัจจุบันไม่เคยแม้แต่จะกล้าแตะประเด็นทางการเมือง แต่ชอบอ้างว่าตนสนใจการเมือง อยากทำอะไรเพื่อสังคม อยากให้นักศึกษามีส่วนร่วมทางการเมือง ฯลฯ และการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นก็เห็นมีเพียงแต่กิจกรรมที่พร้อมจะมอบความไร้ สาระแก่ น.ศ.ในทุกโอกาส มหาวิทยาลัยเองก็ถูกกลืนหายไปกับทุนนิยมจนโงหัวไม่ขึ้น และแสร้งทำเป็นสนใจวิถีชีวิตแบบติดดินของชาวนาโดยการจัดกิจกรรมเกี่ยวข้าว โดยที่ไม่เคยใส่ใจกับรายละเอียดของกิจกรรมหรือให้ความรู้อย่างเป็นจริงเป็นจังเกี่ยวกับความทุกข์ยากของชาวนา มีเพียงแต่ข้ออ้างลอยๆที่ฟังดูตลกๆอย่าง "เพื่อเป็นการให้รู้ว่า น.ศ. มธ ติดดิน" และเมื่อมีกลุ่มอาจารย์หรือนักศึกษาที่พร้อมลุกขึ้นมาเขย่าความคิดของนักศึกษาให้ตื่นขึ้น อธิการบดีก็พร้อมที่จะปิดกั้นโอกาสนั้น ดังวิสัยทัศน์ล่าสุดของอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ที่กล่าวไว้ในสเตตัสของตัวเองว่า "ผมไม่เห็นด้วยกับการใช้มธ.เป็นฐานเคลื่อนไหวทางการเมือง แม้ไม่ผิดกฏหมาย แต่ฉวัดเฉวียน หมิ่นเหม่ต่อการละเมิดใคร หรือสถาบันใดก็ตาม" (จากเฟสบุ๊ก Somkit Lertpaithoon) นี่หรือคือความคิดของอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งเสรีภาพ? ถ้าพูดกันตามความเป็นจริงแล้วการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือการออกมาวิจารณ์ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมันต้องเกิดการพาดพิงในตัวของมันเองอยู่แล้วมิใช่หรือ ความหมิ่นเหม่ที่จะละเมิดใครไม่ใช่สิ่งที่เป็นธรรมดาของการวิจารณ์หรอกหรือ? ต้องยอมรับว่าผมผิดหวังในมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาก มหาวิทยาลัยที่ผมตั้งความหวังไว้ว่าจะมีอะไร กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มีแต่ความกลวงเปล่า เสรีภาพ สิทธิ ความคิดทางการเมืองที่แหลมคม ถูกผลักให้ไปอยู่ขอบนอกของวิสัยทัศน์ที่แท้จริง และถูกทำให้กลายเป็นเครื่องประดับ เหมือนต้นคริสต์มาสต์ที่เต็มไปด้วยสิ่งประดับหลอกลวง ถ้าอาจารย์จะพูดอย่างนี้แล้วผมว่าอย่าไปส่งเสริมมันเลยเสรีภาพหรือการเมืองอะไรนั่น ผมว่ายกเลิกการจัดกิจกรรมทางการเมืองทั้งหมดเหมือนที่หลายๆมหาวิทยาลัยเค้าทำเถอะ จะได้ไม่ต้องมีฐานเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง จะได้ไม่ต้องมีฐานทางความคิดเพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนทุกคนพึงมี แล้วจะได้ไม่ต้องไปพูดกับใครอีกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเสรีภาพ อายเค้า... | |
http://redusala.blogspot.com |
กรณีแม่ชีทศพร ว่าด้วยการผูกขาดครอบงำทางวัฒนธรรม | |
http://redusala.blogspot.com |
กรณีแม่ชีทศพร : ตัวอย่างของ ‘ความงมงายที่ควรแก้ด้วยเหตุผล' | |
Sat, 2011-04-30 18:08สุรพศ ทวีศักดิ์ บทความจาก “สุรพศ ทวีศักดิ์” กรณีแม่ชีทศพร “ต้องเปิดพื้นที่วิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงด้วยเหตุผลให้กว้างขวางมากขึ้น และลงลึกมากขึ้นๆ เท่านั้น จึงจะแก้ปัญหาความงมงายและแก้ระบบอำนาจนิยมในมิติต่างๆ ได้” ความเชื่อเรื่อง “กรรมสูตรสำเร็จ” คือความเชื่อที่ว่า ความเป็นไปทุกอย่างในชีวิตของเราเกิดจากกรรม และเมื่อพูดถึงความเป็นไปในชีวิตที่เกิดจากกรรมก็มักเน้นไปที่เรื่องร้ายๆ ที่อธิบายด้วยเหตุผลไม่ได้ เช่น เวรกรรม เคราะห์กรรม บาปกรรม ฯลฯ เมื่อมีความเชื่อเป็นสูตรสำเร็จเช่นนี้จึงทำให้เกิดวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวแบบสูตรสำเร็จคือ “วิธีแก้กรรม” ความหมายของ “กรรม” ตามความเชื่อดังกล่าวมักหมายถึงการทำกรรมและผลของกรรมแบบข้ามภพข้ามชาติ ปัญหาของความเชื่อเช่นนี้คือ เรารู้ได้อย่างไรว่า การกระทำกรรมและการให้ผลของกรรมแบบข้ามภพข้ามชาตินั้นเป็นความจริง เพราะการที่เราจะรู้ได้ว่าอะไรจริงก็ต่อเมื่อเราสามารถพิสูจน์สิ่งนั้นได้ เช่น โดยการเห็นด้วยตา หรือรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส ถ้าเป็นปรากฏการณ์ด้านใน เช่น ความสงบทางจิต เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเรามีประสบการณ์กับความสงบนั้นตรงๆ เป็นต้น ส่วนเรื่องว่า ตัวเราทำอะไรไว้ในชาติก่อน หรือนายขาว นายเขียว ทำอะไรไว้ในชาติที่แล้วจึงทำให้ชีวิตเป็นอย่างนี้ในชาตินี้ เป็นเรื่องที่ไม่มีทางพิสูจน์อย่างเป็นสาธารณะ (เหมือนพิสูจน์น้ำเดือดที่ระดับอุณหภูมิ 100 องศาฯ) แต่มีการอ้างว่าเรื่องราวเช่นนี้สามารถรู้ได้ด้วย “ญาณวิเศษ” ของบุคคลพิเศษ เช่น ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาอธิบายว่า เรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าผู้มีญาณหยั่งรู้การเกิดตายของสรรพสัตว์ที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) แต่ถึงที่สุดแล้ว “ญาณวิเศษ” ดังกล่าวก็เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของปัจเจกบุคคล ในทางญาณวิทยา (ปรัชญาที่ตั้งคำถามต่อความน่าเชื่อถือของ “ความจริง”) มองว่าการยืนยัน “ความจริง” ด้วยการอ้างอิงญาณวิเศษของปัจเจกบุคคลเป็นการยืนยันที่มีความน่าเชื่อถือน้อยมาก เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าคนๆ นั้นมีญาณวิเศษจริงหรือไม่ (นอกจากเราจะมีญาณวิเศษแบบเดียวกับที่เขามี?) ฉะนั้น ความจริงที่อ้างอิงญาณวิเศษ จึงเป็นความจริงที่ขึ้นอยู่กับความเชื่อถือในตัวบุคคลที่เราเชื่อว่าเขามีญาณวิเศษ คนที่เชื่อคำทำนายกรรมเก่าและวิธีแก้กรรมของแม่ชีทศพร ไม่ใช่เชื่อเพราะพวกเขาได้พบข้อพิสูจน์แล้วว่าสิ่งที่แม่ชีพูดเป็นความจริง แต่เชื่อเพราะพวกเขาเชื่อว่าแม่ชีทศพรมีญาณวิเศษหยั่งรู้กรรมเก่าที่คนทั่วไปไม่สามารถจะรู้ได้ ตามหลักกาลามสูตร การยอมรับความจริงที่ขึ้นอยู่กับการเชื่อถือในตัวบุคคล (ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการพิสูจน์ตัวความจริงได้) ถือว่าเป็นการยอมรับความจริงที่ไม่สมเหตุสมผล การยอมรับความจริงที่สมเหตุสมผลตามหลักกาลามสูตรคือ การยอมรับความจริงที่พิสูจน์ได้ หรือมีประสบการตรงต่อความจริงนั้นได้แล้วเท่านั้น (ทั้งความจริงเกี่ยวกับโลกกายภาพ และความจริงเชิงนามธรรม เช่น ความจริงในมิติด้านจิตวิญญาณ เป็นต้น) ข้อสังเกตคือ แม้พุทธศาสนาจะไม่ได้ปฏิเสธ “ญาณวิเศษ” ในการรู้ความจริงบางมิติ แต่ดูเหมือนพุทธศาสนาจะระมัดระวังอย่างยิ่งในการพูดถึงความจริงที่อ้างอิงญาณวิเศษ แม้แต่มีพระภิกษุมาคาดคั้นให้พระพุทธเจ้ายืนยันว่าชาติหน้ามีจริงหรือไม่ หากไม่ยืนยันเขาจะสึก แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ยืนยัน โดยอ้างว่าการยืนยันเรื่องดังกล่าวไม่มีประโยชน์แก่การเข้าใจทุกข์และการดับทุกข์ ในวินัยของพระสงฆ์ก็มีบทบัญญัติห้ามพระภิกษุอ้างญาณวิเศษมายืนยันความจริง เพื่อปิดโอกาสไม่ให้เกิดการหลอกลวง หรืออวดอ้างญาณวิเศษเพื่อแสวงหาลาภสักการะหรือผลประโยชน์เข้าตัว ผมเข้าใจว่า พุทธศาสนาให้ความสำคัญสูงสุดกับความจริงที่พิสูจน์ได้ ความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่เรียกว่าอริยสัจ 4 หรือพูดให้สั้นว่า “ทุกข์กับความดับทุกข์” นั้น มีความหมายสำคัญว่า การเข้าใจความจริงเกี่ยวกับทุกข์อย่างชัดแจ้ง หรือตรงตามเป็นจริงเท่านั้นจึงจะนำไปสู่การดับทุกข์ได้จริง และความจริงตามหลักอริยสัจคือความจริงที่ต้องพิสูจน์ หรือต้องประจักษ์ด้วยประสบการณ์ตรง หรือใช้ประสบการณ์ตรงในการยืนยัน ลักษณะสำคัญของความจริงเช่นนี้คือเป็นความจริงที่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยเหตุผล (เช่น อธิบายให้เห็นความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่าง สมุทัยกับทุกข์ มรรคกับนิโรธ) ฉะนั้น การเข้าใจความจริงเกี่ยวกับทุกข์อย่างชัดแจ้ง กับการดับทุกข์ได้จริง จึงเกี่ยวข้องอย่างจำเป็นกับความงอกงามทางปัญญา ความมีเหตุผล หรือการข้ามพ้นความงมงายใดๆ ต่างจากความจริงจากญาณวิเศษแบบของแม่ชีทศพร (เช่น) ที่ว่า ในชาติก่อน คนๆ หนึ่งไปเปิดประตูเมืองให้ข้าศึก ผลแห่งการกระทำนั้นทำให้ในชาตินี้เกิดมาเป็นผู้หญิงที่ต้องถูกผู้ชายทิ้งซ้ำซาก จึงต้อง “แก้กรรม” โดยใช้หอยจริงให้รับผลกรรมแทน “หอยเชิงสัญลักษณ์” จะเห็นว่าความจริง (ความเชื่อ) ดังกล่าวนี้ไม่สามารถอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างการเปิดประตูเมือง-หอยจริง-หอยเชิงสัญลักษณ์-ความทุกข์-การดับทุกข์ของคนที่ตั้งคำถามกับแม่ชีแต่อย่างใด ปัญหาคือ ความเชื่อที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลเป็นความเชื่อที่งมงายหรือไม่ หากตอบตามหลักพุทธ ก็ต้องบอกว่างมงาย เพราะไม่สามารถแก้สาเหตุของทุกข์ตามเป็นจริงได้ (ถ้าต้องการแก้ทุกข์เพียงแค่ว่า “ทำให้สบายใจ” ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ธรรมะ ใช้ “ยากล่อมประสาท” เป็นต้น ก็ได้) แต่การแก้ความงมงายต้องแก้ด้วย “เหตุผล” ไม่ใช่แก้ด้วยการใช้“อำนาจ” นั่นคือสังคมควรจะเปิดพื้นที่ให้มีการนำประเด็นความเชื่อที่งมงายหรืออธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผลมาสู่เวทีการถกเถียง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อคนได้ถกเถียงและแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น คนก็จะใช้เหตุผลกันมากขึ้น ความเชื่อที่งมงายก็จะมีอิทธิพลต่อชีวิตและสังคมน้อยลง แต่อย่างไรก็ตาม โดยข้อเท็จจริงแล้วในสังคมเราไม่ใช่มีเฉพาะความเชื่อแบบแม่ชีทศพร หรือความเชื่อทำนองเดียวกันนี้ในวงการพุทธศาสนา และไสยศาสตร์เท่านั้นที่อธิบายด้วยเหตุผลไม่ได้ ยังมีความเชื่ออื่นๆ ที่อธิบายด้วยเหตุผลไม่ได้และมีผลกระทบต่อสังคมมากยิ่งกว่าความเชื่อทางศาสนาที่ควรนำมาสู่เวทีการถกเถียงอย่างตรงไปตรงมายิ่งกว่าด้วยซ้ำ เช่น ความเชื่อที่ว่า “รัฐธรรมนูญมาตรา 8 และกฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112 ไม่ขัดกับความเป็นประชาธิปไตย” ก็เป็นความเชื่อที่ไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลบนหลักการประชาธิปไตยได้เลย แต่บ้านเราก็ไม่สามารถเปิดพื้นที่ของการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างถึงที่สุด ความเชื่อที่งมงายหรือที่อธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผลในเรื่องใดๆ ก็ตาม ย่อมจะมีทั้งคนที่เชื่อและปฏิเสธ มองในแง่หนึ่งย่อมเป็นสิทธิที่แต่ละคนจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ แต่หากความเชื่อนั้นส่งผลกระทบด้านลบต่อสังคม ส่งผลกระทบต่อความเป็น-ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือส่งผลต่อความเป็นธรรม-ไม่เป็นธรรมทางสังคม (เช่น ความไม่เป็นธรรมทางอำนาจต่อรองทางการเมือง การตรวจสอบ ความรับผิดชอบของอำนาจสาธารณะ ฯลฯ) ย่อมเป็นความชอบธรรมที่สังคมจะนำประเด็นปัญหาของความเชื่อนั้นๆ มาสู่เวทีการถกเถียงอย่างเป็นสาธารณะเพื่อหาทางออกด้วยการใช้เหตุผลร่วมกัน (โดยไม่ควรกังวลจนเกินเหตุว่าเป็น “เรื่องละเอียดอ่อน” เพราะความเชื่อที่ว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนจึงไม่ควรนำมาพูด มาถกเถียงด้วยเหตุผล อาจเป็นความเชื่อที่ “งมงายอย่างยิ่ง” อีกแบบหนึ่ง) กรณีแม่ชีทศพร หรือกรณีเจ้าอาวาสวัดใหญ่ทำนายกรรมเก่า ทำนายอดีตชาติออกทีวีแทบทุกวันเช่นกัน และ/หรือกรณีความเชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของบางสถาบันทางสังคมจนยอมรับกันว่าสถาบันนั้นควรอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ (เป็นต้น) ซึ่งเป็นความเชื่อที่อธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผล ล้วนแต่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ด้วยเหตุผล ไม่ใช่แก้ด้วยการใช้อำนาจ แต่ “สังคมพุทธ + ศักดินาอำมาตยาธิปไตย” เป็นสังคมที่มีลักษณะอำนาจนิยมทางศีลธรรมและทางความเชื่อ มีการใช้“สองมาตรฐานทางศีลธรรม” ในการปฏิบัติต่อการใช้หลักศีลธรรมและความเชื่อต่างๆ อย่างเป็นปกติ จึงเป็นสังคมที่ขาดวัฒนธรรมการวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงด้วยเหตุผล ทว่ามีแต่ต้องเปิดพื้นที่วิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงด้วยเหตุผลให้กว้างขวางมากขึ้น และลงลึกมากขึ้นๆ เท่านั้น จึงจะแก้ปัญหาความงมงายและแก้ระบบอำนาจนิยมในมิติต่างๆ ได้ ! | |
http://redusala.blogspot.com |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)