วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมการสร้างภาพและวาทะกรรมอันเป็นเท็จ

วัฒนธรรมการสร้างภาพและวาทะกรรมอันเป็นเท็จ                         
                ความรักคือสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกคน  โดยเฉพาะความรักที่ผู้อื่นมอบให้ เพราะความรักเป็นเกาะป้องกันภัยจากมนุษย์ด้วยกัน  มนุษย์ที่มีความรักกับผู้ใดเขาจะไม่ทำร้ายคนที่เขารัก และยังจะช่วยป้องกันภัยมิให้คนที่เขารักได้รับอันตรายใดๆ เช่นบิดมารดาที่มีความรักต่อบุตรของตนเอง


                ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและวาทะกรรมอันเป็นเท็จ ที่แตกต่างกว่าทุกประเทศในโลกใบนี้ จะคงมีอยู่บ้างก็ไม่มากกว่าสองหรือสามประเทศเท่านั้น วัฒนธรรมสร้างภาพและวาทะกรรมดังกล่าว คือการสร้างภาพอันเป็นเท็จ หลอกลวงประชาชนให้เชื่อว่าเป็นความจริง และประชาชนก็หลงเชื่อว่าเป็นความจริงโดยปราศจากความสงสัยใดๆทั้งสิ้น เป็นเวลาอันยาวนานมากกว่าหกสิบปี

              เวลาผ่านมาถึงปัจจุบัน  บัดนี้โลกมีการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตแบบดิจิตอล  โดยก้าวผ่านยุค อนาล็อค ประชาชนเข้าถึงความจริงมากยิ่งขึ้น เพราะการสื่อสารในปัจจุบันนี้ต่างกว่ายุคก่อนหน้า ซึ่งเป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสาร นำเสนอโดยสื่อหลักเช่น ฟรีทีวี หนังสือพิมพ์ วิทยุ ไม่มีทางเลือกอื่นใดให้ประชาชน ซึ่งปัจจุบันประชาชนมีทางเลือกมากมากกว่าเดิมมีสื่อทีวีฟรี ทีวีผ่านดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี วิทยุออนไลน์ หนังสือพิมพ์ออนไลน์  อินเตอร์เน็ต เฟสบุค อีเมลล์ Google Twitter และอื่นๆที่เป็นความลับเฉพาะใช้สำหรับสื่อสารบุคคลต่อบุคคล ดังนั้นข้อมูลที่เป็นความจริง ตามสื่อต่างเข้าถึงทุกๆคนอย่างเท่าเทียมกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ประชาชนจำนวนมากของประเทศ ได้ทราบข้อมูลที่เป็นจริงเท่าเทียมกัน และนับวันประชาชนที่จะเข้าถึงสื่อหลากหลายนี้มีจำนวนมากขึ้นๆอย่างไม่สิ้นสุด

                ดังนั้นวัฒนธรรมการสร้างภาพและวาทะกรรมอันเป็นเท็จ ก็จะกลายเป็นเรื่องตลกสำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งจะเห็นและรับทราบกันทั่วไปแล้ว่า วงไฟเย็น  ได้แต่งเป็นบทเพลงนำมาขับกล่อม นำเสนอต่อประชาชนจำนวนมากได้ทราบกันอย่างทั่วถึง สร้างความตลกขบขันเป็นที่สนุกสนาน เพราะทราบว่า วัฒนธรรมการสร้างภาพและวาทะกรรมอันเป็นเท็จ เป็นของการโกหกทั้งสิ้นเชื่อถือไม่ได้ และจะนำไปพิสูจน์เพื่อหาความจริงในด้านทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีอื่นใด ก็ไม่จริงทั้งสิ้น  จึงทำให้ประชาชนซุบซิบ นินทาก่นด่ากันอย่างแพร่หลาบ และเชื่อว่าในเวลาอันสั้นก็คงกระจายไปยังทุกๆคนของประเทศอย่างแน่นอน

                ในขณะที่ประชาชนจำนวนมากรู้และไม่เชื่อถือวัฒนธรรมการสร้างภาพและวาทะกรรมอันเป็นเท็จ แต่กลุ่มคนพวกนี้หารู้ตัวไม่ยังคงใช้วัฒนธรรมการสร้างภาพและวาทะกรรมอันเป็นเท็จ อย่างต่อเนื่องไม่หยุดไม่หย่อน ในการกระทำเรื่องดังกล่าวนี้แต่ประการใด คนกลุ่มนี้หรือคณะนี้จะทราบต่อเมื่อวันที่จากโลกนี้ไปแล้ว พร้อมกับการโกหกตัวเอง

                มีคำถามว่าทำไมคนกลุ่มนี้หรือคนคณะนี้ จึงดำเนินการสร้างวัฒนธรรมสร้างภาพและวาทะกรรมอันเป็นเท็จไม่สิ้นสุด และยังคงความหนาไว้อย่างเหนียวแน่น คงดำเนินการกันอยู่วันแล้ววันเล่า ไม่หยุดไม่หย่อน ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเช่นนี้


                คำตอบมีอยู่ว่ากลุ่มคนพวกนี้หรือคณะนี้  ซึ่งมีจำนวนไม่เกินสองหมื่นคน เขามีอำนาจปกครองครอบงำประเทศมาเป็นเวลาอันยาวนานมากกว่าหกสิบปี ด้ายอำนาจการปกครองประเทศมายาวนาน พวกเขาได้ใช้อำนาจแสวงหาผลประโยชน์ทั้งที่ชอบและไม่ชอบด้วยกฎหมาย กอบโกยทรัพยากรของชาติ ไม่ว่าจะเป็นด้านพลังงานเช่นน้ำมัน แก๊ส เหมืองทอง เหมืองแร่ต่างๆ ที่ดินนึกอยากได้ตรงไหนก็ไปบุกรุกตรงนั้นตามอำเภอใจ จากที่ผิดก็ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำให้ถูก และยังมีทรัพย์สินอื่นๆอีกมากมายบรรยายไม่หมด ในบทความพิเศษฉบับประจำวันที่ 9 สิงหาคม 2555 เรื่องประชาธิปไตยภายใต้ทุนผูกขาดเหนืออำนาจรัฐ ได้แบ่งกลุ่มคนพวกนี้ว่าเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์สูง กว่ากลุ่มอื่นๆราวฟ้ากับดินให้ การกระทำของกลุ่มคนคณะนี้ ประชาชนจำนวนมากทราบ แต่ทำอะไรกับคนกลุ่มนี้คณะนี้ไม่ได้  แม้กลุ่มคนเสื้อแดงมีเกือบทั่วแผ่นดิน ก็ได้เพียรพยายามเรียกร้องให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ก็ยังไม่บรรลุตามเป้าหมาย แต่เชื่อว่าความอดทนในการต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อแดง จะทำการบรรลุเป้าหมายได้ในเร็ววันนี้ และวันนั้นความจริงที่ไม่มีใครเปิดเผยมาก่อนก็จะประจักษ์ต่อสายตาประชาชนและชาวโลกเสียที

                วัฒนธรรมสร้างภาพและวาทะกรรมอันเป็นเท็จ ของกลุ่มคนเพียงไม่เกินสองหมื่นคนนี้ กำลังจะเป็นวัฒนธรรมสร้างภาพแลวาทะกรรมลวงโลกครั้งยิ่งใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของโลกต่อไป สุดท้ายคนกลุ่มนี้หรือคณะนี้ก็จะจากเราไปพร้อมกับความเชื่อของพวกเขาคงติดตามไปสู่นรกขุมใดไม่ทราบ

ลิงหลอกไพร่



ลิงหลอกไพร่ 
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์


ในข่าวสดออนไลน์ วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 12:30:41 น.
(ที่มา คอลัมน์ กระแสทรรศน์ ของ นสพ.มติชนรายวัน 17 ก.ย. 2555 )


          ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ปราศจากความกลัวทุกชนิดอย่างพระอรหันต์ คนเราคงโกหกทุกคน สีดำบ้าง สีขาวบ้าง สีชมพูแก่สาวๆ บ้างเป็นธรรมดา 


         ในฐานะปุถุชน ผมคงอายที่จะประณามคนโกหกอย่างสาดเสียเทเสีย แม้ไม่ได้คิดว่าการโกหกเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ยอมรับว่าเป็นบาปที่สะท้อนความอ่อนแอของความเป็นมนุษย์ของทุกคนด้วย  


          แม้เราต้องมีชีวิตท่ามกลางการโกหกหลอกลวง กระนั้นเราก็มีกติกาในทางโลกบางอย่างเกี่ยวกับการโกหกอยู่เหมือนกัน 


          นั่นคือคนในบาง "ฐานะ" โกหกไม่ได้

           ที่สำคัญคือนักการเมือง ไม่ได้หมายความว่าคนที่อยู่ในวงการเมืองจะหลอกเมียไม่ได้เลยนะครับ ตอนที่เขาหลอกเมียนั้น เขาไม่ได้หลอกใน "ฐานะ" นักการเมือง แต่หลอกในฐานะสามี จึงไม่ได้อยู่ในกติกาห้ามโกหกอย่างเด็ดขาด  


           แต่เมื่อใดก็ตามที่เขาทำหน้าที่ "นักการเมือง" เขาโกหกไม่ได้ พูดอีกอย่างหนึ่งคือใช้ข้อมูลเท็จที่ตัวรู้อยู่แล้วว่าเท็จในการดำเนินการทางการเมืองไม่ได้ อย่างมากที่สุดคือไม่พูดอะไรเลย แม้แต่ถูกถามก็พูดได้เพียงว่าโน คอมเมนต์ หรือไม่มีความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น (ซึ่งทำให้ใครๆ ก็รู้ว่าสิ่งที่ถามนั้นจริง หรืออย่างน้อยก็มีมูลอยู่มาก)  


           เพราะนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทำงานอยู่ได้ไม่ใช่เพียงเพราะชนะการเลือกตั้ง, นายกฯ แต่งตั้ง, หรือสภายังให้ความไว้วางใจอยู่ ที่สำคัญเหนือทั้งหมดที่กล่าวนั้น คือความไว้วางใจ (trust) ของประชาชน แม้แต่ดำเนินนโยบายที่ประชาชนไม่เห็นด้วย แต่อย่างน้อยประชาชนก็เชื่อถือว่าดำเนินไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ประชาชนจึงพร้อมจะลงมาคัดค้านต่อสู้กับนโยบายนั้น... ด้วยความบริสุทธิ์ใจเช่นกัน

           ระบบการตรวจสอบเท่าที่ระบอบประชาธิปไตยสามารถสร้างขึ้นได้นั้น ไม่อาจทำงานได้เลยหากนักการเมืองเลือกวิธีกล่าวเท็จ นักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย จึงอาจเผด็จอำนาจที่ไม่มีใครตรวจสอบได้ไปทั้งหมด ถึงถูกจับได้ ประชาชนก็หมดความไว้วางใจ การต่อสู้คัดค้านนโยบายของนักการเมืองคนนั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนไปสู่วิธีที่ไม่เปิดเผยตรงไปตรงมา หรือที่เรียกกันว่าวิธีสกปรก ระบบการเมืองทั้งระบบก็เสื่อมลง

           ในการเมืองของระบอบประชาธิปไตย บาปที่ใครๆ ก็ทำกันทั่วไป แต่ทำใน "ฐานะ" นักการเมืองไม่ได้ นั่นคือการโกหก เช่นเดียวกันกับหมอ หากฆ่าคนใน "ฐานะ" หรือทำหน้าที่เป็นแพทย์ย่อมผิดมหันต์ เพราะคนไข้เข้ารับการรักษาด้วยความวางใจว่าหมอไม่มีความประสงค์ต่อชีวิตของเขา จึงปล่อยปละละเลยที่จะป้องกันตนเอง ยอมเชื่อฟังคำสั่งของหมออย่างเต็มที่ หากหมอฆ่าคนไข้ในกระบวนการรักษา ย่อมทำลายกระบวนการรักษาพยาบาลลงไปทั้งหมด  


           แต่หมออาจหลงผิดฆ่าเพื่อน ฆ่าพยาบาล ฆ่าศัตรู ฆ่าคนร้ายได้เหมือนมนุษย์ปุถุชนทั่วไป เพราะเขาไม่ได้ฆ่าใน "ฐานะ" หมอ แน่นอนว่าเขามีความผิดแน่ แต่ไม่ใช่ความผิดมหันต์ต่อสังคมเท่ากับจงใจฆ่าคนไข้ในกระบวนการรักษา  


           แต่หมอโกหกใน "ฐานะ" หมอได้ และหมอหลายคนก็เคยโกหก โดยเฉพาะสีขาวแก่คนไข้มาแล้ว แถมยังถือว่าเป็นการทำหน้าที่ของหมอด้วยซ้ำ

           แต่นักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยโกหกใน "ฐานะ" นักการเมืองไม่ได้เด็ดขาด 


           เช่นเดียวกับคนทำสื่อ จะโกหกในรายงานข่าวไม่ได้เด็ดขาด แม้โดยส่วนตัวจะเป็นคนคล็อกขนาดไหนก็ตาม  


           ผมออกจะสงสัยว่า นักการเมืองไทยเข้าใจประเด็นนี้ไม่ชัดนัก ฝ่ายค้านประณามการโกหก (ที่อ้างว่าสีขาว) ของรัฐมนตรีคลัง เหมือนผู้ใหญ่กำลังดุเด็กโกหก บางคนอาจพูดถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่คนที่หลงเชื่อคำพูดของรัฐมนตรีคลัง แต่ไม่มีใครพูดถึงการละเมิดกติกาของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย  


           แม้ตัวรัฐมนตรีเอง เมื่อแถลงว่าตัวโกหกสีขาว ก็ทำท่าว่าโกหกเพื่อชาติไปอีกคน หาเข้าใจไม่ว่า บาปที่ตัวทำนั้น เป็นบาปที่อภัยไม่ได้ในการเมืองของระบอบประชาธิปไตย บางคนเชื่อว่า มีเฉพาะนักการทูตเท่านั้นที่สามารถโกหกเพื่อชาติได้โดยไม่ต้องตกนรก แต่นักการเมืองทำไม่ได้ 


            และบางทีคนไทยทั่วไปก็อาจไม่เข้าใจประเด็นนี้ชัดนักก็ได้

            หลายสิบปีมาแล้ว รัฐมนตรีกลาโหมของอังกฤษชื่อนายโปรฟิวโม ไปดู๋ดี๋กับนางแบบ
            สาวคนหนึ่ง ซึ่งในเวลาต่อมาหน่วยข่าวกรองจับได้ว่า นางแบบคนนั้นเป็นสายลับของโซเวียตด้วย เมื่อเรื่องแดงขึ้น ฝ่ายค้านในสภาก็ซักถามนายโปรฟิวโมเรื่องนี้ แต่นายโปรฟิวโมโกหกหลายเรื่อง เช่นยอมรับว่ารู้จักกับนางแบบจริง แต่ไม่ถึงขั้นดู๋ดี๋ โกหกว่าไม่เคยหิ้วกระเป๋าซึ่งมีเอกสารลับของราชการไปพบนางแบบ ฯลฯ   


           ในที่สุดฝ่ายค้านและสื่ออังกฤษก็จับได้ว่า คำให้การของเขาต่อสภาเป็นการโกหก นายกฯ จึงต้องบีบให้เขาลาออกไป  


            สื่อในเมืองไทยรายงานเรื่องนี้ว่า เพราะรัฐมนตรีไปดู๋ดี๋กับนางแบบ ทำให้อยู่ในตำแหน่งไม่ได้ เพราะอาจเอาความลับทางทหารของอังกฤษไปกระซิบข้างหูของคู่นอน 


            แต่นั่นเป็นต้นเหตุมากกว่าเป็นสาเหตุ ความผิดมหันต์ที่ทำให้นายโปรฟิวโมอยู่ในวงการเมืองไม่ได้ ก็เพราะเขาโกหกต่อสภา จะตั้งกระทู้อะไรให้ตายก็ไร้ความหมาย หากผู้ตอบใช้การโกหกเป็นเครื่องมือในการตอบกระทู้เพราะเมื่อไรที่นักการเมืองโกหก ไม่ว่าจะโกหกสีอะไรก็ตาม ยากมากที่สังคมจะตรวจสอบได้ 

             แต่เพราะทั้งสังคมและนักการเมืองไทย ไม่ค่อยตระหนักถึงความผิดมหันต์ในการโกหกทางการเมือง เห็นการโกหกว่าเป็นการละเมิดศีลห้าเท่านั้นผมจึง "รู้สึก" ว่า (ใช้คำว่ารู้สึกเพราะขี้เกียจไปตรวจสอบเพื่อจับโกหก) นักการเมืองไทยนั้นโกหกเป็นไฟแลบทั้งนั้น ขนาดมีคลิปเสียง  แสดงได้ชัดเจน ก็ยังหานักวิชาการมายืนยันว่า คลิปนั้นถูกตัดต่อ โดยไม่พูดว่าเนื้อหาสาระในคลิปนั้นถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ จนในที่สุด ดูเหมือนจะมีความเห็นทั่วไปว่าการโกหกทางการเมือง กับการโกหกเมียนั้น เป็นความผิดเท่าๆ กัน ในทางศีลธรรมนั้น จะเท่ากันหรือไม่ผมไม่ทราบ แต่ในทางความยั่งยืนของระบอบประชาธิปไตย ผมเห็นว่าต่างกันไกล เพราะถ้าเรายอมให้นักการเมืองโกหกได้ อำนาจในการตรวจสอบก็หายไปครึ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อย  


            การที่ทั้งนักการเมืองไทย และคนไทยจำนวนมาก มองไม่เห็นภยันตรายของการโกหกต่อระบอบการปกครองนั้น คงไม่ใช่เพราะคนไทยใจบาปหยาบช้า แต่เพราะในวัฒนธรรมไทยให้ความสำคัญแก่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสูงมาก และอาจมองเห็นอย่างเดียวกับลัทธิขงจื๊อว่า ความสัมพันธ์ที่ราบรื่นระหว่างบุคคลนั่นแหละคือรากฐานที่สำคัญสุดของความสัมพันธ์ที่ราบรื่นในสังคม (จึงเชื่อว่าการ ?จับเข่าคุยกัน" เป็นการระงับความขัดแย้งทางสังคมที่ได้ผลที่สุด)   


             การโกหกเป็นความผิดเพียงเล็กน้อย รักษาความสัมพันธ์ที่ราบรื่นระหว่างบุคคลไว้ย่อมสำคัญกว่าโดยไม่แยกว่า โกหกใน "ฐานะ" อะไร

             ด้วยเหตุดังนั้น ผมจึงอยากเดาว่า ต่อกรณีรองนายกฯ และรัฐมนตรีคลังพูดเองแบบไม่รู้สึกอะไรเลยว่าตัวโกหกนั้น คงไม่เกิดผลอะไรทางการเมืองแก่ผู้โกหกทางการเมืองผู้นี้นัก  เขาจะต้องถูกตั้งกระทู้โดยนักการเมือง ที่ไม่ได้เชื่อว่า การโกหกต่อสาธารณชนใน "ฐานะ" นักการเมืองนั้น เป็นการละเมิดต่อหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ถึงไม่มีโทษทางกฎหมายแต่เลวร้ายยิ่งกว่า ม.112  กระทู้จะถูกถาม และตอบท่ามกลางความไม่ใส่ใจอย่างจริงจังของรัฐสภา ของนายกฯ และของสังคมในวงกว้าง ใครๆ ก็พูดโกหกกันบ้าง คนละนิดคนละหน่อย แล้วทำไมรองนายกฯ จะโกหกบ้างไม่ได้  และเมื่อนายกฯ ยังไม่ใส่ใจ คู่แข่งทางการเมืองของเขาย่อมบ่อนเซาะเก้าอี้ของเขาได้ยากเป็นธรรมดา

             ส่วนจะเกิด "ฟ้าผ่า" มาจากต่างประเทศหรือไม่ คำตอบก็ดูไม่แน่นอนนัก เพราะเท่าที่เขาร่ำลือกันมีสองคำตอบ ประการแรกเจ้าของสายฟ้าในต่างประเทศก็เหมือนนักการเมืองไทยทั่วไป กล่าวคือ  


ไม่ได้มองเห็นการโกหกในหน้าที่นักการเมืองเป็นเรื่องร้ายแรงนัก ซ้ำประเด็นยังไม่ก่อให้เกิดความรังเกียจนักการเมืองโกหกในหมู่ผู้เลือกตั้งไทยเสียอีก จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องลั่นสายฟ้าลงมาจากต่างประเทศ

             ที่ร่ำลือกันอย่างที่สองก็คือ ว่ากันว่าท่านนายกฯ ได้ตั้งสายล่อฟ้าขึ้นเหนือทำเนียบได้สำเร็จแล้ว "คุณปู" เป็นที่ชื่นชอบของคนจำนวนมากด้วยตัวของตัวเอง ไม่ใช่เพียงเพราะโคตรเหง้าเหล่าตระกูลเหมือนเดิม จึงไม่ต้องเกรงสายฟ้าจากต่างประเทศมากนัก ในขณะที่รองนายกฯ ที่โกหกสีขาว เป็นที่ไว้วางใจของท่านนายกฯ มาก อย่างไรเสียก็ต้องเก็บไว้ใน ครม.เหมือนเดิม 

กล้าอย่างเดียวทำไม่ได้ ต้องหนาด้านด้วย

 วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ แขวะ รายงาน คณิตและคณะกล้ามาก
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ แขวะ รายงาน คณิตและคณะกล้ามาก

           วันที่ (18 กันยายน 2555) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 22.20 น. นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุก ส่วน โดยมีเนื้อหาวิจารณ์อย่างชื่นชมเกี่ยวกับ รายงานข้อมูล คณะกรรมการตรวจสอบความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) โดยนายสมชาย หอมลออ ประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบเหตุการณ์ความรุนแรง เดือน  เมษายน-พฤษภาคม 2553 เป็นผู้แถลงเมื่อวานนี้

           วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ได้กล่าวว่า  รายงาน คอป. เท่าที่ผมอ่านเร็วๆ ก็พูดถึง "ตุลาการ" ไว้พอสมควร ต้องขอชมว่า อ.คณิต และคณะกล้านะครับ สิ่งเหล่านี้ไม่แน่ใจว่า ครูบาอาจารย์ที่สอนกฎหมายกันอยู่ทุกวันนี้ พูดกันมากพอหรือยัง  ในรายงานหน้า 54-55 คอป. ลำดับความเป็นมาของความขัดแย้ง และติติง "ตุลาการ" อย่างชัดๆ โดยเจาะไปที่คดีซุกหุ้น 1 สมัยคุณทักษิณเป็นนายก

            คอป. กล่าวว่า "อำนาจตุลาการซึ่งควรต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการผดุงไว้ซึ่งหลักนิติธรรม กลับไม่สามารถทำหน้าที่ในการยุติความขัดแย้งทางการเมืองได้ และยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ละเมิดหลักนิติธรรมเสียเอง กรณีจึงกลายเป็นปัญหารากเหง้าและปมปัญหาของความขัดแย้ง ในระยะต่อมา..."

           ภาษาที่ คอป. ใช้ ค่อนข้างแรงนะครับ ในหน้า 55 คอป. ติงว่าการตัดสินคดีซุกหุ้นเป็น "การปฏิบัติที่ผิดหลักกฎหมายโดยแท้" และเป็น "ความผิดพลาดของศาลรัฐธรรมนูญ" และ "เป็นการบิดเบือนหรือหักดิบกฎหมาย อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทาให้สังคมเกิดความเคลือบแคลงในหลักนิติธรรมของประเทศไทย"(ข้อติติงเหล่านี้ คอป. เจาะไปที่ คดีซุกหุ้นคุณทักษิณ ไม่ได้พูดถึงคดีอื่น)

              จากนั้น ข้อวิจารณ์ "ตุลาการ" มาโผล่อีกทีในรายงาน หน้า 201 โดย คอป. ชี้ (แบบอ้อมๆ) ว่า "ตุลาการ" ก็คือ ส่วนหนึ่งของรากเหง้าปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย

              คอป. กล่าวว่า "รากเหง้าของปัญหาด้านกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย โดยกระบวนการยุติธรรมเป็นปัญหาที่เกิดจากความคับข้องใจ เมื่อระบบการเมืองมีปัญหาและมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลายชุด รวมทั้งมีการรัฐประหารหลายครั้ง ทำให้เกิดความเคลือบแคลงใจในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่ยอมรับคำสั่งของคณะปฏิวัติในฐานะผู้ทรงอำนาจรัฐว่าถูกต้อง

             และบางฝ่ายไม่ยอมรับกติกาสังคมที่มีอยู่ในการจัดการความขัดแย้ง ความขัดแย้งจึงลุกลามบานปลายและเกิดความรุนแรงขึ้น ท้ายที่สุดจึงนำไปสู่กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ซึ่งทำให้เป็นที่ถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ในเวลาต่อมา" (แต่ คอป. ไม่ได้เจาะลงไปที่ คดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหารแต่อย่างใด)

            จากนั้น ในรายงานหน้า 210 คอป. ก็เน้นถึงปัญหา "คดีซุกหุ้น" ในฐานะปัจจัยความขัดแย้งอีกครั้ง  และในรายงานหน้า 212 คอป. ก็ได้กล่าวถึงกรณีที่ "มีผู้วิจารณ์" "ตุลาการภิวัฒน์" (โดย คอป. เลือกใช้ภาษาที่ไม่ผูกมัดตนเอง ไม่ได้ลงไปวิจารณ์ตุลาการตรงๆ เหมือนในรายงานหน้า 54-55)

            โดย คอป. กล่าวว่า "ฝ่ายตุลาการจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการถ่วงดุลอำนาจ ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่ไม่ยอมรับกลไกของกระบวนการยุติธรรม และนำไปสู่การโจมตีบทบาทดังกล่าว ทำให้สังคมมีสภาพที่เสมือนหนึ่งขาดผู้รักษากติกาที่เป็นกลางในสถานการณ์ความขัดแย้งเช่นนี้"

            โดย ในรายงานหน้า 212 (เชิงอรรถที่ 421) คอป. ได้ ยกตัวอย่าง "ตุลาการภิวัฒน์" (ส่วนตัวผมไม่ชอบใช้คำนี้เลย เพราะฟังแล้วดูมีความหมายดี) ได้แก่

            - คดียุบพรรคการเมือง 4 พรรค คือ พรรคไทยรักไทย พรรคแผ่นดินไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า โดยเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง กรรมการบริหารพรรคทั้ง 4 พรรคเป็นเวลา 5 ปีตามประกาศ คปค.

            - ศาลรัฐธรรมนูญมีคาวินิจฉัยที่ 12-13/2551 ในกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นพิธีกรรายการ ชิมไปบ่นไป และ ยกโขยงหกโมงเช้า โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ว่ากรณีดังกล่าวเข้าข่ายเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนซึ่งเป็นคุณสมบัติต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267

            - ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาคดีการทุจริตการเลือกตั้ง ตัดสินยุบพรรคการเมือง 3 พรรค คือพรรค พลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย จึงทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชนพ้นจากตาแหน่งไปโดยปริยาย(แต่ คอป. ไม่ได้เจาะลงไปที่ คดีต่างๆ เหล่านี้)

            ในรายงานหน้า 212 - 213 (เชิงอรรถที่ 422) คอป. กล่าวถึงกรณที่ "ตุลาการ" มีบทบาทในการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ จนถูกมองว่าเป็นการใช้อำนาจตุลาการเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง

            โดย คอป. กล่าวว่า "การแก้ไขกระบวนการสรรหาโดยให้องค์กรตุลาการมีบทบาทมากขึ้น ประกอบกับการตัดสินคดีหลายคดีของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง ทำให้องค์กรตุลาการถูกมองว่ามีบทบาทมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และใช้อำนาจตุลาการเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง อันทำให้เกิดข้อถกเถียงเรื่องตุลาการภิวัฒน์มากยิ่งขึ้น"

             จากนั้น ในรายงานหน้า 247 คอป. ก็มีข้อเสนอแนะถึง "ตุลาการ" อย่างกว้างๆ แต่ก็เน้นชัดๆ  "คอป. ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายให้ความสาคัญกับการกาหนดบทบาทที่เหมาะสมตามแนวทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้หลักนิติธรรม โดยเฉพาะอำนาจตุลาการซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยข้อพิพาทและข้อขัดแย้งต้องพึงระมัดระวังเป็นพิเศษในการใช้อานาจที่เหมาะสมภายในกรอบกฎหมายและหลักนิติธรรม เพื่อให้การใช้อานาจอธิปไตยของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการเป็นไปอย่างมีดุลยภาพ" (เห็นได้ว่า ย่อหน้านี้ คอป. เน้นถึงอำนาจตุลาการ "โดยเฉพาะ" เลยนะครับ)

ความเห็นของผม จากการอ่านเร็วๆ :


            1. ผมเสียดาย ที่ คอป. ดูนะเน้นถึงปัญหาของ "ตุลาการ" แบบเจาะลึก เฉพาะกรณีคดีซุกหุ้นคุณทักษิณ ในรายงานหน้า 54-55 แต่กลับไม่เจาะไปถึงคดีอื่นๆ ที่ตามมาหลังจากการรัฐประหาร ซึ่งตุลาการได้ทำลายกฎหมาย ทำลายหลักนิติรัฐนิติธรรมร้ายแรงไม่น้อยไปกว่าคดีซุกหุ้นเลย

             ที่ผมกล่าวเช่นนี้ เพราะเราต้องวิจารณ์ ตุลาการ ในฐานะ สถาบัน หลักในทางประชาธิปไตย การที่ตุลาการในศาลหนึ่งตัดสินคดีอย่างไร้คุณภาพ ก็ย่อมสะท้อนถึงความไร้คุณภาพของสถาบันตุลาการการขัดเกลา เรียนรู้ พัฒนา และคัดเลือกสรรหาของตุลาการด้วยกันเองด้วย

            2. ผมคิดว่า ภาษาที่ คอป. ใช้ ใน รายงาน หน้า 201 คอป. ชี้ (แบบอ้อมๆ) ว่า "ตุลาการ" ก็คือ ส่วนหนึ่งของรากเหง้าปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย ถือว่ากล้าหาญนะครับ แต่พอมาอ่าน รายงานหน้า 212 เหมือน คอป. สงสารหรือเกรงใจ ตุลาการ โดยบอกว่าตุลาการถูก "โจมตีบทบาท...ทำให้สังคมมีสภาพที่เสมือนหนึ่งขาดผู้รักษากติกาที่เป็นกลางในสถานการณ์ความขัดแย้งเช่นนี้"

             คือ ถ้าจะพูดให้ถึงที่สุด คอป. น่าจะเชื่อมตรรกะของรายงานหน้า 201 กับ 212 เข้ากันมากกว่านี้ คือ ถ้าคอป. ยอมรับแบบอ้อมๆว่า ตุลาการ เป็นส่วนหนึ่งใน "รากเหง้า" ความขัดแย้งแล้วไซร้ ก็ย่อมเป็นตัว "ตุลาการ" นั้นแล ที่ทำให้ "สังคมมีสภาพ...ขาดผู้รักษากติกาที่เป็นกลาง" (ไม่ใช่แค่ "เสมือนหนึ่ง")

            3. เมื่อมองกับข้อเสนอใน รายงาน หน้า 247 ที่เน้นถึง "ตุลาการ" "โดยเฉพาะ" แล้ว อาจสรุปได้ว่า แม้ คอป. อาจเกรงใจ "ตุลาการ" มากอยู่ แต่ "การปรองดองในชาติ" จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หาก "ตุลาการ" ไม่คิดจะปรับตัวเข้าหา "ประชาชน"

รัฐประหารกันยา 49 โอกาสในวิกฤติ


ชำนาญ จันทร์เรือง: รัฐประหารกันยา 49 โอกาสในวิกฤติ 

โดย ชำนาญ จันทร์เรือง

            เนื่องในโอกาสที่ครบรอบ 6 ปีที่ของการรัฐประหารกันยา 49 ซึ่งเราต้องยอมรับว่าได้เกิดความเสียหายแก่ประเทศไทยอย่างมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการยอมรับนับถือของนานาอารยประเทศที่ต่างพากันดูถูกเหยียดหยามในวิธีการแก้ปัญหาการเมืองการปกครองอย่างมักง่ายของเหล่าบรรดาขุนทหารทั้งหลาย ความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่สามารถนับประเมินเป็นเม็ดเงินได้ลงตัวจนปัจจุบันว่าเสียหายไปเท่าไหร่กันแน่ ประชาชนในชาติแตกเป็นก๊กเป็นเหล่าจนเกิดการปะทะกันเสียชีวิตเป็นร้อย บาดเจ็บเป็นพัน ฯลฯ

อย่างไรก็ตามในวิกฤติย่อมมีโอกาส เพราะในปรากฏการณ์อันเลวร้ายนี้ได้เกิดผลด้านบวกขึ้นมาในหลายด้านเช่นกัน คือ

            1) ทำให้จิตสำนึกในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนสูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน จากเดิมที่คนไทยเรามีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า(subjective)กลายเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม(parcitipatory) ประชาชนมีช่องโทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่หนังสือพิมพ์ประจำตามรสนิยมทางการเมืองเป็นของตนเอง

             พ่อค้าแม่ค้า สองแถว แท็กซี่ ฯลฯ เดี๋ยวนี้เขาไม่คุยกันแล้วเรื่องละครน้ำเน่า หรือถึงแม้ว่าจะคุยก็ตามแต่ก็น้อยเต็มที เรื่องราวที่เขาเหล่านั้นพูดคุยกันเป็นเรื่องลึกๆที่แม้แต่สื่อกระแสหลักก็ยังไม่กล้าลงเสียด้วยซ้ำไป

            2) ทำให้เรารู้ว่าบรรดาผู้นำทหารที่ไม่ได้ทำอาชีพอะไรเลยนอกจากการรับราชการมีทรัพย์สินว่ากันเป็นเกือบร้อยล้าน มีที่บ้านหรือที่ดินในที่ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ได้จนต้องส่งคืน ไม่รวมถึงบรรดาสร้อยถนิมพิมพาภรณ์ทั้งหลายของคู่สมรสที่มีกันเป็นกุรุสๆ

             นอกจากนั้นยังเป็นผลทางอ้อมที่ทำให้เรารู้ว่าไม้ล้างป่าช้าก็สามารถซื้อกันได้เป็นราคาหลายสิบล้านเพื่อนำไปชี้หาวัตถุระเบิดจนเหล่าทหารชั้นผู้น้อยต้องสังเวยชีวิตไปไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ ซึ่งก็รวมถึงถึงเรือเหาะที่ใช้การได้เฉพาเหาะแต่ทำอย่างอื่นไม่ได้เลย

            3) ที่สำคัญทำให้เรารู้ว่าในกองทัพหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ขึ้นชื่อลือชาในการรักษาความลับทางราชการยิ่งชีพนั้นก็มีนายทหาร/นายตำรวจแตงโมหรือนายทหาร/นายตำรวจฟักทองแทรกอยู่โดยทั่วไป
ที่ตลกที่สุดก็คือนายตำรวจระดับผู้บัญชาการกล้าประกาศออกมาว่าถ้ามีการเปลี่ยนรัฐบาลก็พร้อมจะลาออก นับได้ว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่ข้าราชการประจำจะลาออกตามฝ่ายการเมืองซึ่งไม่รู้ว่าจะหัวเราะหรือร้องไห้กับบรรทัดฐานใหม่นี้ดี ซึ่งก็หมายรวมไปถึงการนำบัญชีโยกย้ายนายทหารที่ยังทำไม่เสร็จร่อนไปฟ้ององคมนตรีจนเป็นเรื่องราวฉาวโฉ่อีกนะครับ

            4) ทำให้คนกล้าลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา จนถึงกับมีการรณรงค์เข้าชื่อเพื่อแก้ไขมาตรานี้ต่อรัฐสภาที่ถึงแม้ว่าโอกาสที่จะสำเร็จนั้นยังอยู่ห่างไกลก็ตาม

            5) ทำให้คนกล้าลุกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาคดีของศาลทั้งหลายกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีของศาลรัฐธรรมนูญในการยุบและไม่ยุบพรรคการเมือง กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 ฯลฯ หรือกรณีการพิจารณาไม่ให้ประกันตัวของศาลยุติธรรรมจนมีคนตายคาคุก ซึ่งหากเป็นก่อนหน้านั้นผู้คนก็จะทำได้แต่เพียงการก้มหน้ารับกรรมไปอย่างไม่หือไม่อือ และทำให้ผู้คนเริ่มเรียกร้องให้มีการยึดโยงของอำนาจตุลาการกับประชาชนกันอย่างหนาหูขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาในอดีต

            6) ทำให้ผู้คนไม่ว่าสีใดๆก็ตามต่างรู้ว่าต้นเหตุของปัญหาทั้งปวงที่ทำให้ประชาชนทะเลาะกันจนเกิดการรัฐประหารและลุกลามใหญ่โตตามาภายหลังก็เนื่องเพราะเหตุแห่งการรวมศูนย์อำนาจของการบริหารราชการแผ่นดินไว้ที่ส่วนกลาง และการมีการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่ไร้ประสิทธิภาพที่รังแต่จะเป็นการเพิ่มขั้นตอนและไม่มีน้ำยาใดๆในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดกระแสการเรียกร้องให้มีการยกเลิกราชส่วนภูมิภาคและเพิ่มอำนาจการตัดสินใจให้แก่การบริหาราชการส่วนท้องถิ่นให้เพิ่มขึ้น

             ตัวอย่างที่สำคัญในกรณีนี้ก็คือการรวมตัวของผู้คนไม่ว่าจะเป็นสีใดๆของจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงวิกฤติที่เกิดขึ้นจนเกิดเป็น ?เครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น?เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการรวมศูนย์อำนาจนั่นเอง จึงได้มีการยกร่าง พรบ.เชียงใหม่มหานครฯขึ้น จนเกิดการแพร่กระจายไปถึง 45 จังหวัดที่พร้อมจะดำเนินรอยตามเชียงใหม่ ซึ่งเชื่อกันว่าไม่ช้าหรือเร็ว ไม่มากก็น้อยก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง และจะเป็นการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ที่สุดนับแต่ปี พ.ศ. 2435 เลยทีเดียว

             6) ทำให้เรารู้ว่ายังมีนักวิชาการที่ยึดมั่นในหลักการอย่างแท้จริงอยู่ในสังคมและในทำนองเดียวกันก็ทำให้เรารู้ว่าใครที่เป็นเนติบริกร รัฐศาสตร์บริการหรือขุนนางวิชาการที่แท้จริง ซึ่งก็เป็นผลดีที่จะทำให้เราส่งลูกส่งหลานไปเล่าเรียนได้ถูกหลักถูกแหล่ง

             7) ทำให้เรารู้ว่าทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยที่ว่าคนชนบทตั้งรัฐบาลแต่คนกรุงเทพเป็นผู้ล้มรัฐบาลนั้นใช้ไม่ได้แล้ว ดังผลของการเลือกตั้งกรกฎาปี 54 ที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นแล้ว

             8) ทำให้เรารู้ว่าทฤษฎีวงจรอุบาทว์อันเลื่องชื่อของการเมืองไทยที่เริ่มด้วยการมีรัฐธรรมนูญแล้วเลือกตั้ง เลือกตั้งแล้ววุ่นวายจึงต้องรัฐประหาร เมื่อรัฐประหารแล้วก็ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่แล้วก็เลือกตั้งวนไปวนมาเป็นวงจรนั้นถูกทำลายลงแล้ว เพราะเรารู้ว่าการรัฐประหารต่อแต่นี้ไปไม่สามารถทำได้ง่ายๆอีกต่อไปแล้ว และถึงแม้ว่าจะยังมีคนคิดบ้าๆอย่างนี้อยู่แต่ก็จะได้รับแรงต้านอย่างมหาศาลแน่นอนหากจะมีการรัฐประหารเกิดขึ้นอีก

              ในวิกฤติย่อมมีโอกาสฉันใด ในด้านตรงกันข้ามความเลวร้ายของการรัฐประหารกันยา 49 ย่อมมีโอกาสดีๆเกิดขึ้น และได้เกิดขึ้นแล้วดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น อยู่ที่ว่าเราจะสามารถดำรงและวิวัฒนาการให้ก้าวต่อไปอย่างไรเท่านั้นเอง

เมื่อคราวพฤษภา 35 ทหารก็ออกมาฆ่าประชาชน
หลายคนบอกว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมือง
อย่างมากจนถึงกับเข้ามามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญด้วย
รัฐธรรมนูญปี 40 นับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุด
และเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่งทีเดียว
ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน 
ความตกต่ำของทหารหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
ทำให้หลายคนมั่นใจว่ารัฐประหารจะไม่มีวันหวลกลับมา
เกิดขึ้นได้อีกแล้วในประเทศนี้
เวลาผ่านไปเพียงแค่10ปีเท่านั้นก็เกิดรัฐประหาร 49ขึ้นอีกจนได้
โอกาสในวิกฤตของรัฐประหาร กันยา 49 
คงไม่ใช่หลักประกันว่าจะไม่มีรัฐประหารเกิดขึ้นในประเทศนี้อีก
ตราบใดที่เรายังไม่อาจกำจัดต้นตอปัญหาที่แท้จริงของประเทศนี้ออกไปได้

ทั่วโลกไม่ยอมรับรายงาน "คอป."

"โรเบิร์ต" แถลงการณ์แย้งรายงาน "คอป." ระบุทั่วโลกไม่ยอมรับ
19 กันยายน 2555 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ที่ปรึกษากฎหมายของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) ออกแถลงการณ์ด่วน จากวอชิงตัน ดี.ซี. โดยมีเนื้อหาแสดงความเห็นแย้งกับรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่บิดเบือนข้อมูลและใส่ร้ายผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 10 เมษายน - 19 พฤษภาคม 2553 พร้อมทั้งระบุว่า รายงานของคอป.ดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

แถลงการณ์ดังกล่าว มีเนื้อหาดังนี้

Lawyer for Thailand’s Red Shirts Denounces Report on 2010 Violence

WASHINGTON DC, 19 September 2012 - Counsel acting on behalf of Thailand’s Red Shirt pro-democracy movement has denounced the conclusions of a new report into the 2010 killings of protesters, saying that it is counterproductive and provocative because the victims will refuse to accept anything less than accountability.

“All of us who were there know what happened, and this report, which mostly absolves the key players of any responsibility, defiles the dead and wounded,” said Robert Amsterdam, international counsel to the United National Front for Democracy against Dictatorship (UDD), also known as the Red Shirts. “The victims will not accept this report, and will not accept the false equivalence the report attempts to draw between an army firing upon unarmed protesters and their civic right to protest for democracy against a coup-appointed government.”

On September 17, 2012, the Truth for Reconciliation Commission (TRC) published its final report on the events of that took place in Bangkok in April and May 2010, when more than 90 people were killed in military crackdowns against Red Shirt protesters.

According to Mr. Amsterdam, when the government of former Prime Minister Mark Abhisit Vejjajiva appointed the TRC, there were reasons to question the commission’s independence, its mandate, and its membership. The TRC’s Chairman, Khanit na Nakhon, had been selected by a non-elected military junta three years earlier to investigate the “War on Drugs,” and has gone on the record to say that he was not concerned with accountability but rather only wanted to focus on forgiveness.

According to Mr. Amsterdam, the TRC report cannot be taken seriously given that it fails to address the unlawful nature of the military coup that unseated the democratically elected government of Prime Minister Thaksin Shinawatra in 2006, which is a core grievance of Thailand’s pro-democracy protest movement. Instead, says Mr. Amsterdam, the TRC blames Thaksin for the coup, much like the Deputy Prime Minister Suthep Thaugsuban has blamed protesters for “running into the bullets.”


“The presentation of findings in the TRC report concerning the 2010 killings of Red Shirt protesters fails to address the clear and universally condemned breaches of human rights law resulting in parts of Bangkok being turned into a live fire zone,” said Mr. Amsterdam. “The Red Shirts reject the conclusions of this biased report as another attempt to whitewash the crimes against humanity committed by a small group of Thai elites. We will continue fighting for accountability so that the people of Thailand are not subjected again and again to violence by the Army with no consequences.”


Thailand has experienced regular cycles of violence with citizens killed by the military in 1973, 1976, 1992, 2009, and 2010. According to Mr. Amsterdam, the conclusions of this report only ensure that it happens again.
In late June, Robert Amsterdam participated in a delegation of victims, witnesses, and government officials led by the Thai historian Dr. Thongchai Winichakul to meetings at the International Criminal Court (ICC) in The Hague to discuss their application requesting an investigation.


“While there are sections of the report that contain commendable recommendations, the section addressing the April-May 2010 violence fails miserably,” said Dr. Winichakul of the University of Wisconsin. “The commission is guided by their own bias and ideology since several leading TRC members are supporters of the 2006 coup. Any serious human rights organization should be careful before endorsing this report.”.

More information can be found on http://www.robertamsterdam.com/thailand

หมายเหตุ - กองบรรณาธิการ go6TV ได้รับการรายงานว่า คณะทำงานทางด้านกฏหมายของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม กำลังอยู่ระหว่างเรียบเรียงแถลงการณ์เป็นภาษาไทยในลำดับถัดไป


ฉีกรายงาน "คอป." บิดเบือนข้อมูล ใส่ร้ายผู้เสียชีวิต

เมื่อเวลา 13.00 น.วันนี้ (18 ก.ย.) ที่พรรคเพื่อไทย นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยและแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พร้อมด้วยน.ส.ขัตติยา สวัสดิผล บุตรสาวพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และน.ส.จารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อ ร่วมแถลงข่าวหลังถึงรายงานสรุปผลการศึกษาเรื่องความปรองดองของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)


นพ.เหวง กล่าวว่า "แก่นของรายงานฉบับนี้ ไม่จริง ผนรับเอกสารฉบับนี้ไม่ได้
ขอฉีกรายงานคอป.ฉบับนี้ พร้อม ดร.จา และน้องเดียร์"
Photo by Pui Narak
โดย น.ส.ขัตติยา ออกมาตั้งข้อสังเกตรายงานของ คปอ. เรื่องความเป็นกลาง เพราะถูกแต่งตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งการสอบสวนของ คปอ.ที่นำการซักถามจากบุคคลมาปะติดปะต่อกัน โดยเรียกคนที่ต้องการมาให้ข้อมูลเท่านั้น ใช้เพียงความเชื่อของตนเองไม่มีการใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือการตรวจพิสูจน์ใดๆ การที่ คปอ.ออกมาแถลงเกี่ยวกับชายชุดดำเป็นเพียงการเบี่ยงเบนประเด็นหรือไม่

“ส่วนรายงานของคปอ.ที่อ้างว่า ชายชุดดำมีส่วนเกี่ยวพันกับ พล.ต.ขัยติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดงนั้น อยากทราบว่า คปอ.นำหลักฐานมาจากไหน เพราะตามข้อเท็จจริงไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าเสธ.แดง เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ของความรุนแรงในช่วงการชุมนุมเลย ส่วนรายงานที่กล่าวว่ามีชายชุดดำเข้าไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงหลังวันที่ 13 พ.ค.53 และอาจเป็นลูกคนสนิทของเสธ.แดงด้วยนั้น ?ตนขอยืนยันว่าวันดังกล่าว เสธ.แดงถูกยิงและพักรักษาตัวอยู่ โดยมีลูกน้องอยู่ดูแลตลอดเวลา จนกระทั่งถึงวันจัดงานศพของเสธ.แดง เพื่อเคารพนายของตนเองเป็นครั้งสุดท้าย ขอความเห็นใจจากสังคมให้พิจารณารายงานของ คปอ.ฉบับนี้ด้วย อย่าโยนความผิดให้คนที่ตายไปแล้ว และตนจะปกป้องคุณพ่อของตนทุกวิถีทาง” น.ส.ขัตติยากล่าว


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขณะที่ น.ส.ขัตติยา แถลงข่าวเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของบิดานั้นน้ำเสียงสั่นเครือและมีน้ำตาคลอ และในช่วงท้ายของการแถลงข่าว ก่อนที่ทั้ง 3 คน จะร่วมกันฉีกรายงานฉบับดังกล่าวของ คปอ.

ด้านน.ส.จารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยกล่าวว่า ขอขนานนามรายงาน คอป.ว่าโกหกเรื่องเดิมๆ เพราะแอบสอดไส้ผลงานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษาและวิเคราะห์การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษและการนำนโยบายไปปฏิบัติ จนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของประชาชน (คตน.) ที่เป็นผลพวงคณะรัฐประหารเข้าไปในรายงานด้วย และไม่สามารถพิสูจน์ว่า ชายชุดดำคือใคร เป็นเพียงเรื่องเล่า สมมติฐานขึ้นมาลอยๆ ไม่เป็นมืออาชีพ อ่านแค่อารัมบทก็เห็นว่า เป็นการเขียนรายงานชุ่ยๆ ไม่ต้องอ่านเนื้อหาต่อไปเป็นการสอบตกโดยสิ้นเชิง อยากให้ คอป.ออกมาขอโทษประชาชนข้างโลงศพของเสธ.แดง



ในส่วนของ นพ.เหวงกล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจกับนาย คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และประธานกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คปอ.) ที่มาเสียตัวเสียคนตอนแก่ และเสียดายสติปัญญาที่สามารถตัดสินได้เพียงเท่านี้ ใครก็สามารถสรุปได้ทั้งนั้น มีเพียงนายคณิตเท่านั้น หรืออาจเป็นเพราะท่านเกลียดชัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรมาก จนทำให้กลบบังสติปัญญาทั้งหมดไป หากนายคณิต ออกมาขอโทษ ตนก็ยินดีที่จะให้อภัย แต่หากยืนยันจะเดินหน้าต่อไป ตนก็จะออกมาท้าทายนายคณิตเช่นกัน และขอปฎิเสธข้อกล่าวหาเรื่องชายชุดดำที่นายสมชาย ?หอมลออ นำมาแสดงที่อ้างว่าฆ่าคน 9 คน

“อยากให้คุณสมชาย หอมลออ นำหลักฐานภาพถ่ายมายืนยันเพิ่มเติม อย่าเอาแค่รายงานจากสื่อที่ไม่ชอบ พ.ต.ท.ทักษิณ มาเป็นตัวชี้วัด ผมคิดว่ารายงานที่นายสมชาย ได้นำออกมาแถลงนั้น เป็นแค่การเขียนนวนิยายเท่านั้นเหมือนภาพยนตร์ “เจมส์ บอนด์”ที่มีแค่ความตื่นเต้น แต่หาสาระใดๆไม่ได้เลย ทั้งนี้ อยากฝากถึงนายสมชายว่า อย่าทำตัวเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือทำตัวเป็นพระเจ้าที่จะออกมาตัดสินคนอื่น”นพ.เหวง กล่าว

ย้อนอดีต 19 ก.ย. 49

ย้อนรอยลำดับเวลา "รัฐประหาร" 19 กันยายน 2549


เช้าวันที่ 19 กันยายน มีคำสั่งจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเตรียมเข้าประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เรียกผู้นำทุกเหล่าทัพเข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่มีผู้นำเหล่าทัพคนใดเข้าร่วม โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. อ้างว่ากระชั้นชิดเกินไป ยกเว้น พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร. ทำให้มีกระแสข่าวลือการปฏิวัติรัฐประหารแพร่สะพัดไปทั่วทำเนียบรัฐบาล และกระจายสู่ภายนอกโดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[2]

เวลา 18.00 น. นายสมชาย มีเสน ผู้จัดรายการวิทยุ เอฟ.เอ็ม. 92.25 เมกกะเฮิร์ซ นัดผู้ฟังรายการจำนวนหนึ่งเข้าพบ พล.อ.สนธิ ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) เพื่อขอให้ทหารให้ความคุ้มครองกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จะชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ วันพรุ่งนี้

ช่วงพลบค่ำมีข่าวว่า กำลังทหารหน่วยรบพิเศษ จากจังหวัดลพบุรี เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ ขณะเดียวกัน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ข่าวระบุว่าเป็นเรื่องการทำบุญ หม่อมหลวงบัว กิติยากร หลังจากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมง สำนักข่าวไทยรายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศเลื่อนเดินทางกลับประเทศไทยเร็วขึ้นจากวันที่ 22 กันยายน เป็นเวลา 05.00 น. ของวันที่ 21 กันยายน[2]

ประมาณ 21.00 น. กำลังทหารจากพลร่มป่าหวาย หน่วยสงครามพิเศษลพบุรี เข้ามาประจำการที่กองบัญชาการกองทัพบก จากนั้นอีกครึ่งชั่วโมงสถานการณ์เริ่มชัดเจนขึ้น เมื่อสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ได้ยุติรายการปกติและเปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี มีข่าวลืออีกว่าทหารเข้าควบคุมตัว พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รักษาการ รมว.กลาโหม อีกกระแสข่าวบอกว่า นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางไปประเทศอังกฤษตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน[2]

ช่วงนั้น น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เดินทางมายังบริเวณหลังตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ไล่เลี่ยกัน พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ยุติธรรม ที่เดินทางตามเข้ามา แต่ไม่ได้ลงจากรถ ก่อนที่ น.พ.พรหมินทร์ จะหอบเอกสารปึกใหญ่ ขึ้นรถ พล.ต.อ.ชิดชัย และเคลื่อนออกไปจากทำเนียบรัฐบาลด้วยกัน กำลังคอมมานโดตำรวจกองปราบปราม เดินทางไปรักษาความปลอดภัยที่บ้านจันทร์ส่องหล้า[2]

เวลา 22.00 น. ขบวนรถถังเคลื่อนเข้าคุมเชิงที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ และถนนราชดำเนิน สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าวด่วน สถานการณ์ในประเทศไทย หลังมีผู้เห็นกองกำลังทหารตามสถานที่สำคัญต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร ขณะเดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ รักษาการนายกรัฐมนตรี โทรศัพท์สั่งการไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 เตรียมการถ่ายทอดเสียงผ่านทางโทรศัพท์ แต่ขณะที่กำลังรอสาย ทหารเข้าควบคุมสถานีฯ ได้เสียก่อน[2]

สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ แพร่สัญญาณเสียงของ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อเวลา 22.15 น. ออกประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรง เพื่อควบคุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสั่งให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และให้รายงานตัวต่อ พล.ต.อ.ชิดชัย รวมถึงแต่งตั้ง พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผบ.สส. เป็นผู้มีอำนาจแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน[2]

ไม่กี่นาทีต่อมา ทหารจำนวนมาก ออกมาตรึงกำลังตามถนนต่าง ๆ ตั้งแต่แยกเกียกกาย ผ่านมาถึง ถ.ราชสีมา บริเวณสวนรื่นฤดี สี่แยกราชตฤณมัยสมาคม (สนามม้านางเลิ้ง) โดยมีทหารแต่งกายลายพรางเต็มยศเป็นผู้ควบคุมกำลัง จากนั้นสัญญาณของสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ถูกตัดลง มีรายงานว่า เนื่องจากทหารตัดไฟฟ้าที่เข้าสู่สถานีฯ ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก่อนจะตัดเข้าโฆษณา และเข้าสู่รายการปกติ โดยมีรายงานข่าวว่า กำลังทหารบุกเข้าควบคุม ที่ห้องส่งสัญญาณออกอากาศ พร้อมควบคุมตัวนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กก.ผอ.ใหญ่ บมจ.อสมท (ภายหลังนายมิ่งขวัญชี้แจงว่า ตนไม่ได้อยู่ที่สถานีในขณะนั้น และไม่ได้ถูกจับกุม[3])

เวลาประมาณ 22.25 น. สถานีโทรทัศน์เกือบทุกช่องตัดเข้ารายการเพลง เปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี ยกเว้นช่อง 9 และช่อง 3 ที่นำเสนอรายการปกติ โดยมีรายงานข่าวว่ามีกำลังทหารเข้ายึดสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง โดยเฉพาะ โมเดิร์นไนน์ ทีวี และไอทีวี หลังจากนั้นสถานีโทรทัศน์ทุกช่องเริ่มเชื่อมสัญญาณกับ ททบ.5 และเปิดเพลงที่มีเนื้อหาสรรเสริญพระบารมี ยกเว้นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอย่างเอเอสทีวี และ เนชั่นแชนนัล ทางสถานีโทรทัศน์ไททีวี ช่อง 1 ที่ยังคงรายงานสถานการณ์ได้ตามปกติ กำลังทหารส่วนหนึ่งได้เข้าควบคุมตัว พล.ต.ต.วินัย ทองสอง ผบก.กองปราบปรามและ พล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต (เสธ.ไอซ์) ที่ปรึกษากองทัพบก[2]

เวลา 22.54 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ออกอากาศทางสถานีทุกช่อง ขึ้นคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมขออภัยในความไม่สะดวก และเปิดเพลง "ความฝันอันสูงสุด" ประกอบ ด้านสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นและบีบีซีเผยแพร่ข่าวรถถังและกำลังทหารควบคุมสถานการณ์ภายใน กทม. ช่วงหนึ่งได้แพร่ภาพกลุ่มชาวบ้านใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปทหารเหล่านั้น โดยไม่ได้รู้สึกหวาดกลัวแต่อย่างใด มีกำลังทหารจำนวนหนึ่งพร้อมอาวุธครบมือบุกเข้ายึดอาคารชินวัตร เนื่องจากเป็นจุดสำคัญในการส่งสัญญาณสื่อสาร รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ไอทีวีและบ้านจันทร์ส่องหล้า[2]

นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศทางเอเอสทีวี ยกเลิกการชุมนุมใหญ่ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 กันยายน เวลา 17.00 น. ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้น และเนื่องจากอยู่ในช่วงประกาศกฎอัยการศึก

เวลา 23.15 น. พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค อดีตโฆษก ททบ.5 อ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่แสดงไว้ในหน้าจอก่อนหน้านี้ซ้ำถึงสองครั้ง จากนั้นทหารจาก ป.พัน 21 สังกัด ร.21 ประมาณ 30 นาย พร้อมอาวุธครบมือเดินทางไปยังสถานีโทรทัศน์เนชั่นแชนแนล ที่อาคารเนชั่นทาวเวอร์ โดยยืนยันว่า มาดูแลความสงบเรียบร้อยทั่วไป[2]

เวลาประมาณ 23.30 น. คณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้ควบคุมตัว พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งนายดุสิต ศิริวรรณ อดีตผู้ดำเนินรายการผู้สนับสนุนคนสำคัญ มากักตัวไว้ที่ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) กองบัญชาการทหารสูงสุด[4] เกือบเที่ยงคืน ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

ย้อนอดีต 19 ก.ย. 49


เผยคลิปวินาทีทหารบุกยึด "อ.ส.ม.ท." 19 กันยา 49 ครั้งแรก

ภาพขณะที่ทหารเข้ามายึด อ.ส.ม.ท.


ภาพทหารด้านซ้าย กับจอทีวีประกาศการยึดอำนาจการปกครอง

  

ตอนที่ 1 

ตอนที่ 2

ตอนที่ 3


Go6tv (19 กันยายน 2555) ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย YOWARE ได้โพสท์ข้อความลงในทวิตเตอร์เมื่อเวลาประมาณ 22.00 นาฬิกา เผยแพร่ภาพและคลิป ซึ่งได้บันทึกไว้ในคืนเกิดรัฐประหาร โดยเขียนว่า ภาพและคลิปดังกล่าวนั้นถูกบันทึกไว้ 6 ปีแล้ว จึงปัดฝุ่นหยิบมาให้ชมกัน เป็นภาพภายในห้องทำงานของ อ.ส.ม.ท. ระหว่างที่ต่างประเทศกำลังเผยแพร่ภาพการทำรัฐประหาร และในวินาทีที่ทหารได้เข้ามาควบคุมห้องส่งสำนักข่าวไทย จนเสร็จสิ้น

ขอขอบคุณคลิปต้นฉบับจาก Yoware