วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ทหารงมคลองข้างทำเนียบ-พบเครื่องกระสุน-ชิ้นส่วนระเบิด-ร่างมนุษย์ในกระสอบ


สนธิกำลังทหาร-ตำรวจ-จนท.อีโอดีสำรวจคลองผดุงกรุงเกษม พบเครื่องกระสุน-ชิ้นส่วนระเบิดหลายรายการ และพบร่างกายมนุษย์ยัดกระสอบบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ คาดเสียชีวิตมาเป็นเดือน
ที่มาของภาพ: ตรงจากสนามข่าว
5 มิ.ย. 2557 - เมื่อวานนี้ (4 มิ.ย.) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย รายงานว่า ล่าสุดหลังจากที่มีการสนธิกำลังทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ตรวจเก็บกู้วัตถุระเบิด (อีโอดี) และกรุงเทพมหานคร ได้สำรวจพื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม และบริเวณที่มีการชุมนุมของ กปปส. และ คปท. นั้น


10365932_625857407501570_3699692114978128394_n
ปรากฎว่า เมื่อเวลา 12.40 น. บริเวณใต้สะพานมัฆวานรังสรรค์ และบริเวณใกล้เคียง เจ้าหน้าที่ได้ตรวจอย่างละเอียด พบหัวน็อต ลูกเหล็ก และลูกแก้วจำนวนหนึ่ง ชนวนเครื่องจุดระเบิดประมาณ 19 แท่ง และระเบิดพลุส่องสว่างที่ใช้แล้วจำนวน 1 ลูก เครื่องฝึกระเบิด 1 ชิ้น นอกจากนี้ยังพบระเบิดควันที่ยังสามารถใช้งานได้อีก 1 ลูก และใช้ไปแล้ว จำนวน 1 ลูก กระเดื่องระเบิดที่ใช้งานแล้วอีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบกระสุนปืนขนาด 5.56 ม.ม. ที่ใช้ได้กับปืนเอ็ม 16 ซึ่งยังไม่ถูกใช้งาน จำนวน 7 นัด ยังมีสภาพสมบูรณ์ นอกนั้นเป็นปลอกกระสุนปืนที่ใช้แล้วขนาด 9 ม.ม. จำนวน 39 นัด ขนาด 11 ม.ม. จำนวน 46 นัด และขนาด 38 ม.ม. 36 นัด ซึ่งเจ้าหน้าที่อีโอดี เปิดเผยว่า ปลอกกระสุนปืนส่วนหนึ่งที่พบ อาจจะเป็นการใช้ยิงซ้อมมือ หรือยิงตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม จากนั้นผู้ใช้ก็นำมาทิ้งในคลอง
อย่างไรก็ตามล่าสุด เจ้าหน้าที่พบศพถูกยัดกระสอบ 1 ศพบริเวณสะพานมัฆวาน คาดว่าเสียชีวิตมาเป็นเดือนแล้ว ยังไม่ทราบว่าเป็นใคร และเป็นเพศหญิงหรือชาย


สุรชัย จันทิมาทร ชี้แจงสุชาติ สวัสดิ์ศรี พร้อมขอให้ลบคำว่าอยากอ้วก


"หงา คาราวาน" ตอบ "สิงห์ สนามหลวง" บางช่วงชีวิตเป็นวิถีที่ต้องเป็นไปทั้งการร่วมเคลื่อนไหวการเมืองหรือการเข้าป่า โดยเป็นความพึงใจไม่ต้องการลาภยศชัยชนะหรือพ่ายแพ้ ไม่ต้องการวิวาทะกับมิตรน้ำหมึก หากทำให้รู้สึกป่วยต้องขออภัยจริงๆ อย่าซีเรียสการเมือง ย้ำรู้ดีว่าการเมืองเป็นเรื่องอำนาจ-ผลประโยชน์ หากตกเป็นของประชาชนก็ควรทำ-ถ้าผลตรงข้ามก็ไม่ควรทำ พร้อมขอร้องให้ลบคำว่าอยากอ้วก เพราะเรื่องแบบนี้ไม่ต้องบอกกัน
5 มิ.ย. 2557 - ตามที่เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี เจ้าของนามปากกาสิงห์สนามหลวง โพสต์สเตตัสแสดงเหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่ยอมรับรัฐประหาร โดยเป็นการตอบโต้สเตตัสนายสุรชัย จันทิมาธร หรือหงา คาราวาน ที่แสดงความเห็นว่า การประท้วงรัฐประหาร คือการเรียกร้องให้เอาทักษิณและยิ่งลักษณ์คืนมา (อ่านข่าวก่อนหน้านี้) ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. นายสุรชัยได้เขียนคำชี้แจงในเฟซบุค "ท.เสน สัญจร" มีรายละเอียดดังนี้
000
เรียนท่านสวัสดิ์ศรี สุชาติ ครับพี่
อย่าถือว่าเป็นวิวาทะอะไรกันเลยครับ ผมคงมิเกิดอหังการ์อะไรขนาดนั้นได้ อีกประการหนึ่ง ผมก็เผลอลืมเกียรติตำแหน่งที่สังคมหยิบยื่นให้ในบางเวลาที่มันติดพันกับภาระหน้าที่อันเป็นกังวลอยู่ ภาระหน้าที่ดังกล่าวก็มิใช่เป็นสิ่งที่ใครเขาหยิบยื่นให้ทำ ผมไปคิดเองทำเองทั้งสิ้นในสำนึกง่ายๆว่าเราเป็นหนึ่งในสังคมที่เป็นอยู่อันหลากหลาย พื้นที่ผมใช้อยู่เป็นที่เฉพาะตนด้วยซ้ำไป ผมดีใจที่มีสนามส่วนตัวได้แสดงออกเท่าที่มีโอกาส โดยไม่เป็นการรบกวนกระบวนการตรวจสอบจากบรรณาธิการใดๆ แปลว่าผมมีหนังสือของผมเองที่อาจจะมีคนอ่านอยู่ร้อยสองร้อยหรือถึงสามร้อยคนแล้วแต่กรณี ผมก็ค่อนข้างจะมีความสุขเล็กๆที่มีโอกาสฝึกคิดฝึกเขียนอยู่เสมอๆ อันนี้คือปณิธานที่ตั้งไว้
ในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมา ผมเพิ่งรู้ตัวว่ายังพอฟื้นงานเขียนอันเป็นที่รักมาแต่เริ่มต้นได้ โดยไม่เกร็งไม่แข็งจนด้านไปเหมือนที่เคยกังวล สิ่งที่น่ากลัวสำหรับนักเขียนก็คือ เขียนหนังสือไม่ออกหลังจากเขาเขียนมาแล้วระดับหนึ่ง ปัจจุบันนี้บทกลอนที่ผมเขียนสั้นๆลงเฟซบุ๊ค เพียงปรารถนาฝึกมือเท่านั้น เหมือนช่างเขียนรูปถ้าไม่หมั่นสเก็ทช์ มือของเขาก็จะไม่เดินเส้นได้สะดวก
ผมเขียนเรื่องสั้นสองเรื่องครึ่ง (หมายถึงเรื่องที่สามกำลังเขียนอยู่) ผมก็ไม่อยากจะส่งไปลงพิมพ์ที่ไหนเหมือนที่เคยทำ ผมเก็บมันไว้ตรวจทานแก้ไขทีละน้อย ไม่ดิ้นรนที่จะอยากตีพิมพ์เหมือนอย่างเคย และยังอยากเขียนให้ได้มากกว่านี้ ทั้งที่ไม่ค่อยมีเวลา
เวลาหมดไปกับการทำมาหากิน อาชีพวงดนตรีสำหรับผมยังพอหากินได้ มันเป็นรายได้เดียวที่ทำให้ผมดำรงชีวิตอยู่ โดยไม่ต้องแบมือขอเงินใครอย่างที่เคย ความตั้งใจประการหนึ่งก็คืออยากอยู่ให้ได้เหมือนลิเกหมอลำเขาเคยอยู่กันมา เพลงที่เราเขียนเราร้องก็น่าจะเป็นเช่นนั้น หรือมิใช่
สำหรับบางช่วงบางชีวิตที่ผ่านมา มันคงเป็นวิถีที่ต้องเป็นไป ไม่ว่าการเข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมืองในหลายๆ ครั้ง แม้กระทั่งการเข้าป่าจับปืน แต่ละเรื่องแต่ละราวคุณเชื่อไหมว่ามันเป็นความพึงใจ ผมไม่เคยกระสันในลาภยศของชัยชนะหรือพ่ายแพ้ ผมว่ามันเป็นเพียงหนึ่งสิ่งในชีวิตร่วมอันหลากหลายดังกล่าวไปแล้ว สำหรับผมประสบการณ์ทั้งหมดมันยังมีค่ามากมายในชีวิตอันเส็งเคร็ง มีค่ามากจนล้นเกินที่จะเก็บในความทรงจำ โลกกว้างกว่าที่เราคาดคิดจริงๆ
ดังที่กล่าว ผมมิปรารถนาวิวาทะใดๆกับเพื่อนพ้องทางน้ำหมึก ถ้าความรู้สึกใดๆที่เกิดขึ้นกับคุณจะพาลทำให้คุณรู้สึกป่วย ก็ต้องขออภัยจริงๆ อย่าซีเรียสทางการเมืองให้มากนัก ผมก็อยู่กับมันมาจนพอจะรู้จักมักจี่ ผมว่าการเมืองเป็นเรื่องผลประโยชน์ ทั้งอำนาจ บารมีต่างๆ ผลประโยชน์ใดๆ ถ้าจะตกเป็นของประชาชนก็เป็นสิ่งที่ดีและควรทำ ในทางตรงข้ามก็ไม่ควรทำ
ประการหนึ่งที่อยากจะขอร้องสำหรับความเป็นเพื่อนกรุณาลบคำว่าอยากอ้วกด้วยได้ไหม เรื่องแบบนี้เขาไม่ต้องบอกกัน ถ้าเป็นโต๊ะเหล้าก็เชิญไปอ้วกเองที่ห้องน้ำ อ้วกบนโต๊ะไม่ไหวครับพี่ วงแตก!

แถลงจับผู้ต้องหาคดียิงถล่มเวที กปปส.ตราด 2 ราย - ตำรวจนำไปทำแผน



INN News Image

INN News Image

INN News Image

INN News Image

ตำรวจภูธรภาค 2 - สภ.เขาสมิง แถลงข่าวจับผู้ต้องหาคดีกราดยิง-ปาระเบิดใส่ที่ชุมนุม กปปส. ตลาดยิ่งเจริญ เมื่อ 22 ก.พ. ได้ 2 ราย โดยรับสารภาพว่าเป็นผู้ปาระเบิด 1 ราย อีกรายรับสารภาพคดีครอบครองอาวุธ ขณะที่เจ้าหน้าที่จะติดตามจับกุมอีก 7 ราย
5 มิ.ย. 2557 - หนังสือพิมพ์ข่าวสด รายงานเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ว่า ที่หน้า สภ.เขาสมิง อ.เขาสมิง จ.ตราด เจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมกันแถลงข่าวการจับกุมนายสมศักดิ์ พูลสวัสดิ์ อายุ 45 ปี และนายวัชระ  กระจ่างกลาง อายุ 36 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีกราดยิง-ขว้างระเบิดใส่ที่ชุมนุม กปปส. ตลาดยิ่งเจริญ อ.เขาสมิง จ.ตราด เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2557 ที่มีผู้เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 30 ราย โดยเป็นการจับกุมผู้ต้องหาทั้งสองคนได้เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา
พล.ต.ต. ศานิตย์  มหถาวร รักษาการผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค  2 กล่าวว่า ทาง สภ.เขาสมิง และตำรวจชุดสืบสวนจากตำรวจภูธรภาค 2 ได้ติดตามหาตัวคนร้ายที่กระทำความผิดนี้มาโดยตลอด  ทั้งการเก็บหลักฐานจากสถานที่เกิดเหตุ จากการสอบสวนพยานบุคคล ที่เห็นเหตุการณ์และภาพจากกล้องวงจรปิดที่ได้รับจากหน่วยงานราชการต่างๆ และจากการตรวจพิสูจน์ปลอกกระสุนปืนที่ตกอยุ่ในที่เกิดเหตุ ปรากฏว่า อาวุธปืนที่กองปราบปรามได้จากจับกุม น.ส.จันทนา วรากรสกุลกิจ ที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ตรงกันจึงได้ทำการรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ และยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อออกหมายจับผู้ต้องหาที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำผิดตามคำบัญชาของผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และได้มีการออกหมายจับไปแล้วจำนวน 8 คน อีก 1 คนซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐานเพื่อให้ศาลออกหมายจับต่อไป
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 26 พ.ค. เจ้าหน้าที่ทหารจากมณฑลทหารบกที่ 14 จ.ชลบุรี กองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด โดยหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 1 บ่อไร่ ได้ปิดล้อมตรวจค้นเพื่อจับกุมนายณรงค์ กระจ่างกลาง บริเวณพื้นที่หมู่ 3 ต.ประณีต อ.เขาสมิง จ.ตราด แต่นายณรงค์ หลบหนีไปได้ และยิงทหารพรานเสียชีวิต 1 นาย ส่วนคนร้ายยังถูกจับในที่เกิดเหตุอีก  2 คน
จากนั้นได้มีการขยายผลตรวจค้นในพื้นที่พบอาวุธสงคราม ประกอบด้วยระเบิดแสวงเครื่อง อาวุธปืนอาก้า-47 จำนวน 2 กระบอก กระสุน 500 นัด และปลอกกระสุนปืนหลายขนาดอีกนับ 100 ปลอก  และมีการขยายผลไปที่เครือข่ายสามารถจับกุมอาวุธสงครามเช่น  ระเบิดแสวงเครื่องจำนวนหนึ่ง    ระเบิดปิงปองนับ 100 ลูก  ซึ่งของกลางทั้งหมด เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน ได้ตรวจสอบแล้วพบว่ามีความเชื่อมโยงกับอาวุธที่ใช้ในการก่อเหตุที่ตลาดยิ่งเจริญ อ.เขาสมิง จ.ตราด
ทั้งนี้เมื่อได้ทำการจับกุมนายสมศักดิ์  เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. นายสมศักดิ์ ได้ยอมรับตลอดข้อหา ทั้งการมีครอบครองอาวุธปืนสงคราม และเป็นผู้ปาระเบิดในเวที กปปส.ที่ตลาดยิ่งเจริญ ส่วนนายวัชระ กระจ่างกลาง ให้การรับสารภาพเฉพาะการครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเท่านั้น ส่วนในฐานความผิดร่วมกันฆ่าและพยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ให้การปฏิเสธ
โดยในเวลา 11.00 น. มีการนำนายสมศักดิ์ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพที่ตลาดยิ่งเจริญด้วย โดยนายสมศักดิ์ระบุว่าวันเกิดเหตุนั่งอยู่ในรถยนต์กระบะโตโยต้าสีดำด้านหลัง เมื่อรถวิ่งผ่านตลาดยิ่งเจริญที่มีการชุมนุมปราศรัยของกลุ่ม กปปส. ได้ลุกขึ้นขว้างระเบิดใส่ หลังก่อเหตุจบแล้ว ได้ขับรถหลบหนีไปทาง อ.เมือง จ.ตราด
อนึ่งเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย รายงานว่า พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. เปิดเผยด้วยว่า เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมาออกหมายจับผู้ต้องการได้แล้ว 7 คน จากทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย นายสมศักดิ์ พูลสวัสดิ์ นายบุญจิต สุดคำภา นายวัชระ กระจ่างกลาง นายนวม อำไพ นายจักรพงษ์ กระจ่างกลาง จ.ส.อ.วิโรจน์ กระจ่างกลาง และนายณรงค์ กระจ่างกลาง พร้อมยืนยันว่าพยานหลักฐานมีน้ำหนักเพียงพอ ขณะเดียวกันได้กำชับให้ฝ่ายสืบสวนเร่งรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อติดตามจับกุมและออกหมายจับผู้ต้องหาที่เหลือต่อไป


คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 47/2557 และ 48/2557 เรียกใจ-จักรภพ-ชูพงศ์


คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติคืนนี้เรียกบุคคลมารายงานตัวเพิ่มอีก 21 ราย คำสั่งที่ 48/2557 ให้มารายงานตัว 3 รายวันที่ 4 มิ.ย. 2557 และคำสั่งที่ 49/2557 ให้มารายงานตัว 18 ราย วันที่ 9 มิ.ย. 2557
5 มิ.ย. 2557 - เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2557 มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 48 และ 49 ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติมมีรายละเอียดดังนี้
000
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ที่ 48/2557

เรื่องให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
              เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ 5 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เวลา 13.00-15.00 น. ดังนี้
  • 1. นายสมชาย สอนอุบล
  • 2. นายนาวิน บุญเสรฐ
  • 3. นายธานินทร์ อังสุวรังษี

สั่ง ณ วันที่ 4 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
000
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ที่ 49/2557

เรื่องให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
            เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00-12.00 น. ดังนี้
  • 1. นายใจลส์ ใจ อึ๊งภากรณ์
  • 2. นายจักรภพ เพ็ญแข
  • 3. นายพิษณุ พรหมสร
  • 4. นายเนติ วิเชียรแสน
  • 5.นายองอาจ ธนกมลนันท์
  • 6.นายอำนวย แก้วชมภู
  • 7.นายชูพงศ์ ถี่ถ้วน
  • 8.นายจรรยา ยิ้มประเสริฐ
  • 9.นายเอกภพ เหลือรา
  • 10. นายมนูญ “อเนก” ชัยชนะ
  • 11. นายเสน่ห์ ถิ่นแสน
  • 12. นายภิเษก สนิทธางกูร
  • 13. นายชูชีพ ชีวะสุทธิ์
  • 14. นายสันติ วงษ์ไพบูลย์
  • 15. นางมนัญชยา เกตุแก้ว
  • 16. นางฉัตรวดี อมรพัฒน์
  • 17. นายจุติเทพ (เลอพงษ์) วิไชยคำมาตย์
  • 18. นางณหทัย ตัญญะ

สั่ง ณ วันที่ 4 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

อภิสิทธิ์เชื่อหากแผนปรองดอง คสช.สำเร็จจะช่วยลดความขัดแย้งในชาติ



หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เชื่อหากแผนปรองดองแห่งชาติของ คสช. สำเร็จจะช่วยลดความขัดแย้งระดับชาติได้ แต่ฝ่ายต่างๆ ต้องมีส่วนร่วม พร้อมแสดงความเป็นห่วงการจัดทำแผนงบประมาณ 2558 ช่วงไม่มีสภา โดยเสนอให้ คสช. เปิดเผยรายละเอียดเพื่อให้ตรวจสอบได้
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ที่มา: เพจ Abhisit Vejjajiva/แฟ้มภาพ)
เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ระบุจะทำแผนปรองดองแห่งชาติให้แล้วเสร็จใน 3 เดือน ก่อนที่จะมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยเขากล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดและแนวทางในการทำงาน แต่คาดว่าเริ่มต้นและใช้วิธีประสานงานจากระดับพื้นที่ไปสู่ระดับประเทศ ซึ่งหากสำเร็จจะลดความขัดแย้งระดับชาติได้ แต่ทั้งหมดคงต้องใช้เวลา และฝ่ายต่างๆ ต้องเข้ามามีส่วนร่วม จึงถือเป็นภาระกิจสำคัญของ คสช. ที่จะทำให้บ้านเมืองสงบสุข
นายอภิสิทธิ์ ยังมองว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงรอยต่อที่จะต้องจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 แต่ไม่มีการแยกฝ่ายนิติบัญญัติที่จะมาตรวจสอบ จึงอยากให้ คสช. มีความชัดเจนในการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะโครงการที่จะนำกลับเข้ามาในระบบงบประมาณ เนื่องจากเงินงบประมาณไม่ต่ำว่า 2 ล้านล้านบาท ดังนั้นควรเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ให้ชัดเจน ทั้งโครงการ ราคากลาง ระยะเวลาในการดำเนินการ โดยอาจจะแสดงข้อมูลผ่านเว็บไซด์ เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ เพราะหลายโครงการในอดีตเป็นโครงการที่ดี แต่มีราคาการดำเนินงานแพงกว่าถึงร้อยละ 30 - 40


ไม่ให้ประกัน 'แท็กซี่ถูกผู้โดยสารอัดเสียงฟ้อง 112' เหตุคดีร้ายแรง-เกรงหลบหนี



4 มิ.ย.2557 กรณีนายยุทธศักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) คนขับแท็กซี่ วัย 42 ปี ซึ่งถูกจับกุมโดย สน.พญาไท เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ในข้อหาตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และถูกนำไปฝากขังที่ศาลอาญารัชดา วันนี้
กลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน (กนส.) ระบุว่า ล่าสุด วันนี้ (4 มิ.ย.) เวลาประมาณ 16.30น. ที่ศาลอาญารัชดา ญาติของนายยุทธศักดิ์ นำหลักทรัพย์ 200,000 บาทมาประกันตัว แต่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว เนื่องจากเป็นคดีร้ายแรง กระทบกระเทือนจิตใจของประชาชน และเกรงกลัวจะหลบหนี ทั้งนี้ นายยุทธศักดิ์ถูกนำตัวไปฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

คดีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคมปีนี้ โดยผู้ต้องหาพูดคุยกับผู้โดยสาร เรื่องความไม่เท่าเทียม และถูกผู้โดยสารใช้โทรศัพท์บันทึกเสียงการสนทนา แล้วนำมาใช้แจ้งความการกระทำความผิดตามมาตรา 112

กองทัพจัดงาน "คืนความสุขสู่ประชาชน" จัดดนตรี, แจกอาหาร-พบปะประชาชน

4 มิ.ย. 2557 เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่า ราว 16.00 น. ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ลานเอกประสงค์ เกาะพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ร่วมกับกองพลทหารม้าที่ 2 และกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 ได้จัดการแสดงและดนตรี  ชื่องาน “คืนความสุขสู่ประชาชน” ตั้งแต่เวลา 16.00 – 19.00 น. โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างจิตวิทยามวลชน ผ่านการสร้างความสมานฉันท์และความปรองดองให้เกิดขึ้น เนื่องจากที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่นัดหมายรวมตัวต่อต้านการรัฐประหารอยู่บ่อยครั้ง จนถึงขั้นที่กองทัพต้องนำกำลังนับ 10 กองร้อยปิดการจราจรควบคุมพื้นที่ในเวลาเย็นอยู่หลายครั้งมาแล้ว 
 
ซึ่งภายในงาน มีการแสดงดนตรีจากวงดุริยางค์ทหารบกและวงดุริยางค์ตำรวจ การแสดงโปงลางจากสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวกทม.  มีกิจกรรมการแสดงต่างๆการแสดงวงโยธวาทิตของนักเรียนโรงเรียนราชวินิตมัธยม 
 
อย่างไรก็ดียังมีการออกร้านของผู้ประกอบการ ผู้ค้าบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จุดบริการอาหารเครื่องดื่มบริการฟรี ของหน่วยพลาธิการทหาร   มีบริการทางการแพทย์ ตรวจสุขภาพ โดยหน่วยพยาบาลเคลื่อนที่ของโรงพยาบาลพระมงกุฏ การบริการอาหารและเครื่องดื่มฟรีจากกรุงเทพมหานคร ตำรวจ อีกทั้งกองพลทหารม้าที่ 2 นำทหารม้ามาร่วมโชว์ในงานด้วย พร้อมบังเกอร์จำลอง ให้ประชาชนได้ถ่ายภาพ จุดบริการทำบัตรประชาชนเคลื่อนที่ 
 
ส่วนบรรยากาศโดยรวมเป็นไปอย่างคึกคัก มีประชาชนเข้าชมงานอย่างต่อเนื่องกว่า 500 คน รวมทั้งประชาชนที่สัญจรไปมาบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ให้ความสนใจ ขณะที่มาตรการักษาความปลอดภัยก็เป็นไปอย่างแน่นหนา มีเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และเทศกิจ หลายร้อยคนตลอดจนรถควบคุมผู้ต้องหานับ 10 คัน กระจายกำลังตามจุดต่างๆรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยเบื้องต้นยังไม่มีรายงานว่ามีฝ่ายต่อต้านออกมาเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นการชู 3 นิ้ว หรือ อ่านหนังสือ แต่อย่างใด 
 
ด้านการจราจรก็สามารถเคลื่อนตัวได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่ได้มีการปิดการจราจร และนอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า สื่อมวลชนจากสำนักข่าวต่างประเทศ เข้าร่วมรายงานข่าวกิจกรรมดังกล่าวน้อยกว่าปกติจากที่ผ่านมาอีกด้วย 
 
 
 
 
 
 

American Position vis-à-vis Thai Coup: Illusion Part Two




"There is no justification for this military coup," U.S. Secretary of State John Kerry said in a statement.
The US’s disinclination to shift its pro-establishment perception raises the crucial question of whether Washington simply aimed at pursuing its interests or indeed failed to fully comprehend Thailand’s political development that has taken place in the past decade.
In interviews with a group of Thai and American diplomats, it was clear that since the end of the Cold War which witnessed the decreasing American influence in this region, the US government has not adequately invested in training experts in Southeast Asia, including Thailand. As its role in Southeast Asia diminished, a series of US governments have taken their ties with countries in the region for granted. The lack of experts has led to the US’s misjudgement of the evolving political process in Thailand.
The United States has tended to rely on its old connection with the Thai traditional elites while shoring up their argument of the red-shirted movement as antithetical to Thai democracy and even a menace to the monarchical institution—an argument that aligns with the US’s pro-monarchy position. A former American diplomat revealed that the United States was “freaking out” about the fact that there was a gap in its understanding of the Thai situation.
The vacuum of information compelled the US government to interpret its relations with Thailand based on its constricted perception of maintaining the political status quo even as new players in the Thai political landscape were emerging. For example, US ambassador Eric John has been criticised by some American expatriates for being out of touch with Thailand’s complex politics and cultural mores.
The periodic Congress Research Service (CRS) reports for Congress continue to paint a demonic image of Thaksin, while reiterating the importance of security relations between Thailand and the United States. The focus has been on the unrelenting Thai support for US military operations, the American security assistance for Thailand, the US’s military exercises with the Thai army, and the bilateral cooperation in the field of intelligence and law enforcement; all these resonated with the traditional security-centric relations between Washington and Bangkok.
When it comes to describing the Thai situation, in the 2009 CRS report, it asserts:
The coup itself raised obvious concerns about the democratic process in Thailand. Much of the Thai press and some long-time Thai watchers embraced the notion that the coup was necessary for Thailand to move forward; that is, that the military coup represented less of a threat to Thai democracy than Thaksin’s perceived systematic dismantling of the democratic system. In addition, much of the state’s apparatus, including the key institutions of the parliament, the judicial branch, and watchdog agencies, reportedly has been undermined in the past several years.
In one account, the CRS said, “Many military and diplomatic officials, wary of some aspects of Thaksin’s leadership style and more familiar with the old establishment in Bangkok, appeared to want to maintain strong relations with the elite despite the interruption of democratic practices.” This statement sums up the persistent pro-elite standpoint on the part of the United States.
The CRS released its Thailand reports in 2005 and 2009 but did not elaborately discuss the root cause of the crisis. Although the issue of democracy and human rights were examined, the reports said nothing about the red-shirted movement and its pro-democracy objective. In looking closely, one would find that the contents of these reports are strikingly similar; only a few updated statements were added which remained superficial and misinterpreted. 
A Thai diplomat who served at the Thai Embassy in Washington during 2006-2007 explicated the origin of a possible American misperception. In its East Asian and Pacific Affairs Bureau at the State Department, there was only one junior diplomat at the time, possibly with the rank of a second secretary, in charge of all-encompassing issues on Thailand. She worked under the supervision of a director who was also not an expert on Thailand. “Thailand” was underrepresented in the State Department despite the fact that it remained the US’s principal strategic ally and was awarded major non-NATO ally status in 2003. The attention was for the most part paid to other more powerful countries in Asia, such as China and Japan, as well as to the Muslim world.
It was also revealed that there was nobody in the East Asian and Pacific Affairs Bureau who was able to speak Thai, comparing with the Ministry of Foreign Affairs of China in which all of its Thai desk officers spoke Thai fluently. The State Department seemed not to consider as important the background knowledge of a desk officer. Obviously, the Thai desk officer had no prior knowledge about Thailand and its ongoing political development. Today, this situation has not changed. In interviews with two Singapore-based American diplomats, they explained a rather more detailed structure of the East Asian and Pacific Bureau.
At the so-called Thai desk, there is still one full-time mid-level official covering Thailand. In addition, there is a deputy director and director supervising the Thai desk officer, plus the deputy assistant secretary and assistant secretary who have Thailand in their portfolios. But all this does not include other officers who work directly on Thailand, such as in public affairs, economic and consular bureaus, population, refugees and migration offices, Defence, and Commerce and Agriculture Departments.
One of the American diplomats defended his government’s position when asked if there was a lack of Thai expertise resulting in policy ignorance in regards to Thailand. The diplomat said that on many occasions, the real decision-makers in Washington do not rely on information provided by the Thai desk officer or sources from the US Embassy in Bangkok since they do not represent the sole sources of information on the political situation in Thailand. “Campbell (former Assistant Secretary of State for East Asian and Pacific Affairs) may just pick up the phone and request specific information from other offices, like from the National Security Council”, said the diplomat.
But this does not answer the earlier question of whether other offices understand the complexity of the Thai situation better than the State Department. The American diplomat confirmed that Campbell had a keen interest in what had happened in Thailand, but wanted to adopt a wait-and-see attitude and in doing so did not fully support the red-shirts’ pro-democracy campaign. More importantly, the diplomat asked, “If the red-shirts formed the next government, would they change the country’s policy toward Washington?” Such a question seemed to imply that the United States would gain little if it lent its support to the red-shirted movement.
Back in Bangkok, there has been little indication that the US Embassy officials have actually established channels of communication with the red-shirted movement and that they have paid regular visits to the red-shirts’ power bases—the north and northeast regions which are still Thaksin’s strongholds, in order to conduct thorough interviews or research on the political ideology of these so-called Thaksin’s supporters.
The little access to the red-shirted movement and the willingness to monitor the situation closely on the ground could perhaps play an important role behind the US’s fixed mindset about the political situation in Thailand. So far, the US government has seemed to follow in the footstep of ASEAN, in strictly upholding the principle of non-interference in Thai domestic politics—an excuse for Washington and its mission in Bangkok for not making any contact with the red-shirts.
Scot Marciel, (currently Principal Deputy Assistant Secretary to the Bureau of East Asian and Pacific Affairs), while serving as deputy assistant secretary for Southeast Asia and ambassador for ASEAN affairs, and in testifying in the Congress on 10 June 201o, was careful not to veer off the non-interference track. Morale support from the US, yes. Interference, no. Marciel’s position was reconfirmed when US Under-Secretary of State William Burns visited Thailand on 17 July 2010. Meeting with Prime Minister Abhisit Vejjajiva, Burns stated, “Thais will serve their own interests best via the peaceful reconciliation of their political differences.”
Up to this point, it may seem evident of the US’s ambivalent attitude toward democrasation in Thailand. The latest putsch has put the American interests in the kingdom to the test. Thus, as this article suggested at the beginning, do not rush to congratulate the seemingly tough stance of the US vis-à-vis the Thai coup.

 Pavin Chachavalpongpun is Associate Professor at the Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University