ดาวน์โหลดคลิ๊ปคนเสื้อแดง
วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ศุกร์ 13 เพื่อไทย สยอง? (ภาคแรก)
ศุกร์ 13 เพื่อไทย สยอง? (ภาคแรก)
| |
Posted: 08 Jul 2012 07:28 AM PDT (อ้างอิงจากเวบไซท์ประชาไท) วีรพัฒน์ ปริยวงศ์นักกฎหมายอิสระ http://www.facebook.com/verapat ผู้เขียนได้เข้าฟังการไต่สวน ณ ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 5-6 กรกฎาคม ที่ผ่านมา และได้บันทึกสีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียงของศาลไปพร้อมกับเนื้อหาการไต่สวน ซึ่งมีประเด็นควรแก่การขบคิดก่อนศาลจะมีคำวินิจฉัยในวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม ดังนี้ 1. ศาลไต่สวนเพียงสองวัน ‘หยาบสั้น’ ไปหรือไม่ ? แม้ผู้เขียนจะเป็น ‘ฝ่ายผู้ดู’ แต่ก็รู้สึกอึดอัดแทนทั้ง ‘ฝ่ายผู้ร้อง’ (ที่ต้องการยับยั้งการแก้รัฐธรรมนูญ) และ ‘ฝ่ายผู้ถูกร้อง’ (ที่ต้องการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งต่างมีประเด็นที่จะอธิบายซักถามจำนวนมาก แต่กลับถูกบีบคั้นโดยกรอบเวลาที่ศาลกำหนด ปกติคดีส่วนตัวธรรมดาระหว่างคนสองคน ยังนำสืบพยานกันได้หลายนัดหลายวัน มาคดีนี้มีคู่ความฝ่ายละหลายราย และอาจมีผลรุนแรงถึงขั้นยุบพรรคการเมืองที่มีประชาชนสนับสนุนจำนวนมาก แล้วเหตุใดศาลจึงรวบรัดไต่สวนพยานเพียงสองวัน และใช้เวลาเพียง ‘วันเดียว’ ในการทำคำวินิจฉัยหลังกำหนดแถลงปิดคดี ? แม้ศาลมีอำนาจควบคุมการไต่สวนให้มีประสิทธิภาพ (ซึ่งหลายจังหวะศาลทำได้ดี) แต่ศาลก็พึงระลึกว่า ‘ระบบไต่สวน’ ไม่ได้แปลว่าศาลจะรวบรัดเวลาได้เสมอ ตรงกันข้าม การที่ศาลแสวงหาข้อเท็จจริงได้เอง กลับทำให้ศาลต้อง ‘ซักถามสนทนา’ ถึงประเด็นที่แสวงหามา เพื่อให้คู่ความได้ทราบและชี้แจงอย่างเต็มที่ การไต่สวนจึงไม่ได้สำคัญที่ ‘การฟัง’ ของศาล หรือ ‘การอ่าน’ เอกสารในสำนวนก่อนหรือหลังวันไต่สวนเท่านั้น แต่ปรากฏว่าตลอดสองวัน ‘ศาลซักถามน้อยมาก’ และดูไม่จดประเด็นเสียด้วย หากศาลถามได้มากและโยงเข้าเนื้อหาสำนวนได้ แสดงว่าศาลทำการบ้านอ่านสำนวนมาล่วงหน้า และจดคำตอบสำคัญโดยไม่ต้องรอถอดเทป แต่คดีนี้ก็มีจังหวะที่ศาลเองดูไม่แน่ใจว่ามีเรื่องใดซ้ำกับเอกสาร ปล่อยให้พยานต้องบอกว่าตอบไปแล้วในเอกสาร ความรวบรัดที่ว่านำไปสู่ ‘สิ่งที่ไม่คาดนึก’ คือ มีจังหวะที่ตุลาการเอียงตัวไปโต้เถียงกันสั้นๆ ภาพที่เห็นเข้าใจได้ว่า ตุลาการท่านหนึ่งประสงค์ให้พยานได้ถูกซักเพิ่มในประเด็นที่ตนสนใจ แต่ตุลาการอีกสองท่านส่ายหน้าว่าต้องพอแล้ว ซ้ำร้าย บางท่านยังพิงหลังหลับตาเป็นระยะ ขณะที่บางท่านลุกไปนอกห้องนานพอสมควร (แต่บางท่านก็ไม่ได้ลุกออกไปเลย) ‘ภาพน่าตะลึง’ อีกภาพ คือ วิธีการและจังหวะที่ประธานศาลใช้ถาม ‘นายโภคิน พลกุล’ ขณะกำลังพูดเสร็จ แทนที่จะถามพยานตามปกติ กลับโต้เถียงประหนึ่งถามค้านพยานและสรุปความเบ็ดเสร็จเสียเอง และในขณะที่พยานมีมารยาทพอที่จะไม่เถียงศาลต่อ ก็มีเจ้าหน้าที่นำเอกสารมาให้พยานลงชื่อจนรวบรัดให้ต้องลุกไปจากเก้าอี้ (ชมคลิปได้ที่ http://bit.ly/VPCONS) โดยภาพรวมจึงน่าเคลือบแคลงว่า แม้วันนี้ยังไม่มีคำวินิจฉัย แต่ ‘ความไม่ยุติธรรมเชิงกระบวนการ’ ก็อาจเกิดขึ้นเสียแล้ว!? 2. ฝ่ายใดดูเป็นฝ่ายที่ ‘ได้เปรียบ’ ? จากการไต่สวนทั้งสองวัน ตอบว่า ‘ฝ่ายศาล’ เป็นฝ่ายได้เปรียบมากที่สุด เพราะวันนี้ศาลได้เพิ่มอำนาจให้ตนเองอย่างมหาศาล ไม่เพียงแต่ในแง่การรวบรัดการพิจารณาคดีเท่านั้น แต่ยังตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 อย่างกว้างขวาง ทำให้อัยการสูงสุดไร้ความหมาย และศาลได้ตีความกฎหมายให้กลายเป็น ‘ไทม์แมชชีนข้ามเวลา’ สามารถตรวจสอบอดีตที่จบสิ้นลงแล้ว เช่น กรณีการตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่คุณเรืองไกรร้อง หรือ แม้ในคดีนี้ ก็มีการพิจารณาสิ่งที่จบสิ้นไปแล้ว เช่น การเสนอญัตติ หรือ สิ่งที่ต้องรออนาคต เช่น การทำงานของ ส.ส.ร. หรือ การตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญโดยประธานรัฐสภา นอกจากนี้ ศาลได้เรียงประเด็นพิจารณา ‘อย่างน่าเคลือบแคลง’ 4 ลำดับ คือ
ข้อที่น่าเคลือบแคลง คือ ‘การเรียงและแยกประเด็นที่ (2) และ (3) ออกจากกัน’ เพราะศาลไม่มีอำนาจตีความมาตรา 291 โดยตรงแต่อย่างใด กล่าวคือ ประเด็นของคดีนี้ คือ มาตรา 68 ศาลจึงต้องอธิบายเสียก่อนว่า การล้มล้างการปกครองฯ ที่ต้องห้ามตาม มาตรา 68 นั้น มีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไร จากนั้น จึงไปพิจารณาข้อเท็จจริงว่า การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 ที่ผ่านมานั้น เข้ากรณีต้องห้ามตามมาตรา 68 หรือไม่ และโดยตรรกะแล้ว การทำผิดหลักเกณฑ์ มาตรา 291 ใช่ว่าจะต้องผิด มาตรา 68 เสมอไป แต่ศาลกลับไปเรียงลำดับพิจารณาประเด็น มาตรา 291 เสียก่อน ประหนึ่ง ‘ตั้งธง’ ว่าหากมาตรา 291 ไม่เปิดช่องให้นำไปสู่การยกร่างใหม่ทั้งฉบับ การแก้ไขมาตรา 291 ในครั้งนี้ย่อมเข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องห้ามตาม มาตรา 68 ทันที ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นการเรียงลำดับประเด็นที่ผิดตรรกะและน่าเคลือบแคลงอย่างยิ่ง 3. ‘แนวทางการตัดสิน’ เป็นไปได้กี่แนวทาง? คำวินิจฉัยที่ศาลจะได้อ่านในวันที่ศุกร์ที่ 13 นี้ มีความเป็นไปได้ ‘หกแนวทาง’ ด้วยกัน (1) ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า ‘กระบวนการยื่นคำร้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย’ เพราะข้ามขั้นตอน ‘อัยการสูงสุด’ ข้อสังเกต: สมัย คดี(ไม่)ยุบพรรคประชาธิปัตย์’ (คำวินิจฉัยที่ 15/2553) แม้ศาลจะรับคำร้องและไต่สวนคดีจนเสร็จแล้ว แต่สุดท้ายศาลก็อ้างเหตุ ‘ผิดขั้นตอน กกต.’ มายกคำร้องโดยไม่วินิจฉัยว่าพรรคประชาธิปัตย์ทำผิดหรือไม่ (2) ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า การกระทำ ‘ไม่เข้าลักษณะการใช้สิทธิเสรีภาพ’ แต่เป็นการ ‘ใช้อำนาจหน้าที่’ ศาลจึงไม่สามารถก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยการใช้อำนาจของรัฐสภาได้ ข้อสังเกต: รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 บัญญัติแยกแยะ ‘การใช้อำนาจ’ ให้แตกต่างจาก ‘สิทธิและเสรีภาพ’ อย่างชัดแจ้ง (ดูเพิ่มที่http://bit.ly/article68 ) (3) ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่ ‘บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ’ ตามมาตรา 291 ศาลจึงไม่อาจนำ มาตรา 68 มาวินิจฉัยปะปนกันได้ ข้อสังเกต: สมัย คดีพรรคประชาธิปัตย์แก้รัฐธรรมนูญ (คำสั่งที่ 4/2554) ศาลได้อธิบายชัดเจนว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่‘บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ’ ตามมาตรา 291 จึงนำไปปะปนกับ มาตรา 154 ไม่ได้ (4) ยกคำร้อง ด้วยเหตุว่า แม้การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเข้าลักษณะการใช้สิทธิเสรีภาพที่ศาลตรวจสอบได้ แต่เมื่อตรวจสอบแล้ว พบว่าเป็นเพียงการคาดคะเน หรือ ‘มีกระบวนการป้องกันไม่ให้มีการล้มล้างการปกครองฯ ที่เพียงพอ’ ข้อสังเกต: สมัย คดีฟ้องนายกอภิสิทธิ์ (คำสั่งที่ 14/2553) ศาลได้ตีความข้อกำหนดวิธีพิจารณา ข้อ 18 ซึ่งใช้กับคำร้องในคดีนี้ว่า คำร้องต้องไม่เป็นเพียง ‘การคาดคะเน’ หรือ ‘การตั้งข้อสงสัย’ หรือ ‘การอาศัยศาลเป็นเครื่องมือในการแสวงหาพยานหลักฐาน’ (5) วินิจฉัยว่าเป็นการล้มล้างการปกครองฯ แต่ด้วยเหตุว่าการกระทำของผู้ถูกร้อง (ทั้งหมดหรือบางราย) ยังไม่เสร็จสิ้น หรือยังไม่รุนแรง หรือไม่เกี่ยวโยงกับพรรคการเมือง จึงสั่งห้ามเพียงการกระทำ แต่ไม่สั่งยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมือง (6) วินิจฉัยว่าเป็นการล้มล้างการปกครองฯ และสั่งยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมือง จากหกแนวทางนี้ ศาลมีแนวโน้มจะตัดสินไปในทางใด แต่ทางมีผลแตกต่างกันอย่างไร และข้อต่อสู้ของ ‘ผู้ร้อง’ และ ‘ผู้ถูกร้อง’ เรื่องใดที่ศาลน่าจะให้ความสำคัญมากที่สุด การยุบพรรคในคราบมาตรา 68 จะนำไปสู่คราบเลือดคนไทยหรือไม่ โปรดติดตามได้ในบทความภาคจบ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีนี้ โปรดดู http://bit.ly/VPCONS | |
http://redusala.blogspot.com
|
วิเคราะห์การไต่สวนของตุลาการรัฐธรรมนูญ
วิเคราะห์การไต่สวนของศาล รธน.
| |
อุดม มั่งมีดี วิเคราะห์การไต่สวนของศาล รธน. | |
http://redusala.blogspot.com
|
เผด็จการจะสูญสลายจากประเทศไทย
คอมเก่าตัวจริงสุดทน! แฉคอมเก่าตัวปลอม ถูกจ้างเชียร์หน้าศาล500บาท
(8 กรกฎาคม 2555 จังหวัดนครพนม) เว็บไซท์ข่าวสด รายงานบทสัมภาษณ์ นายปราโมทย์ พรหมพินิจ หรือ“สหายรับรอง” ตัวแทนกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย หรือ ผรท.ใน 19 จังหวัดภาคอีสานและภาคเหนือตอนบน ที่มีสมาชิกกว้่า 4,000 คน ว่า "กองทัพปลดแอกประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมหน้าศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นกลุ่มของนายทองดี ทอนแสนโคตร จาก จ.สกลนคร ซึ่งเป็น ผรท.ขายตัว และมีไม่กี่คนส่วนใหญ่จะถูกจ้างมา โดยมีคนจ่ายค่าจ้างให้คนละ 500 บาท แต่หักหัวคิวแล้วเหลือให้คนละ 200 บาท พวกนั้นไม่ใช่พลังและไม่ใช่ ผรท.ตัวจริง ซึ่งเป็นคนละกลุ่มพวกตนไม่ให้ความสนใจอยู่แล้ว" ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายทองดี นามแสงโคตร ผู้ประสานงานกลุ่มกองทัพปลดแอกประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อ้างว่า วัตถุประสงค์ของการรวมตัวครั้งนี้ เพื่อเป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และให้กำลังใจการทำหน้าที่ของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบภายใต้พระปรมาภิไธยเนื่องจากในวันที่ 5-6 กรกฎาคมนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดนัดไต่สวนผู้ร้องและผู้ถูกร้องในกรณีคำร้องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ อ้างอิง http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME1UYzFNalUwT0E9PQ==&subcatid= http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P12340932/P12340932.html | |
http://redusala.blogspot.com
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)