วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรารักในหลวง


โกลาหลทั้งภาคใต้ "ม็อบสวนยาง" ปิดถนน-โรยตะปูเรือใบ






          กลุ่มชาวสวนยาง และสวนปาล์มยังคงชุมนุมปิดถนนเพชรเกษม ทั้ง 2 ฝั่ง บริเวณตลาดศรีนคร อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ขณะที่ยานพาหนะจำนวนมากได้รับความเสียหายจากตะปูเรือใบ และเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นชาวพม่าที่พยายามจะวางตะปูเรือใบบนถนนได้ 3 คน

          27 ตุลาคม 2556 go6TV - การชุมนุมปิดถนนบริเวณตลาดศรีนคร ซึ่งอยู่ริมถนนเพชรเกษม หมู่ 7 ตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของ "ม็อบสวนยาง" หรือกลุ่มที่เรียกตนเองว่า "เครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และ "ภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้" ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องวุ่นวายทั้งคืน โดยผู้ชุมนุมได้ตัดต้นไม้ และนำเต๊นซ์ มากางขวางถนนเพชรเกษมทั้ง 2 ฝั่ง ทำให้รถที่จะมุ่งหน้าเข้ากรุงเทพมหานคร และลงภาคใต้ ไม่สามารถผ่านไปได้ เจ้าหน้าที่ต้องให้ใช้เส้นทางเลี่ยงที่เตรียมไว้ แต่ก็พบว่ามีการโค่นต้นไม้ เพื่อปิดถนนสำรองเพื่อตัดขาดการสัญจรไปมาทั้งขาขึ้น และขาล่อง โดยนายสมมิตร ศิลป์ประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ใช้เส้นทาง หาทางพักค้างแรมระหว่างทาง เพื่อความสะดวก โดยเจ้าหน้าที่จะพยายามให้เปิดใช้เส้นทางโดยเร็ว

         ส่วนการชุมนุมคาดว่าจะยืดเยื้อต่อไป ขณะที่ตำรวจก็ต้องสังเกตการณ์ดูแลความเรียบร้อย อยู่รอบนอก และควบคุมตัวผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นชาวพม่าไว้ได้ 3 คน หลังจากค้นในตัว พบตะปูเรือใบ ระเบิดปิงปอง หนังสติ๊ก และหัวน็อต



ชัยชนะด้านวาทกรรม 14 ตุลา ของขบวนประชาธิปไตย

ชัยชนะด้านวาทกรรม 14 ตุลา ของขบวนประชาธิปไตย

          งานรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในแต่ละปีจะจัดโดยมูลนิธิ 14 ตุลา และมีคณะญาติวีรชน 14 ตุลา เข้าร่วม แต่ในหลายปีมานี้ บุคคลหลายคนในมูลนิธิ 14 ตุลา มีบทบาทอย่างสำคัญในการสนับสนุนเผด็จการอย่างคงเส้นคงวา ตั้งแต่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในการโค่นล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทย สนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เข้าร่วมสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร เข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาแต่งตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 และสนับสนุนพันธมิตรเสื้อเหลืองในการโค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน จนทุกวันนี้ก็ยังเคลื่อนไหวอย่างแข็งขันเพื่อโค่นล้มรัฐบาลพรรคเพื่อไทย คนพวกนี้อยู่กับมูลนิธิ 14 ตุลามายาวนาน ผูกขาดการจัดงานรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ใช้สถานะไปแสวงหาผลประโยชน์และตำแหน่งทางการเมืองที่พวกเผด็จการโยนให้ เป็นกาฝากที่เกาะกินญาติวีรชนมานานหลายปี

          จึงไม่น่าแปลกใจว่า ในหลายปีมานี้ งานรำลึก 14 ตุลาที่จัดโดยมูลนิธิ 14 ตุลา จึงแทบไม่มีคนเดือนตุลาฯที่ต่อต้านรัฐประหาร 2549 เข้าร่วมเลย รวมทั้งมวลชนคนเสื้อแดงก็ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมและไม่ให้ความสนใจแต่อย่างใด จนทำให้งานรำลึกในแต่ละปีซบเซาลงไปเรื่อย ๆ และเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของการทรยศต่อประชาธิปไตย หันไปรับใช้เผด็จการและสนับสนุนรัฐประหาร

           แต่ในปี 2556 นี้ ฝ่ายประชาธิปไตยมีความเข้มแข็งขึ้นจนสามารถเข้ามาช่วงชิงงานรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลา โดยจัดแยกต่างหาก คณะญาติวีรชนตัดสินใจปลดแอกตนเอง หันมาเข้าร่วม ปรากฏว่า การจัดงานประสบความสำเร็จอย่างสูง มีผู้คนเข้าร่วมมากกว่าทุกปี มวลชนคนเสื้อแดงให้ความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปาฐกถาของเสกสรรค์ ประเสริฐกุลและจาตุรนต์ ฉายแสง ที่สามารถช่วงชิงพื้นที่ความสนใจในสื่อมวลชนกระแสหลักได้แทบทั้งหมด

         คำปาฐกถาของเสกสรรค์ ประเสริฐกุลครั้งนี้ นับเป็นปาฐกถาประวัติศาสตร์ ซึ่งมาล่าช้ามาก จนเกือบจะสายเกินไปในการกอบกู้สัญลักษณ์ 14 ตุลา ปาฐกถานี้ก็คือคุณูปการสุดท้ายที่เสกสรรค์มอบให้แก่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเหล่าบรรดาผู้ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น กอบกู้มิให้เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ต้องจมหายไปในกระแสธารประวัติศาสตร์ของฝ่ายเผด็จการด้วยน้ำมือของคนเดือนตุลาที่สนับสนุนรัฐประหารในปัจจุบัน

           แน่นอนว่า เรายังอาจวิจารณ์บทบาทและท่าทีของเสกสรรค์ในหลายปีที่ผ่านมานี้ได้ว่า เอื้อต่อการต่อต้านรัฐประหารและการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยสักเพียงใด รวมทั้งเนื้อหาของปาฐกถาหลายประเด็นก็สามารถนำมาถกเถียงกันได้ เช่น การนำเอาเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มาเชื่อมต่อโดยตรงกับขบวนประชาธิปไตยของ “คนชั้นกลางใหม่” ในปัจจุบัน การเน้นประเด็น “ความเหลื่อมล้ำทางสังคม” มาเป็นส่วนหนึ่งโดยตรงภายในวาทกรรม 14 ตุลา เป็นต้น แต่โดยภาพรวมแล้ว ปาฐกถาของเสกสรรค์ในครั้งนี้ ได้สร้างผลสะเทือนอย่างสำคัญในหมู่คนเดือนตุลาทั้งสองฝ่าย ต่อประชาชนที่เข้าร่วมเหตุการณ์ในครั้งนั้น ต่อความรับรู้ของประชาชนทั่วไป ต่อวิกฤตการเมืองปัจจุบัน และเป็นบทสรุปสำคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่จะตกทอดไปสู่ชนรุ่นต่อ ๆ ไป ปาฐกถาครั้งนี้ของเสกสรรค์ ประเสริฐกุลจึงเป็นคุณต่อประชาธิปไตย แต่เป็นโทษต่อเผด็จการ

           นี่เป็นชัยชนะเด็ดขาดด้านวาทกรรม 14 ตุลา โดยฝ่ายประชาธิปไตย และทำให้คนเดือนตุลากลุ่มที่รับใช้เผด็จการไม่สามารถผูกขาดสัญลักษณ์ 14 ตุลาแต่ฝ่ายเดียวได้อีกต่อไป อีกทั้งยังเป็นหลักหมายสำคัญถึงชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยในการต่อสู้ทางวาทกรรมทั้งหมดอีกด้วย

          ขบวนประชาธิปไตยเสื้อแดงสามารถช่วงชิงสัญลักษณ์วันที่ 24 มิถุนา มาได้ไม่ยากนัก เพราะฝ่ายจารีตนิยมไม่ต้องการให้มีการจดจำวันดังกล่าว ขณะที่คนเดือนตุลาที่รับใช้เผด็จการและพวกพันธมิตรเสื้อเหลืองซึ่งเป็นพวกนิยมกษัตริย์ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสัญลักษณ์ 24 มิถุนาได้

           ขบวนประชาธิปไตยเสื้อแดงช่วงชิงสัญลักษณ์เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มาได้ตั้งแต่ปีแรก ๆ หลังรัฐประหาร 2549 เพราะมวลชนคนเสื้อแดงมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมกับเหตุการณ์นั้นมากเป็นพิเศษ ทั้งในแง่เหยื่อนิสิตนักศึกษาที่ถูกเข่นฆ่าในวันนั้นเหมือนที่คนเสื้อแดงประสบในวันนี้ แต่ยังรวมไปถึงผู้วางแผนก่อการสังหารหมู่ในครั้งนั้นก็คือคนกลุ่มเดียวกับที่วางแผนรัฐประหาร 2549 นั่นเอง ซึ่งประเด็นหลังก็เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้คนเดือนตุลาที่รับใช้เผด็จการและพันธมิตรเสื้อเหลืองไม่เต็มใจที่จะจดจำเหตุการณ์นี้และพยายามทำเป็นลืม

           ชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยในการช่วงชิงสัญลักษณ์ 14 ตุลา ในปีนี้จึงมีความหมายพิเศษเป็นชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยในด้านวาทกรรมทั้งหมดอีกด้วย ธงแดงที่อยู่ในมือของฝ่ายประชาชนในวันนี้คือธงประชาธิปไตย ที่รวมเอากระแสประชาธิปไตยนับแต่ 2475 จนถึงปัจจุบันไว้ด้วยกัน เป็นธงแดงแห่งประชาธิปไตยที่ถูกชูให้สูงเด่น เป็นสัญลักษณ์หนึ่งเดียวของการต่อสู้เพื่อเอาชนะเผด็จการ

           ฝ่ายเผด็จการจึงประสบความพ่ายแพ้ทางวาทกรรมไปแล้วอย่างเด็ดขาด พวกเขาไม่อาจที่จะอ้างเอา “ประชาธิปไตย” มาเคลือบคลุมจุดมุ่งหมายที่แท้จริงและสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวของพวกเขาได้อีกต่อไป พวกเขาเหลือไว้แต่เนื้อในที่เป็นเผด็จการ ต่อต้านประชาธิปไตยเสรีนิยม ได้แต่ท่องซ้ำวาทกรรม “นักการเมืองโกง” “เผด็จการรัฐสภา” “คุณธรรมจริยธรรมและคนดี” สิ่งที่พวกเขาเรียกร้องอย่างเปิดเผยไม่มียางอายอีกต่อไปคือ ให้ตุลาการและทหารทำการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ยกเลิกระบอบรัฐสภาและการเลือกตั้ง แทนที่ด้วยระบอบเผด็จการเต็มรูป

แต่การเคลื่อนไหวของคนพวกนี้ก็อยู่ในสภาพกระเสือกกระสนรอวันล่มสลาย เพราะการพ่ายแพ้ทางวาทกรรมคือจุดเริ่มต้นของความพ่ายแพ้ทางการเมืองที่จะตามมานั่นเอง
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข”
25 ตุลาคม 2556

ม็อบอุรุพงษ์สุดคัน มือดีโรยหมามุ่ย อลเวงทั้งคืน


ม็อบอุรุพงษ์สุดคัน มือดีโรยหมามุ่ย อลเวงทั้งคืน



              26 ตุลาคม 2556 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 03.30 น. "ม็อบหมามุ่ย" หรือ กลุ่มที่เรียกตนเองว่าเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ที่แยกอุรุพงษ์ แจ้งว่ามี "มือดี" นำหมามุ่ยโรยทั่วม็อบ โดยในม็อบ พบขวดเครื่องดื่มชูกำลัง และกระป๋องเบียร์ ที่บรรจุผงหมามุ่ย ทำให้ผู้ชุมนุม ประมาณ 50 คน ต่างมีอาการคันกันทั่วหน้า ล่าสุดศูนย์แพทย์ฉุกเฉินเอราวัณให้นำรถมารับผู้บาดเจ็บไปส่งที่ โรงพยาบาลรามาธิบดีแล้ว ส่วนผู้ชุมนุมที่เหลือที่ถูกผงหมามุ่ย ได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยใช้ล้างน้ำและใช้แป้งทาตัว และหลังจากเกิดเหตุ ผู้ชุมนุมต่างทะยอยเดินทางกลับบ้านเกือบทั้งหมด



          อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ พื้นที่การชุมนุมบริเวณแยกอุรุพงษ์ เคยถูกมือดีโรยผงหมามุ่ยลงมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อประมาณ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา

อัมพาตทั้งภาคใต้! ม็อบสวนยางอาวุธครบมือ บุกปิดถนนสายใต้


อัมพาตทั้งภาคใต้! ม็อบสวนยางอาวุธครบมือ บุกปิดถนนสายใต้



            26 ตุลาคม 2556 go6TV จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 19.30 น. หลังจากกลุ่มผู้ชุมนุมที่อ้างตนเองว่า "ม็อบสวนยาง" เรียกตนเองว่า "ภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้" ปิดถนนเพชรเกษม ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 412-413 หน้าตลาดบ้านธรรมรัตน์ หมู่ 5 ต.ทองมงคล อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมีนายธีรพงศ์ แก้วนวล แกนนำภาคีเครือข่ายชาวสวนยาง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ประกาศบนเวทีสั่งให้กลุ่มชุมนุมออกไปปิดถนนเพชรเกษม บริเวณจุดกลับรถทั้งขาขึ้นและขาล่อง ทำให้การจราจรติดขัดยาวหลายกิโลเมตร นอกจากนั้น ผู้ชุมนุมอีก 200 คนได้เดินเท้าระยะทาง 3 กิโลเมตร ไปที่ริมถนนเพชรเกษมหน้าตลาดสดบ้านศรีนคร ต.ช้างแรก อ.บางสะพานน้อย เพื่อตั้งจุดปราศรัยแห่งใหม่ โดยแกนนำสั่งให้ผู้ชุมนุมตัดต้นไม้ขวางทางเพื่อปิดถนนเพชรเกษมขาขึ้น




            ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า มีการจับกุมชาวพม่าได้ 3 คน ที่ด่านห้วยเรียง ตรวจค้นตัวพบอาวุธมีด หนังสติ๊กและระเบิดปิงปอง


          ขณะที่นายสุทธา ธรรมอำนวยสุข นายอำเภอบางสะพาน กล่าวว่า จะไม่มีการนำตำรวจปราบจลาจลเข้ามาในพื้นที่ แต่จะมีการเจรจาเพื่อขอให้เปิดการจราจร



ถูกไล่ออกจากแล้วกลับเข้ารับราชการได้อย่างไร? - ชาวเน็ตเตรียมสาวประวัติ "สารวัตรกวาง" แต่งตำรวจขึ้นเวทีม็อบตังค์ทอน


ถูกไล่ออกจากแล้วกลับเข้ารับราชการได้อย่างไร? - ชาวเน็ตเตรียมสาวประวัติ "สารวัตรกวาง" แต่งตำรวจขึ้นเวทีม็อบตังค์ทอน


            ปี๊ดแตก! "สารวัตรกวาง" ฉุนหนัก ชาวเน็ตตั้งข้อสงสัยว่าเป็นตำรวจจริงหรือไม่? หลังขึ้นปราศรัยเวทีม็อบตังค์ทอน ท้าฟ้องร้องทั่วเน็ต หวั่นซวยซ้ำ อาจถูกต้นสังกัดจ่อฟันวินัยปราศรัยหมิ่นคาเครื่องแบบ ล่าสุดผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจำนวนมากตั้งข้อสงสัยว่า "สารวัตรกวาง" ถูกไล่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการได้อย่างไร?

           26 ตุลาคม 2556 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุภวัฒน์ สุปิยะพาณิชย์ หรือที่หลังเวทีม็อบตังค์ทอน เรียกว่า "สารวัตรกวาง" อ้างว่า ตนเองยังคงรับราชการตำรวจยศพันตำรวจโท นับแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2550 เป็นต้นมา ในขณะที่เฟสบุ๊คส่วนตัวของ "สารวัตรกวาง" ได้ลบภาพที่ใส่ชุดตำรวจเต็มยศถ่ายคู่กับแกนนำบริเวณด้านหลังเวทีปราศรัยออกทั้งหมดแล้ว


          ผู้สื่อข่าวยังรายงานเพิ่มเติมว่า "สารวัตรกวาง" ยังอ้างว่า จะมีระดมม็อบตำรวจขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ เวลา 09.00น. ซึ่งผู้สันทัดกรณีระบุว่า เป็นการกระทำที่ผิดวินัยชัดเจน


เอกสารที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ลงโทษให้ไล่ออกจากราชการ




ว๊าย! เฉลยแล้ว "สารวัตรกวาง-ตำรวจเก้ง" โผล่ดมรักแร้แกนนำกลางม็อบตังค์ทอน ที่แท้พ้นราชการแล้ว


ว๊าย! เฉลยแล้ว "สารวัตรกวาง-ตำรวจเก้ง" โผล่ดมรักแร้แกนนำกลางม็อบตังค์ทอน ที่แท้พ้นราชการแล้ว


              26 ตุลาคม 2556 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ต่างวิพากษ์วิจารณ์การกระทำที่ไม่เหมาะสมของบุคคลที่เรียกตนเองว่า "สารวัตรกวาง" หรือ นายสุภวัฒน์ สุปิยะพาณิชย์ ที่สวมเครื่องแบบตำรวจ โผล่ขึ้นเวทีปราศรัย "ม็อบตังค์ทอน" บริเวณสวนลุมพินี เมื่อช่วงค่ำวานนี้นั้น ล่าสุด ข้อมูลที่ปรากฏในเครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า นายสุภวัฒน์ สุปิยะพาณิชย์ เป็นอดีต สว.ธร.สภ.วังทรายพูน จังหวัดพิจิตร โดย ศปก.ตร.ตรวจสอบแล้ว พบว่ามีคำสั่งให้ออกจากราชการนานแล้ว มีหลายเรื่องหลายคดี ไม่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบ นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลระบุว่า นายสุภวัฒน์ ถูกไล่ออก เมื่อปี 2550 เนื่องจาก ขาดราชการเกิน 15 วันตามคำสั่งที่ 403/2550 (สมัย พล.ต.ท.วสันต์ วัสสานนท์ ผบช.ภ.6)






             ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ มีภาพแกนนำม็อบตังค์ทอนอย่าง นายปรีชา เอี่ยมสุพรรณ สวมกอดกับ นายสุภวัฒน์ สุปิยะพาณิชย์ อย่างแนบแน่นดูดดื่ม