2475- ปัจจุบันประชาธิปไตยจริงหรือ | |
2475- ปัจจุบันประชาธิปไตยจริงหรือ เมื่อกล่าวถึงประชาธิปไตยในสังคมการเมืองไทย เราอาจกล่าวได้ว่ายุคที่เริ่มมาสู่การเป็นระบอบประชาธิปไตยของไทยนั้น เริ่มต้นขึ้นในเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่24 มิถุนายน2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งเราพูดถึงกันหนักหนาว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยประชาชน แต่แล้วหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กลุ่มคนที่เรียกตนเองว่า คณะราษฏร (ที่เป็นราษฏรจริง ๆ ) ก็ค่อย ๆ ถูกเขี่ยออกไปอยู่นอกแวดวงการปกครองของประเทศนี่ แล้วการบ้านการเมืองก็เดินนาไปสู่ยุคที่มีการพัฒนาการทางด้านประชาธิปไตยอีกรูปแบบหนึ่ง ตามที่คนที่ยึดกุมอำนาจ สร้างวิมานในอากาศสำหรับคำว่าประชาธิปไตย อันมีสร้อยห้อยท้าย เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่เราเรียกการปกครองของไทยว่าเป็น รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี............. แต่หากเรามองสังคมการเมืองไทยยุค2475-ปัจจุบันเปรียบเทียบกับหลักการหรือวิถีการแห่งประชาธิปไตยในสังคมโลกที่เป็นเสรีประชาธิปไตยอย่าง อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ที่เรารับแนวคิดมานั้นเราจะพบอะไรบางอย่าง เมื่อกล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 โดยเปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีสภา และต่อมาก็มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรนั้นเป็นผลผลักดันความคิดที่ต้องการมีส่วนร่วมกำหนดชะตากรรมของรัฐที่สำคัญกับบรรดากลุ่มขุนนางและเป็นผลิตผลของการปฏิรูปการปกครองเมื่อพ.ศ.2475 และปัจจัยการผลักดันการเคลื่อนไหวการเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิต นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในเหตุการณ์ตุลาคม 2516นั้น ก็คือ การป้องกันมิให้เกิดการสืบทอดอำนาจเผด็จการโดยนำเอารัฐธรรมนูญมาเป็นเครื่องมือต่อต้านการก่อรูปอย่างเป็นสถาบันของอำนาจเผด็จการโดยคณะทหารและการต่อต้านรัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูร ในเดือนพฤษภาคม 2528ก็ได้รับการผลักดันจากการต่อสู้กับการฝักตัวของอำนาจเผด็จการทหารภายใต้เปลือกของคณะ รสช . ซึ่งหากเรามองดูลักษณะการเมืองการปกครองในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475เป็นต้นมาถึงสมัยจอมพลสฤษ ธนะรัชต์ เราจะเห็นได้ว่าระบอบการเมืองแบบอำมาตยาธิปไตยที่ข้าราชการเป็นใหญ่ เพราะในช่วงดังกล่าว ระบบการเมืองมีเพียงระบบราชการเท่านั้นที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมือง การตัดสินใจต่างๆของรัฐบาลล้วนมาจากการริเริ่มของระบบราชการ และอาศัยความเห็นชอบของระบบราชการเป็นส่วนในการตัดสินนโยบายต่างๆของรัฐ เพราะในช่วงนี้กลุ่มนอกระบบราชการอาทิ นักธุรกิจ กรรมกร ชาวนามีน้อยและไม่เข้มแข็ง นอกจากนี้ระบบการเมืองที่อิงอยู่บนฐานของระบบราชการได้แพร่อิทธิพลเข้าสู่ภาคธุรกิจในรูปของรัฐวิสาหกิจและร่วมมือกับนักธุรกิจในการดำเนินงานธุรกิจเอกชน และผู้นำในช่วงดังกล่าวล้วนมาจากระบบราชการโดยเฉพาะทหาร เช่น พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา จอมพลป.พิบูลสงคราม พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ พลเอกถนอม กิตติขจร จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และแม้จะมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในรูปแบบต่างๆ เช่น การเลือกตั้ง แต่ประชาชนหาได้มีบทบาทที่มีความหมายอย่างแท้จริง ดังนั้นรัฐไทยในช่วงดังกล่าวจึงเป็นรัฐอำมาตยาธิปไตยของระบบราชการโดยเฉพาะทหารและหลังจากยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็เกิดการกำเนิดขึ้นของชนชั้นกลางและการขยายตัวของชนชั้นกลางในสังคมไทย สาเหตุของการเกิดชนชั้นกลางนั้นเป็นผลจากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ ทำให้ภาคเอกชนขยายตัวได้รวดเร็ว โดยเฉพาะสถาบันการเงินธนาคารและอุตสาหกรรม จนพ.ศ.2525-2526 ภาคเอกชนได้ขยายตัวและเปิดตำแหน่งหน้าที่การงานมากมาย โดยเฉพาะบริษัทใหญ่เช่นการให้สวัสดิการและความมั่นคงแก่พนักงานและด้วยสภาพการที่สังคมขยายตัวและมีความสลับซ้อนมากขึ้นรัฐบาลจึงต้องขยายตัวเพื่อดูแลให้บริการแก่ประชาชนที่เพิ่มขึ้น ทำให้บุคคลมีโอกาสทำงานในภาครัฐเพิ่มขึ้น ผนวกกับกระแสการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของวิถีชีวิตของชนชั้นกลางในสังคมอื่น เช่น อเมริกันและญี่ปุ่น ทำให้เกิดการรับรู้และเลียนแบบวิถีชีวิตของชนชั้นกลางโดยไม่รู้ตัวหรืออาจจะรู้ตัวก็ได้ และยิ่งขณะนั้นการศึกษาเป็นความต้องการของบุคคล เพื่อการก้าวหน้าในชีวิตและการงาน ฐานะทางสังคม ด้วยเหตุนี้ชนชั้นกลางในขณะนั้น เช่น พ่อค้า นักธุรกิจ นายทุน ข้าราชการฯลฯ การเติบโตของชนชั้นกลางที่ขยายตัวพร้อมกับภาคเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีกลุ่มนักธุรกิจเริ่มเข้าไปหาประโยชน์ในภาคการเมือง เช่น เชิญชวนข้าราชการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจเพื่ออาศัยความคุ้มครองจากระบบราชการ จนกระทั่งได้ขยายฐานอำนาจเข้าไปแทรกแซงกระบวนการทางการเมือง การเข้าไปมีตำแหน่งนั้นในการทำธุรกิจและหาเงินจากการอนุมัติโครงการ จึงเป็นลักษณะของธุรกิจการเมือง การใช้อำนาจเงินในการเข้าสู่ตำแหน่งและอำนาจทางการเมืองเช่นนี้ทำให้เกิดสถานการณ์เป็นวาทกรรมที่เรียกว่า ธนาธิปไตย ยุคของการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างกลุ่มอณาธิปไตย(ระบบราชการ) กับกลุ่มธนาธิปไตย (ชนชั้นกลาง นักธุรกิจ นายทุน) ซึ่งอยู่ในฐานะกลุ่มผู้ปกครองถือครองอำนาจของรัฐและได้รับผลประโยชน์จากอำนาจดังกล่าว ก็ได้แข่งขันช่วงชิงกัน เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรูปแบบประชาธิปไตยของตน โดยใช้ผู้ใต้ปกครองนั่นคือประชาชน เป็นฐานความชอบธรรมให้กับประชาธิปไตย(ในทางรูปแบบ) ให้กับกลุ่มผู้ปกครอง ผ่านการออกเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น ดังนั้นแล้วเราจะเห็นได้ว่า ระบอบประชาธิปไตยในระบบการเมืองไทยไม่ได้เกิดขึ้นจากการต่อสู้ร่วมกันระหว่างผู้นำทางการเมืองประชาชน แต่เป็นเรื่องของผลิตผลการต่อสู้แย่งชิงอำนาจของกลุ่มผู้ปกครอง นั้นคือ กลุ่มข้าราชการประจำที่มีทหารเป็นแกนหลัก และกลุ่มพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งและแม้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่ให้สิทธิแก่ประชาชนในการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทั้งในรูปแบบ อบจ. อบต. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆแต่ก็เป็นเพียงรูปแบบเท่านั้นหาได้มีการกระจายอำนาจที่แท้จริงไม่ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยก็เป็นเพียงในบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ หากแต่ในความเป็นจริงประชาชนไม่ได้มีสิทธิ เสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยเลย เห็นได้จาก กรณีการปราบปรามยาเสพติดโดยการฆ่าตัดตอน ที่ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง จนทำให้ประเทศถูกวิจารณ์จากต่างประเทศว่าเป็นประเทศแห่งการละเมิดสิทธิมนุษยชน การจัดการทรัพยากรชุมชนรัฐก็ยังเข้ามาควบคุม บางครั้งก็ถึงกับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ เช่น การตั้งเขตชุมชนที่ชาวบ้านอยู่เป็นสิบๆปีเป็นเขตป่าสงวน หรือเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า ปัญหาการสร้างเขื่อนโดยไม่มองภาคประชาชนในพื้นที่ มองแต่ผลประโยชน์ของชนชั้นกลาง พ่อค้า นักธุรกิจ ผลประโยชน์ของรัฐบาล เช่น กรณีการสร้างเขื่อนปากมูลตั้งแต่ปี2532 จนเป็นปัญหากระทั่งทุกวันนี้ อีกทั้งปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ยังเปิดช่องทางให้กับนักการเมืองและกลุ่มนักธุรกิจที่แอบอิงอยู่กับอำนาจอมาตยาธิปไตย อาศัยเป็นช่องทางในการหาประโยชน์และโกงกิจบ้านเมือง ข้อเสนอแนะ ประชาธิปไตย การมีส่วนร่วม สิทธิและ เสรีภาพ หลักประกันของประชาชนในชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งความสงบสุขและก้าวหน้าของประเทศตามระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีประชาธิปไตย ยังไม่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยที่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและพัฒนาทางการเมืองไทยในช่วง 2475 เป็นต้นมาเป็นเพียงการต่อสู้กันระหว่างผู้กุมอำนาจทางสังคมการเมืองคือ"อมาตยาธิปไตย" ที่นำโดยข้าราชการโดยเฉพาะทหาร กับ "ธนาธิปไตย" ที่นำโดยกลุ่มนักธุรกิจ นายทุนที่มีเงินเป็นฐานในการสร้างอำนาจและยิ่งปัจจุบัน รัฐบาลภายใต้การนำของคณะทหารโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือ (คมช.) ที่ทำการรัฐประหารรัฐบาลนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้กลายเป็นผู้กุมอำนาจทางการเมืองและสังคมและได้ยยัดเยียดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยอ้างว่าเพื่อแก้ปัญหาของบ้านเมือง เพื่อความมั่นคง และสงบสุขของประเทศตามที่ได้กล่าวอ้างไว้ เมื่อครั้งทำการรัฐประหารยิ่งเป็นการบ่งบอกถึงอะไรบางอย่าง เกี่ยวกับสังคมไทยนั่นคือ ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญซึ่งได้มาจากการรัฐประหาร ยิ่งทำให้สถานการณ์บ้านเมือง เลวร้ายหนักกว่าสถานการที่ผู้รัฐประหารอ้างว่าเลวร้าย ก่อนหน้าการรัฐประหารเสียอีก ประชาธิปไตยของไทยยังคงจะดำเนินต่อไปในรูปแบบของการแย่งชิงอำนาจกันเองระหว่างกลุ่มผู้ปกครอง " คณาธิปไตย" ต่อไป จึงเป็นที่น่าสนใจว่ารูปแบบของประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นจากโลกตะวันตก ในแบบเสรีประชาธิปไตยนั้นจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ในสังคมไทย และเราจะเห็นถึงพลังลึกลับ มือที่มองไม่เห็น และบางอย่างที่อิงอยู่ในระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย ที่คณะรัฐประหารได้ใช้เพื่อรองรับความชอบธรรมและเป็นแรงสนับสนุนในการรัฐประหารครั้งนี้ จนกระทั่งเกิดกระแสที่นักวิชาการไทยต้องแยกแนวคิดกับเหตุการณ์ครั้งนี้ออกเป็น 2 ฝ่าย อย่างที่ไม่เคยปรากฏในการรัฐประหารครั้งไหนๆ นั้นคือ สถาบันกบัตริย์ ที่ถูกกล่าวอ้างถึงหลายต่อหลายครั้ง ทำให้เป็นที่น่าสังเกตว่านอกจากการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างกลุ่มผู้ปกครอง " คณาธิปไตย" "มือที่คนไทยเริ่มมองเห็นกันแล้ว" ในสังคมไทยแล้วยังมีปัญหาหรือเงื่อนไขอะไรอีกหรือไม่ที่แอบแฝงอยู่ในการสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทยในแบบเสรีประชาธิปไตยที่เรารับเข้ามาจากตะวันตกซึ่งเป็นกระแสหลักของโลกในขณะนี้ | |
http://redusala.blogspot.com |
ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555
2475- ปัจจุบันประชาธิปไตยจริงหรือ
ประชาชนเตรียมพร้อมรับศึกใหญ่!
ประชาชนเตรียมพร้อมรับศึกใหญ่! | |
โดย รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ จาก “โลกวันนี้วันสุข” ฉบับวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2555 การปิดสมัยประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2555 คือความพ่ายแพ้ของแกนนำพรรคเพื่อไทย เบื้องหน้าการข่มขู่ของพวกเผด็จการผ่านองค์กรตุลากร พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มมวลชนนอกสภา การไม่สามารถระดมจำนวนคะแนนเสียงในรัฐสภาให้มากพอที่จะผลักดันญัตติไม่ยอมรับคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ เป็นความรับผิดชอบของแกนนำพรรคเพื่อไทยโดยตรง การ “ชะลอ” วาระสามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไป แม้จะมีความพยายามแก้ตัวว่า เป็นการถอยเพื่อรุกบ้าง ลับ ลวง พรางบ้าง หลีกเลี่ยงความรุนแรงและการนองเลือดบ้าง แต่ความเป็นจริงก็คือ แกนนำพรรคเพื่อไทยได้ยอมจำนนกับการคุกคามของเผด็จการ โดยหวังว่า จะได้รับ “ความเมตตา” ให้เป็นรัฐบาลต่อไปเรื่อย ๆ ข้อแก้ตัวที่ “แย่” ที่สุดคือ อ้างว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างเงื่อนไขรัฐประหาร และนี่เป็นข้ออ้างเพียงข้อเดียวที่ยกขึ้นมาครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อปิดปากผู้คนที่วิจารณ์ยุทธศาสตร์ “ปรองดอง” ของพรรคเพื่อไทย ทาสีให้ผู้วิจารณ์กลายเป็นพวก “ฮาร์ดคอร์” “แดงเทียม” หรือ “แดงเสี้ยม” ไปทุกครั้ง ยุทธศาสตร์แต่เพียงประการเดียวของแกนนำพรรคเพื่อไทยคือ อยู่เป็นรัฐบาลให้นานที่สุดไม่ว่าจะต้องจ่ายด้วยอะไร แม้จะต้องแลกด้วยการยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมดก็ตาม ทั้งที่ประการหลังนี้ คือภารกิจสำคัญที่สุดของพรรคเพื่อไทยที่ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยได้ฝากความหวังไว้ แกนนำพรรคเพื่อไทยย่อมรู้ดีว่า กระบวนการโค่นล้มรัฐบาลได้เริ่มขึ้นอีกแล้ว เหมือนที่ได้เผชิญมาแล้วสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทยและรัฐบาลพรรคพลังประชาชน แต่พวกเขาก็ไม่ได้เรียนรู้จากบทเรียนสองครั้งแรก ยังคงหลอกตัวเอง ฝันหวานไปว่า การยอมถอยในทุกแนวรบและยอมสยบต่อการคุกคาม หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าในทุกกรณี เป็นหนทางเดียวที่จะต่อสู้รับมือและ “ยืดอายุ” รัฐบาลออกไปได้เรื่อย ๆ จนครบวาระสี่ปี เพื่อหวังไปชนะเลือกตั้งอีกรอบ แกนนำพรรคเพื่อไทยบางคนอ้างว่า ถึงแม้จะผ่านวาระสามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันนี้ไปได้ ก็จะต้องเผชิญกับ “ด่านแห่งความตาย” ในขั้นตอนต่อไปอยู่ดี ฉะนั้น ควรรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อน ตราบใดที่วาระสามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยังคงค้างอยู่ รัฐบาลก็ยังมีเวลาอีกหลายปี จะยกขึ้นมาพิจารณาเมื่อไรก็ได้ แกนนำพรรคเพื่อไทยทำเป็นนอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็นว่า ถึงพวกท่านจะหลีกเลี่ยง “ด่านแห่งความตาย” ด้วยการไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญวาระสามในวันนี้ แต่ฝ่ายเผด็จการก็ยังมีด่านอื่น ๆ รอท่านอยู่ในทันที พวกท่านยังมองไม่เห็นอีกหรือว่า ในขณะนี้ ใบมีดบั่นคอของตุลาการได้ง้างขึ้นจนสุดในเบื้องหน้าแล้ว และรัฐบาลอาจจะอยู่รอดได้อีกเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากนี้! ความเป็นจริงก็คือ ไม่ว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะประจบเอาใจและถอยให้กับฝ่ายเผด็จการสักเท่าใด ในที่สุด การโค่นล้มรัฐบาลในขั้นสุดท้ายก็จะมาถึงอย่างแน่นอน และจะมาถึงในเวลาอันรวดเร็วจนตั้งรับไม่ทันอีกด้วย ทั้งด้วยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเดือนกรกฎาคมนี้ และขององค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่น ๆ ที่กำลังตามมาอย่างเป็นขบวน ทั้งที่มุ่ง “บั่นคอ” รัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ไปจนถึงบรรดาสส.ในสภา จบลงด้วยการแทรกแซงของฝ่ายทหาร ดังที่เกิดมาแล้วสองครั้ง การยอมจำนนไม่ต่อสู้ใด ๆ ไม่ใช่ “การยืดอายุรัฐบาลให้นานที่สุด” แต่เป็นการนั่งเฉย เหมือน “ไก่ในสุ่มรอถูกเชือด” ปล่อยให้กระบวนการทั้งหมดนี้อยู่ในมือของฝ่ายเผด็จการอย่างสิ้นเชิง ให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้กำหนด “กดปุ่ม” แต่ฝ่ายเดียวว่า จะให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทย “ล่มสลาย” ลงวันไหน การยอมตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญและการปิดสมัยประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนคือเครื่องหมายว่า กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ล้มเหลวลงแล้ว ฝ่ายเผด็จการได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่า จะไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย แล้วยังจะฉวยใช้โอกาสนี้ ขยายไปเป็นการโค่นล้มรัฐบาลพรรคเพื่อไทย เพื่อฟื้นอำนาจเผด็จการแบบเปิดเผยของพวกเขาขึ้นมาอีกครั้ง ความหวังของพรรคเพื่อไทยและประชาชนที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจทางการเมืองภายในกรอบรัฐธรรมนูญ 2550 และยุติวิกฤตการเมืองปัจจุบันอย่างสันติ ได้หมดสิ้นไปแล้ว สิ่งที่จ้องตาเราอยู่เบื้องหน้าคือ การปะทะครั้งใหญ่และอาจจะเป็นครั้งสุดท้ายระหว่างพลังเผด็จการกับพลังประชาธิปไตย! การยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อภายหลังชัยชนะขั้นเด็ดขาดและการเปลี่ยนมืออำนาจรัฐที่แท้จริงมายังฝ่ายประชาธิปไตยเท่านั้น จากประสบการณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในทั่วโลก ชัยชนะขั้นเด็ดขาดดังว่าชี้ขาดด้วยการต่อสู้ของประชาชนนอกรัฐสภา การต่อสู้นี้จะสันติหรือหลั่งเลือดมากน้อยเพียงใด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับฝ่ายประชาชน หากแต่ฝ่ายเผด็จการที่กุมอำนาจรัฐและกองทัพคือผู้กำหนด นับแต่นี้ สนามการต่อสู้หลักจะไม่ใช่ภายในรัฐสภา แกนนำพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลจะไม่ใช่กำลังหลักของฝ่ายประชาธิปไตยอีกต่อไป ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยคือ ทัพหลวง ในการต่อกรกับฝ่ายเผด็จการในสนามรบนอกสภา ผ่านการต่อสู้ยืดเยื้อมาหกปี เห็นได้ชัดว่า การเคลื่อนไหวของฝ่ายเผด็จการผ่านองค์กรตุลาการ พรรคประชาธิปัตย์ และมวลชนนอกสภาในครั้งนี้ มีลักษณะโดดเดี่ยว อ่อนพลัง และขาดความชอบธรรมมากยิ่งกว่าในอดีต พลังครอบงำทางความคิดและอุดมการณ์เสื่อมถอยอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ในขณะที่พลังฝ่ายประชาธิปไตยเข้มแข็งเติบใหญ่ ขยายตัวทั้งจำนวนคน อุดมการณ์และความรับรู้ประสบการณ์ การรวมกลุ่มองค์กร กิจกรรม และท่วงทำนองหลากหลาย แม้จะผ่านการบาดเจ็บล้มตายมาแล้ว แต่จิตใจกลับยิ่งเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ ไม่มีท้อถอย สิ่งที่ฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องเตรียมการในเบื้องหน้าคือ การสามัคคีรวมพลัง เร่งขยายเครือข่ายของมวลชนคนเสื้อแดงกลุ่มย่อยต่าง ๆ ทั่วประเทศ เชื่อมโยงเข้ากันให้ทั่วถึง รวมตัวเคลื่อนไหวแสดงพลังในเงื่อนไขและโอกาสที่เหมาะสม หนุนช่วยสส.พรรคเพื่อไทยปีกที่ร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สนับสนุนแกนนำระดับชาติ พร้อมไปกับการตระเตรียมแกนนำหลักและแกนนำรองของตนเองในระดับท้องถิ่น จัดวางเครือข่ายสื่อสารหลักและเครือข่ายสื่อสารสำรองฉุกเฉินไว้หลาย ๆ ชั้น ตระเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ให้พร้อมสรรพ พร้อมรับการรุกครั้งใหม่ของพวกเผด็จการ เผด็จการไทยก็เหมือนเผด็จการอื่นในโลก คือประเมินกำลังของตนเองสูงเกินไป และประเมินประชาชนต่ำเกินไป พวกเขาได้ทำความผิดพลาดเบื้องต้นแล้วด้วยการเคลื่อนไหวรุกไล่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยในเงื่อนไขปัจจุบันที่ยังเป็นคุณกับฝ่ายประชาธิปไตย พวกเขาจะทำความผิดพลาดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และในที่สุด โอกาสที่ฝ่ายประชาธิปไตยจะตอบโต้และช่วงชิงให้ได้ชัยชนะในขั้นสุดท้าย ก็จะมาถึง | |
http://redusala.blogspot.com |
2 นักข่าวเยอรมันให้การกรณีแท็กซี่ถูกยิงที่ราชปรารภ ยันกระสุนมาจากฝั่งทหาร
2 นักข่าวเยอรมันให้การกรณีแท็กซี่ถูกยิงที่ราชปรารภ ยันกระสุนมาจากฝั่งทหาร | |
2 นักข่าวเยอรมันให้การกรณีแท็กซี่ถูกยิงที่ราชปรารภ ยันกระสุนมาจากฝั่งทหาร อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท http://prachatai.com...l/2012/06/41140 นิค นอสติทซ์ และ ธีโล เธียลเค เบิกความกรณีการเสียชีวิตของชาญณรงค์ พลศรีลา ที่ถูกยิงเสียชีวิต วันที่ 15 พ.ค.53 ยืนยันตรงกันว่ากระสุนมาจากฝั่งทหาร ขณะที่ผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ นิค นอสติทซ์เบิกความสรุปได้ว่า พยานมีอาชีพช่างภาพอิสระ ติดตามการชุมนุมของทั้งกลุ่มเสื้อเหลืองเสื้อแดง ติดตามการชุมนุมของกลุ่มเสื้อเหลืองก่อนปี 2549 ต่อมาปี 2553 ทำข่าวการชุมนุมของเสื้อแดงที่ผ่านฟ้า ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 มาทำข่าวที่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง เห็นผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 200 คน ในขณะนั้นผู้ร่วมชุมนุมไม่ได้ใส่เสื้อสีแดงแล้ว มีการรวมกลุ่มพูดคุยกัน ประมาณ 14.00น. ตนได้เข้าไปในถนนราชปรารภ ขณะนั้นมีรถสัญจรไปมา เมื่อเดินไปทางแยกรางน้ำมีทหารอยู่ในบังเกอร์ เห็นทหารในชุดประจำการ แต่จำไม่ได้ว่าอาวุธดังกล่าวเป็นอาวุธปืน M16 หรือไม่ จากนั้นตนเดินไปซื้อน้ำที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น แล้วกลับมายังบริเวณ 3 เหลียมดินแดง ต่อมาราว15.00น. เห็นรถสีเหลืองบรรทุกยางมาที่ซอยราชปรารภ ไปยังปั้มน้ำมันเชลล์ ขณะนั้นตนได้เจอนายชาญณรงค์ พลศรีลา ผู้ตาย ซึ่งในขณะนั้นตนไม่รู้จัก นายชาญณรงค์ สวมหน้ากากอนามัยในมือถือหนังสติ๊ก และตนได้บันทึกภาพนายชาญณรงค์ไว้ ก่อนผู้ตายถูกยิงประมาณ 7 นาที ต่อมาผู้ชุมนุมได้ย้ายยางรถยนต์ไปใกล้ฝั่งของทหารมีระยะห่างประมาณ 80 เมตร ขณะนั้นตนอยู่ห่างจากผู้ชุมนุมประมาณ 4 เมตร เห็นทหารยิงมายังกลุ่มผู้ชุมนุมเวลา 16.05น. ภายหลังจากยิง 1 นาที นายชาญณรงค์ กำลังคลานออกจากยางรถยนต์และถูกยิงบริเวณท้อง ระหว่างที่ผู้ตายกลับตัวเพื่อที่จะย้ายเข้าหาแนวยางรถยนต์ เห็นผู้ตายถูกยิงที่แขนจนกระดูกหัก จากนั้นผู้ตายพยายามเข้าหายางรถยนต์ ในขณะที่ผู้ชุมนุมที่อยู่หลังยางรถยนต์พยายามออกจากบังเกอร์ก็โดนยิงมาจากซอยรางน้ำ ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีทหารประจำอยู่ นิค นอสติทซ์ ยืนยันว่านอกจากผู้ตายแล้วยังมีผู้รวมชุมนุมได้รับบาดเจ็บอีก 2 ราย และทั้ง 2 ออกจากแนวยางรถยนต์ไปยังสถานีจ่ายนำมันเชลล์ ตนเลยวิ่งตามไปถ่ายบุคคลทั้ง 2 ที่ห้องน้ำ จากนั้นผู้บาดเจ็บทั้ง 2 รายได้ปีนข้ามกำแพงไปที่บ้านอีกหลังหนึ่งหลังสถานีจ่ายน้ำมันเชลล์ จากนั้นจึงกลับไปยังบริเวณที่มีการวางยางรถยนต์ เห็นกลุ่มผู้ชุมนุมวิ่งออกมาจากบริเวณล้อยางรถยนต์ 2 ราย จากนั้นได้ยินเสียงปืนดังไกลกว่าเดิม รู้สึกไม่ปลอดภัยจึงพยายามวิ่งออกจากจุดดังกล่าว ระหว่างนั้นได้ยินเสียงปืนดังขึ้นเป็นระยะจึงไปหลบภายในห้องน้ำสถานีจ่ายน้ำมันเชลล์ ระหว่างนั้นเห็นผู้ร่วมชุมนุม 2 คนพาผู้ตายมายังห้องน้ำสถานีจำหน่ายน้ำมันเชลล์และได้ถ่ายภาพชาย 2 คนที่พาผู้ตายมา ระหว่างนั้นผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธและผู้ชุมนุมก็ได้บอกทหารตั้งแต่ที่อยู่บริเวณบังเกอร์ยางแล้วด้วยว่า “ไม่มีอาวุธ” หลังจากที่ชายทั้ง 2 พาผู้ตายมากลุ่มผู้ชุมนุมได้เปิดดูบาดแผลของผู้ตาย และได้ส่งผู้ตายข้ามกำแพงไปและไถลลงไปในสระน้ำ และตนได้ปีนกำแพงไปด้านหลัง ระหว่างนั้นทหารได้เดินมาและมีการยิงปืนขึ้นฟ้าโดยมีปลอกกระสุนกระเด็นข้ามมา ได้ยินเสียงผู้ชุมนุมที่อยู่บริเวณห้องน้ำแต่ไม่ได้ข้ามมานั้นบอกว่า “ผมยอมแล้ว ผมยอมแล้ว” และได้ยินเสียงทหารทำร้ายผู้ชุมนุม ได้มีทหารคนหนึ่งปีนข้ามกำแพงมาและทหารอีกคนหนึ่งอยู่บริเวณกำแพง ตนและทหารได้ช่วยกันดึงผู้ตายขึ้นจากสระน้ำ เมื่อทหารดึงผู้ตายขึ้นจากน้ำทหารตะโกนว่า ทำไมมึงยังไม่ตายอีก รู้ไหมทหารต้องนำตัวผู้ตายไปส่งโรงพยาบาล ระหว่างนั้นผู้ตายได้ลื่นไหลลงไปในน้ำอีกครั้ง ตนจึงได้ดึงผู้ตายขึ้นจากสระน้ำอีกครั้งหนึ่ง ตนดูแลผู้ตาย ระหว่างนั้นทหารวิทยุเรียกหน่วยแพทย์มายังบริเวณนั้น ผู้ตายมีลักษณะหายใจไม่ออกไม่ขยับตัว หลังจากนั้นได้มีทหารมารับตัวผู้ตาย นิค นอสติทซ์ เบิกความต่อไปว่าหลังจากนั้นได้กลับไปยังหลังกำแพง และไม่กล้าออกมาจากบริเวณดังกล่าวจึงได้ออกมาทางด้านหลังถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเวลา 20 นาฬิกา 30 นาที และได้บันทึกภาพพระที่สวดมนต์บนฐานอนุสาวรีย์ และกลับบ้านในเวลา 21 นาฬิกา 30 นาที และได้เขียนบทความบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเผยแพร่ทาง New Mandala (ดู Nick Nostitz in the killing zone ) และมีผู้นำมาแปลเป็นภาษาไทย (ดู Nick Nostitz: ในเขตสังหาร ) หลังเกิดเหตุประมาณ 1 เดือนดูรายชื่อผู้เสียชีวิตจึงได้ติดตามไปยังสถานีตำรวจ รพ.พญาไท จึงได้ทราบว่าผู้ตายได้เสียชีวิตแล้วขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แถลงข่าว ตนจึงได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นบทความที่ตนเขียนในเวปไซต์ถูกบล็อก จึงได้สอบถามกับทางกระทรวง ICT เพื่อสอบถามและยืนยันว่าบทความดังกล่าวไม่ไดผิดกฎหมายแต่อย่างใด หลังจากนั้นบทความดังกล่าวจึงได้เข้าได้เหมือนเดิม และพนักงานสอบสวนก็ได้เคยสอบปากคำตน นอกจากนี้ นิค ยังให้การยืนยันว่า ไม่เห็นปืนจากฝั่งผู้ชุมนุม และ นิค ยังได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า 2 วันก่อนที่จะได้มาให้การนั้นตนและครอบครัวไปมาอยู่ที่โรงแรมพร้อมกลับมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาให้การดูแล รวมทั้งมาให้การนี้ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 5 นายมาด้วย และหลังจากนี้เจ้าหน้าที่ก็จะไม่ดูแลแล้วตนก็จะกลับบ้านตามปกติ ในส่วนที่ผ่านมานิคเปิดเผยว่าตนได้ถูกกล่าวโจมตีลดความน่าเชื่อถือมาโดยตลอดว่าตนเป็นเสื้อแดง เพื่อทำให้คำพูดของตนไม่มีความน้ำหนัก รวมทั้งภรรยาตนยังเคยถูกจี้เงินไป 2,000 บาท โดยผู้ร้ายยังได้กล่าวกับภรรยาตนว่า “ฝากสวัสดีนิคด้วย” ทำให้ตนไม่แน่ใจว่าเป็นการถูกคุกคามหรือไม่และผู้ร้ายรู้จักตนได้อย่างไร นิค ยังเปิดเผยว่าหลังจากที่ได้ให้ข้อมูลกับทาง คอป. เหตุการณ์เหล่านี้ก็ลดลง ส่วน ธีโล เธียลเค ได้เบิกความเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีเจ้าหน้าที่ล่ามของศาลแปล สรุปความได้ว่า วันที่ 15 พ.ค.53 ได้เดินทางออกจากบ้านไปยังที่ดินแดง เห็นผู้ชุมนุมประมาณ 40-50 คน หลังจากนั้นเห็นมีคนเอายางรถยนต์มาที่ถนนผู้ชุมนุมนำยางรถยนต์ไปใกล้เจ้าหน้าที่ทหาร หลัง 14.00น.มีการยิงเกิดขึ้น ตนอยู่หลังบังเกอร์ผู้ชุมนุมประมาณ 15 เมตร ตนไม่เห็นว่าใครเป็นคนยิงหลังจากที่มีการยิงกันประมาณ 10 นาที เห็นผู้บาดเจ็บประมาณ 3-4 คน โดยไม่ทราบว่ามีผู้ชุมนุมเสียชีวิตหรือไม่ในขณะนั้น หลังจากที่ผู้ชุมนุมได้หนีเข้าไปในสถานีจำหน่ายน้ำมันแล้ว มีเจ้าหน้าที่ทหารตามเข้าไป ถืออาวุธปืนไรเฟิล หลังจากที่ตนหลบอยู่ด้านหลังของสถานีน้ำมันก็ได้กระโดดข้ามไปยังบ้านหลังนั้น และมีทหารเข้ามาพูดคุยแต่ตนไม่เข้าใจสิ่งที่ทหารพูด ธีโล เบิกความอีกว่า ระหว่างการชุมนุมผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ ส่วนทหารมีอาวุธปืน หลังเกิดเหตุพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำตนไว้ เจ้าหน้าที่ในวันเกิดเหตุใส่ชุดฟอร์มสีเขียว ยืนยันว่าผู้ชุมนุมที่อยู่หลังบังเกอร์ยางไม่มีการยิงตอบโต้เจ้าหน้าที่ทหาร และในขณะที่ตนหลบอยู่ด้านหลังสถานีจ่ายน้ำมันมี นิค นอสติทซ์ รวมอยู่ด้วยและ นิคเป็นคนที่พยายามจะช่วยเหลือผู้ชุมนุม ในการไต่สวน ผู้สื่อข่าวทั้ง 2 นอกจากเล่าเหตุการณ์แล้วยังได้มีการนำส่งภาพที่ตนเองได้ถ่ายไว้เองอีกจำนวนมากต่อศาลด้วย และทั้ง 2 ยังได้ถ่ายภาพชาญณรงค์ผู้ตายไม่กี่นาทีก่อนถูกยิงที่มีการแอ๊คท่าง้างหนังสติ๊กเพื่อยืนยันว่าฝ่ายผู้ชุมนุมไม่เพียงหนังสติ๊กและมือปล่าว ในขณะที่ทหารมีอาวุธปืนด้วย VDO Clip เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง : - คลิปชื่อ : “เสียงแตรมรณะ..” Uploaded by redkuma123 on May 17, 2010 - คลิปชื่อ : ทหารสั่งนักข่าวห้ามถ่ายและยึดเม็ม, Uploaded by majoranticoup on Jun 6, 2010 - คลิปชื่อ : ทหารยิงผู้สื่อข่าวเนชั่น, Uploaded by 0802024537 on Jun 4, 2010 (ออนไลน์) - คลิปชื่อ : RedNews_แนวรบ ราชปรารภ 7 PM_2010 may 15, Uploaded by Red9645 on May 15, 2010 (รายงานข่าวจากสำนักข่าวไทย MCOT) ออนไลน์ - คลิปชื่อ : ทหารกระหน่ำยิงประชาชนมือเปล่าที่ด่านซอยรางน้ำ May15 ''2010, Uploaded by nidnungnid on May 16, 2010 (ออนไลน์) - คลิปชื่อ : นิค นอสติทซ์_เขตสังหาร 2 killing zone_Nick Nostitz.flv , Uploaded by oneday2010A on Jun 5, 2010 (ออนไลน์) - คลิปชื่อ : ชาวบ้านราชปรารภ ยืนยันวิถีกระสุนหวังยิงถึงชีวิต, เผยแพร่เมื่อ 16 สิงหาคม 2553 เวลา 19:15 น. (ออนไลน์) - คลิปชื่อ : ตำรวจเข้าไปเอาคนเจ็บโดนทหารยิง.mpg, Uploaded by 007intermax on May 16, 2010 (ออนไลน์) ย้อนรอยเหตุการณ์ต่าง ๆ | |
http://redusala.blogspot.com |
ปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)